เทศกาลหยุดยาวนี้ คนทั่วโลกจะให้และรับของขวัญกัน คุณอาจได้รับเสื้อไหมพรมจากคุณป้า แต่ถ้าแทนที่การพูดว่า "ขอบคุณ" ก่อนโยนเสื้อไหมพรมเข้าตู้เสื้อผ้า การตอบกลับอย่างสุภาพ ที่คาดหวังจากคุณนั้น คือการปรากฎตัวที่บ้านคุณป้าในสัปดาห์ ถัดไปพร้อมด้วยของขวัญที่ดีกว่า ? หรือควรโหวดให้เธอในการเลือกตั้ง ? หรือว่าให้เธอเอาลูกคนแรกของคุณมาเลี้ยง ? ทุกสิ่งที่กล่าวมาฟังดูไม่แปลกเลย ถ้าคุณมีส่วนร่วมในเศรษฐศาสตร์แห่งการให้ วลีนี้อาจฟังดูขัดแย้งกันสักหน่อย ไม่ใช่ว่า ของขวัญคือการให้แบบฟรีๆ ? แต่สำหรับเศรษฐศาสตร์แห่งการให้แล้ว ไม่มีเงื่อนไขการให้ที่แน่ชัด มันมักใช้เพื่ออุ้มชูระบบ การเชื่อมสังคม และสัญญาผูกมัด ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด สร้างจากความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งของที่ใช้แลกเปลี่ยน ระบบเศรษฐศาสตร์แห่งการให้ กลับเป็นความสัมพันธ์ ระหว่างคนที่ทำการแลกเปลี่ยนกัน เศรษฐศาสตร์แห่งการให้ มีมานานในประวัติของมนุษย์ การศึกษาความคิดนี้เป็นครั้งแรก มาจากนักมานุษยวิทยา โบรนิสโลว์ มาลิโนว์สกี และ มาร์เซล เมาส์ ผู้เปิดเผยเกี่ยวกับชนเผ่าบน เกาะโทรเบรียน (Trobriand) ที่ยอมพายเรือแคนนูฝ่าฟันอันตราย ข้ามมหาสมุทรเป็นไมล์ๆ เพื่อแลกสร้อยคอเปลือกหอย และ กำไลแขน ของในการแลกเปลี่ยนนี้รู้จักในชื่อ คูลา ริง (kula ring) มันใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่มันมีความหมายต่อ เจ้าของดั้งเดิม และเป็นพันธสัญญา เพื่อใช้แลกเปลี่ยน เศรษฐศาสตร์แห่งการให้อื่น อาจเป็นของที่ใช้ประโยชน์ได้ เช่นงานเฉลิมฉลองพอตแลช (potlatch feast) ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแปซิฟิก ที่ผู้นำจะแข่งกันแสดงความเคารพ ด้วยการให้ปศุสัตว์ และผ้าห่ม เราอาจพูดได้ว่า แทนที่จะสะสม ของเพื่อสร้างความร่ำรวย ผู้ร่วมในเศรษฐศาสตร์แห่งการให้ ใช้มันเพื่อสะสมความมั่งคั่งทางสังคม แม้ว่าเศรษฐศาสตร์แห่งการให้บางกรณี อาจคล้ายการแลกเปลี่ยน แต่ความต่างคือ สิ่งที่ให้นั้น จะต้องให้โดยไม่มีเงื่อนไข หรือต่อรอง แต่ธรรมดาของสังคมที่พึ่งพาอาศัย ย่อมผูกมัดผู้รับ ด้วยการตอบแทนกลับอย่างสมัครใจ แต่กฎที่ว่าต้องทำอย่างไร และเมื่อไหร่นั้น แตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรม แล้วการตอบแทนคืนนั้นสามารถ เป็นได้หลายรูปแบบ ผู้นำชั้นสูงให้ปศุสัตว์แก่คนจน โดยอาจไม่ต้องการสิ่งตอบแทน แต่กลับได้รับความยำเกรง จากการชดใช้ของลูกหนี้ และท่ามกลางชาวโทราจา ในอินโดนีเซีย ได้รับความเชื่อถือจากพิธีการให้ มีผลถึงการเป็นเจ้าของที่ดิน หลักสำคัญคือ วงจรการให้ต้องหมุนอยู่ตลอด โดยบางคนเป็นหนี้อีกคนเรื่อยๆ การตอบแทนกลับโดยทันที หรือด้วยบางอย่างที่ค่าเท่ากัน อาจกลายเป็นการจบ ความสัมพันธ์ทางสังคมได้ งั้น เศรษฐศาสตร์แห่งการให้ก็เป็นสังคม เล็กเฉพาะกลุ่ม ปลีกไปจากโลกอุตสาหกรรม ? ก็ไม่เชิง ในส่วนหนึ่ง ยิ่งในสังคมนี้ หน้าที่เศรษฐศาสตร์แห่งการให้ เดินคู่กับระบบการตลาดแลกเปลี่ยนอื่นๆ และเมื่อเราคิดดู หลายส่วนของสังคมเรานั้น ก็เป็นในลักษณะเดียวกัน ชุมนุมสาธารณะอย่าง เบิร์นนิ่ง แมน (Burning Man) เป็นการผสมระหว่างการแลกเปลี่ยน และเศรษฐศาสตร์แห่งการให้ ที่ซึ่งการขายของเพื่อเงิน เป็นเรื่องต้องห้าม ในงานศิลปะและเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์แห่งการให้ปรากฏ เป็นทางเลือกของทรัพสินทางปัญญา ที่ซึ่งศิลปิน นักดนตรี นักออกแบบและพัฒนา สร้างสรรค์งานโดยไม่หวังผลกำไร แต่เพื่อยกระดับหรือสร้างบทบาท ตัวเองต่อกลุ่มทางสังคม แม้แต่การปาร์ตีมื้อเย็น และ การให้ของขวัญช่วงเทศกาล ได้รวมบางระดับของ การพึ่งพาอาศัยและมาตรฐานสังคม เราอาจสงสัยว่าของขวัญ คือของขวัญจริงไหม ถ้ามันมาพร้อมกับการผูกมัด หรือ รวมถึงต้องจ่ายอะไรทางสังคมออกไป แต่นี่คือเรื่องเข้าใจผิด ความคิดเรื่องการให้ของขวัญฟรีๆ โดยไม่มีข้อผูกมัดทางสังคม เป็นจริงแค่เมื่อเราคิดทุกสิ่ง ในเชิงการตลาด และในเรื่องของโลกธุรกิจ ความคิดเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ที่ แข่งแกร่ง โดยการให้และพึ่งพาอาศัย อาจไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตาม