ดิฉันต้องการจะบอกคุณว่า คนหนุ่มสาวที่โดดเด่น 20,000 คน จากกว่า 100 ประเทศ ท้ายที่สุดไปอยู่ในคิวบา และขณะนี้ กำลังไปปฏิรูปสุขอนามัย ในชุมชนของเขา เก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของพวกเขา จะไม่จากบ้านเกิดไปไหนเลย ถ้าไม่ใช่เพราะทุนการศึกษา เพื่อไปเรียนแพทย์ ในคิวบา และความมุ่งมั่น ฃที่จะกลับไป ยังสถานที่ซึ่งเหมือนกับบ้าน ที่พวกเขาจากมา-- ได้แก่ ทุ่งนาที่ห่างไกล ป่าเขา บริเวณสลัม-- เพื่อมาเป็นแพทย์รักษาคนที่เหมือน ๆ กับพวกเขา เพื่อทำให้ได้อย่างที่พูด โรงเรียนแพทย์ลาตินอเมริกาแห่งฮาวานา เป็นโรงเรียนแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผลิตแพทย์หนุ่มสาวออกไปแล้ว 23,000 คน ตั้งแต่เปิดเรียนเป็นครั้งแรกในปีค.ศ.2005 รวมกับอีกเกือบ 10,000 คนที่กำลังศึกษาอยู่ ภาระกิจของโรงเรียนคือ ฝึกแพทย์ให้กับผู้คน ที่ต้องการแพทย์มากที่สุดได้แก่ คนกว่าหนึ่งพันล้านคน ที่ไม่เคยไปหาแพทย์มาก่อนเลย ผู้คนที่มีชีวิตอยู่แล้วก็ตายไป ใต้เส้นแบ่งความยากจนที่สร้างกันขึ้นมา นักศึกษาเหล่านี้ท้าทายบรรทัดฐานทั้งหมด เป็นความเสี่ยงใหญ่ที่สุดของโรงเรียนแพทย์นี้ และยังเป็นการต่อรองที่ดีที่สุดอีกด้วย พวกเขาถูกรับเข้ามาเรียนจากสถานที่ยากจนที่สุด บ้านแตกสาแหรกขาดที่สุดในโลกของเรา โดยโรงเรียนที่เชื่อว่าพวกเขาจะเป็น ไม่ใช่เป็นแพทย์ที่ดีเท่านั้น แต่จะเป็นแพทย์ที่ดีเยี่ยมอีกด้วย ที่ชุมชนของพวกเขาต้องการอย่างยิ่ง ที่พวกเขาจะไปทำงานในสถานที่ ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่จะไม่ไป ในสถานที่ซึ่งไม่เพียงแต่ยากจน แต่บ่อยครั้งยังมีอันตรายอีกด้วย นำยาเซรุ่มแก้พิษงูไว้ในกระเป๋าเป้สะพายหลัง หรือไม่ก็เข้าไปในย่านที่อยู่ ที่เต็มไปด้วยยาเสพติด อันธพาล และกระสุนปืน ถิ่นที่อยู่ของพวกเขา ความหวังก็คือพวกเขาจะช่วย ปฏิรูปการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ภาวะสุขอนามัยในเขตที่ยากจน และแม้กระทั่งวิธีปฏิบัติที่การแพทย์เอง ได้รับการสอนและถือปฏิบัติมา และก็หวังว่าพวกเขาจะเป็นผู้บุกเบิก การเอื้อมไปถึงระดับโลกของเรา ที่คุ้มครองด้านสุขภาพสากล ซึ่งแน่นอนเป็นคำร้องขอที่ยากจะสำเร็จ พายุใหญ่สองลูกและแนวคิด "ทำให้ได้อย่างที่พูด" กระตุ้นให้เกิดอีแลม (ELAM) ขึ้นมา ย้อนไปในปี 1998 พายุเฮอร์ริเคนจอร์จส์ และมิทช์ ได้พัดผ่านทำลายคาริบเบียน และอเมริกากลาง ทิ้งคนตายไว้ 30,000 คน และคนไร้ที่อยู่ 2.5 ล้านคน แพทย์คิวบาหลายร้อยคน อาสาไปที่ภัยภิบัติที่นั้น แต่เมื่อพวกเขาไปถึงที่นั่น ก็พบภัยภิบัติที่ยิ่งใหญ่กว่า กล่าวคือทั่วทั้งชุมชนไม่มี