Return to Video

ความโหดร้ายของความสำเร็จ

  • 0:01 - 0:04
    นี่คือคำถามที่เราทุกคนควรถาม
  • 0:04 - 0:05
    มีอะไรผิดพลาดเหรอ
  • 0:05 - 0:07
    ไม่ใช่แค่เรื่องโรคระบาดนะ
  • 0:07 - 0:09
    แต่หมายถึงเรื่องชีวิตในฐานะพลเมือง
  • 0:10 - 0:14
    อะไรพาเรามาสู่ห้วงเวลาอันน่าขมขื่น
    ของการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย
  • 0:15 - 0:17
    ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา
  • 0:17 - 0:21
    การแบ่งแยกระหว่างผู้แพ้และผู้ชนะ
    หยั่งรากลึก
  • 0:21 - 0:23
    เป็นพิษต่อการเมืองของเรา
  • 0:23 - 0:25
    แบ่งแยกเราออกจากกัน
  • 0:25 - 0:29
    ในการแบ่งแยกนี้ ส่วนหนึ่งก็เกี่ยวข้องกับ
    ความไม่เท่าเทียม
  • 0:30 - 0:34
    แต่ก็เกี่ยวข้องกับทัศนคติที่เรามี
    ต่อการชนะและการพ่ายแพ้
  • 0:34 - 0:36
    ที่มาด้วยกัน
  • 0:36 - 0:38
    ผู้ที่อยู่ที่ปลายยอด
  • 0:38 - 0:42
    หันมาเชื่อว่าความสำเร็จของตัวเองนั้น
    มาจากการกระทำของตัวเองทั้งสิ้น
  • 0:42 - 0:44
    วัดกันที่ความพยายาม
  • 0:45 - 0:49
    และคนที่ล้มเหลว ก็ไม่โทษใคร
    นอกจากตัวเอง
  • 0:50 - 0:53
    วิธีการมองความสำเร็จแบบนี้
  • 0:53 - 0:56
    เห็นได้ชัดว่ามีต้นตอมาจาก
    หลักการที่น่าสนใจข้อหนึ่ง
  • 0:57 - 0:59
    หากทุกคนมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน
  • 0:59 - 1:02
    ผู้ชนะก็สมควรได้รับชัยชนะ
  • 1:03 - 1:07
    นี่คือหัวใจของอุดมคติแบบ
    ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย
  • 1:08 - 1:11
    แน่นอน ในทางปฏิบัติ เราทำไม่ได้หรอก
  • 1:13 - 1:16
    ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับโอกาสที่เท่าเทียม
    ในการเติบโต
  • 1:17 - 1:22
    เด็ก ๆ ที่เกิดมาในครอบครัวที่ยากจน
    ก็มักจะยังคงยากจนเมื่อโตขึ้น
  • 1:23 - 1:28
    พ่อแม่ที่ร่ำรวย ก็สามารถที่จะ
    มอบอภิสิทธิ์ต่าง ๆ ให้กับลูกของตนได้
  • 1:28 - 1:32
    ตัวอย่างเช่น กลุ่มมหาวิทยาลัยไอวีลีก
  • 1:32 - 1:35
    ที่คัดเอานักศึกษาหัวกะทิ
    คิดเป็นร้อยละหนึ่ง
  • 1:35 - 1:40
    ซึ่งมากกว่าจำนวนนักศึกษาหัวกะทิ
    จากอีกครึ่งล่างของประเทศรวมกัน
  • 1:42 - 1:46
    แต่ปัญหาไม่ได้อยู่เพียงว่า
    เราล้มเหลวในการทำตาม
  • 1:46 - 1:49
    หลักการทำมากได้มาก
    ที่เรายึดถือ
  • 1:50 - 1:52
    แต่อุดมคติเองนั่นแหละที่มีปัญหา
  • 1:53 - 1:54
    มันมีด้านมืด
  • 1:55 - 1:59
    อุดมคติแบบทำมากได้มาก
    กัดกร่อนผลประโยชน์ส่วนรวม
  • 2:00 - 2:02
    มันนำไปสูความโอหังของเหล่าผู้ชนะ
  • 2:04 - 2:07
    และการเย้ยหยันผู้ที่พ่ายแพ้
  • 2:08 - 2:14
    มันสนับสนุนให้ผู้ที่ประสบความสำเร็จ
    สูดความหอมหวานของความสำเร็จมากเกินไป
  • 2:14 - 2:19
    เพื่อมอมเมาตัวเองว่า ที่มีทุกวันนี้ได้
    ไม่ใช่เพราะโชคช่วย
  • 2:19 - 2:23
    และนำไปสู่การดูถูกเหยียดหยาม
    ผู้ที่อาจจะไม่ได้โชคดีขนาดนั้น
  • 2:23 - 2:26
    หรือไม่ได้มีคุณสมบัติเท่า
  • 2:27 - 2:30
    สิ่งนี้สำคัญมากสำหรับเรื่องการเมือง
