รุ่นปู่ย่าตายายของเรา สร้างระบบที่น่าทึ่งเอาไว้ มันคือระบบคูคลองและแหล่งน้ำ ที่ทำให้มันเป็นไปได้ สำหรับผู้คนที่จะอาศัย อยู่ในที่ซึ่งไม่มีน้ำมากนัก ยกตัวอย่างเช่น ในยุคภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ พวกเขาสร้างเขื่อนฮูเวอร์ ซึ่งมันได้สร้างทะเลสาบมีต (Lake Mead) และทำให้มันเป็นไปได้สำหรับเมืองต่าง ๆ ในลาสเวกัส และฟินิกส์ และลอส แองเจลิส ที่จะจัดให้มีน้ำใช้ สำหรับผู้อาศัยในที่แห้งแล้งมาก ๆ ในศตวรรษที่ 20 พวกเราใช้เงิน ไปหลายล้านล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อนำน้ำเข้ามาในเมือง ในบริบทของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ มันเป็นการลงทุนที่ดี แต่ในทศวรรษที่ผ่านมา เราได้เห็นผลรวมจาก การเปลียนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเติบโต ของประชากร และการแก่งแย่งแหล่งน้ำ ที่ก่อปัญหาต่อปัจจัยสำคัญของชีวิต และแหล่งน้ำ ภาพนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ ในทะเลสาบมีต ที่เกิดขึ้นในช่วย 15 ปีที่ผ่านมา คุณจะเห็นว่ามันเกิดขึ้นราว ๆ ปี ค.ศ. 2000 ระดับน้ำในทะเลสาบลดลง และมันลดลงถึงอัตราหนึ่ง ที่อาจทำให้การบริโภคน้ำดื่มในลาสเวกัส สูงและอาจถูกใช้จนเหือดแห้ง ตัวเมืองเป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ และพวกเขาสร้างโครงสร้างใหม่ สำหรับน้ำดิ่มเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่พวกเขาเรียกมันว่า "หลอดที่สาม" เพื่อที่จะดึงน้ำออกจากทะเลสาบส่วนที่ลึกกว่าเดิม ความท้าทายที่เกี่ยวกับการจัดสรรน้ำ ให้กับเมืองในปัจจุบัน ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในอเมริกาตะวันตกเฉียงใต้ ในปี ค.ศ. 2007 เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสาม ในออสเตรเลีย ซึ่งก็คือบริสเบน อยู่ในภาวะที่เหลือน้ำใช้เพียง 6 เดือน เหตุการณ์คล้าย ๆ กันนี้ เกิดขึ้นในซานเปาโล บราซิล ในปัจจุบัน ที่ซึ่งแหล่งน้ำหลักของเมือง จากที่เกือบมีเต็มในปี ค.ศ. 2010 กลายเป็นเกือบแห้งสนิทในปัจจุบัน เมื่อเมืองนี้เตรียมการต้อนรับ โอลิมปิกปี 2016 สำหรับพวกเราบางคนที่ยังโชคดี ที่อาศัยอยู่ในหนึ่งในเมืองที่เยี่ยมที่สุดในโลก เราไม่เคยมีประสบการณ์จากผลกระทบ ความแห้งแล้งที่เห็นหายนะใหญ่หลวงเลย เราชอบที่จะบ่น ๆ เรื่องการประหยัดน้ำ เราชอบที่จะให้เพื่อนบ้านเราเห็นว่า รถเราสกปรก และสนามหญ้าก็แห้งกรัง