Return to Video

เราต้องการยากำจัดศัตรูพืชจริง ๆ หรือ - เฟอร์นัน เปเรซ-กัลเวซ (Fernan Pérez-Gálvez)

  • 0:07 - 0:13
    ในค.ศ. 1845 ไร่มันฝรั่งมากมายในไอแลนด์
    ถูกรุกรานอย่างหนักจากโรคเชื้อรา
  • 0:13 - 0:17
    ที่เข้ารบกวนพืชไร่นี้อย่างรวดเร็ว
  • 0:17 - 0:19
    ผลกระทบนั้นรุนแรงมาก
  • 0:19 - 0:22
    คนหนึ่งล้านคนต้องตายเนื่องจากความอดอยาก
  • 0:22 - 0:26
    และกว่าล้านคนต้องระเห็จออกไปจากไอร์แลนด์
  • 0:26 - 0:32
    ทุกวันนี้ เราหลีกเลี่ยงหายนะทางการเกษตรนี้
    ได้โดยความช่วยเหลือจากยากำจัดศัตรูพืช
  • 0:32 - 0:36
    ซึ่งคือสารเคมีต่าง ๆ ที่เราสร้างขึ้น
    เพื่อควบคุมแมลง
  • 0:36 - 0:37
    วัชพืชที่ไม่เป็นที่ต้องการ
  • 0:37 - 0:38
    เชื้อรา
  • 0:38 - 0:39
    สัตว์ฟันแทะ
  • 0:39 - 0:40
    และแบคทีเรีย
  • 0:40 - 0:42
    ที่อาจทำอันตรายต่อแหล่งอาหารของเราได้
  • 0:42 - 0:45
    พวกมันกลายเป็นส่วนสำคัญ
    ของระบบอาหารของเรา
  • 0:45 - 0:49
    เมื่อประชากรของเราเติบโต
    การปลูกพืชเชิงเดี่ยว
  • 0:49 - 0:52
    ได้ทำให้เราเลี้ยงปากท้องของผู้คน
    ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 0:52 - 0:57
    แต่มันยังทำให้อาหารของเรา
    ตกเป็นเหยื่อของการบุกรุกจากศัตรูพืชด้วย
  • 0:57 - 1:01
    ในทางกลับกัน
    เราต้องพึ่งพายากำจัดศัตรูพืชมากขึ้น
  • 1:01 - 1:06
    ทุกวันนี้ เราพ่นยากำจัดศัตรูพืช
    กว่า 5 พันล้านปอนด์ไปทั่วโลก
  • 1:06 - 1:09
    เพื่อควบคุมแขกที่ไม่ได้รับเชิญ
  • 1:09 - 1:12
    สงครามระหว่างศัตรูพืช
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมลง
  • 1:12 - 1:15
    ได้สร้างตำนานเกษตรกรรมอันแสนยาวนาน
  • 1:15 - 1:17
    บันทึกเมื่อหลายพันปีก่อน
  • 1:17 - 1:21
    เผยว่ามนุษย์เผาไร่บางส่วนหลังจากการเก็บเกี่ยว
  • 1:21 - 1:24
    เพื่อกำจัดศัตรูพืช
  • 1:24 - 1:29
    มีหลักฐานจากช่วงเวลาในอดีต
    ว่าเราได้นำแมลงบางอย่างมาช่วย
  • 1:29 - 1:35
    ในปีคริสต์ศักราชที่ 300 ชาวนาชาวจีน
    จงใจเลี้ยงมดนักล่าที่ดุร้ายเอาไว้
  • 1:35 - 1:39
    ในสวนส้ม
    เพื่อป้องกันต้นไม้เหล่านั้นจากแมลงอื่น ๆ
  • 1:39 - 1:41
    ต่อมา การเกษตรขนาดใหญ่ได้ขยายออกไป
  • 1:41 - 1:47
    เราเริ่มที่จะทำการพ่นสารหนู ตะกั่ว
    และทองแดง ให้กับพืชไร่
  • 1:47 - 1:51
    แต่สารเหล่านี้เป็นพิษอย่างมาก
    ต่อมนุษย์เช่นกัน
  • 1:51 - 1:54
    เมื่อเราต้องการมันมากขึ้น
    ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยกว่าก็เพิ่มมากขึ้น
  • 1:54 - 1:57
    เช่นเดียวกันกับความต้องการสารเคมี
    ที่มีประสิทธิภาพ
  • 1:57 - 2:00
    ในการควบคุมศัตรูพืชในระดับที่ใหญ่ขึ้น
  • 2:00 - 2:05
    สิ่งนี้ทำให้เราเข้าสู่ยุค
    ของการใช้ยาเคมีกำจัดศัตรูพืช
  • 2:05 - 2:09
    ใน ค.ศ. 1948 นักเคมีชาวสวิสชื่อว่า
    พอล เฮอร์แมน มุลเลอร์
  • 2:09 - 2:12
    ได้รับรางวัลโนเบลจากการค้นพบของเขา
  • 2:12 - 2:18
    คือ ไดคลอโรไดฟีนิลไตรคลอโรอีเธน
    หรือที่รู้จักกันว่า ดีดีที
  • 2:18 - 2:23
    โมเลกุลใหม่นี้สามารถการควบคุมแมลงต่าง ๆ
    ได้หลายสายพันธุ์ อย่างไม่อาจเทียบทาน
  • 2:23 - 2:28
    จนกระทั่งยุค 1950
    เมื่อแมลงเริ่มดื้อต่อสารดังกล่าว
  • 2:28 - 2:34
    แย่กว่านั้น สาเคมีนี้ทำให้ประชากรนก
    ลดลงอย่างมาก
  • 2:34 - 2:35
    มันทำให้แหล่งน้ำเป็นพิษ
  • 2:35 - 2:41
    และท้ายที่สุด มันถูกพบว่า มันเป็นสาเหตุ
    ของปัญหาสุขภาพมนุษย์ในระยะยาว
  • 2:41 - 2:45
    ในปีค.ศ. 1972
    ดีดีทีถูกระงับใช้ในสหรัฐอเมริกา
  • 2:45 - 2:49
    แต่กระนั้น มันก็ยังคงหลงเหลืออยู่
    ในสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
  • 2:49 - 2:52
    ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นักเคมีได้พยายาม
    ค้นหาทางเลือกในรูปแบบต่าง ๆ
  • 2:52 - 2:56
    ด้วยแต่ละระลอกใหม่ของการประดิษฐ์
    พวกเขาพบกับอุปสรรคเดิม
  • 2:56 - 2:59
    ซึ่งก็คือวิวัฒนาการที่รวดเร็วของสายพันธุ์
  • 2:59 - 3:01
    เมื่อยากำจัดศัตรูพืชทำลายประชากรศัตรูพืช
  • 3:01 - 3:06
    พวกที่คงเหลืออยู่ก็คือ
    กลุ่มที่สามารถต้านทานได้ดีที่สุด
  • 3:06 - 3:09
    พวกมันส่งต่อยีนต้านยากำจัดศัตรูพืชนี้
  • 3:09 - 3:11
    ให้กับลูกหลานรุ่นต่อไปของมัน
  • 3:11 - 3:13
    นั่นทำให้เกิดซุปเปอร์บั๊ก
  • 3:13 - 3:16
    ดังเช่น แมงมันฝรั่งโคโลราโด
  • 3:16 - 3:19
    ซึ่งต้านยาฆ่าศัตรูพืชต่าง ๆ กว่า 50 ชนิด
  • 3:19 - 3:24
    อีกข้อเสียหนึ่งก็คือ
    แมลงอื่น ๆ ก็พลอยติดร่างแหไปด้วย
  • 3:24 - 3:29
    พวกมันบางส่วนเป็นนักล่าที่มีประโยชน์
    ของศัตรูพืชหรือเป็นผู้ผสมเกสรที่สำคัญ
  • 3:29 - 3:34
    ฉะนั้น การกำจัดพวกมันจากการเกษตร
    เป็นการกำจัดผลประโยชน์ที่เราได้จากมันด้วย
  • 3:34 - 3:36
    ยากำจัดศัตรูพืชได้ถูกปรับปรุงมาตลอด
  • 3:36 - 3:39
    และตอนนี้ถูกควบคุม
    ด้วยมาตราฐานความปลอดภัยที่เข้มงวด
  • 3:39 - 3:43
    แต่ก็ยังเป็นไปได้ ที่พวกมัน
    จะทำให้เกิดมลภาวะต่อดินและน้ำ
  • 3:43 - 3:44
    ส่งผลกระทบต่อพวกสิ่งมีชีวิตในป่า
  • 3:44 - 3:46
    และแม้แต่ทำอันตรายต่อเรา
  • 3:46 - 3:51
    ฉะนั้น จงพิจารณาความเสี่ยงทั้งหมดนี้
    ว่าทำไมเรายังจะใช้ยากำจัดศัตรูพืชต่อไป
  • 3:51 - 3:52
    แม้ว่าพวกมันจะไม่สมบูรณ์แบบ
  • 3:52 - 3:57
    ตอนนี้ พวกมันอาจเป็นเดิมพันที่ดีที่สุด
    ต่อหายนะทางเกษตรกรรมหลัก
  • 3:57 - 4:00
    ซึ่งยังไม่รวมถึงโรคที่มียุงเป็นพาหะ
  • 4:00 - 4:05
    ทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์กำลังทำการค้นหา
    วิธีการควบคุมศัตรูพืชที่เป็นทางเลือก
  • 4:05 - 4:07
    ที่จะสร้างสมดุลระหว่าง
    ความต้องการในการผลิตอาหาร
  • 4:07 - 4:09
    และการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม
  • 4:09 - 4:13
    ธรรมชาติได้กลายเป็นแหล่งแรงบันดาลใจหลัก
  • 4:13 - 4:17
    ตั้งแต่สารเคมีจากพืชและราตามธรรมชาติ
    ที่สามารถขับไล่หรือล่อแมลงได้
  • 4:17 - 4:21
    เพื่อล่อแมลงอื่น ๆ
    ให้เข้ามาเป็นองค์รักษ์ของพืชไร่
  • 4:21 - 4:25
    เรายังหันไปพึ่งพาการแก้ปัญหาที่ทันสมัย
    อย่างเช่น โดรน
  • 4:25 - 4:27
    ที่ถูกออกแบบมาให้บินอยู่เหนือไร่
  • 4:27 - 4:30
    จักรกลเหล่านี้สามารถใช้
    ตัวตรวจจับและจีพีเอสของพวกมัน
  • 4:30 - 4:32
    ในการฉีดพ่นสารอย่างตรงเป้ามากกว่า
  • 4:32 - 4:36
    ซึ่งจะเป็นการจำกัดผลกระทบของยากำจัดศัตรูพืช
    ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง
  • 4:36 - 4:39
    ด้วยการรวมกันของความเข้าใจในเรื่องชีววิทยา
  • 4:39 - 4:40
    ความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม
  • 4:40 - 4:42
    และการพัฒนาเทคโนโลยี
  • 4:42 - 4:47
    เรามีโอกาสที่ดีกว่าในการค้นหา
    ทางออกแบบองค์รวมต่อศัตรูพืช
  • 4:47 - 4:51
    สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอาจไม่สามารถ
    สลัดชื่อเสียงแย่ ๆ ของมันออกไปได้
  • 4:51 - 4:52
    แต่ด้วยความช่วยเหลือจากมัน
  • 4:52 - 4:55
    เราก็มั่นใจได้ว่าหายนะทางเกษตรกรรม
  • 4:55 - 4:57
    จะยังคงเป็นแค่เรื่องในอดีต
Title:
เราต้องการยากำจัดศัตรูพืชจริง ๆ หรือ - เฟอร์นัน เปเรซ-กัลเวซ (Fernan Pérez-Gálvez)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/do-we-really-need-pesticides-fernan-perez-galvez

ทุก ๆ ปี เราพรมยากำจัดศัตรูพืชกว่า 5 พันล้านปอนด์ไปทั่วโลกเพื่อควบคุมแมลง วัชพืชที่ไม่เป็นที่ต้องการ เชื้อรา สัตว์ฟันแทะ และแบคทีเรีย ที่อาจทำอันตรายต่อแหล่งอาหารของเราได้ แต่มันคุ้มค่ากันหรือเปล่า เมื่อรู้ว่าเราทำอะไรลงไปต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบและก่อความเสี่ยงต่อสุขภาพ เฟอร์นัน เปเรซ-กัลเวซ กล่าวถึงข้อดีและข้อเสียของยากำจัดศัตรูพืช

บทเรียนโดย Fernan Pérez-Gálvez, แอนิเมชันโดย Mighty Oak

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:18

Thai subtitles

Revisions