โอเค วันนี้ฉันจะมาพูดถึง วิธีที่คนพูดถึงความรัก โดยเฉพาะ สิ่งที่ผิดไปเวลาพูดถึงความรัก คนส่วนมากตกหลุมรักสองสามครั้ง ในช่วงชีวิตหนึ่ง และในภาษาอังกฤษ คำว่า ตกหลุม เป็นคำเปรียบเปรย ซึงมักใช้เวลาพูดถึงประสบการณ์ความรัก ไม่รู้คุณคิดอย่างไรนะ แต่เวลาฉันให้นิยามแก่คำเปรียบเปรยนี้ ฉันมักจะคิดเป็นภาพที่หลุดมาจากการ์ตูน คือ มีผู้ชายคนนึง กำลังเดินอยู่ข้างถนน ไม่รู้ตัวว่ากำลังเดินข้าม ท่อระบายน้ำที่เปิดอยู่ ก็เลยตกลงไป ฉันคิดภาพแบบนั้น เพราะว่าการตกลงไป ไม่ใช่การกระโดด การตก เป็นอุบัติเหตุ มันควบคุมไม่ได้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา โดยไม่ได้รับความยินยอม และนี่ เป็นวิธีที่เราพูดถึง การเริ่มต้นความสัมพันธ์ ฉันเป็นนักเขียน และเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึง ฉันครุ่นคิดเรื่องคำเป็นอาชีพ หรือจะบอกว่า เขาจ้างฉันมาเถียง กับคนอื่นเรื่องภาษาก็ได้ และฉันอยากจะเถียงว่า คำเปรียบเปรยหลายคำที่เราใช้ เวลาพูดถึงความรัก อาจจะส่วนมากด้วยซ้ำ เป็นปัญหา เช่น เราตกหลุมรัก ความรักจู่โจม เราถูกบีบคั้น (crush = คนที่ชอบ) รักจนหน้ามืดตามัว อารมณ์ของเราพลุกพล่าน ความรักทำให้เราคลุ้มคลั่ง และทำให้ป่วยใจ หัวใจของเราเจ็บปวด และแตกสลาย สรุปได้ว่า เมื่อเรารักใครสักคน เราจะพูดเปรียบกับ ความรุนแรงหรือความเจ็บป่วย (เสียงหัวเราะ) จริง ๆ นะคะ เราถูกวางตำแหน่งให้เป็นเหยื่อ ของสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง และหลีกเลี่ยงไม่ได้ คำที่ฉันชอบที่สุดคือคำว่า smitten ซึ่งเป็นคำกริยาช่องสามของคำว่า smite และถ้าคุณเปิดดูในพจนานุกรม (เสียงหัวเราะ) คุณจะพบว่า มันแปลว่า ความเจ็บปวดร้ายแรง และรักหัวปรักหัวปรำ ฉันพยายามเชื่อมโยงคำว่า smite เข้ากับบริบทต่าง ๆ เช่น ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในหนังสือเล่มที่สองของพันธสัญญาเดิม มี 16 ตัวอย่างที่อ้างถึงคำว่า smite ซึ่งเป็นคำที่ไบเบิลใช้ในการล้างแค้นของพระเจ้าที่พิโรธ (เสียงหัวเราะ) เราก็ใช้คำคำเดียวกันนี้ พูดถึงความรัก และใช้อธิบายพระคัมภีร์ตอน ภัยพิบัติจากฝูงตั๊กแตน (เสียงหัวเราะ) ใช่ไหมคะ แล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร เราเชื่อมโยงความรัก กับความเจ็บปวดทรมานได้อย่างไร แล้วทำไมเราถึงผู้ถึงประสบการณ์ดีๆ แบบนี้ ราวกับว่าเราตกเป็นเหยื่อ นี่เป็นคำถามที่ยาก แต่ฉันมีทฤษฎี ในการพิจารณานี้ ฉันจะเน้นไปที่คำเปรียบเปรยคำหนึ่ง ที่เปรียบว่า ความรักเหมือนความคลุ้มคลั่ง ตอนแรกที่ฉันเริ่มค้นคว้าเกี่ยวกับความรัก