แต่เราไม่เคยที่จะเผชิญหน้าจริง ๆ กับการไขก๊อกน้ำ แล้วไม่มีอะไรออกมา และนั่นเป็นเพราะว่า เมื่อเกิดเรื่องแย่ ๆ ขึ้นในอดีต มันเป็นได้ที่จะขยายแหล่งน้ำออกไป หรือขุดบ่อน้ำบาดาลให้ลึกลงไปอีกหน่อย ครับ และมันจะถึงเวลาที่แหล่งน้ำเหล่านี้ เป็นอันจบสิ้นกัน มันไม่สามารถที่จะเป็นที่พึ่งในลักษณะนี้ เพื่อให้จัดสรรน้ำให้กับพวกเราได้ บางคนคิดว่า พวกเรากำลังจะแก้ปัญหาน้ำในเมือง โดยการดึงน้ำเข้ามาจากเพื่อนบ้านในชนบท แต่วิธีการนั้นเต็มไปด้วยปัญหาทางการเมือง กฎหมาย และอันตรายทางด้านสังคม และแม้ว่าเราจะสามารถนำน้ำเข้ามา จากเพื่อนบ้านในชนบทได้ เราก็เพียงแค่ส่งผ่านปัญหา ไปให้อีกคนหนึ่งเท่านั้นเอง และมันเป็นไปได้มากทีเดียว ที่มันจะย้อนกลับมาแว้งกัดเรา ในรูปแบบของการขึ้นราคาอาหาร และความเสียหายต่อระบบนิเวศทางน้ำ ที่เกิดกับแหล่งน้ำพวกนั้นอยู่แล้ว ผมคิดว่า มันมีวิธีที่ดีกว่า ที่จะแก้ปัญหาวิกฤติน้ำในเมือง และผมคิดว่าวิธีนั้นก็คือการเปิดแหล่งน้ำ สี่แห่งใหม่ในท้องถิ่น ที่ผมอยากจะปันนั้นออกมา ถ้าเราสามารถทำการลงทุนที่ฉลาด ต่อแหล่งน้ำใหม่เหล่านี้ได้ ในอนาคตอันใกล้นี้ เราสามารถที่จะแก้ปัญหาน้ำในเมืองได้ และลดความน่าจะเป็นที่เราจะเผชิญหน้า กับผลจากความแห้งแล้งอย่างรุนแรง ทีนี้ ถ้าคุณบอกผมเมื่อ 20 ปีก่อน ว่าเมืองยุคใหม่สามารถตั้งอยู่ได้ โดยปราศจากการนำเข้าน้ำ ผมคงจะไม่คุยกับคนที่เพ้อฝันและไร้สาระ อย่างนั้นแน่ ๆ แต่จากประสบการณ์ของผม การทำงานในทศวรรษที่ผ่านมา กับบางเมืองที่แล้งน้ำมากที่สุดในโลก ได้แสดงให้ผมเห็นว่าเรามีเทคโนโลยี และความสามารถในการจัดการ ที่จะเปลี่ยนผ่านจากการนำเข้าน้ำ ไปสู่สิ่งที่ผมอยากจะเล่าให้พวกคุณฟัง แหล่งท้องถิ่นน้ำแรกที่เราจะต้องพัฒนา เพื่อแก้ปัญหาน้ำในเมืองของเรา เกี่ยวข้องกับน้ำฝน ที่ตกลงมาในเมืองของเรา หนึ่งในโศกนาฎกรรมของการพัฒนาเมือง คือเมื่อเมืองของเราเติบโต เราเริ่มที่จะเปลี่ยนพื้นที่บนดินทั้งหมด ด้วยคอนกรีตและยางมะตอย และเมื่อเราทำอย่างนั้น เราจะต้องสร้างท่อระบายน้ำฝน ที่จะนำน้ำที่ตกลงมาในเมืองออกไป ก่อนที่มันจะทำให้เกิดน้ำท่วม และนั่นเป็นการปล่อยแหล่งน้ำ ไปอย่างสิ้นเปลือง ให้ผมยกตัวอย่างให้คุณดู ตัวเลขนี้แสดงให้คุณเห็นถึงปริมาณน้ำ ที่สามารถถูกเก็บกักได้ ในเมืองของ ซาน โฮเซ ถ้าพวกเขาสามารถเก็บน้ำฝนตามฤดูกาล ที่ตกลงมาในระดับที่เมืองรับได้ คุณจะเห็นจากเส้นสีฟ้า และเส้นประสีดำที่มาตัดกัน ว่าถ้าซาน โฮเซ สามารถเก็บน้ำได้ครึ่งหนึ่ง ของน้ำฝนที่ตกลงมาภายในเมือง พวกเขาจะมีน้ำเพียงพอสำหรับใช้ไปทั้งปี ตอนนี้ ผมรู้ว่าพวกคุณบางคนอาจคิดว่า "คำตอบต่อปัญหาของพวกเรา คือการสร้างที่เก็บน้ำใหญ่ ๆ และติดพวกมันเข้ากับรางน้ำฝนบนหลังคา เป็นการเก็บน้ำฝน" ครับ นั่นเป็นแนวคิดที่อาจได้ผลในบางที่ แต่ถ้าคุณอาศัยอยู่ในที่ ซึ่งฝนตกในฤดูหนาวเป็นส่วนใหญ่ และน้ำเป็นที่ต้องการมากที่สุดในช่วงฤดูร้อน มันไม่ค่อยจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเท่าไร ในการแก้ปัญหาน้ำ และถ้าคุณเคยประสบปัญหาภัยแล้ง หลาย ๆ ปีติดกัน อย่างที่แคลิฟอเนียกำลังเจออยู่ในตอนนี้ คุณไม่สามารถที่จะแค่สร้างที่เก็บน้ำฝน ที่ใหญ่พอที่จะแก้ปัญหาของคุณได้ ผมคิดว่ามันมีหนทาง ที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติมากกว่านั้น ในการเก็บน้ำฝนตามฤดูกาล และน้ำฝนที่ตกลงมาในเมือง และนั่นก็เพื่อให้มันซึมผ่านลงไปในดิน อย่างไรก็ดี เมืองหลาย ๆ เมืองของเรา ตั้งอยู่บนแหล่งเก็บน้ำตามธรรมชาติ ที่สามารถรองรับน้ำปริมาณมากได้ ยกตัวอย่างเช่น ในอดีต ลอสแองเจลิสได้เก็บกัก ประมาณหนึ่งในสามของน้ำสำรอง จากชั้นหินอุ้มน้ำ ที่อยู่ใต้หุบเขาซาน เฟอร์นันโด ตอนนี้ เมื่อคุณดูน้ำ ที่ไหลชะลงมาจากหลังคา และไหลลงไปบนสวนของคุณ และไหลลงรางน้ำไป คุณอาจบอกกับตัวเองว่า "ฉันอยากจะดื่มน้ำพวกนั้นงั้นหรอ" ครับ คำตอบก็คือคุณไม่อยาก จนกว่ามันจะถูกบำบัดเสียก่อน ฉะนั้นความท้าทายที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่ ในการเก็บน้ำในเมือง ก็คือการเก็บน้ำที่สะอาด และนำมันลงไปใต้ดิน และนั่นเป็นสิ่งที่ลอสแองเจลิสกำลังทำ ด้วยโครงการใหม่ที่พวกเขาสร้างขึ้น ที่เบอร์แบงค์ แคลิฟอร์เนีย ภาพนี้แสดงถึงแหล่งเก็บน้ำตามฤดูกาล ที่พวกเขาสร้างขึ้น โดยการดึงเอานำจากฝนตามฤดูกาล หรือตามรางน้ำฝน และนำน้ำเหล่านั้น เข้าสู่เหมืองหินกรวดที่ไม่ใช้แล้ว น้ำที่ถูกกักไว้ที่เหมืองนั้น จะค่อย ๆ ผ่านหนองน้ำที่คนสร้างขึ้น และจากนั้น มันจะเข้าไปในทุ่งตรงนั้น และถูกกรองผ่านลงไปในพื้นดิน บรรจุใหม่ในชั้นหินอุ้มน้ำดื่มของเมือง และในกระบวนการ การผ่านเข้าไปในหนองน้ำ และซึมผ่านลงในพื้นดินนี้ น้ำได้ปะทะเข้ากับจุลชีพ ที่อาศัยอยู่บนผิวของพืช และพื้นผิวของดิน และนั่นช่วยบำบัดน้ำให้บริสุทธิ์ และถ้าหากน้ำยังไม่สะอาดพอ สำหรับการใช้ดื่ม หลังจากที่มันผ่าน กระบวนการบำบัดทางธรรมชาตินี้แล้ว เราสามารถนำมันมาบำบัดซ้ำอีก เมื่อเราปั๊มมันกลับขึ้นมา จากชั้นอุ้มน้ำผิวดิน ก่อนที่เราจะส่งมันไปให้คนใช้ดื่ม ก๊อกที่สองที่เราจะต้องไขเปิด เพื่อแก้ปัญหาน้ำในเมืองนี้ จะเกี่ยวข้องกับน้ำเสีย ที่ออกมาจากท่อน้ำโรงบำบัดน้ำเสีย ทีนี้ พวกคุณหลาย ๆ คนคงคุ้นเคย กับแนวคิดของการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์แบบนี้ ที่บอกคุณว่าไม้พุ่มและต้นไม้เกาะกลางถนน และสนามกอล์ฟในพื้นที่ ใช้น้ำพวกนี้ ที่เคยเป็นน้ำ ที่มาจากท่อโรงงานบำบัดน้ำเสีย เราได้ทำอย่างนี้ มาประมาณยี่สิบสามสิบปีแล้ว แต่สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากประสบการณ์ ก็คือวิธีการนี้แพงกว่าที่เราคิดเอาไว้ เพราะเมื่อเราสร้างระบบ การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่แรก ๆ ใกล้ ๆ กับท่อโรงบำบัดน้ำเสีย เราต้องสร้างเครือข่ายท่อที่ยาวกว่า เพื่อที่จะให้น้ำไปยังที่ที่เราอยากให้มันไป และนั่นกลายเป็นอุปสรรค ในด้านค่าใช้จ่าย สิ่งที่เราพบว่า มีราคาย่อมเยาสมเหตุสมผลกว่า ในทางปฏิบัติของการนำกลับมาใช้ใหม่ คือเปลี่ยนน้ำเสีย ให้กลายเป็นน้ำสำหรับดื่ม ผ่านกระบวนการสองขั้นตอน ในขั้นตอนแรกเราให้แรงดันกับน้ำ และผ่านมันไปยังเยื่อรีเวอร์สออสโมซิส เยื่อพลาสติกบาง ๆ ที่น้ำผ่านได้ ที่ยอมให้โมเลกุลน้ำผ่านไป แต่กักและเก็บเกลือ ไวรัส และสารอินทรีย์อื่น ๆ ที่อาจอยู่ในน้ำเสียนั้นเอาไว้ ในกระบวนการขั้นที่สอง เราเติมไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ ลงไปเล็กน้อย และฉายแสงอัลตราไวโอเลทลงไปในน้ำ แสงอัลตราไวโอเลท ตัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นสองส่วนที่เรียกว่า อนุมูล ไฮดรอกซิล และอนุมูลไฮดรอกซิลเหล่านี้ เป็นออกซิเจนในรูปแบบที่มีศักยภาพสูง ในการสลายสารอินทรีย์ส่วนใหญ่ หลังจากที่น้ำผ่านขั้นตอนทั้งสองนี้แล้ว มันปลอดภัยสำหรับการใช้ดื่ม ผมรู้ครับ ผมได้ทำการศึกษาน้ำ จากการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยใช้เทคนิคการวัดค่าทุกอย่าง ที่เป็นที่รู้จักกันในวงการวิทยาศาสตร์ เป็นเวลาตลอด 15 ปีที่ผ่านมา เราตรวจพบสารเคมีบางอย่าง ที่สามารถผ่านกระบวนการขั้นแรกไปได้ แต่เมื่อผ่านกระบวนการขั้นที่สอง ที่เป็นการบวนการออกซิเดชันที่ทันสมัย เราแทบจะไม่เห็นสารเคมีใด ๆ เลย และนั่นแตกต่างกับแหล่งน้ำใช้ของเรา ที่เราไม่ค่อยจะให้ความใส่ใจ ที่เราใช้ดืมกันเป็นประจำ นั่นเป็นอีกหนทางหนึ่ง