ยังคงมีกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม: เราควรยอมปฏิบัติตามกฎหมายนั้น หรือพยายามแก้ไข และปฏิบัติตามไปจนกว่าจะแก้สำเร็จ หรือควรปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นทันที เฮนรี เดวิด ทอโร ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ข่าว บันเทิง และสังคม "เรดดิต" เสียชีวิตแล้ว เขาเป็นอัจฉริยะแน่นอน แม้ว่าจะไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็น เขาไม่ตื่นเต้นเอาซะเลย ที่จะทำธุรกิจหรือปั๊มเงิน ค่ำคืนนี้ ผู้คนในฮอลแลนด์พาร์ค บ้านเกิดของแอรอน ชวาร์ทส รู้สึกถึงการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ขณะที่คนใกล้ชิดกล่าวอำลาผู้ส่องแสงสว่างเจิดจ้าที่สุดคนหนึ่งของอินเตอร์เน็ต นักกิจกรรมด้านอิสรภาพ การเปิดกว้างข้อมูล และคอมพิวเตอร์ ต่างอาลัยกับการสูญเสียเขา "คนเก่งที่น่าทึ่ง" หากคุณพูดกับคนที่รู้จักเขา เขาถูกรัฐบาลฆ่า ส่วนเอ็มไอทีก็ทรยศต่อหลักการพื้นฐานทั้งหมดของตัวเอง พวกเขาต้องการให้แอรอนเป็นกรณีตัวอย่าง รัฐบาลต้องการควบคุมไม่มีที่่สิ้นสุด แอรอนมีโอกาสถูกจำคุก 35 ปีและถูกปรับ 1 ล้านเหรียญ ความกระหายที่จะดำเนินคดี ซึ่งผมอยากจะใช้คำว่า "ประพฤติมิชอบ" ด้วยซ้ำ แล้วคุณได้ผลสรุปจากการสอบสวนเรื่องนี้หรือยัง ตอนที่กำลังโต ผมรู้สึกว่าสิ่งที่ผู้คนทั้งหลายรอบตัวบอกผม ว่าเป็นเรื่องธรรมดา ที่ทุกอย่างเป้นอย่างนี้ หรือควรเป้นอย่างนี้ เป้นเรื่องที่ไม่เป็นธรรมชาติเลย เราเปลี่ยนมันได้ และที่สำคัญยิ่งกว่า คือ มีเรื่องที่ผิดและสมควรเปลี่ยน เมื่อผมเข้าใจตรงนี้ ก็ไม่่มีการหันหลังกลับต่อไป ขอต้อนรับสู่ช่วงเวลาอ่านหนังสือ หนังสือเล่มนี้ชื่อ "หมีแพดดิ้งตันที่งานวัด" เขาเกิดและโตที่ไฮแลนด์พาร์ค แอรอนมาจากครอบครัวพี่น้องผู้ชาย 3 คน ทุกคนฉลาดล้ำ "...กล่องคว่ำแล้ว..." [เด็กๆ ร้องลั่น] เราไม่ใช่เด็กเรียบร้อยเท่าไหร่ ก็..เด็กผู้ชาย 3 คน วิ่งวนไปมา ชนนี่ เตะโน่น... "เฮ้ย...อย่า อย่า อย่า" -แอรอน -หือ แต่ผมรู้ในเวลาต่อมาว่าแอรอนรู้ว่าจะเรียนรู้ยังไงตอนเป็นเด็กเล็ก "1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10!" -ป๊อก ป๊อก! -ใครน่ะ -แอรอน -ใครล่ะ แอรอน -แอรอน ดาวตลก เขารู้ตัวว่าต้องการอะไรและอยากทำสิ่งนั้น และมักทำสิ่งที่ต้องการจนสำเร็จ เขาอยากรู้อยากเห็นไม่รู้จบ "นี่คือรูปดาวเคราะห์ แต่ละดวงจะมีสัญลักษณ์" สัญลักษณ์ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส... วันหนึ่ง เขาถามซูซาน "ความบันเทิงฟรีสำหรับครอบครัว กลางเมืองไฮแลนด์พาร์ค หมายความว่าอะไร" "ความบันเทิงฟรีสำหรับครอบครัว กลางเมืองไฮแลนด์พาร์ค" เขาแค่ 3 ขวบเองตอนนั้น เธอถามว่า "ลูกกำลังพูดถึงอะไร" แอรอนตบอก "นี่ไง มันเขียนไว้ตรงตู้เย็น" "ความบันเทิงฟรีสำหรับครอบครัว กลางเมืองไฮแลนด์พาร์ค" เธออึ้งไปเลย ได้แต่งง ว่าเขาอ่านหนังสือออก นี่คือ "งานเลี้ยงเซเดอร์ของครอบครัวฉัน" "คืนที่มีงานเซเดอร์ต่างจากคืนอื่น" ผมจำได้ มีอยู่่ครั้งหนึ่ง เราอยู่ที่ห่้องสมุดของมหาวิทยาลัยชิคาโก ผมดึงหนังสือออกมาจากหิ้ง หนังสือตั้งแต่ปี 1900 เอาให้เขาดู พลางบอกว่า "ห้องสมุดนี่เจ๋งจริงๆ" เราต่างเป็นเด็กอยากรู้อยากเห็น แต่แอรอนชอบเรียนรู้และชอบสอนมาก "...เราจะอ่านเอบีซีจากหลังไปหน้า" "แซด, วาย, เอ็กซ์, ดับบลิว, วี, ยู, ที..." ผมจำได้ เขากลับมาจากเรียนพีชคณิตครั้งแรก เขาพูดว่า "โนอา ฉันจะสอนพีชคณิตนาย" ผมได้แต่ถาม "แล้วพีชคณิตนี่มันอะไร" เขาเป็นอย่างนี้เสมอ "คราวนี้ กดปุ่มคลิก นั่นไง แล้วมันจะเป็นอย่างนี้" "ตอนนี้เป็นสีชมพูแล้ว" ตอนเขาอายุ 2 หรือ 3 ขวบ บ๊อบสอนให้เขารู้จักคอมพิวเตอร์ครั้งแรก เขาคลั่งใคล้มันมาก [พูดแบบเด็ก] เราทุกคนมีคอนพิวเตอร์ แต่แอรอนคลั่งคอมพ์และอินเตอร์เน็ตมาก -เล่นคอมพิวเตอร์เหรอ -ไม่อ่ะ "แม่ครับ...ทำไมมันไม่ทำงานครับ" เขาเริ่มเขียนโปรแกรมตั้งแต่เด็ก ผมจำได้ โปรแกรมแรกที่ผมเขียนกับเขาเป็นภาษาเบสิก เป็นเกมคำถาม-ตอบเกี่ยวกับหนังเรื่องสตาร์วอร์ เรานั่งด้วยกันที่ชั้นใต้ดิน ที่ๆ เราตั้งคอมพิวเตอร์ เขียนโปรแกรมด้วยกัน 4 ชั่วโมง ปัญหาที่ผมมีกับเขาคือสำหรับผม ไม่เห็นมีอะไรที่ผมอยากทำให้เสร็จ แต่เขาต้องทำอะไรบางอย่างเสมอ มีอะไรบางอย่างทุกครั้งที่โปรแกรมจะแก้ไขได้ แอรอนเห็นว่าการเขียนโปรแกรมเป็นสิ่งมหัศจรรย์ คุณทำเรื่องพวกนี้ได้ เรื่องที่คนธรรมดาทำไม่ได้ แอรอนสร้างตู้เอทีเอ็มด้วยเครื่องแมคอินทอชและกล่องกระดาษ วันฮาโลวีนปีนึง ผมไม่รู้ว่าจะแต่งเป็นตัวอะไรดี เขาคิดว่ามันจะฟินมากถ้าผมแต่งเป็นคอมพ์ตัวใหม่เครื่องโปรดของเขา ซึ่งตอนนั้น คือไอแมค รุ่นแรก คือ เขาไม่ชอบแต่งตัวในวันฮาโลวีน แต่ชอบให้คนอื่น แต่งเป็นตัวที่เขาอยากดู "พิธีกรคุณแอรอน หยุด หยุด น่าน.. มองกล้องหน่อย!" "สไปเดอร์แมนมองกล้อง" เขาสร้างเว็บไซต์นี้ ชื่อ "ดิอินโฟ" ให้คนกรอกข้อมูลถ้าต้องการ ผมรู้ว่ามีใครสักคนที่รู้เรื่องทอง เรื่องทองคำเปลว ทำไมไม่มีใครเขียนเรื่องนี้ในเว็บนี้ คนอื่นที่เข้ามา จะได้อ่าน และแก้ไขหากเขาคิดว่ามันแย่ ไม่ต่างจากวิกิพีเดียเลย ใช่ไหม และนี่คือยุคก่อนมีวิกิพีเดีย พัฒนาโดยเด็กอายุ 12 ในห้องเขา ด้วยตัวเอง ด้วยเซิร์ฟเวอร์ตัวเล็ก เทคโนโลยียุคหิน และนี่คือปฏิกิริยาของครูคนหนึ่ง "เป็นความคิดที่แย่มาก เธอไม่ควรให้ใครก็ได้มาเขียนสารานุกรม" ที่เราต้องมีนักวิชาการก็เพื่อเขียนหนังสือให้เราอ่าน เธอมีความคิดแย่ๆ นี่ได้ไง" ผมกับน้องชายอีกคนพูดว่า "เอ่อ วิกิพีเดียก็เท่อยู่นะ แต่...." "เรามีอย่างนี้ในบ้านตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว" เว็บไซต์ของแอรอน คือ theinfo.org ได้รับรางวัลระดับโรงเรียน ในการแข่งขันที่จัดโดย ArsDigita บริษัทออกแบบเว็บในเคมบริดจ์ เรายกขบวนไปเคมบริดจ์กันตอนเขาได้รางวัล ArsDigita ไม่รู้เลยว่าแอรอนกำลังทำอะไรอยู่ แต่ที่เห็นได้ชัดคือรางวัลนี้สำคัญมาก ไม่นาน แอรอนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนคนเขียนโปรแกรมออนไลน์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ระหว่างการคิดค้นเครื่องมือใหม่ให้กับเว็บ เขาเดินมาหาผมและบอกว่า "เบน ฉันกำลังทำงานอย่างหนึ่งที่สุดยอดมากๆ" "นายต้องอยากรู้ว่ามันคืออะไร" "เอาสิ แล้วมันคืออะไรล่ะ" "เราเรียกว่า RSS" เขาอธิบายให้ผมฟังว่า RSS คืออะไร ผมถาม "แล้วมีประโยชน์ยังไงล่ะ" "มีไซต์ไหนที่ใช้ RSS แล้วทำไมฉันต้องใช้ไอ้นี้ด้วย" มีรายชื่อเมล์ของคนที่ทำงาน RSS และ XML หนึ่งในนั้น มีคนชื่อแอรอน สวาร์ทช ซึ่งสู้ไม่ถอยและฉลาดมาก เป็นคนมีไอเดียเจ๋งๆ เยอะ แต่ไม่เคยเข้าประชุมตัวเป็นๆ เลย มีคนถามว่า "เมื่อไรจะไปร่วมประชุมแบบคุยกันตรงๆ ซักทีล่ะ" เขาตอบว่า "แม่คงไม่ยอม เพราะผมเพิ่ง 14" ปฏิกิริยาแรกของคนพวกนี้คือ "คนนี้ เพื่อนคุณน่่ะ คนที่เราทำงานด้วยทั้งปี เขาอายุ 13 ตอนเราทำงานด้วยกัน ตอนนี้ เขาแค่ 14 เอง" ปฏิกิริยาที่ 2 ของพวกเขาคือ "พระเจ้าช่วย เราอยากรู้จักเขาจริง ๆ สุโค่ย" แอรอนเป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้ร่าง RSS สิ่งที่เขาทำคือช่วยสร้างโครงร่างให้กับไฮเปอร์เท็กซ์แบบใหม่ RSS ที่เขาคิดค้นเป็นเครื่องมือช่วยให้เราได้บทสรุป ของเรื่องราวบนหน้าเว็บอื่น ที่ใช้กันทั่วไปที่สุด คือการใช้ RSS กับบล็อก คุณมีบล็อกของคน 10-20 คนที่อยากอ่าน เราก็แค่ใช้ RSS ฟีด ซึ่งจะสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นบนหน้าเว็บอื่น และเรียงลำดับเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้น แอรอนยังเด็กมาก แต่เข้าใจเทคโนโลยีและเห็นว่ามันยังไม่สมบูรณ์ เขามองหาหนทางทำให้ดีขึ้น แม่เขาจึงส่งตัวแอรอนขึ้นเครื่องจากชิคาโก เราไปรับเขาที่ซานฟรานซิสโก เราแนะนำแอรอนกับคนที่อยากจะโต้กับเขา และก็ได้แต่ทึ่งกับนิสัยการกินยอดแย่ของเขา แอรอนกินอาหารสีขาวเท่านั้น เข่น ข้าวสวย ไม่เอาข้าวผัดนะ เพราะยังไม่ขาวพอ ขนมปังขาว และอื่นๆ... แต่คุณได้แต่ทึ่งกับการโต้ตอบที่เกิดขึ้น จากสิ่งที่ดูเหมือนจะออกจากปากของเด็กผู้ชายตัวเล็กๆ แล้วคุณก็คิดว่า เด็กคนนี้ต้องไปถึงไหนๆ สักแห่งแน่ หากไม่ตายไปซะก่อนเพราะไม่ยอมกินผักผลไม้ แอรอน ถึงตาคุณแล้ว ผมคิดว่าความแตกต่างก็คือคุณไม่สามารถตั้งบริษัทแบบดอทคอม คุณไม่สามารถตั้งบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแค่ขายอาหารหมาทางอินเตอร์เน็ตหรือทางโทรศัพท์ มีนวัตกรรมหลายอย่างเกิดขึ้นในขณะนี้ ผมคิดว่าถ้าคุณมองไม่เห็นนวัตกรรมนี้ เป็นไปได้ว่าหัวคุณกำลังจมปลักอยู่ในกองทราย เขาพูดด้วยบุคลิกภาพแบบพวกเนิร์ดที่ก้าวร้าว เหมือนจะบอกว่า "ฉันฉลาดกว่าคุณ และเพราะฉันฉลาดกว่าคุณ ฉันก็เลยดีกว่าคุณ ฉันจึงบอกคุณได้ว่าต้องทำอะไร" ยังกะว่าเป็นอีกภาคหนึ่งของเขาที่เป็นคนขี้รำคาญ คุณเอาคอมพิวเตอร์พวกนี้มารวมกัน ตอนนี้ มันกำลังแก้ปัญหาใหญ่ๆ เช่น มองหามนุษย์ต่างดาวหรือหาทางรักษามะเร็ง ผมพบเขาครั้งแรกใน IRC ซึ่งเป็นห้องแชทรูมทางอินเตอร์เน็ต แอรอนไม่เพียงแต่เขียนรหัส แต่ยังทำให้เราตื่นเต้นด้วยการแก้ปัญหาที่มี เขาเป็นตัวเชื่อมต่อ การทำงานแบบเปิดกว้างได้อะไรเยอะจากพลังของเขา ผมคิดว่าแอรอนพยายามทำให้โลกใบนี้มันโอเค เขาพยายามแก้ปัญหาโลก เขามีบคุลิกภาพที่แข็งซึ่งก็ย่อมทำให้ผู้คนไม่พอใจบ้าง แต่เขาเองก็ใช่ว่าจะรู้สึกลื่นไหลไปกับโลกใบนี้เสมอไป และโลกก็ไม่ได้ไหลลื่นไปกับเขาในทุกกรณี เมื่อถึงเวลาไปโรงเรียนมัธยม เขารู้สึกเบื่อโรงเรียนสุดๆ เขาไม่ชอบโรงเรียนเอาซะเลย ไม่ชอบวิชาที่สอนสักวิชา ไม่ชอบครู แอรอนรู้จริงว่าจะเอาข้อมูลมาได้อย่างไร เขาจะพูดว่า "ฉันไม่จำเป็นต้องไปหาครูคนนี้เพื่อเรียนวิธีทำเรขาคณิต" ฉันอ่านแค่หนังสือเรขาคณิตก็พอแล้ว