Return to Video

วัฏจักรชีวิตของรองเท้าผ้าใบ - แองเจิล ชาง

  • 0:09 - 0:13
    ชาวออสเตรเลียเรียกมันว่า "รันเนอร์"
    ชาวอังกฤษเรียกมันว่า "เทรนเนอร์"
  • 0:13 - 0:17
    ชาวอเมริกันเรียกมันว่า "รองเท้าเทนนิส"
    หรือ "สนีกเกอร์"
  • 0:17 - 0:21
    ไม่ว่าคุณจะเรียกมันว่าอะไร
    รองเท้าลำลองพื้นยางพวกนี้
  • 0:21 - 0:24
    มีคนสวมใส่นับพันล้านคนทั่วโลก
  • 0:24 - 0:27
    มันถูกคิดค้นขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 ตอนปลาย
  • 0:27 - 0:31
    สิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากผ้าใบและยางเหล่านี้
    ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก
  • 0:31 - 0:33
    ตั้งแต่มีการตบเท้าเข้ามาขายเป็นครั้งแรก
  • 0:33 - 0:37
    ทุกวันนี้ การใช้จ่ายไปกับรองเท้าผ้าใบ
    อยู่ในจุดที่สูงเป็นประวัติการณ์
  • 0:37 - 0:41
    และไม่มีประเทศไหนซื้อรองเท้าผ้าใบ
    เยอะไปมากกว่าสหรัฐอเมริกา
  • 0:41 - 0:44
    ที่ที่คนซื้อรองเท้าเฉลี่ยปีละ 3 คู่
  • 0:44 - 0:49
    เพื่อให้ตรงกับความต้องการ จึงมีการผลิต
    รองเท้าปีละราวๆ 2.3 หมื่นล้านคู่
  • 0:49 - 0:53
    โดยหลักๆ จะผลิตที่โรงงานในประเทศจีน
    และประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • 0:53 - 0:57
    แต่การผลิตรองเท้านั้นเริ่มซับซ้อนมากขึ้น
    ใช้แรงงานมากขึ้น
  • 0:57 - 0:59
    และบางครั้งอาจอันตรายมากขึ้น
  • 0:59 - 1:03
    ทั้งต่อคนงานที่เกี่ยวข้อง และโลกของเรา
  • 1:03 - 1:05
    การผลิตรองเท้านั้นปล่อย
    ก๊าซคาร์บอนต่างๆ ออกมาราว
  • 1:05 - 1:09
    1 ใน 5 ส่วนของทั้งอุตสาหกรรมแฟชั่น
  • 1:09 - 1:16
    แค่รองเท้าผ้าใบอย่างเดียวก็ปล่อย
    คาร์บอนไดออกไซด์ออกมา 313 ล้านตันทุกปี
  • 1:16 - 1:21
    ซึ่งเทียบเท่ากับรถ 66 ล้านคันต่อปีรวมกัน
  • 1:21 - 1:24
    เพื่อให้เข้าใจร่องรอยคาร์บอนฟุต
    ในรองเท้าของคุณมากขึ้น
  • 1:24 - 1:27
    เราไปดูโครงสร้างของรองเท้าผ้าใบกันดีกว่า
  • 1:27 - 1:32
    เริ่มกันที่ ส่วนของส้นรองเท้า
    อินโซล มิดโซล และตัวรองเท้า
  • 1:32 - 1:37
    เป็นส่วนที่ผลิตมาจากผ้าใยสังเคราะห์
    เช่น โพลีเอสเตอร์ ไนลอน ลาเท็กซ์
  • 1:37 - 1:39
    และโพลียูรีเทน
  • 1:39 - 1:44
    การขุดเชื้อเพลิงฟอสซิลมาทำวัสดุเหล่านี้
    ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอย่างมหาศาล
  • 1:44 - 1:48
    และการแปรรูปวัตถุดิบ
    ให้กลายเป็นผ้าใยสังเคราะห์นั้น
  • 1:48 - 1:53
    ใช้พลังงานเยอะมากเช่นกัน
    ซึ่งทำให้มลพิษทวีคูณขึ้นอีก
  • 1:53 - 1:56
    ตัวรองเท้าบางรุ่นทำจากวัสดุธรรมชาติ
    อย่างเช่นหนัง
  • 1:56 - 1:59
    แต่การฟอกหนังจำเป็นต้องใช้โครเมี่ยม
  • 1:59 - 2:04
    สารเคมีก่อมะเร็งที่สามารถ
    สร้างความเสียหายให้ระบบนิเวศน้ำจืดได้
  • 2:04 - 2:07
    พื้นรองเท้าส่วนใหญ่จะทำมาจากยาง
  • 2:07 - 2:10
    ที่ผ่านกระบวนการวัลแคไนซ์
    หรือการคงรูปยาง
  • 2:10 - 2:15
    กระบวนการนี้จะเติมกำมะถัน
    ลงในยางที่มีความร้อนสูง
  • 2:15 - 2:18
    เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่ยืดหยุ่นและแข็งแรง
  • 2:18 - 2:22
    รองเท้าผ้าใบใช้ยางธรรมชาติ
    ในกระบวนการนี้จนถึงปัจจุบัน
  • 2:22 - 2:27
    แต่ทุกวันนี้ พื้นรองเท้าทำมาจาก
    วัสดุสังเคราะห์ผสมจากยางธรรมชาติ
  • 2:27 - 2:30
    และผลิตผลพลอยได้จากน้ำมันกับถ่าน
  • 2:30 - 2:35
    การผลิตวัสดุเหล่านี้คิดเป็น 20%
    ของร่องรอยคาร์บอนในรองเท้าคู่หนึ่ง
  • 2:35 - 2:40
    แต่อีก 2 ใน 3 ส่วนจะเกิดขึ้นในขั้นตอนต่อไป
  • 2:40 - 2:42
    ซึ่งก็คือกระบวนการผลิตรองเท้านั่นเอง
  • 2:42 - 2:46
    รองเท้าผ้าใบทั่วไปประกอบด้วย
    ชิ้นส่วนที่ต่างกัน 65 ชิ้น
  • 2:46 - 2:49
    แต่ละชิ้นก็จะผลิตโดยเครื่องจักรเฉพาะของมัน
  • 2:49 - 2:54
    นั่นหมายความว่า ถ้าให้ 1 โรงงานผลิต 1 ชิ้น
    แต่ผลิตทีละเยอะๆ ก็จะถูกกว่า
  • 2:54 - 2:57
    แทนที่จะผลิตชิ้นส่วนทุกชิ้น
    ในโรงงานเดียวกัน
  • 2:57 - 3:01
    แต่การขนส่งชิ้นส่วนพวกนี้
  • 3:01 - 3:05
    ไปยังโรงงานประกอบรองเท้าโรงเดียว
    ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์มากยิ่งขึ้น
  • 3:05 - 3:08
    เมื่อชิ้นส่วนไปถึงสายการประกอบ
  • 3:08 - 3:13
    ก็จะไปผ่านการตัด เท หลอม
    อบ เย็นตัว และติดกาว
  • 3:13 - 3:17
    ก่อนที่จะเย็บรองเท้าเข้าด้วยกัน
  • 3:17 - 3:21
    การประกอบรองเท้าผ้าใบทั่วๆ ไป
    มีขั้นตอนมากถึง 360 ขั้นตอน
  • 3:21 - 3:27
    และคิดเป็น 20% ของมลภาวะจากรองเท้าคู่หนึ่ง
  • 3:27 - 3:33
    โรงงานที่กระจัดกระจายกัน
    ทำให้เกิดอีกปัญหา : การละเมิดสิทธิแรงงาน
  • 3:33 - 3:36
    แบรนด์ส่วนมากไม่ได้เป็นเจ้าของโรงงาน
    และไม่ได้บริหารโรงงาน
  • 3:36 - 3:39
    ฉะนั้นโรงงานที่ทำงานร่วมกับแบรนด์ต่างๆ
  • 3:39 - 3:42
    มักเป็นประเทศที่ไม่มีกฏหมายคุ้มครองแรงงาน
    หรือมีน้อยมาก
  • 3:42 - 3:46
    เป็นผลให้แรงงานหลายคน
    ได้ค่าแรงต่ำกว่าค่าครองขีพ
  • 3:46 - 3:50
    และได้รับสารเคมีอันตรายเข้าไป
    อย่างเช่นไอควันจากกาว
  • 3:50 - 3:52
    เมื่อการผลิตเสร็จสมบูรณ์
  • 3:52 - 3:56
    รองเท้าจะถูกบรรจุและส่งไปตามร้านค้าทั่วโลก
  • 3:56 - 3:59
    รองเท้าสามารถอยู่ได้หลายปีสำหรับหลายๆ คน
  • 3:59 - 4:02
    แต่กับคนที่วิ่ง 20 ไมล์ต่อสัปดาห์
  • 4:02 - 4:06
    รองเท้าวิ่ง 1 คู่จะเริ่มสึกหรอ
    เมื่อใช้งานราวๆ 6 เดือน
  • 4:06 - 4:10
    เนื่องจากรองเท้าทำมาจากวัสดุหลายชนิด
  • 4:10 - 4:14
    มันจึงแทบเป็นไปไม่ได้
    ที่จะแยกชิ้นส่วนมารีไซเคิล
  • 4:14 - 4:19
    รองเท้า 20% ถูกนำไปเผาทำลาย
    และที่เหลือก็ลงหลุมฝังดินไป
  • 4:19 - 4:23
    ซึ่งใช้เวลามากถึง 1,000 ปีเพื่อย่อยสลาย
  • 4:23 - 4:26
    แล้วเราจะสมดุลความรักที่มีต่อรองเท้า
  • 4:26 - 4:28
    กับการรักษาธรรมชาติอย่างยั่งยืนยังไงล่ะ?
  • 4:28 - 4:31
    ขั้นแรก นักออกแบบควรปรับปรุง
    องค์ประกอบของการออกแบบ
  • 4:31 - 4:34
    และให้ความสนใจกับวัสดุที่เป็นมิตรต่อโลก
  • 4:34 - 4:38
    โรงงานจำเป็นต้องพัฒนากระบวนการผลิต
    ที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 4:38 - 4:41
    ซึ่งสามารถรวบขั้นตอนทำรองเท้า
    กับชิ้นส่วนรองเท้าให้เร็วขึ้น
  • 4:41 - 4:44
    และผู้บริโภคควรสนับสนุน
    ให้บริษัทใช้พลังงานสะอาด
  • 4:44 - 4:47
    และกระบวนการผลิตที่มีจริยธรรม
  • 4:47 - 4:50
    เราสามารถซื้อรองเท้าให้น้อยลงได้
    ใส่รองเท้าให้นานขึ้นได้
  • 4:50 - 4:53
    และสามารถบริจาคคู่ที่ไม่ใช้แล้วได้
  • 4:53 - 4:58
    ฉะนั้น ไม่ว่าสไตล์ของคุณจะเป็นแบบไหน
    เราจะก้าวไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนด้วยกัน
Title:
วัฏจักรชีวิตของรองเท้าผ้าใบ - แองเจิล ชาง
Speaker:
แองเจิล ชาง
Description:

ดูบทเรียนฉบับเต็ม: https://ed.ted.com/lessons/the-life-cycle-of-a-sneaker-angel-chang

ชาวออสเตรเลียเรียกมันว่า "รันเนอร์" ชาวอังกฤษเรียกมันว่า "เทรนเนอร์" ชาวอเมริกันเรียกมันว่า "สนีกเกอร์" ไม่ว่าคุณจะเรียกว่าอะไร รองเท้าผ้าใบพวกนี้ก็มีคนสวมใส่หลายพันล้านคนทั่วโลก ทุกวันนี้ รองเท้าผ้าใบถูกผลิตออกมาราว 2.3 หมื่นล้านคู่ทุกปี ฉะนั้น เราจะสมดุลความรักในรองเท้าคู่เก่งกับการรักษาธรรมชาติอย่างยั่งยืนยังไงได้บ้าง? แองเจิล ชางจะพาทุกคนไปเรียนรู้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตรองเท้ามีผลกระทบต่อโลกของเราอย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:03
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for The wildly complex anatomy of a sneaker
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for The wildly complex anatomy of a sneaker
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for The wildly complex anatomy of a sneaker
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for The wildly complex anatomy of a sneaker
Worawut Weerawan edited Thai subtitles for The wildly complex anatomy of a sneaker

Thai subtitles

Revisions Compare revisions