คะ นี่เป็นข้อเท็จจริงด้านเศรษฐกิจ
ที่สำคัญที่สุดในยุคของเรานี้
เรากำลังอยู่ในยุคของความไม่เสมอภาค
ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในด้านรายได้
โดยเฉพาะระหว่างคนที่อยู่ยอดบนสุด
กับคนอื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงนี้เห็นชัดมากที่สุดในสหรัฐ
และในอังกฤษ
แต่มันเป็นปรากฏการณ์ของโลก
มันกำลังเกิดขึ้นในคอมมิวนิสต์จีน
ในรัสเซียซึ่งแต่ก่อนยังเป็นคอมมิวนิสต์
มันกำลังเกิดขึ้นในอินเดีย และในแคนาดา
บ้านเกิดของดิฉันเอง
เรากำลังเห็นมัน แม้แต่ในประเทศ
สังคมนิยมประชาธิปไตยแบบเพียงพอ
อย่างเช่น สวีเด็น ฟินแลนด์ และเยอรมันนี
ดิฉันขอให้ดูตัวเลขสักสองสามตัว
เพื่อจะให้เห็นว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น
ในช่วงปี 1970-1979 หนึ่งเปอร์เซ็นต์
ประเมินว่ามีรายได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็น
ของรายได้ประชาชาติ
ในสหรัฐฯ
แต่ทุกวันนี้ ส่วนแบ่งของพวกเขา มีมากขึ้นเป็นสองเท่า
ถึงเกินกว่าร้อยละ 20
แต่สิ่งที่น่าสะดุดตายิ่งกว่า
ก็คือ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นที่จุดยอดสุดที่ง่อนแง่น
ของการกระจายรายได้นั้น
0.1 เปอร์เซ็นในสหรัฐนั้น
ในวันนี้ ประเมินได้มากกว่าแปดเปอร์เซ็นต์
ของรายได้สุทธิทั้งหมดของประเทศ
คนพวกนี้อยู่ที่หนึ่งเปอร์เซ็นต์ เมื่อ 30 ปีที่แล้ว
ขอให้ตัวเลขอีกสักหนึ่งตัว เพื่อให้เห็นชัดๆ
และนี่เป็นตัวเลขที่ได้คำนวณไว้ในปี 2005
โดย โรเบิร์ต ไรช์ (Robert Reich)
รัฐมนตรีแรงงานในรัฐบาลคลินตัน
ไรช์ได้เอาความรํ่ารวยของชายสองคน
ที่ได้รับการยอมรับว่าร่ำรวยมากๆ
คือ บิลเกทส์ (Bill Gates) และ
วาเร็น บัพเพ็ท (Warren Buffett)
และเขาก็พบว่า มันเท่ากับความร่ารวย
ของประชากรอเมริกันระดับล่าง 40 เปอร์เซ็นต์
จำนวน 120 ล้านคน
อย่างที่มันเกิดขึ้น
วาเร็น บัพเพ็ท ไม่ได้เป็นผู้ปกครอง
ด้วยอำนาจเงิน(plutocrat)เท่านั้น
แต่ยังเป็นผู้สังเกตการณ์ที่ฉลาดเจ้าเล่ห์
มากที่สุดคนหนึ่งของปรากฏการณ์นั้นด้วย
และเขามีตัวเลขที่ตัวเขาเองชื่นชอบ
บัพเพ็ทชอบที่จะชี้ให้เห็นว่า ในปี 1992
เมื่อรวมความรํ่ารวยของคน
จำนวน 400 คนในรายชื่อของฟอร์บ--
และนี่เป็นรายชื่อของคนอเมริกัน
ที่ร่ำรวยที่สุด 400 คน--
รวมกันแล้วมีถึง 300 พันล้านดอลลาร์
แค่เพียงคิดถึงมัน
คุณไม่จำเป็นต้องเป็นถึงเศรษฐีพันล้าน
เพื่อที่จะเข้าไปอยู่ในรายชื่อของปี 1992
คะ แต่วันนี้ ตัวเลขนั้นมีมากขึ้นกว่าห้าเท่า
จนถึง 1.7 ล้านล้าน
และบางที ดิฉันอาจไม่จำเป็นต้องบอกคุณก็ได้
ว่าเราไม่เคยเห็นอะไรเกิดขึ้นเหมือนแบบนี้มาก่อน