การให้การรักษาพยาบาล ประตูโรงพยาบาลถูกใส่กลอนในเขตทุรกันดาร เพราะขาดเจ้าหน้าที่ทำงาน และเด็กทารกมากมายเหลือเกินก็กำลังจะตาย ก่อนที่อายุจะครบปี อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อแพทย์คิวบาเหล่านี้จากไป ต้องมีแพทย์ชุดใหม่อยู่เพื่อดูแลรักษาต่อไป แต่พวกเขาจะมาจากที่ไหนเล่า พวกเขาจะได้รับการฝึกจากที่ไหน ในกรุงฮาวานา บริเวณโรงเรียนทหารเรือเก่า ถูกโอนมาเป็นของกระทรวงสาธารณสุขคิวบา เพื่อมาเป็นโรงเรียนแพทย์ลาตินอเมริกา หรือ อีแลม (ELAM) ค่าเล่าเรียน ห้องพักและอาหาร และเงินยังชีพเล็กน้อย ถูกมอบให้กับนักศึกษาหลายร้อยคน จากประเทศที่ถูกพายุทำลายอย่างหนักที่สุด ในฐานะที่เป็นนักหนังสือพิมพ์ในกรุงฮาวานา ดิฉันมองดูชาวนิคารากัว 95 คนแรกที่มาถึง ในเดือนมีนาคม 1999 เข้าอยู่ในหอพักที่แทบไม่ได้ตกแต่งอะไรใหม่ และช่วยอาจารย์ของเขาไม่ใช่แค่กวาดห้องเรียน แต่ยังช่วยย้ายโต๊ะเก้าอี้และกล้องจุลทรรศน์ ตลอดสองสามปีต่อมา รัฐบาลทั่วทั้งทวีปอเมริกา ได้ขอทุนการศึกษาเพื่อให้นักเรียนของตน มูลนิธิคองเกรสชันนัลแบล็กคอคัส ก็ได้ขอทุนและก็ได้รับทุนหลายร้อยทุน ให้กับคนหนุ่มสาวจากสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันในจำนวน 23,000 คน เป็นแพทย์ถึง 83 ประเทศ ในทวีปอเมริกา อัฟริกา และเอเซีย และการสมัครเข้าเรียนเพิ่มขึ้นถึง 123 ประเทศ กว่าครึ่งหนึ่งของนักศึกษาเป็นหญิงสาว มาจาก 100 กลุ่มชาติพันธุ์ พูดภาษาที่แตกต่างกัน 50 ภาษา ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก มาร์กาเร็ต ชาน กล่าวว่า "ครั้งหนึ่ง ถ้าคุณยากจน เป็นผู้หญิง หรือมาจากชนเผ่าพื้นเมือง คุณมีข้อได้เปรียบที่ชัดเจน มันคือจริยธรรมที่ทำให้โรงเรียนแพทย์แห่งนี้ ไม่มีที่ใดในโลกที่ทำแบบนี้" ลูเธอร์ คาสทิลลา จาก ซานเปโดรเดอโทคามาโช จากชายฝั่งแอตแลนติคของฮอนดูรัส ที่นั่นไม่มีนํ้าประปา ไม่มีไฟฟ้า และถ้าจะไปหมู่บ้านต้องเดินเท้าหลายชั่วโมง หรือลองเสี่ยงไปกับรถปิคอัพเหมือนกับดิฉัน เลียบไปกับคลื่นลมมหาสมุทรแอตแลนติค ลูเทอร์ เป็นเด็กโทคามาโช หนึ่งใน 40 คน ที่เริ่มต้นมัธยมศึกษา เป็นลูกหลานของคนพื้นเมืองผิวดำกลุ่มหนึ่ง ที่รู้จักในชื่อว่า การิฟูนา คิดเป็น 20 % ของประชากรฮอนดูรัส สถานพยาบาลใกล้สุดอยู่ไกลออกไปหลายไมล์ ลูเทอร์ต้องเดินเท้าสามชั่วโมงทุกวัน ไปโรงเรียนมัธยมต้น มีเพียง 17 คนที่เรียนต่อจนจบ อีกห้าคนเรียนจบแค่มัธยมปลาย และเพียงคนเดียวที่ไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย คือ ลูเทอร์ ที่อีแลม เป็นหนึ่งในจำนวนแพทย์จากการิฟูนารุ่นแรก