Return to Video

โรคระบาดที่แพร่ไปทั่วโลกกระตุ้นให้เกิดการหาวิธีแก้ไขระดับโลก

  • 0:00 - 0:02
    Helen Walters: Chris คะ ใครจะเป็นคนแรกดี
  • 0:03 - 0:06
    Chris Anderson: ครับ มีชายคนหนึ่ง
    ที่ห่วงใยเรื่องโรคระบาดใหญ่
  • 0:06 - 0:08
    มาเกือบจะทั้งชีวิตของเขา
  • 0:09 - 0:11
    เขาทำหน้าที่สำคัญ
    มานานกว่า 40 ปี
  • 0:11 - 0:15
    ในการช่วยปกป้องโลก
    จากไข้ทรพิษที่ระบาดหนัก
  • 0:16 - 0:17
    และในปี 2006
  • 0:17 - 0:21
    เขามาพูดที่ TED เพื่อเตือนให้โลก
  • 0:21 - 0:25
    ตระหนักถึงความเสี่ยง
    ที่ทั่วโลกจะเกิดโรคระบาดใหญ่
  • 0:25 - 0:26
    และสิ่งที่เราอาจจัดการได้
  • 0:26 - 0:29
    ขอต้อนรับ Dr. Larry Brilliant ครับ
  • 0:30 - 0:32
    Larry ดีใจที่ได้เจอกันครับ
  • 0:32 - 0:34
    Larry Brilliant: ขอบคุณครับ
    ยินดีเช่นกัน
  • 0:35 - 0:37
    CA: Larry ครับ ในการขึ้นพูดครั้งนั้น
  • 0:37 - 0:40
    คุณได้ให้ดูคลิปวิดีโอ
    ซึ่งเป็นภาพจำลอง
  • 0:40 - 0:43
    หน้าตาของการระบาดใหญ่
  • 0:43 - 0:46
    ขอเปิดให้ดูนะครับ
    มันทำให้ผมขนลุก
  • 0:46 - 0:50
    Larry Brilliant (TED2006):
    ผมจะแสดงภาพจำลองให้ดู
  • 0:50 - 0:52
    ว่าหน้าตาของการระบาดใหญ่
    เป็นอย่างไร
  • 0:53 - 0:54
    เราจะได้เข้าใจว่ากำลังพูดถึงอะไรอยู่
  • 0:55 - 0:59
    เช่น ลองสมมติว่า
    มีโรคระบาดขึ้นครั้งแรกที่เอเชียใต้
  • 1:00 - 1:03
    โดยเป็นไปอย่างช้าๆ ในตอนแรก
  • 1:03 - 1:05
    จากสถานที่สองหรือสามแห่งแยกกัน
  • 1:07 - 1:09
    จากนั้นก็เกิดการระบาดระลอกสอง
  • 1:10 - 1:13
    แล้วโรคดังกล่าวก็จะแพร่จาก
    ประเทศหนึ่งไปอีกประเทศอย่างรวดเร็ว
  • 1:13 - 1:16
    จนคุณไม่รู้ว่าอะไรโจมตีคุณ
  • 1:16 - 1:20
    ภายในสามสัปดาห์
    โรคนั้นก็แพร่ไปทั่วโลกแล้ว
  • 1:21 - 1:23
    คราวนี้ถ้าเรามีปุ่มยกเลิกการกระทำ
  • 1:23 - 1:25
    และหากเราย้อนเวลาได้
  • 1:25 - 1:28
    แล้วแยกผู้ป่วยออกมาตรวจ
    ตั้งแต่เริ่มแรก
  • 1:28 - 1:30
    หากเราค้นพบโรคตั้งแต่ต้น
    ตรวจหาตั้งแต่ต้น
  • 1:31 - 1:32
    และจัดการกับมันตั้งแต่ต้น
  • 1:32 - 1:35
    เราก็อาจควบคุมไวรัสแต่ละตัว
    ไว้ในที่คุมขังได้ทัน
  • 1:35 - 1:40
    นั่นเป็นวิธีเดียวในการรับมือ
    กับโรคระบาดใหญ่ครับ
  • 1:42 - 1:44
    CA: Larry ครับ ประโยค
    ที่คุณพูดถึงตอนนั้นที่ว่า
  • 1:44 - 1:46
    "ตรวจหาตั้งแต่ต้น" และ
    "จัดการตั้งแต่ต้น"
  • 1:46 - 1:48
    ซึ่งเป็นหัวข้อหลักในการพูดครั้งนั้น
  • 1:48 - 1:52
    ที่คุณได้ย้ำหลายรอบให้เราทุกคนฟัง
  • 1:52 - 1:56
    ทั้งสองข้อยังเป็นปัจจัยหลัก
    ในการป้องกันโรคระบาดใหญ่อยู่ไหมครับ
  • 1:57 - 1:58
    LB: ครับ แน่นอน
  • 1:58 - 2:01
    เมื่อเกิดโรคระบาดใหญ่
  • 2:01 - 2:05
    ที่แพร่ไปเร็วแบบเท่าทวีคูณ
  • 2:05 - 2:08
    หากคุณพลาดช่วงสองสัปดาห์แรก
    หรือมัวช้าในสองสัปดาห์แรก
  • 2:08 - 2:11
    คุณไม่ได้สูญเสียแค่ชีวิตคน
    ที่ป่วยในสองสัปดาห์แรก
  • 2:11 - 2:14
    แต่มันนำไปสู่จำนวนผู้เสียชีวิต
    ในช่วงสองอาทิตย์ที่มีการระบาดสูงสุด
  • 2:14 - 2:18
    ซึ่งป้องกันได้หากคุณลงมือตั้งแต่ต้น
  • 2:18 - 2:20
    การรับมือแต่ต้นสำคัญมาก
  • 2:20 - 2:23
    การตรวจหาตั้งแต่ต้น
    เป็นสิ่งที่ต้องทำก่อน
  • 2:24 - 2:26
    CA: คุณจะให้คะแนนทั่วโลก
  • 2:26 - 2:30
    ในการตรวจหาและการรับมือโควิด-19
    ตั้งแต่ต้นอย่างไรครับ
  • 2:31 - 2:33
    LB: คุณได้ส่งคำถามนี้
    มาให้ผมก่อนแล้ว
  • 2:33 - 2:35
    ผมเลยได้ไปใคร่ครวญมาอย่างหนัก
  • 2:35 - 2:37
    ผมคิดว่าจะให้คะแนนเป็นกลุ่มประเทศ
  • 2:37 - 2:39
    ที่จริงผมทำรายชื่อมาครับ
  • 2:39 - 2:45
    ผมคิดว่าสาธารณรัฐที่เป็นเกาะ
    อย่างไต้หวัน ไอซ์แลนด์ และนิวซีแลนด์
  • 2:45 - 2:46
    ควรได้เกรดเอ
  • 2:46 - 2:50
    ประเทศเกาะอย่างสหราชอาณาจักร
    และสหรัฐอเมริกา
  • 2:50 - 2:54
    ซึ่งไม่ใช่เกาะ
    ไม่ว่าเราจะคิดอย่างไรก็ตาม
  • 2:54 - 2:55
    แต่ทั้งสองประเทศสอบตก
  • 2:55 - 3:00
    ผมจะให้บีกับเกาหลีใต้และเยอรมนี
  • 3:00 - 3:01
    และคะแนนระดับกลางๆ ...
  • 3:02 - 3:05
    การรับมือนั่นมีความหลากหลายมาก
    ผมว่านะครับ
  • 3:05 - 3:08
    ในภาพรวม
    ทั่วโลกทำงานอย่างตะกุกตะกัก
  • 3:08 - 3:12
    เราไม่ควรด่วนภูมิใจ
    ไปกับสถานการณ์ตอนนี้
  • 3:13 - 3:16
    CA: คือเรามีการตรวจพบโรค
    ค่อนข้างเร็ว
  • 3:16 - 3:20
    หรืออย่างน้อยก็มีหมอบางคนในจีน
    ที่ตรวจพบโรคค่อนข้างเร็วนะครับ
  • 3:21 - 3:24
    LB: ก่อนหน้านี้ในปี 2002
    เราใช้เวลาถึงหกเดือนตรวจหาซาร์ส
  • 3:25 - 3:27
    แต่โควิดใช้เวลาเพียงหกสัปดาห์
  • 3:27 - 3:29
    การตรวจพบโรคไม่ได้หมายถึง
    การค้นให้เจอเท่านั้น
  • 3:29 - 3:31
    แต่คือการรู้ว่ามันคืออะไร
  • 3:31 - 3:34
    ผมว่าเราได้คะแนนค่อนข้างดีในแง่นี้
  • 3:34 - 3:37
    แต่เรื่องความโปร่งใส การสื่อสาร
    พวกนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลย
  • 3:40 - 3:43
    CA: แล้วอะไรคือข้อผิดพลาดหลัก ๆ
  • 3:43 - 3:46
    ที่คุณคิดว่าเกิดขึ้น
    ในประเทศที่สอบตกครับ
  • 3:47 - 3:49
    LB: ผมคิดว่าเป็นความกลัว
  • 3:49 - 3:53
    การไร้ความสามารถ การแทรกแซงทางการเมือง
  • 3:53 - 3:55
    การไม่จริงจังกับสถานการณ์ให้เร็วพอ
  • 3:55 - 3:57
    ซึ่งมนุษย์ก็อย่างนี้นะครับ
  • 3:57 - 3:59
    ผมว่าตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
  • 3:59 - 4:04
    โรคระบาดส่วนใหญ่มักถูกมองว่า
    ไม่จริงในคราวแรกและถูกสงสัย
  • 4:04 - 4:06
    แต่ประเทศที่จัดการได้เร็ว
  • 4:06 - 4:08
    และแม้แต่ประเทศที่เริ่มลงมือช้า
    อย่างเกาหลีใต้
  • 4:08 - 4:12
    ก็ยังสามารถแก้ไขได้
    และทำได้ดีมาก
  • 4:12 - 4:15
    เราเสียเวลาไปสองเดือน
  • 4:15 - 4:19
    เราทำให้ไวรัสมีโอกาส
    แพร่กระจายแบบเท่าทวีคูณ
  • 4:19 - 4:21
    ล่วงหน้าไปก่อนสองเดือน
  • 4:21 - 4:23
    ซึ่งนั่นไม่ใช่ความคิดที่ดีเลยครับ Chris
  • 4:23 - 4:25
    CA: ไม่ใช่จริง ๆ ครับ
  • 4:25 - 4:27
    มีข้อมูลที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่อีกมาก
  • 4:28 - 4:30
    เกี่ยวกับไวรัสนี้
  • 4:30 - 4:34
    คุณคิดว่าวงการวิทยาศาสตร์
    จะได้ข้อสรุปอย่างไร
  • 4:34 - 4:36
    ในแง่ของตัวเลขที่สำคัญสองประการ
  • 4:36 - 4:40
    นั่นคืออัตราการติดเชื้อ
    และการเสียชีวิตครับ
  • 4:41 - 4:44
    LB: ผมคิดว่าสมการที่เราต้องคำนึงถึง
  • 4:44 - 4:48
    คือการแพร่กระจายของไวรัสที่
    ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักสามประการ
  • 4:48 - 4:50
    หนึ่งคือค่า R0
  • 4:50 - 4:55
    ซึ่งเป็นตัวเลขผู้ป่วยกลุ่มถัดมาที่ติดเชื้อ
    จากผู้ป่วยกลุ่มแรกเมื่อไวรัสปรากฏขึ้น
  • 4:55 - 4:57
    ในกรณีนี้
  • 4:57 - 5:00
    คนมักบอกว่ามีอัตราแพร่เชื้อ
    อยู่ที่ 2 ต่อ 2 หรือ 2 ต่อ 4 คน
  • 5:00 - 5:03
    แต่จากบทความวิชาการสำคัญ
    ในช่วงสามสัปดาห์ก่อน
  • 5:03 - 5:08
    ในหัวข้อ "โรคติดเชื้ออุบัติใหม่"
    ที่มีการเผยแพร่
  • 5:08 - 5:10
    ชี้ว่าจากการย้อนดูข้อมูลในอู่ฮั่น
  • 5:10 - 5:12
    อัตราที่แท้จริงอยู่ที่ 5.7
  • 5:12 - 5:13
    สมมตินะครับ
  • 5:13 - 5:16
    ว่าไวรัสนี้แพร่ไปได้
    ด้วยความเร็วแบบเท่าทวีคูณ
  • 5:16 - 5:20
    และอัตราการติดเชื้ออยู่ที่
    ระหว่าง 2.2 และ 5.7
  • 5:21 - 5:22
    ปัจจัยอีกสองข้อที่สำคัญ
  • 5:22 - 5:25
    คือระยะฟักตัวหรือ
    เวลาที่เชื้อเพิ่มจำนวน
  • 5:25 - 5:27
    ซึ่งยิ่งนานมากเท่าไร
  • 5:27 - 5:30
    เราก็จะรับรู้ถึงการระบาดได้ช้าลงเท่านั้น
  • 5:30 - 5:33
    แต่หากใช้เวลาไม่นาน
    อย่างหกวัน การระบาดก็จะเกิดขึ้นเร็ว
  • 5:33 - 5:35
    และจบลงเร็ว
    และสิ่งที่สำคัญที่สุด
  • 5:35 - 5:37
    ซึ่งมักถูกมองข้าม
  • 5:37 - 5:39
    คือความไวในการรับเชื้อ
  • 5:39 - 5:40
    นี่เป็นไวรัสชนิดใหม่
  • 5:40 - 5:44
    เราจึงต้องการรู้ว่าเชื้อนี้มีศักยภาพ
    ในการแพร่พันธุ์ได้ขนาดไหน
  • 5:44 - 5:47
    และเพราะเป็นชนิดใหม่
    สำหรับพวกเราถึงแปดพันล้านคน
  • 5:47 - 5:49
    โลกจึงกำลังเผชิญกับไวรัส
  • 5:49 - 5:52
    ที่มองว่าเราทุกคน
    มีความไวต่อการรับเชื้อเท่า ๆ กัน
  • 5:52 - 5:54
    ไม่ว่าเราจะมีสีผิว เชื้อชาติ
  • 5:54 - 5:56
    หรือร่ำรวยแค่ไหนก็ตาม
  • 5:57 - 6:00
    CA: เท่าที่คุณกล่าวมา
    ไม่มีตัวเลขไหนเลย
  • 6:00 - 6:05
    ที่แตกต่างไปจาก
    การติดเชื้ออื่น ๆ ในช่วงหลายปีมานี้เลย
  • 6:05 - 6:08
    ส่วนผสมอะไรที่ทำให้ไวรัสนี้
    มีอันตรายถึงชีวิตครับ
  • 6:09 - 6:11
    LB: แน่นอนว่าคือส่วนผสมระหว่าง
  • 6:11 - 6:15
    ระยะฟักตัวที่สั้น
    กับอัตราการติดต่อที่สูงครับ
  • 6:16 - 6:22
    แต่ทุกคนในสถานการณ์นี้
    รู้จักบางคนที่ป่วยจากโควิด
  • 6:22 - 6:25
    น่าเศร้าที่หลายคนสูญเสียคนที่รักไป
  • 6:25 - 6:29
    โรคนี้อันตราย
    เมื่อมีอาการรุนแรง
  • 6:29 - 6:32
    ผมได้รับสายจากหมอในห้องฉุกเฉิน
  • 6:32 - 6:36
    และหมอที่ดูแลผู้ป่วยในไอซียู
    จากทั่วโลก
  • 6:36 - 6:37
    ทุกคนล้วนพูดเหมือนกันว่า
  • 6:37 - 6:41
    "เราจะเลือกได้อย่างไรว่าใครสมควรอยู่
    และใครสมควรตาย
  • 6:41 - 6:45
    เรามีอุปกรณ์น้อยมาก
    ในการรับมือกับโรคนี้"
  • 6:45 - 6:47
    โรคนี้น่ากลัวมาก
  • 6:47 - 6:50
    กับการต้องตายอย่างโดดเดี่ยว
    โดยมีเครื่องช่วยหายใจอยู่ที่ปอด
  • 6:50 - 6:53
    และเป็นโรคที่ส่งผลกับ
    อวัยวะทุกส่วนของเรา
  • 6:53 - 6:55
    เป็นโรคทางเดินหายใจ
  • 6:55 - 6:57
    ที่อาจถูกเข้าใจผิด
  • 6:57 - 6:58
    โดยทำให้คุณคิดว่าเป็นแค่ไข้หวัด
  • 6:58 - 7:01
    แต่ผู้ป่วยหลายคนมีเลือดปนในปัสสาวะ
  • 7:01 - 7:02
    จากโรคไต
  • 7:02 - 7:04
    หลายคนกระเพาะอาหาร
    และลำไส้อักเสบ
  • 7:04 - 7:07
    หลายคนมีอาการหัวใจล้มเหลว
    อยู่บ่อยครั้ง
  • 7:07 - 7:11
    เรารู้ว่าโรคนี้ส่งผลต่อการรับรสและ
    การดมกลิ่น ซึ่งหมายถึงประสาทรับรู้
  • 7:11 - 7:13
    เรารู้แน่ชัดว่าโรคนี้ส่งผลกับปอด
  • 7:13 - 7:15
    คำถามที่ผมมีก็คือ
  • 7:15 - 7:18
    มีอวัยวะไหนบ้างที่ไม่ได้รับผลกระทบ
  • 7:18 - 7:19
    ซึ่งในแง่นั้น
  • 7:19 - 7:22
    มันทำให้ผมนึกถึงไข้ทรพิษมากเกินไป
  • 7:25 - 7:26
    CA: งั้นเราก็กำลังโกลาหลกัน
  • 7:26 - 7:29
    หนทางข้างหน้าจากนี้
    จะเป็นยังไงต่อครับ
  • 7:30 - 7:32
    LB: หนทางข้างหน้า
    ก็ยังเป็นเหมือนเดิมครับ
  • 7:32 - 7:33
    นั่นคือตรวจหาโรคโดยเร็ว
  • 7:33 - 7:35
    จัดการรับมือโดยเร็ว
  • 7:35 - 7:36
    ค้นหาผู้ป่วยให้เจอทุกเคส
  • 7:36 - 7:39
    จากนั้นค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดทั้งหมด
  • 7:39 - 7:42
    เรามีเทคโนโลยีใหม่ ๆ
    ในการตามรอยผู้สัมผัสใกล้ชิด
  • 7:42 - 7:45
    เรามีนักวิทยาศาสตร์เก่ง ๆ
    ที่ทำงานกันอย่างติดจรวด
  • 7:45 - 7:49
    เพื่อสร้างชุดทดสอบ ยาต้านไวรัส
    และวัคซีนให้กับเรา
  • 7:49 - 7:52
    เราต้องทำให้ช้าลง
  • 7:52 - 7:55
    อย่างที่ชาวพุทธเรียกว่า
    ช่วงเวลาแห่งความเชื่องช้า
  • 7:55 - 7:58
    เพื่อให้เราใส่หัวใจ ใส่จิตวิญญาณ
    ลงในช่วงเวลาแห่งความว่างนั้น
  • 7:58 - 8:01
    เราต้องทำให้ความเร็วในการแพร่
    ของไวรัสนี้ช้าลง
  • 8:01 - 8:03
    นั่นคือเหตุผลที่เราต้องรักษา
    ระยะห่างทางสังคม
  • 8:04 - 8:05
    พูดอย่างชัด ๆ ก็คือ
  • 8:05 - 8:07
    ลดระดับเส้นกราฟลง
    รักษาระยะห่างทางสังคม
  • 8:07 - 8:11
    มันอาจไม่ได้เปลี่ยน
    จำนวนผู้ป่วยโดยรวม
  • 8:11 - 8:15
    แต่จำนวนที่อาจพุ่งสูง
    เป็นยอดภูเขาไฟฟูจิก็อาจเปลี่ยน
  • 8:15 - 8:16
    เป็นคลื่นเล็ก
  • 8:16 - 8:21
    จากนั้นเราก็จะไม่ต้องสูญเสียชีวิตใคร
    จากการแย่งชิงเตียงในโรงพยาบาล
  • 8:21 - 8:25
    คนที่ป่วยเป็นโรคหัวใจวาย
    คนที่ต้องทำคีโม คนที่คลอดยาก
  • 8:25 - 8:27
    ก็สามารถไปโรงพยาบาล
  • 8:27 - 8:30
    และเราสามารถใช้ทรัพยากร
    ที่มีอย่างจำกัด
  • 8:30 - 8:32
    โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
  • 8:32 - 8:33
    เพื่อรักษาชีวิตคน
  • 8:33 - 8:35
    ลดความเร็ว
  • 8:35 - 8:37
    ลดความเร็วของการระบาดลง
  • 8:37 - 8:41
    จากนั้นในช่องทาง
    ระหว่างที่มีการระบาดเป็นระลอก
  • 8:41 - 8:44
    ให้เข้าร่วม เพิ่มความพยายาม
    เร่งดำเนินการ
  • 8:44 - 8:46
    และค้นหาผู้ป่วยทุกเคส
  • 8:46 - 8:47
    ตามรอยผู้สัมผัสใกล้ชิดทุกคน
  • 8:47 - 8:48
    ทดสอบทุกเคส
  • 8:48 - 8:52
    จากนั้นกักตัวเฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องกัก
  • 8:52 - 8:55
    และทำเช่นนี้ไปจนกว่าเราจะมีวัคซีน
  • 8:56 - 9:00
    CA: ฟังดูเหมือนเราต้องผ่าน
    ขั้นของการบรรเทาโรค
  • 9:00 - 9:03
    โดยการพยายามหยุดเชื้อ
    ด้วยการปิดตัวลง
  • 9:03 - 9:07
    เพื่อให้ไปถึงจุดที่เราสามารถ
    ระบุผู้ป่วยเป็นราย ๆ ได้อีกครั้ง
  • 9:07 - 9:09
    และค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิด
  • 9:09 - 9:10
    และรักษาแยกกัน
  • 9:10 - 9:12
    ผมหมายถึงการจะทำแบบนั้น
  • 9:12 - 9:16
    ดูเหมือนจะต้องมีการประสานงาน
  • 9:16 - 9:20
    ความมุ่งมั่น การจัดการอย่างเป็นระบบ
    การลงทุน
  • 9:20 - 9:24
    ซึ่งเรายังมองไม่เห็นสัญญาณ
    ที่เป็นไปได้ในบางประเทศ
  • 9:24 - 9:26
    เราจะทำได้ไหม และเราจะทำได้อย่างไรครับ
  • 9:26 - 9:28
    LB: เราทำได้แน่นอนครับ
  • 9:28 - 9:31
    ไต้หวันก็ทำได้อย่างสวยงาม
  • 9:31 - 9:33
    ไอซ์แลนด์เองก็เช่นกัน หรือเยอรมนี
  • 9:33 - 9:35
    ทั้งหมดล้วนมีกลยุทธ์ต่างกัน
  • 9:35 - 9:36
    หรืออย่างเกาหลีใต้
  • 9:36 - 9:40
    เรื่องนี้ต้องอาศัยความสามารถ
    ในการกำกับดูแล
  • 9:40 - 9:42
    การเห็นเป็นเรื่องที่จริงจัง
  • 9:42 - 9:47
    และการรับฟังเรื่องไวรัส
    จากนักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่นักการเมือง
  • 9:47 - 9:49
    เราทำได้แน่นอนครับ
  • 9:49 - 9:50
    ผมขอย้ำกับทุกคนอีกครั้งว่า
  • 9:50 - 9:52
    นี่ไม่ใช่วันสิ้นโลกแบบในหนังซอมบี้
  • 9:52 - 9:55
    ไม่ใช่เหตุการณ์การสูญพันธ์ุครั้งใหญ่
  • 9:55 - 10:00
    มนุษย์ 98 ถึง 99 เปอร์เซ็นต์
    จะรอดพ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้ไปได้
  • 10:00 - 10:04
    เราต้องจัดการ แบบที่เรารู้ว่าจะทำได้
  • 10:04 - 10:07
    และเราต้องทำให้ดีที่สุด
    ในแบบของตัวเอง
  • 10:07 - 10:09
    ทั้งการอยู่บ้าน
  • 10:09 - 10:12
    รวมทั้งเชื่อในวิทยาศาสตร์
    และในความเป็นผู้นำ
  • 10:14 - 10:18
    CA: แล้วจะมีเชื้อโรคที่เลวร้ายกว่านี้
  • 10:18 - 10:19
    ในอนาคตไหมครับ
  • 10:19 - 10:20
    คุณสามารถวาดภาพหรืออธิบาย
  • 10:20 - 10:23
    ตัวเลขโดยรวมที่แย่ยิ่งกว่า
  • 10:23 - 10:26
    ที่เราควรเริ่มเตรียมใจรับได้ไหมครับ
  • 10:28 - 10:31
    LB: ไข้ทรพิษมีค่า R0 อยู่ที่
    3.5 จนถึง 4.5
  • 10:31 - 10:36
    นั่นน่าจะเป็นตัวเลขของโควิด
    ที่ผมคิด
  • 10:36 - 10:38
    แม้ไข้ทรพิษคร่าชีวิตคนถึงหนึ่งในสาม
  • 10:38 - 10:39
    แต่เราก็มีวัคซีน
  • 10:39 - 10:43
    ซึ่งนั่นเป็นโรคอีกกลุ่มที่ต่างกัน
  • 10:43 - 10:45
    แต่สิ่งที่ผมกังวลมากที่สุด
  • 10:45 - 10:47
    และเป็นเหตุผลที่เราทำ
    เรื่อง "Contagion"
  • 10:47 - 10:49
    ซึ่งเกี่ยวกับไวรัสในนิยาย
  • 10:49 - 10:51
    ผมขอย้ำกับทุกคนที่ฟังอยู่
  • 10:51 - 10:52
    ว่ากำลังพูดถึงนิยาย
  • 10:52 - 10:56
    เราสร้างไวรัสที่ฆ่าคนไป
    มากกว่าที่โควิดฆ่าเสียอีก
  • 10:56 - 10:59
    CA: เรากำลังพูดถึงหนังเรื่อง
    "Contagion"
  • 10:59 - 11:01
    มีคนดูใน Netflix เยอะมากครับ
  • 11:01 - 11:02
    ซึ่งคุณเป็นที่ปรึกษาให้ด้วย
  • 11:02 - 11:04
    LB: ใช่ครับ
  • 11:04 - 11:06
    แต่เราตั้งใจสร้างหนังเรื่องนั้นขึ้นมา
  • 11:06 - 11:09
    เพื่อแสดงให้เห็นภาพการระบาดที่แท้จริง
  • 11:09 - 11:12
    แต่เราเลือกไวรัสที่ค่อนข้างรุนแรง
  • 11:13 - 11:14
    และสาเหตุที่เราแสดงให้เห็นการระบาด
  • 11:14 - 11:17
    เริ่มจากค้างคาวไปยังแอปเปิล
  • 11:17 - 11:19
    ไปยังหมู ไปยังอาหาร
    จนไปถึง Gwyneth Paltrow
  • 11:20 - 11:24
    เพราะนั่นคือลักษณะธรรมชาติ
    ของสิ่งที่เรียกว่า การแพร่กระจาย
  • 11:24 - 11:26
    ของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน
  • 11:26 - 11:30
    นั่นคือการที่โรคในสัตว์
    แพร่กระจายสู่คน
  • 11:30 - 11:32
    หากผมมองย้อนไปสามทศวรรษ
  • 11:32 - 11:34
    หรือมองไปข้างหน้าอีกสามทศวรรษ
  • 11:34 - 11:38
    สามทศวรรษที่แล้วก็จะมี
    อีโบลา ซาร์ส ซิก้า
  • 11:38 - 11:40
    ไข้หวัดหมู ไข้หวัดนก ไวรัสเวสต์ไนล์
  • 11:40 - 11:42
    เราแทบจะก่อตั้งลัทธิ
  • 11:42 - 11:46
    และสวดมนต์ด้วยชื่อพวกนั้นได้เลย
  • 11:46 - 11:52
    แต่มีไวรัสใหม่ ๆ 30 ถึง 50 ตัว
    ที่โดดมาเล่นงานมนุษย์
  • 11:52 - 11:54
    และผมเกรงว่าในอนาคต
  • 11:54 - 11:56
    เราจะอยู่ในยุคสมัยแห่งโรคระบาด
  • 11:56 - 11:58
    เราต้องปรับตัวตาม
  • 11:58 - 12:00
    เราต้องใช้หลักสุขภาพหนึ่งเดียว
  • 12:00 - 12:03
    เราต้องเข้าใจว่า
    เราอยู่ในโลกใบเดียวกัน
  • 12:03 - 12:05
    กับสัตว์ สิ่งแวดล้อมและตัวเรา
  • 12:05 - 12:10
    และควรจะเลิกเชื่อว่า
    มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่พิเศษ
  • 12:10 - 12:12
    สำหรับไวรัส พวกเราไม่ได้พิเศษเลย
  • 12:13 - 12:14
    CA: อืม
  • 12:14 - 12:16
    แต่คุณก็พูดถึงวัคซีน
  • 12:16 - 12:19
    คุณคิดว่ามีหนทาง
    ที่จะเร่งการสร้างวัคซีนไหมครับ
  • 12:19 - 12:20
    LB: ผมว่ามีครับ
  • 12:20 - 12:24
    ที่จริงผมตื่นเต้นที่จะได้เห็น
    ว่าเรากำลังทำสิ่งน่าทึ่ง
  • 12:24 - 12:27
    ที่เรานึกออกแค่ในวงการ
    วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
  • 12:28 - 12:30
    ซึ่งก็คือการที่เรากำลังเปลี่ยนแปลง
    กระบวนการทำซ้ำเป็นลำดับ
  • 12:30 - 12:32
    ที่ควรจะเป็น
  • 12:32 - 12:35
    หรือที่เคยเป็นมาตลอด
    คือการทำงานอย่างเป็นลำดับ
  • 12:35 - 12:40
    นั่นคือทำการทดสอบความปลอดภัย
    จากนั้นทดสอบเพื่อหาประสิทธิผล
  • 12:40 - 12:41
    และหาประสิทธิภาพ
  • 12:41 - 12:43
    แล้วก็นำไปผลิต
  • 12:43 - 12:45
    เรากำลังทำสามหรือสี่ขั้นตอนนั้น
  • 12:45 - 12:48
    แต่แทนที่จะทำไปทีละขั้น
    เราทำไปพร้อมๆกัน
  • 12:48 - 12:52
    Bill Gates กล่าวว่าเขาจะสร้าง
    แหล่งผลิตวัคซีนเจ็ดแห่ง
  • 12:52 - 12:53
    ในสหรัฐอเมริกา
  • 12:53 - 12:55
    และเริ่มเตรียมการผลิต
  • 12:55 - 12:58
    โดยไม่รู้เลยว่าวัคซีนที่ออกมาจะเป็นอย่างไร
  • 12:58 - 13:04
    เรากำลังทำการทดสอบความปลอดภัย
    และประสิทธิภาพไปพร้อมกัน
  • 13:04 - 13:06
    ผมคิดว่าสถาบันสุขภาพแห่งชาติก็โดดมาร่วมวง
  • 13:06 - 13:09
    ผมตื่นเต้นมากที่จะได้เห็นสิ่งนั้น
  • 13:09 - 13:13
    CA: แล้วสิ่งนั้นจะใช้เวลาประมาณไหน
    ครับ ในความคิดของคุณ
  • 13:13 - 13:16
    หนึ่งปีหรือ 18 เดือน เป็นไปได้ไหมครับ
  • 13:16 - 13:19
    LB: Tony Fauci
    เป็นกูรูในด้านนี้ครับ
  • 13:19 - 13:21
    เขาบอกว่าประมาณ 12 ถึง 18 เดือน
  • 13:21 - 13:25
    ผมคิดว่าเราจะทำวัคซีนตัวแรก
    ได้เร็วกว่านั้น
  • 13:25 - 13:28
    แต่คุณอาจเคยได้ยินว่าไวรัสนี้
  • 13:28 - 13:31
    อาจไม่ทำให้เรามีภูมิคุ้มกันในระยะยาว
  • 13:31 - 13:33
    ซึ่งต่างจากไข้ทรพิษ
  • 13:33 - 13:37
    ดังนั้น เราจึงกำลังสร้างวัคซีน
    ที่เพิ่มตัวช่วยเข้าไป
  • 13:37 - 13:42
    ซึ่งจริง ๆ จะทำให้วัคซีน
    สร้างภูมิคุ้มกันได้ดี
  • 13:42 - 13:44
    มากกว่าที่เกิดจากโรค
  • 13:44 - 13:47
    ดังนั้นเราจึงมีภูมิคุ้มกัน
    ไปได้อีกหลายปี
  • 13:47 - 13:49
    ซึ่งจะใช้เวลานานขึ้นอีกนิด
  • 13:49 - 13:51
    CA: คำถามสุดท้ายครับ Larry
  • 13:51 - 13:56
    ย้อนไปปี 2006
    ในฐานะผู้ชนะรางวัล TED Prize
  • 13:56 - 13:57
    เราให้คุณขอพรข้อหนึ่ง
  • 13:57 - 14:00
    และคุณขอให้โลกสร้างระบบ
    สำหรับเตรียมรับมือกับโรคระบาด
  • 14:00 - 14:03
    ที่จะป้องกันไม่ให้
    เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น
  • 14:03 - 14:05
    เรารู้สึกว่าพวกเราทั้งโลก
    ทำให้คุณผิดหวัง
  • 14:05 - 14:08
    หากคุณสามารถขอพรได้อีกข้อ
    ในตอนนี้
  • 14:08 - 14:09
    คุณอยากขออะไรครับ
  • 14:11 - 14:14
    LB: ผมคิดว่าเราไม่ได้ผิดหวัง
    ในแง่ความเร็วของการตรวจหาโรค
  • 14:14 - 14:15
    ที่จริงผมค่อนข้างพอใจเลย
  • 14:15 - 14:18
    ตอนที่เราพบกันเมื่อปี 2006
  • 14:18 - 14:21
    ไวรัสที่ติดจากสัตว์สู่คนโดยเฉลี่ย
  • 14:21 - 14:23
    ใช้เวลานานถึงหกเดือนกว่าจะค้นพบ
  • 14:23 - 14:25
    เช่น การติดเชื้ออีโบลาครั้งแรก
  • 14:25 - 14:28
    ตอนนี้เราสามารถตรวจพบ
    ผู้ป่วยรายแรกได้ในสองสัปดาห์
  • 14:29 - 14:30
    ผมไม่ได้รู้สึกแย่กับเรื่องนั้น
  • 14:30 - 14:33
    ผมอยากจะขอพูดถึง
    ระยะฟักตัวเพียงอย่างเดียว
  • 14:34 - 14:35
    ซึ่งเป็นประเด็นที่ใหญ่กว่า
  • 14:35 - 14:39
    สิ่งที่ผมค้นพบคือ
    ในโครงการกำจัดเชื้อไข้ทรพิษ
  • 14:39 - 14:42
    ผู้คนทุกสีผิว
    ทุกศาสนา ทุกเชื้อชาติ
  • 14:42 - 14:44
    จากหลายประเทศ
  • 14:44 - 14:45
    ร่วมมือกัน
  • 14:45 - 14:48
    และทำงานร่วมกันเป็นสมาคมระดับโลก
  • 14:49 - 14:51
    เพื่อเอาชนะโรคระบาดทั่วโลก
  • 14:51 - 14:57
    ตอนนี้ผมรู้สึกว่าเรากลายเป็นเหยื่อ
    ของแรงเหวี่ยงจากศูนย์กลาง
  • 14:57 - 15:02
    เรามีความคิดชาตินิยมเป็นอุปสรรค
  • 15:02 - 15:05
    ทำให้เราอาจจะไม่สามารถ
    เอาชนะโรคระบาดได้
  • 15:05 - 15:08
    เว้นแต่เราจะเชื่อว่า
    เราทุกคนได้รับผลกระทบร่วมกัน
  • 15:08 - 15:12
    นี่ไม่ใช่การเข้าสู่ยุคใหม่
    หรือประกาศเลิกทาส
  • 15:12 - 15:15
    นี่เป็นสิ่งที่โรคระบาด
    บังคับให้เราตระหนัก
  • 15:15 - 15:17
    เราทุกคนได้รับผลกระทบร่วมกัน
  • 15:17 - 15:20
    เราจึงต้องการวิธีแก้ไขระดับโลก
    ให้กับปัญหาระดับโลก
  • 15:20 - 15:23
    อะไรที่น้อยไปกว่านั้นถือว่า
    เป็นเรื่องไม่สมควร
  • 15:24 - 15:26
    CA: Larry Brilliant
    ขอบคุณมากครับ
  • 15:27 - 15:29
    LB: ขอบคุณครับ Chris
Title:
โรคระบาดที่แพร่ไปทั่วโลกกระตุ้นให้เกิดการหาวิธีแก้ไขระดับโลก
Speaker:
Larry Brilliant
Description:

นักระบาดวิทยา Larry Brilliant ประเมินผลการรับมือของทั่วโลกจากการพิจารณาข้อเท็จจริงและตัวเลขที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ในการให้สัมภาษณ์ตรงกับ Chris Anderson หัวเรือใหญ่ของ TED ดร. Brilliant แจกแจงแผนการที่ชัดเจนในการยุติการระบาดใหญ่ และแสดงให้เห็นว่าเหตุใดเราจึงต้องทำงานร่วมกันทั้งในภาคการเมืองและทุกพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ "นี่ไม่ใช่วันสิ้นโลกแบบในหนังซอมบี้ นี่ไม่ใช่เหตุการณ์การสูญพันธ์ุครั้งใหญ่" เขากล่าว "เราต้องทำให้ดีที่สุดในแบบของเรา"
(บันทึกเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2020)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:41
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for A global pandemic calls for global solutions
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for A global pandemic calls for global solutions
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for A global pandemic calls for global solutions
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for A global pandemic calls for global solutions
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for A global pandemic calls for global solutions
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for A global pandemic calls for global solutions
Yada Sattarujawong accepted Thai subtitles for A global pandemic calls for global solutions
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for A global pandemic calls for global solutions
Show all

Thai subtitles

Revisions