Return to Video

อธิบายการคำนวณเชิงควอนตัมใน 10 นาที

  • 0:01 - 0:02
    เรามาเล่นเกมกันเถอะค่ะ
  • 0:03 - 0:06
    ลองจินตนาการว่า คุณอยู่ในลาสเวกัส
  • 0:06 - 0:07
    ในคาสิโน
  • 0:07 - 0:11
    และคุณตัดสินใจจะเล่นเกม
    ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งของคาสิโน
  • 0:11 - 0:14
    ประมาณว่าคุณจะเล่นเรียงไพ่หรือหมากรุก
  • 0:15 - 0:18
    คอมพิวเตอร์สามารถเดินเกม
    ได้เหมือนกับผู้เล่นที่เป็นมนุษย์
  • 0:18 - 0:20
    นี่เป็นเกมเหรียญ
  • 0:21 - 0:24
    มันเริ่มต้นด้วยเหรียญหนึ่ง
    ที่หงายด้านหัวขึ้น
  • 0:24 - 0:26
    และคอมพิวเตอร์จะเริ่มเล่นก่อน
  • 0:26 - 0:28
    มันสามารถเลือกที่จะพลิกหรือ
    ไม่พลิกด้านเหรียญก็ได้
  • 0:29 - 0:30
    แต่คุณจะไม่เห็นผลที่มันเลือก
  • 0:31 - 0:32
    ต่อไปก็เป็นตาของคุณ
  • 0:33 - 0:36
    คุณก็สามารถเลือกที่จะพลิกเหรียญ
    หรือไม่ก็ได้
  • 0:36 - 0:39
    และการเดินของคุณจะไม่ถูกเปิดเผยต่อคู่แข่ง
    ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์
  • 0:40 - 0:44
    สุดท้าย คอมพิวเตอร์ก็เล่นอีกครั้ง
    และจะพลิกเหรียญหรือไม่ก็ได้
  • 0:44 - 0:46
    และหลังจากสามรอบนี้แล้ว
  • 0:46 - 0:48
    เหรียญก็จะแสดงออกมาให้เห็น
  • 0:48 - 0:51
    และถ้าออกมาเป็นหัว คอมพิวเตอร์ก็ชนะ
  • 0:51 - 0:53
    แต่ถ้าเป็นก้อย คุณก็ชนะ
  • 0:54 - 0:56
    มันจึงเป็นเกมที่ง่ายมาก
  • 0:56 - 0:59
    และหากว่าทุกคนเล่นอย่างตรงไปตรงมา
    และเหรียญก็เที่ยงตรง
  • 0:59 - 1:03
    คุณก็มีโอกาส 50 เปอร์เซ็นต์ที่จะชนะ
  • 1:03 - 1:05
    และเพื่อที่จะยืนยันในเรื่องนั้น
  • 1:05 - 1:09
    ฉันได้ขอให้ลูกศิษย์
    เล่นเกมนี้กับคอมพิวเตอร์ของเรา
  • 1:09 - 1:11
    หลังจากที่ได้ลองเล่นหลายครั้ง
  • 1:11 - 1:15
    อัตราการชนะก็จบที่ 50 เปอร์เซ็นต์หรือใกล้เคียง
  • 1:15 - 1:16
    ตามที่ได้คาดไว้
  • 1:16 - 1:18
    ฟังดูเป็นเกมที่น่าเบื่อใช่ไหมคะ
  • 1:18 - 1:22
    แต่ถ้าคุณเล่นเกมนี้
    กับคอมพิวเตอร์ควอนตัมล่ะ
  • 1:23 - 1:26
    คาสิโนในลาสเวกัส ไม่มีคอมพิวเตอร์ควอนตัม
  • 1:26 - 1:28
    เท่าที่ฉันรู้มา
  • 1:28 - 1:31
    แต่ไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัม
    ที่ใช้งานได้จริง
  • 1:31 - 1:32
    นี่แหละค่ะ
  • 1:33 - 1:34
    แล้วคอมพิวเตอร์ควอนตัมคืออะไรคะ?
  • 1:35 - 1:37
    ฟิสิกส์ควอนตัมได้อธิบาย
  • 1:37 - 1:41
    พฤติกรรมของอะตอม และอนุภาคมูลฐาน
  • 1:41 - 1:44
    เช่น อิเล็กตรอน และ โปรตรอน
  • 1:44 - 1:45
    คอมพิวเตอร์ควอนตัมจึงทำงาน
  • 1:45 - 1:48
    โดยควบคุมพฤติกรรมของอนุภาคเหล่านี้
  • 1:48 - 1:52
    แต่เป็นในแบบที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
    จากคอมพิวเตอร์ปกติของเรา
  • 1:52 - 1:56
    คอมพิวเตอร์ควอนตัมจึงไม่เป็นเพียง
    รูปแบบที่ทรงพลังกว่า
  • 1:56 - 1:58
    คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันของเรา
  • 1:58 - 2:02
    เหมือนหลอดไฟ ซึ่งไม่ใช่เทียนไขที่สว่างกว่า
  • 2:02 - 2:06
    คุณไม่สามารถสร้างหลอดไฟ
    โดยการสร้างเทียนไขให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
  • 2:07 - 2:09
    หลอดไฟเป็นเทคโนโลยีที่แตกต่างออกไป
  • 2:09 - 2:12
    มีพื้นฐานบนความเข้าใจ
    ในวิทยาศาสตร์ที่ลึกซึ้ง
  • 2:12 - 2:16
    ในทำนองเดียวกัน คอมพิวเตอร์ควอนตัม
    เป็นเครื่องมือแบบใหม่
  • 2:16 - 2:18
    ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนวิทยาศาสตร์
    สาขาควอนตัมฟิสิกส์
  • 2:18 - 2:22
    และเหมือนกับหลอดไฟที่ได้เปลี่ยนสังคม
  • 2:22 - 2:24
    คอมพิวเตอร์ควอนตัม
    ก็มีศักยภาพที่จะส่งผลกระทบ
  • 2:24 - 2:26
    ต่อด้านต่าง ๆ ของชีวิตเรา
  • 2:26 - 2:30
    รวมถึงความต้องการความปลอดภัย การดูแลสุขภาพ
    และแม้กระทั่งอินเทอร์เน็ต
  • 2:31 - 2:35
    ดังนั้นบริษัททั่วโลก
    จึงกำลังสร้างเครื่องมือเหล่านี้อยู่
  • 2:35 - 2:37
    และเพื่อให้เห็นว่าเรื่องนี้
    น่าตื่นเต้นอย่างไร
  • 2:38 - 2:40
    มาเล่นเกมของเราบนเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมกัน
  • 2:41 - 2:46
    ฉันสามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัม
    ของไอบีเอ็มได้จากที่นี่
  • 2:46 - 2:48
    ซึ่งหมายความว่า
    ฉันเล่นเกมนี้ได้จากทางไกล
  • 2:48 - 2:49
    คุณก็ทำได้เช่นกัน
  • 2:50 - 2:56
    เพื่อให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ คุณอาจจำได้ว่า
    ก่อนหน้านี้เคยได้รับอีเมลจาก TED
  • 2:56 - 2:59
    ที่ถามคุณว่า
    คุณจะเลือกที่จะพลิกเหรียญหรือไม่
  • 2:59 - 3:01
    ถ้าคุณได้เล่นเกมนี้ไปแล้ว
  • 3:01 - 3:06
    จริง ๆ แล้ว เราถามคุณว่าจะเลือกอะไร
    ระหว่างวงกลมกับสี่เหลี่ยมจัตุรัส
  • 3:06 - 3:10
    ตอนนั้นคุณไม่รู้
    แต่การเลือกวงกลมนั้นหมายถึง “พลิกเหรียญ”
  • 3:10 - 3:12
    และการเลือกสี่เหลี่ยมจัตุรัส
    ก็คือ “ไม่พลิก”
  • 3:13 - 3:16
    เราได้รับ 372 คำตอบ
  • 3:16 - 3:17
    ขอบคุณค่ะ
  • 3:17 - 3:21
    นั่นแปลว่า เราแข่งกับคอมพิวเตอร์ควอนตัม
    ได้ 372 เกม
  • 3:21 - 3:23
    โดยใช้ตัวเลือกของคุณ
  • 3:23 - 3:25
    และมันก็เป็นเกมที่เล่นได้เร็วมาก
  • 3:25 - 3:27
    ฉันจึงสามารถแสดงผลให้คุณเห็นได้ตรงนี้เลย
  • 3:28 - 3:31
    แย่หน่อย คุณเล่นได้ไม่ดีนัก
  • 3:31 - 3:33
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:33 - 3:36
    คอมพิวเตอร์ควอนตัมชนะไปเกือบทุกเกม
  • 3:36 - 3:40
    มันแพ้แค่ไม่กี่เกม
    เพราะความผิดพลาดในการทำงานของเครื่อง
  • 3:40 - 3:42
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:42 - 3:45
    แล้วมันชนะแบบต่อเนื่อง
    อย่างน่าประหลาดใจได้อย่างไร
  • 3:46 - 3:49
    มันเหมือนมีเวทย์มนต์หรือมีการโกง
  • 3:49 - 3:51
    แต่จริง ๆ แล้ว เป็นเพียงการทำงาน
    ของควอนตัมฟิสิกส์
  • 3:52 - 3:53
    นี่คือการทำงานของมัน
  • 3:53 - 3:59
    คอมพิวเตอร์ทั่วไปจำลองหัวหรือก้อยของเหรียญ
    เป็นบิท
  • 3:59 - 4:01
    คือ เลขศูนย์ หรือ เลขหนึ่ง
  • 4:01 - 4:04
    อีกนัยหนึ่งคือการพลิกเปิดปิด
    ภายในแผงวงจรคอมพิวเตอร์
  • 4:04 - 4:07
    คอมพิวเตอร์ควอนตัมแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
  • 4:07 - 4:12
    บิทของควอนตัมมีเอกลักษณ์
    ในการไม่เป็นสองด้านและมีความลื่นไหล
  • 4:13 - 4:18
    มันสามารถมีตัวตนอยู่ในการซ้อนทับ
    หรือการรวมตัวของเลขศูนย์และหนึ่ง
  • 4:18 - 4:23
    พร้อมโอกาสบางส่วนที่จะเป็นเลขศูนย์
    และโอกาสบางส่วนที่จะเป็นเลขหนึ่ง
  • 4:24 - 4:26
    พูดอีกอย่างหนึ่งคือ
    เอกลักษณ์ของมันมั้นอยู่บนแถบ
  • 4:27 - 4:31
    ตัวอย่างเช่น มีโอกาส 70 เปอร์เซ็นต์
    ที่จะเป็นเลขศูนย์
  • 4:31 - 4:33
    และ 30 เปอร์เซ็นต์ที่จะเป็นเลขหนึ่ง
  • 4:33 - 4:37
    หรือไม่ก็ 80-20 หรือ 60-40
  • 4:37 - 4:40
    ความเป็นไปได้ที่ว่านั้น ไม่มีสิ้นสุด
  • 4:40 - 4:41
    แนวคิดสำคัญอยู่ที่ว่า
  • 4:41 - 4:45
    เราต้องยกเลิกค่าที่แน่นอนของเลขศูนย์และหนึ่ง
  • 4:45 - 4:47
    และยอมให้มีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง
  • 4:48 - 4:49
    ดังนั้นในระหว่างเล่นเกม
  • 4:49 - 4:54
    คอมพิวเตอร์ควอนตัมก็จะสร้าง
    การรวมตัวที่ลื่นไหลของหัวและก้อย
  • 4:54 - 4:55
    หรือเลขศูนย์และหนึ่ง
  • 4:55 - 4:58
    เพื่อที่ว่าไม่ว่าผู้เล่นเกมจะทำอะไรก็ตาม
  • 4:58 - 4:59
    พลิกเหรียญหรือไม่พลิก
  • 4:59 - 5:01
    การซ้อนทับนั้นก็ยังคงอยู่
  • 5:02 - 5:05
    คล้ายกับการกวนส่วนผสมของของเหลวสองอย่าง
  • 5:06 - 5:10
    ไม่ว่าคุณจะกวนมันหรือไม่ก็ตาม
    ของเหลวสองสิ่งนั้นก็ยังอยู่ในส่วนผสม
  • 5:10 - 5:13
    แต่ในจุดหมายปลายทางของมัน
  • 5:13 - 5:17
    คอมพิวเตอร์ควอนตัมก็สามารถแยกส่วนผสม
    ของศูนย์และหนึ่งออกจากกัน
  • 5:17 - 5:20
    และเอาพลิกหัวกลับคืนมาได้อย่างสมบูรณ์
    เพื่อให้คุณแพ้ไปทุกครั้ง
  • 5:20 - 5:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:22 - 5:26
    ถ้าคุณคิดว่าทั้งหมดนี้มันแปลกประหลาด
    คุณคิดถูกแล้ว
  • 5:27 - 5:31
    เหรียญธรรมดานั้นไม่มีอยู่
    ในการรวมตัวของหัวกับก้อย
  • 5:31 - 5:35
    เราไม่พบเห็น
    ความเป็นจริงเชิงควอนตัมที่ลื่นไหลนี้
  • 5:35 - 5:37
    ในชีวิตปกติทั่วไปของเรา
  • 5:37 - 5:40
    ดังนั้น หากคุณสับสนกับควอนตัม
  • 5:40 - 5:41
    ก็อย่ากังวลไป
    เดี๋ยวคุณจะเข้าใจเอง
  • 5:41 - 5:45
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:45 - 5:49
    แต่แม้ว่า เราจะไม่พบเห็น
    ความแปลกประหลาดของควอนตัม
  • 5:49 - 5:52
    คุณสามารถเห็นผลที่แท้จริงของมันได้
    ในทางปฏิบัติ
  • 5:52 - 5:54
    ซึ่งคุณได้เห็นข้อมูลนั้นแล้วด้วยตัวเอง
  • 5:55 - 5:56
    คอมพิวเตอร์ควอนตัมชนะ
  • 5:56 - 6:01
    เพราะมันเกาะเกี่ยวความซ้อนทับ
    และความไม่แน่นอน
  • 6:01 - 6:03
    และคุณสมบัติควอนตัมเหล่านี้ทรงพลัง
  • 6:03 - 6:05
    ไม่ใช่เพียงเพื่อชนะเกมเหรียญ
  • 6:06 - 6:09
    แต่เพื่อสร้างเทคโนโลยีควอนตัม
    ในอนาคตอีกด้วย
  • 6:09 - 6:13
    จึงขอยกตัวอย่างศักยภาพในการนำไปใช้
    สามตัวอย่าง
  • 6:13 - 6:14
    ที่อาจเปลี่ยนชีวิตของเราได้
  • 6:15 - 6:20
    ตัวอย่างแรก ความไม่แน่นอนเชิงควอนตัม
    อาจถูกนำไปใช้เพื่อสร้างรหัสส่วนตัว
  • 6:20 - 6:24
    สำหรับเข้ารหัสข่าวสาร
    ที่ถูกส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
  • 6:24 - 6:29
    เพื่อที่แฮกเกอร์จะไม่สามารถ
    แอบคัดลอกรหัสไปได้อย่างสมบูรณ์
  • 6:29 - 6:31
    เพราะความไม่แน่นอนเชิงควอนตัม
  • 6:32 - 6:36
    พวกเขาจะต้องทำลายกฎเกณฑ์ของควอนตัมฟิสิกส์
  • 6:36 - 6:37
    เพื่อเจาะรหัส
  • 6:38 - 6:42
    ดังนั้น การเข้ารหัสที่เจาะไม่ได้นี้
    กำลังถูกทดสอบอยู่โดยธนาคารต่าง ๆ
  • 6:42 - 6:44
    และสถาบันอื่น ๆ ทั่วโลก
  • 6:45 - 6:51
    ทุกวันนี้ เราใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมถึงกัน
    กว่า 17,000 ล้านเครื่องทั่วโลก
  • 6:52 - 6:55
    ลองจินตนาการถึงผลกระทบ
    ของการเข้ารหัสแบบควอนตัมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
  • 6:56 - 7:02
    ประการที่สอง เทคโนโลยีควอนตัมอาจเปลี่ยนโฉม
    บริหารสุขและการแพทย์
  • 7:02 - 7:08
    ตัวอย่างเช่น การออกแบบและวิเคราะห์โมเลกุล
    เพื่อการพัฒนาตัวยา
  • 7:08 - 7:10
    เป็นปัญหาที่ท้าทายในทุกวันนี้
  • 7:10 - 7:15
    นั่นก็เพราะว่า การอธิบาย
    และการคำนวณอย่างชัดเจน
  • 7:15 - 7:19
    ในเรื่องของคุณสมบัติเชิงควอนตัมทั้งหมด
    ของทุกอะตอมในโมเลกุลนั้น
  • 7:19 - 7:23
    เป็นงานที่คำนวณได้ยาก
    แม้แต่กับเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของเรา
  • 7:23 - 7:26
    แต่คอมพิวเตอร์ควอนตัมอาจทำได้ดีกว่า
  • 7:26 - 7:29
    เพราะมันทำงานโดยใช้
    คุณสมบัติควอนตัมอย่างเดียวกัน
  • 7:29 - 7:32
    กับโมเลกุลที่มันพยายาม
    จะจำลองการทำงาน
  • 7:32 - 7:36
    ดังนั้น การจำลองเชิงควอนตัมขนาดใหญ่ในอนาคต
    สำหรับการพัฒนาตัวยา
  • 7:36 - 7:40
    อาจนำไปสู่การรักษาโรคต่าง ๆ
    เช่น อัลไซเมอร์
  • 7:40 - 7:42
    ซึ่งส่งผลต่อชีวิตจำนวนมาก
  • 7:42 - 7:45
    และประการที่สาม ซึ่งเป็นการ
    ประยุกต์ใช้ควอนตัมที่ฉันชอบ
  • 7:45 - 7:50
    คือ การเคลื่อนย้ายข้อมูล
    จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
  • 7:50 - 7:53
    โดยไม่ต้องส่งข้อมูลนั้นในทางกายภาพ
  • 7:54 - 7:57
    ฟังดูเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์
    แต่มันเป็นไปได้
  • 7:57 - 8:01
    เพราะเอกลักษณ์ลื่นไหลของอนุภาคควอนตัม
  • 8:01 - 8:04
    สามารถเกี่ยวพันไปทั่ว
    ทั้งสถานที่และเวลา
  • 8:04 - 8:08
    ในลักษณะที่การเปลี่ยนแปลงอนุภาคหนึ่ง
  • 8:08 - 8:10
    สามารถส่งผลต่ออีกอนุภาคหนึ่งได้
  • 8:10 - 8:12
    และจะเกิดเป็นช่องทางของการเคลื่อนย้าย
  • 8:13 - 8:16
    เรื่องนี้ได้ถูกแสดงในห้องทดลอง
  • 8:16 - 8:19
    และอาจเป็นส่วนหนึ่ง
    ของอินเทอร์เน็ตควอนตัมในอนาคตได้
  • 8:19 - 8:23
    แม้เรายังไม่มีเครือข่ายแบบนั้นในตอนนี้
  • 8:23 - 8:25
    แต่ทีมงานของฉันกำลังทำงาน
    บนความเป็นไปได้เหล่านี้
  • 8:26 - 8:29
    โดยการจำลองเครือข่ายควอนตัม
    บนคอมพิวเตอร์ควอนตัม
  • 8:30 - 8:34
    ซึ่งเราได้ออกแบบและ
    วางวิธีการใหม่ ๆ บางอย่างที่น่าสนใจ
  • 8:34 - 8:40
    เช่น การเคลื่อนย้ายระหว่างผู้ใช้ต่าง ๆ
    ในเครือข่ายนั้น
  • 8:40 - 8:42
    และการส่งต่อข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
  • 8:42 - 8:44
    แม้แต่การลงคะแนนเสียงที่ปลอดภัย
  • 8:45 - 8:47
    มันจึงสนุกมากสำหรับฉัน
    ในฐานะที่เป็นนักฟิสิกส์ควอนตัม
  • 8:47 - 8:49
    ขอแนะนำวิชานี้อย่างยิ่ง
  • 8:49 - 8:51
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:51 - 8:54
    เราสามารถเป็นนักสำรวจ
    ในโลกมหัศจรรย์ควอนตัม
  • 8:54 - 8:57
    ใครจะรู้ว่าเราจะค้นพบการประยุกต์ใช้งาน
    ต่อไปในด้านไหน
  • 8:57 - 9:00
    เราต้องย่างก้าวอย่างระมัดระวัง
    และอย่างรับผิดชอบ
  • 9:00 - 9:02
