Return to Video

ประสาทวิทยาแห่งจินตนาการ - อันเดรย์ วิเชดสกี (Andrey Vyshedskiy)

  • 0:08 - 0:12
    ลองนึกดูสักเดี๋ยวสิ
    เป็ดที่สอนวิชาภาษาฝรั่งเศส
  • 0:12 - 0:15
    การแข่งขันปิงปองในวงโคจรรอบ ๆ หลุมดำ
  • 0:15 - 0:18
    โลมากำลังเลี้ยงลูกสับปะรด
  • 0:18 - 0:21
    คุณอาจไม่เคยเห็นสิ่งเหล่านี้จริง ๆ
  • 0:21 - 0:24
    แต่คุณก็สามารถจินตนาการตามได้โดยทันที
  • 0:24 - 0:28
    สมองของคุณผลิตภาพ
    ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อนได้อย่างไร
  • 0:28 - 0:29
    นั่นอาจฟังดูไม่ยากเลย
  • 0:29 - 0:32
    แต่นั่นเป็นเพียงเพราะ
    เราคุ้นเคยกับมันเป็นอย่างดี
  • 0:32 - 0:35
    กลายเป็นว่า อันที่จริงแล้ว
    นี่เป็นปัญหาที่ซับซ้อน
  • 0:35 - 0:39
    ที่ต้องการการเชื่อมต่อสุดอัศจรรย์
    ภายในสมองของคุณ
  • 0:39 - 0:42
    นั่นเป็นเพราะว่า เพื่อรังสรรค์ภาพใหม่
    อันแปลกตาเหล่านี้
  • 0:42 - 0:47
    สมองของคุณจะต้องนำชิ้นส่วนที่คุ้นเคย
    มาประกอบเข้าด้วยกันในแบบใหม่
  • 0:47 - 0:50
    เหมือนกับภาพปะติด
    ที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของภาพถ่าย
  • 0:50 - 0:53
    สมองจะต้องเล่นกับทะเล
    แห่งสัญญาณไฟฟ้านับล้าน
  • 0:53 - 0:58
    โดยนำพวกมันทั้งหมด
    ไปยังปลายทางให้ถูกเวลา
  • 0:58 - 1:00
    เมื่อคุณมองดูที่วัตถุ
  • 1:00 - 1:04
    เซลล์ประสาทนับพัน
    ในคอร์เทกซ์ส่วนหลังก็ทำงาน
  • 1:04 - 1:07
    เซลล์ประสาทเหล่านี้เข้ารหัส
    ลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุ เช่น
  • 1:07 - 1:11
    ความแหลม, ผลไม้, สีน้ำตาล,
    สีเขียว และสีเหลือง
  • 1:11 - 1:16
    การส่งสัญญาณที่สอดประสานกันนี้
    เน้นการเชื่อมต่อระหว่างชุดของเซลล์ประสาท
  • 1:16 - 1:20
    โดยเชื่อมต่อพวกมันเข้าด้วยกัน
    ดังที่เรียกว่า กลุ่มเซลล์ประสาท
  • 1:20 - 1:22
    ในกรณีก็คือ สับปะรดหนึ่งผล
  • 1:22 - 1:25
    ในประสาทวิทยา เราเรียกสิ่งนี้ว่า
    "หลักการของเฮบบ์" (Hebbian principle)
  • 1:25 - 1:29
    เซลล์ประสาทที่ส่งสัญญาณด้วยกัน
    มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
  • 1:29 - 1:31
    ถ้าคุณพยายามจินตนาการ
    ถึงสับปะรดในเวลาต่อมา
  • 1:31 - 1:36
    กลุ่มเซลล์ประสาททั้งหมดนี้ก็จะทำงาน
    และรวมภาพทางความคิดที่สมบูรณ์ขึ้นมา
  • 1:36 - 1:39
    โลมาถูกเข้ารหัสด้วยกลุ่มเซลล์ประสาท
    ที่แตกต่างกันไป
  • 1:39 - 1:41
    อันที่จริง วัตถุทุกอย่างที่คุณเคยเห็น
  • 1:41 - 1:45
    ถูกเข้ารหัสโดยกลุ่มเซลล์ประสาท
    ที่มีความเกี่ยงข้องกับมัน
  • 1:45 - 1:49
    เซลล์ประสาทถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
    โดยการส่งสัญญาณที่สอดคล้องกัน
  • 1:49 - 1:53
    แต่หลักการนี้ไม่ได้อธิบาย
    จำนวนที่ไม่จำกัดของวัตถุ
  • 1:53 - 1:57
    ที่เราสามารถเนรมิตจินตภาพขึ้นมาได้
    โดยไม่ต้องเห็นมันมาก่อน
  • 1:57 - 2:02
    กลุ่มเซลล์ประสาทสำหรับกรณีของโลมา
    ที่เลี้ยงลูกสับปะรดอยู่นั้น ไม่ได้มีอยู่
  • 2:02 - 2:05
    แล้วคุณจินตนาการถึงมันได้อย่างไร
  • 2:05 - 2:08
    สมมติฐานหนึ่งที่เรียกว่า
    "ทฤษฎีการสังเคราะห์ทางความคิด"
  • 2:08 - 2:11
    กล่าวว่า เวลาเป็นกุญแจสำคัญ
    เช่นเดียวกับทฤษฎีก่อนหน้านี้
  • 2:11 - 2:14
    ถ้ากลุ่มเซลล์ประสาท
    สำหรับโลมาและสับปะรด
  • 2:14 - 2:16
    ถูกกระตุ้นในคราวเดียวกัน
  • 2:16 - 2:21
    เราสามารถรับรู้วัตถุทั้งสองได้
    ในลักษณะที่เป็นภาพเดียวกัน
  • 2:21 - 2:24
    แต่บางสิ่งในสมองของคุณ
    จะต้องประสานการส่งสัญญาณ
  • 2:24 - 2:28
    บริเวณที่น่าจะมีบทบาทก็คือ
    คอร์เทกซ์ส่วนพรีฟรอนทอล
  • 2:28 - 2:31
    ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้อง
    กับการจดจำที่ซับซ้อนทั้งหมด
  • 2:31 - 2:35
    เซลล์ประสาทในคอร์เทกซ์ส่วนพรีฟรอนทอล
    เชื่อมต่อกับคอร์เทกซ์ส่วนหลัง
  • 2:35 - 2:40
    ด้วยใยประสาท ซึ่งเป็นเซลล์ยาว ๆ
    เหมือนกับเส้นใยที่ยื่นแขนงออกไป
  • 2:40 - 2:44
    ทฤษฎีการสังเคราะห์ทางความคิดเสนอว่า
    เช่นเดียวกับที่นักเชิดหุ่นกระบอกดึงคันชักหุ่น
  • 2:44 - 2:48
    เซลล์ประสาทในคอร์เทกซ์ส่วนพรีฟรอนทอล
    จะส่งสัญญาณไฟฟ้า
  • 2:48 - 2:50
    ลงไปตามใยประสาท
  • 2:50 - 2:53
    ไปยังกลุ่มเซลล์ประสาททั้งหลาย
    ในคอร์เทกซ์ส่วนหลัง
  • 2:53 - 2:56
    สิ่งนี้กระตุ้นพวกมันไปพร้อม ๆ กัน
  • 2:56 - 2:59
    ถ้ากลุ่มเซลล์ประสาท
    ถูกกระตุ้นการทำงานในคราวเดียวกัน
  • 2:59 - 3:04
    คุณก็จะได้สัมผัสกับภาพประกอบ
    ราวกับว่าคุณได้เห็นมันจริง ๆ
  • 3:04 - 3:07
    การประสานงานอย่างจงใจ
    ในภาวะที่เรามีสติรู้สึกตัว
  • 3:07 - 3:10
    ของกลุ่มเซลล์ประสาทต่าง ๆ
    โดยคอร์เทกซ์ส่วนพรีฟรอนทอลนี้
  • 3:10 - 3:12
    เรียกว่า การสังเคราะห์ทางความคิด
  • 3:12 - 3:14
    เพื่อที่จะใช้งาน
    การสังเคราะห์ทางความคิดนี้
  • 3:14 - 3:19
    สัญญาณน่าจะต้องไปถึง
    กลุ่มเซลล์ประสาททั้งสองในเวลาเดียวกัน
  • 3:19 - 3:21
    ปัญหาก็คือ เซลล์ประสาทบางเซลล์
  • 3:21 - 3:25
    อยู่ไกลจากคอร์เทกซ์ส่วนพรีฟรอนทอล
    ออกไปมากเมื่อเทียบกับเซลล์ประสาทอื่น
  • 3:25 - 3:28
    ถ้าสัญญาณเดินทางไปตามใยประสาท
    ในอัตราความเร็วที่เท่ากัน
  • 3:28 - 3:31
    พวกมันก็จะไปถึงไม่พร้อมกัน
  • 3:31 - 3:34
    คุณไม่สามารถเปลี่ยนความยาว
    ของการเชื่อมต่อได้
  • 3:34 - 3:37
    แต่สมองของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    ขณะที่กำลังพัฒนาอยู่ในช่วงวัยเด็ก
  • 3:37 - 3:41
    มีวิธีการเปลี่ยนความเร็วการนำสัญญาณ
  • 3:41 - 3:46
    ใยประสาทถูกหุ้มอยู่ในสารจำพวกไขมัน
    ที่เรียกว่า "ไมอิลิน"
  • 3:46 - 3:47
    ไมอิลินนั้นเป็นฉนวน
  • 3:47 - 3:52
    และเร่งความเร็วสัญญาณไฟฟ้า
    ให้เผ่นลงไปตามใยประสาท
  • 3:52 - 3:56
    ใยประสาทบางแห่ง
    มีชั้นไมอิลินมากถึง 100 ชั้น
  • 3:56 - 3:58
    บางบริเวณอาจมีเพียงไม่กี่ชั้น
  • 3:58 - 4:00
    ใยประสาทชนิดที่มีชั้นไมอิลินหนา
  • 4:00 - 4:04
    สามารถที่จะนำสัญญาณ
    ได้เร็วกว่าใยประสาทที่มีชั้นไมอิลินบางกว่า
  • 4:04 - 4:07
    ถึง 100 เท่าหรือมากกว่านั้น
  • 4:07 - 4:10
    ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์บางคนคิดว่า
    การสร้างชั้นไมอิลินที่แตกต่างกันนี้
  • 4:10 - 4:14
    อาจเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เวลา
    ในการส่งสัญญาณในสมองมีความเป็นเอกภาพ
  • 4:14 - 4:17
    และส่งผลต่อความสามารถ
    ในการสังเคราะห์ทางความคิดของเรา
  • 4:17 - 4:20
    การสร้างชั้นไมอิลินส่วนใหญ่
    เกิดขึ้นในวัยเด็ก
  • 4:20 - 4:22
    ฉะนั้น ครั้งยังวัยเยาว์
  • 4:22 - 4:26
    จินตนาการอันสุดบรรเจิดของเรา
    อาจมีบทบาทในการก่อร่างสร้างสมองของเรา
  • 4:26 - 4:28
    ซึ่งเส้นการเชื่อมต่อที่ถูกห่อหุ้มด้วยชั้นไมอิลิน
    อย่างประณีตบรรจง
  • 4:28 - 4:32
    สามารถประดิษฐ์มโหรีแห่งความสร้างสรรค์
    ไปชั่วชีวิตของเราได้
Title:
ประสาทวิทยาแห่งจินตนาการ - อันเดรย์ วิเชดสกี (Andrey Vyshedskiy)
Speaker:
Andrey Vyshedskiy
Description:

ชมบทเรียนเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/the-neuroscience-of-imagination-andrey-vyshedskiy

ลองนึกดูสักเดี๋ยวสิ เป็ดที่สอนวิชาภาษาฝรั่งเศส การแข่งขันปิงปองในวงโคจรรอบ ๆ หลุมดำ โลมากำลังเลี้ยงลูกสับปะรด คุณอาจไม่เคยเห็นสิ่งเหล่านี้จริง ๆ แต่คุณสามารถจินตนาการตามได้โดยทันที สมองของคุณผลิตภาพที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อนได้อย่างไร อันเดรย์ วิเชดสกี ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประสาทวิทยาแห่งจินตนาการ

บทเรียนโดย Andrey Vyshedskiy, แอนิเมชันโดย Tomás Pichardo-Espaillat

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:49
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The neuroscience of imagination
Retired user accepted Thai subtitles for The neuroscience of imagination
Retired user edited Thai subtitles for The neuroscience of imagination
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The neuroscience of imagination
Retired user declined Thai subtitles for The neuroscience of imagination
Retired user edited Thai subtitles for The neuroscience of imagination
Retired user edited Thai subtitles for The neuroscience of imagination
Retired user edited Thai subtitles for The neuroscience of imagination
Show all

Thai subtitles

Revisions