  • 2:30 - 2:35
    เป็นหนึ่งในต้นตอที่มีอิทธิพล
    ต่อการมองผู้คนในแง่ร้าย
  • 2:35 - 2:41
    ผมหมายถึงการที่กลุ่มผู้ใช้แรงงาน
    ถูกคนกลุ่มอภิสิทธิ์ชนดูแคลน
  • 2:42 - 2:44
    นี่คือความไม่พอใจที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
  • 2:45 - 2:50
    แม้แต่โลกาภิวัตน์
    ก็ทำให้ปัญหาความไม่เท่าเทียมหลั่งรากลึก
  • 2:50 - 2:51
    และค่าจ้างที่คงที่
  • 2:53 - 2:57
    ผู้ที่สนับสนุนหลักการนี้
    ได้ให้คำแนะนำที่น่าฉุนเฉียวทีเดียว
  • 2:58 - 3:02
    "หากคุณอยากแข่งขัน
    และมีจุดยืนในเศรษฐกิจโลก
  • 3:02 - 3:03
    คุณก็ไปเรียนมหาวิทยาลัยสิ"
  • 3:04 - 3:07
    "สิ่งที่คุณจะได้ มาจากสิ่งที่คุณเรียน"
  • 3:07 - 3:09
    "คุณทำได้ หากคุณพยายาม"
  • 3:10 - 3:16
    พวกอภิสิทธิ์ชนไม่ได้ตระหนักถึง
    การดูถูกที่แฝงอยู่ในคำแนะนำเหล่านี้
  • 3:17 - 3:19
    หากคุณไม่เรียนมหาวิทยาลัย
  • 3:19 - 3:23
    หากคุณไม่เติบโตในเศรษฐกิจใหม่
  • 3:23 - 3:25
    ความล้มเหลวของคุณ
    มาจากความผิดพลาดของตัวคุณเอง
  • 3:26 - 3:27
    นี่คือความหมายที่แฝงอยู่
  • 3:28 - 3:34
    ไม่สงสัยเลยว่าทำไมกลุ่มผู้ใช้แรงงาน
    ถึงต่อต้านอภิสิทธิ์ชนที่ยึดในอุดมคตินี้
  • 3:35 - 3:36
    แล้วเราจะทำยังไงดีล่ะ
  • 3:37 - 3:41
    เราจำเป็นต้องมองชีวิตในฐานะพลเมืองเสียใหม่
    ในสามด้านด้วยกัน
  • 3:41 - 3:43
    บทบาทของมหาวิทยาลัย
  • 3:43 - 3:44
    เกียรติของการทำงาน
  • 3:44 - 3:46
    และความหมายของความสำเร็จ
  • 3:47 - 3:51
    เราควรเริ่มโดยการพิจารณาบทบาท
    ของมหาวิทยาลัยใหม่
  • 3:51 - 3:54
    ว่าเป็นผู้กุมอำนาจในการแจกจ่ายโอกาส
  • 3:56 - 4:00
    สำหรับพวกเราหลาย ๆ คน
    ที่ใช้ชีวิตในบริษัทที่น่าเชื่อถือ
  • 4:00 - 4:04
    เรามักจะหลงลืมความจริงข้อหนึ่งที่ว่า
  • 4:05 - 4:09
    ผู้คนส่วนมาก ไม่ได้เรียนสี่ปีในมหาวิทยาลัย
    และไม่มีใบปริญญา
  • 4:09 - 4:13
    ว่ากันให้ชัด เกือบสองในสาม
    ของพลเมืองอเมริกันไม่มีใบปริญญา
  • 4:14 - 4:18
    เพราะฉะนั้นมันจึงไร้สาระมาก
    ที่จะสร้างเศรษฐกิจ
  • 4:18 - 4:22
    ที่ยกปริญญาบัตร
    เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นที่จำเป็น
  • 4:23 - 4:27
    สำหรับการทำงานที่มีเกียรติ
    และชีวิตที่ดี
  • 4:27 - 4:31
    การสนับสนุนให้คนเข้าเรียนมหาวิทยาลัย
    เป็นเรื่องที่ดี
  • 4:31 - 4:34
    การขยายโอกาสการเข้าถึงการศึกษา
    สำหรับผู้ที่มีทุนทรัพย์ไม่พอ
  • 4:34 - 4:35
    ก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก
  • 4:36 - 4:38
    แต่นี่ไม่ใช่ทางออก
    สำหรับปัญหาความไม่เท่าเทียม
  • 4:39 - 4:44
    เราควรละจากการติดอาวุธให้พลเมือง
    ในสงครามของคนที่ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย
  • 4:44 - 4:48
    และให้ความสนใจกับการทำให้ชีวิตดีขึ้น
  • 4:48 - 4:51
    สำหรับผู้ที่ไม่มีปริญญาบัตร
  • 4:51 - 4:55
    แต่เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญ
    ในการสร้างสังคมของเรา
  • 4:56 - 4:58
    เราควรปรับความคิดเกี่ยวกับ
    เกียรติของการทำงาน
  • 4:58 - 5:01
    และนำมันไปวางไว้ที่ใจกลางของการเมืองของเรา
  • 5:01 - 5:06
    เราควรที่จะจดจำว่า การทำงาน
    ไม่ใช่เป็นเพียงการหารายได้
  • 5:06 - 5:10
    แต่ยังเป็นการมีส่วนร่วม
    ในการสร้างสาธารณะประโยชน์
  • 5:10 - 5:13
    และมีคนมองเห็นว่าได้ทำเช่นนั้น
  • 5:13 - 5:17
    โรเบิร์ต เอฟ เคเนดี ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน
    เมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว
  • 5:17 - 5:21
    สัมพันธภาพ ชุมชน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว
  • 5:21 - 5:25
    คุณค่าที่สำคัญเหล่านี้ไม่ได้มาจาก
  • 5:25 - 5:28
    การซื้อของและการบริโภคร่วมกัน
  • 5:29 - 5:31
    แต่มาจากการจ้างงานอย่างมีเกียรติ
  • 5:31 - 5:33
    ได้รับค่าตอบแทนที่ควรจะได้รับ
  • 5:33 - 5:37
    เป็นการจ้างงานที่ทำให้เราพูดได้เต็มปากว่า
  • 5:37 - 5:39
    "ฉันช่วยสร้างประเทศนี้
  • 5:40 - 5:44
    ฉันคือผู้ที่มีส่วนในการทำเพื่อส่วนรวม"
  • 5:45 - 5:48
    ความคิดแบบพลเมืองแบบนี้
  • 5:48 - 5:52
    ห่างหายไปจาก
    ชีวิตพลเมืองของพวกเราในทุกวันนี้
  • 5:53 - 5:57
    เรามักจะทึกทักเอาว่า
    เงินที่ผู้คนได้รับมานั้น
  • 5:57 - 6:00
    คือคุณค่าของการมีส่วนร่วม
    ในการสร้างสาธารณประโยชน์
  • 6:01 - 6:03
    แต่ความคิดนี้ผิด
  • 6:03 - 6:06
    มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
    ได้อธิบายไว้ว่าทำไมถึงผิด
  • 6:07 - 6:11
    สะท้อนคิดจากการประท้วง
    ของเจ้าหน้าที่ดูแลความสะอาด
  • 6:11 - 6:13
    ในเมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี
  • 6:13 - 6:15
    ไม่นานก่อนที่เขาจะถูกสังหาร
  • 6:16 - 6:18
    คิงกล่าวว่า
  • 6:18 - 6:23
    "สุดท้ายแล้ว คนที่ทำงานเก็บขยะ
  • 6:23 - 6:25
    ก็มีความสำคัญเท่ากับแพทย์
  • 6:27 - 6:29
    เพราะถ้าหากพวกเขาไม่ทำงานของตัวเอง
  • 6:29 - 6:31
    เชื้อโรคก็คงแพร่กระจายไปไหนต่อไหน
  • 6:32 - 6:35
    แรงงานทั้งหมดนั้นมีเกียรติ"
  • 6:36 - 6:38
    ทุกวันนี้ โรคระบาดได้ทำให้คำกล่าวนี้ชัดเจน
  • 6:39 - 6:42
    มันเผยให้เห็นว่า เราต้องพึ่งพา
  • 6:42 - 6:45
    บุคคลที่เรามักจะมองข้าม
  • 6:46 - 6:47
    พนักงานส่งของ
  • 6:47 - 6:49
    พนักงานซ่อมบำรุง
  • 6:49 - 6:51
    พนักงานในร้านขายของชำ
  • 6:51 - 6:53
    พนักงานในคลังเก็บสินค้า
  • 6:53 - 6:54
    พนักงานขับรถบรรทุก
  • 6:54 - 6:56
    ผู้ช่วยพยาบาล
  • 6:56 - 6:57
    พี่เลี้ยงเด็ก
  • 6:57 - 6:59
    ผู้ให้บริการสุขภาพครอบครัว
  • 7:00 - 7:04
    นี่ไม่ใช่อาชีพที่ได้รับค่าตอบแทนสูง
    หรือมีคนยกย่องมากเท่าไหร่
  • 7:05 - 7:09
    แต่ตอนนี้ เรามองพวกเขาเป็นบุคคลที่สำคัญ
  • 7:10 - 7:14
    นี่คือช่วงเวลาสำหรับการถกเถียงในที่สาธารณะ
  • 7:14 - 7:18
    ในการปรับค่าจ้างและเพิ่มการยอมรับ
  • 7:18 - 7:22
    ให้ไปในทิศทางที่ดีกว่าเดิม
    และการรับรู้ความสำคัญของงานที่พวกเขาทำ
  • 7:22 - 7:29
