Return to Video

รถติดลวงคืออะไรและมันกำลังทำลายชีวิตคุณอย่างไร

  • 0:07 - 0:09
    คุณกำลังขับรถอยู่บนทางหลวง
    แล้วจู่ ๆ
  • 0:09 - 0:12
    ก็มีไฟเบรกรถปรากฏขึ้นอยู่หน้าคุณเต็มไปหมด
  • 0:12 - 0:15
    ไม่มีอุบัติเหตุ ไม่มีไฟจราจร
  • 0:15 - 0:18
    ไม่ได้มีการเปลี่ยนการจำกัดความเร็ว
    หรือถนนแคบลง
  • 0:18 - 0:21
    แล้วเป็นเพราะ @#$%! อะไร
    ถึงได้รถติดขนาดนี้
  • 0:21 - 0:25
    เมื่อการจราจรติดขัด
    โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน
  • 0:25 - 0:28
    เราเรียกว่า รถติดลวง
  • 0:28 - 0:30
    รถติดลวงเป็นปรากฎการณ์
    ที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน
  • 0:30 - 0:35
    ซึ่งปรากฏการณ์นี้ควบคุมได้ยาก
    และไม่ได้เกิดขึ้นโดยเดี่ยว ๆ
  • 0:35 - 0:39
    แต่อย่างไรก็ตาม
    เราสามารถจำลองสถานการณ์รถติดแบบนี้ได้
  • 0:39 - 0:41
    และยังเข้าใจหลักการ
    ที่ทำให้เกิดขึ้นได้อีกด้วย
  • 0:41 - 0:43
    และเราก็เข้าใกล้เป้าหมาย
  • 0:43 - 0:46
    ที่จะป้องกันรถติดแบบนี้ได้
    ในอนาคตอันใกล้นี้แล้ว
  • 0:46 - 0:51
    การที่จะเกิดรถติดลวงได้นั้น
    ต้องมีรถเป็นจำนวนมากบนถนน
  • 0:51 - 0:54
    แต่ไม่ได้หมายความว่า
    การมีรถจำนวนมากวิ่งอยู่บนถนน
  • 0:54 - 0:57
    จะทำให้การจราจรติดขัด
  • 0:57 - 1:01
    อย่างน้อยนี่จะไม่เกิดขึ้นถ้ารถทุกคัน
    รักษาความเร็วและระยะห่างที่เท่ากัน
  • 1:01 - 1:03
    จากรถคันอื่น ๆ
  • 1:03 - 1:05
    ในการจราจรที่หนาแน่น
    แต่ยังเคลื่อนตัวได้อยู่นี้
  • 1:05 - 1:09
    แค่มีการรบกวนเล็กน้อย
    ก็สามารถทำให้เกิดเหตุการณ์ลูกโซ่
  • 1:09 - 1:12
    ที่ทำให้เกิดรถติดได้
  • 1:12 - 1:14
    สมมุติว่ามีรถคันหนึ่งเบรกนิดเดียว
  • 1:14 - 1:18
    รถคันอื่น ๆ ที่ตามมาก็จะเบรก
    มากกว่าเดิมอีกเล็กน้อย
  • 1:18 - 1:22
    ทำให้เกิดคลื่นของไฟเบรก
    ที่ถ่ายทอดไปด้านหลัง
  • 1:22 - 1:24
    ตามรถที่อยู่บนถนน
  • 1:24 - 1:29
    คลื่นหยุด ๆ ไป ๆ เหล่านี้สามารถ
    ถ่ายทอดไปบนทางหลวงได้หลายกิโลเมตร
  • 1:29 - 1:31
    เมื่อมีรถบนถนนไม่หนาแน่น
  • 1:31 - 1:34
    การจราจรก็จะลื่นไหล
    เนื่องจากการรบกวนเล็กน้อย
  • 1:34 - 1:38
    เช่น รถเปลี่ยนเลน
    หรือชะลอตรงทางโค้ง
  • 1:38 - 1:41
    รถคันอื่น ๆ สามารถปรับตัวตามได้ทัน
  • 1:41 - 1:46