และฉันไม่จำเป็นต้องไปเรียนประวัติศาสตร์อเมริกันแง่มุมนี้กับครูคนนี้ เขาจะพูดว่า ฉันมีประวัติศาตร์ 3 ฉบับในมือ แค่อ่านทั้งหมดก็พอ และฉันไม่สนใจเรื่องพวกนี้ ฉันสนใจเว็บ ผมหงุดหงิดกับโรงเรียนมาก ผมคิดว่าครูไม่รู้ว่าเขากำลังพูดอะไร พวกเขาต้องการอยู่เหนือเรา ควบคุมเรา การบ้านก็เป็นเรื่องหลอกลวงทั้งเพ เขาล้อมเราไว้ในคอกด้วยกันและบังคับให้เราทำงาน ผมเริ่มอ่านหนังสือประวัติศาสตร์การศึกษา และการพัฒนาระบบการศึกษา รวมทั้งทางเลือกและวิธีที่ผู้คนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างแท้จริง แทนที่จะเป็นการท่องจำข้อเท็จจริงที่ครูบอก ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้ผมเลือกตั้งคำถาม ผมตั้งคำถามโรงเรียนที่เรียน สังคมที่สร้างโรงเรียน ธุรกิจที่โรงเรียนฝึกคนออกไปทำงานให้ ผมตั้งคำถามกับรัฐที่จัดตั้งโครงสร้างพวกนี้ทั้งหมด สิ่งหนึ่งที่เขาหลงใหลมากที่สุดคือเรื่องลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะช่วงต้นๆ ลิขสิทธิเป็นภาระของธุรกิจสิ่งพิมพ์และคนอ่านเตลอดมา แต่มันไม่ได้เป็นภาระจนเกินจะแบกรับ มันเป็นสถาบันที่สมเหตุผล ตั้งขึ้นมาให้ผู้คนได้รับเงินจากการทำงาน สิ่งที่คนในยุคของแอรอนรู้สึกคือการปะทะกันระหว่างระบบลิขสิทธิที่โบราณ กับสิ่งใหม่ที่พยายามสร้างกันขึ้นมา ซึ่งก็คืออินเตอร์เน็ตและเว็บ ทั้งสองอย่างเผชิญหน้ากัน เหลือไว้แต่ความโกลาหลให้เราเห็น เขามีโอกาสพบลอว์เรนซ์ เลสซิก ศาสตราจารย์กฎหมายแห่งม. ฮาร์วาร์ด ซึ่งท้าทายกฎหมายลิขสิทธิในศาลฎีกาขณะนั้น หนุ่มน้อยแอรอนบินไปวอชิงตันเพื่อฟังการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ผมชื่อแอรอน ชาวร์ทส ผมมาที่นี่เพื่อฟังคดีแอลเดร็ด เพื่อดูว่าเอลเดร็ดใช้อะไรในการโต้ ทำไมคุณถึงบินจากชิคาโกมาที่นี่ คุณมาไกลขนาดนี้เพื่อมาดูว่าเขาโต้เถียงอย่างไรนะหรือ คำถามนี้ตอบยากฮะ... ไม่รู้สิ การได้เห็นศาลฎีกาเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมาก โดยเฉพาะในคดีชั้นนำอย่างคดีนี้ เลสซิกพยายามผลักดันแนวทางใหม่ในการจำกัดความคำว่าลิขสิทธิในอินเตอร์เน็ต ซึ่งเรียกว่า งานสร้างสรรค์ส่วนรวม (Creative Commons) หลักการง่ายๆ ของงานสร้างสรรค์ส่วนรวม คือให้โอกาสผู้รังสรรค์งาน กำหนดขอบเขตเสรีภาพที่เขาต้องการกับงานของตน กล่าวคือ หากลิขสิทธิหมายถึง"สงวนสิทธิทั้งหมด" แนวคิดนี้คือ การ "สงวนแค่สิทธิบางอย่าง" เท่านั้น ผมอยากได้วิธีง่ายๆ ที่จะบอกคุณได้ว่า "นี่คือวิธีที่คุณสามารถใช้งานผม แม้มีอย่างอื่นที่คุณต้องขออนุญาตผมก่อนจะลงมือทำ" บทบาทของแอรอนในงานนี้คือส่วนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น จะออกแบบใบอนุญาตสิทธิให้มันง่ายและเข้าใจได้ รวมทั้งเขียนออกมาในรูปแบบที่เครื่องสามารถประมวล ได้อย่างไร ผู้คนถามว่า "คุณปล่อยให้เด็กอายุ 15 กำหนดสเป็คของงานสร้างสรรค์ส่วนรวมได้อย่างไร ไม่คิดเหรอว่านี่เป็นความผิดพลาด" แลร์รี่จะตอบว่า "ความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่อาจเกิดขึ้นก็คือเราไม่ได้ฟังเสียงเด็กคนนี้" ตัวเขาสูงไม่พ้นแท่นโพเดียมบนเวทีด้วยซ้ำ โพเดียมเคลื่อนที่ได้ตัวนี้ ทำให้เกิดเรื่องน่าอาย เพราะพอเขาเปิดหน้าจอ ทุกคนจึงมองไม่เห็นหน้าเขา และถ้าคุณเข้ามาที่เว็บไซต์เรา ไปที่ "เลือกใบอนุญาตให้ใช้สิทธิ" คุณจะได้รายการตัวเลือก ซึ่งจะอธิบายความหมาย คุณจะเห็นคำถามง่ายๆ 3 คำถาม "คุณต้องการให้มีการให้เครดิตหรือไม่" "คุณอนุญาตให้ใช้งานคุณในเชิงพาณิชย์หรือไม่" "คุณอนุญาตให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงงานของคุณหรือไม่" ฉันได้แต่อึ้ง พูดไม่ออกจริงๆ ที่ผู้ใหญ่พวกนี้เห็นว่าเขาเป็นผู้ใหญ่คนนึง แอรอนยืนต่อหน้าคนเต็มหอประชุม และเริ่มพูดถึง เรื่องแพลทฟอร์มที่เขาสร้างขึ้นมาเพื่องานสร้างสรรค์ส่วนรวม พวกเขานั่งฟังแอรอน ฉันนั่งอยู่ข้างหลัง คิดว่าเขาก็แค่เด็กคนหนึ่ง ทำไมคนพวกนี้ฟังเขานะ แต่พวกเขาก็ฟังแอรอน... ฉันเองก็ไม่เข้าใจเรื่องทั้งหมดหรอก แม้นักวิจารณ์จะบอกว่ามันไม่ได้จะทำให้ศิลปินได้รับเงินจากงานของเขาเท่าไหร่นัก แต่ความสำเร็จของงานสร้างสรรค์ส่วนร่วมก็ถือว่าใหญ่มาก ตอนนี้ แค่ในเว็บไซต์ Flickr เว็บเดียว คนกว่า 200 ล้านคนใช้ใบอนุญาตให้ใช้สิทธิของงานสร้างสรรค์ส่วนรวม แบบหนึ่งแบบใด แอรอนใช้ความสามารถทางเทคนิคของเขา แต่เรื่องเทคนิคไม่ใช่แค่เรื่องเดียวที่เขาใส่ใจ แอรอนมักเขียนในบล็อกส่วนตัวของเขาอย่างซื่อๆ ว่า: ผมคิดถึงเรื่องต่างๆ อย่างลึกซึ้งและอยากให้คนอื่นทำอย่างนั้น ผมทำงานเพื่อให้ได้ไอเดีย ผมเรียนรู้จากคนอื่น และไม่ต้องการแยกตัวเองจากคนอื่น ผมเป้นพวกไฝ่หาความสมบูรณ์แบบ แต่ผมก็ไม่ต้องการให้เรื่องนี้ขัดขวางผมในการเผยแพร่งาน ยกเว้นเรื่องการศึกษาและความบันเทิง ผมจะไม่เสียเวลา กับเรื่องที่ไม่สร้างผลกระทบ ผมพยายามเป็นเพื่อนกับทุกคน และผมไม่ชอบถ้าคุณไม่ปฏิบัติต่อผมอย่างจริงจัง ผมไม่เจ้าคิดเจ้าแค้นเ เพราะมันไม่เกิดผลดีอะไร ผมเรียนรู้จากประสบการณ์ตัวเอง ผมต้องการให้โลกนี้น่าอยู่กว่าเดิม ในปี 2004 สวาร์ทช์ย้ายจากไฮแลนด์พาร์คไปเข้าเรียนที่ม.