มีแพทย์ที่การิฟูนาแค่สองคนเท่านั้น ที่ทำงานอยู่ที่นั่นก่อนพวกเขา ทั้งหมดนี้คือประวัติศาสตร์ชาวฮอนดูรัส ปัจจุบันมี 69 คนต้องขอบคุณอีแลมค่ะ ปัญหาใหญ่ต้องมีวิธีแก้ที่ใหญ่กว่า จุดประกายขึ้นโดยแนวคิด จินตนาการ ความกล้าที่ยิ่งใหญ่ แต่ยังต้องเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ใช้ได้ผลด้วย คณาจารย์อีแลมไม่มีข้อมูลในมือมาก่อน เพื่อจะสอนชี้นำนักศึกษาได้ จึงต้องเรียนรู้ในแบบที่ยากมาก ด้วยการทำไปพลางปรับปรุงการสอนไปพลาง แม้กระทั่งนักศึกษาที่ฉลาดที่สุด จากชุมชนยากจนเหล่านี้ ก็ไม่มีพื้นฐานด้านวิชาการมาก่อน หกปีของการฝึกทางการแพทย์ ดังนั้นทุกวิชาจึงเชื่อมต่อเข้ากับ ด้านวิทยาศาสตร์ แล้วต่อมาก็ด้านภาษา ซึ่งก็มี ภาษามาพูเช คิวชูแอส กัวรานิ การิฟูนา พวกชนพื้นเมือง ที่เรียนภาษาสเปนเป็นภาษาที่สอง หรือชาวไฮติที่พูดภาษาครีโอ ดังนั้นภาษาสเปนจึงมาเป็นภาษาหลัก ของหลักสูตรเตรียมแพทย์เบื้องต้น แม้กระนั้นก็ตามในคิวบา เพลง อาหาร และกลิ่นอายวัฒนธรรม เกือบจะทุกอย่างก็แตกต่างกัน คณาจารย์จึงกลายเป็นคนในครอบครัวอีแลม ศาสนามีตั้งแต่ความเชื่อชนพื้นเมือง จนถึง โยรูบา มุสลิม และคริสเตียนอีแวนจะลิค การหลอมรวมความแตกต่างไว้เป็นวิถีชีวิต ทำไมหลายชาติมากมายนัก จึงได้ขอทุนการศึกษาเหล่านี้มา ประการแรกพวกเขามีแพทย์ไม่เพียงพอ และถ้ามีแพทย์การกระจายของแพทย์ จะถูกหลีกเลี่ยงพวกคนยากจน เพราะวิกฤติสุขอนามัยของโลกเรานั้น ถูกฟูมฟักไปด้วยวิกฤติเรื่องทรัพยากรมนุษย์ เราขาดคนทำงานด้านสุขอนามัยสี่ถึงเจ็ดล้านคน แค่เพียงเพื่อตอบรับความจำเป็นพื้นฐาน และปัญหานั้นมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แพทย์กระจุกกันอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ที่คนในโลกเพียงครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ และภายในเมืองใหญ่นั้น ไม่มีอยู่ในสลัมตอนใต้ของลอสแอนเจลิส ที่นี่ในสหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งเรามีการปฏิรูปการรักษาพยาบาล เราไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพที่ต้องการ เมื่อถึงปี 2020 เราจะขาด แพทย์ทั่วไป 45,000 คน และเราก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาอีกด้วย สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าลำดับหนึ่ง แพทย์จากประเทศกำลังพัฒนา เหตุผลที่สอง นักศึกษาแห่กันไปคิวบา เพราะบัตรสุขภาพของเกาะทีนั้นเอง มีการดูแลรักษาขั้นต้นที่เข้มข้น คณะกรรมการจากนิตยสารเดอะแลนเซ็ต จัดอันดับคิวบาอยู่ในกลุ่มประเทศ ที่มีศักยภาพดีที่สุด ในด้านสุขภาพของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง อัตรารอดชีวิตเด็กในคิวบา ดีที่สุดในลาตินอเมริกาตามมาด้วยแม่เด็ก คิวบามีอายุเฉลี่ยของคนเทียบเท่าสหรัฐ และการเสียชีวิตเด็กแรกเกิดตํ่ากว่าสหรัฐ เพราะมีความไม่เท่าเทียมกันน้อยกว่า ในขณะที่ค่าใช้จ่ายต่อหัว เป็นหนึ่งใน 20 ที่เราใช้ในเรื่องสุขภาพ ที่นี่ในสหรัฐอเมริกา ในเชิงวิชาการแล้วการเรียนที่อีแลมยาก แต่นักศึกษา 80%ก็เรียนจบ วิชาที่เรียนก็เหมือน ๆ กัน วิทยาศาสตร์และวิชาแพทย์พื้นฐาน แต่มีความแตกต่างที่นัยสำคัญ ข้อแรก การฝึกงานต้องลงมาจากหอคอยงาช้าง ไปเรียนที่คลินิคห้องเรียนและพื้นที่รอบ ๆ สถานที่แบบเดียวกันกับที่บรรดาแพทย์ส่วนใหญ่ จะต้องไปทำงาน แน่นอน มีการฟังบรรยายและหมุนเวียน ไปตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ด้วย แต่การเรียนรู้เริ่มต้นจากชุมชนเป็นพื้นฐาน ข้อที่สองนักศึกษารักษาดูแลคนไข้โดยองค์รวม ทั้งด้านจิตใจและร่างกาย ในบริบทของครอบครัว ชุมชนของพวกเขา และวัฒนธรรมของพวกเขา ข้อสาม พวกเขาเรียนรู้เรื่องสาธารณสุข เพื่อประเมินสภาวะ นํ้าดื่ม ที่อยู่อาศัย สังคมและเศรษฐกิจของผู้ป่วย ข้อสี่ พวกเขาได้รับการสอน วิธีการสอบถามผู้ป่วยอย่างดี และการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ที่ให้ข้อมูลมากที่สุดสำหรับการวินิจฉัยโรค ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีราคาแพง เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย และท้ายสุดพวกเขาได้รับการสอน ซํ้าแล้วซํ้าเล่า ในเรื่องความสำคัญของการป้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องโรคเรื้อรัง ที่ทำให้ระบบสุขภาพทั่วโลกพิกลพิการไป การเรียนรู้ไปพร้อมกับการทำงานไปเช่นนี้ ยังมาพร้อมกับวิธีทำงานเป็นทีม พอ ๆ กับทำงานในทีมงานอย่างไร วิธีเป็นผู้นำทีม ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน เมื่อจบการศึกษาแพทย์เหล่านี้จะถ่ายทอด ความรู้พวกเขาให้ผู้ช่วยพยาบาล หมอตำแย และคนงานอนามัยชุมชน เพื่อช่วยให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น ไม่ใช่ไปทำหน้าที่แทนพวกเขา และการทำงานกับหมอผีและหมอพื้นบ้าน สำหรับแพทย์ของอีแลมนั้น กำลังพิสูจน์การทดลองที่กล้าหาญนี้ ใช่ไหม โครงการหลายสิบโครงการเป็นพยานให้เรา ในสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้ ดูตัวอย่างแพทย์จากการิฟูนา พวกเขาไม่เพียงกลับไปทำงานที่บ้านเกิด แต่ยังจัดตั้งชุมชนของพวกเขาด้วยการสร้าง โรงพยาบาลคนพื้นเมืองแห่งแรกของฮอนดูรัส ด้วยความช่วยเหลือของสถาปนิกคนหนึ่ง ชาวบ้านช่วยกันยกมันขึ้นมาจากพื้นดิน คนป่วยกลุ่มแรกเดินผ่านประตูเข้าไป ในเดือนธันวาคม 2007 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาโรงพยาบาลนี้ได้รับ ผู้ป่วยที่เข้ามารักษาเกือบหนึ่งล้านคน และรัฐบาลก็ให้การเอาใจใส่ ยกให้เป็นโรงพยาบาลตัวอย่าง การสาธณะสุขชนบทสำหรับฮอนดูรัส บัณฑิตแพทย์ของอีแลมนั้นฉลาด เข้มแข็งและยังอุทิศตนอีกด้วย ที่ไฮติ เดือนมกราคม 2010 ความเจ็บปวดที่นั้น คนถูกฝังอยู่ใต้ทรากปรักหักพัง 30 ล้านตัน ทุกอย่างประดังกันเข้ามา แพทย์คิวบา 340 คน เข้ามาในพื้นที่แล้วเพื่ออยู่ยาว อีกหลายคนกำลังมา ยังต้องการมากกว่านี้อีก ที่อีแลม นักศึกษาก็ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อติดต่อกับแพทย์ 2,000 คน ผลก็คือ หลายร้อยคนไปถึงไฮติแล้ว มาจาก 27 ประเทศมั่งคั่ง จากมาลีในซาฮารา จนถึง เซ็นท์ลูเซีย โบลีเวีย ชิลี และสหรัฐ พวกเขาคุยกันอย่างง่ายด้วยภาษาสเปน และฟังคนป่วยพูดโดยใช้ภาษาครีโอ ต้องขอบคุณนักศึกษาแพทย์ชาวไฮติ ที่บินมาจากอีแลมในคิวบา หลายคนอยู่นานหลายเดือน แม้จะมีอหิวาตกโรคระบาด แพทย์ชาวไฮติหลายร้อยคน ต้องปะติดปะต่อทรากชิ้นส่วน เพื่อชนะหัวใจที่แหลกสลายของตนเอง แล้วก็ต้องรับภาระ ในการสร้างระบบสาธารณสุขใหม่ให้กับไฮติ ปัจจุบัน ด้วยการช่วยเหลือของ องค์กรและรัฐบาลต่าง ๆ จากนอร์เวย์ คิวบา จนถึง บราซิล ศูนย์อนามัยใหม่ ๆ จำนวนมากได้ถูกสร้างขึ้น มีคนงานประจำ และใน 35 แห่ง นำโดย แพทย์อีแลม แต่เรื่องราวของไฮติ แค่ตัวอย่างของปัญหาที่ใหญ่กว่านี้ ที่เผชิญอยู่ในหลายประเทศ ลองมาดูกัน แพทย์ไฮติ 748 คน จบในปีค.ศ..2012 ขณะอหิวาตกโรคระบาด เกือบครึ่งทำงานในภสตสาธารณสุข แต่จำนวนหนึ่งในสี่นั้นตกงาน และ 110 คนไปจากไฮติเลย ดังนั้น สิ่งดีที่สุดเท่าที่จะทำได้คือ ให้แพทย์เหล่านี้ได้งานประจำ และทำให้ระบบสาธารณสุขแข็งแกร่งขึ้น ที่ซึ่งบ่อยครั้งมีแพทย์ประจำอยู่ที่นั่น ในกรณีแย่ที่สุด คือไม่มีตำแหน่งงานให้ทำ ในภาคสาธารณสุข ที่คนยากจนส่วนมากไปรักษาพยาบาล ขาดเจตนารมย์ทางการเมือง ขาดทรัพยากร ขาดไปเสียทุกอย่าง-- แค่มีคนป่วยมากเกินไปที่ไม่ได้รับการูแล แพทย์ยังเผชิญกับความกดดันจากครอบครัวด้วย สิ้นหวังเพราะหาเงินได้ไม่พอกับรายจ่าย ดังนั้น เมื่อไม่มีงานของหน่วยงานรัฐ แพทย์จบใหม่เหล่านี้ก็หนีไปทำงานในภาคเอกชน หรือไม่ก็ต่างประเทศ เพื่อส่งเงินกลับบ้าน ที่แย่ที่สุด ในบางประเทศ แพทยสภา มีอิทธิพลในการรับรองระบบงาน ไม่ให้เกียรติยอมรับปริญญาแพทย์ศาสตร์อีแลม เพราะกลัวว่าแพทย์เหล่านี้จะไปแย่งงาน หรือลดภาระงานคนป่วยและรายได้ของพวกเขา