    ขณะที่สร้างอนาคตควอนตัมของเรา
  • 9:03 - 9:05
    และสำหรับฉัน โดยส่วนตัวแล้ว
  • 9:05 - 9:10
    ฉันไม่ได้มองว่าควอนตัมฟิสิกส์เป็นเครื่องมือ
    ใช้สร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมเท่านั้น
  • 9:10 - 9:15
    ฉันมองคอมพิวเตอร์ควอนตัม
    เป็นหนทางสืบเสาะความลี้ลับของธรรมชาติ
  • 9:15 - 9:19
    และเผยโลกที่ซ่อนเร้นอยู่นอกการรับรู้ของเรา
    ให้กระจ่างยิ่งขึ้น
  • 9:19 - 9:21
    น่าประหลาดใจแค่ไหน
    ที่มนุษย์อย่างเรา
  • 9:21 - 9:24
    ซึ่งสามารถเข้าถึงจักรวาล
    ได้อย่างจำกัด
  • 9:24 - 9:27
    กลับมองเห็นได้ไกลกว่าขอบฟ้าของเรา
  • 9:27 - 9:30
    เพียงแค่ใช้จินตนาการ
    และอัจฉริยภาพ
  • 9:30 - 9:33
    และจักรวาลก็ให้รางวัลกับเรา
  • 9:33 - 9:36
    โดยการแสดงให้เห็นว่า มันน่าสนใจ
    และน่าประหลาดใจอย่างเหลือเชื่อเพียงไหน
  • 9:37 - 9:41
    อนาคตนั้น โดยพื้นฐานแล้วไม่แน่นอน
  • 9:41 - 9:44
    แต่สำหรับฉันแล้ว
    นั่นคือความตื่นเต้นอย่างแท้จริง
  • 9:44 - 9:45
    ขอบคุณค่ะ
  • 9:46 - 9:52
    (เสียงปรบมือ)
Title:
อธิบายการคำนวณเชิงควอนตัมใน 10 นาที
Speaker:
โชฮินิ โกส (Shohini Ghose)
Description:

คอมพิวเตอร์ควอนตัมไม่ได้เป็นเพียงคอมพิวเตอร์ทรงพลังรูปแบบหนึ่ง แต่มันเป็นอีกสิ่งหนึ่งอย่างสิ้นเชิง เมื่อพิจารณากันตามองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นใหม่ และมากไปกว่าชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่ไม่แน่นอน เข้าสู่โลกมหัศจรรย์ของควอนตัมกับ TED Fellow โชฮินิ โกส และเรียนรู้ว่าเทคโนโลยีนี้ได้โอบอุ้มศักยภาพที่จะแปรเปลี่ยนวงการแพทย์ ที่จะสร้างการเข้ารหัสที่เจาะไม่ได้ หรือแม้แต่การเคลื่อนย้ายข้อมูลแบบไร้กายภาพ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:04
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for A beginner's guide to quantum computing
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A beginner's guide to quantum computing
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for A beginner's guide to quantum computing
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for A beginner's guide to quantum computing
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for A beginner's guide to quantum computing
yamela areesamarn edited Thai subtitles for A beginner's guide to quantum computing
yamela areesamarn edited Thai subtitles for A beginner's guide to quantum computing
yamela areesamarn edited Thai subtitles for A beginner's guide to quantum computing
Show all

Thai subtitles

Revisions