WEBVTT 00:00:06.494 --> 00:00:07.890 มองไปยังท้องฟ้ายามค่ำคืน 00:00:07.890 --> 00:00:10.910 เราจะรู้สึกทึ่งที่ท้องฟ้าดูเหมือนดำรงอยู่เป็นนิรันดร์ 00:00:10.910 --> 00:00:12.395 แต่ท้องฟ้าจะมีหน้าตาอย่างไร 00:00:12.395 --> 00:00:13.865 หลายพันล้านปีจากนี้ 00:00:13.865 --> 00:00:15.372 นักวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง 00:00:15.372 --> 00:00:16.616 ที่เรียกว่า นักจักรวาลวิทยา 00:00:16.616 --> 00:00:19.531 ได้ใช้เวลาขบคิดปัญหานี้ 00:00:19.531 --> 00:00:21.924 จุดจบของจักรวาลนั้นสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ 00:00:21.924 --> 00:00:23.868 สิ่งที่มีอยู่ในจักรวาล 00:00:23.868 --> 00:00:25.170 กว่า 100 ปีมาแล้ว 00:00:25.170 --> 00:00:27.879 ไอน์สไตน์ได้พัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปขึ้น 00:00:27.879 --> 00:00:29.923 สมการซึ่งช่วยให้เรา 00:00:29.923 --> 00:00:31.258 เข้าใจความสัมพันธ์ 00:00:31.258 --> 00:00:33.462 ระหว่างสิ่งที่ประกอบเป็นจักรวาล 00:00:33.462 --> 00:00:34.511 และรูปทรงของมัน 00:00:34.511 --> 00:00:36.124 ปรากฏว่าจักรวาล 00:00:36.124 --> 00:00:38.178 อาจจะโค้งเหมือนลูกบอลหรือทรงกลม 00:00:38.178 --> 00:00:40.676 ซึ่งเราเรียกว่า โค้งเชิงบวก หรือ แบบปิด 00:00:40.676 --> 00:00:42.228 หรือจักรวาลอาจจะมีรูปร่างคล้ายอานม้า 00:00:42.228 --> 00:00:44.488 ซึ่งเราเรียกว่า โค้งเชิงลบ หรือ แบบเปิด 00:00:44.488 --> 00:00:46.033 หรือมันอาจจะแบน 00:00:46.033 --> 00:00:47.155 และรูปทรงนี้เองที่กำหนด 00:00:47.155 --> 00:00:49.537 ว่าจักรวาลจะอยู่ จะตายเช่นไร 00:00:49.537 --> 00:00:52.632 ตอนนี้ เราทราบว่าจักรวาลเกือบจะแบนสนิท 00:00:52.632 --> 00:00:54.338 อย่างไรก็ดี องค์ประกอบของจักรวาล 00:00:54.338 --> 00:00:56.454 ยังสามารถส่งผลต่อชะตาบั้นปลายชีวิตของมันได้ 00:00:56.454 --> 00:00:58.033 เราสามารถทำนายว่าจักรวาล 00:00:58.033 --> 00:00:59.611 จะเปลี่ยนไปตามเวลาเช่นไร 00:00:59.611 --> 00:01:01.793 หากเราวัดปริมาณ หรือความหนาแน่นพลังงาน 00:01:01.793 --> 00:01:04.588 ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในจักรวาลวันนี้ 00:01:04.588 --> 00:01:06.727 แล้วจักรวาลประกอบขึ้นจากอะไรบ้างล่ะ? 00:01:06.727 --> 00:01:09.393 จักรวาลบรรจุทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามองเห็นได้ 00:01:09.393 --> 00:01:11.564 เช่น ดาวฤกษ์ แก๊ส และดาวเคราะห์ 00:01:11.564 --> 00:01:14.733 เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า สสารปกติ หรือ สสารแบริออน 00:01:14.733 --> 00:01:16.593 ถึงแม้ว่าเราจะมองเห็นสสารเหล่านี้อยู่รอบตัว 00:01:16.593 --> 00:01:18.702 ความหนาแน่นพลังงานรวมขององค์ประกอบชนิดนี้ 00:01:18.702 --> 00:01:20.440 มีค่าต่ำมาก ๆ 00:01:20.440 --> 00:01:23.530 ราว 5% ของพลังงานรวมของทั้งจักรวาล 00:01:23.530 --> 00:01:26.675 งั้นเรามาคุยกันดีกว่า ว่าอีก 