Return to Video

หรือโรงเรียนจะเป็นแหล่งทำลายความคิดสร้างสรรค์

  • 0:00 - 0:07
    สวัสดีครับ เป็นอย่างไรกันบ้าง? เยี่ยมไปเลยใช่มั้ยครับ?
    (มีสัมมนาก่อนหน้านี้ -- ผู้แปล)
  • 0:07 - 0:11
    ผมน่ะ ประทับใจมากเลย
  • 0:11 - 0:15
    ผมก็เลยจะกลับแล้วล่ะ (เสียงหัวเราะ)
  • 0:15 - 0:19
    เห็นด้วยไหมครับว่ามีแนวคิดอยู่ 3 รูปแบบ
  • 0:19 - 0:23
    ในการสัมนาครั้งนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ
  • 0:23 - 0:25
    สิ่งที่ผมกำลังจะพูดถึงต่อไป
  • 0:25 - 0:29
    เรื่องแรกคือ หลักฐานที่มหัศจรรย์เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์
  • 0:29 - 0:32
    ในการนำเสนอทั้งหมดที่เราได้รับทราบมา
  • 0:32 - 0:35
    และในตัวของทุกๆ ท่าน ที่อยู่ ณ ที่นี้ มันช่างหลากหลาย
  • 0:35 - 0:38
    และกว้างไกลเหลือเกินครับ และเรื่องที่สองก็คือ
  • 0:38 - 0:41
    ความคิดสร้างสรรค์ได้นำพวกเราไปสู่ที่แห่งหนึ่ง ที่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น
  • 0:41 - 0:43
    ในอนาคต ไม่รู้เลยจริงๆ
  • 0:43 - 0:45
    ว่ามันจะเป็นอย่างไร
  • 0:45 - 0:48
    ผมมีความสนใจในเรื่องการศึกษา
  • 0:48 - 0:51
    ที่จริงแล้ว ผมพบว่า ทุกๆ คน มีความสนใจในเรื่องของการศึกษา
  • 0:51 - 0:53
    จริงไหมครับ น่าสนใจนะครับ
  • 0:53 - 0:56
    สมมติว่าคุณอยู่ในงานเลี้ยงอาหารค่ำ แล้วคุณพูดว่า
  • 0:56 - 0:59
    คุณทำงานด้านการศึกษา
  • 0:59 - 1:06
    ทั้งที่จริง ถ้าคุณทำงานในแวดวงการศึกษา คุณจะไม่ค่อยได้อยู่ในงานเลี้ยงอาหารค่ำบ่อยนักหรอก
  • 1:06 - 1:09
    (หัวเราะ) คือว่าคุณจะไม่ได้รับเชิญตั้งแต่แรกน่ะ
  • 1:09 - 1:14
    ประหลาดนะครับ คุณไม่แย้งผมด้วย
  • 1:14 - 1:16
    เอาเป็นว่าถ้าคุณได้รับเชิญไปงาน
    แล้วคุยกับคนอื่นๆ ในงาน
  • 1:16 - 1:18
    เกิดมีคนถามคุณว่า "คุณทำงานอะไร"
  • 1:18 - 1:20
    แล้วคุณตอบว่า ผมทำงานด้านการศึกษา
  • 1:20 - 1:24
    คุณจะเห็นว่า หน้าพวกเขาจะซีดลงทันที พวกเค้าจะคิดในใจว่า
  • 1:24 - 1:30
    โธ่ ซวยจริง ๆ ทำไมต้องเป็นฉันด้วย
    ค่ำคืนแห่งอิสระภาพของฉันในอาทิตย์นี้ (หัวเราะ)
  • 1:30 - 1:32
    แต่ถ้าคุณถามเกี่ยวกับการศึกษาของพวกเขา
  • 1:32 - 1:34
    เค้าจะตอบมาเป็นฉากๆ เลยครับ เพราะว่าการศึกษา
  • 1:34 - 1:37
    เป็นเรื่องที่คนยึดถืออย่างลึกซึ้ง จริงไหมครับ?
  • 1:37 - 1:40
    เหมือนกับเรื่องของศาสนา ความร่ำรวย และอีกหลายๆ เรื่อง
  • 1:40 - 1:44
    ผมมีความสนใจอย่างมากในเรื่องของการศึกษา
    และผมคิดว่าทุกคนก็คงเหมือนกัน
  • 1:44 - 1:46
    พวกเราสนใจมัน
  • 1:46 - 1:49
    ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า
    การศึกษาคือสิ่งที่
  • 1:49 - 1:52
    จะนำเราไปสู่อนาคตที่เราคาดไม่ถึง
  • 1:52 - 1:55
    ลองคิดดูซิครับ เด็กที่เริ่มเข้าโรงเรียนในปีนี้ (2006)
  • 1:55 - 2:01
    จะเกษียณอายุในปี 2065 ไม่มีใครรู้เลยครับ
  • 2:01 - 2:04
    แม้แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย
    ที่มาร่วมในการสัมนาช่วง 4 วันที่ผ่านมา
  • 2:04 - 2:06
    ไม่รู้เลยครับว่าโลกจะเป็นอย่างไร
  • 2:06 - 2:08
    แม้แต่ในอีก 5 ปีข้างหน้า และพวกเรานั่นแหละที่จะต้อง
  • 2:08 - 2:11
    สอนเด็กๆ ให้รับมือกับสิ่งที่จะมาถึง
    ดังนั้น ผมคิดว่าความยากที่จะคาดเดานั้น
  • 2:11 - 2:13
    มันยิ่งใหญ่เหลือเกิน
  • 2:13 - 2:15
    และแนวคิดสุดท้าย แนวคิดที่สามก็คือ
  • 2:15 - 2:20
    พวกเราทุกคนเห็นด้วย ใช่ไหมครับว่า
  • 2:20 - 2:23
    เด็กๆ มีความสามารถที่วิเศษ
  • 2:23 - 2:25
    ความสามารถของพวกเขาในเรื่องของนวัตกรรม
    ดูจากเด็กหญิงซิรีนาเมื่อคืนนี้ซิครับ เธอเป็นสาวน้อยมหัศจรรย์จริงๆ
  • 2:25 - 2:28
