สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ อยากรู้กันไหมคะว่าแต่ละวันในสัปดาห์ ภาษาอังกฤษ ชื่อของเค้ามาจากอะไร ทำไมเป็น monday ทำไมไม่เป็น moonday อย่างนี้นะคะ คลิปนี้วิวจะมาเล่าให้ทุกคนฟังค่ะ อย่างไรก็ตามค่ะ นี่เป็นแค่เกร็ดสนุกๆ ไม่สามารถนำไปใช้สอบได้ใช่ไหมคะ แต่ถ้าน้องๆคนไหนจะต้องสอบ ไม่ว่าจะเป็น O-NET 9วิชาสามัญ GAT PAT BMAT SATmath หรือแม้แต่กสพท. Nestle School Channel เค้าฝากวิวมากระซิบค่ะว่า เค้าเป็นแชนเนลที่มีขึ้นเพื่อติวสอบโดยเฉพาะเลยนะคะ เนื้อหาตรงตามหลักสูตรกระทรวงเป๊ะๆๆๆ ที่สำคัญนะคะ ใช้รุ่นพี่ระดับ ท็อปประเทศเป็นคนติวเลยค่ะ และมีการเฉลยข้อสอบละเอียดยิบเลยนะ ทุกวิชาเลย ดังนั้นอย่าลืมเข้าไปดูกันนะคะ ส่วนใครที่เข้าไปดูแล้ว อย่าลืมกด subscribe กันนะคะ จะได้ไม่พลาดเลยเวลาที่ต้องติวสอบค่ะ และเหมือนว่าเค้าจะมีเป็นแอปด้วยเนอะ ลองดูกันได้ค่ะ เอาล่ะ จบเรื่องที่เค้าฝากมาบอกแล้วนะคะทุกคน แล้วก็เปลี่ยนชุดให้เห็นกันชัดๆ ไปเลยว่าถ่ายคนละวันน่ะนะ ช่างมันเถอะค่ะทุกคน อย่าสนใจชุดวิวเลยเนอะ สนใจเรื่องที่วิวจะพูดดีกว่าค่ะ คือช่วงนี้เนี่ยนะคะ วิวยังค่อนข้างอินกับ เรื่องวัน เรื่องเวลา เรื่องที่มาของคำอยู่ค่ะ จากเดิมที่เราเคยทำคลิปเรื่อง ทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม กับ ทำไมเราต้องหยุดเสาร์อาทิตย์ ไป เราก็พูดถึงปฏิทิน พูดถึงการจัดเวลา อะไรกันไปเยอะแยะมากมายเลยใช่ไหมคะ ทีนี้ก็ยังมีอีกหนึ่งประเด็นที่ยัง คาใจของวิวอยู่ค่ะก็คือ ชื่อวันต่างๆในสัปดาห์มีที่มาจากที่ไหน ทำไมชื่อวันของแต่ละประเทศในโลก ที่มันดูแบบคนละอารยธรรมกันเลย มันยังดูแปลออกมาแล้วยังเกี่ยวกันอยู่ เช่น วันจันทร์ ก็จันทร์ พระจันทร์ใช่ไหม แล้วทำไมภาษาอังกฤษมันก็เป็น monday mon ก็ดูคล้ายๆ moon นะ ใช่คำเดียวกันรึเปล่า หรือว่าถ้าสมมติว่าไปเรียนภาษาญี่ปุ่น gestuyobi getsu ก็แปลว่าพระจันทร์นี่หน่า ทำไมวันจันทร์มันถึงเป็น พระจันทร์หมดเลย อะไรอย่างนี้นะคะ ดังนั้นวิวก็เลยไปหาคำตอบ มาให้ทุกคนเรียบร้อยแล้วค่ะ แต่ตอนนี้นะคะอย่าลืมกดติดตามวิว ให้ครบทุกช่องทางก่อนค่ะ เพราะว่าแต่ละช่องทางนี่ เนื้อหาไม่เหมือนกันเลยนะคะทุกคน หลายคนยังไม่รู้ว่าวิวมี Instagram ด้วยนะคะ เอาล่ะ เลิกโฆษณาได้แล้วค่ะ ตอนนี้พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้ง สนุกแล้วก็ได้สาระกันรึยังคะ ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ ก่อนที่เราจะไปพูดถึงชื่อวันภาษาอื่นกันนะคะ เรามาเริ่มจากภาษาไทยของเราก่อนเลยค่ะ คงไม่ต้องไล่เรียงให้ฟังนะคะว่า ชื่อวันภาษาไทยมีชื่ออะไรบ้าง เพราะเราก็น่าจะรู้กันอยู่แล้วอะนะ เรียนตั้งแต่อนุบาลแล้ว อย่างไรก็ตามค่ะ ชื่อวันภาษาไทยเนี่ย มีที่มาจากอินเดียค่ะ คือเราได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียนะคะ โดยที่ เราตั้งชื่อวันตามดาวนพเคราะห์ค่ะ ดาวนพเคราะห์นี่ก็คือดาวเคราะห์ที่มีเทพประจำอยู่ ที่เราเชื่อว่าส่งผลอะไรต่อชีวิตเรา อย่างนี้ใช่ไหมคะ ซึ่งชื่อก็บอกว่านพเคราะห์ค่ะ นพ แปลว่า เก้า เอ้า มีเก้าดวง เก้าองค์ แล้ววันมีแค่เจ็ด แล้วพระราหูกับพระเกตุหายไปไหนนะคะ ก็ต้องบอกว่าดาวนพเคราะห์ของเราเนี่ยค่ะ เค้ามีความเชื่อเรื่องเลขประจำวันอยู่ค่ะ ก็จะไล่ไปตั้งแต่พระอาทิตย์เป็นหมายเลขหนึ่ง พระจันทร์เป็นหมายเลขสอง สาม สี่ ห้า จนไปถึงหมายเลขเจ็ด ก็คือพระเสาร์นั่นเอง ดังนั้นนะคะตอนที่เค้าตั้งชื่อวันเนี่ย เค้าก็เลยเอาชื่อเทพนพเคราะห์ที่มี หมายเลขประจำวันตั้งแต่ หมายเลขหนึ่งถึงหมายเลขเจ็ด ก็คือพระอาทิตย์จนถึงพระเสาร์เนี่ยมาตั้งชื่อวันค่ะ ส่วนพระราหูกับพระเกตุนะคะ หมายเลขแปดกับหมายเลขเก้า นี่ก็หลุดไปอย่างน่าเสียดายค่ะ ทีนี้เอาจริงๆทุกคนรู้แหละว่าแต่ละวันชื่ออะไรบ้าง แต่ว่ารู้กันไหมคะว่าแต่ละวันในสัปดาห์ของเรา ภาษาไทยเราเนี่ย แปลว่าอะไรนะคะ เรามาแปลทีละวันกันดีกว่าค่ะ วันแรกนะคะก็คือวันอาทิตย์นั่นเอง อันนี้ชัดเจนนะคะ มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า Aditya ก็คือพระอาทิตย์นั่นเอง ส่วนวันที่สองตรงตัวเช่นกันค่ะ วันจันทร์ก็คือมาจาก Candra หรือว่าพระจันทร์นั่นเองนะคะ ตรงตัวมาก ไม่รู้จะแปลทำไม แต่มันมีเหตุผลที่ต้องแปลค่ะ เพราะว่า วันที่สามของเราเนี่ย วันอังคารใช่ไหมคะ วันอังคารเนี่ยมาจากภาษาสันสกฤตคำว่า Angara อังคาระ อังการะ อะไรประมาณนี้ ซึ่งวิวไม่เป๊ะภาษาสันสกฤตขนาดนั้นนะ ซึ่งคำว่าอังคารในภาษาสันสกฤตเนี่ยนะคะ แปลว่าเถ้าถ่านหรือถ่านที่ติดไฟอยู่ค่ะ ก็เค้าจินตนาการดาวอังคารกันน่ะ เป็นแบบดาวสีแดงๆ น่าจะเป็นถ่านไฟ ที่ลุกจนก้อนแดงอะไรอย่างนี้อยู่นะคะ ซึ่งตรงนี้ นี่คือสาเหตุที่ทำให้เวลาคนที่เรารักเสียไป เราจะต้องไปลอยอังคารค่ะ อังคารในทีนี้คือคำเดียวกันนะคะ เค้าหมายถึงเถ้าถ่านที่เกิดจาก การเผาไหม้กระดูกของคนนั่นเองค่ะ ส่วนวันพุธนี่ก็คือพุธ หมายถึงผู้ทรงความรู้นะคะ ก็หมายถึงพระพุธอะนะ อาจจะไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้านะจ๊ะทุกคน ส่วนวันพฤหัสเนี่ยนะคะก็มาจากภาษาสันสกฤต คำว่า Brhaspati นะคะก็คือ พระพฤหัสบดีผู้เป็นครูของเหล่าเทพทั้งหลายค่ะ และวันศุกร์นะคะก็มาจาก พระศุกร์นั่นเอง อันนี้ชัดเจนนะ เค้าหมายถึงผู้มีบุญ ผู้สุกสว่าง อะไรประมาณนี้ ซึ่งถ้าตามตำนานเทพนพเคราะห์เนี่ย พระศุกร์ก็จะเป็นอาจารย์ของ เหล่าอสูรทั้งหลายใช่ไหมคะ และวันเสาร์นี่ก็คือพระเสาร์นะคะ หมายถึงฟากฟ้า หมายถึงสวรรค์ อะไรประมาณนี้ นี่ก็คือชื่อวันของไทยที่ตั้งตามชื่อเทพนพเคราะห์นะคะ ซึ่งถ้ามีโอกาส เดี๋ยวไว้เล่าเรื่อง เทพนพเคราะห์ให้ฟังค่ะ ทีนี้เราบอกว่าเรารับมาจากอินเดีย แล้วถามว่าอินเดียเรียกชื่อวันเหมือนเรารึเปล่า เราสามารถเดินไปหาคนอินเดียแล้วบอกว่า เฮ้ย วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ อย่างนี้ได้รึเปล่า ก็ต้องบอกว่าไม่ได้นะคะ ถึงจะเป็นเทพองค์เดียวกัน ถึงจะมาจากภาษาสันสกฤต แต่ว่าในอินเดียเค้าใช้ชื่อแตกต่างกันไปค่ะ ชื่อของอินเดียก็จะใช้ตามนี้ค่ะ อ่านดูเผินๆอาจจะไม่ค่อยเหมือนของไทย แต่ว่าถ้าไปแปลจริงๆก็จะเห็นว่าเหมือนนะ อย่าง Somavar วันจันทร์เนี่ย Soma ก็แปลว่าพระจันทร์ Ravivar วันอาทิตย์ Ravi ก็คือพระอาทิตย์นั่นเองนะคะ ส่วนวันพฤหัสนี่ก็เป็น Guruvar Guru ก็คือครู ครูก็คือครูของเหล่าเทพที่วิวเล่าไปว่า พระพฤหัสเป็นครูของเหล่าเทพนั่นเองค่ะ ประมาณนี้เลย เราจะไม่ไปเจาะลึก ที่ไทยกับอินเดียเท่าไหร่ นี่ขนาดบอกว่าไม่เจาะลึกนะคะ ปาไปกี่นาทีแล้วเนี่ยทุกคน ยาวมากนะ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าวิวนอกเรื่องนะคะ เดี๋ยวเรื่องนี้มันจะกลับมาเกี่ยวกันตอนสุดท้ายค่ะ เรากลับไปที่ประเด็นหลักของคลิปนี้ดีกว่า ก็คือเรื่อง ชื่อวันภาษาอังกฤษนะคะ เราทุกคนรู้แหละว่าชื่อวันภาษาอังกฤษไล่ตั้งแต่ Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday แล้วก็ Saturday เนี่ยนะคะ อยากรู้ไหมว่าแต่ละวันเนี่ย มีที่มาจากอะไรและแปลว่าอะไรค่ะ อะ ชื่อวันมีคำแปลนะคะทุกคน ถ้าเราจะดูที่มาของชื่อวันภาษาอังกฤษเนี่ยนะคะ เราต้องดูย้อนกลับไปไกลแสนไกลค่ะ ในสมัยบาบิโลเนียนะคะ จำกันได้ไหมคะที่วิวเคยเล่าไปตอนพวกกำเนิดปฏิทิน ในตอนที่เล่าเรื่อง 1 มกรา กับตอนที่เล่าเรื่องว่า ทำไมสัปดาห์นึงมีเจ็ดวัน ว่าชาวบาบิโลเนียเป็นชาติแรกๆในโลกเลย ที่แบ่งสัปดาห์นึงออกเป็นทั้งหมดเจ็ดวันค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าพอมีการแบ่งออกมาแล้วเนี่ย เค้าก็จะต้องมีการตั้งชื่อวันของเค้าใช่ไหมคะ ถามว่าชาวบาบิโลเนียตั้งตามอะไร แน่นอนว่าเค้าก็ต้องตั้งตาม ชื่อเทพเจ้าของเค้านี่แหละค่ะ ซึ่งเทพเจ้าของชาวบาบิโลเนียเนี่ยนะคะ เค้าก็จะตั้งชื่อตามชื่อดาวเคราะห์นี่แหละค่ะ คือเค้ามองขึ้นไปบนฟ้า เห็นดาวต่างๆ ดาวเคราะห์นู้นนี้นั้น อ๊ะ วันนี้ดาวนี้ขึ้นเห็นชัด วันนี้ดาวนี้ขึ้นเด่นชัด อ้าว วันนี้พระจันทร์ วันนี้พระอาทิตย์ สุดท้ายเค้าก็เลยเลือกดาวเคราะห์ มาได้ทั้งหมดเจ็ดดวงด้วยกันค่ะ โดยที่เค้านับพระจันทร์เป็นดาวเคราะห์ด้วยนะ แล้วก็ตั้งชื่อเทพให้กับดาวเหล่านั้น แล้วก็เอามาใช้เป็นชื่อวันด้วยค่ะ ซึ่งคอนเซ็ปต์นี้ ชาวบาบิโลเนียไม่ได้เก็บไว้คนเดียวค่ะ พอมีอีกอารยธรรมขึ้นมาเนี่ย บางทีมันก็ส่งต่อ อารยธรรมซึ่งกันและกันได้ใช่ไหมคะ ดังนั้นเมื่อชาวกรีกเห็นชาวบาบิโลเนีย เรียกวันต่างๆในสัปดาห์ว่าแบบนั้น ชาวกรีกก็เลยรู้สึกว่าแบบ เฮ้ย น่าสนใจ เอาบ้างดีกว่าค่ะ ชาวกรีกก็เลยหันมาตั้งชื่อวันของตัวเองนะคะ ตามเทพเจ้าเหมือนกัน แต่ชาวกรีกนี่มีเทพเจ้าของตัวเอง จะไปใช้ชื่อเทพเจ้าของชาวบาบิโลเนีย มันก็เสียฟอร์มใช่ไหม ดังนั้นค่ะ ชาวกรีกก็เลยตั้งชื่อวัน ตามเทพเจ้าของตัวเองนะคะ แต่ชื่อของกรีกมันจะต้องไม่เหมือนไทยแน่นอน ชื่อของกรีก เทพประจำดวงดาวเหล่านั้นก็คือ หนึ่ง Helios นะคะ Helios นี่คือเทพแห่งพระอาทิตย์ของกรีกเนอะ แล้วก็ไล่มาที่พระจันทร์ค่ะ พระจันทร์นี่คือ Selene นะคะ Selene นี่ถ้าใครคุ้นๆ Selene Serene อะไรอย่างนี้ ใครดู Sailor Moon น่าจะคุ้นกันดี Queen Serenity นะคะก็ชื่อมาจาก เทพแห่งพระจันทร์ของกรีกนี่แหละค่ะ ส่วนถัดไปนะคะวันอังคารของชาวกรีกเนี่ย เค้าก็ตั้งชื่อตาม Ares หรือว่า เทพเจ้าแห่งสงครามนั่นเองค่ะ และวันพุธเนี่ยนะคะ ชาวกรีกยกให้ Hermes ค่ะ หรือว่าเทพแห่งการสื่อสารนะ ส่วนวันพฤหัสเนี่ยนะคะ ถือว่าเป็นจอมเทพเลยเพราะว่า ชาวกรีกยกวันนี้ให้กับ Zeus นั่นเองค่ะ และวันศุกร์เนี่ยนะคะ นึกภาพดาวศุกร์ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ ความงาม ความรักอะไรแบบนี้ใช่ไหมคะ ดังนั้นชาวกรีกยกวันนี้ให้กับ Aphrodite ค่ะ หรือว่าเทพแห่งความรักนั่นเอง และสุดท้ายวันเสาร์เนี่ยนะคะ ชาวกรีกก็ยกวันนี้ให้กับ Kronos ค่ะ หรือว่าเทพแห่งกาลเวลาแล้วก็ เทพแห่งการเพาะปลูกของเค้านะคะ ทีนี้แน่นอนว่าพอไอเดียนี้แพร่ไปถึงกรีกแล้ว ก็ต้องมีอีกชนชาตินึงค่ะที่ได้รับไอเดียนี้ไป ก็คือชนชาติที่เอาแทบทุกอย่างมาจากกรีก แล้วมาแปลงเป็นของตัวเองนั่นแหละค่ะ ชนชาตินั้นก็คือพวกชาวโรมันนะคะ ซึ่งชาวโรมันก็เหมือนกับชาวกรีกแหละ เห็นชาวกรีกใช้อยู่ รับของเค้ามาแหละ แต่จะไปใช้ชื่อตามเค้าก็รู้สึกว่าแบบ เสียศักดิ์ศรีอะ เหมือนเป็นเมืองขึ้นเลย ชั้นตั้งชื่อตามเทพของชั้นเองดีกว่า ซึ่งก็แค่แปลมานิดหน่อยอะนะ ดังนั้นชาวโรมันนะคะในช่วงศตวรรษที่ 1-3 เนี่ย จำกันได้ใช่ไหมที่วิวเคยเล่าไปว่า มันมีการเปลี่ยนแปลง จากสัปดาห์นึงมีแปดวันให้เหลือเจ็ดวัน เพราะได้รับอิทธิพลจากกรีก แล้วก็บาบิโลเนียเนี่ยแหละค่ะ ชาวโรมันก็เลยตั้งชื่อวันนะคะตามเทพเจ้า ของตัวเองทั้งหมดเจ็ดองค์ด้วยกันค่ะ โดยไล่ดังนี้ แอบกระซิบนิดนึงนะ ทั้งกรีกและโรมันนี่ วิวทำให้เป็นภาษาสมัยใหม่เนอะ อาจจะไม่ใช่ภาษาละตินสมัยนั้น หรือภาษากรีกสมัยนั้น เพราะว่าวิวอ่านไม่ออกนะคะ แต่ว่าขึ้นไว้ให้แถวนี้แล้ว ถ้าใครออกเสียงได้ก็คอมเมนต์ได้นะคะ อะ กลับมาที่เรื่องของเราต่อค่ะ ทีนี้ชาวโรมันตั้งชื่อวันต่างๆตามเทพยังไงบ้าง วันแรกนะคะ เราคุ้นเคยกับเทพแห่ง พระอาทิตย์ของโรมันได้แก่ Apollo กับน้องสาวของเค้าที่ชื่อว่า Diana ที่เป็นเทพแห่งดวงจันทร์ใช่ไหมคะ แต่ Apollo กับ Diana นี่จริงๆ เป็นคอนเซ็ปต์ที่มาในยุคหลังค่ะ ในยุคแรกๆสุดๆเลยนะคะ เทพแห่งพระอาทิตย์กับ เทพแห่งพระจันทร์ของโรมัน ก็ได้รับอิทธิพลมาจากกรีกนี่แหละค่ะ ก็ชื่อเทพที่ชื่อว่า Sol Sol ไม่แน่ใจว่าออกเสียงว่ายังไงนะคะ อันนี้คือเทพแห่งพระอาทิตย์เนอะ ก็เลยเอามาตั้งชื่อเป็นวันอาทิตย์ค่ะ ก็เหมือนศัพท์คำว่า Solar อะไรแบบนี้ ที่เราพูดถึงพระอาทิตย์ คำเดียวกันนี่แหละค่ะ ส่วนวันจันทร์เนี่ยนะคะ แน่นอนว่า พระจันทร์ก็จะต้องไม่ใช่ Diana ใช่ไหม เพราะว่าไม่ได้มาคู่กัน คนที่มาคู่กับ Sol นะคะก็คือ Luna นั่นเอง Luna ที่แปลว่าพระจันทร์นั่นเองนะคะ ถัดไปค่ะวันอังคาร ถามว่าวันอังคารของชาวโรมัน ยกให้กับเทพองค์ไหนนะคะ ก็ต้องบอกว่าเค้ายกให้กับเทพ Mars หรือว่าเทพแห่งสงครามนั่นเองค่ะ และถัดไปนะคะ วันพุธเนี่ยเค้าก็ ยกให้กับเทพ Mercury นั่นเองค่ะ ส่วนวันพฤหัสนะคะก็ยังเป็นของจอมเทพอยู่ค่ะ ก็คือ Jupiter นั่นเอง และวันศุกร์ก็ยังเป็นของเทพแห่งความรักนะคะ แต่ว่าเปลี่ยนจาก Aphrodite เป็น Venus เนอะ ก็เทพองค์เดียวกันนี่แหละ ส่วนวันเสาร์วันสุดท้ายเนี่ยนะคะ ก็ยกให้กับ Saturn นั่นเองค่ะ ปรากฏว่าไอเดียนี้นะคะ ในอาณาจักรโรมัน ก็ใช้กันอย่างแพร่หลายมากๆค่ะ และอาณาจักรโรมันในยุคนั้นเป็นยุคที่ เรียกได้ว่ามีอำนาจมากๆนะคะ ดังนั้นไอเดียนี้ก็เลยแพร่กระจายไปทั่วโลกเลยค่ะ คือแพร่จากอาณาจักรโรมันไปจนถึงอินเดียแล้วก็จีนค่ะ ชาวอินเดียกับชาวจีนก็เลยรับอิทธิพล การเรียกชื่อวันตามเทพเจ้าแบบนี้จากโรมันไปนะคะ อย่างไรก็ตาม ช่างฝั่งเอเชียก่อนนะคะ เราตัดกลับมาที่อาณาจักรโรมันของเราค่ะ นอกจากแพร่ให้ชาวบ้านแล้วเนี่ย ปรากฏว่าตัวเองก็ไม่ได้อยู่นิ่งนะคะ เพราะว่าในช่วงศตวรรษที่ 4 ค่ะ เกิดเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์นึงขึ้นก็คือ ในอาณาจักรโรมันเนี่ย มีจักรพรรดิองค์แรก ของอาณาจักรโรมันที่นับถือศาสนาใหม่ คือไม่ได้นับถือเทพเจ้าโรมัน แต่ว่านับถือศาสนาคริสต์ค่ะ นั่นก็คือจักรพรรดิคอนสแตนตินนั่นเอง ดังนั้นคอนสแตนตินก็เลยตัดสินใจเปลี่ยนวันค่ะ คือตอนแรกเวลานับสัปดาห์ที่วิว เอาพระอาทิตย์ขึ้นมาก่อนตลอด จริงๆไม่ใช่นะคะ ชาวโรมันแต่เดิม วันแรกของสัปดาห์คือวันเสาร์ค่ะ แต่เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนติน หันมานับถือศาสนาคริสต์นะคะ เค้าก็รู้สึกว่าแบบเฮ้ย ไม่ได้ วันอาทิตย์คือวันที่สำคัญที่สุดของสัปดาห์ เพราะว่านี่คือวันที่หยุดพักของพระเจ้า เป็นวันที่เราต้องไปเข้าโบสถ์อะไรต่างๆ ดังนั้นจักรพรรดิคอนสแตนตินนะคะ ก็เลยเปลี่ยนวันแรกของสัปดาห์ให้เป็นวันอาทิตย์ค่ะ เอาล่ะ หลังจากโอ้เอ้มานานนะคะ ตอนนี้เราจะผ่านไปอย่างรวดเร็วค่ะ เพราะว่าหลังจากที่อาณาจักรโรมันยึดครอง อำนาจในยุโรปมานานแสนนานค่ะ ปรากฏว่าแน่นอนว่าทุกอย่าง มีเกิดขึ้นก็ต้องมีเสื่อมไปค่ะ อาณาจักรโรมันก็ค่อยๆเสื่อมอำนาจลง เสื่อมอำนาจลง เสื่อมอำนาจลงค่ะ ส่งผลให้ในยุโรปเนี่ยนะคะ เกิดการ แบ่งพรรคแบ่งพวกเป็นสองฝ่ายด้วยกันค่ะ คือไม่ได้แบ่งจริงๆถึงขนาดตีกันนะแต่ว่า มันก็แบ่งกันค่อนข้างชัดอยู่ คือแบ่งเป็นพวกประเทศที่ ยังใช้ภาษาของชาวโรมันอยู่ ก็คือพวกที่ใช้ภาษาละตินค่ะ กับอีกพวกเนี่ยนะคะก็เป็น กลุ่มคนที่ใช้อีกภาษานึงนะคะ ก็คือพวก Northern Germanic นะคะ หรือพวกใช้ภาษา Germanic นั่นเอง ที่มาจากภาคเหนือเนอะ ทีนี้แน่นอนว่าพอมีกลุ่มคนใหม่เข้ามา ก็เหมือนเดิมค่ะ แพตเทิร์นเดิมเลยคือ กลุ่มคนใหม่ พวก Germanic เนี่ย ก็ได้รับอิทธิพลจากชาวโรมันนะคะ เอาการตั้งชื่อวันในภาษาละตินของชาวโรมันไป แต่จะเอาไปหมดเนี่ยมันก็เสียศักดิ์ศรี ชั้นก็มีเทพของชั้นเหมือนกัน แล้วเทพของชั้นเนี่ยแตกต่างจากเทพของแกด้วยนะ ดังนั้นนะคะชาว Germanic ก็เลย มีการเอาเทพของตัวเองเนี่ย เข้าไปตั้งชื่อวันแทนที่เทพของชาวโรมันค่ะ แต่ไม่ได้เอาไปทั้งหมดนะ เพราะว่า การตั้งชื่อวันของชาวโรมันนั้นฮิตมากจริงๆ ดังนั้นก็เลยเหลือไว้ให้ทั้งหมดสามวันค่ะ ส่วนอีกสี่วันในสัปดาห์เนี่ย ยึดเป็นของเทพตัวเองไปนะคะ แล้วถามว่าเทพของชาว Germanic นี่คือเทพกลุ่มไหน ก็ต้องว่าเป็นเทพกลุ่มที่เราเริ่ม คุ้นเคยกันมากขึ้นแล้วค่ะ นั่นก็คือ เทพ Teutonic และเทพ Norse นั่นเอง เทพนอร์สนี่หลายคนน่าจะคุ้นกันเพราะว่า เป็นแฟนมาร์เวลใช่ไหม เหมือนวิว ก็คือดูเรื่อง Thor มาก็จะรู้จัก Thor รู้จัก Odin รู้จัก Loki อะไรต่างๆใช่ไหม เดี๋ยวเรามาดูกันว่าพวกนี้ เกี่ยวข้องยังไงกับชื่อวันนะคะ อย่างไรก็ตาม เราจะ fast forward ค่ะ เลื่อนเวลาไปอย่างรวดเร็วนะคะ ในที่สุดระยะเวลายุคกลางของยุโรปก็มาถึงค่ะ ยุคกลางหรือว่ายุคมืดนั่นเอง ยุคสมัยแห่งอัศวิน แห่งปราสาทอะไรต่างๆนะคะ เรื่องราวที่กระทบกับชื่อวันของเราเกิดขึ้นในยุคนี้ค่ะ คือในยุคนั้นเนี่ยนะคะ พวกชาว Germanic เนี่ย มีกลุ่มนึงเป็นกลุ่มที่สำคัญมาก นั่นก็คือกลุ่มที่ชื่อว่า Anglo-Saxon ค่ะ คือพวกชาว Anglo-Saxon เนี่ยเข้าไปยึดพื้นที่ที่นึง ซึ่งจะส่งผลต่อภาษาอังกฤษอย่างหนักเลยในทุกวันนี้ นั่นก็คือพื้นที่บริเวณเกาะ Britain หรือว่า ที่ตั้งของสหราชอาณาจักรทุกวันนี้นั่นเองอะนะ ดังนั้นนะคะ เมื่อพวก Anglo-Saxon เข้าไปยึดพื้นที่บริเวณนั้นเนี่ย ก็พาเอาภาษา Germanic เนี่ยเข้าไปด้วย พอเอาภาษาเข้าไปก็ไม่ได้มีภาษาอย่างเดียวหรอก ก็ต้องเอาการนับชื่อวันเข้าไปด้วยใช่ไหมคะ และภาษาของชาว Anglo-Saxon ในตอนนั้นก็คือ บรรพบุรุษของภาษาอังกฤษในทุกวันนี้นี่แหละค่ะ ดังนั้นตอนนี้สรุปง่ายๆนะคะ เราก็น่าจะ เห็นการเดินทางของชื่อวันแล้วแหละ ว่าตั้งแต่ชาวบาบิโลเนียตั้งขึ้นมา ชาวกรีกเอาเทพตัวเองไปแทน ชาวโรมันเอาเทพตัวเองไปแทน และหนึ่งในชาว Germanic ในสมัยนั้น ก็คือพวก Anglo-Saxon เนี่ยก็พาเอาอิทธิพลนี้ เข้ามายังบริเวณที่เป็นประเทศอังกฤษ หรือว่าสหราชอาณาจักรในปัจจุบันนี้ แล้วภาษาของเค้าก็จะส่งผลต่อ Old English แล้วก็ Middle English ที่เป็นบรรพบุรุษของภาษาอังกฤษ ในทุกวันนี้นั่นเองค่ะ ยาวนานมาก ยังไม่ได้แปลชื่อวันเลยนะทุกคน ขอไม่ลงรายละเอียดเรื่อง Old English กับ Middle English นะ เพราะเดี๋ยวจะมึนเข้าไปอีกนะคะ ดังนั้นหลังจากนอกเรื่องไปไกลนะคะ เรากลับมาที่ประเด็นของเราดีกว่าว่า ชื่อวันในภาษาอังกฤษแต่ละวัน แปลว่าอะไรและมีที่มาจากอะไรค่ะ แอบบอกตรงนี้นิดนึงนะคะว่า เนื่องจากนี่คือภาษาอังกฤษเนอะ ดังนั้นต้นตระกูลของมันก็จะมาจากภาษา Old English ซึ่งวิวไม่ได้มีความรู้ขนาดนั้น บางทีวิวอาจจะออกเสียงผิดอะไรบ้างนะคะ อย่างไรก็ตามวิวจะลงคำอ่านไว้ให้นะคะ ดังนั้นถ้าสมมติว่าใครอยากรู้วิธีออกเสียง อะไรจริงๆก็ลองไปเสิร์ชดูได้ค่ะ เริ่มจากวันแรกก่อนเลย วันแรกนะคะก็คือวันอาทิตย์ หรือว่า Sunday นั่นเอง อันนี้ชัดเจนว่าเป็นวันที่เค้า เก็บมาจากชาวโรมันนะคะ ไม่ได้เปลี่ยนจากภาษาละตินขนาดนั้น เพราะว่า Sunday ก็คือ Day of the Sun นะคะ ชัดเจนที่สุด แต่อย่างไรก็ตามค่ะ เมื่อไปพิจารณา ภาษาในยุโรปตอนนี้ก็จะเห็นว่า มันแบ่งเป็นสองกลุ่มใช่ไหม ที่บอกว่าเป็นกลุ่ม Germanic กับกลุ่มละติน เอ้า ทำไมพวกชาวละติน เค้าถึงไม่ใช้คำอะไรที่ขึ้นต้นด้วยตัว S เหมือนพวก Sunday เหมือนพวกอะไรอย่างนี้แล้ว ก็ต้องบอกว่าหลังที่ส่งอิทธิพลให้คนอื่นไปเนี่ย ปึงๆๆๆ ปรากฏว่าพวกชาวโรมันที่ใช้ภาษาละตินเนี่ย ก็ได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์ ที่วิวเล่าให้ฟังไปใช่ไหมคะ เค้าก็เลยเปลี่ยนวันนี้จากวันของพระอาทิตย์ เปลี่ยนเป็นวันของพระเจ้าค่ะ ซึ่งในภาษาละตินเนี่ยเค้าจะเรียกวันนี้ว่า Domenica นะคะ หรือว่า Day of God ดังนั้นพวกประเทศที่ใช้ภาษาละตินเป็นรากนี่ก็จะใช้ ชื่อวันอาทิตย์เนี่ยขึ้นต้นด้วยตัว D ทั้งหลายทั้งแหล่อย่างที่ขึ้นไว้ให้เห็นตรงนี้นะ ก็จะแตกต่างจากพวกภาษาตระกูล Germanic นะคะ อย่างไรก็ตาม ช่างมันค่ะ เดี๋ยวลึกไปนะ ข้ามไปที่วันจันทร์ดีกว่าค่ะ วันจันทร์นี่ก็เช่นเคยนะคะ Monday Day of the Moon ก็เป็นอีกหนึ่งวันที่ได้รับอิทธิพลมาจาก โรมันโดยไม่ได้เปลี่ยนไปค่ะ แต่ถามว่าเค้าเปลี่ยนจาก Luna มาเป็น Moon จาก L มาเป็น M ได้ยังไงนะคะ ก็ต้องบอกว่าฝั่งทาง Germanic เนี่ย เค้าไม่ได้เรียกพระจันทร์ว่า Luna ค่ะ เค้าเรียกพระจันทร์ว่า Mani นะคะ ไม่แน่ใจวิธีออกเสียงนะ ดังนั้นมันก็เลยกลายมาเป็น Moon ในทุกวันนี้นี่แหละค่ะ ถัดไปอย่างรวดเร็วนะคะ ไปที่วันอังคารค่ะ วันอังคารจะเป็นวันแรกเลยค่ะ ที่เค้าเอาเทพของกรีกโรมันทิ้งไปเลย แล้วก็เปลี่ยนมาเป็นเทพของตัวเองค่ะ เค้าบอกว่าอะ ชาวละตินใช้ Mars ใช่ไหม Mars เป็นเทพแห่งสงคราม เราก็มีเทพแห่งสงคราม ของเราเหมือนกัน ของนอร์สเนี่ย ดังนั้นเค้าก็เลยเปลี่ยนเอา Mars ออกค่ะ แล้วก็เปลี่ยนวันอังคารหรือว่า Tuesday เนี่ย เป็นชื่อของเทพ Tyr นะคะ ซึ่งเป็นเทพแห่งสงครามของนอร์สเนอะ ซึ่งชื่อเทพ Tyr ของชาวนอร์สเนี่ยนะคะ เมื่อเปลี่ยนเป็นภาษา Germanic เนี่ย เค้าจะเรียกเทพองค์นี้ว่า Tiu ค่ะ ดังนั้น Tuesday ก็คือ Day of Tiu หรือว่าวันของเทพเจ้า Tyr นั่นเองค่ะ ถัดไปนะคะที่ Wednesday หรือว่าวันพุธ วันพุธนี่ถ้าพูดถึงกรีกโรมันก็จะเป็น เทพเจ้าแห่งการสื่อสารอะไรต่างๆใช่ไหม แต่พวกชาว Germanic นะคะบอกว่า ไม่อะ วันนี้ชั้นไม่อยากสื่อสารกับใคร ชั้นอยากยกวันพุธให้กับมหาเทพสูงสุดของชั้น ดังนั้นมหาเทพสูงสุดของชาวนอร์สคืออะไรคะทุกคน ทุกคนรู้อยู่แล้วแหละ พ่อของ Thor นั่นก็คือ Odin นั่นเองค่ะ แต่ Wednesday มันก็ไม่ใช่ Odin's Day นี่หน่า ก็ต้องว่า Odin เนี่ยเป็นภาษาของชาวนอร์ส แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น Germanic เนี่ย เค้าจะเรียก Odin ว่า Woden ค่ะ Woden Odin คล้ายๆกันเนอะ ดังนั้น Wednesday นะคะก็คือ Woden's Day ที่เพี้ยนมาเรื่อยๆจาก Germanic เปลี่ยนมาเป็น Old English เปลี่ยนมาเป็นอะไรต่างๆนี่แหละค่ะ ทีนี้ถัดไปที่วัน Thursday หรือวันพฤหัสนะคะ ถามว่า Thursday เนี่ยเป็นวันของใคร ใครที่เคยดู Thor ภาคหนึ่งก็จะรู้นะว่า Thursday ก็คือ Thor's Day นะคะ แล้วมันมาเป็น Thor's ได้ยังไง ก็ต้องบอกว่าจากเดิม Thursday เนี่ย เป็นวันของเทพ Jupiter ใช่ไหม ซึ่งเป็นเทพที่สำคัญที่สุดของชาวโรมัน ดังนั้นค่ะสำหรับชาวนอร์ส แม้ว่า Odin จะเป็นเทพสูงสุด แต่เทพที่ได้รับความนิยมสูงสุดเนี่ย ดันเป็น Thor ใช่ไหม เค้าก็เลยยกวันนี้ให้กับ Thor หรือว่าเทพเจ้าแห่งสายฟ้านั่นเองค่ะ ทีนี้ไปที่ Friday ของเรานะคะ Friday เนี่ยจากเดิมเป็นของเทพ Venus ใช่ไหมคะ เทพแห่งความรัก แน่นอนว่าชาวนอร์สก็มีของตัวเองเหมือนกันค่ะ เทพแห่งความรักของชาวนอร์สเนี่ยก็คือ Frigg หรือว่า Freya นั่นเองนะคะ ดังนั้นวันศุกร์ก็เลยกลายเป็น Freya's Day หรือว่า Friday ในที่สุดค่ะ และในที่สุดเราก็มาถึงวันสุดท้าย ของสัปดาห์อย่างรวดเร็วนะคะ นั่นก็คือ Saturday นั่นเอง ซึ่ง Saturday ก็ชัดเจนนะว่ายังมาจาก เทพ Saturn ของชาวโรมันอยู่ คือชาว Germanic ไม่ได้ไปเปลี่ยน อะไรของเค้ามากมายค่ะ เป็นไงบ้างคะ นี่คือคำแปลของ ชื่อวันในสัปดาห์ทั้งเจ็ดนะคะ เกริ่นอย่างยาวนาน แปลแป๊บเดียวเอง จะเห็นว่าหลายๆวันแปลคล้ายๆกับของเราเลย แต่บางวันก็ดูแปลแตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิงนะคะ เพราะว่าอะไร เพราะว่าอย่างที่วิวเล่าไปนั่นแหละว่า เราไปรับอิทธิพลจากโรมันไง ก่อนที่โรมันจะส่งอิทธิพลไปทาง Germanic ดังนั้นเรารับก่อนที่เค้าจะแตกไปอีกแขนงนึงนะ ดังนั้นมันก็เลยมีบางส่วนที่ยังเหมือนกันอยู่ แล้วก็มีบางส่วนที่แตกต่างกันไปนั่นเองค่ะ เป็นไงบ้างคะ นี่แหละเรื่องราวที่วิวอยากให้ทุกคนเห็นค่ะ คือเรื่องการแปลมันเป็นอะไรที่นิดๆหน่อยๆ ไม่ได้สำคัญอะไรขนาดนั้น แต่ส่วนที่สนุกกว่าก็คือ การเดินทางของภาษานั่นเอง ซึ่งถ้าแค่โยงภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ เข้าด้วยกันแล้วยังสนุกไม่พอนะ หลายคนที่มีโอกาสได้เรียนภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีนก็น่าจะรู้ว่า เฮ้ย มันเกี่ยวข้องกันเข้าไปอีก คือภาษาจีนนี่อาจจะไม่ได้เกี่ยว ขนาดนั้นแล้วในปัจจุบันเพราะว่า จีนไม่ได้ใช้วิธีการนับเหมือน ในสมัยราชวงศ์ชิงแล้วนะคะ จีนปัจจุบันนับวันก็ Xingqi yi, Xingqi er, Xingqi san ก็คือวันที่หนึ่ง วันที่สอง วันที่สามของสัปดาห์ เพื่อความง่ายใช่ไหมคะ เพราะแม้ว่าชาวจีนจะได้รับอิทธิพลจากโรมันเนี่ย แต่ว่าชาวจีนเค้าก็เปลี่ยนไปแล้ว ไม่ได้ใช้แบบเดิม เหมือนในสมัยราชวงศ์ชิงแล้วใช่ไหม แต่อย่างไรก็ตามนะคะ ก่อนที่จีนจะล้มล้างตัวเอง เลิก เปลี่ยน ไม่ใช้แล้วเนี่ย จีนก็ยังมีโอกาสแพร่กระจายความเชื่อนี้ค่ะ ไปยังญี่ปุ่นแล้วก็เกาหลีนะคะ ตัวภาษาเกาหลีเนี่ย วิวไม่รู้ภาษาเกาหลี ดังนั้นขออนุญาตไม่พูดถึงเนอะ แต่ภาษาญี่ปุ่น ถ้าใครรู้ภาษาญี่ปุ่นจะเห็นว่า ในบางวันเนี่ยนะคะก็ยังมีความเกี่ยวพันกันอยู่ เอ๊ะ ทำไมมันแปลเหมือนๆกัน เช่น วันจันทร์ของชาวญี่ปุ่นนะคะ เราก็จะเรียกวันนั้นว่า Getsuyobi Getsu แปลว่าอะไร Getsunova รู้จักกันใช่ไหม Getsu แปลว่าพระจันทร์ อ้าว วันจันทร์ก็พูดถึงพระจันทร์เหมือนกันเลย หรือว่าวันอังคารเราก็พูดถึง Kayobi ใช่ไหม Ka แปลว่าไฟ เอ๊ วันอังคารของเราก็พูดถึงถ่านติดไฟ เออ มันก็มีความเกี่ยวพันอะไรกันอยู่ ประมาณนี้แหละค่ะ มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญนะคะทุกคน มันก็มีที่มาที่ไปอย่างที่เล่ามาทั้งหมดนี่ล่ะค่ะ เป็นไงบ้าง เป็นอีกหนึ่งคลิปที่ เรียกได้ว่าเนื้อหาเข้มข้นมากๆจริงๆนะคะ มึนกันไหม ถ้าสมมติใครชื่นชอบให้วิวเอาอะไรแบบนี้มาเล่าอีก ก็อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังใจให้วิว แล้วก็กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆมาดูด้วยกันค่ะ แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้านะคะทุกคน บ๊ายบาย สวัสดีค่ะ เอาจริงๆนะคะทุกคน คลิปนี้เราพูดถึง ภาษาต่างๆมากมาย และภาษาทั้งในฝั่งตะวันตก พวกภาษาตระกูลละตินทั้งหลาย ภาษาสเปน ภาษาอะไรต่างๆเนี่ย รวมไปถึงภาษาฝั่งตะวันออกอย่าง พวกญี่ปุ่น จีน เกาหลีอะไรเนี่ย มันก็เกี่ยวพันกันไปหมด ดังนั้นเชื่อว่าคนที่ติดตามวิวเนี่ย น่าจะรู้ภาษาต่างๆมากกว่าวิวเยอะค่ะ ถ้าสมมติว่าใครมีอะไรอยากพิมพ์คุยกันก็ พิมพ์คุยกันมาด้านล่างได้นะคะ ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กันนะคะทุกคน วันนี้ลาไปก่อนค่ะ บ๊ายบาย สวัสดีค่ะ