Return to Video

เจมส์ บี แกลทเฟลเดอร์ (James B. Glattfelder): ใครควบคุมโลกใบนี้?

  • 0:00 - 0:03
    เมื่อเกิดวิกฤติกาลขึ้น
  • 0:03 - 0:06
    ข้อจำกัดร้ายแรงของรูปแบบทางเศรษฐกิจ
    และทางการเงินที่เป็นอยู่
  • 0:06 - 0:11
    ก็ปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัด
  • 0:11 - 0:16
    "มีความเชื่อที่หนักแน่น ซึ่งผมก็เห็นด้วย
  • 0:16 - 0:21
    ว่าเศรษฐกิจที่มีลักษณะง่ายๆ
    และที่เราเชื่อมั่นจนเกินไป
  • 0:21 - 0:23
    ช่วยให้เกิดภาวะวิกฤติขึ้น"
  • 0:23 - 0:26
    ทุกท่านน่าจะได้ยินคำวิจารณ์เหมือนอย่างนี้
  • 0:26 - 0:29
    ซึ่งมาจากคนที่มีข้อกังขากับลัทธิทุนนิยม
  • 0:29 - 0:31
    แต่เรื่องนี้ต่างออกไป
  • 0:31 - 0:34
    สิ่งนี้ออกมาจากหัวใจสำคัญของการเงิน
  • 0:34 - 0:37
    ถ้อยคำที่ยกมาอันแรก มาจาก Jean-Claude Trichet
  • 0:37 - 0:41
    เมื่อตอนเขาเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank)
  • 0:41 - 0:43
    ถ้อยคำที่ยกมาอันที่สอง มาจากหัวหน้า
  • 0:43 - 0:47
    การบริการทางการเงินของอังกฤษ
    (UK Financial Services Authority)
  • 0:47 - 0:48
    คนเหล่านี้กำลังบอกเป็นนัยๆ ใช่หรือไม่
  • 0:48 - 0:51
    ว่าเราไม่เข้าใจระบบเศรษฐกิจ
  • 0:51 - 0:54
    ที่ขับเคลื่อนสังคมสมัยใหม่ของเรา
  • 0:54 - 0:56
    มันยิ่งเลวร้ายลงไป
  • 0:56 - 0:58
    "เราใช้เงินเป็นพันๆ ล้านดอลลาร์
  • 0:58 - 1:02
    เพื่อพยายามเข้าใจต้นกำเนิดของจักรวาล
  • 1:02 - 1:05
    ในขณะที่เรายังคงไม่เข้าใจเงื่อนไข
  • 1:05 - 1:14
    สำหรับสังคมที่มั่นคง เศรษฐกิจที่เดินไปได้ หรือสันติภาพ
  • 1:14 - 1:17
    อะไรกำลังเกิดขึ้นตรงนี้
    สิ่งนี้เป็นไปได้อย่างไร
  • 1:17 - 1:20
    ใช่หรือไม่ว่า เราเข้าใจอย่างถ่องแท้
    เกี่ยวกับโครงสร้างของโลกความเป็นจริง
  • 1:20 - 1:22
    มากกว่าที่เราเข้าใจโครงสร้าง
  • 1:22 - 1:25
    ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เรา
  • 1:25 - 1:27
    โชคร้ายที่คำตอบคือ ใช่
  • 1:27 - 1:31
    แต่มีวิธีแก้ปัญหาที่น่าสนใจ ซึ่งมาจาก
  • 1:31 - 1:35
    ที่เรารู้จักกันว่า ศาสตร์ของความซับซ้อน
    (the science of complexity)
  • 1:35 - 1:38
    เพื่ออธิบายว่าสิ่งนี้คืออะไร และหมายความว่าอย่างไร
  • 1:38 - 1:42
    กรุณาให้ผมถอยหลังกลับไปในอดีต
    อย่างรวดเร็วสองสามก้าว
  • 1:42 - 1:44
    ผมลงเอยที่งานด้านฟิสิกส์โดยบังเอิญ
  • 1:44 - 1:47
    เป็นการค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อตอนที่ผมยังอายุน้อยอยู่
  • 1:47 - 1:49
    แล้วตั้งแต่บัดนั้นมา ผมก็จะสงสัยอยู่เสมอๆ
  • 1:49 - 1:51
    เกี่ยวกับความสำเร็จที่น่าประหลาดใจของฟิสิกส์
  • 1:51 - 1:56
    ในการอธิบายความเป็นจริง
    ที่เราตื่นขึ้นมาเห็นในทุกๆวัน
  • 1:56 - 1:59
    อย่างสั้นๆก็คือ คุณสามารถคิดว่าฟิสิกส์
    เป็นได้คังนี้
  • 1:59 - 2:02
    คุณก็เอาก้อนของความเป็นจริง ที่คุณต้องการจะเข้าใจ
  • 2:02 - 2:06
    และคุณก็แปลงมันไปเป็นคณิตศาสตร์
  • 2:06 - 2:09
    คุณแปลงให้มันเป็นสมการ
  • 2:09 - 2:13
    แล้วตั้งความคาดหมายขึ้น แล้วจึงมาทดสอบ
  • 2:13 - 2:16
    จริงๆแล้วเราโชคดีมาก ที่วิธีนี้ใช้การได้
  • 2:16 - 2:19
    เพราะว่าไม่มีผู้ใดรู้อย่างแท้จริงว่า
    ทำไมความคิดที่อยู่ในหัวสมองเรา
  • 2:19 - 2:24
    จริงๆแล้วควรจะสัมพันธ์กับ
    การทำงานพื้นฐานของจักรวาล
  • 2:24 - 2:28
    แม้จะมีความสำเร็จ ฟิสิกส์ก็มีข้อจำกัด
  • 2:28 - 2:30
    ตามที่ Dirk Helbing ได้ชี้ให้เห็น
    ในถ้อยคำที่อ้างถึงอันสุดท้ายว่า
  • 2:30 - 2:33
    เราไม่เข้าใจอย่างแท้จริงถึงความซับซ้อน
  • 2:33 - 2:36
    ที่เกี่ยวข้องกับเรา หรือที่อยู่รอบๆเรา
  • 2:36 - 2:41
    ข้อความที่ขัดแย้งนี้
    คือ สิ่งที่ทำให้ผมสนใจเรื่องระบบที่ซับซ้อน
  • 2:41 - 2:43
    ดังนั้น ระบบเหล่านี้ ซึ่งเกิดขึ้น
  • 2:43 - 2:46
    จากส่วนต่างๆ ที่สัมพันธ์กัน
    หรือมีปฏิสัมพันธ์กัน
  • 2:46 - 2:50
    เช่น ฝูงนก หรือปลา หรือรังมด
  • 2:50 - 2:53
    ระบบนิเวศ สมอง ตลาดการเงิน
  • 2:53 - 2:58
    เหล่านี้เป็นแค่เพียงบางตัวอย่าง
  • 2:58 - 3:03
    ที่น่าสนใจก็คือ ระบบที่ซับซ้อนนั้น
    ยากมากที่จะทำออกมา
  • 3:03 - 3:05
    เป็นสมการคณิตศาสตร์
  • 3:05 - 3:09
    ดังนั้นวิธีการทางฟิสิกส์ปกติธรรมดา
    จึงใช้การไม่ได้ตรงนี้
  • 3:09 - 3:11
    แล้วเรารู้เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับระบบที่ซับซ้อน
  • 3:11 - 3:15
    อ๋อ มันกลับกลายเป็นว่า
    สิ่งที่ดูเหมือนพฤติกรรมที่ซับซ้อน
  • 3:15 - 3:18
    จากด้านนอก จริงๆแล้วเป็นผลมาจาก
  • 3:18 - 3:23
    กฎการปฏิสัมพันธ์ธรรมดาๆสองสามข้อ
  • 3:23 - 3:27
    หมายความว่า คุณสามารถลืมเรื่องสมการไปได้เลย
  • 3:27 - 3:29
    และเพียงแค่เริ่มทำความเข้าใจระบบนั่น
  • 3:29 - 3:31
    โดยดูที่การปฏิสัมพันธ์
  • 3:31 - 3:34
    ดังนั้นคุณจึงสามารถลืมเรื่องสมการไปได้เลย
  • 3:34 - 3:36
    และคุณก็แค่มาเริ่มดูที่การปฏิสัมพันธ์
  • 3:36 - 3:39
    และมันก็จะดียิ่งขึ้น เพราะว่าระบบที่ซับซ้อนส่วนมาก
  • 3:39 - 3:43
    มีคุณสมบัติที่น่าประหลาดใจ
    เรียกว่า การอุบัติ (emergence)
  • 3:43 - 3:45
    เรื่องนี้จึงหมายความว่า ระบบโดยรวม
  • 3:45 - 3:47
    จะเริ่มแสดงพฤติกรรม
