หากคุณลองใช้เศษกระดาษไปจับจ่ายใช้สอยล่ะก็ คุณอาจจะเจอปัญหาก็ได้ นอกเสียจากว่า เจ้ากระดาษใบนั้น มันคือธนบัตรใบละร้อยดอลล่าร์ แต่อะไรล่ะ ที่สามารถทำให้ธนบัตรใบนั้น น่าสนใจและมีมูลค่ามากมาย กว่าแผ่นกระดาษใบอื่นๆ หลังจากทั้งหมดแล้ว คุณก็ทำอะไรกับมันไม่ได้มากนัก คุณไม่สามารถกินมันเข้าไปได้ เอาไปใช้สร้างอะไรก็ไม่ได้ และการเผามันก็เป็นสิ่งผิดกฎหมายด้วย แล้วทำไมมันถึงสำคัญนักล่ะ แน่นอน คุณอาจจะรู้คำตอบอยู่แล้ว ธนบัตร 100 ดอลล่าร์นั้น ถูกพิมพ์ขึ้นมาโดยรัฐบาล และถูกกำหนดให้เป็นสกุลเงิน อย่างเป็นทางการ โดยที่กระดาษใบอื่นๆ นั้น เป็นไม่ได้ แต่นั่นเป็นเพียงสิ่งที่ทำให้มันถูกกฎหมาย อะไรล่ะที่ทำให้ธนบัตร 100 ดอลล่าร์มีมูลค่า หรือในทางกลับกัน มีธนบัตรพวกนี้อยู่เท่าไหร่ ในอดีตที่ผ่านมา ค่าเงินส่วนใหญ่ รวมทั้งดอลล่าห์สหรัฐ จะเชื่อมโยงกับกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ และจำนวนของธนบัตรที่ใช้ในการหมุนเวียน จะขึ้นอยู่กับทองคำสำรอง และเงินสำรอง (silver) ของรัฐบาล แต่หลังจากที่ทางสหรัฐฯ ได้ยกเลิกระบบนี้ไปในปีค.ศ. 1971 เงินดอลล่าร์ก็ได้ถูกรู้จักในนามของ "เงินในระบบเงินกระดาษ" หมายความว่ามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ทรัพยากรภายนอกอื่นใด แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐเพียงอย่างเดียว ที่จะตัดสินใจว่า ต้องพิมพ์ค่าของเงินออกมาเท่าไหร่ แล้วหน่วยงานไหนของรัฐบาลที่กำหนดนโยบายนี้? ฝ่ายบริหาร, สภานิติบัญญัติ, หรือ ตุลาการศาล? คำตอบที่น่าตกใจคือ ไม่ใช่เลยซักอย่างที่ว่ามา อันที่จริง นโยบายการเงินถูกกำหนดโดย ระบบของหน่วยงานธนาคารกลางอิสระ หรือที่เรียกว่า เฟด (Fed) ซึ่งประกอบไปด้วย ธนาคารระดับภูมภาคหลักๆ 12 แห่ง ทั่วประเทศ สภาผู้ว่าการของธนาคาร ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และได้รับความเห็นชอบโดยวุฒิสภา จะรายงานไปที่สภาคองเกรส แล้วรายได้ของธนาคารกลางทั้งหมด จะไหลไปสู่กระทรวงการคลังสหรัฐ แต่เพื่อที่จะไม่ให้ เฟด ได้รับอิทธิพล จากความฝันผวนทางการเมืองในแต่ละวัน มันจึงไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรง ของหน่วยงานใดๆ ของรัฐ แล้วทำไม เฟด ถึงไม่พิมพ์ธนบัตร 100 ดอลล่าร์ออกมาอย่างไม่สิ้นสุด ทุกคนจะได้มีความสุขและร่ำรวย? ถ้าเป็นอย่างนั้น ธนบัตรก็จะไร้ค่าไปเลย ลองคิดถึงจุดประสงค์ของการมีสกุลเงินสิ ซึ่งก็คือการเอาไปใช้แลกเปลี่ยน กับสินค้าและบริการ ถ้าปริมาณของเงินตราทั้งหมด ที่หมุนเวียนใช้อยู่ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกินกว่ามูลค่าของสินค้า และบริการในระบบเศรษฐกิจ แล้วธนบัตรแต่ละใบนั้นก็จะสามารถนำไป ซื้อของในสัดส่วนที่น้อยลงกว่าเมื่อก่อน นี่คือที่เรียกว่า เงินเฟ้อ หรือในทางกลับกัน ถ้าปริมาณเงินยังคงเหมือนเดิม ในขณะที่สินค้าและบริการถูกผลิตออกมามากกว่า ค่าของแต่ละดอลล่าร์ก็จะเพิ่มขึ้น ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า เงินฝืด แล้วอะไรจะแย่กว่ากันล่ะ ภาวะเงินเฟ้อมากเกินไป หมายถึง เงินที่อยู่ในกระเป๋าคุณวันนี้ จะมีค่าน้อยลงในวันพรุ่งนี้ ซึ่งทำให้คุณอยากจะใช้เงินทันทีเลย ในขณะที่มันจะช่วยกระตุ้นภาคธุรกิจ มันยังสามารถทำให้เกิดการบริโภคมากเกิน หรือกักตุนสินค้า เช่นอาหารและเชื้อเพลิง ทำให้พวกนั้นราคาสูงขึ้น และนำไปสู่ภาวะขาดแคลนผู้บริโภค และยิ่งเกิดเงินเฟ้อมากขึ้น แต่ภาวะเงินฝืด ทำให้ผู้คน อยากจะถือเงินพวกนี้ไว้ และเมื่อการใช้จ่ายบริโภคลดลง จะทำให้กำไรในภาคธุรกิจลดลง นำไปสู่ภาวะการว่างงานมากขึ้น และตามด้วยการลดค่าใช้จ่าย ทำให้ระบบเศรษฐกิจหดตัว ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า มันอันตรายถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่งมากไป ภาวะเงินเฟ้อเล็กน้อยนั้น จำเป็นที่จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นได้ เฟด ใช้ข้อมูลในเชิงเศรษฐกิจมากมาย เพื่อประเมินว่าต้องมีค่าเงิน มาหมุนเวียนมากแค่ไหน รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อก่อนหน้านั้น แนวโน้มของต่างชาติ และอัตราการว่างงาน อย่างเช่นในนิทานเรื่องโกลดี้ล๊อคส์ (Goldilocks) พวกเขาต้องได้มาซึ่งตัวเลขที่ถูกต้อง เพื่อที่จะกระตุ้นการเจริญเติบโต และประชาชนยังมีงานทำ โดยไม่ให้ภาวะเงินเฟ้อไปถึงระดับที่แตกหัก เฟด ไม่เพียงแต่กำหนด ว่ากระดาษที่อยู่ในกระเป๋าคุณมีค่าแค่ไหน แต่ยังรวมถึงโอกาสในการที่คุณ จะได้งาน หรือรักษางาน ที่ให้รายได้กับคุณอีกด้วย