    แต่เมื่อจำนวนรถบนถนน
    หนาแน่นเกินค่าวิกฤติค่าหนึ่ง
  • 1:46 - 1:50
    ซึ่งโดยทั่วไปคือเมื่อรถอยู่ห่างกัน
    น้อยกว่า 35 เมตร
  • 1:50 - 1:53
    พฤติกรรมของระบบ
    ก็จะเปลี่ยนไปอย่างมาก
  • 1:53 - 2:00
    ทำให้เกิดความไม่เสถียรในการเคลื่อนที่
    ซึ่งก็แปลว่าการรบกวนเล็กน้อยจะถูกขยายขึ้น
  • 2:00 - 2:04
    ความไม่เสถียรในการเคลื่อนที่นี้
    ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในรถติดลวงเท่านั้น
  • 2:04 - 2:10
    แต่ยังมีส่วนในการสร้างหยดน้ำฝน
    เนินทราย รูปแบบเมฆ และอื่น ๆ
  • 2:10 - 2:13
    ความไม่เสถียรนี้
    เป็นวงจรแบบกระตุ้นย้อนกลับ
  • 2:13 - 2:15
    เมื่อเลยความหนาแน่นวิกฤติไปแล้ว
  • 2:15 - 2:19
    จำนวนรถที่เพิ่มขึ้นมา
    จะลดจำนวนรถต่อวินาที
  • 2:19 - 2:22
    ที่ผ่านจุดจุดหนึ่งบนถนน
  • 2:22 - 2:26
    ซึ่งก็จะทำให้ต้องใช้เวลานานขึ้น
    เพื่อให้รถกลุ่มหนึ่ง
  • 2:26 - 2:31
    เคลื่อนที่ออกจากส่วนหนึ่งของถนน
    ทำให้ความหนาแน่นของรถเพิ่มขึ้นไปอีก
  • 2:31 - 2:35
    ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้เกิด
    รถติดแบบหยุด ๆ ไป ๆ มากขึ้น
  • 2:35 - 2:40
    คนขับรถมักจะไม่ได้สังเกตว่า
    ต้องเริ่มชะลอก่อนที่จะถึงส่วนที่รถติด
  • 2:40 - 2:44
    ซึ่งนั่นทำให้คันหลัง ๆ ต้องเบรก
    แรงขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้ชนคันหน้า
  • 2:44 - 2:49
    การทำเช่นนี้ทำให้คลื่นการเบรก
    จากรถสู่รถแรงขึ้นเรื่อย ๆ
  • 2:49 - 2:53
    นอกจากนี้ คนมักจะชอบเร่งรถเร็วเกินไป
    หลังจากที่หยุดช้าลง
  • 2:53 - 2:55
    ซึ่งก็คือการพยายามขับรถเร็วกว่า
  • 2:55 - 2:58
    ความคล่องตัวของจราจร
    ที่อยู่ด้านหน้า
  • 2:58 - 3:03
    จากนั้นก็จะต้องเบรกอีกครั้ง
    ในที่สุดก็จะทำให้เกิดวงจรย้อนกลับอีก
  • 3:03 - 3:06
    ทำให้เกิดการจราจรแบบหยุด ๆ ไป ๆ
  • 3:06 - 3:09
    ในทั้งสองกรณีนี้ คนขับรถทำให้รถติดขึ้น
  • 3:09 - 3:13
    เพียงเพราะว่าพวกเขาไม่สามารถ
    ประเมินสภาพการจราจรด้านหน้าได้ดีพอ
  • 3:13 - 3:18
    รถที่ขับได้ด้วยตนเองที่มีข้อมูล
    สภาพการจราจรด้านหน้า
  • 3:18 - 3:21
    จากรถที่เชื่อมต่อด้วย
    หรือเซ็นเซอร์บนถนน
  • 3:21 - 3:25
    อาจจะสามารถแก้ปัญหา
    รถติดลวงได้แบบเรียลไทม์
  • 3:25 - 3:29
    รถเหล่านี้จะควบคุมให้ขับด้วย
    ความเร็วที่เท่ากันและเว้นระยะได้ปลอดภัย
  • 3:29 - 3:33
    เข้ากันกับความเร็วเฉลี่ย
    ของความคล่องตัวโดยรวมได้
  • 3:33 - 3:35
    ทำให้ไม่เกิดคลื่นการจราจรขึ้น
  • 3:35 - 3:38
    ในสถานการณ์ที่
    มีรถติดอยู่แล้ว
  • 3:38 - 3:42
    รถอัตโนมัติ
    จะสามารถคาดเดาได้
  • 3:42 - 3:45
    ทำให้เบรกได้ล่วงหน้าอย่างไม่กระทันหัน
    มากกว่าการใช้คนขับรถ
  • 3:45 - 3:48
    และลดความรุนแรงของคลื่น
  • 3:48 - 3:51
    และก็ไม่ได้ต้องใช้รถที่ขับได้ด้วยตนเอง
    หลายคันมาก
  • 3:51 - 3:57
    ในการทดลองเมื่อเร็ว ๆ นี้
    รถอัตโนมัติหนึ่งคันต่อรถที่ใช้คนขับ 20 คัน
  • 3:57 - 4:00
    ก็เพียงพอที่จะลด
    และป้องกันการเกิดคลื่นจราจรได้
  • 4:00 - 4:03
    รถติดนั้นไม่ได้เป็นเพียง
    ความน่ารำคาญในชีวิตประจำวันเท่านั้น
  • 4:03 - 4:05
    แต่ยังเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุ
  • 4:05 - 4:09
    การสูญเสียทรัพยากร
    และมลพิษที่เป็นอันตรายต่อโลกอีกด้วย
  • 4:09 - 4:12
    แต่เทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยลด
    รถติดแบบนี้ได้
  • 4:12 - 4:14
    ทำให้ถนนของเราปลอดภัยมากขึ้น
  • 4:14 - 4:18
    การเดินทางประจำวันของเรามีประสิทธิภาพขึ้น
    และอากาศของเราสะอาดขึ้น
  • 4:18 - 4:20
    และครั้งต่อไปที่คุณเจอรถติด
  • 4:20 - 4:25
    คุณอาจจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อรู้ว่าคนขับรถ
    คนอื่น ๆ อาจจะไม่ได้ขับรถอย่างไม่ใส่ใจ
  • 4:25 - 4:30
    แต่อาจจะแค่ไม่รู้ถึงสภาพถนนด้านหน้า
    และขับตาม ๆ กันไปเท่านั้น
Title:
รถติดลวงคืออะไรและมันกำลังทำลายชีวิตคุณอย่างไร
Speaker:
เบนจามิน เซโบลด์
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/what-is-phantom-traffic-and-why-is-it-ruining-your-life-benjamin-seibold

คุณกำลังขับรถอยู่บนทางหลวง แล้วจู่ ๆ ก็มีไฟเบรกรถปรากฏขึ้นอยู่หน้าคุณเต็มไปหมด ไม่มีอุบัติเหตุ ไม่มีไฟจราจร ไม่ได้มีการเปลี่ยนการจำกัดความเร็ว หรือถนนแคบลง แล้วทำไมถึงได้รถติดขนาดนี้ นั่นเป็นเพราะปรากฏการณ์ที่เรียกว่า รถติดลวง เบนจามิน เซโบลด์ จะอธิบายว่าทำไมรถติดลวงจึงเกิดขึ้นและเราจะป้องกันมันในอนาคตได้อย่างไร

บทเรียนโดย เบนจามิน เซโบลด์ กำกับโดย คริส วีกันต์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:31

Thai subtitles

Revisions