ไม่ใช่ปัญหาเรื่องสมรรถนะความสามารถ ที่นี่ ในสหรัฐอเมริกาคณะกรรมการแพทย์ แคลิฟอร์เนีย รับรองอีแลมหลังการตรวจสอบอย่างเข้มงวด และแพทย์ใหม่เหล่านั้นก็กำลังทำงานได้ดี กับเดิมพันครั้งใหญ่ของคิวบา ผ่านการคณะกรรมการและได้รับเข้าทำงาน ในโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับอย่างสูง ตั้งแต่นิวยอร์ค ชิคาโก จนถึง นิวเม็กซิโก สองร้อยคนที่แข็งแกร่ง พวกเขากำลังมาถึง สหรัฐอเมริกาอย่างมุ่งมั่นแข็งขัน และก็ยังไม่ได้อย่างที่ตั้งใจ อย่างที่แพทย์คนหนึ่งพูดว่า ในคิวบา"เราถูกฝึกมาเพื่อรักษาอย่างมีคุณภาพ ด้วยทรัพยากรน้อยที่สุด ดังนั้นเมื่อผมเห็นทรัพยากรทั้งหมดที่เรามีที่นี่ และคุณบอกผมได้เลยว่ามันเป็นไปไม่ได้ ผมรู้ว่ามันไม่ถูกต้อง ไม่เพียงแต่ว่าผมเห็นว่ามันได้ผล ผมต้องใช้งานมันด้วย" แพทย์ของอีแลม บางคนตรงมาที่นี่ในวอชิงตัน และบัลติมอร์ มาจากคนที่จนที่สุดในหมู่คนจน เพื่อมาให้การรักษาและให้การศึกษา และเป็นปากเสียงให้แก่ชุมชนของเขา พวกเขาได้ยกสิ่งที่หนักอึ้งออกไปแล้ว ตอนนี้ เราจำเป็นต้องทำหน้าที่ของเรา เพื่อสนับสนุนแพทย์ 23,000 คนนี้ และที่กำลังจะเพิ่มขึ้น พวกเราทุกคน-- มูลนิธิ ผู้อำนวยการสถานพยาบาล สื่อมวลชน ผู้ประกอบการ ผู้วางโยบาย ผู้คนทั้งหลาย-- จำเป็นต้องก้าวออกมา เราจำเป็นต้องทำให้ทั่วโลกมากกว่านี้ เพื่อให้โอกาสแก่แพทย์ใหม่เหล่านี้ ได้พิสูจน์ความสามารถในการทำงานของเขา พวกเขาต้องสามารถ เข้าสอบเพื่อรับใบอนุญาตในประเทศตนเองได้ พวกเขาต้องการได้งานในภาคสาธารณสุข หรือในศูนย์สุขอนามัยที่ไม่หวังกำไร เพื่อนำการฝึกฝนและความมุ่งมั่นมาทำงาน พวกเขาต้องการโอกาสที่จะเป็น แพทย์ที่ต้องการของผู้ป่วย เพื่อที่จะเคลื่อนไปข้างหน้า เราอาจจะต้องกลับไปเหมือนเดิม ที่กุมารแพทย์ผู้ซึ่ง เคาะประตูบ้านครอบครัวดิฉัน ที่ด้านใต้ชิคาโกตอนดิฉันยังเป็นเด็ก มาเยี่ยมคนป่วยตามบ้าน ซึ่งเป็นข้าราชการ เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่อะไรเลย เป็นสิ่งที่การแพทย์ควรจะทำ เรื่องใหม่ก็คือการปรับขึ้นตามสัดส่วน และเกียรติภูมิของแพทย์เอง นั่นคือแพทย์อีแลมนั้นน่าจะเป็นผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย ในแถบอเมซอน เปรู หรือ กัวเตมาลา ก็เป็นแพทย์ชาวพื้นเมือง ในสหรัฐก็เป็นแพทย์ที่เป็นคนผิวสี ที่พูดภาษาสเปนได้คล่องแคล่ว เธอได้รับการฝึกมาอย่างดีเชื่อถือได้ และมีหน้าตาและวัฒนธรรมเหมือนกันกับผู้ป่วย แน่นอน เธอควรได้รับการสนับสนุนจากพวกเรา เพราะไม่ว่าโดยสารด้วยรถไฟใต้ดิน ด้วยลา หรือด้วยเรือบด เธอกำลังสอนเราให้เดินหน้าต่อไป ขอบคุณค่ะ (เสียงปรบมือ)