Return to Video

สเตียรอยด์สามารถช่วยชีวิตคุณได้หรือไม่ - อานีส์ บาห์จิ

  • 0:07 - 0:11
    สเตียรอยด์: พวกมันมีชื่อเสียงที่ไม่ดี
    เมื่อใช้ในด้านกีฬา
  • 0:11 - 0:16
    แต่พวกมันยังพบได้ในยาสำหรับพ่น ครีมรักษา
    ผื่นจากต้นพอยซั่นไอวี่และผิวหนังอักเสบ
  • 0:16 - 0:18
    และยาฉีดเพื่อลดการอักเสบ
  • 0:18 - 0:23
    สเตียรอยด์ในยาเหล่านี้ไม่ใช่ชนิดเดียวกัน
    กับที่ใช้ในการเพิ่มกล้ามเนื้อ
  • 0:23 - 0:27
    อันที่จริงพวกมันล้วนมาจาก
    สเตียรอยด์อีกชนิด
  • 0:27 - 0:32
    ที่ร่างกายของเราผลิตได้ตามธรรมชาติ
    และเราขาดมันไม่ได้
  • 0:32 - 0:35
    เมื่อมองภาพรวม เหตุผลที่สเตียรอยด์
    มีหลากหลายชนิด
  • 0:35 - 0:40
    เพราะสเตียรอยด์หมายถึงสารที่มี
    โครงสร้างทางโมเลกุลบางส่วนเหมือนกัน
  • 0:40 - 0:43
    ไม่ใช่สารที่ให้ผลต่อร่างกายเหมือนกัน
  • 0:43 - 0:46
    สเตียรอยด์สามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ
    หรือมาจากการสังเคราะห์
  • 0:46 - 0:50
    แต่สิ่งหนึ่งที่สเตียรอยด์ทั้งหมด
    มีเหมือนกัน คือโครงสร้างโมเลกุล
  • 0:50 - 0:55
    ที่ประกอบด้วยแกนวงแหวนสี่วง
    ที่มาจากคาร์บอน 17 อะตอม
  • 0:55 - 0:59
    เรียงตัวกันเป็นรูปหกเหลี่ยมสามรูป
    และห้าเหลี่ยมหนึ่งรูป
  • 0:59 - 1:04
    โมเลกุลจะต้องมีส่วนที่มีการเรียงตัวแบบนี้
    จึงจะถือว่าเป็นสเตียรอยด์
  • 1:04 - 1:07
    แม้ว่าส่วนใหญ่จะมีแขนงข้าง
  • 1:07 - 1:12
    หรืออะตอมเพิ่มเติมซึ่งส่งผล
    ต่อความสามารถในการทำงานของโมเลกุลอย่างมาก
  • 1:12 - 1:16
    ชื่อของสเตียรอยด์มีที่มาจาก
    โมเลกุลไขมันที่เรียกว่าคอเลสเตอรอล
  • 1:16 - 1:20
    ในความเป็นจริงแล้วร่างกายของเรา
    สร้างสเตียรอยด์มาจากคอเลสเตอรอล
  • 1:20 - 1:23
    การที่มีคอเลสเตอรอลเป็นแกน
    หมายความว่าสเตียรอยด์
  • 1:23 - 1:28
    สามารถผ่านไขมันเยื่อหุ้มเซลล์
    และเข้าสู่เซลล์ได้
  • 1:28 - 1:31
    โดยภายในเซลล์ พวกมันสามารถส่งผล
    ต่อการแสดงออกของยีน
  • 1:31 - 1:34
    และการสังเคราะห์โปรตีนได้โดยตรง
  • 1:34 - 1:37
    สิ่งนี้แตกต่างจากโมเลกุลส่งสัญญาณ
    ประเภทอื่น ๆ
  • 1:37 - 1:39
    ซึ่งไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้
  • 1:39 - 1:43
    และต้องส่งสัญญานจากภายนอกเซลล์
  • 1:43 - 1:46
    ผ่านเส้นทางที่ซับซ้อนมากกว่า
  • 1:46 - 1:51
    ดังนั้นเตียรอยด์จึงให้ผลได้เร็ว
    กว่าโมเลกุลอื่น ๆ
  • 1:51 - 1:55
    กลับไปที่เตียรอยด์ในยาต้านการอักเสบ:
  • 1:55 - 2:00
    ยาในกลุ่มนี้มีพื้นฐานมาจากสเตียรอยด์
    ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่เรียกว่าคอร์ติซอล
  • 2:00 - 2:03
    คอร์ติซอลเป็นสัญญาณหลักจากร่างกาย
    ที่บ่งบอกถึงความเครียด
  • 2:03 - 2:06
    และมันก็มีหน้าที่มหาศาล
  • 2:06 - 2:08
    เมื่อเราเจอกับความเครียด -
  • 2:08 - 2:11
    ซึ่งเป็นอะไรก็ได้ ตั้งแต่การทะเลาะ
    กับเพื่อน การเจอหมี
  • 2:11 - 2:14
    การติดเชื้อ ไปจนถึงการมีน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • 2:14 - 2:20
    สมองจะตอบสนองโดยการส่งสัญญาณ
    จากไฮโพทาลามัสไปยังต่อมใต้สมอง
  • 2:20 - 2:24
    จากนั้นต่อมใต้สมองจะส่งสัญญาณ
    ต่อไปยังต่อมหมวกไต
  • 2:24 - 2:29
    ต่อมหมวกไตโดยปกติจะผลิตคอร์ติซอล
    และปล่อยพวกมันออกมาอย่างสม่ำเสมอ
  • 2:29 - 2:33
    แต่เมื่อต่อมหมวกไตได้รับสัญญาณ
    จากต่อมใต้สมอง
  • 2:33 - 2:35
    มันจะปลดปล่อยคอร์ติซอลจำนวนมหาศาล
  • 2:35 - 2:38
    ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำตาล
    กลูโคสสำหรับให้พลังงานมากขึ้น
  • 2:38 - 2:43
    ลดการทำงานของระบบที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง
    กับการอยู่รอดโดยทันที เช่น ระบบย่อยอาหาร
  • 2:43 - 2:47
    และเกิดการตอบสนองแบบ
    “สู้หรือหนีหรือยืนตัวแข็ง”
  • 2:47 - 2:51
    สิ่งนี้มีประโยชน์ในระยะสั้น
    แต่ก็ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
  • 2:51 - 2:55
    เช่น การนอนไม่หลับและอารมณ์ที่แย่ลง
    หากคอร์ติซอลออกฤทธิ์นานเกินไป
  • 2:55 - 3:00
    คอร์ติซอลมีปฏิกริยา
    กับระบบภูมิคุ้มกันในรูปแบบที่ซับซ้อนด้วย -
  • 3:00 - 3:01
    ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
  • 3:01 - 3:05
    มันสามารถเพิ่มหรือลด
    การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบางอย่าง
  • 3:05 - 3:07
    ในกระบวนการต่อสู้กับการติดเชื้อ
  • 3:07 - 3:10
    ระบบภูมิคุ้มกัน
    มักจะสร้างอาการอักเสบ
  • 3:10 - 3:14
    คอร์ติซอลจะไปยับยั้งความสามารถ
    ของระบบภูมิคุ้มกันในการทำให้เกิดการอักเสบ
  • 3:14 - 3:17
    ซึ่งเช่นเคย
    มันจะมีประโยชน์ในระยะสั้น
  • 3:17 - 3:20
    แต่คอร์ติซอลที่มากเกินไป
    ก็สามารถมีผลกระทบในด้านที่ไม่ดี
  • 3:20 - 3:26
    เช่นการลดความสามารถของระบบภูมิคุ้มกัน
    ในการสร้างไขกระดูกและต่อมน้ำเหลือง
  • 3:26 - 3:29
    เพื่อป้องกันไม่ให้คอร์ติซอล
    อยู่ในระดับที่สูงนานเกินไป
  • 3:29 - 3:33
    คอร์ติซอลจะยับยั้งสัญญาณ
    ที่ทำให้ต่อมหมวกไต
  • 3:33 - 3:35
    ปล่อยคอร์ติซอลมากขึ้น
  • 3:35 - 3:40
    ยากลุ่มสเตียรอยด์ก็ให้ผลแบบเดียว
    กับที่คอร์ติซอลมีต่อระบบภูมิคุ้มกัน
  • 3:40 - 3:44
    ในการต่อสู้กับอาการแพ้ ผื่น และโรคหอบหืด
  • 3:44 - 3:47
    สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นรูปแบบ
    ของการอักเสบ
  • 3:47 - 3:51
    มีสเตียรอยด์สังเคราะห์มากมาย
    ที่ใช้กลไกพื้นฐานเดียวกัน
  • 3:51 - 3:53
    มันเพิ่มปริมาณคอร์ติซอลในร่างกาย
  • 3:53 - 3:57
    ซึ่งหยุดการตอบสนอง
    ของภูมิคุ้มกันมากเกิน
  • 3:57 - 3:59
    ที่ทำให้เกิดการอักเสบ
  • 3:59 - 4:04
    สเตียรอยด์เหล่านี้จะแอบเข้าไป
    ในเซลล์ และปิด "สัญญาณเตือนภัย"
  • 4:04 - 4:09
    โดยการยับยั้งการแสดงออกของยีน
    ที่สร้างสัญญาณการอักเสบ
  • 4:09 - 4:14
    สเตียรอยด์ในยาพ่นและครีม
    ให้ผลเฉพาะที่
  • 4:14 - 4:16
    ซึ่งก็คือผิวหนังหรือปอด
  • 4:16 - 4:21
    ชนิดที่ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดหรือรับประทาน
    สำหรับรักษาอาการแพ้ภูมิตัวเองแบบเรื้อรัง
  • 4:21 - 4:26
    เช่น โรคลูปัสหรือโรคลำไส้อักเสบ
    จะออกฤทธิ์ทั่วทั้งร่างกาย
  • 4:26 - 4:31
    ในโรคพวกนี้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
    โจมตีเซลล์ของตัวเอง
  • 4:31 - 4:35
    กระบวนการนี้เทียบได้กับการเป็น
    หอบหืดหรือผื่นคันตลอดเวลา
  • 4:35 - 4:38
    การให้สเตียรอยด์ปริมาณต่ำ
    อย่างสม่ำเสมอ
  • 4:38 - 4:42
    จะช่วยให้การตอบสนองนอกลู่นอกทาง
    ของภูมิคุ้มกันอยู่ภายใต้การควบคุม
  • 4:42 - 4:45
    แต่เพราะผลกระทบทางจิตวิทยา
    และสรีรวิทยาในเชิงลบ
  • 4:45 - 4:47
    ของการใช้สเตียรอยด์ในระยะยาว
  • 4:47 - 4:51
    การใช้ในปริมาณสูง จะถูกสงวน
    ไว้เฉพาะกรณีฉุกเฉินและโรคกำเริบเท่านั้น
  • 4:51 - 4:55
    ในขณะที่โรคหอบหืด พิษจากไม้เลื้อย
    และอาการลำไส้แปรปรวน
  • 4:55 - 5:00
    อาจดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน
    แต่โรคเหล่านี้ต่างมีสิ่งที่เหมือนกัน
  • 5:00 - 5:04
    นั่นคือการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน
    ที่เป็นอันตรายมากกว่าให้ผลดี
  • 5:04 - 5:07
    และในขณะที่สเตียรอยด์ไม่สามารถ
    ทำให้กล้ามเนื้อของคุณใหญ่ขึ้นได้
  • 5:07 - 5:11
    พวกมันสามารถปกป้องร่างกาย
    จากภูมิคุ้มกันของตัวเองได้ดีที่สุด
Title:
สเตียรอยด์สามารถช่วยชีวิตคุณได้หรือไม่ - อานีส์ บาห์จิ
Speaker:
อานีส์ บาห์จิ
Description:

ชมบทเรียนเต็มที่: https://ed.ted.com/lessons/can-steroids-save-your-life-anees-bahji

สเตียรอยด์: พวกมันมีชื่อเสียงไม่ดีเมื่อใช้ในด้านกีฬา แต่พวกมันก็ยังพบได้ในยาสำหรับพ่น ครีมเพื่อรักษาพิษจากไม้เลื้อยและกลากเกลื้อน และยาฉีดเพื่อลดการอักเสบ สเตียรอยด์ในยาเหล่านี้ไม่ใช่ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในการเพิ่มกล้ามเนื้อ แต่ในความเป็นจริงพวกมันล้วนแล้วแต่มาจากสเตียรอยด์ในอีกความหมายหนึ่งที่ซึ่งร่างกายของเราผลิตได้ตามธรรมชาติและเราขาดมันไม่ได้ อานีส์ บาห์จิจะพาไปสำรวจวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสารในกลุ่มคอร์ติซอลเหล่านี้

บทเรียนโดย อานีส์ บาห์จิ กำกับโดย นิกค์ ฮิลดิทช์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:11
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for Can steroids save your life?
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Can steroids save your life?
Thitiporn Ratanapojnard accepted Thai subtitles for Can steroids save your life?
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for Can steroids save your life?
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for Can steroids save your life?
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for Can steroids save your life?
Yanawut Manmana edited Thai subtitles for Can steroids save your life?
Yanawut Manmana edited Thai subtitles for Can steroids save your life?

Thai subtitles

Revisions