Return to Video

เจย์ แบรดเนอร์: ทำวิจัยโรคมะเร็งแบบโอเพนซอร์ส

  • 0:00 - 0:04
    ผมย้ายจากรัฐชิคาโกมาอยู่ที่เมืองบอสตันเมื่อสิบปีที่แล้ว
  • 0:04 - 0:07
    เพราะผมสนใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งและวิชาเคมี
  • 0:07 - 0:10
    คุณคงพอจะรู้ว่าวิชาเคมีเป็นวิทยาศาสตร์ที่ทำงานเกี่ยวกับการสร้างโมเลกุล
  • 0:10 - 0:14
    ซึ่งสำหรับตัวผมแล้ว มันคือการสร้างยารักษาโรคมะเร็งชนิดใหม่
  • 0:14 - 0:17
    และคุณก็คงพอจะรู้ว่า สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาแพทย์แล้ว
  • 0:17 - 0:20
    เมืองบอสตันมันเทียบได้กับเด็กได้เข้าอยู่ไปในร้านขนมหวาน
  • 0:20 - 0:23
    ถ้าคุณขับผ่านป้ายหยุดรถโดยไม่จอดให้สนิทในเมืองเคมบริดจ์
  • 0:23 - 0:25
    คุณคงไม่พลาดที่จะขับไปชนนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก
  • 0:25 - 0:27
    ขนาดบาร์ที่เมืองนี้ยังชื่อ ความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์
  • 0:27 - 0:31
    ป้ายโฆษณาในเมืองนี้โฆษณาว่า "มีห้องว่างสำหรับทำงานวิจัยให้เช่า"
  • 0:31 - 0:33
    และมันคงจะไม่เกินไปถ้าจะพูดว่า ในช่วงสิบก่วาที่ผ่านมานี้
  • 0:33 - 0:36
    เราได้เห็นจุดเริ่มต้นของ
  • 0:36 - 0:39
    การปฏิวิตทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ การแพทย์ที่เกี่ยวกับพันธุกรรม
  • 0:39 - 0:41
    เรารู้และเข้าใจโรคของผู้ป่วยที่มารักษา
  • 0:41 - 0:43
    มากกว่าที่เคย
  • 0:43 - 0:45
    และในที่สุด เราก็สามารถที่จะตอบคำถาม
  • 0:45 - 0:48
    ที่เราเพียรพยายามจะหาคำตอบมาเป็นเวลาหลายๆปี
  • 0:48 - 0:51
    ว่าทำไมคนเราถึงเป็นมะเร็งกัน?
  • 0:51 - 0:53
    ความรู้ใหม่ๆเหล่านี้ค่อนข้างน่าทึ่งมากๆ
  • 0:53 - 0:55
    คุณอาจจะเคยได้ยินมาบ้างว่า
  • 0:55 - 0:57
    ความรู้ที่เราพบในช่วงต้นๆของการปฏิวัติทางพันธุกรรมนี้
  • 0:57 - 1:00
    เรารู้ว่ามีการกลายพันธุ์ที่แตกต่างกันไปประมาณ 40,000 แบบ
  • 1:00 - 1:03
    ซึ่งการกลายพันธุ์นี้ เกิดขึ้นกับยีนที่ต่างกันไปมากกว่า 10,000 ยีน
  • 1:03 - 1:05
    และในยีนเหล่านี้ มีทั้งหมดประมาณ 500 ยีน
  • 1:05 - 1:07
    ที่เป็นตัวขับเคลื่อน
  • 1:07 - 1:09
    กลไลของการเกิดมะเร็งอย่างแท้จริง
  • 1:09 - 1:11
    ในขณะเดียวกันนั้น
  • 1:11 - 1:14
    เรามียาที่ออกฤทธิ์เจาะจงไปที่ยีนเหล่านี้อยู่แค่ไม่กี่สิบตัว
  • 1:14 - 1:17
    และชนิดของยาที่มีน้อยไม่เพียงพอของยามะเร็งเหล่านี้
  • 1:17 - 1:19
    ผมรู้สึกได้อย่างจริงจัง เมื่อพ่อผมได้รับการวินัจฉัยว่า
  • 1:19 - 1:22
    เป็นมะเร็งตับอ่อน
  • 1:22 - 1:24
    เราไม่ได้พาเขาไปรักษาที่เมืองบอสตัน
  • 1:24 - 1:26
    เราไม่ได้ศึกษาพันธุกรรมของพ่อ
  • 1:26 - 1:28
    มันเป็นที่รู้กันมาเป็นสิบกว่าปีแล้ว
  • 1:28 - 1:30
    ว่าอะไรคือสาเหตุของมะเร็งชนิดนี้
  • 1:30 - 1:32
    มันคือโปรตีนสามตัวด้วยกัน
  • 1:32 - 1:35
    แรส มิกและ พี53
  • 1:35 - 1:38
    ข้อมูลเก่าเหล่านี้เรารู้กันมาตั้งแต่สมัยทศวรรษที่ 80
  • 1:38 - 1:40
    แต่เราก็ยังไม่มียา
  • 1:40 - 1:42
    สำหรับคนไข้มะเร็งตับอ่อนนี้
  • 1:42 - 1:44
    หรือมะเร็งชนิดอื่นๆ
  • 1:44 - 1:46
    ที่เกิดจากปีศาจแห่งความหายนะทั้งสาม
  • 1:46 - 1:49
    ที่นำไปสู่การเกิดโรคมะเร็ง
  • 1:49 - 1:52
    เราไม่มียาที่จำเพาะต่อ แรส มิก และพี53
  • 1:52 - 1:54
    และคงไม่ผิดถ้าคุณจะสงสัยว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
  • 1:54 - 1:57
    และคำตอบที่ไม่ค่อยน่าพอใจ แต่ตั้งอยู่บนวิทยาศาสตร์จริงๆคือ
  • 1:57 - 1:59
    มันยากเกินไป
  • 1:59 - 2:01
    มันจะเป็นด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม
  • 2:01 - 2:04
    โปรตีนสามตัวนี้ ถูกจัดเข้าไปในกลุ่มซึ่งถ้าเป็นภาษาของพวกเราจะเรียกมันว่า
  • 2:04 - 2:06
    พันธุกรรมส่วนที่ไม่สามารถสร้างยามารักษาได้
  • 2:06 - 2:08
    ซึ่งก็คงไม่ต่างกับการบอกว่าคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถจะทำให้เข้าอินเตอร์เนตได้
  • 2:08 - 2:10
    หรือพระจันทร์ที่ไปถึงไม่ได้
  • 2:10 - 2:12
    มันเป็นภาษาที่แย่ในวงการของพวกเรา
  • 2:12 - 2:14
    แต่ความหมายที่แท้จริงของมันคือ
  • 2:14 - 2:16
    เราล้มเหลวที่จะหาตำแหน่งบนโปรตีนเหล่านี้
  • 2:16 - 2:19
    ก็คงเหมือนกับช่างทำกุญแจ
  • 2:19 - 2:22
    คือเราไม่สามารถสร้างโมเลกุลที่จะไปจับได้พอดีกับโปรตีน เหมือนกุญแจเข้าได้พอดีกับแม่กุญแจ
  • 2:22 - 2:24
    รวมไปถึงเราไม่พบยาที่ทำได้
  • 2:24 - 2:26
    ผมเรียนมาทางอายุรศาสตร์
  • 2:26 - 2:28
    โรคเลือดและโรคมะเร็ง
  • 2:28 - 2:30
    และการเปลี่ยนถ่ายสเต็มเซลล์
  • 2:30 - 2:32
    สิ่งที่เรามีคือ
  • 2:32 - 2:35
    ไล่เรียงไปเหล่ารายชื่อสารควบคุมที่ อย. ให้เราใช้ได้
  • 2:35 - 2:37
    เรามีสารเหล่านี้
  • 2:37 - 2:39
    ยาเบื่อหนู ยา thalidomide
  • 2:39 - 2:41
    สารเคมีเหล่านี้ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ
  • 2:41 - 2:43
    กาซไนโตรเจน มัสตารด์
  • 2:43 - 2:46
    และเพราะอยู่ในศตวรรษที่ 21 กัน
  • 2:46 - 2:48
    ผมเลยเดาว่า คุณคงจะคิดว่า ยาเหล่านี้
  • 2:48 - 2:50
    ไม่เป็นที่น่าพอใจสำหรับคุณ
  • 2:50 - 2:53
    ผมกลับไปเรียนวิชาเคมีเพิ่มเติม
  • 2:53 - 2:55
    ด้วยความคิดที่ว่า
  • 2:55 - 2:58
    บางทีถ้าผมเรียนรู้วิธีการค้นหาสารเคมีใหม่ๆ
  • 2:58 - 3:01
    และนำมันไปใช้กับวิธีการใหม่
  • 3:01 - 3:03
    ของโอเพน ซอร์ส
  • 3:03 - 3:05
    ที่เรียกว่า crowd-source
  • 3:05 - 3:08
    การร่วมมือกันเป็นเน็ตเวิรก์ของนักวิชาการ
  • 3:08 - 3:10
    อาจทำให้เรา
  • 3:10 - 3:12
    นำยาใหม่ที่ออกฤทธิ์จำเพาะ
  • 3:12 - 3:14
    มาใช้กับผู้ป่วยได้เร็วขึ้น
  • 3:14 - 3:17
    กรุณาเข้าใจด้วยว่านี่ยังเป็นงานที่ยังไม่เสร็จดี
  • 3:17 - 3:19
    แต่วันนี้ผมมีเรื่องที่อยากมาเล่าให้ฟัง
  • 3:19 - 3:21
    เกี่ยวกับมะเร็งที่พบได้น้อยมากชนิดหนึ่ง
  • 3:21 - 3:23
    เราเรียกมันว่า มิดไลน์ คาร์ซิโนมา
  • 3:23 - 3:25
    และเรื่องของโปรตีน
  • 3:25 - 3:27
    โปรตีนที่หายามาจับไม่ได้ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งนี้
  • 3:27 - 3:29
    มันมีชื่อว่า BRD4
  • 3:29 - 3:31
    และเกี่ยวกับโมเลกุล
  • 3:31 - 3:33
    ซึ่งพัฒนามาจากห้องแล็ปของสถาบันมะเร็ง Dana Farber
  • 3:33 - 3:36
    ที่มีชื่อว่า JQ1 ซึ่งตั้งตามชื่อของ Jun Qi
  • 3:36 - 3:39
    นักเคมีที่คิดโมเลกุลนี้ขึ้นมา
  • 3:39 - 3:42
    BRD4 เป็นโปรตีนที่น่าสนใจ
  • 3:42 - 3:45
    คุณอาจจะสงสัย เจ้ามะเร็งที่พยายามจะฆ่าผู้ป่วยอยู่นี่
  • 3:45 - 3:47
    มันรู้ได้ยังไงว่ามันเป็นมะเร็ง
  • 3:47 - 3:49
    เมื่อพันธุกรรมของพันเกลียวเข้าด้วยกัน
  • 3:49 - 3:51
    แบ่งตัวเป็นสองเซลล์และคลายเกลียวอีกครั้ง
  • 3:51 - 3:53
    ทำไมเซลล์มะเร็งมันถึงไม่กลายเป็นตา หรือกลายเป็นตับ
  • 3:53 - 3:56
    ทั้งๆที่มันมียีนทั้งหมดเพียงพอที่จะทำได้
  • 3:56 - 3:58
    มันจำได้ว่ามันเป็นเซลล์มะเร็ง
  • 3:58 - 4:01
    คำตอบก็คือ เซลล์มะเร็ง ก็เหมือนกับเซลล์อื่นๆในร่างกาย
  • 4:01 - 4:03
    มันจะมีโมเลกุลที่เหมือนเป็นที่คั่นหนังสือ
  • 4:03 - 4:05
    หรือกระดาษแปะเอาไว้
  • 4:05 - 4:08
    ที่คอยเตือนมันว่า "ฉันเป็นเซลล์มะเร็ง ฉันต้องเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ"
  • 4:08 - 4:10
    และกระดาษ Post-it ที่แปะไว้เหล่านั้น
  • 4:10 - 4:12
    เกี่ยวข้องกับโปรตีนนี้และโปรตีนอื่นๆที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
  • 4:12 - 4:14
    ที่มีชื่อเรียกรวมกันว่า โบรโมโดเมน
  • 4:14 - 4:17
    เราจึงพัฒนาแนวคิดขึ้นมาอันนึง เป็นหลักการ
  • 4:17 - 4:19
    ว่า ถ้าเราสามารสร้างโมเลกุล
  • 4:19 - 4:21
    ที่ป้องกันไม่ให้มีข้อความมาแปะไว้ที่เซลล์มะเร็งได้
  • 4:21 - 4:23
    โดยกันไม่ให้ข้อความที่จะมาแปะเข้าไปใน
  • 4:23 - 4:25
    โพรงที่อยู่ที่ฐานของโปรตีนที่่กำลังหมุนนี้
  • 4:25 - 4:27
    ถ้าทำได้ เราอาจจะสามารถสื่อสารกับเซลล์มะเร็งได้
  • 4:27 - 4:30
    โดยเฉพาะพวกเซลล์มะเร็งที่เสพติดโปรตีน BRD4
  • 4:30 - 4:32
    ว่าพวกมันไม่ใช่มะเร็ง
  • 4:32 - 4:34
    ดังนั้นเราจึงเริ่มทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้
  • 4:34 - 4:36
    เราพัฒนาสารขึ้นมาปริมาณหนึ่ง
  • 4:36 - 4:39
    และในที่สุดเราก็ได้สารตัวหนึ่งและสารอื่นที่คล้ายกัน
  • 4:39 - 4:41
    เราเรียกมันว่า JQ1
  • 4:41 - 4:43
    เนื่องจากเราไม่ใช่บริษัทยา
  • 4:43 - 4:46
    เรามีความยืดหยุ่นที่จะทำบางอย่าง
  • 4:46 - 4:49
    ซึ่งบริษัทยาทั่วไปไม่สามารถทำได้
  • 4:49 - 4:51
    เราเริ่มที่จะส่งข้อมูลนี้ให้เพื่อนๆ
  • 4:51 - 4:53
    ห้องแล็ปของผมค่อนข้างเล็ก
  • 4:53 - 4:55
    เราจึงส่งไปหาคนอื่นๆเพื่อดูว่าโมเลกุลมันทำงานเป็นอย่างไร
  • 4:55 - 4:57
    เราส่งตัวอย่างไปที่อ๊อกซ์ฟอรด์ ประเทศอังกฤษ
  • 4:57 - 5:00
    ที่ซึ่งนักถ่ายภาพคริสตัลด้วยเอ็กซ์เรย์ที่นั่นได้ถ่ายภาพนี้
  • 5:00 - 5:02
    ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจ
  • 5:02 - 5:05
    ว่าทำไมโมเลกุลนี้จึงมีประสิทธิภาพสุงในการจับโปรตีนนี้
  • 5:05 - 5:07
    เราเรียกว่ารูปร่างมันเข้ากันได้อย่างพอดี
  • 5:07 - 5:09
    อย่างกับมือและถุงมือ
  • 5:09 - 5:11
    มะเร็งนี้พบได้น้อยมาก
  • 5:11 - 5:13
    มะเร็งที่ชอบโปรตีน BRD4 มาก
  • 5:13 - 5:16
    เราจึงทำการทดลองด้วยตัวอย่างมะเร็ง
  • 5:16 - 5:19
    ที่เราได้จากหมอพยาธิวิทยา แห่งโรงพยาบาล Brigham Women
  • 5:19 - 5:22
    และเมื่อเราให้สารนี้กับเซลล์มะเร็ง
  • 5:22 - 5:24
    ผลที่ได้ค่อนข้างชัดเจน
  • 5:24 - 5:26
    เซลล์มะเร็ง
  • 5:26 - 5:28
    เซลล์เล็กๆ กลมๆ และแบ่งตัวเร็ว
  • 5:28 - 5:30
    เริ่มมีแขนขาและรอยยื่นออกมา
  • 5:30 - 5:32
    หน้าตาพวกมันเริ่มเปลี่ยนไป
  • 5:32 - 5:34
    ผลที่ได้คือ เซลล์มะเร็ง
  • 5:34 - 5:36
    มันเริ่มลืมไปว่ามันเป็นเซลล์มะเร็ง
  • 5:36 - 5:39
    และเริ่มเปลี่ยนเป็นเซลล์ปกติ
  • 5:39 - 5:42
    มันทำให้เราตื่นเต้นกันมา
  • 5:42 - 5:45
    ขั้นต่อไปคือเอาโมเลกุลนี้ไปทดลองกับหนุ
  • 5:45 - 5:48
    แต่ปัญหาคือ เราไม่มีหนูทดลองสายพันธุ์ที่เป็นมะเร็งนี้
  • 5:48 - 5:51
    ในขณะที่เรากำลังทดลองอยู่นั้น
  • 5:51 - 5:54
    ผมกำลังรักษานักดับเพลิงวัย 29 ปีจากรัฐคอนเนคติกัต คนหนึี่ง
  • 5:54 - 5:57
    ซึ่งป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย
  • 5:57 - 5:59
    ด้วยมะเร็งชนิดนี้
  • 5:59 - 6:01
    มะเร็งที่ชอบโปรตีน BRD4 นี้
  • 6:01 - 6:03
    กำลังลุกลามเต็มปอดด้านซ้ายของเขา
  • 6:03 - 6:05
    เราจึงต้องใส่ท่อระบายน้ำออกจากช่องเยื่อหุ้มปอดเขา
  • 6:05 - 6:07
    และทุกๆรอบที่พยาบาลเปลียนเวร
  • 6:07 - 6:09
    ก็ต้องมาเทน้ำและเนื้อมะเร็งเหล่านี้ทิ้ง
  • 6:09 - 6:11
    ดังนั้นเราจึงขออนุญาตผู้ป่วยรายนี้
  • 6:11 - 6:13
    ว่าเขายินดีร่วมมือกับเราหรือไม่
  • 6:13 - 6:17
    เราขอตัวอย่างชิ้นเนื้อมะเร็งที่ออกมา
  • 6:17 - 6:19
    จากท่อระบายในช่องเยื่อหุ้มปอด
  • 6:19 - 6:21
    และนำเนื้อเยื่อเหล่านี้มาใส่ในหนู
  • 6:21 - 6:23
    และพยายามที่จะทำการวิจัย
  • 6:23 - 6:25
    และทดลองกับยาใหม่นี้
  • 6:25 - 6:28
    ซึ่งเราไม่สามารถที่จะทำการทดลองนี้ในคนได้ เนื่องจากเหตุผลทางจริยธรรม
  • 6:28 - 6:31
    ซึ่งเขาก็ยินยอมให้เราทำ
  • 6:31 - 6:33
    ณ.สถาบันภาพรังสีในสัตว์ Lurie Family Center
  • 6:33 - 6:36
    เพื่อนร่วมงานผม แอนดรูว์ คัง ทำให้มะเร็งชนิดนี้โตในหนูได้สำเร็จ
  • 6:36 - 6:38
    โดยไม่ต้องแม้แต่จะนำไปเพาะเลี้ยงก่อน
  • 6:38 - 6:41
    และนี่เป็นภาพ PET สแกนของหนู ซึ่งเราเรียกมันว่า เพ็ดเพ็ด
  • 6:41 - 6:43
    มะเร็งมันเติบโต
  • 6:43 - 6:46
    ดังที่เห็นสีแดงนี้ เป็นก้อนใหญ่ที่ขาหลังของหนู
  • 6:46 - 6:48
    และเมื่อเรารักษามันด้วยยาใหม่
  • 6:48 - 6:50
    ก้อนมะเร็งที่หิวโหยน้ำตาลนี้
  • 6:50 - 6:52
    ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็ว จางลง
  • 6:52 - 6:54
    และในหนูที่อยู่ด้านขวา
  • 6:54 - 6:57
    คุณจะเห็นว่ามะเร็งมันตอบสนองต่อการรักษา
  • 6:57 - 6:59
    ขณะนี้งานวิจัยทางคลินิกของเรา
  • 6:59 - 7:01
    ในหนูทดลองสี่ตัวได้เสร็จสิ้นลงแล้ว
  • 7:01 - 7:03
    และทุกครั้งที่ทดลอง เราได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้ง
  • 7:03 - 7:05
    หนูที่ได้ยามะเร็งนี้ มีชีวิตรอด
  • 7:05 - 7:08
    และหนูที่ไม่ได้ยา เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
  • 7:10 - 7:12
    เราจึงเริ่มที่จะสงสัยว่า
  • 7:12 - 7:14
    ณ.จุดนี้ถ้าเป็นบริษัทยาจะทำอย่างไรต่อ
  • 7:14 - 7:16
    พวกเขาคงต้องเก็บมันเป็นความลับ
  • 7:16 - 7:18
    จนกระทั่งเขาสามารถเปลี่ยนยาต้นแบบ
  • 7:18 - 7:20
    เป็นยาที่สามารถนำมารักษาได้จริง
  • 7:20 - 7:22
    แต่เรากลับทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม
  • 7:22 - 7:24
    เราจึงได้ตีพิมพ์งานวิจัย
  • 7:24 - 7:26
    ของการค้นพบนี้
  • 7:26 - 7:28
    ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการค้นพบ
  • 7:28 - 7:31
    เราเปิดเผยข้อมูลทางเคมีของโมเลกุลนี้สูสาธารณะ
  • 7:31 - 7:33
    ซึ่งปกติมันควรจะเป็นความลับของเรา
  • 7:33 - 7:35
    เราบอกให้คนทั่วไปรู้ว่า จะสร้างโมเลกุลนี้ได้อย่างไร
  • 7:35 - 7:37
    เราให้อีเมล์ของเราไป
  • 7:37 - 7:39
    โดยแจ้งไปว่า ถ้าใครเขียนมาหาเรา
  • 7:39 - 7:41
    เราจะส่งตัวอย่างโมเลกุลให้
  • 7:41 - 7:43
    หรืออาจจะพูดได้ว่า
  • 7:43 - 7:45
    เราได้สร้างบรรยากาศแห่งการแข็งขันให้กับห้องแล็ปของเรา
  • 7:45 - 7:47
    และนี่ก็ดันประสบความสำเร็จเสียด้วย
  • 7:47 - 7:49
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:49 - 7:51
    เป็นเพราะเราแบ่งปันโมเลกุลนี้
  • 7:51 - 7:53
    ตั้งแต่ธันวาคมของปีที่แล้ว
  • 7:53 - 7:55
    ให้กับห้องแล็ป 40 แห่งในอเมริกา
  • 7:55 - 7:57
    และอีก 30 แห่งในยุโรป
  • 7:57 - 7:59
    หลายๆแห่งเป็นบริษัทยา
  • 7:59 - 8:01
    ที่กำลังหาทางที่จะเข้ามาศึกษา
  • 8:01 - 8:03
    วิธีรักษามะเร็งที่พบไม่บ่อยชนิดนี้
  • 8:03 - 8:05
    เป็นที่น่ายินดี ที่ในปัจจุบัน
  • 8:05 - 8:07
    มีความต้องการที่จะทำงานในอุตสาหกรรมนี้ค่อนข้างสูง
  • 8:09 - 8:12
    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เราได้รับกลับมาจากห้องแล็ปเหล่านี้
  • 8:12 - 8:14
    เกี่ยวกับการนำโมเลกุลนี้ไปใช้
  • 8:14 - 8:16
    ทำให้เราเข้าใจ
  • 8:16 - 8:18
    สิ่งที่เราไม่สามารถรู้ได้จากการทำงานเพียงลำพัง
  • 8:18 - 8:20
    เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยานี้
  • 8:20 - 8:23
    เปลี่ยนกลับไปเป็นเม็ดเลือดขาวปกติ
  • 8:23 - 8:25
    หนูที่เป็นโรคมะเร็ง multiple myeloma
  • 8:25 - 8:28
    ซึ่งเป็นมะเร็งไขกระดูกที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด
  • 8:28 - 8:30
    ตอบสนองอย่างน่าอัศจรรย์
  • 8:30 - 8:32
    ต่อการรักษาด้วยยานี้
  • 8:32 - 8:34
    คุณอาจจะเคยได้ยินว่าเซลล์ไขมันมันมีความทรงจำ
  • 8:34 - 8:38
    ดีจังที่ผมมีตัวอย่างให้คุณเห็น
  • 8:38 - 8:40
    อันที่จริงแล้ว โมเลกุลนี้
  • 8:40 - 8:43
    ป้องกันเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์ไขมันหรือ adipocyte
  • 8:43 - 8:46
    ไม่ให้จำได้ว่าสร้างไขมันยังไง
  • 8:46 - 8:48
    หนูซึ่งเราให้กินอาหารไขมันสูง
  • 8:48 - 8:51
    เหมือนเพื่อนร่วมเมืองชิคาโกของผม
  • 8:51 - 8:53
    ไม่เป็นไขมันสะสมที่ตับ
  • 8:53 - 8:56
    ซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญ
  • 8:56 - 8:58
    สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากทำงานวิจัยนี้
  • 8:58 - 9:00
    ไม่เฉพาะแค่ที่แล็ปของผม แต่ทั้งสถาบัน
  • 9:00 - 9:02
    รวมไปถึงโรงเรียนแพทย์ Harvard
  • 9:02 - 9:04
    ว่าเรามีทรัพยากรที่พิเศษทางวิชาการ
  • 9:04 - 9:06
    สำหรับการค้นพบยาใหม่ๆ
  • 9:06 - 9:08
    สถาบันของเรา
  • 9:08 - 9:10
    ได้ทดสอบโมเลกุลสำหรับมะเร็งใหม่ๆ
  • 9:10 - 9:12
    มากกว่าที่อื่น
  • 9:12 - 9:14
    แต่เราไม่เคยผลิตออกมาเป็นตัวยา
  • 9:14 - 9:16
    ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่คุณเห็นอยู่นี้
  • 9:16 - 9:19
    เราเชื่อว่ามันมีโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับสถาบันวิชาการ
  • 9:19 - 9:22
    ที่จะมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น ซึ่งเ็ป็นช่วงที่ยาก
  • 9:22 - 9:25
    และใช้ความคิดสร้างสรรค์
  • 9:25 - 9:27
    ของการค้นพบยาต้นแบบ
  • 9:29 - 9:31
    แล้วจากนี้ จะมีอะไรต่อไป?
  • 9:31 - 9:33
    เรามีโมเลกุลนี้แล้ว แต่มันยังไม่อยู่ในรูปของยา
  • 9:33 - 9:36
    มันยังไม่อยู่ในรูปที่กินได้
  • 9:36 - 9:39
    เราต้องปรับอีก เพื่อทำให้มันใช้กับผู้ป่วยได้จริง
  • 9:39 - 9:41
    และทุกคนภายในแล็ป
  • 9:41 - 9:43
    โดยเฉพาะคนที่ทำงานกับผู้ป่วยโดยตรง
  • 9:43 - 9:45
    แทบจะอดใจไม่ไหว
  • 9:45 - 9:47
    ที่จะได้ใช้ยาที่พัฒนาจากโมเลกุลนี้
  • 9:47 - 9:49
    ซึ่งณ.จุดนี้ ผมคงต้องพูดว่า
  • 9:49 - 9:51
    เราต้องการความรู้ ความช่วยเหลือ
  • 9:51 - 9:53
    และการร่วมมือจากท่าน
  • 9:53 - 9:55
    เราต่างจากบริษัทยา
  • 9:55 - 9:58
    เราไม่มีระบบการผลิตที่จะนำโมเลกุลนี้ไปพัฒนาต่อ
  • 9:58 - 10:01
    เราไม่มีทีมนักขายและนักการตลาด
  • 10:01 - 10:04
    ที่จะบอกเราว่าจะวางตำแหน่งการตลาดแข่งกับยาอื่นๆอย่างไร
  • 10:04 - 10:06
    แต่ที่เรามีคือความยืดหยุ่นของการเป็นสถาบันวิชาการ
  • 10:06 - 10:09
    ที่จะทำงานร่วมกับคนที่มีความสามารถ มีแรงใจ
  • 10:09 - 10:12
    กระตือรือร้น และถ้าเป็นไปได้มีเงินสนับสนุนก้อนใหญ่
  • 10:12 - 10:14
    ที่จะนำโมเลกุลนี้ไปศึกษาต่อในผู้ป่วย
  • 10:14 - 10:16
    ในขณะเดียวกัน ก็ยังยินยอมให้เรา
  • 10:16 - 10:19
    แบ่งปันยาต้นแบบนี้กับคนทั่วโลก
  • 10:19 - 10:21
    โมเลกุลนี้กำลังจะออกจากแล็ปของเรา
  • 10:21 - 10:23
    และไปสู่บริษัทก่อตั้งใหม่เล็กๆ
  • 10:23 - 10:25
    ที่มีชื่อว่า Tensha Therapeutiecs
  • 10:25 - 10:28
    และนี่เป็นโมเลกุลตัวที่ 4 ของกลุ่ม
  • 10:28 - 10:31
    ที่ออกไปจากสายการผลิตยาเล็กๆของเรา
  • 10:31 - 10:34
    มีสองชนิดเป็นยาทา
  • 10:34 - 10:37
    สำหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนัง
  • 10:37 - 10:40
    ยากินสำหรับรักษามะเร็งไขกระดูก
  • 10:40 - 10:42
    กำลังที่จะได้นำมาใช้กับผู้ป่วย
  • 10:42 - 10:44
    สำหรับงานวิจัยทางคลินิกในเดือนกค.ของปีนี้
  • 10:44 - 10:47
    สำหรับเรา ถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญและน่าตื่นเต้น
  • 10:48 - 10:50
    ผมอยากจะจบการสนทนาด้วยไอเดียสองข้อด้วยกัน
  • 10:50 - 10:52
    ข้อแรกคือ
  • 10:52 - 10:55
    ถ้าการทำงานวิจัยนี้จะมีอะไรที่พิเศษ
  • 10:55 - 10:57
    ส่วนที่เป็นวิทยาศาสตร์นั้นพิเศษน้อยกว่าในส่วนกระบวนการ
  • 10:57 - 10:59
    สำหรับเราแล้ว นี่เป็นการทดลองทางสังคม
  • 10:59 - 11:02
    การทดลองที่จะดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น
  • 11:02 - 11:05
    ถ้าเราเปิดกว้างและซื้อสัตย์
  • 11:05 - 11:07
    ตั้งแต่ระยะแรกของการค้นพบโครงสร้างทางเคมี
  • 11:07 - 11:09
    เท่าที่จะเป็นไปได้
  • 11:09 - 11:11
    ตัวอักษรและตัวเลขเหล่านี้
  • 11:11 - 11:13
    สัญลักษณ์และเครื่องหมายวงเล็บ
  • 11:13 - 11:15
    ซึ่งผมคิดว่าสามารถจะส่งเป็นข้อความได้
  • 11:15 - 11:17
    หรือทวิต ไปทั่วโลก
  • 11:17 - 11:20
    เป็นสูตรเคมีของสารตั้งต้นของเรา
  • 11:20 - 11:22
    มันเป็นข้อมูลที่เราต้องการมากที่สุด
  • 11:22 - 11:24
    จากบริษัทยา
  • 11:24 - 11:26
    ข้อมูล
  • 11:26 - 11:29
    ที่จะบอกเราว่ายาตั้งต้นเหล่านี้ทำงานยังไง
  • 11:29 - 11:32
    แต่ข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นความลับ
  • 11:32 - 11:34
    เราจึงได้นำ
  • 11:34 - 11:36
    กระบวนการที่ประสบความสำเร็จอย่างสวยงาน
  • 11:36 - 11:39
    ของอุตสาหกรรมทางคอมพิวเตอร์ 2 หลักการด้วยกัน
  • 11:39 - 11:42
    นั่นคือ โอเพนซอรส์และ crowdsourcing
  • 11:42 - 11:46
    เพื่อเร่งอย่างระมัดระวัง
  • 11:46 - 11:49
    การพัฒนายาที่จำเพาะเหล่านี้
  • 11:49 - 11:51
    ไปสู่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • 11:51 - 11:54
    ปัจจุบันโมเดลทางธุรกิจเกี่ยวข้องกับคุณด้วย
  • 11:54 - 11:56
    งานวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากภาคประชาชาน
  • 11:56 - 11:58
    โดยได้รับทุนผ่านทางหลาย ๆ หน่วยงาน
  • 11:58 - 12:00
    สิ่งหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้ในบอสตัน
  • 12:00 - 12:02
    นั่นคือพวกคุณทำทุกอย่างเพื่อเอาชนะมะเร็ง และผมก็ชื่นชม
  • 12:02 - 12:05
    พวกคุณขี่จักรยานข้ามรัฐ หรือเดินเพื่อการกุศล
  • 12:05 - 12:07
    (เสียงหัวเราะ)
  • 12:07 - 12:09
    ผมไม่เห็นสิ่งเหล่านี้ในที่อื่นเลย
  • 12:09 - 12:11
    การช่วยเหลือที่พิเศษ
  • 12:11 - 12:13
    สำหรับงานวิจัยทางมะเร็ง
  • 12:13 - 12:15
    ดังนั้นผมอยากจะขอบคุณ
  • 12:15 - 12:18
    สำหรับการมีส่วนร่วม
  • 12:18 - 12:21
    และที่สำคัญที่สุดคือ ความเชื่อมั่นที่คุณมีให้กับงานของเรา
  • 12:21 - 12:26
    (ปรบมือ)
Title:
เจย์ แบรดเนอร์: ทำวิจัยโรคมะเร็งแบบโอเพนซอร์ส
Speaker:
Jay Bradner
Description:

เซลล์มะเร็งมันรู้ได้อย่างไรว่ามันเป็นเซลล์มะเร็ง ณ.ห้องแล็ปของ เจย์ แบรดเนอร์ พวกเขาพบโมเลกุลที่อาจจะตอบคำถามนี้ได้ JQ1 และแทนที่พวกเขาจะจดสิทธิบัตร JQ1 พวกเขากลับตีพิมพ์สิ่งที่เขาพบและส่งตัวอย่างโมเลกุลไปที่ห้องแล็ปอื่นๆอีก 40 กว่าแห่ง เรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจของการทำวิจัยทางการแพทย์แบบใหม่ การวิจัยแบบโอเพน ซอร์ส

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
12:27
chatchapol Kiatikajornthada added a translation

Thai subtitles

Revisions