สำหรับการนำน้ำกลับมาใช้อีก นี่คือหนองน้ำที่ถูกออกแบบสำหรับการบำบัด ที่เราเพิ่งสร้างขึ้น บนแม่น้ำ ซานตา แอนา ทางแคลิฟอร์เนียใต้ หนองน้ำสำหรับการบำบัดนี้ รับน้ำจากส่วนหนึ่งของแม่น้ำ ซานตา แอนา ที่ในตอนฤดูร้อนจะรับน้ำเสียเกือบทั้งหมด ที่ถูกปล่อยออกมา จากเมืองต่าง ๆ เช่น ริเวอร์ไซด์ และ ซาน บาร์นาร์ดิโน น้ำเข้ามายังหนองน้ำสำหรับการบำบัดของเรา มันถูกตากแดดและเจอกับสาหร่าย ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสารอินทรีย์ กำจัดสารอาหาร และยับยั้งเชื้อโรคที่มากับน้ำ น้ำถูกส่งกลับไปยังแม่น้ำ ซานตา แอนา มันไหลลงไปยัง แอนาเฮม ถูกนำออกจาก แอนาเฮม และค่อย ๆ ซึมลงไปในพื้นดิน และกลายเป็นน้ำดื่มของเมืองแอนาเฮม เป็นการเดินทางที่ครบสมบูรณ์ จากท่อระบายน้ำฝนของริเวอร์ไซด์คันทรี ไปยังแหล่งน้ำสำหรับดื่ม ของออเรนจ์คันทรี ถึงตอนนี้ คุณอาจคิดว่า แนวคิดเรื่องการดืมน้ำจากแหล่งน้ำเสียนี้ เป็นเรื่องจินตนาการถึงอนาคต หรือเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องปกติ ครับ ในแคลิฟอร์เนีย เราได้นำน้ำเสีย กลับมาใช้ใหม่ประมาณ 40 ล้านแกลอนต่อปี ผ่านสองขั้นตอนการบำบัดที่ทันสมัย ที่ผมเพิ่งเล่าให้คุณฟัง มันมีน้ำเพียงพอสำหรับคนประมาณล้านคน ถ้าหากว่ามันเป็นแหล่งน้ำ สำหรับพวกเขาเท่านั้น ก๊อกที่สามที่เราจะต้องไขเปิด ไม่ใช่ก๊อกจริง ๆ เสียทีเดียว มันเป็นก๊อกเสมือน มันจะเป็นการอนุรักษ์บริหารจัดการน้ำ และที่ซึ่งเราต้องคิดถึง ในเรื่องของการอนุรักษ์น้ำคือนอกตัวอาคาร เพราะว่าในแคลิฟอร์เนีย และเมืองที่ทันสมัยในอเมริกา ประมาณครึ่งหนึ่งของการใช้น้ำของพวกเรา เกิดขึ้นนอกตัวอาคาร ในฤดูแล้งตอนนี้ เราได้เห็นว่ามันเป็นไปได้ ที่จะทำให้สนามหน้าบ้านของเราอยู่รอด และต้นไม้ของเราไม่ตาย ด้วยน้ำปริมาณเพียงครึ่งเดียว ฉะนั้น มันไม่จำเป็น ที่เราจะต้องทาคอนกรีตเป็นสีเขียว และใช้หญ้าเทียมและซื้อกระบองเพชร เราสามารถมีภูมิทิศน์ที่เป็นมิตรอย่าง แคลิฟอร์เนีย ด้วยเครื่องวัดความชื้นในดิน เครื่องควบคุมการชลประทานอันชาญฉลาด และมีภูมิทัศน์สีเขียวสวยงาม ในเมืองต่าง ๆ ของพวกเรา ก๊อกที่สี่และมันเป็นก๊อกสุดท้าย ที่เราจะต้องไขเปิด เพื่อแก้ปัญหาน้ำในเมือง เกี่ยวข้องกับการกำจัดเกลือจากน้ำทะเล ทีนี้ ผมรู้ว่าคุณอาจเคยได้ยินคนพูด เกี่ยวกับการกำจัดเกลือในน้ำทะเลว่า "มันเป็นเรื่องดีที่ควรทำ ถ้าคุณมีน้ำมันเยอะ ๆ แต่มีน้ำไม่เยอะ และคุณไม่สนใจว่าจะมีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไม่" การกำจัดเกลือในน้ำทะเล ใช้พลังงานอย่างมาก แต่นั่นเป็นลักษณะ ของการกำจัดเกลือจากน้ำทะเล แบบเดิม ๆ นั้นล้าสมัยเกินไป เราได้ปรับปรุงกระบวนการกำจัดเกลือ จากน้ำทะเลไปมาก ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ภาพนี้แสดงให้คุณเห็นถึง โรงงานกำจัดเกลือจากน้ำทะเลที่ใหญ่ที่สุด ในซึกโลกตะวันตก ที่ตอนนี้กำลังสร้างที่ทางตอนเหนือ ของซาน ดิเอโก เปรียบเทียบกับโรงงาน กำจัดเกลือจากน้ำทะเล ที่สร้างขึ้นในซานตา บาบารา เมื่อ 25 ปีก่อน โรงงานบำบัดน้ำขนาดใหญ่นี้ จะใช้พลังงานประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อผลิตน้ำหนึ่งแกลลอน แต่เพราะการกำจัดเกลือจากน้ำทะเล ได้กลายเป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานน้อยลง ไม่ได้หมายความว่าเราควรที่จะเริ่มสร้าง โรงงานกำจัดเกลือไปซะทุกหนทุกแห่ง ในบรรดาตัวเลือกต่าง ๆ ที่เรามี มันอาจเป็นทางเลือกที่ใช้พลังงานมากที่สุด และเป็นไปได้ว่าจะทำลายธรรมชาติมากที่สุด ในการผลิตแหล่งน้ำสำรองสำหรับท้องถิ่น นั่นล่ะครับ ด้วยแหล่งน้ำทั้งสี่นี้ เราจะไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำ ด้วยการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์พื้นผิว และสิ่งปลูกสร้าง เราสามารถการใช้น้ำจากนอกตัวอาคาร ได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำสำรอง 25 เปอร์เซ็นต์ เราสามารถนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ที่ทำให้มันไหลกลับลงไปในท่อระบายน้ำฝน ซึ่งเป็นการเเพิ่ม แหล่งน้ำสำรอง 40 เปอร์เซ็นต์ และเราสามารถสร้างความแตกต่าง ผ่านการกระทำร่วมกันของ การเก็บน้ำตามฤดูกาล และการกำจัดเกลือจากน้ำทะเล ฉะนั้น เรามาสร้างแหล่งน้ำสำรองกันเถอะครับ นั่นจะทำให้เราสามารถ ยืนหยัดเผชิญหน้าได้กับทุกความท้าทาย ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะนำมาสู่เราในอนาคตอันใกล้ เรามาร่วมกันสร้างแหล่งน้ำสำรอง ทีจะถูกใช้เป็นแหล่งในท้องถิ่น และปล่อยให้น้ำในธรรมชาติ เป็นของปลาและอาหาร เรามาร่วมกันสร้างระบบน้ำ ที่สอดคล้องกับคุณค่าของธรรมชาติ และเรามาร่วมกันทำสิ่งนี้ เพื่อลูกหลานของเราและของพวกเขา และบอกพวกเขาว่า นี่คือระบบ ที่พวกเขาจะต้องรักษาทะนุบำรุง ต่อไปในอนาคต เพราะว่านี่คือโอกาสสุดท้ายของเรา ที่จะสร้างระบบน้ำแบบใหม่ ขอบคุณมาก ๆ ที่รับฟังครับ (เสียงปรบมือ)