สแตนฟอร์ด เขาเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ ซึ่งก็กวนใจเขามาก เรากังวลกับการกินยาของเขา เขาต้องเข้าโรงพยาบาล และต้องกินยาหลายเม็ดทุกวัน เม็ดหนึ่งเป็นยาสเตอรอยด์ ซึ่งทำให้เขาไม่โต และทำให้เขารู้สึกแตกต่างจากนักศึกษาคนอื่น ผมคิดว่าแอรอนไปสแตนฟอร์ด ในสภาพที่พร้อมจะเรียนรู้ แต่กลับพบว่าตัวเองอยู่ในคอร์สที่คอยประคบประหงมเด็กมัธยมที่เก่งเกินตัว ผู้ซึ่งใน 4 ปี จะเป็นผู้นำธุรกิจและคนรวย 1 เปอร์เซ็นต์บนยอดปิระมิด ผมคิดว่าทั้งหมดนี้ทำให้เขาแทบคลั่ง ปี 2005 แค่ปีเดียวหลังเข้ามหาวิทยาลัย สวารท์สได้รับเลือกให้ทำงานในบริษัทบ่มเพาะแห่งใหม่ชื่อ Y Combinator ซึ่งนำโดยพอล เกรแฮม เขาบอกว่า "ผมมีไอเดียสำหรับเว็บไซต์" พอล เกรแฮม ชอบเขา และตอบว่า "ได้เลย เอาซิ" แอรอนก็เลยลาออกจากมหาวิทยาลัย ย้ายเข้ามาที่อพาร์ตเมนต์นี้... นี่เคยเป็นอพาร์ตเมนต์ของแอรอนตอนที่เขาย้ายมาอยู่ที่นี่ ผมจำได้รางๆ ว่าพ่อเคยบอกว่ามันยากเหลือเกินที่จะเช่าห้องนี้ เพราะแอรอนไม่มีเครดิต แถมดันเลิกเรียนมหาวิทยาลัยกลางคันซะอีก แอรอนใช้ชีวิตในห้องที่ตอนนี้เป็นห้องนั่งเล่น โปสเตอร์บางรูปเป็นสิ่งที่เหลือจากที่เขาอยู่ที่นี่ ห้องหนังสือ...มีหนังสือมากกว่าตอนนั้น หนังสือส่วนใหญ่เป็นของแอรอน ไซต์ Y Combinator ของแอรอน มีชื่อเรียกว่า "อินโฟกามิ" หมายถึงเครื่องมือในการสร้างเว็บไซต์ แต่อินโฟกามิ ไม่ค่อยมีคนใช้มากเท่าไหร่ สวาร์ทช์ จึงต้อง ควบรวมบริษัทของเขากับโครงการบ่มเพาะของ Y Combinator อีกโครงการที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งมีสตีฟ ฮัฟแมนและอเล็กซิส โอฮาเนียน เป็นหัวหน้าโครงการนี้มีชื่อว่า "เรดดิท" เราเริ่มจากเกือบศูนย์ ไม่มีคนใช้ ไม่มีเงิน ไม่มีโค้ด ก่อนจะค่อยๆ โตเป็นเว็บที่ผู้คนนิยมใช้ แถมไม่มีทีท่าจะหยุดโต ตอนแรกเรามีคนใช้ 1000 คนก่อนจะเพิ่มเป็น 10000 20000 และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เหลือเชื่อจริงๆ เรดดิท กลายเป็นอะไรที่ใหญ่โต เป็นมุมของเด็กเนิร์ดในอินเตอร์เน็ต มีอารมณ์ขันมากมาย งานศิลปะ และมีคนที่ไปที่ไซต์ ทำให้ไซต์นี้เป็นไซต์ที่ตัวเองต้องเปิดทุกเข้าเพื่ออ่านข่าว เรดดิทเกือบ ๆ จะเป็นความโกลาหลด้วยซ้ำในบางครั้ง ด้านหนึ่ง ก็เป็นที่ ๆ ผู้คนคุยเรื่องข่าว เทคโนโลยี การเมืองและประเด็นต่างๆ แต่อีกด้าน ก็มีข่าวเรื่องความไม่ปลอดภัยสำหรับการทำงาน เรื่องที่ไปกระทบคนอื่น ในแง่นี้ เรดดิทเปรียบเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องที่โต้เถียง คือ มันจะอยู่ตรงขอบของความโกลาหล เรดดิททำให้คอนเด้ เนสต์ ยักษ์ใหญ่ด้านนิตยสารหันมามาอง บริษัทยื่นข้อเสนอจะซื้อกิจการ เงินจำนวนมหาศาล มากซะจนพ่อตั้งคำถามว่า "จะเอาเงินนี้ไปเก็บยังไง" -เยอะมาก -เยอะจริงๆ เกินล้านเหรียญมั๋ง ผมไม่ทราบจริงๆ -เขาอายุเท่าไหร่ตอนนั้น -19, 20 มั๋ง ทั้งหมดเกิดในอพาร์ตเมนต์แห่งนี้ พวกเขานั่งล้อมวงบนโซฟานี้ แฮคเว็บเรดดิท และตอนที่ขายเรดดิทไป เขาจัดปาร์ตี้ยิ่งใหญ่ ก่อนจะบินไปแคลิฟอร์เนียวันรุ่งขึ้น ทิ้งกุญแจให้ผม ตลกดี เขาเพิ่งขายธุรกิจที่ตัวเองปั้นขึ้นมา เราเลยคิดกันเองว่า เขารวยที่สุดในหมู่คนแถวๆ นี้ แต่เขากลับพูดว่า"ไม่เลย ฉันขอห้องเท่ากล่องรองเท้า ฉันต้องการแค่นี้แหละ" มันใหญ่กว่าห้องเก็บของนิดนึง ความคิดที่ว่าเขาจะเอาเงินไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเป็นเรื่องไกลตัวมาก เขาอธิบายอย่างนี้ "ฉันชอบอยู่ในอพาร์ตเมนต์ เลยไม่คิดจะใช้เงินซื้อที่อยู่ใหม่ ไม่คิดจะซื้อคฤหาสน์ และชอบใส่กางเกงยีนส์กับเสื้อยืด เพราะงั้น ก็เลยจะไม่ใช้เงินกับเสื้อผ้า ทั้งหมดก็เลยไม่ใช่เรื่องอะไรใหญ่โต แต่เรื่องใหญ่ของสวาร์ทชคือการไหลของจราจรบนโลกอินเตอร์เน็ต และสิ่งที่เรียกร้องความสนใจของเรา ในระบบกระจายเสียงแบบเก่า คุณถูกจำกัดด้วยจำนวน พื้นที่ว่างบนคลื่นวิทยุุ คุณส่งสารออกไปได้แค่ 10 ช่องบนคลื่นวิทยุ โทรทัศน์ หรือแม้แต่เคเบิล คุณก็มีแค่ 500 ช่อง แต่บนอินเตอร์เน็ต ทุกคนมีช่องของตัวเอง ทุกคนมีบล็อก หรือหน้ามายสเปซ ของตัวเอง ทุกคนมีหนทางจะบอกความเป็นตัวเอง สิ่งที่คุณเห็นตอนนี้ ไม่ใช่ว่าใครจะเข้าถึงคลื่นกระจายเสียง แต่คือใครมีอำนาจควบคุมวิธีหาคนอื่นต่างหาก คุณจะเริ่มเห็นว่าอำนาจจะรวมตัวอยู่ในไซต์อย่างกูเกิ้ล ซึ่งเหมือนคนเฝ้าประตูที่คอยบอกคุณ ว่าคุณต้องการไปไหนบนอินเตอร์เน็ต คนที่ให้แหล่งข้อมูลและข่าวแก่คุณ ดังนั้น ประเด็นจึงไม่ใช่ว่ามีบางคนมีใบอนุญาตให้พูด ตอนนี้ทุกคน มีใบอนุญาตให้พูด แต่ประเด็นตอนนี้คือ จะมีใครได้ยินสิ่งที่คุณพูด