กับคนชั้นกลาง
ผู้ซึ่งความรํ่ารวยของพวกเขาคงอยู่กับที่
ถ้าจริงๆแล้วไม่ได้ลดลงไป
เราจึงกำลังมีชีวิตอยู่ในยุคธนาธิปไตย
(plutocracy) ระดับโลก
แต่เราสังเกตเห็นมันได้ช้า
เหตุผลหนึ่ง ดิฉันคิดว่า
คล้ายกับปรากฏการณ์ แบบกบที่ถูกต้มทั้งเป็น
อย่างช้าๆ (boiled frog phenomenon)
การเปลี่ยนแปลงที่ช้า ๆ และค่อยเป็นค่อยไป
ยากที่จะสังเกตเห็นได้
แม้ว่าผลกระทบสุดท้ายของมันจะมีมากมายทีเดียว
ลองคิดถึงว่าได้เกิดอะไรขึ้นแล้ว
กับกบที่น่าสงสารพวกนั้นก็แล้วกัน
แต่ดิฉันคิดว่ามีสิ่งอื่นกำลังเกิดขึ้นอีกด้วย
เมื่อพูดถึงเรื่องรายได้ที่ไม่เสมอภาคแล้ว
แม้ว่าคุณจะไม่มีรายชื่อใน 400 คนของฟอร์บก็ตาม
ก็ทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจได้
ความรู้สึกเชิงบวกจะน้อยลง มองโลกในแง่ดีน้อยลง
ในการพูดถึงขนมพายชิ้นนี้ว่าถูกตัดแบ่งกันอย่างไร
มากกว่าที่จะคิดว่า จะทำให้ขนมพายชิ้นนี้
มีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างไร
และถ้าคุณบังเอิญมีรายชื่อใน 400 คนของฟอร์บ
การพูดถึงเรื่องการกระจายรายได้
และก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะพูดถึงญาติของมัน คือ
การแจกจ่ายรายได้ต่อไปอีกทอดหนึ่งด้วย
ก็อาจจะเป็นการคุกคามได้อย่างโจ่งแจ้งที่สุด
เราจึงกำลังอยู่ในยุคของความไม่เสมอภาค
ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในด้านรายได้
โดยเฉพาะที่ยอดบนสุด
อะไรผลักดันมันขึ้นมาหรือ และเราจะสามารถ
ทำอะไรได้เกี่ยวกับมัน
หนึ่งในสาเหตุก็คือ เกี่ยวกับการเมือง:
การลดภาษีลง การยกเลิกกฎระเบียบ โดยเฉพาะ
การบริการด้านการเงิน
ขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชน กฎหมายอ่อนแอลง
เพื่อปกป้องสหภาพการค้า
ทุกอย่างนี้มีส่วนทำให้
รายได้จำนวนมากไปสู่คนระดับสูงสุด เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจัยทางการเมืองมากมายเหล่านี้
เอาไปรวมกันได้อย่างกว้างๆ
ภายใต้หัวข้อ "ระบบทุนนิยมพวกพ้องควบอำนาจรัฐ" (crony capitalism)
หรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มคน
ภายในที่ใกล้ชิดเชื่อมโยงกัน
แต่จริงๆไม่ได้ทำให้เกิดผลดี กับพวกเราที่เหลือ
ในทางปฏิบัติ การกำจัดระบบทุนนิยมพวกพ้อง
ควบอำนาจรัฐนั้น
ช่างยากอย่างเหลือเชื่อ
คิดถึงเวลานานหลายๆปี ที่ผู้ปฏิรูปจากหลากหลายฝ่าย
ได้พยายามกำจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงในรัสเซีย
เป็นตัวอย่าง
หรือไม่ก็ มันยากแค่ไหนที่จะกำหนดระเบียบ
การธนาคารเสียใหม่
แม้แต่ ภายหลังวิกฤติทางการเงินที่ลํ้าลึกที่สุดครั้งนั้น
ตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าครั้งใหญ่ (Great Depression)
หรือ แม้กระทั่งว่า มันยากแค่ไหน ที่จะทำให้
บริษัทข้ามชาติที่ใหญ่ๆพวกนั้น
รวมทั้ง พวกที่คำขวัญอาจจะเป็นว่า "อย่าทำสิ่งเลวร้าย"
ให้มาเสียภาษีแค่ในอัตราที่ใกล้ๆกับ
ที่ชนชั้นกลางต้องจ่าย
แต่ในเมื่อการกำจัดทุนนิยมพวกพ้องควบอำนาจรัฐ
ในทางปฏิบัติ
มันช่างยาก ยากเสียจริงๆนั้น
อย่างน้อยที่สุด ในเชิงสติปัญญาแล้ว มันเป็นปัญหาที่ง่าย
ต้องไม่ลืมว่า จริงๆแล้วไม่มีใครชอบระบบทุนนิยมพวกพ้องควบอำนาจรัฐ
แท้จริง นี่เป็นปัญหาหนึ่งที่ไม่ค่อยจะเห็นกัน
ที่นำทั้งฝ่ายซ้ายและขวามารวมกันได้
การวิจารณ์ทุนนิยมพวกพ้องควบอำนาจรัฐ
เป็นเรื่องสำคัญ
ในงานเลี้ยงสังสรรค์เช่นดียวกับการชุมนุมประท้วง
ของกลุ่มออคิวไพย์ วอลล์ สตรีท Occupy Wall Street
แต่ถ้าลัทธิทุนนิยมพวกพ้องควบอำนาจรัฐ
จะเป็น อย่างน้อยที่สุดในเชิงสติปัญญาแล้ว
หรือส่วนที่ง่ายของปัญหานั้น
สิ่งต่างๆจะเด่นชัดมากขึ้น เมื่อคุณมองไปที่
ตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ
ของความไม่เสมอภาคที่เพิ่มมากขึ้น
อย่างรวดเร็วด้านรายได้
ในตัวของมันเอง สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ลึกลับจนเกินไป
โลกาภิวัฒน์และการปฎิวัติทางเทคโนโลยี่
หรือคู่แฝดของการเปลี่ยนรูปแบบทางเศรษฐกิจ
ซึ่งกำลังเปลี่ยนชีวิตของเราอยู่
และกำลังเปลี่ยนรูปแบบของเศรษฐกิจระดับโลกนั้น
กำลังส่งพลัง ให้เกิดการเพิ่มขึ้นของเศรษฐีที่รวยล้นฟ้า
แค่ลองคิดถึงมันดู
เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนด้านการเงินที่มีพลัง
พร้อมกับความคิดใหม่ที่หลักแหลม
หรือไม่ก็ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ยอดเยี่ยม
คุณก็จะเข้าไปได้เกือบจะทันทีทันใด หรือเกือบจะไม่มีอุปสรรค
สู่ตลาดโลก ที่มีคนมากกว่าพันล้านคนได้
ผลก็คือ ถ้าคุณฉลาดมากๆ
และก็โชคดีมากๆ
คุณก็จะรวยขึ้นมากๆได้
อย่างรวดเร็วมากๆ
เด็กหนุ่มนายแบบล่าสุดของปรากฏการณ์นี้
ก็คือ เดวิด คาร์พ (David Karp)
ผู้ก่อตั้งทัมเบิลร์ (Tumblr) อายุ 26 ปี
เมื่อไม่นานมานี้ ได้ขายบริษัทของเขาให้กับยาฮู (Yahoo)
เป็นเงิน 1.1 พันล้านดอลลาร์
ลองคิดดูซักประเดี๋ยวนะคะ
1.1 พันล้านดอลลาร์ แค่อายุ 26 ปี
เห็นได้ง่ายที่สุดว่า การปฏิวัติทางเทคโนโลยี
และโลกาภิวัฒน์นั้น กำลังสร้างภาพดารายอดนิยม
แบบนี้ขึ้นได้อย่างไร
ในสาขาที่มองเห็นได้ชัดเจนมาก
เช่น กีฬา และบันเทิง
เราทุกคนก็เห็นได้ว่านักกีฬาที่ยอดเยี่ยม
หรือนักแสดงที่ยอดเยี่ยมในวันนี้