95% ที่เหลือคืออะไร 00:01:26.675 --> 00:01:29.081 เกือบ 27% ของส่วนที่เหลือ 00:01:29.081 --> 00:01:30.913 ของความหนาแน่นพลังงานของจักรวาล 00:01:30.913 --> 00:01:33.825 มาจากสิ่งที่เราเรียกว่า สสารมืด 00:01:33.825 --> 00:01:36.928 สสารมืดมีอันตรกิริยากับแสงน้อยมาก ๆ 00:01:36.928 --> 00:01:39.208 ซึ่งแปลว่าสสารมืดไม่ส่องแสง และไม่สะท้อนแสง 00:01:39.208 --> 00:01:41.191 เหมือนอย่างดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์ 00:01:41.191 --> 00:01:42.288 แต่ในแง่อื่น ๆ นอกนั้น 00:01:42.288 --> 00:01:44.259 สสารมืดก็เหมือนกับสสารปกติ 00:01:44.259 --> 00:01:46.128 มันดึงดูดสิ่งต่าง ๆ ด้วยแรงโน้มถ่วง 00:01:46.128 --> 00:01:48.761 จริง ๆ แล้ว มีเพียงวิธีเดียวที่จะตรวจหาสสารมืดได้ 00:01:48.761 --> 00:01:51.052 คือผ่านทางอันตรกิริยาโน้มถ่วง 00:01:51.052 --> 00:01:52.343 ดูว่าสิ่งต่าง ๆ โคจรรอบมันอย่างไร 00:01:52.343 --> 00:01:53.595 และมันทำให้แสงโค้งงออย่างไร 00:01:53.595 --> 00:01:56.008 จากการที่มันทำให้อวกาศรอบ ๆ โค้งงอ 00:01:56.008 --> 00:01:58.343 เรายังไม่พบเจออนุภาคสสารมืด 00:01:58.343 --> 00:02:00.815 แต่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังค้นหา 00:02:00.815 --> 00:02:02.950 อนุภาคเร้นลับ (เหล่า) นี้อยู่ 00:02:02.950 --> 00:02:05.843 และผลกระทบของสสารมืดที่มีต่อจักรวาล 00:02:05.843 --> 00:02:08.256 แต่นั่นก็ยังรวมแล้วก็ยังไม่ครบ 100% 00:02:08.256 --> 00:02:09.784 ที่เหลืออีก 68% 00:02:09.784 --> 00:02:11.680 ของความหนาแน่นพลังงานของจักรวาล 00:02:11.680 --> 00:02:13.759 มาจาก พลังงานมืด 00:02:13.759 --> 00:02:16.457 ซึ่งลี้ลับยิ่งกว่าสสารมืดเสียอีก 00:02:16.457 --> 00:02:18.422 พลังงานมืดทำตัวไม่เหมือน 00:02:18.422 --> 00:02:20.590 กับสสารใด ๆ เลยที่เรารู้จัก 00:02:20.590 --> 00:02:23.013 และทำตัวเหมือนกับ แรงต้านแรงดึงดูด มากกว่า 00:02:23.013 --> 00:02:25.420 เราเรียกว่า มันมีความดันโน้มถ่วง 00:02:25.420 --> 00:02:28.330 ซึ่งสสารปกติและสสารมืดไม่มี 00:02:28.330 --> 00:02:30.213 แทนที่จะดึงดูดจักรวาลเข้าหากัน 00:02:30.213 --> 00:02:32.004 อย่างที่แรงดึงดูดทำ 00:02:32.004 --> 00:02:34.287 จักรวาลกลับกำลังขยายตัวออก 00:02:34.287 --> 00:02:36.110 ด้วยอัตราที่เร็วขึ้นเรื่อย ๆ 00:02:36.110 --> 00:02:37.938 แนวคิดหลักเชื่อว่าพลังงานมืด 00:02:37.938 --> 00:02:40.148 คือ ค่าคงที่จักรวาล 00:02:40.148 --> 00:02:42.245 แปลว่ามันมีคุณสมบัติแปลก ๆ 00:02:42.245 --> 00:02:45.434 ที่จะขยายตัว ตามปริมาตรอวกาศที่เพิ่มขึ้น 00:02:45.434 --> 00:02:47.606 เพื่อที่จะให้ความหนาแน่นพลังงานคงที่ 00:02:47.606 --> 00:02:49.441 ดังนั้น ขณะที่จักรวาลขยายตัว 00:02:49.441 --> 00:02:50.772 ดังที่เป็นอยู่ขณะนี้ 00:02:50.772 --> 00:02:52.742 พลังงานมืดก็จะมีมากขึ้นไปด้วย 00:02:52.742 --> 00:02:54.574 สสารมืด และสสารแบริออน 00:02:54.574 --> 00:02:55.277 ในทางตรงกันข้าม 00:02:55.277 --> 00:02:56.622 ไม่ได้ขยายตัวตามจักรวาล 00:02:56.622 --> 00:02:58.409 และจะเจือจางลงเรื่อย ๆ 00:02:58.409 --> 00:02:59.335 ด้วยคุณสมบัติ 00:02:59.335 --> 00:03:00.694 ของค่าคงตัวจักรวาล 00:03:00.694 --> 00:03:03.451 จักรวาลในอนาคตจะเต็มไปด้วย 00:03:03.451 --> 00:03:04.592 พลังงานมืด 00:03:04.592 --> 00:03:06.330 พร้อมกับเย็นตัวลงเรื่อย ๆ 00:03:06.330 --> 00:03:08.715 และขยายตัวออกเร็วขึ้นเรื่อย ๆ 00:03:08.715 --> 00:03:10.736 ในที่สุด จักรวาลก็จะหมดกำลัง 00:03:10.736 --> 00:03:11.842 ที่จะสร้างดาวฤกษ์ 00:03:11.842 --> 00:03:13.941 และดาวฤกษ์เองก็จะหมดเชื้อเพลิง 00:03:13.941 --> 00:03:15.192 และมอดดับลง 00:03:15.192 --> 00:03:18.062 ทำให้จักรวาลเหลือแต่หลุมดำ 00:03:18.062 --> 00:03:19.255 เมื่อผ่านไปนานพอ 00:03:19.255 --> 00:03:21.610 แม้แต่หลุมดำพวกนี้ ก็จะค่อย ๆ สลายไป 00:03:21.610 --> 00:03:24.523 เหลือไว้เพียงจักรวาลที่หนาวเหน็บและว่างเปล่า 00:03:24.523 --> 00:03:28.127 ซึ่งเรียกว่า จุดจบความร้อนของจักรวาล 00:03:28.127 --> 00:03:29.569 อาจจะฟังดูน่าหดหู่ 00:03:29.569 --> 00:03:30.694 ที่เราต้องอาศัยอยู่ในจักรวาล 00:03:30.694 --> 00:03:32.735 ที่จะจบชีวิตลงอย่างหนาวเหน็บ 00:03:32.735 --> 00:03:34.237 ปราศจากซึ่งชีวิต 00:03:34.237 --> 00:03:36.027 ชะตาบั้นปลายของจักรวาลเรา 00:03:36.027 --> 00:03:37.937 แท้จริงแล้ว มีความสมมาตรที่สวยงามอยู่ 00:03:37.937 --> 00:03:40.087 เทียบกับจุดเริ่มต้นเร่าร้อนของมัน 00:03:40.087 --> 00:03:41.998 เราเรียกระยะสุดท้ายของจักรวาล 00:03:41.998 --> 00:03:44.111 ที่มีความเร่งว่า ระยะ ดี ซิทเทอร์ (de Sitter) 00:03:44.111 --> 00:03:46.082 ตามชื่อของนักคณิตศาสตร์ชาวดัตช์ 00:03:46.082 --> 00:03:47.927 วิลเลม ดี ซิทเทอร์ (Willem de Sitter) 00:03:47.927 --> 00:03:49.685 อย่างไรก็ดี เรายังเชื่อว่า 00:03:49.685 --> 00:03:51.520 จักรวาลเคยขยายตัวแบบ ดี ซิทเทอร์ 00:03:51.520 --> 00:03:52.831 ณ อีกช่วงเวลาหนึ่ง 00:03:52.831 --> 00:03:54.607 ในช่วงแรกเริ่มของชีวิตมัน 00:03:54.607 --> 00:03:57.228 เราเรียกระยะแรกเริ่มนี้ว่า การพองตัว 00:03:57.228 --> 00:03:58.894 หลังจากบิ๊กแบงไม่นาน 00:03:58.894 --> 00:04:01.219 จักรวาลขยายตัวอย่างรวดเร็วสุด ๆ 00:04:01.219 --> 00:04:02.860 ภายในช่วงเวลาสั้น ๆ 00:04:02.860 --> 00:04:04.391 ดังนั้น จักรวาลจึงมีจุดจบ 00:04:04.391 --> 00:04:06.858 เช่นเดียวกับจุดเริ่มต้น 00:04:06.858 --> 00:04:08.768 คือ ขยายตัวด้วยความเร่ง 00:04:08.768 --> 00:04:10.778 เราดำรงชีวิตอยู่ในช่วงเวลาพิเศษ 00:04:10.778 --> 00:04:12.350 ในช่วงชีวิตของจักรวาล 00:04:12.350 --> 00:04:13.861 ณ จุดที่เราสามารถเริ่มเข้าใจ 00:04:13.861 --> 00:04:15.153 การเดินทางของจักรวาล 00:04:15.153 --> 00:04:16.437 และมองดูประวัติศาสตร์ 00:04:16.437 --> 00:04:18.520 ที่แสดงบนฟากฟ้า 00:04:18.520 --> 00:04:20.622 เพื่อให้เราทุกคนได้ติดตาม