ทุกแหล่งเปรียบเปรยความรัก เป็นความคลุ้มคลั่ง ในวัฒนธรรมตะวันตก มีการใช้ภาษาเปรียบความรัก เหมือนความเจ็บป่วยทางจิต ยกตัวอย่างสักเล็กน้อย วิลเลียม เชกสเปียร์กล่าวว่า ความรักเป็นแค่เพียงความคลุ้มคลั่ง จากบทกวี "ตามใจท่าน" ฟริดริค นิตเช่ กล่าวว่า มีความบ้าคลั่งอยู่ในความรักเสมอ รักของคุณทำให้ฉันเสียสติ (เสียงหัวเราะ) จากนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ บียอนเซ่ โนวส์ (เสียงหัวเราะ) ฉันตกหลุมรักครั้งแรกตอนอายุ 20 เป็นความสัมพันธ์ที่วุ่นวายตั้งแต่เริ่ม ในสองปีแรก มันเป็นรักระยะไกล สำหรับฉัน มันเป็นรักที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ฉันจำช่วงหนึ่งได้ ฉันนั่งอยู่บนเตียง ที่โรงแรมในอเมริกาใต้ นั่งมองคนที่ฉันรักเดินออกประตูไป มันดึกมากแล้ว ใกล้จะเที่ยงคืน เราทะเลาะกันตอนทานอาหารเย็น และเมื่อเรากลับมาที่ห้อง เขาโยนของใส่กระเป๋า และเดินตึงตังออกไป ฉันจำไม่ได้ว่าเราทะเลาะกันเรื่องอะไร แต่ฉันจำได้ดีเลยว่า ฉันรู้สึกอย่างไร ตอนมองเขาเดินออกไป ตอนนั้นฉันอายุ 22 เป็นครั้งแรก ที่ฉันมาเยือนประเทศที่กำลังพัฒนา และฉันอยู่ลำพัง อีก 1 อาทิตย์ถึงจะมีเที่ยวบินกลับบ้าน ฉันรู้ชื่อของเมืองที่ฉันอยู่ และเมืองที่ฉันต้องไปเพื่อบินกลับบ้าน แต่ฉันไม่รู้ว่าจะไปที่นั่นอย่างไร ฉันไม่มีคู่มือเดินทาง และมีเงินนิดเดียว และฉันยังพูดภาษาสเปนไม่ได้ คนที่บ้าบิ่นกว่าฉัน คงเห็นสถานการณ์นี้เป็นโอกาสอันดีงาม แต่ฉันตัวแข็ง ทำได้แค่นั่งอยู่ตรงนั้น และร้องไห้น้ำตาแตก แต่ถึงจะมีความตื่นตระหนก ก็ยังมีเสียงเล็ก ๆ ดังขึ้นในหัวว่า ว้าว นี่มันดราม่าสุด ๆ ฉันต้องทำเรื่องความรักนี่ถูกแล้วแน่ ๆ (เสียงหัวเราะ) เพราะว่า ส่วนหนึ่งของฉันอยาก ทุกข์ทรมานในรัก มันฟังดูแปลกสำหรับฉันในตอนนี้ แต่ตอนอายุ 22 ฉันอยากจะมีประสบการณ์ดราม่า ตอนนั้น ฉันไม่มีเหตุผล โกรธเกรี้ยว และหมดหวัง และพอใจอย่างน่าประหลาด ฉันคิดว่า นี่ช่วยยืนยันความรู้สึก ที่ฉันมีต่อผู้ชายที่เพิ่งทิ้งฉันไป ฉันคิดว่า ในจุดๆ หนึ่ง ฉันอยากจะรู้สึกคลุ้มคลั่งนิดๆ เพราะฉันคิดว่า นั่นเป็นวิถีแห่งความรัก มันไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ เพราะจากข้อมูลวิกีพิเดีย มีหนัง 8 เรื่อง เพลง 14 เพลง อัลบั้มเพลง 2 อัลบั้มและนิยาย 1 เรื่อง ที่ใช้ชื่อว่า "Crazy Love" หลังจากนั้นครึ่งชั่วโมง เขาก็กลับมาที่ห้อง เราคืนดีกัน และใช้เวลา 1 สัปดาห์ที่เหลือ เที่ยวกันอย่างมีความสุข จากนั้น เมื่อฉันกลับถึงบ้าน ฉันก็คิดว่า นั่นมันแย่ แต่ก็วิเศษมาก นี่คงเป็นความโรแมนติคที่แท้จริง ฉันคาดหวังให้รักแรก ให้ความรู้สึกบ้าคลั่ง และแน่นอน มันเป็นไปอย่างที่ฉันหวัง แต่การรักใครซักคนแบบนั้น ราวกับว่าทุกสิ่งทุกอย่างของฉัน ขึ้นอยู่กับการที่เขารักตอบ ไม่ดีสำหรับฉัน หรือสำหรับเขา ฉันว่าประสบการณ์ความรักแบบนี้ ไม่ได้แปลกอะไรนัก คนส่วนมากรู้สึกบ้าคลั่ง ในระยะแรกๆ ของความรัก จริง ๆ แล้ว มีงานวิจัยยืนยันว่า มันเป็นเรื่องปกติ เพราะสารเคมีในประสาท ความรักและอาการป่วยทางจิต ไม่ได้แยกออกจากกันง่ายขนาดนั้น จริง ๆ นะคะ งานวิจัยปี 1999 ใช้ผลเลือด ในการยืนยันว่า ระดับสารเซอโรโทนิน ของคนที่มีความรักใหม่ ๆ ใกล้เคียงกับ คนที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ (เสียงหัวเราะ) ใช่ค่ะ และระดับเซโรโทนินต่ำ นั้นเกี่ยวข้องกับโรคภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล และโรคซึมเศร้า มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ความรักเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง ของอารมณ์และพฤติกรรม ยังมีงานวิจัยอื่นๆ ที่ยืนยันว่า ความสัมพันธ์ส่วนมากเริ่มต้นแบบนี้ นักวิจัยเชื่อว่า ระดับเซโรโทนินที่ต่ำ สัมพันธ์กับอาการคิดมากเรื่องความรัก ซึ่งจะรู้สึกเหมือนมีคนมาตั้งแคมป์อยู่ในหัว คนส่วนมากรู้สึกแบบนี้ตอนตกหลุมรักใหม่ ๆ ข่าวดีก็คือ มันจะไม่คงอยู่ตลอดไป อาจอยู่ไม่กี่เดือน ถึงสองสามปี เมื่อฉันกลับมาจากทริปอเมริกาใต้ ฉันใช้เวลาอยู่คนเดียวในห้อง เช็กอีเมลล์ หวังจะได้ข่าวจากผู้ชายที่ฉันรัก และคิดว่าเพื่อนๆ คงไม่เข้าใจ ความเจ็บปวดของฉัน ดังนั้น ฉันจึงไม่ต้องการพวกเขา ฉันเลิกออกไปเที่ยวกับเพื่อนๆ นั่นเป็นปีที่ทุกข์ที่สุดในชีวิตของฉัน แต่ฉันคิดว่าหน้าที่ของฉันคือ ต้องรู้สึกแย่ เพราะฉันอาจจะย่ำแย่จริง ๆ แล้วค่อยพิสูจน์ว่าฉันรักเขามากแค่ไหน และถ้าฉันสามารถพิสูจน์ได้ พวกเราก็คงกลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง นี่มันบ้ามาก เพราะว่าไม่มีกฎจักรวาลข้อไหนเลย ที่บอกว่าความทรมานที่ยิ่งใหญ่ จะหมายถึงรางวัลที่สวยหรู แต่พวกเราพูดถึงความรักราวกับว่า มันเป็นสิ่งที่เป็นจริง ประสบการณ์ความรักของเรามีทั้งเชิง ชีววิทยาและทางวัฒนธรรม ทางชีวิทวิทยากล่าวไว้ว่า "ความรักนั้นดี" โดยการกระตุ้นวัฏจักรรางวัลในสมองเรา และมันก็บอกเราว่าความรักนั้นเจ็บปวด หลังจากการทะเลาะหรือการเลิกราจากกัน ที่ทำให้รางวัลสารเคมีในสมองนั้น ถูกดึงกลับคืน และจริง ๆ แล้ว คุณอาจจะเคยได้ยินว่า ถ้าพูดในเชิงสารเคมีในสมองแล้ว การผ่านการเลิกรามาหลายรอบ ก็เหมือนกับการหยุดเล่นโคเคน ซื่งทำให้ฉันรู้สึกอุ่นใจขึ้น (เสียงหัวเราะ) หลังจากนั้น วัฒนธรรมของเราก็ใช้ภาษา เพื่อทำให้ความคิดเกี่ยวกับความรักนั้น เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ในกรณีนี้ พวกเราพูดถึงการเปรียบเปรย ถึงความเจ็บปวด การเสพย์ติดและความบ้าคลั่ง ซึ่งเป็นวัฏจักรที่น่าสนใจ ความรักนั้นยิ่งใหญ่นักแต่ก็เจ็บปวดไปด้วย พวกเราแสดงออกมาในคำพูดและเรื่องราวของเรา แต่คำพูดและเรื่องราวของเราเองก็ถูกบอกกล่าว ให้คาดหวังว่าความรักนั้นยิ่งใหญ่และเจ็บปวด สิ่งที่น่าสนใจสำหรับฉัน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น ในวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับ การรักคน ๆ เดียวไปทั้งชีวิต ราวเหมือนกับว่า เราอยากได้ทั้ง 2 อย่างเลย เราอยากให้ความรักรู้สึกเหมือนความบ้าคลั่ง และอยากให้มันคงอยู่ตลอดชีวิต ฟังดูแย่นะคะ (เสียงหัวเราะ) เพื่อให้ไปด้วยกันได้ เราต้องไม่เปลี่ยนวัฒนธรรม ก็เปลี่ยนความคาดหวังของเรา ลองคิดตามดูว่า ถ้าพวกเรานิ่งเฉยกับความรักน้อยลง ถ้าพวกเราตรงไปตรงมา เปิดใจ และ ใจกว้าง มากกว่านี้ และแทนที่เราจะ "ตกหลุมรัก" เรากลับ "เดินเข้าไปในความรัก" ฉันรู้ดีว่านี่ขอร้องให้คุณทำเยอะมาก แต่ฉันก็ไม่ใช่คนแรกที่แนะนำให้ทำ ในหนังสือ "Metaphors We Live By" นักภาษาศาสตร์ มาร์ค จอห์นสัน และจอร์จ ลาคอฟ แนะนำทางออกที่น่าสนใจกับ ปัญหาที่ขัดแย้งกันเองนี้ คือ ให้เราเปลี่ยนคำเปรียบเปรย พวกเขาแย้งว่า คำเปรียบเปรยนั้น เปลี่ยนแปลง วิธีที่เรารับรู้สิ่งต่าง ๆ บนโลก และยังสามารถเป็นตัวชี้นำสำหรับการกระทำ ในอนาคตต่าง ๆ เช่น การทำตามคำนาย จอห์นสันและลาคอฟแนะว่า การเปรียบเปรยใหม่สำหรับความรัก ความรัก คือ ผลงานศิลปะของการทำงานร่วมกัน ฉันชอบวิธีการคิดความรักแบบนี้มาก นักภาษาศาสตร์กล่าวถึงการเปรียบเปรย ว่า สิ่งหนึ่งพอเป็นจริง อีกสิ่งก็จะจริง ซึ่งเป็นวิธีในการพิจารณาการใช้งานทั้งหมด หรือแนวคิดต่าง ๆ เบื้องหลังการเปรียบเปรย และจอห์นสันกับลาคอฟฟก็ได้พูดทุกอย่างแล้ว ว่าผลงานศิลปะของการทำงานร่วมมือกันจะทำให้ ความพยายาม การประนีประนอม ความอดทน เป้าหมายร่วม เกิดขึ้นพร้อมกัน ความคิดเหล่านี้เรียงตัวอย่างสวยงามกับ วัฒนธรรมของเรา ในความสัมพันธ์ระยะยาว และยังไปได้ดีกับความสัมพันธ์รูปแบบอื่นด้วย ไม่ว่าจะระยะสั้น แบบเพื่อน หลากคู่นอน ไม่ รักแค่คนเดียวและไม่มีเพศสัมพันธ์มาเกี่ยว เพราะการเปรียบเปรยนี้ ทำให้เกิดความคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น ในการรักใครซักคน ฉะนั้นแล้ว ถ้าความรัก คือ ผลงานศิลปะของการร่วมมือกัน ความรักก็คือประสบการณ์ที่สวยงาม ไม่สามารถคาดเดาได้ มีความคิดสร้างสรรค์ ความรักต้องการการสื่อสารและ การฝึกให้สามารถควบคุมตัวเองได้ แน่นอน มันน่าผิดหวัง และใช้อารมณ์ร่วมเยอะมาก และความรักยังมีทั้ง ความเพลิดเพลินและความเจ็บปวด สุดท้ายแล้ว ประสบการณ์แต่ละคนในความรัก แตกต่างกันหมด ตอนที่ฉํนยังเด็กกว่านี้ การที่ฉันต้องการมากขึ้นจากความรักนั้น ไม่เคยเกิดขึ้นกับฉันเลย ฉันไม่เคยต้องยอมรับสิ่งใด ๆ ที่รักนำพามาให้ ตอนที่จูเลียตที่อายุ 14 พอเจอกับ หรือตอนที่จูเลียตไม่สามารถพบเจอกับโรมิโอ คนที่เธอเพิ่งได้เจอเมื่อ 4 วันก่อนหน้านี้ เธอไม่รู้สึกผิดหวังหรือไม่สบายใจ แล้วเธออยู่ไหนละ เธอต้องการตาย ใช่ไหมคะ และเพื่อเตือนความจำ ถ้ามาถึงตอนนี้ของละคร ตอนที่ 3 จากทั้งหมด 5 โรมิโอยังไม่ตาย เขายังมีชีวิตอยู่ ยังสุขภาพดี แค่เขาถูกเนรเทศออกจากเมือง ฉันเข้าใจว่าเมืองเวโรน่า ศตวรรษที่ 16 ยังไม่เหมือนกับอเมริกาเหมือนยุคร่วมสมัย และตอนแรกที่ฉันได้อ่านบทละครนี้ ฉันก็อายุ 14 เช่นเดียวกัน ความทรมานของจูเลียตดูสมเหตุสมผลสำหรับฉัน การตีกรอบความรักใหม่ ฉันได้สรรค์สร้าง คนที่ฉันสามารถชื่นชม แทนที่จะเป็นบางอย่างที่แค่เกิดขึ้นกับฉัน โดยไร้การควบคุมหรือความเห็นชอบ มันทำให้มั่นใจนะ แต่มันยังคงยาก ความรักยังทำให้รู้สึกโกรธและย่ำแย่ในบางวัน และเมื่อฉันรู้สึกผิดหวัง ฉันต้องเตือนตัวเองว่า หน้าที่ของฉันในความสัมพันธ์นี้ คือ การคุยกับคู่ของฉัน ว่าอะไรคือสิ่งที่เราอยากทำไปด้วยกัน แน่นอน ไม่ได้ง่ายเลย แต่ก็ยังดีกว่าทางเลือกอีกทาง ซึ่งคือสิ่งที่รู้สึกได้ว่าบ้าคลั่ง ความรักรูปแบบนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการเอาชนะ หรือการสูญเสียความชื่นชอบในใครซักคน แต่กลับกัน คุณต้องเชื่อใจในคู่ของคุณ และพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เมื่อการเชื่อใจมันยากขึ้น ซึ่งมันฟังดูง่าย แต่จริง ๆ เป็นการกระทำที่ เปลี่ยนแปลงและมีเหตุผลซะด้วยซ้ำ นี่เป็นเพราะว่าคุณได้หยุด และคิดเรื่องตัวเอง และสิ่งที่คุณได้หรือสูญเสียในความสัมพันธ์ และคุณได้เริ่มคิดเรื่องสิ่งที่ คุณสามารถให้ได้ ความรักรูปแบบนี้ทำให้เราสามารถพูดแบบที่ว่า "เฮ้ พวกเราไม่ได้ทำงานร่วมกันดีเลย บางที เราอาจจะไม่ได้เหมาะสมกันจริง ๆ" หรือ "ความสัมพันธ์ครั้งนั้น สั้นกว่าที่ฉันวางแผนไว้อีก แต่มันก็ยังสวยงามอยู่นะ สิ่งที่สวยงามเกี่ยวกับผลงานศิลปะ ที่มาจากการร่วมมือกัน ไม่ได้ถูกสรรค์สร้างด้วยตัวของมันเอง แต่ความรักรูปแบบนี้ เราสามารถเลือกได้ว่า มันจะออกมารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ขอบคุณค่ะ (เสียงปรบมือ)