สามารถยกระดับทักษะของพวกเขา
ข้ามเศรษฐกิจระดับโลก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนได้
แต่ในวันนี้ ภาพดารายอดนิยมนั้น
กำลังเกิดขึ้นไปทั่วเศรษกิจทั้งหมด
เรามีนักเทคโนโลยี่ที่เป็นดารายอดนิยม
เรามีนักการธนาคารที่เป็นดารายอดนิยม
เรามีทนายความที่ยอดนิยม และสถาปนิกยอดนิยม
มีพ่อครัวยอดนิยม
เกษตรกรยอดนิยม
มีแม้กระทั่ง และนี่เป็นตัวอย่างที่ดิฉันชอบ
ทันตแพทย์ยอดนิยม
ตัวอย่างเรื่องนี้ ที่น่าพิศวงงงงวยที่สุด
ก็คือ เบอร์นาร์ด เทาอะติ (Bernard Touati)
ชาวฝรั่งเศสที่ดูแล
เรื่องการยิ้ม ของเพื่อนๆดารายอดนิยมด้วยกัน
เช่น ผู้มีอำนาจในรัฐบาลรัสเซีย โรมัน แอบราโมวิช
(Roman Abramovich)
หรือนักออกแบบแฟชั่น ชาวอเมริกันเกิดในยุโรป
ชื่อ ไดแอน วอน เฟอร์สเต็นเบอร์ก
(Diane von Furstenberg)
แต่ในขณะที่เป็นเรื่องง่ายมาก ที่จะเห็นได้ว่าโลกาภิวัฒน์
และการปฏิวัติทางเทคโนโลยี
กำลังสร้างธนาธิปไตยในระดับโลกขึ้นได้อย่างไรนั้น
สิ่งที่ยากกว่านี้มากๆ ก็คือ คิดให้ออกว่า
จะคิดถึงอะไรเกี่ยวกับมันดี
และนั่นก็เพราะว่า
มันตรงกันข้ามกับระบอบทุนนิยมพวกพ้องควบอำนาจรัฐ
สิ่งที่โลกาภิวัฒน์และการปฏิวัติอุตสาหกรรมส่วนใหญ่
ได้ทำไปแล้วนั้น เป็นไปในเชิงบวกอย่างมาก
เรามาเริ่มต้นกับเทคโนโลยี
ดิฉันรักอินเตอร์เน็ต และดิฉันรักอุปกรณ์มือถือ
ดิฉันรักข้อเท็จจริงที่ว่า พวกมันหมายถึงว่า
ใครก็ตามที่เลือกที่จะใช้เทคโนโลยี่ ก็จะดูรายการบรรยายนี้ได้
ไกลเกินกว่าห้องประชุมนี้ออกไป
ดิฉันเป็นยิ่งกว่า คนที่คลั่งไคล้โลกาภิวัฒน์เสียอีก
นี่เป็นการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งได้ยกระดับคนหลายร้อยล้านคนให้สูงขึ้น
คนพวกที่ยากจนที่สุดในโลกให้พ้นจากความยากจน
และขึ้นมากลายเป็น คนชั้นกลาง
และถ้าหากคุณบังเอิญอาศัยอยู่ ในส่วนของโลกที่รํ่ารวย
มันได้ทำให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆมากมาย สามารถซื้อหามาใช้ได้--
คุณคิดว่าใครเป็นคนคิดสร้างไอโฟนคะ--
และสิ่งต่างๆที่พวกเราต้องพึ่งพามันมาช้านานแล้ว
มีราคาถูกลงมาก
คิดถึงเครื่องล้างจาน หรือไม่ก็เสื้อยืดของคุณซิคะ
มีอะไรเล่า ที่เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะชอบ
คะ มีอยู่สองสามเรื่อง
เรื่องหนึ่งในนั้น ที่ทำให้ดิฉันกังวลอยู่
ก็คือ สิ่งที่คุณอาจเรียกว่า ธนาธิปไตยที่สำเร็จมาได้
ด้วยความสามารถของตัวเอง (meritocratic plutocracy)
จะกลายมาเป็น ธนาธิปไตยแบบพวกพ้องควบอำนาจรัฐ
(cromy plutocracy) ได้อย่างง่ายดาย
ลองจินตนาการดูซิคะ ว่าคุณเป็นนักลงทุนที่ฉลาดลํ้า
ผู้ซึ่งได้ขายความคิดในเรื่องนั้น หรือผลิตภัณฑ์นั้นไปจนสำเร็จ
กับคนหลายล้านคนในโลก
แล้วก็กลายมาเป็นเศรษฐีพันล้านในที่สุด
ที่จุดนั้นก็จะมีสิ่งมา ล่อใจ
ให้ใช้สติปัญญาอันชาญฉลาดทางเศรษฐกิจของคุณ
ที่จะพลิกแพลงกฏระเบียบเศรษฐกิจเชิงนโยบาย
ระดับโลก
ไปให้เกิดประโยชน์กับตัวคุณเอง
และนั่นไม่ได้เป็นแค่เพียงตัวอย่างที่สมมุติขึ้นมา
ลองคิดถึงอเมซอน แอปเปิล กลูเกิล สตาบักส์
พวกนี้เป็นบริษัทที่ อยู่ในสิ่งที่น่าชื่นชมที่สุดของโลก
เป็นที่รักที่สุด มีสิ่งใหม่ๆออกมามากที่สุด
แต่ก็บังเอิญว่า บริษัทพวกนี้ก็มีความชำนาญเป็นพิเศษ
อีกด้วย
ที่จะทำเรื่องระบบภาษีระหว่างประเทศ
เพื่อทำให้ใบเสร็จภาษีของพวกเขานั้น
ตํ่าลงมากๆอย่างมีนัยสำคัญ
แล้วทำไมจึงจะหยุดอยู่แค่เล่นกับระบบการเมือง
และเศรษฐกิจระดับโลก อย่างที่มันเป็นอยู่
เพื่อให้ตัวเองได้เปรียบมากที่สุด แค่นั้นหรือ
ทันทีที่คุณมีอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
ซึ่งเรากำลังเห็นอยู่ที่ระดับสูงมากๆ
ในเรื่องการกระจายรายได้
และอำนาจทางการเมือง ที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้น
มันก็กลายเป็นสิ่งที่มาล่อใจเช่นกัน
ให้เริ่มต้นพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการแข่งขัน
ไปในทางที่เป็นประโยชน์กับตัวคุณเอง
ยํ้าอีกครั้ง นี่ไม่ได้เป็นแค่สมมุติฐานเท่านั้น
มันเป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจในรัฐบาลรัสเซีย ได้ทำไปแล้ว
ในการทำให้เกิด การขายวิสาหกิจนับร้อยปี
ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศรัสเซีย
มันเป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะอธิบายสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว
กับการยกเลิกกฏระเบียบของการบริการด้านการเงิน
ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
เรื่องที่สองที่ทำให้ดิฉันเป็นห่วง
ก็คือ เป็นเรื่องง่าย ที่พวกธนาธิปไตยที่สำเร็จมาได้
ด้วยความสามารถของตัวเอง
จะกลายมาเป็นพวกคนชั้นสูง (aristocracy) ได้
วิธีหนึ่งที่จะอธิบายพวกธนาธิปไตย
ก็คือ เป็นพวกผู้เชี่ยวชาญและยิ่งใหญ่ (alpha geek)
เป็นคนพวกที่มีไหวพริบรู้ว่า
ทักษะเชิงปริมาณและการจำแนก ที่ช่ำชองอย่างสูง
มีความสำคัญอย่างไรกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน
นั่นเป็นสาเหตุว่า ทำไมพวกเขาจึงกำลังใช้
เวลาและทรัพยากรไป อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ในการให้การศึกษากับลูกๆของตัวเอง
พวกชนชั้นกลาง ก็ใช้จ่ายในการเรียนมากขึ้นด้วยเหมือนกัน
แต่ในการแข่งขันติดอาวุธด้านการศึกษาระดับโลกนั้น
ซึ่งเริ่มต้นขึ้นที่โรงเรียนอนุบาล
และไปจบที่ ฮาวาร์ด แสตนฟอร์ด หรือเอ็มไอที
หรือ 99 เปอร์เซ็นต์นั่น ต้องแพ้หลุดลุ่ย
อย่างเทียบไม่ติดมากขึ้นเรื่อยๆ
กับพวกหนึ่งเปอร์เซ็นต์นั่น
ผลที่ได้ก็คือ อย่างที่นักเศรษฐศาสตร์ชื่อ
อลัน ครูเกอร์ (Alan Drueger)
และไมลส์ โครัค (Miles Corak) เรียกว่า
เกรท เกสบี้ เครือบGreat Gatsby Curve
เมื่อความไม่เสมอภาคด้านรายได้เพิ่มขึ้น
การเปลี่ยนสถานะทางสังคมก็ถดถอยลง
รัฐบาลที่มาจากคนรวย อาจจะเป็นคนที่ประสบ
ความสำเร็จด้วยความสามารถของตนเอง
แต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่ว่าคุณจะต้องเกิดมา
อยู่ที่บันไดขั้นสูงสุด จึงจะเข้าไปแข่งขันกับเขาได้
เรื่องที่สาม และเป็นสิ่งที่ดิฉันห่วงมากที่สุด
ก็คือ ขอบเขตที่พลังเชิงบวกส่วนใหญ่พวกนั้น
ซึ่งกำลังขับให้ธนาธิปไตยระดับโลก เพิ่มสูงขึ้นนั้น
บังเอิญไปทำให้พวกคนชั้นกลาง กลวงเป็นโพลง
ในเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมของโลกตะวันตก
เรามาเริ่มในเรื่องของเทคโนโลยี่
อำนาจทั้งหลายพวกนั้นที่ได้สร้างเศรษฐีพันล้าน
กำลังกลืนงานต่างๆมากมาย ของคนชั้นกลางที่มีแต่เดิมไป
ครั้งสุดท้ายที่คุณใช้บริษัทท่องเที่ยวนั้นนะ เมื่อไหร่คะ
และตรงข้ามกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ยักษ์ใหญ่ของเศรษฐกิจใหม่ของเรา
ไม่ได้สร้างงานใหม่ๆมากนัก
ที่จุดยอดสุด จีเอ็ม จ้างคนงานหลายแสนคน
แต่ เฟสบุค จ้างน้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน
โลกาภิวัฒน์ก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน
ทั้งหมดนั้น มันยกระดับคนหลายร้อยล้านคน
ออกจากความยากจน ในตลาดที่ผุดขึ้นมาใหม่
แต่มันก็เอางานออกไปด้วยเป็นจำนวนมาก
จากเศรษฐกิจในโลกตะวันตกที่พัฒนาแล้ว
ความเป็นจริงที่น่ากลัวก็คือ
มันไม่มีกฎกติกาทางเศรษฐศาสตร์
ที่จะแปลให้เข้าใจได้อย่างเป็นอัตโนมัติ
ในเรื่องของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น
ไปสู่ความมั่งคั่งที่ถูกแบ่งปันกันไปได้ อย่างกว้างขวาง
สิ่งนั้นได้ถูกแสดงไว้ ในสิ่งที่ดิฉันเห็นว่าเป็น
สถิติทางเศรษฐกิจที่น่ากลัวที่สุด ในยุคของเรา
ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 90 การเพิ่มการผลิต
ได้ถูกแยกออกจาก การเพิ่มขึ้นของ
ค่าจ้างและการจ้างงาน
นั่นหมายความว่า ประเทศของเรากำลังรํ่ารวยขึ้น
บริษัทของเรากำลังมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่เราไม่ได้กำลังสร้างงานให้มากขึ้น
โดยรวมแล้ว เราไม่ได้จ่ายเงินให้กับผู้คนมากขึ้นกว่าเดิม
บทสรุปที่น่ากลัวอย่างหนึ่ง ที่คุณสามารถ
สรุบได้จากทั้งหมดนี้
ก็คือ ความกังวลใจในเรื่อง การว่างงานเชิงโครงสร้าง
สิ่งที่ทำให้ดิฉันกังวลยิ่งกว่า ก็คือกรณีฝันร้ายที่ต่างออกไป
เราต้องไม่ลืมว่า ในตลาดแรงงานที่เป็นอิสระโดยสิ้นเชิงนั้น
เราจะสามารถหางานให้กับเกือบทุกๆคน
สภาพการควบคุมทางสังคมที่โหดร้าย ที่ทำให้ดิฉันกังวล
ก็คือ จักรวาลที่คนอัจฉริยะไม่กี่คน
ประดิษฐ์กูเกิล (Google) และกลุ่มคนที่รํ่ารวยของมัน
และพวกเราที่เหลือ ก็ถูกจ้างให้ไปบีบนวดให้พวกเขา
ดังนั้น เมื่อดิฉันรู้สึกหดหู่ใจมากๆ เกี่ยวกับเรื่องทั้งหมดนี้
ดิฉันก็ปลอบใจตัวเอง ด้วยการคิดถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรม
เราต้องไม่ลืมว่า ความน่ากลัวของมันทั้งหมด โรงงานนรก
มันก็ไปได้ดีมากนะคะ ไม่ใช่หรือคะ
เราต้องไม่ลืมว่า พวกเราทั้งหมดที่นี่ ก็รํ่ารวยขึ้น มีสุขภาพ
ที่ดีขึ้น ตัวสูงขึ้น--
คะ แต่ก็มีข้อยกเว้นสองสามอย่าง--
และมีชีวิตอยู่ยาวนานกว่า บรรพบุรุษของเรา
ต้นๆศตวรรษที่ 19
แต่ก็สำคัญ ที่ต้องจดจำไว้
ก่อนที่เราจะได้เรียนรู้ วิธีการแบ่งปันผลไม้
ที่ได้จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ให้กับส่วนต่างๆของสังคมที่กว้างขวางนั้น
เราต้องผ่านภาวะเศรษฐกิจตกตํ่ามาแล้ว สองครั้ง
ภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าครั้งใหญ่ในทศวรรษที่ 1930
และภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าที่ยาวนานของทศวรรษที่ 1870
สงครามโลกสองครั้ง การปฏิวัติของลัทธิคอมมิวนิสต์
ในรัสเซียและในจีน
และยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง
ทางสังคมและทางการเมืองในโลกตะวันตก
นอกจากนี้ โดยไม่ใช่ความบังเอิญ
เราได้ผ่านพ้นยุคของการประดิษฐ์ครั้งใหญ่ยิ่ง
ทางสังคมและทางการเมือง
เราได้สร้างสวัสดิการรัฐสมัยใหม่ขึ้นมา
เราได้สร้างการศึกษาเพื่อสาธารณชนขึ้นมา
เราได้สร้างการรักษาพยาบาลเพื่อสาธารณชนขึ้นมา
เราได้สร้างบำนาญให้กับสาธารณชนขึ้นมา
เราได้สร้างสหภาพต่างๆขึ้นมา
ในวันนี้ เรากำลังดำรงชีวิตผ่านยุค
ของการเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจ
ซึ่งเปรียบเทียบได้ ในมาตราส่วนและในขอบเขตของมัน
ได้กับการปฏิวัตอุตสาหกรรม
เพื่อให้แน่ใจได้ว่า เศรษฐกิจใหม่นี้ จะให้ประโยชน์
แก่พวกเราทุกคน
ไม่แต่แค่เพียงพวกผู้ปกครองที่รํ่ารวยเท่านั้น
เราจำเป็นต้องเริ่มเข้าสู่ ยุคของการเปลี่ยนแปลง
ทางการเมืองและทางสังคม ที่ตั้งความปรารถนาไว้
อย่างสูงส่งพอๆกัน
เราจำเป็นต้องต่อรองกันใหม่
(เสียงปรบมือ)