  • 3:47 - 3:50
    ที่เราไม่สามารถเข้าใจ หรือคาดการณ์ได้
  • 3:50 - 3:52
    โดยดูที่ส่วนประกอบต่างๆของระบบ
  • 3:52 - 3:56
    ในภาพรวมจึงมีความหมาย
    ที่มากกว่าการเอาส่วนต่างๆมารวมกัน
  • 3:56 - 3:59
    และทั้งหมดนี้ ยังมีความหมายว่า
    คุณสามารถลืมไปได้เลย
  • 3:59 - 4:04
    ว่าแต่ละส่วนของระบบ จะมีความซับซ้อนอย่างไร
  • 4:04 - 4:09
    ดังนั้น ถ้ามันเป็นเซลล์ๆหนึ่ง
    หรือปลวกตัวหนึ่ง หรือนกตัวหนึ่ง
  • 4:09 - 4:13
    คุณก็แค่เพียงเน้นไปที่กฎของการปฏิสัมพันธ์
  • 4:13 - 4:18
    ผลลัพธ์ก็คือ ระบบเครือข่ายคือตัวแทนในอุดมคติ
  • 4:18 - 4:20
    ของระบบที่ซับซ้อน
  • 4:20 - 4:23
    แม่ข่าย (node) ในเครือข่าย
  • 4:23 - 4:26
    เป็นส่วนประกอบของระบบ
  • 4:26 - 4:30
    และการเชื่อมต่อ (link) เกิดขึ้นได้จากการปฏิสัมพันธ์
  • 4:30 - 4:33
    ดังนั้น สมการจึงเป็นเรื่องของวิชาฟิสิกส์
  • 4:33 - 4:38
    เครือข่ายที่ซับซ้อน
    จึงเป็นเรื่องของการศึกษาระบบที่ซับซ้อน
  • 4:38 - 4:41
    แนวคิดแบบนี้ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ได้
    อย่างสัมฤทธิ์ผลเป็นอย่างมาก
  • 4:41 - 4:44
    ในระบบที่ซับซ้อนหลายระบบ
    ในวิชาฟิสิกส์ ชีววิทยา
  • 4:44 - 4:47
    วิทยาการคอมพิวเตอร์ สังคมศาสตร์
  • 4:47 - 4:50
    แต่สำหรับวิชาเศรษฐศาสตร์ล่ะ
  • 4:50 - 4:52
    เครือข่ายเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อยู่ที่ไหน
  • 4:52 - 4:57
    นี่แหละคือช่องว่างที่น่าประหลาดใจ
    และเห็นได้เด่นชัดในวรรณคดีที่เกี่ยวข้อง
  • 4:57 - 4:59
    การศึกษาที่เราตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว ชื่อว่า
  • 4:59 - 5:02
    "เครือข่ายการควบคุมของบริษัทข้ามชาติ"
  • 5:02 - 5:08
    เป็นการวิเคราะห์เครือข่ายเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง
    เป็นครั้งแรก
  • 5:08 - 5:11
    การศึกษานี้ได้กลายเป็น
    ที่นิยมอย่างมากในอินเตอร์เน็ต
  • 5:11 - 5:16
    และได้ดึงดูดความสนใจอย่างมาก
    จากสื่อมวลชลระหว่างประเทศ
  • 5:16 - 5:19
    เป็นเรื่องพิเศษทีเดียว เพราะว่า ยํ้าอีกครั้ง
  • 5:19 - 5:20
    ทำไมจึงไม่มีผู้ใดให้ความสนใจกับเรื่องนี้มาก่อน
  • 5:20 - 5:24
    ข้อมูลแบบเดียวกันนี้
    มีให้เห็นมานานพอสมควรทีเดียว
  • 5:24 - 5:27
    สิ่งที่เราให้ความสนใจอย่างละเอียด
    ก็คือเครือข่ายความเป็นเจ้าของ
  • 5:27 - 5:33
    ดังนั้น ตรงนี้แม่ข่ายก็คือ บริษัท ผู้คน รัฐบาล
  • 5:33 - 5:36
    มูลนิธิ และอื่นๆ
  • 5:36 - 5:39
    และการเชื่อมต่อก็ คือ ความสัมพันธ์ของผู้ถือหุ้น
  • 5:39 - 5:44
    ดังนั้นผู้ถือหุ้น A จึงมี X เปอร์เซ็นต์ของหุ้นในบริษัท B
  • 5:44 - 5:46
    และเรายังกำหนดมูลค่าให้กับบริษัท
  • 5:46 - 5:50
    จากรายได้ของการดำเนินงาน
  • 5:50 - 5:53
    ดังนั้นเครือข่ายความเป็นเจ้าของกิจการ
    จึงเผยออกมาให้เห็นรูปแบบต่างๆ
  • 5:53 - 5:55
    ของความสัมพันธ์ของผู้ถือหุ้น
  • 5:55 - 5:57
    ในตัวอย่างเล็กๆนี้ คุณสามารถเห็น
  • 5:57 - 5:59
    สถาบันการเงินเพียงไม่กี่แห่ง
  • 5:59 - 6:04
    ที่มีการเชื่อมต่ออยู่หลายที่
    และบางที่ได้ถูกไฮไลท์ไว้
  • 6:04 - 6:07
    ตอนนี้คุณอาจจะคิดว่า
    ไม่มีใครให้ความสนใจกับเรื่องนี้มาก่อน
  • 6:07 - 6:09
    เพราะว่าเครือข่ายการเป็นเจ้าของกิจการ
  • 6:09 - 6:12
    จริงๆแล้วเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย
    ที่จะทำการศึกษาวิจัย
  • 6:12 - 6:16
    เอาละ เมื่อการเป็นเจ้าของกิจการสัมพันธ์กับการควบคุม
  • 6:16 - 6:17
    ซึ่งผมจะอธิบายภายหลัง
  • 6:17 - 6:19
    การให้ความสนใจกับเครือข่ายเจ้าของกิจการ
  • 6:19 - 6:21
    จริงๆแล้วสามารถให้คำตอบกับคำถาม เช่น
  • 6:21 - 6:23
    ใครเป็นบริษัทผู้นำ (key players)
  • 6:23 - 6:25
    พวกเขาจัดการกันอย่างไร
    พวกเขาอยู่โดดเดี่ยวหรือไม่
  • 6:25 - 6:27
    พวกเขาเชื่อมต่อกันหรือไม่
  • 6:27 - 6:31
    และการกระจายของการควบคุมโดยรวม เป็นอย่างไร
  • 6:31 - 6:34
    พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ใครควบคุมโลกนั่นเอง
  • 6:34 - 6:37
    ผมคิดว่า นี่เป็นคำถามที่น่าสนใจ
  • 6:37 - 6:41
    และมันมีความหมายกินไปถึง ดวามเสี่ยงเกี่ยวกับระบบ
  • 6:41 - 6:46
    เรื่องนี้ เป็นการวัดจุดอ่อนของระบบโดยรวม
  • 6:46 - 6:49
    การเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน
    ในระดับที่สูง
  • 6:49 - 6:51
    เป็นเรื่องเลวร้ายต่อความมั่นคงก็ได้
  • 6:51 - 6:55
    เพราะว่า เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว
    ความตึงเครียดสามารถแผ่ออกไปได้ทั่วทั้งระบบ
  • 6:55 - 6:58
    เหมือนกับโรคระบาด
  • 6:58 - 7:01
    นักวิทยาศาสตร์ได้เคยวิจารณ์นักเศรษฐศาสตร์
  • 7:01 - 7:03
    ที่เชื่อว่า แนวคิดและข้อคิดเห็น
  • 7:03 - 7:06
    สำคัญกว่า ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้มาจากการทดลอง
  • 7:06 - 7:09
    เพราะว่า ตัวชี้นำพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ก็คือ
  • 7:09 - 7:12
    ให้ข้อมูลพูดนะครับ
    ตกลงนะ เรามาลองดูกัน
  • 7:12 - 7:15
    เราจึงเริ่มต้นด้วยฐานข้อมูลที่มี
  • 7:15 - 7:19
    ความสัมพันธ์ของเจ้าของกิจการ 13 ล้านความสัมพันธ์
    จากปี 2007
  • 7:19 - 7:22
    นี่เป็นข้อมูลที่มากมาย
    และเนื่องจากเราต้องการหาว่า
  • 7:22 - 7:25
    ใครปกครองโลก
  • 7:25 - 7:28
    เราได้ตัดสินใจที่จะมุ่งไปที่บริษัทข้ามชาติ
    (transnational corporations)
  • 7:28 - 7:30
    หรือเรียกสั้นๆ ว่า TNC
  • 7:30 - 7:33
    พวกนี้เป็นบริษัทที่ประกอบการในมากกว่าหนึ่งประเทศ
  • 7:33 - 7:36
    และเราพบว่ามีจำนวน 43,000 บริษัท
  • 7:36 - 7:40
    ในขั้นต่อไป เราได้สร้างเครือข่ายรอบๆบริษัทเหล่านี้
  • 7:40 - 7:42
    เราได้เอาผู้ถือหุ้นของบริษัทข้ามชาติทั้งหมด
  • 7:42 - 7:44
    และผู้ถือหุ้นของผู้ถือหุ้น และอื่นๆมา
  • 7:44 - 7:47
    โดยครบถ้วนไปถึงต้นนํ้า และถึงปลายนํ้าเช่นกัน
  • 7:47 - 7:51
    สุดท้ายเราก็ได้เครือข่ายทั้งหมดรวม 600,000 แม่ข่าย
  • 7:51 - 7:53
    และหนึ่งล้านการเชื่อมต่อ
  • 7:53 - 7:57
    นี่เป็นเครือข่ายบริษัทข้ามชาติ
    ที่เราได้วิเคราะห์แล้ว
  • 7:57 - 7:59
    และผลที่ได้มามีโครงสร้างดังที่เห็นนี้
  • 7:59 - 8:02
    มีส่วนที่อยู่รอบๆ และจุดศูนย์กลาง
  • 8:02 - 8:06
    ซึ่งมีประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทผู้นำทั้งหมด
  • 8:06 - 8:10
    และตรงกลางมีแกนเล็กๆ
    แต่มีบทบาทสำคัญ
  • 8:10 - 8:15
    ซึ่งเกิดจากบริษัทใหญ่ๆ
    ที่มีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างสูง
  • 8:15 - 8:17
    เพื่อให้คุณเห็นภาพได้ดียิ่งขึ้น
  • 8:17 - 8:19
    ให้ลองคิดถึงพื้นที่ในเมืองใหญ่ๆ
  • 8:19 - 8:21
    คุณจะมีบริเวณชานเมือง และเขตรอบนอก
  • 8:21 - 8:24
    คุณมีใจกลางเมือง เช่น
    ย่านการเงินการธนาคาร (financial district)
  • 8:24 - 8:26
    และแกนกลางก็จะเป็นอะไรจำพวก
  • 8:26 - 8:29
    อาคารสูงหลายชั้นที่สูงที่สุด อยู่ตรงกลาง
  • 8:29 - 8:34
    และเราก็ได้เห็นร่องรอยของการจัดการอย่างมีระบบ
    กำลังเกิดขึ้นที่นั่น
  • 8:34 - 8:40
    36 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทข้ามชาติเท่านั้น
    ที่อยู่ในแกนกลาง
  • 8:40 - 8:44
    แต่มันทำเงินรายได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวม
  • 8:44 - 8:47
    ของบริษัทข้ามชาติทั้งหมด
  • 8:47 - 8:49
    ตอนนี้เราได้วิเคราะห์โครงสร้างนั้นแล้ว
  • 8:49 - 8:53
    แล้วมันสัมพันธ์กับการควบคุมอย่างไรเล่า
  • 8:53 - 8:57
    เอาละ การเป็นเจ้าของได้ให้สิทธิ
    ในการออกเสียงกับผู้ถือหุ้น
  • 8:57 - 9:00
    นี่แหละคือ แนวคิดเรื่องการควบคุมโดยปกติ
  • 9:00 - 9:03
    มีการจำลองแบบต่างๆ เพื่อให้คุณใช้คำนวณหา
  • 9:03 - 9:06
    การควบคุมที่คุณได้รับ จากการเป็นเจ้าของ
  • 9:06 - 9:08
    ถ้าคุณมีมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนหุ้นในบริษัทหนึ่ง
  • 9:08 - 9:10
    คุณก็ได้การควบคุมไว้
  • 9:10 - 9:15
    แต่โดยปกติแล้ว
    มันขึ้นอยู่กับการเทียบเคียงการกระจายของหุ้น
  • 9:15 - 9:18
    และเครือข่ายนั้นสำคัญจริงๆ
  • 9:18 - 9:21
    เมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว คุณ Tronchetti Provera
  • 9:21 - 9:24
    เป็นเจ้าของและควบคุมบริษัทเล็กๆบริษัทหนึ่ง
  • 9:24 - 9:28
    ซึ่งบริษัทนั้นเป็นเจ้าของ
    และควบคุมบริษัทที่ใหญ่กว่าอยู่หนึ่งบริษัท
  • 9:28 - 9:29
    คุณนึกออกไหม
  • 9:29 - 9:32
    สุดท้ายเขาก็ได้ควบคุมบริษัทการสื่อสาร Telecom Italia
  • 9:32 - 9:36
    มีอำนาจเพิ่มผลทางการเงินได้เท่ากับ 26 หน่วย
  • 9:36 - 9:40
    หมายความว่า กับทุกๆยูโรที่เขาได้ลงทุนไป
  • 9:40 - 9:44
    เขาสามารถที่จะโยก 26 ยูโรของมูลค่าตลาดมาใช้ได้
  • 9:44 - 9:47
    ผ่านลูกโซ่ความสัมพันธ์ของการเป็นเจ้าของกิจการ
  • 9:47 - 9:50
    เอาละ สิ่งที่เราเอามาคำนวณจริงๆ ในการวิจัยของเรา
  • 9:50 - 9:54
    ก็คือการควบคุมของมูลค่าของบริษัทข้ามชาติ
  • 9:54 - 9:57
    สิ่งนี้จะช่วยให่เราได้กำหนดระดับของอิทธิพล
  • 9:57 - 9:59
    ให้กับผู้ถือหุ้นแต่ละรายได้
  • 9:59 - 10:01
    เรื่องนี้ มีความหมายคล้ายคลึงมาก
  • 10:01 - 10:05
    กับแนวคิดเรื่องพลังศักยภาพของ Max Weber
  • 10:05 - 10:08
    ซึ่งเป็นเรื่องของ ความเป็นไปได้ของการบังคับ
    ตามความต้องการของตนเอง
  • 10:08 - 10:12
    โดยไม่คำนึงถึงการไม่เห็นด้วยของผู้อื่น
  • 10:12 - 10:17
    ถ้าคุณต้องการคำนวณหาการไหล
    ในเครือข่ายของการเป็นเจ้าของ
  • 10:17 - 10:18
    นี่เป็นสิ่งที่คุณต้องทำ
  • 10:18 - 10:21
    จริงๆมันไม่ได้ยากนักที่จะเข้าใจได้
  • 10:21 - 10:24
    ขอให้ผมอธิบายโดยการเปรียบเทียบนี้
  • 10:24 - 10:26
    ขอให้คิดถึงเรื่องการไหลของนํ้าในท่อ
  • 10:26 - 10:30
    เมื่อท่อเหล่านั้นมีความหนาแตกต่างกัน
  • 10:30 - 10:34
    ในลักษณะคล้ายคลึงกัน การควบคุมไหลอยู่ใน
    เครือข่ายการเป็นเจ้าของ
  • 10:34 - 10:39
    และจะไปสะสมอยู่ที่แม่ข่าย
  • 10:39 - 10:43
    แล้วเราได้พบอะไร หลังจากที่ได้คำนวณหาการควบคุม
    จากเครือข่ายทั้งหมดนี้
  • 10:43 - 10:48
    ผลออกมากลายเป็นว่า 737 คนซึ่งถือหุ้นสูงสุด
  • 10:48 - 10:51
    มีศักยภาพที่จะควบคุมพร้อมไปกับคนอื่นๆ
  • 10:51 - 10:55
    เป็นสัดส่วนถึง 80 เปอร์เซ็นต์
    ของมูลค่าของบริษัทข้ามชาติ
  • 10:55 - 10:58
    เอาล่ะ ยังคงจำได้นะครับ
    เราเริ่มต้นจาก หกแสนแม่ข่าย
  • 10:58 - 11:02
    ดังนั้น บริษัทผู้นำทั้ง 737 บริษัทนี้
  • 11:02 - 11:06
    รวมกันแล้วเกิน 0.1 เปอร์เซ็นต์อยู่นิดเดียว
  • 11:06 - 11:11
    พวกนี้ส่วนใหญ่
    เป็นสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ
  • 11:11 - 11:14
    และมันก็ไปได้สุดกู่กว่านี้อีก
  • 11:14 - 11:18
    มีบริษัทผู้นำ 146 บริษัทในแกนกลาง
  • 11:18 - 11:22
    และพวกเขารวมกันแล้ว
    มีศักยภาพที่จะควบคุมรวมกันเป็น
  • 11:22 - 11:27
    40 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าของบริษัทข้ามชาติ
  • 11:27 - 11:30
    แล้วคุณควรจะเอาอะไรจากทั้งหมดที่พูดนี้
    กลับไปบ้านละครับ
  • 11:30 - 11:34
    ที่คุณได้เห็นระดับการควบคุมที่สูงนั้น
  • 11:34 - 11:39
    เป็นเรื่องสุดกู่มากๆ ไม่ว่าจะถือมาตรฐานใดก็ตาม
  • 11:39 - 11:41
    ระดับความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันที่สูง
  • 11:41 - 11:44
    ของบริษัทผู้นำในแกนหลักนี้
  • 11:44 - 11:49
    อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่สำคัญ
    ต่อเศรษฐกิจของโลกได้
  • 11:49 - 11:52
    และเราสามารถสร้างเครือข่ายบริษัทข้ามชาติ
    ได้อย่างง่ายๆ
  • 11:52 - 11:54
    ด้วยกฎพื้นๆสองสามข้อ
  • 11:54 - 11:57
    นี่ก็หมายความว่า โครงสร้างของมันน่าจะเป็นผลลัพธ์
  • 11:57 - 11:59
    จากการจัดการตนเอง (self-organization)
  • 11:59 - 12:02
    มันคือคุณสมบัติที่ปรากฎออกมา ซึ่งขึ้นอยู่กับ
  • 12:02 - 12:05
    กฎของการมีปฏิสัมพันธ์กันในระบบ
  • 12:05 - 12:08
    ดังนั้น มันไม่น่าจะเป็นผลของวิธีการจากเบื้องบนลงมา
  • 12:08 - 12:12
    เช่น การวางแผนร้ายร่วมกันระดับโลก
  • 12:12 - 12:15
    การศึกษาของเรา "เป็นร่องรอยบนพื้นผิวของดวงจันทร์
  • 12:15 - 12:16
    มิได้เป็นแผนที่ถนน"
  • 12:16 - 12:18
    ดังนั้น คุณจึงควรจะรับรู้ว่าตัวเลขจริงๆ ในงานวิจัยของเรา
  • 12:18 - 12:20
    มิใช่ถูกต้องอย่างสมบูรณ์
  • 12:20 - 12:23
    แต่มันก็ "ให้เราเห็นแว๊บหนึ่งที่ยั่วยวน
  • 12:23 - 12:28
    ของโลกทางการเงินใบใหม่ที่กล้าหาญ"
  • 12:28 - 12:32
    เราหวังว่าเราได้เปิดประตู
    เพื่อให้มีการวิจัยในทิศทางนี้มากขึ้น
  • 12:32 - 12:37
    เพื่อให้อาณาเขตที่เรายังไม่รู้จัก ที่ยังหลงเหลืออยู่
    จะได้ถูกบันทึกไว้ในอนาคต
  • 12:37 - 12:38
    และเรื่องนี้กำลังเริ่มต้นอย่างช้าๆ
  • 12:38 - 12:41
    เรากำลังจะได้เห็น โครงการระยะยาวออกมา
  • 12:41 - 12:45
    ที่ได้รับเงินอุดหนุนสูง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อความเข้าใจ
  • 12:45 - 12:50
    โลกที่ทำงานกันเป็นเครือข่ายของเรา
    จากมุมมองที่ซับซ้อน
  • 12:50 - 12:52
    แต่การเดินทางนี้ เพิ่งเริ่มต้นขึ้น
  • 12:52 - 12:57
    ดังนั้นเราจะต้องรอคอย ก่อนที่เราจะเห็นผลลัพธ์แรก
  • 12:57 - 13:01
    ในปัจจุบัน ในความคิดของผม เรายังคงมีปัญหาใหญ่
  • 13:01 - 13:06
    ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เศรษฐกิจ การเมือง
  • 13:06 - 13:09
    หรือสังคม เป็นเรื่องที่มักจะถูกทำให้มัวหมอง
  • 13:09 - 13:13
    จากอุดมการณ์ส่วนตัวของผู้คน
  • 13:13 - 13:17
    ผมหวังอย่างจริงจังว่า มุมมองที่ซับซ้อนนี้
  • 13:17 - 13:22
    จะทำให้พบพื้นที่ ที่เห็นพ้องต้องกันบ้าง
  • 13:22 - 13:25
    จะเยี่ยมยอดจริงๆ ถ้ามันมีพลัง
  • 13:25 - 13:30
    ที่จะช่วยขจัดการติดขัดทั้งหลาย
    ที่เกิดขึ้นจากความคิดที่ขัดแย้งกัน
  • 13:30 - 13:35
    ซึ่งเห็นได้ว่า
    ทำให้โลกาภิวัฒน์ต้องเป็นอัมพาตไป
  • 13:35 - 13:40
    ความเป็นจริงนั้นซับซ้อนมาก เราจำเป็นต้องถอยออกจาก
    ความเชื่อแบบกำปั้นทุบดิน
  • 13:40 - 13:43
    แต่นี่ก็เป็นเพียงแค่อุดมการณ์ส่วนตัวของผมเองเท่านั้น
  • 13:43 - 13:45
    ขอบคุณครับ
  • 13:45 - 13:50
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เจมส์ บี แกลทเฟลเดอร์ (James B. Glattfelder): ใครควบคุมโลกใบนี้?
Speaker:
James B. Glattfelder
Description:

เจมส์ แกลทเฟลเดอร์ ศึกษาเรื่องความซับซ้อน กล่าวคือ ระบบที่เชื่อมต่อกัน เช่น ฝูงนกเป็นมากกว่าผลรวมของนกแต่ละตัวในฝูงได้อย่างไร และผลที่ได้กลายเป็นว่า ทฤษฎีความซับซ้อนสามารถเผยให้เห็นอย่างมากมาย ว่าเศรษฐกิจทำงานได้อย่างไร

แกลทเฟลเดอร์ ได้แบ่งปันผลการวิจัยที่เพิ่งค้นพบว่า การควบคุมไหลไปในเศรษฐกิจโลกได้อย่างไร และการที่อำนาจไปกระจุกอยู่ในมือของคนเพียงไม่กี่คนอย่างน่าตกใจ ทิ้งให้เราทุกคนต้องอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงมากน้อยแค่ไหน (ถ่ายทำที่ TEDxZurich)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:10
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Who controls the world?
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Who controls the world?
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for Who controls the world?
Unnawut Leepaisalsuwanna accepted Thai subtitles for Who controls the world?
Unnawut Leepaisalsuwanna commented on Thai subtitles for Who controls the world?
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Who controls the world?
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Who controls the world?
yamela areesamarn edited Thai subtitles for Who controls the world?
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions