Return to Video

เราสามารถคิดค้นวัคซีนออกมาได้รวดเร็วเพียงใด- แดน ควอร์ทเลอร์

  • 0:07 - 0:09
    เมื่อใดก็ตามที่เชื้อก่อโรคใหม่อุบัติขึ้น
  • 0:09 - 0:12
    ร่างกายและภูมิคุ้มกันของเรา
    ก็จะตกอยู่ในอันตราย
  • 0:12 - 0:16
    เราจึงต้องการวัคซีนอย่างเร่งด่วน
    ในเวลาคับขันเช่นนี้
  • 0:16 - 0:19
    เพื่อที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้ทั่วถึง
    และลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้น้อยที่สุด
  • 0:19 - 0:24
    แล้วเราพัฒนาวัคซีนได้เร็วแค่ไหน
    ในเวลาที่เราต้องการมันมากที่สุด
  • 0:24 - 0:28
    โดยทั่วไปแล้ว การพัฒนาวัคซีน
    สามารถแบ่งออกได้เป็นสามระยะ
  • 0:28 - 0:32
    ในการค้นคว้าวิจัย
    นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองวิธีการต่าง ๆ
  • 0:32 - 0:35
    เพื่อที่จะค้นหารูปแบบวัคซีน
    ที่ทั้งปลอดภัยและสามารถทำซ้ำได้
  • 0:35 - 0:39
    เมื่อวัคซีนถูกนำมาทดสอบภายในห้องปฎิบัติการ
    มันได้ผ่านสู่ขั้นการทดสอบทางคลินิก
  • 0:39 - 0:44
    ซึ่งวัคซีนจะถูกประเมินในด้านความปลอดภัย,
    ประสิทธิภาพ, และผลข้างเคียง
  • 0:44 - 0:47
    ในกลุ่มประชากรต่าง ๆ
  • 0:47 - 0:50
    ขั้นตอนสุดท้าย
    วัคซีนจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการผลิต
  • 0:50 - 0:54
    ซึ่งวัคซีนจะถูกผลิต
    และกระจายออกสู่ท้องตลาด
  • 0:54 - 0:59
    ตามปกติแล้ว กระบวนการดังกล่าว
    ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 15 - 20 ปี
  • 0:59 - 1:03
    แต่ในช่วงที่มีการระบาด
    นักวิจัยจะงัดสารพัดยุทธวิธีออกมาใช้
  • 1:03 - 1:06
    เพื่อย่นระยะเวลา
    ในแต่ละขั้นตอนให้สั้นที่สุด
  • 1:06 - 1:10
    บางที การขั้นตอนการวิจัย
    อาจจะเป็นขั้นตอนที่ยืดหยุ่นที่สุด
  • 1:10 - 1:13
    เป้าหมายของระยะนี้
    คือการเฟ้นหาวิธีที่ปลอดภัย
  • 1:13 - 1:17
    ในการก่อภูมิคุ้มกันของเรา
    ด้วยไวรัสและแบคทีเรีย
  • 1:17 - 1:21
    วิธีนี้เป็นการป้อนข้อมูล
    ที่สำคัญต่อการสร้างแอนติบอดี
  • 1:21 - 1:24
    เพื่อที่ร่างกายของเรา
    สามารถต่อสู้กับการติดเชิ้อจริงได้
  • 1:24 - 1:28
    การกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
    ที่ปลอดภัยมีอยู่หลากหลายวิธีด้วยกัน
  • 1:28 - 1:33
    แต่โดยทั่วไป การออกแบบที่ดีที่สุด
    ก็ใช้เวลาในการผลิตนานมาก
  • 1:33 - 1:37
    วัคซีนที่ทำจากเชื้ออ่อนฤทธิ์
    สามารถก่อภูมิที่คงทนอยู่ได้นาน
  • 1:37 - 1:40
    แต่เราต้องสร้างมัน
    จากเชื้อสายพันธุ์ที่อ่อนฤทธิ์
  • 1:40 - 1:45
    ที่ต้องเลี้ยงเป็นเวลานาน
    ในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตที่มิใช่มนุษย์
  • 1:45 - 1:48
    วัคซีนที่ทำจากเชื้อที่ตายแล้ว
    ใช้เวลาสั้นกว่าในการผลิต
  • 1:48 - 1:54
    โดยใช้ด้วยความร้อน,
    กรด, หรือรังสี เพื่อทำให้เชื้อโรคอ่อนแรงลง
  • 1:54 - 1:58
    วัคซีนจากบางส่วนของเชื้อ ซึ่งทำจาก
    ส่วนโปรตีนที่ไม่เป็นอันตรายของไวรัส
  • 1:58 - 2:00
    ก็สามารถถูกทำขึ้นได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน
  • 2:00 - 2:05
    ทว่า เทคนิคที่รวดเร็วกว่าเหล่านี้
    ให้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพคงทนต่ำกว่า
  • 2:05 - 2:08
    นี่เป็นการออกแบบวัคซีนเพียงสามชนิด
    ในบรรดาการออกแบบวัคซีนมากมาย
  • 2:08 - 2:11
    ซึ่งแต่ละแบบก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
  • 2:11 - 2:14
    ไม่มีวิธีการใดที่จะสามารถยืนยันได้ว่า
    มันจะได้ผล
  • 2:14 - 2:17
    และไม่ว่าจะวัคซีนแบบใด
    ก็ต้องการการวิจัยที่ใช้เวลายาวนาน
  • 2:17 - 2:20
    ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการเร่งกระบวนการ
    ก็คือต้องให้สถาบันวิจัยต่าง ๆ
  • 2:20 - 2:23
    วิจัยพัฒนาวัคซีน
    ในรูปแบบที่แตกต่างกันไปพร้อมกัน
  • 2:23 - 2:26
    ยุทธศาสตร์แข่งขันชิงชัยนี้
  • 2:26 - 2:30
    ได้ผลิตวัคซีนซิกาที่สามารถทดสอบได้
    เป็นครั้งแรก ภายในเวลา 7 เดือน
  • 2:30 - 2:35
    และวัคซีนโควิด 19 ที่สามารถ
    ทดสอบได้เป็นครั้งแรก ในเวลาเพียง 42 วัน
  • 2:35 - 2:39
    วัคซีนที่จำไปทดสอบได้
    ไม่ได้หมายถึงวัคซีนนั้นจะใช้ได้จริง
  • 2:39 - 2:42
    แต่รูปแบบที่ได้รับการพิจารณาแล้วว่าปลอดภัย
    และง่ายต่อการทำซ้ำ
  • 2:42 - 2:47
    สามารถถูกเข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบทางคลินิก
    ในขณะที่การวิจัยอื่น ๆ ถูกทำคู่ขนานกันไป
  • 2:47 - 2:52
    ไม่ว่าวัคซีนที่สามารถทดสอบได้
    จะถูกผลิตออกมาในเวลาสี่เดือนหรือสี่ปี
  • 2:52 - 2:57
    ขั้นถัดไปมักจะเป็นขั้นตอนที่ยาวนานที่สุด
    และคาดการณ์ไม่ได้ที่สุดในการพัฒนา
  • 2:57 - 3:02
    การทดสอบทางคลินิกมีสามระยะ
    แต่ละระยะมีหลายการทดสอบ
  • 3:02 - 3:07
    ระยะที่หนึ่ง มุ่งเน้นไปที่ระดับการตอบสนอง
    ของภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้น
  • 3:07 - 3:11
    และพยายามจะพิสูจน์ว่า
    วัคซีนนั้นปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
  • 3:11 - 3:15
    ระยะที่สอง เน้นการพิจารณาปริมาณ
    และตารางเวลาให้ยาที่เหมาะสม
  • 3:15 - 3:17
    กับกลุ่มประชากรในวงกว้างขึ้น
  • 3:17 - 3:20
    และระยะที่สาม ประเมินความปลอดภัย
  • 3:20 - 3:24
    ในกลุ่มประชากรชุดแรกที่ใช้วัคซีน
  • 3:24 - 3:28
    ขณะที่ทำการระบุผลข้างเคียง
    และผลตอบสนองที่เป็นลบที่หายากไปด้วย
  • 3:28 - 3:32
    ด้วยจำนวนตัวแปร
    และเป้าหมายที่ต้องการความปลอดภัยระยะยาว
  • 3:32 - 3:36
    มันยากมากที่จะเร่ง
    กระบวนการทดสอบทางคลินิก
  • 3:36 - 3:39
    ในสถานการณ์ขั้นวิกฤติ
    นักวิจัยจะทำการทดสอบหลายอย่าง
  • 3:39 - 3:42
    พร้อมกันในการทดสอบระยะเดียวกัน
  • 3:42 - 3:46
    แต่พวกเขายังต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ความปลอดภัย
    ที่เข้มงวดก่อนที่จะดำเนินการต่อไปได้
  • 3:46 - 3:50
    บางครั้ง สถาบันวิจัยอาจเร่งกระบวนการนี้
    ด้วยการใช้ประโยชน์
  • 3:50 - 3:53
    จากการรักษาที่ได้รับการรับรองมาก่อนหน้านี้
  • 3:53 - 3:59
    ในปี ค.ศ. 2009 นักวิจัยได้ปรับใช้
    วัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลมาใช้รักษา H1N1
  • 3:59 - 4:04
    ทำให้สามารถผลิตวัคซีนที่เข้าถึงได้ทั่วไป
    ในเวลาเพียงหกเดือน
  • 4:04 - 4:08
    อย่างไรก็ตาม เทคนิคนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อ
    เรากำลังเผชิญหน้ากับเชื้อก่อโรคที่คุ้นเคย
  • 4:08 - 4:12
    ที่มีการออกแบบวัคซีนมาเป็นอย่างดีแล้ว
  • 4:12 - 4:17
    หลังจากความสำเร็จในการทดสอบระยะที่สาม
    หน่วยงานควบคุมกำกับของรัฐ
  • 4:17 - 4:21
    จะตรวจสอบและอนุมัติ
    วัคซีนที่ปลอดภัยสำหรับการผลิต
  • 4:21 - 4:26
    ส่วนประกอบทางชีววิทยาและทางเคมี
    ของวัคซีนแต่ละตัวมีความจำเพาะ
  • 4:26 - 4:29
    ที่จำต้องมีวิธีการผลิตที่จำเพาะ
  • 4:29 - 4:32
    เพื่อที่จะเริ่มการผลิตให้เร็วที่สุด
    ทันทีที่วัคซีนได้รับการอนุมัติ
  • 4:32 - 4:38
    แผนการผลิตต้องถูกออกแบบคู่ขนาน
    มากับการทำวิจัยและทดสอบ
  • 4:38 - 4:42
    สิ่งนี้ต้องอาศัยการประสานงานต่อเนื่อง
    ระหว่างสถาบันวิจัยและผู้ผลิต
  • 4:42 - 4:47
    รวมถึงทรัพยากรที่จะนำมาปรับใช้
    เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของวัคซีนกระทันหัน
  • 4:47 - 4:51
    แม้ว่านั่นจะหมายถึงการเสียเวลา
    ทำงานไปเป็นแรมเดือน
  • 4:51 - 4:54
    เมื่อเวลาผ่านไป ความก้าวหน้า
    ในงานในระดับวิจัยเชิงสำรวจและการผลิต
  • 4:54 - 4:57
    ควรจะทำให้กระบวนการนี้รวดเร็วขึ้น
  • 4:57 - 4:59
    การศึกษาเบื้องต้นระบุว่านักวิจัยในอนาคต
  • 4:59 - 5:03
    อาจสามารถสับเปลี่ยนสารพันธุกรรม
    จากเชื้อไวรัสที่แตกต่างกัน
  • 5:03 - 5:06
    มาออกแบบให้อยู่ในวัคซีนตัวเดียวกันก็ได้
  • 5:06 - 5:11
    วัคซีนชนิด DNA และ mRNA นี้
    อาจเร่งการผลิตวัคซีน
  • 5:11 - 5:14
    ทั้งสามระยะของการผลิตวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว
  • 5:14 - 5:16
    แต่จนกว่าจุดเปลี่ยนนั้นจะมาถึง
  • 5:16 - 5:20
    ยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดคือ
    การให้สถาบันวิจัยทั่วโลกร่วมมือกัน
  • 5:20 - 5:23
    และทำงานแบบคู่ขนาน
    ด้วยวิธีการวิจัยที่ต่างกัน
  • 5:23 - 5:25
    ด้วยการแบ่งปันความรู้และทรัพยากร
  • 5:25 - 5:29
    นักวิทยาศาสตร์ก็จะสามารถ
    มีชัยเหนือเชื้อร้ายได้ทุกชนิด
Title:
เราสามารถคิดค้นวัคซีนออกมาได้รวดเร็วเพียงใด- แดน ควอร์ทเลอร์
Speaker:
แดน ควอร์ทเลอร์ (Dan Kwartler)
Description:

รับชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/how-fast-can-a-vaccine-be-made-dan-kwartler

เมื่อใดก็ตามที่เชื้อก่อโรคใหม่อุบัติขึ้น ร่างกายและภูมิคุ้มกันของคนเราก็จะตกอยู่ในอันตราย และยามใดที่เชื้อร้ายนี้ลุกลามกลายเป็นโรคระบาด ก็จะเกิดความต้องการอย่างเร่งด่วนในการใช้วัคซีนเพื่อที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้ครอบคลุมทั่วถึงและลดการสูญเสียชีวิตให้น้อยที่สุด แล้วเราจะสามารถพัฒนาวัคซีนได้รวดเร็วเพียงใด ในเวลาที่เราต้องการมันมากที่สุด?
แดน ควอร์ทเลอร์ อธิบายขั้นตอนทั้งสามระยะในการคิดค้นพัฒนาวัคซีน

บทเรียนโดย แดน ควอร์ทเลอร์ กำกับโดย Good Bad Habits

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:32
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How fast can a vaccine be made?
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for How fast can a vaccine be made?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How fast can a vaccine be made?
Natthaphan-on K edited Thai subtitles for How fast can a vaccine be made?
Natthaphan-on K edited Thai subtitles for How fast can a vaccine be made?
Vera Chicharito edited Thai subtitles for How fast can a vaccine be made?
Vera Chicharito edited Thai subtitles for How fast can a vaccine be made?
Vera Chicharito edited Thai subtitles for How fast can a vaccine be made?
Show all

Thai subtitles

Revisions