    ใช่มั้ยครับ ในสิ่งที่เธอสามารถทำได้
  • 2:28 - 2:33
    เธอทำได้เยี่ยมไปเลยครับ แต่ผมก็ยังคิดว่าเธอคงไม่ได้
  • 2:33 - 2:36
    เก่งไปทั้งหมดในเรื่องของวัยเด็ก
  • 2:36 - 2:39
    แต่สิ่งที่พวกเราได้เห็นคือ คนที่มีความมุ่งมั่นเป็นเลิศ
  • 2:39 - 2:41
    คือคนที่หาความสามารถเฉพาะตัวของตนเองเจอ
    ข้อโต้แย้งของผมก็คือ
  • 2:41 - 2:43
    ผมคิดว่า เด็กทุกคน มีความสามารถเฉพาะตัว
  • 2:43 - 2:45
    แต่พวกเรากลับทำลายมันอย่างน่าเสียดาย
  • 2:45 - 2:48
    ดังนั้น วันนี้ ผมอยากจะพูดถึง การศึกษา และ
  • 2:48 - 2:51
    ความคิดสร้างสรรค์
    ความคิดที่ผมต้องการนำเสนอคือ
  • 2:51 - 2:54
    ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีความสำคัญ
    ในด้านการศึกษาพอๆ กับการรู้หนังสือ
  • 2:54 - 2:58
    และเราควรที่จะให้ความสำคัญ
    กับมันอย่างเท่าเทียมกัน
  • 2:58 - 3:06
    (เสียงปรบมือ) ขอบคุณครับ
    อันที่จริงก็เท่านั้นล่ะครับ
  • 3:06 - 3:10
    ขอบคุณมากครับ (หัวเราะ)
    เอาล่ะ เหลืออีก 15 นาที
  • 3:10 - 3:17
    อืม ตอนที่ผมเกิด....ไ่ม่ล่ะ (หัวเราะ)
  • 3:17 - 3:21
    เมื่อไม่นานมานี้ผมได้ยินเรื่องๆ หนึ่ง
    ที่ผมชอบที่จะเล่าต่อให้กับคนอื่นๆ ฟัง
  • 3:21 - 3:25
    มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็ก
    ผู้หญิงอายุ 6 ขวบคนหนึ่งในชั่วโมงศิลปะ
  • 3:25 - 3:27
    เธอนั่งวาดรูปอยู่หลังห้อง
  • 3:27 - 3:29
    คุณครูของเธอบอกว่า
  • 3:29 - 3:33
    เด็กผู้หญิงคนนี้ไม่เคยให้ความสนใจในสิ่งใดๆ เลย
    นอกจากในชั่วโมงศิลปะของวันนี้
  • 3:33 - 3:35
    คุณครูรู้สึกประหลาดใจมาก
    จึงเดินเข้าไปหาเด็กน้อย
  • 3:35 - 3:38
    แล้วถามเธอว่า "หนูกำลังวาดอะไรอยู่จ๊ะ"
  • 3:38 - 3:41
    เด็กน้อยตอบว่า "หนูกำลังวาดรูปพระเจ้าค่ะ"
  • 3:41 - 3:44
    แล้วคุณครูก็ถามต่อว่า
    "แต่ว่าไม่มีใครรู้นะจ๊ะว่าพระเจ้าหน้าตาเป็นยังไง"
  • 3:44 - 3:51
    เด็กผู้หญิงคนนั้นก็ตอบว่า
    "อีกแป๊บนึงพวกเค้าก็จะรู้แล้วล่ะค่ะ"
  • 3:51 - 3:52
    (หัวเราะ)
  • 3:52 - 3:57
    ตอนที่ลูกชายของผมอายุ 4 ขวบ ในอังกฤษ
  • 3:57 - 4:00
    อืม อันที่จริงแล้วเขาก็อายุ 4 ขวบ
    ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนแหละครับ (หัวเราะ)
  • 4:00 - 4:06
    ถ้าจะพูดให้ถูกต้องแล้ว
    ไม่ว่าเขาจะไปที่ไหนในปีนั้นเขาก็อายุ 4 ขวบ
  • 4:06 - 4:08
    เขาได้ร่วมแสดงในการแสดง
    เกี่ยวกับวันประสูติของพระเยซู
  • 4:08 - 4:11
    คุณจำเรื่องราวได้ไหมครับ
    มันเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากนะครับ
  • 4:11 - 4:14
    เมล กิ๊บสัน ถึงขั้นทำภาคต่อเลยทีเดียว
  • 4:14 - 4:19
    คุณคงเคยได้ชมแล้ว "กำเนิดพระเยซู ภาค 2"
    เจมส์ ลูกชายของผม ได้เล่นเป็น โจเซฟ
  • 4:19 - 4:22
    ซึ่งพวกเราตื่นเต้นกันมาก
  • 4:22 - 4:24
    เราถือว่านี่เขาเป็นหนึ่งในนักแสดงนำเลยทีเดียว
  • 4:24 - 4:26
    ตอนไปดูเรายกทีมกันใส่เสื้อยืดที่สกรีนว่า
  • 4:26 - 4:29
    "เจมส์ โรบินสัน เป็น โจเซฟ" (หัวเราะ)
  • 4:29 - 4:31
    เขาไม่มีบทพูดเลยครับ
    แต่คุณก็คงรู้ว่าเค้าบทเป็นอย่างไร
  • 4:31 - 4:34
    ตอนที่กษัตริย์ 3 พระองค์เดินทางมาถึง
    พวกเขานำของขวัญมาด้วย
  • 4:34 - 4:36
    ซึ่งได้แก่ ทอง ยางสนที่มีกลิ่นหอม
    และ น้ำมันหอม
  • 4:36 - 4:38
    เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงครับ
    พวกเรานั่งดูอยู่ที่นั่น
  • 4:38 - 4:40
    ผมคิดว่าเกิดการผิดคิวกันเกิดขึ้น
  • 4:40 - 4:42
    เพราะว่าเราคุยกับเด็กผู้ชายคนหนึ่ง
    หลังจากที่ตัวละครเดินเข้ามาบนเวที เราถามเขาว่า
  • 4:42 - 4:44
    "หนูว่านี่โอเคมั๊ย" เด็กน้อยตอบว่า
    "ครับ ทำไมเหรอครับ?" "มีอะไรผิดปกติเหรอครับ"
  • 4:44 - 4:46
    พวกเขาแค่ยืนสลับที่กัน
  • 4:46 - 4:47
    อย่างไรก็ตาม เด็กชายสามคนเดินเข้ามาบนเวที
  • 4:47 - 4:49
    เด็กอายุ 4 ขวบ ที่มีผ้าเช็ดจานวางอยู่บนศีรษะ
  • 4:49 - 4:52
    แล้วพวกเขาก็วางกล่องของขวัญลง
  • 4:52 - 4:54
    เด็กชายคนแรกพูดว่า "ข้านำทองมาให้เจ้า"
  • 4:54 - 4:57
    เด็กชายคนที่สองพูดว่า "ข้านำน้ำมันหอม มาให้เจ้า"
  • 4:57 - 5:11
    แล้วเด็กชายคนสุดท้ายก็พูดว่า "อันนี้แฟรงค์ส่งมา"
    (หัวเราะ เพราะศัพท์ที่ควรพูดคือ Frankincense)
  • 5:11 - 5:13
    ทั้งสองเรื่องที่ผมเล่ามา
    มีสิ่งที่เหมือนกันคือ เด็กทุกคนกล้าที่จะลอง
  • 5:13 - 5:16
    ถึงพวกเขาจะไม่รู้ พวกเขาก็จะลองดู
  • 5:16 - 5:19
    จริงไหมครับ? เด็กไม่กลัวที่จะทำผิดพลาด
  • 5:19 - 5:24
    เอาล่ะ แต่นี่ผมไม่ได้หมายความว่าการทำผิดพลาด
    เป็นสิ่งเดียวกันกับการมีความคิดสร้างสรรค์นะครับ
  • 5:24 - 5:25
    แต่เราทุกคนทราบว่า
  • 5:25 - 5:28
    ถ้าหากเราไม่พร้อมยอมรับกับการกระทำที่ผิดพลาด
  • 5:28 - 5:31
    เราจะไม่มีวันสร้างสรรค์สิ่งที่แปลกใหม่ขึ้นมาได้
  • 5:31 - 5:34
    ถ้าเราไม่พร้อมยอมรับกับการทำผิดพลาด
    และรู้ไหมครับว่าเมื่อเวลาที่เด็กๆ โตเป็นผู้ใหญ่
  • 5:34 - 5:36
    เด็กส่วนใหญ่สูญเสียความสามารถ
    ในการยอมรับความผิดพลาด
  • 5:36 - 5:39
    พวกเขาจะกลายเป็นคน
    ที่กลัวต่อการทำผิดพลาด
  • 5:39 - 5:41
    คิดดูซิ พวกเราบริหารบริษัทแบบนี้
  • 5:41 - 5:44
    แบบที่เราทำให้การทำผิดพลาด
    เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย และตอนนี้
  • 5:44 - 5:47
    เราก็บริหารระบบการศึกษา
    แบบที่ยอมรับความผิดพลาดไม่ได้ด้วย
  • 5:47 - 5:50
    การทำผิด กลายเป็นเรื่องเลวร้ายที่สุด
    ที่คุณจะสามารถทำได้
  • 5:50 - 5:53
    ดังนั้น ผลของมันก็คือ
    เรากำลังให้การศึกษาแก่คน เพื่อให้ละทิ้ง
  • 5:53 - 5:56
    ความสามารถในด้านความคิดสร้างสรรค์
  • 5:56 - 5:59
    ครั้งหนึ่ง ปิกัสโซ่ (ศิลปินด้านการวาดภาพ)
    เคยกล่าวไว้ว่า เด็กทุกคนเกิดมาเป็นศิลปิน
  • 5:59 - 6:03
    ปัญหาก็คือ จะทำอย่างไรให้ความเป็นศิลปินนั้น
    ยังคงอยู่เมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่
  • 6:03 - 6:05
    ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า พวกเราไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์
    มากขึ้นตามการเจริญเติบโต
  • 6:05 - 6:08
    แต่พวกเรากลับมีลดน้อยลง ตามอายุที่มากขึ้น
    หรืออาจจะพูดได้ว่า พวกเราได้รับการศึกษาให้มีความถดถอยด้านความคิดสร้างสรรค์
  • 6:08 - 6:10
    มันเป็นอย่างนี้ไปได้อย่างไรล่ะ?
  • 6:10 - 6:14
    ผมอาศัยอยู่ที่เมือง Stratford-on-Avon เมื่อ 5 ปีก่อน
  • 6:14 - 6:16
    หลังจากนั้น ครอบครัวเราก็ได้ย้ายย้ายจาก
    Stratford มาที่ Los Angeles
  • 6:16 - 6:20
    ลองจินตนาการดูซิครับว่า มันเป็นการเปลี่ยนแปลง
    จากหน้ามือเป็นหลังมือขนาดไหน
  • 6:20 - 6:22
    (หัวเราะ) จริงๆ แล้ว
  • 6:22 - 6:24
    พวกเราอยู่ในเมืองที่เรียกว่า Snitterfield
  • 6:24 - 6:26
    ซึ่งอยู่ในรอบนอกของ Stratford
    มันเป็นสถานที่ที่
  • 6:26 - 6:31
    เป็นบ้านเกิดของคุณพ่อของ Shakespeare
    คุณได้ยินอย่างนี้เกิดความคิดอย่างหนึ่งขึ้นรึเปล่า? ผมเป็นนะ
  • 6:31 - 6:33
    คุณไม่เคยคิดว่า Shakespeare มีพ่อใช่ไหมครับ
  • 6:33 - 6:35
    จริงไหม คุณคงไม่เคยคิดถึง
  • 6:35 - 6:37
    Shakespeare ตอนเป็นเด็กใช่ไหมครับ?
  • 6:37 - 6:40
    Shakespeare อายุ 7 ขวบเหรอ?
    ผมไม่เคยคิดถึงหรอก แต่จริงๆ แล้ว
  • 6:40 - 6:42
    ณ ช่วงเวลาหนึ่ง เขาเคยอายุ 7 ขวบ
  • 6:42 - 6:51
    เขาเคยเรียนอยู่ในวิชาภาษาอังกฤษของครูสักคนหนึ่ง ใชไหมครับ?
    มันจะน่ารำคาญสักแค่ไหนนะ?
  • 6:51 - 7:05
    (หัวเราะ) ครูของเขาคงจะเขียนรายงานผลการเรียนว่า
    "ต้องพยายามมากกว่านี้" หรืออย่างตอนที่พ่อของ Shakespeare ส่งเขาเข้านอน
  • 7:05 - 7:08
    "ไปนอนได้แล้ว"
  • 7:08 - 7:10
    "วางดินสอลง
  • 7:10 - 7:18
    แล้วก็หยุดพูดแบบนี้ซะที มันทำให้คนอื่นเค้าสับสนกันไปหมด"
  • 7:18 - 7:23
    (หัวเราะ)
  • 7:23 - 7:26
    เอาล่ะครับ กลับมาเข้าเรื่อง ก็คือครอบครัวของผม
    ย้ายจากเมือง Stratford มาที่ Los Angeles
  • 7:26 - 7:30
    ที่ผมอยากจะเล่าเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ
  • 7:30 - 7:33
    ลูกชายของผมไม่อยากย้ายมาเลย
  • 7:33 - 7:36
    ผมมีลูกสองคนครับ
    ลูกชายตอนนี้อายุ 21 ส่วนลูกสาวอายุ 16
  • 7:36 - 7:38
    เจ้าลูกชายผมเค้าไม่อยากย้ายไป Los Angeles
    จริงๆ เขาชอบเมืองนี้นะครับ
  • 7:38 - 7:43
    แต่ว่า ณ ตอนนั้น เขามีแฟนอยู่ในอังกฤษ
    ชื่อ ซาร่าห์ รักเดียวของเขาเลยล่ะครับ
  • 7:43 - 7:45
    เขารู้จักเธอมาได้ประมาณเดือนนึง
  • 7:45 - 7:48
    แต่จะว่าไป อาจจะเรียกได้ว่า
    พวกเขาเหมือนแต่งงานกันมาแล้วครบ 4 ปี
  • 7:48 - 7:52
    เพราะว่าการคบกับใครได้ 1 เดือนสำหรับเด็กอายุ 16 แล้ว
    มันเหมือนเป็นระยะเวลายาวนาน
  • 7:52 - 7:54
    ดังนั้น ลูกชายผมจึงเสียใจมาก
    ตอนที่อยู่บนเครื่อง
  • 7:54 - 7:56
    เขาบอกว่า "ผมคงไ่ม่มีทางเจอผู้หญิงอย่างซาร่าห์อีกแล้ว"
  • 7:56 - 7:58
    จริงๆ แล้ว ผมกับภรรยา ดีใจครับที่เป็นแบบนั้น
  • 7:58 - 8:10
    เพราะว่า ซาร่าห์ คือเหตุผลหลัก
    ที่เราตัดสินใจย้ายออกจากอังกฤษ
  • 8:10 - 8:13
    (หัวเราะ)
  • 8:13 - 8:16
    แต่การย้ายมาอเมริกาทำให้เราฉุกคิดครับ
  • 8:16 - 8:18
    เมื่อคุณได้ท่องเที่ยวมาแล้วทั่วโลก
  • 8:18 - 8:22
    คุณจะพบว่า ระบบการศึกษา ทุกที่บนโลกนี้
    มีการจัดระดับของวิชาต่าง ๆ แบบเดียวกัน
  • 8:22 - 8:24
    ทุกที่เลยครับ ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหน
  • 8:24 - 8:26
    คุณอาจคิดว่ามันน่าจะต่างกัน
    แต่มันไม่ใช่แบบนั้นเลยครับ
  • 8:26 - 8:29
    ระดับบนสุดก็คือ คณิตศาสตร์ และ ภาษา
  • 8:29 - 8:31
    จากนั้นก็มนุษยศาสตร์ และล่างสุดคือศิลปะ
  • 8:31 - 8:33
    เป็นแบบนี้ทั้งโลกเลยครับ
  • 8:33 - 8:36
    และเป็นแบบนี้ในทุกระบบด้วยครับ
  • 8:36 - 8:38
    นอกจากนี้ข้างในสาขาศิลปะเอง
    ก็ยังแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ
  • 8:38 - 8:40
    ในสถานศึกษา จิตรกรรม และ ดนตรี
    จะมีสถานะที่สูงกว่า
  • 8:40 - 8:43
    การแสดง และการเต้นรำ
    ไม่มีระบบการศึกษาใดเลยในโลกนี้
  • 8:43 - 8:45
    ที่เราสอนให้เด็กๆ เต้นรำ ทุกวัน
  • 8:45 - 8:48
    เหมือนกับที่เราสอนคณิตศาสตร์ ทำไมล่ะครับ
  • 8:48 - 8:50
    ทำไมเราถึงไม่ทำอย่างนั้น
    ผมว่าเรื่องนี้สำคัญมากทีเดียว
  • 8:50 - 8:53
    ใช่ครับ ผมยอมรับว่าความรู้ด้านคณิตศาสตร์นั้นสำคัญ
    แต่ผมว่าการเต้นก็สำคัญเหมือนกัน
  • 8:53 - 8:56
    เด็กๆ เต้นตลอดเวลา ถ้าพวกเขาได้รับอนุญาต
  • 8:56 - 8:59
    พวกเราก็มีร่างกายด้วยกันทั้งนั้นใช่ไหมครับ
    ผมไม่ได้พลาดอะไรไปใช่ไหม
  • 8:59 - 9:03
    (หัวเราะ) จริงๆ นะครับ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
  • 9:03 - 9:05
    เมื่อเด็กๆ โตขึ้น
    พวกเราก็ค่อยๆ สอนเด็กเหล่านั้น
  • 9:05 - 9:08
    ให้ใช้ความสามารถตั้งแต่เอวขึ้นไป
    แล้วเราก็เน้นเฉพาะการใช้สมอง
  • 9:08 - 9:10
    และค่อนข้างจะไปทางซีกหนึ่งของสมองด้วย
  • 9:10 - 9:14
    ถ้าหากคุณเป็นมนุษย์ต่างดาว
    แล้วได้เข้าไปเยี่ยมชมงานด้านการศึกษา
  • 9:14 - 9:17
    เพื่อตอบคำถามว่า "การศึกษา มีไว้เพื่ออะไร?"
  • 9:17 - 9:19
    คุณคงจะได้ข้อสรุป
    จากการพิจารณาจากผลผลิตที่ออกมา
  • 9:19 - 9:21
    จากคนที่ได้รับผลประโยชน์จากมัน
  • 9:21 - 9:23
    คนที่ทำในสิ่งที่คิดว่าสมควรทำ
  • 9:23 - 9:26
    คนที่ประสบความสำเร็จ
  • 9:26 - 9:29
    คุณน่าจะได้ข้อสรุปว่า
    วัตถุประสงค์ของการศึกษา
  • 9:29 - 9:30
    ของทั้งโลกใบนี้ คือ
  • 9:30 - 9:34
    การผลิตอาจารย์มหาวิทยาลัย ว่ามั้ยครับ
  • 9:34 - 9:36
    พวกเขาเหล่านั้นคือ
    คนที่อยู่อันดับต้นๆ ของการจัดอันดับครับ
  • 9:37 - 9:40
    ผมก็เคยอยู่ในคนกลุ่มนั้นครับ เป็นยังไงล่ะ (หัวเราะ)
  • 9:40 - 9:44
    ผมชอบอาจารย์มหาวิทยาลัยนะครับ แต่ผมว่า
  • 9:44 - 9:48
    เราไม่ควรยกย่องพวกเขา
    ว่าเป็นบุคคลที่ยอดเยี่ยมที่สุด
  • 9:48 - 9:50
    พวกเขาก็แค่สิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่งเท่านั้นครับ
  • 9:50 - 9:52
    ที่ค่อนข้างจะมีความช่างคิด ช่างสงสัย
  • 9:52 - 9:54
    และผมพูดอย่างนี้โดยไม่คิดถึงความชื่นชม
    ที่มีต่อพวกเขานะครับ
  • 9:54 - 9:57
    จากประสบการณ์ที่ผมมี
    มีบางอย่างน่าสนใจเกี่ยวกับบรรดาศาสตราจารย์เหล่านี้ครับ
  • 9:57 - 10:00
    ไม่ใ่ช่ทุกคนนะครับ แค่บางคน
    ที่มีชีวิตอยู่แต่กับความคิดในหัวของตัวเอง
  • 10:00 - 10:02
    อยู่อย่างนั้นเลยครับ
    แล้วค่อนข้างไปทางสมองซีกหนึ่ง
  • 10:02 - 10:06
    พวกเขาไม่สนใจร่างกายของพวกเขาหรอกครับ
  • 10:06 - 10:08
    พวกเขามองว่าร่างกายนั้น
  • 10:08 - 10:17
    ก็เป็นเพียงแค่สิ่งที่ทำให้ศีรษะของพวกเขา
    เคลื่อนที่ไปยังสถานที่ต่างๆ ได้
  • 10:17 - 10:24
    (หัวเราะ) ร่างกายก็เป็นแค่สิ่งที่
    พาศีรษะของเขาไปประชุม
  • 10:24 - 10:27
    ถ้าคุณอยากเห็นหลักฐาน
    เกี่ยวกับประสบการณ์การละทิ้งร่างกาย
  • 10:27 - 10:30
    ลองไปเข้าร่วมงานสัมนา
    ของอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซิครับ
  • 10:30 - 10:32
    บรรดาผู้มีคุณวุฒิทางการศึกษา
  • 10:32 - 10:35
    ไปงานเต้นรำในคืนสุดท้ายของการสัมนานะครับ
  • 10:35 - 10:39
    (หัวเราะ) ณ ที่นั่น คุณจะได้เห็น
    ชาย หญิง ที่โตแล้ว
  • 10:39 - 10:43
    ขยับแข้ง ขยับขา
    แบบไม่เข้าจังหวะเอาเสียเลยครับ
  • 10:43 - 10:47
    อยู่จนงานเลิก
    แล้วไปเขียนบนความเกี่ยวกับเรื่องนั้นนะครับ
  • 10:47 - 10:53
    ทีนี้ ระบบการศึกษาของเรา
    เกิดจากความคิดเกี่ยวกับความสามารถทางวิชาการ
  • 10:53 - 10:56
    แ่ต่มันก็มีเหตุผลจากว่า
  • 10:56 - 10:58
    ระบบนี้ในทั่วโลก ถูกสร้างขึ้นในช่วง
  • 10:58 - 11:00
    ก่อนศตวรรษที่ 19 ซึ่งตอนนั้น
    ยังไม่มีระบบการศึกษาสาธารณะเกิดขึ้นเลยครับ
  • 11:00 - 11:03
    มันถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อ
  • 11:03 - 11:04
    ตอบสนองความต้องการในยุค
    ปฏิวัติอุตสาหกรรม
  • 11:04 - 11:07
    ดังนั้น อันดับความสำคัญของวิชาต่างๆ
    ถูกจัดโดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่
  • 11:07 - 11:11
    ปัจจัยแรก วิชาที่มีประโยชน์
    กับลักษณะงานที่มีอยู่ในยุคนั้นมากที่สุด
  • 11:11 - 11:13
    จะถูกจัดไว้สูงสุด
    ดังนั้นคุณจะได้รับการชี้นำให้ออกห่าง
  • 11:13 - 11:15
    จากสิ่งที่คุณชอบ ณ ตอนที่คุณเป็นเด็ก
  • 11:15 - 11:17
    ด้วยเหตุผลที่ว่า
  • 11:17 - 11:20
    คุณไม่มีทางทำมาหากินได้
    จากวิชาความรู้ที่คุณชอบ จริงรึเปล่าครับ
  • 11:20 - 11:22
    ไม่ต้องเรียนดนตรีหรอก
    โตขึ้นจะเป็นนักดนตรีไม่ได้นะ
  • 11:22 - 11:24
    ไม่ต้องเีรียนศิลปะหรอก
    โตขึ้นไม่ได้จะเป็นศิลปินเสียหน่อย
  • 11:25 - 11:29
    คำแนะนำเหล่านี้ ณ ตอนนี้เราพบแล้วว่า
    เป็นความคิดที่ผิด
  • 11:29 - 11:30
    โลกเราตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติ
  • 11:30 - 11:33
    ถัดมาคือความสามารถในด้านวิชาการ
    ที่มีผลเป็นอย่างมาก
  • 11:33 - 11:34
    กับมุมมองของพวกเราในเรื่องของสติปัญญา
  • 11:34 - 11:37
    นั่นเป็นเพราะว่ามหาวิทยาลัยได้ออกแบบ
    ระบบการศึกษาจากภาพลักษณ์ของตัวมันเอง
  • 11:37 - 11:39
    ลองนึกดูซิครับว่า
  • 11:39 - 11:41
    ระบบการศึกษาสาธารณะทุกที่ในโลกนี้
    ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
  • 11:41 - 11:43
    ในการเข้าสู่มหาวิทยาลัย
  • 11:43 - 11:46
    และผลก็คือ มีหลายคนที่มีพรสวรรค์
    มีความสามารถเฉพาะตัว
  • 11:46 - 11:48
    เก่ง และมีความสร้างสรรค์
    กลับคิดว่าพวกเขาไม่มีความสามารถอะไรเลย
  • 11:48 - 11:50
    เพียงเพราะว่า พวกเขาเรียนไม่เก่ง
  • 11:50 - 11:54
    ไม่มีใครมองเห็นคุณค่า
    แล้วกลับถูกมองว่าผิดปกติ
  • 11:54 - 11:56
    ผมว่า เราไม่ควรปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปนะครับ
  • 11:56 - 11:58
    ด้วยข้อมูลจากองค์กรยูเนสโก
    ภายใน 30 ปี จากนี้
  • 11:58 - 12:01
    ทั่วโลกจะมีคนจบการศึกษา
  • 12:01 - 12:03
    มากกว่าจำนวนคนทั้งหมด
    ณ จุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์
  • 12:03 - 12:05
    จะมีคนจำนวนมากขึ้น
  • 12:05 - 12:07
    แล้วก็มีสิ่งต่างๆ ที่เราได้พูดถึงก่อนหน้านี้
  • 12:07 - 12:10
    ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี และการเปลี่ยนรูปร่างของมัน
    ที่มีผลต่องาน และลักษณะโครงสร้างของประชากร
  • 12:10 - 12:12
    และจำนวนของประชากรที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
  • 12:12 - 12:15
    ถึงตอนนั้น การมีปริญญาจะไ่ม่มีความหมายอีกต่อไป
    จริงไหมครับ
  • 12:15 - 12:19
    ตอนที่ผมเป็นนักศึกษา
    ตอนนั้นถ้าคุณมีปริญญา คุณก็จะมีงานทำ
  • 12:19 - 12:22
    แล้วถ้าหากคุณไม่มีงานทำ
    นั่นเป็นเพราะว่าคุณไม่ต้องการมัน
  • 12:22 - 12:25
    แล้วจริงๆ แล้วผมก็ไม่อยากได้มันหรอกครับ (หัวเราะ)
  • 12:25 - 12:30
    แต่คนรุ่นใหม่ที่มีปริญญาตอนนี้
  • 12:30 - 12:31
    หลายคนกลับไปอยู่บ้าน
    แล้วยังคงเล่นวีดีโอเกมส์
  • 12:31 - 12:34
    เพราะคุณต้องมีปริญญาโท
    เพื่อขยับจากงานเก่าที่ต้องการคนจบปริญญาตรี
  • 12:34 - 12:37
    แล้วตอนนี้คุณก็ต้องมีปริญญาเอก
    เพื่อให้ได้อีกงานหนึ่ง
  • 12:37 - 12:39
    มันเป็นกระบวนการเฟ้อของการศึกษา
  • 12:39 - 12:41
    และมันชี้ให้เป็นว่าโครงสร้างของการศึกษา
  • 12:41 - 12:43
    ได้มีการเปลี่ยนแปลงแล้วในช่วงชีวิตของพวกเรา
    เราจึงจำเป็นต้องคิดใหม่
  • 12:43 - 12:44
    เกี่ยวกับมุมมองของเรา
    ในเรื่องของสติปัญญา
  • 12:44 - 12:46
    เรารู้อยู่ 3 อย่างเกี่ยวกับสติปัญญา
  • 12:46 - 12:49
    สิ่งแรกคือมันหลากหลาย
    เรามองโลกในมุมมองที่หลากหลาย
  • 12:49 - 12:51
    จากสิ่งที่เราได้ประสบ เราคิดจากสิ่งที่เห็น
  • 12:51 - 12:54
    จากสิ่งที่ได้ยิน จากการลงมือทำ
  • 12:54 - 12:57
    เราคิดในแบบที่เป็นนามธรรม
    เราคิดในการเคลื่อนไหว
  • 12:57 - 12:59
    สิ่งที่สองคือ สติปัญญานั้น
    มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  • 12:59 - 13:02
    ถ้าคุณมองการปฏิสัมพันธ์
    ในเซลล์ต่างๆ ของสมอง
  • 13:02 - 13:05
    จากที่เราได้ฟังจากหลายการนำเสนอเมื่อวานนี้
  • 13:05 - 13:07
    สติปัญญาเป็นการปฏิสัมพันธ์ที่มหัศจรรย์
  • 13:07 - 13:10
    สมองของเราไม่ได้ถูกแบ่งออก
    เป็นชิ้นส่วนต่างๆ
  • 13:10 - 13:13
    ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
    ที่ผมนิยามไว้ว่าเป็นกระบวนการ
  • 13:13 - 13:15
    ในการสร้างให้เกิดแนวความคิด
    ที่เป็นต้นฉบับ ที่มีคุณค่า
  • 13:15 - 13:18
    หลายครั้งมันไม่ได้มาจากการปฏิสัมพันธ์
  • 13:18 - 13:21
    ของการมองสิ่งต่างๆ ในรูปแบบที่ต่างกันไป
  • 13:21 - 13:23
    สมองนั้นถูกออกแบบ
  • 13:23 - 13:26
    ให้มีการประสานกันของเส้นประสาท
    ที่ได้หลอมรวมสมองทั้งสองส่วน
  • 13:26 - 13:28
    เรียกว่า Corpus Collosum
    ซึ่งในผู้หญิงนั้นพบว่าจะมีความหนากว่าผู้ชาย
  • 13:28 - 13:30
    ซึ่งก็เป็นไปตามที่ เฮเลน ได้พูดไว้เมื่อวานนี้
  • 13:30 - 13:34
    ผมคิดว่า มันคือเหตุผลว่าทำไมผู้หญิง
    จึงสามารถทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กันได้ดีกว่าผู้ชาย
  • 13:34 - 13:36
    เพราะว่าพวกคุณเก่งกว่าจริงๆ ใช่มั้ย
  • 13:36 - 13:39
    มีงานวิจัยสนับสนุนความคิดนี้มากมายเลยครับ
    แต่ผมรู้ได้จากชีวิตของผมเอง
  • 13:39 - 13:41
    ถ้าหากภรรยาของผมทำอาหารที่บ้าน
  • 13:41 - 13:45
    โชคดีครับที่เธอไม่ได้ทำมันบ่อยนัก (หัวเราะ)
  • 13:45 - 13:48
    เธอทำอาหารบางจานอร่อยนะครับ
  • 13:48 - 13:50
    เอาเป็นว่า ถ้าภรรยาผมทำอาหาร
  • 13:50 - 13:52
    เธอสามารถคุยโทรศัพท์
  • 13:52 - 13:55
    คุยกับลูกๆ พร้อมกับทาสีผนังไปด้วย
  • 13:55 - 13:58
    ให้ผ่าตัดหัวใจไปด้วยก็ยังได้
  • 13:58 - 14:01
    แต่ถ้าตอนผมทำอาหาร
    ประตูครัวจะถูกปิด เด็กๆ จะต้องออกไปข้างนอก
  • 14:01 - 14:04
    หูโทรศัพท์ต้องยกออก
    ถ้าภรรยาผมเข้ามาในครัว ผมจะรำคาญมาก
  • 14:04 - 14:17
    ผมจะบอกว่า เทอรี่ ได้โปรดเถอะ
    ขอเวลาส่วนตัวหน่อยได้ไหม ผมกำลังทอดไข่ดาวอยู่นะ
  • 14:17 - 14:19
    คุณเคยได้ยินคำพูดนี้รึเปล่า
  • 14:19 - 14:22
    ถ้าต้นไม้ต้นหนึ่งในป่าล้มลง แล้วไม่มีใครได้ยิน
  • 14:22 - 14:25
    เรายังคิดว่ามันเกิดขึ้นจริงรึเปล่า
    จำเรื่องต้น Chestnut ต้นนั้นได้ไหมครับ
  • 14:25 - 14:28
    เมื่อเร็วๆ นี้ ผมเห็นเสื้อยืดตัวหนึ่งสกรีนคำว่า
    "ถ้าชายคนหนึ่งบอกความในใจของเขาในป่า
  • 14:28 - 14:31
    และไม่มีผู้หญิงคนไหนได้ยิน
  • 14:31 - 14:40
    เขาจะยังผิดรึเปล่า?" (หัวเราะ)
  • 14:40 - 14:42
    เอาล่ะครับ มาถึงลักษณะที่ 3 ของความฉลาด ซึ่งก็คือ
  • 14:43 - 14:45
    มันมีความเป็นแตกต่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
    ตอนนี้ผมกำลังเขียนหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง
  • 14:45 - 14:47
    ชื่อว่า Epiphany ซึ่งเนื้อหานำมาจาก
  • 14:47 - 14:49
    บทสัมภาษณ์บุคคลหลายๆ ท่าน เกี่ยวกับการค้นพบ
  • 14:49 - 14:51
    ความสามารถพิเศษของพวกเขา
    ผมหลงไหลกับวิธีการที่คนเหล่านั้นก้าวมาถึงจุดที่พวกเขายืนอยู่
  • 14:51 - 14:54
    แนวคิดของหนังสือนี้ มาจากการที่ผมได้พูดคุย
  • 14:54 - 14:56
    กับผู้หญิงที่วิเศษคนหนึ่ง ซึ่งคนส่วนใหญ่
  • 14:56 - 14:58
    อาจจะไม่รู้จัก เธอคนนั้นชื่อ จิลเลี่ยน ลินน์ ครับ
  • 14:58 - 15:00
    คุณเคยได้ยินชื่อเธอมาบ้างรึเปล่า?
    บางคน ณ ที่นี้รู้จักนะครับ เธอเป็นนักออกแบบท่าเต้นครับ
  • 15:00 - 15:02
    ทุกคนจะต้องรู้จักผลงานของเธอ
  • 15:02 - 15:04
    เธอทำละครเวทีเรื่อง Cats
    และ Phantom of the Opera ครับ
  • 15:04 - 15:08
    เธอเยี่ยมมากเลย ผมเคยเป็นกรรมการบริหาร
    ของ Royal Ballet ในประเทศอังกฤษ
  • 15:08 - 15:10
    พอจะเดาออกไหมครับ
  • 15:10 - 15:12
    เอาล่ะ วันหนึ่งผมกับจิลเลี่ยน
    ทานอาหารกลางวันด้วยกัน
  • 15:12 - 15:14
    ผมถามเธอว่า
    "จิลเลี่ยน คุณมาเป็นนักเต้นได้อย่างไร"
  • 15:14 - 15:16
    เธอตอบว่า ตอนที่เธอเป็นนักเรียน
  • 15:16 - 15:19
    การเรียนของเธอย่ำแย่มาก
    ตอนนั้นก็ยุค 30s ครับ โรงเรียนของเธอ
  • 15:19 - 15:21
    ส่งจดหมายถึงพ่อแม่ของเธอ
    ในนั้นเขียนว่า
  • 15:21 - 15:23
    "เราคิดว่าจิลเลี่ยนมีปัญหาในการเรียนรู้"
    เธอไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดได้
  • 15:23 - 15:25
    ผมคิดว่าถ้าเป็นสมัยนี้ เราเรียกอาการนี้ว่า
  • 15:25 - 15:29
    เธอเป็นโรคสมาธิสั้น ว่าไหมครับ แต่ในยุค 1930s
  • 15:29 - 15:32
    โรคสมาธิสั้นยังไม่ถูกค้นพบ
  • 15:32 - 15:35
    มันก็เลยไม่ได้เป็นอาการ
    ที่คนจะเลือกเป็นกันได้ (หัวเราะ)
  • 15:35 - 15:39
    คนก็เลยไม่ทราบว่า
    พวกเขาอาจจะมีปัญหาเรื่องนี้
  • 15:39 - 15:43
    จิลเลี่ยนก็ได้ไปพบผู้เชี่ยวชาญ
  • 15:43 - 15:46
    กับคุณแม่ของเธอ
  • 15:46 - 15:49
    เธอนั่งอยู่ที่เก้าอี้ที่อยู่ด้านหนึ่ง
  • 15:49 - 15:51
    เธอนั่งทับมือเธอไว้ 20 นาที
  • 15:51 - 15:53
    ในระหว่างที่ผู้เชี่ยวชาญคนนี้คุยกับคุณแม่ของเธอ
  • 15:53 - 15:57
    เกี่ยวกับปัญหาของจิลเลี่ยนที่โรงเรียนว่า
  • 15:57 - 15:59
    เธอรบกวนเด็กคนอื่นๆ
  • 15:59 - 16:01
    เธอส่งการบ้านสายเสมอ
  • 16:01 - 16:04
    เด็กอายุ 8 ขวบ เท่านั้นครับ
    ในตอนสุดท้าย คุณหมอท่านนี้ก็เดินมานั่งข้างๆ จิลเลี่ยน
  • 16:04 - 16:06
    แล้วเขาก็บอกกับจิลเลี่ยนว่า
  • 16:06 - 16:08
    หมอได้ฟังเรื่องต่างๆ ของหนู
    จากคุณแม่แล้วนะจ๊ะ
  • 16:08 - 16:10
    หมอต้องขอคุยกับคุณแม่
    เป็นการส่วนตัวเสียหน่อย
  • 16:10 - 16:13
    รอพวกเราอยู่ในห้องนี้สักพักนะจ๊ะ
    เราจะไปไม่นานหรอก
  • 16:13 - 16:15
    แล้วคุณหมอกับคุณแม่ของเธอ
    ก็เดินออกไปจากห้อง
  • 16:15 - 16:17
    ก่อนที่คุณหมอจะออกไปจากห้อง เขาก็เปิดวิทยุ
  • 16:17 - 16:19
    ที่อยู่บนโต๊ะทำงานของเขา
  • 16:19 - 16:21
    เมื่อพวกเขาอยู่ข้างนอก คุณหมอก็พูดกับคุณแม่ของจิลเลี่ยนว่า
  • 16:21 - 16:24
    คอยยืนดูจิลเลี่ยนอยู่ตรงนี้นะครับ
    และตั้งแต่เมื่อคุณหมอและคุณแม่ของเธอออกจากห้องไป
  • 16:24 - 16:28
    จิลเลี่ยนบอกว่าเธอก็ลุกขึ้นยืน
    แล้วก็เต้นไปตามเสียงเพลง
  • 16:28 - 16:30
    คุณหมอกับคุณแม่
    มองเธออยู่จากด้านนอกประมาณ 2-3 นาที
  • 16:30 - 16:33
    คุณหมอก็หันไปบอกกับคุณแม่ของเธอว่า
  • 16:33 - 16:37
    คุณนายลินน์ครับ จิลเลี่ยนไม่ได้ป่วยหรอกครับ
    เธอเป็นนักเต้นต่างหาก
  • 16:37 - 16:39
    ส่งเธอไป โรงเรียนสอนเต้นรำเถอะ
  • 16:39 - 16:41
    ผมถามจิลเลี่ยนว่า แล้วจากนั้นเกิดอะไรขึ้น
  • 16:41 - 16:44
    จิลเลี่ยนบอกว่า แม่ส่งฉันไปค่ะ
    ฉันบรรยายไม่ถูกเลยว่ามันมหัศจรรย์ขนาดไหน
  • 16:44 - 16:46
    เราเดินเข้าไปในห้องที่เต็มไปด้วย
  • 16:46 - 16:49
    คนที่เหมือนๆ กับฉัน
    คนที่อยู่เฉยๆ ไม่ได้
  • 16:49 - 16:52
    คนที่ต้องขยับตัวตลอดเวลาเพื่อคิด
  • 16:52 - 16:54
    ที่นั่นสอนเต้นบัลเล่ต์ แท๊บ แจ๊ส
  • 16:54 - 16:56
    การเต้นสมัยใหม่ และแบบร่วมสมัย
  • 16:56 - 16:59
    เธอได้ไปคัดเลือกตัวที่ Royal Ballet School
  • 16:59 - 17:01
    แล้วเธอก็ได้เป็นนักเต้นเดี่ยว มีอาชีพวิเศษ
  • 17:01 - 17:03
    ที่คณะ Royal Ballet แล้วเธอก็เรียนจบ
  • 17:03 - 17:05
    จาก The Royal Ballet School จากนั้น
  • 17:05 - 17:08
    เธอก็เปิดบริษัทสอนเต้นรำของตัวเอง
    ชื่อ The Gillian Lynne Dance Company
  • 17:08 - 17:11
    เธอได้เจอกับ แอนดรู ลอยด์ เว๊บเบอร์ (ผู้สร้าง Phantom of the Opera)
    เธอได้ร่วมงานกับเขา และมีส่วนร่วม
  • 17:11 - 17:13
    กับละครเพลงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
  • 17:13 - 17:18
    ในประประวัติศาสตร์
    เธอได้ให้ความสุขกับคนนับล้าน
  • 17:18 - 17:21
    เธอกลายเป็นมหาเศรษฐี
  • 17:21 - 17:25
    ถ้าเธอไม่ได้เจอคุณหมอคนนั้น
    เธออาจได้รับยา
  • 17:25 - 17:27
    แล้วก็บอกให้เธออยู่นิ่งๆ
    สงบสติอารมณ์
  • 17:27 - 17:30
    เอาล่ะ ทีนี้ผมคิดว่า (เสียงปรบมือ)
    มาถึงเรื่องที่
  • 17:30 - 17:32
    อัล กอร์ พูดเมื่อคืนก่อน
  • 17:32 - 17:35
    เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และที่ Rachel Carson
    กล่าวถึงเรื่องของวิวัฒนาการ
  • 17:35 - 17:39
    ผมเชื่อว่า สิ่งเดียวที่เราสามารถฝากอนาคตของเราไว้ได้คือ
  • 17:39 - 17:42
    แนวความคิดเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของมนุษย์
  • 17:42 - 17:46
    เราจะต้องเริ่มต้นในการปรับเปลี่ยนวิธีการคิด
  • 17:46 - 17:48
    เกี่ยวกับสามารถอันมหาศาล
    ของความสามารถของมนุษย์
  • 17:48 - 17:52
    ระบบการศึกษาของเรา
    ได้ปลูกฝังความคิดของเราในรูปแบบที่
  • 17:52 - 17:54
    เราใช้ทรัพยากรของเรา
    เพื่อให้ได้มาเพียงผลผลิตบางอย่าง
  • 17:54 - 17:57
    ที่ในอนาคตจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเราได้
  • 17:57 - 18:00
    เราจะต้องคิดใหม่ เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานหลัก
  • 18:00 - 18:02
    ในการให้การศึกษาแก่ลูกหลานของเรา
  • 18:02 - 18:06
    ผมขอยกคำพูดหนึ่งของ Jonas Salk ที่ว่า
  • 18:06 - 18:09
    ถ้าพวกแมลงทั้งหมดหายไปจากโลกนี้
  • 18:09 - 18:12
    ภายใน 50 ปี ทุกชีวิตบนโลกก็จะสิ้นไป
  • 18:12 - 18:15
    แต่หากมนุษย์หายไปจากโลกนี้
  • 18:15 - 18:19
    ภายใน 50 ปี สิ่งมีชีวิตทุกชนิดก็จะขยายเผ่าพันธุ์ได้สมบูรณ์
  • 18:19 - 18:21
    เขาพูดถูกนะครับ
  • 18:21 - 18:24
    สิ่งที่ TED ส่งเสริม คือของขวัญจากจินตนาการของมนุษย์
  • 18:24 - 18:28
    เราจะต้องระวังว่า เราได้ใช้ของขวัญนี้
  • 18:28 - 18:31
    อย่างรู้ค่า และเราได้ป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องราวอย่างที่
  • 18:31 - 18:34
    เราได้พูดถึงกันในวันนี้ และมีเพียงวิธีการเดียว
  • 18:35 - 18:38
    ที่เราจะทำอย่างนั้นได้
    คือการที่เรามองความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  • 18:38 - 18:40
    ว่ามันมีมากมายมหาศาล
  • 18:40 - 18:43
    และมองลูกหลานของเราว่าพวกเขามีสิ่งเหล่านั้น
  • 18:43 - 18:46
    และหน้าที่ของเราก็คือสอนพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ
    เพื่อที่พวกเขาจะสามารถเผชิญกับอนาคตได้
  • 18:46 - 18:49
    พวกเราอาจจะไม่มีโอกาสได้เห็นอนาคตนั้น
  • 18:49 - 18:52
    แต่ลูกหลานของเราจะได้เห็น
    ดังนั้น มันเป็นหน้าที่ของพวกเรา
  • 18:52 - 18:54
    ที่จะช่วยให้ลูกหลานของเรา
    อยู่กับอนาคตนั้นได้ ขอบคุณมากครับ
Title:
หรือโรงเรียนจะเป็นแหล่งทำลายความคิดสร้างสรรค์
Speaker:
เคน โรบินสัน
Description:

เซอร์ เคน โรบินสัน แสดงความเห็นที่ให้ทั้งความบันเทิงและกระตุ้นความคิด เพื่อสร้างระบบการศึกษาที่หล่อเลี้ยงความคิดสร้างสรรค์ (แทนที่จะเป็นการทำลาย)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
19:00
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Do schools kill creativity?
Angsumalin Fordham added a translation

Thai subtitles

Revisions Compare revisions