    นี่คือจุดพลิกผันในเรื่องจริยธรรม
    จุดเปลี่ยนของความเชื่อและศรัทธา
  • 7:29 - 7:32
    ในการตั้งคำถามเกี่ยวกับ
    ความโอหังของอุดมคติทำมากได้มาก
  • 7:34 - 7:38
    ฉันสมควรได้รับความสามารถ
    ที่ทำให้ฉันเติบโตได้อย่างมีจริยธรรมหรือไม่
  • 7:39 - 7:40
    เป็นความพยายามของฉัน
  • 7:40 - 7:44
    ที่จะอยู่ในสังคมที่ให้คุณค่ากับความสามารถ
  • 7:44 - 7:46
    ที่ฉันบังเอิญมีหรือเปล่า
  • 7:46 - 7:48
    หรือจริง ๆ แล้วเพราะโชคช่วย
  • 7:49 - 7:53
    การยืนกรานว่าความสำเร็จของฉัน
    มาจากตัวฉัน
  • 7:53 - 7:57
    ทำให้ยากที่เราจะเข้าใจชีวิตของคนอื่น
  • 7:58 - 8:01
    การมองเห็นบทบาทของโชคชะตาในชีวิต
  • 8:01 - 8:03
    ก็ทำให้เราเริ่มที่จะอ่อนน้อมมากขึ้น
  • 8:04 - 8:08
    ไม่ว่าจะเกิดโดยบังเอิญ
    หรือเพราะพระหรรษทานจากพระเจ้า
  • 8:08 - 8:10
    หรือโชคชะตาที่ยากจะหยั่งถึง
  • 8:10 - 8:11
    ที่ฉันได้เกิดมา
  • 8:12 - 8:15
    พลังของความอ่อนน้อมถ่อมตน
  • 8:15 - 8:17
    คือคุณธรรมของพลเมืองที่เราต้องการในตอนนี้
  • 8:18 - 8:21
    เป็นการเริ่มต้นของหนทางในการเยียวยา
  • 8:21 - 8:25
    จากหลักจริยธรรมของความสำเร็จ
    อันน่าเจ็บปวดที่แบ่งแยกเรา
  • 8:25 - 8:30
    ที่จะส่องทางให้เราก้าวข้าม
    การความโหดร้ายของความสำเร็จ
  • 8:30 - 8:34
    บรรเทาความขมขื่น
    และนำไปสู่ชีวิตในสังคมที่อารี
Title:
ความโหดร้ายของความสำเร็จ
Speaker:
ไมเคิล แซนเดล
Description:

สิ่งใดที่ทำให้ชิวิตในสังคมต้องถูกแบ่งขั้ว และเราจะหาทางเยียวยาได้อย่างไร ไมเคิล แซนเดล นักปรัชญาการเมือง ได้ให้คำตอบที่เราต้องประหลาดใจ นั่นคือ คนที่ได้ดีแล้วจะต้องมองตัวเองในกระจก เขาพิจารณาว่า "ความยโส" ของความคิดที่ว่าเราทำอะไรสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียวเท่านั้นทำให้ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่า ความสำเร็จของตัวเองมาจากตัวเองผู้เดียว และเหยียดหยามผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจ และทำให้การแย่งแยกระหว่าง "ผู้ชนะ" และ "ผู้แพ้" ชัดเจนมากขึ้นในยุคเศรษฐกิจใหม่ได้อย่างไร รับฟังว่าเหตุใดเราจึงควรพิจารณาความหมายของความสำเร็จเสียใหม่ และตระหนักถึงบทบาทของโชคและความบังเอิญ เพื่อบรรเทาความขมขื่นและนำไปสู่ชีวิตในสังคมที่อารี

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:47
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for The tyranny of merit
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for The tyranny of merit
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for The tyranny of merit
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for The tyranny of merit
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for The tyranny of merit
Retired user edited Thai subtitles for The tyranny of merit
Retired user edited Thai subtitles for The tyranny of merit
Retired user edited Thai subtitles for The tyranny of merit
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions