Return to Video

นี่คือสมองของคุณตอนกำลังสื่อสาร

  • 0:01 - 0:03
    ลองนึกว่าคุณประดิษฐ์อุปกรณ์สักอย่าง
  • 0:03 - 0:05
    ที่สามารถบันทึกความทรงจำของผม
  • 0:05 - 0:07
    ความฝันของผม ความคิดของผม
  • 0:07 - 0:08
    และส่งมันไปยังสมองของคุณ
  • 0:09 - 0:12
    นั่นมันคงจะเป็นเทคโนโลยีที่แปลกใหม่มาก
    ใช่ไหมครับ
  • 0:12 - 0:15
    แต่อันที่จริง เรามีอุปกรณ์นี้อยู่แล้ว
  • 0:15 - 0:18
    และมันถูกเรียกว่า ระบบการสื่อสารของมนุษย์
  • 0:18 - 0:19
    และการเล่าเรื่องอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 0:20 - 0:22
    เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่า
    อุปกรณ์นี้ทำงานได้อย่างไร
  • 0:22 - 0:25
    เราต้องมองเข้าไปในสมองของเรา
  • 0:25 - 0:28
    และเราต้องตั้งคำถาม
    ในแบบที่ต่างไปจากปกติ
  • 0:28 - 0:30
    ทีนี้ เราต้องถามว่า
  • 0:30 - 0:33
    รูปแบบเซลล์ประสาทในสมองของผมเหล่านี้
  • 0:33 - 0:36
    ที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ
    และความคิดของผม
  • 0:36 - 0:39
    ถูกส่งต่อไปยังสมองของคุณได้อย่างไร
  • 0:40 - 0:43
    และเราคิดว่า มันมีสองปัจจัย
    ที่ทำให้เราสามารถสื่อสารกันได้
  • 0:43 - 0:47
    ประการแรก สมองของคุณตอนนี้
    กำลังจับคู่ในทางกายภาพกับคลื่นเสียง
  • 0:47 - 0:50
    ที่ผมกำลังส่งออกไปยังสมองของคุณ
  • 0:50 - 0:53
    และประการที่สอง เราพัฒนา
    วิธีการทางประสาทพื้นฐาน
  • 0:53 - 0:55
    ที่สามารถทำให้เราสื่อสารกันได้
  • 0:55 - 0:57
    แล้วเรารู้ได้อย่างไรล่ะ
  • 0:57 - 0:59
    ในห้องทดลองของผมในพรินส์ตัน
  • 0:59 - 1:03
    ผมนำคนเข้าเครื่อง fMRI
    และเราถ่ายภาพสมอง
  • 1:03 - 1:07
    ในขณะที่พวกเขากำลังเล่าเรื่อง
    หรือฟังเรื่องราวในชีวิตจริงอยู่
  • 1:07 - 1:09
    และเพื่อให้คุณเข้าใจถึงสิ่งกระตุ้นที่เราใช้
  • 1:09 - 1:13
    ให้ผมฉายเรื่องราวที่เราใช้
    เป็นเวลา 20 วินาที
  • 1:13 - 1:16
    ซึ่งเรื่องนี้ถูกเล่า
    โดยนักเล่าเรื่องที่มีพรสวรรค์มาก
  • 1:16 - 1:17
    จิม โอ กราดี
  • 1:18 - 1:22
    (เสียง) จิม โอ กราดี: ผมนำเรื่องของผมมา
    และผมก็รู้ว่ามันดูดี
  • 1:22 - 1:24
    และจากนั้นผมก็ทำให้มันดีขึ้น --
  • 1:24 - 1:26
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:26 - 1:29
    โดยการเพิ่มเติมเสริมแต่ง
  • 1:30 - 1:33
    นักข่าวเรียกสิ่งนี้ว่า "การใส่สีตีไข่"
  • 1:33 - 1:35
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:36 - 1:39
    และพวกเขาแนะนำว่าอย่าข้ามเส้น
  • 1:40 - 1:45
    แต่ผมก็ได้เห็นมาข้ามเส้น
    ระหว่างผู้อาวุโสที่มีตำแหน่งสูง
  • 1:45 - 1:46
    และก่อกวนหยอก ๆ
  • 1:46 - 1:48
    และผมก็ค่อนข้างชอบมันน่ะครับ"
  • 1:48 - 1:50
    ยูริ แฮสสัน: ครับ
    ตอนนี้ลองมาดูสมองของคุณ
  • 1:50 - 1:53
    และมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น
    เมื่อคุณฟังเรื่องพวกนี้
  • 1:53 - 1:57
    และลองมาเริ่มกับอะไรง่าย ๆ ก่อน --
    ลองมาเริ่มจากผู้ฟังคนหนึ่งและสมองบริเวณหนึ่ง
  • 1:58 - 2:01
    คอร์เท็กซ์ส่วนการฟังที่เกี่ยวข้องกับ
    เสียงที่รับมาทางหู
  • 2:01 - 2:03
    และอย่างที่คุณเห็นในบางส่วนของสมอง
  • 2:04 - 2:07
    การตอบสนองเพิ่มขึ้นและลดลง
    เมื่อเรื่องราวถูกเปิดเผยมากขึ้น
  • 2:07 - 2:09
    ทีนี้ คุณสามารถนำการตอบสนองนี้
  • 2:09 - 2:11
    ไปเปรียบเทียบกับการตอบสนอง
    ที่ได้จากผู้ฟังคนอื่น ๆ
  • 2:11 - 2:13
    ในสมองบริเวณเดียวกัน
  • 2:13 - 2:14
    และเราสามารถถามได้ว่า
  • 2:14 - 2:17
    การตอบสนองของผู้ฟังทั้งหมด
    มีความคล้ายคลึงกันมากแค่ไหน
  • 2:18 - 2:20
    ตรงนี้คุณได้เห็นผู้ฟังห้าคน
  • 2:21 - 2:24
    และเราเริ่มสแกนด์สมองของพวกเขา
    ก่อนที่จะเริ่มเล่าเรื่อง
  • 2:24 - 2:28
    เมื่อพวกเขานอนนิ่ง ๆ อยู่ในความมืด
    และรอให้เริ่มต้นขึ้น
  • 2:28 - 2:29
    อย่างที่คุณเห็น
  • 2:29 - 2:32
    บริเวณสมองกำลังตอบสนองมากขึ้น
    และน้อยลงในแต่ละส่วน
  • 2:32 - 2:34
    แต่การตอบสนองเหล่านี้
    มีความแตกต่างกันมาก
  • 2:34 - 2:35
    และไม่ได้เกิดขึ้นไปพร้อมกัน
  • 2:35 - 2:38
    อย่างไรก็ดี ในทันทีที่เริ่มเรื่อง
  • 2:38 - 2:40
    อะไรบางอย่างที่น่าอัศจรรย์
    ก็เกิดขึ้น
  • 2:41 - 2:44
    (เสียง) จิม: ผมก็เลยเล่าเรื่องออกมา
    และผมก็รู้ว่ามันเป็นเรื่องที่ดี
  • 2:44 - 2:45
    และจากนั้น ผมเริ่มที่จะทำให้มัน --
  • 2:45 - 2:49
    ยูริ: ทันใดนั้นเอง คุณสามารถเห็นได้ว่า
    การตอบสนองในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
  • 2:49 - 2:50
    จดจ่ออยู่กับเรื่องราว
  • 2:50 - 2:53
    และตอนนี้พวกมันก็เพิ่มขึ้นและลดลง
    ในแบบที่คล้ายกัน
  • 2:53 - 2:55
    ในผู้ฟังทั้งหมด
  • 2:55 - 2:58
    และอันที่จริง มันเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
    ในสมองของคุณตอนนี้
  • 2:58 - 3:01
    เมื่อคุณกำลังฟังเสียงพูดของผม
  • 3:01 - 3:04
    เราเรียกผลนี้ว่า
    "การเข้าผสมทางธรรมชาติ"
  • 3:04 - 3:07
    และเพื่อที่จะอธิบายกับคุณ
    ว่าการเข้าผสมธรรมชาตินี้คืออะไร
  • 3:07 - 3:09
    ให้ผมได้อธิบายก่อนว่า
    การเข้าผสมทางกายภาพคืออะไร
  • 3:10 - 3:13
    เราจะเห็นเครื่องทำจังหวะห้าเครื่อง
  • 3:13 - 3:16
    คิดซะว่าเจ้าห้าเครื่องนี้
    เป็นสมองห้าก้อน
  • 3:16 - 3:19
    และคล้ายกับผู้ฟังก่อนเริ่มเรื่อง
  • 3:19 - 3:20
    เครื่องทำจังหวะเหล่านี้กำลังที่จะเคาะ
  • 3:20 - 3:23
    แต่พวกมันจะไม่เคาะพร้อมกัน
  • 3:23 - 3:27
    (เสียงเคาะ)
  • 3:27 - 3:30
    เอาล่ะครับ ตอนนี้ดูว่าเกิดอะไรขึ้น
    เมื่อผมเชื่อมต่อพวกมัน
  • 3:31 - 3:33
    โดยนำพวกมันวางไว้บนทรงกระบอก
  • 3:34 - 3:37
    (เสียงเคาะ)
  • 3:37 - 3:40
    ตอนนี้ ทรงกระบอกสองอันนี้
    เริ่มที่จะกลิ้ง
  • 3:40 - 3:43
    การสั่นของการกลิ้งนี้
    เคลื่อนไปตามแผ่นไม้
  • 3:43 - 3:46
    และมันจะจับคู่
    เครื่องเข้าจังหวะทั้งหมดนี้เข้าด้วยกัน
  • 3:46 - 3:48
    และตอนนี้ลองฟังเสียงเคาะสิครับ
  • 3:48 - 3:52
    (เสียงเคาะพร้อมกัน)
  • 3:58 - 4:00
    นี่คือสิ่งที่คุณเรียกว่า
    การเข้าผสมทางกายภาพ
  • 4:00 - 4:03
    ทีนี้ กลับไปยังสมอง
    และลองถามคำถามที่ว่า
  • 4:03 - 4:05
    อะไรกันที่ขับเคลื่อน
    การเข้าผสมธรรมชาติ
  • 4:05 - 4:08
    มันเป็นแค่เสียง
    ที่ผู้พูดผลิตออกมาหรือเปล่า
  • 4:08 - 4:09
    หรือบางทีอาจเป็นคำ
  • 4:09 - 4:13
    หรือบางทีมันเป็นความหมาย
    ที่ผู้พูดพยายามที่จะสื่อสาร
  • 4:13 - 4:16
    เพื่อที่จะทดสอบ
    เราทำการทดลองดังต่อไปนี้
  • 4:16 - 4:19
    ประการแรก เรานำเรื่องราวมา
    และเล่ามันย้อนกลับ
  • 4:19 - 4:22
    และนั่นเป็นการคงโครงสร้างเสียงดั้งเดิม
    เอาไว้หลายส่วน
  • 4:22 - 4:24
    แต่เป็นการเอาความหมายออกไป
  • 4:24 - 4:26
    และมันฟังดูเป็นแบบนี้ครับ
  • 4:26 - 4:31
    (เสียง) จิม: (ข้อความที่ไม่ฟังไม่รู้เรื่อง)
  • 4:31 - 4:34
    และเราให้สีกับสมองทั้งสอง
  • 4:34 - 4:38
    เพื่อบ่งบอกบริเวณของสมอง
    ที่ตอบสนองอย่างคล้ายกัน
  • 4:38 - 4:39
    และดังที่คุณได้เห็น
  • 4:39 - 4:43
    เสียงที่เข้ามานี้เหนี่ยวนำการเข้าผสม
    หรือการเทียบเคียงกันของสมองทั้งหมด
  • 4:43 - 4:45
    ในสมองส่วนการฟัง
    ที่จัดการกับเสียงที่เข้ามา
  • 4:45 - 4:48
    แต่มันไม่ได้แผ่ขยายลึกเข้าไปในสมอง
  • 4:48 - 4:51
    ทีนี้ เราสามารถนำเอาเสียงเหล่านี้
    และสร้างคำขึ้นมา
  • 4:51 - 4:54
    ถ้าเราเอาจิม โอกราดี มา
    และสลับคำพวกนั้น
  • 4:54 - 4:55
    เราจะได้รายการคำ
  • 4:55 - 4:58
    (เสียง) จิม: ... สัตว์...
    ข้อเท็จจริงที่หลากหลาย ...
  • 4:58 - 5:01
    และตรงนั้น ... ไพน์แมน ...
    อย่างมีศักยภาพ ... เรื่องราวของผม
  • 5:01 - 5:04
    ยูริ: และคุณเห็นได้ว่าคำเหล่านี้
    เริ่มที่จะเหนี่ยวนำการเทียบเคียง
  • 5:04 - 5:06
    ในส่วนภาษาส่วนแรก
    แต่ไม่มีอะไรไปมากกว่านั้น
  • 5:06 - 5:10
    ทีนี้ เราสามารถเอาคำเหล่านี้มา
    และเริ่มสร้างประโยคจากพวกมัน
  • 5:12 - 5:15
    (เสียง) จิม: และพวกเขาก็แนะนำว่า
    อย่างข้ามเส้น
  • 5:16 - 5:20
    เขาบอกว่า "จิมที่รัก
    นั่นเป็นเรื่องที่ดี รายละเอียดก็งาม
  • 5:20 - 5:23
    เธอไม่ได้รู้เรื่องเขาผ่านผมหรอกหรือ"
  • 5:23 - 5:26
    ยูริ: ตอนนี้คุณสามารถเห็นได้
    ถึงการตอบสนองในส่วนภาษาทั้งหมด
  • 5:26 - 5:27
    ที่จัดการกับภาษาที่เข้ามา
  • 5:27 - 5:30
    ว่าพวกมันถูกเทียบเคียงและ
    มีความใกล้เคียงกันในผู้ฟังทั้งหมด
  • 5:30 - 5:35
    อย่างไรก็ดี เมื่อพวกเราใช้เรื่องราวที่
    สมบูรณ์ เข้าถึง และสอดคล้องกันเท่านั้น
  • 5:35 - 5:37
    ที่การตอบสนองจะแพร่กระจาย
    ลึกลงไปในสมอง
  • 5:37 - 5:39
    เข้าไปยังบริเวณ
    ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
  • 5:39 - 5:42
    ซึ่งรวมถึงคอร์เทกซ์ส่วนหน้า
    และคอร์เทกซ์ส่วนนอก
  • 5:42 - 5:44
    และทำให้พวกมันตอบสนอง
    อย่างคล้ายคลึงกัน
  • 5:44 - 5:48
    และเราเชื่อว่าการตอบสนองเหล่านี้
    ในบริเวณที่ซับซ้อนกว่าก็เกิดขึ้น
  • 5:48 - 5:50
    และมีความคล้ายคลึงกันในบรรดาผู้ฟัง
  • 5:50 - 5:53
    เพราะว่าความหมายถูกสื่อโดยผู้พูด
  • 5:53 - 5:54
    ไม่ใช่โดยคำพูดหรือเสียง
  • 5:55 - 5:57
    และถ้าเรามาถูกทาง
    การคาดคะแนที่น่าจะเป็นไปได้สูงก็คือ
  • 5:57 - 6:00
    ถ้าผมบอกคุณถึงแนวคิดเดียวกัน
  • 6:00 - 6:02
    โดยใช้คำสองชุดที่ต่างกันมาก ๆ
  • 6:02 - 6:05
    การตอบสมองของสมองของคุณ
    จะยังคล้ายกัน
  • 6:05 - 6:09
    และเพื่อทำการทดสอบ
    เราทำการทดลองดังต่อไปนี้
  • 6:09 - 6:11
    เรานำเรื่องราวภาษาอังกฤษ
  • 6:11 - 6:13
    และแปลมันเป็นภาษารัสเซีย
  • 6:13 - 6:17
    ตอนนี้ คุณมีสองเสียงและระบบภาษา
    ที่แตกต่างกัน
  • 6:17 - 6:20
    ที่สื่อถึงความหมายอย่างเดียวกัน
  • 6:20 - 6:23
    และคุณเล่าเรื่องภาษาอังกฤษ
    ให้กับผู้ฟังอังกฤษ
  • 6:23 - 6:26
    และเล่าเรื่องภาษารัสเซีย
    ให้กับผู้ฟังรัสเซีย
  • 6:26 - 6:29
    และเราสามารถเปรียบเทียบ
    การตอบสนองของพวกเขาในกลุ่มได้
  • 6:29 - 6:32
    และเมื่อเราทำอย่างนั้น
    เราไม่เห็นการตอบสนองที่คล้ายกัน
  • 6:32 - 6:35
    ในสมองส่วนการฟังในภาษา
  • 6:35 - 6:37
    เพราะว่าภาษาและเสียง
    มีความแตกต่างกันอย่างมาก
  • 6:37 - 6:40
    อย่างไรก็ดี คุณเห็นได้ว่า
    การตอบสนองในบริเวณที่ซับซ้อนกว่า
  • 6:40 - 6:42
    ยังคงคล้ายกันในคนทั้งสองกลุ่ม
  • 6:43 - 6:47
    เราเชื่อว่า นี่เป็นเพราะพวกเขา
    เข้าใจเรื่องราวในแบบที่คล้ายกันมาก
  • 6:47 - 6:51
    ดังที่เรายืนยันได้ โดยการทดสอบ
    หลังจากจบเรื่อง
  • 6:52 - 6:56
    และเราคิดว่า การเทียบเคียงนี้
    มีความสำคัญสำหรับการสื่อสาร
  • 6:56 - 6:59
    ยกตัวอย่างเช่น อย่างที่คุณก็รู้ว่า
  • 6:59 - 7:01
    ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่ของผม
  • 7:01 - 7:03
    ผมโตขึ้นมาโดยมีภาษาอื่นเป็นภาษาแม่
  • 7:03 - 7:05
    และเช่นเดียวกันกับพวกคุณหลายคน
    ในกลุ่มผู้ฟังนี้
  • 7:05 - 7:07
    ถึงกระนั้น เรายังสามารถสื่อสารกันได้
  • 7:07 - 7:08
    มันเป็นไปได้อย่างไรกัน
  • 7:09 - 7:12
    เราคิดว่าเราสามารถสื่อสารกันได้
    เพราะเรามีรหัสพื้นฐานนี้
  • 7:12 - 7:13
    ที่แสดงความหมาย
  • 7:14 - 7:17
    ถึงตอนนี้ เราเพียงพูดถึง
    ว่ามันเกิดอะไรขึ้นในสมองของผู้ฟัง
  • 7:17 - 7:20
    ในสมองของคุณ
    เมื่อคุณกำลังฟังการบรรยายนี้
  • 7:20 - 7:22
    แต่มันเกิดอะไรขึ้น
    ในสมองของผู้พูด ในสมองของผม
  • 7:22 - 7:24
    เมื่อผมกำลังพูดกับคุณ
  • 7:24 - 7:26
    เพื่อที่จะดูในสมองของผู้พูด
  • 7:26 - 7:29
    เราขอให้ผู้พูดเข้าไป
    ยังเครื่องถ่ายภาพสมอง
  • 7:29 - 7:31
    เราถ่ายภาพสมองของเขา
  • 7:31 - 7:35
    และจากนั้นเปรียบเทียบการตอบสนอง
    ของสมองของเขากับของผู้ฟัง
  • 7:35 - 7:37
    ที่กำลังฟังเรื่องราวนั้น
  • 7:37 - 7:41
    คุณต้องจำว่าการบรรยาย
    และการเข้าใจการบรรยายนั้น
  • 7:41 - 7:43
    เป็นกระบวนการที่แตกต่างกันมาก
  • 7:43 - 7:45
    ถึงตรงนี้ เราถามว่า
    แล้วมันคล้ายกันแค่ไหนล่ะ
  • 7:46 - 7:48
    เราแปลกใจมาก
  • 7:48 - 7:52
    ที่เราเห็นว่ารูปแบบที่ซับซ้อนเหล่านี้
    ในผู้ฟัง
  • 7:52 - 7:55
    อันที่จริงแล้วมาจากสมองของผู้พูด
  • 7:55 - 7:59
    ฉะนั้นการผลิตและการเข้าใจ
    ขึ้นอยู่กับกระบวนการที่คล้ายกันมาก
  • 7:59 - 8:01
    และเรายังพบอีกว่า
  • 8:01 - 8:04
    ยิ่งมีความคล้ายกันมากเท่าไร
    ระหว่างสมองของผู้ฟัง
  • 8:04 - 8:06
    และสมองของผู้พูด
  • 8:06 - 8:08
    การสื่อสารก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้น
  • 8:08 - 8:12
    ฉะนั้น ผมรู้ว่า
    ถ้าคุณสับสนมาก ๆ ในตอนนี้
  • 8:12 - 8:14
    แต่ผมหวังว่าคุณจะไม่สับสนนะครับ
  • 8:14 - 8:16
    การตอบสนองของสมองของคุณ
    จะแตกต่างจากของผมมาก
  • 8:16 - 8:19
    แต่ผมยังรู้อีกว่า
    ถ้าคุณเข้าใจผมจริง ๆ ในตอนนี้
  • 8:19 - 8:22
    สมองของคุณ ... และของคุณ
    ... และของคุณ
  • 8:22 - 8:24
    จะคล้ายกับของผมมาก
  • 8:26 - 8:29
    ทีนี้ ลองนำข้อมูลทั้งหมดนี้
    มาประกอบเข้าด้วยกัน และถามว่า
  • 8:29 - 8:32
    เราจะใช้มันในการส่งต่อ
    ความทรงจำที่เรามี
  • 8:32 - 8:34
    จากสมองของผม
    ไปยังสมองของคุณได้อย่างไร
  • 8:35 - 8:37
    เราทำการทดลองดังต่อไปนี้ครับ
  • 8:38 - 8:40
    เราให้คนชมสิ่งนี้เป็นครั้งแรก
    ระหว่างที่เราถ่ายภาพสมอง
  • 8:40 - 8:44
    มันคือเรื่อง "เชอร์ล๊อค" ตอนหนึ่ง
    จากรายการของ BBC
  • 8:44 - 8:47
    และจากนั้นเราก็ขอให้พวกเขา
    กลับไปยังเครื่องถ่ายภาพสมอง
  • 8:47 - 8:51
    และเล่าเรื่องนั้นให้กับอีกคนหนึ่ง
    ที่ยังไม่เคยดูหนังเรื่องนั้นมาก่อน
  • 8:51 - 8:53
    เอาให้ชัด ๆ ก็คือ
  • 8:53 - 8:55
    ลองนึกถึงฉากนี้
  • 8:55 - 8:57
    เมื่อเชอร์ล๊อคกำลังเข้าไปในรถแท็กซี่
    ในลอนดอน
  • 8:58 - 9:00
    ที่ผู้ขับคือฆาตรกรที่เขากำลังตามหา
  • 9:00 - 9:03
    สำหรับผมในฐานะผู้ชม
  • 9:03 - 9:06
    นี่เป็นรูปแบบสมองจำเพาะ
    ในสมองของผมตอนที่ชมเรื่องนี้
  • 9:07 - 9:11
    ทีนี้ รูปแบบเดียวกันนี้ ผมสามารถ
    เรียกมันขึ้นมาในสมองอีกครั้ง
  • 9:11 - 9:15
    โดยการเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง
    ถึง เชอร์ล๊อค ลอนดอน ฆาตรกร
  • 9:15 - 9:18
    และเมื่อผมส่งต่อคำเหล่านี้
    ไปยังสมองของคุณในตอนนี้
  • 9:19 - 9:21
    คุณจะต้องสร้างมันขึ้นมาใหม่
    ในความคิดของคุณ
  • 9:21 - 9:26
    อันที่จริง เราเห็นรูปแบบนี้
    กำลังเกิดขึ้นในสมองของคุณตอนนี้
  • 9:26 - 9:28
    และเราก็แปลกใจมากที่ได้เห็นว่า
  • 9:28 - 9:30
    รูปแบบดังกล่าวที่คุณมีอยู่
    ในสมองของคุณตอนนี้
  • 9:30 - 9:32
    เมื่อผมอธิบายถึงฉากเหล่านี้
    ให้คุณฟัง
  • 9:32 - 9:36
    จะมีความคล้ายมากกับรูปแบบ
    ที่ผมมีเมื่อผมชมหนังเรื่องนี้
  • 9:36 - 9:38
    เมื่อหลายเดือนก่อน
    ในเครื่องถ่ายภาพสมอง
  • 9:38 - 9:40
    มันเริ่มที่จะบอกคุณเกี่ยวกับกลไก
  • 9:40 - 9:43
    ที่ซึ่งเราสามารถเล่าเรื่องราว
    และส่งต่อข้อมูล
  • 9:44 - 9:46
    เพราะว่า ยกตัวอย่างเช่น
  • 9:46 - 9:49
    ตอนนี้คุณกำลังตั้งใจฟังและ
    พยายามเข้าใจว่าผมพูดอะไรอยู่
  • 9:49 - 9:51
    และผมรู้ว่ามันไม่ได้ง่ายเลย
  • 9:51 - 9:55
    แต่ผมหวังว่า ณ จุดหนึ่งในการบรรยายนี้
    เราเข้าใจซึ่งกันและกัน และคุณเข้าใจผม
  • 9:55 - 9:59
    และผมคิดว่าในไม่กี่ชั่วโมง
    ไม่กี่วัน ไม่กี่เดือน
  • 9:59 - 10:01
    คุณจะพบกับใครสักคนที่งานเลี้ยง
  • 10:01 - 10:04
    และจะเล่าเรื่องนี้ให้เขาฟัง
  • 10:04 - 10:08
    และทันในนั้นเอง มันจะราวกับว่า
    เขาคนนั้นมายืนอยู่ตรงนี้ที่นี่กับเรา
  • 10:08 - 10:11
    ตอนนี้ คุณเห็นได้ว่า
    เราจะสามารถนำเอากลไกนี้
  • 10:11 - 10:15
    ไปใช้ในการส่งต่อความทรงจำ
    และความรู้ไปสู่อีกคนได้อย่างไร
  • 10:15 - 10:17
    ซึ่งมันน่าจะดีมากเลยใช่ไหมครับ
  • 10:17 - 10:20
    แต่ความสามารถในการสื่อสารของเรา
    ขึ้นอยู่กับความสามารถของเรา
  • 10:20 - 10:23
    ในการมีพื้นฐานร่วมกัน
  • 10:23 - 10:24
    เพราะว่า ยกตัวอย่างเช่น
  • 10:24 - 10:28
    ถ้าหากผมกำลังใช้คำพ้องภาษาอังกฤษ
  • 10:28 - 10:30
    "พาหนะเช่า" แทนคำว่า "แท๊กซี่"
  • 10:30 - 10:34
    ผมรู้ว่าผมกำลังจะไม่ไปในทิศทางเดียว
    กับผู้ฟังส่วนใหญ่ของผม
  • 10:35 - 10:37
    การเทียบเคียงนี้ไม่เพียงแต่
    จะขึ้นอยู่กับความสามารถของเรา
  • 10:37 - 10:39
    ในการทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐาน
  • 10:39 - 10:44
    มันยังขึ้นอยู่กับความสามารถของเรา
    ในการพัฒนาพื้นฐานและความเข้าใจร่วมกัน
  • 10:44 - 10:46
    และมีระบบความเชื่อร่วมกัน
  • 10:46 - 10:47
    เพราะว่าเรารู้ว่าในหลาย ๆ กรณี
  • 10:47 - 10:52
    คนเข้าใจเรื่องราวเดียวกัน
    ในรูปแบบที่แตกต่างกัน
  • 10:52 - 10:56
    ฉะนั้น เพื่อทดสองสิ่งนี้ในห้องทดลอง
    ผมทำการทดลองดังต่อไปนี้
  • 10:56 - 10:59
    เราใช้เรื่องราวของ เจ. ดี. ซาลินเจอร์
  • 10:59 - 11:03
    ที่ซึ่งสามีหลงกับภรรยากลางงานเลี้ยง
  • 11:03 - 11:07
    และเขาเรียกเพื่อนรักของเขามา
    เพื่อถามว่า "เห็นภรรยาของผมไหม"
  • 11:08 - 11:09
    กลุ่มทดลองครึ่งหนึ่ง
  • 11:09 - 11:13
    เราบอกว่า ภรรยามีสัมพันธ์
    กับเพื่อนรักคนนั้น
  • 11:13 - 11:14
    อีกครึ่งหนึ่ง
  • 11:14 - 11:20
    เราบอกว่า ภรรยาเป็นคนที่ซื่อสัตย์
    แต่สามีเป็นคนขึ้หึงมาก
  • 11:20 - 11:23
    เพียงประโยคเดียวนี้ก่อนเริ่มเรื่อง
  • 11:23 - 11:25
    ก็เพียงพอแล้ว
    ที่จะทำให้การตอบสนองของสมอง
  • 11:25 - 11:28
    ของทุกคนที่เชื่อว่าภรรยามีชู้
  • 11:28 - 11:31
    มีความคล้ายคลึงกันในส่วนที่ซับซ้อน
  • 11:31 - 11:33
    และแตกต่างจากอีกกลุ่มหนึ่ง
  • 11:33 - 11:37
    และถ้าเพียงประโยคเดียวนั้นเพียงพอ
    ที่จะทำให้สมองของคุณมีความคล้ายกัน
  • 11:37 - 11:38
    กับคนที่คิดเหมือนกับคุณ
  • 11:38 - 11:41
    และแตกต่างกับคนที่คิดต่างกับคุณแล้ว
  • 11:41 - 11:45
    ลองคิดดูสิครับว่าผลนี้ จะถูกขยาย
    ออกไปมากแค่ไหนในชีวิตประจำวัน
  • 11:45 - 11:48
    เมื่อเราทุกคนกำลังฟังข่าวเดียวกัน
  • 11:48 - 11:51
    หลังจากที่ทุก ๆ วัน
  • 11:51 - 11:55
    เราเผชิญกับช่องทางสื่อที่แตกต่างกัน
    เช่น ข่าวช่อง ฟ๊อกซ์ หรือ นิวยอร์ค ไทม์
  • 11:55 - 11:58
    ที่ให้ทัศนคติต่อความจริงกับเรา
    ในแบบที่แตกต่างกัน
  • 12:00 - 12:01
    ฉะนั้น ให้ผมสรุปนะครับ
  • 12:02 - 12:04
    ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนในคืนนี้
  • 12:04 - 12:08
    ผมใช้ความสามารถของผมผลิตเสียง
    เพื่อเข้าคู่กับสมองของคุณ
  • 12:08 - 12:09
    และผมใช้การเข้าคู่นี้
  • 12:09 - 12:13
    เพื่อส่งต่อรูปแบบสมองของผม
    ที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำและความคิดของผม
  • 12:13 - 12:15
    เข้าไปยังสมองของคุณ
  • 12:15 - 12:19
    ด้วยสิ่งนี้ ผมเริ่มที่จะเผย
    กลไกธรรมชาติที่ถูกซ่อนอยู่
  • 12:19 - 12:21
    ที่เราใช้ในการสื่อสาร
  • 12:21 - 12:24
    และเรารู้ว่าในอนาคต
    มันจะสามารถทำให้เราปรับปรุง
  • 12:24 - 12:26
    และทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น
  • 12:26 - 12:28
    แต่การศึกษานี้ ยังได้เปิดเผย
  • 12:29 - 12:32
    ว่าการสื่อสารขึ้นอยู่กับพื้นฐานร่วม
  • 12:32 - 12:34
    และพวกเราในสังคม
    จะต้องตระหนักให้ดี
  • 12:34 - 12:38
    ว่าหากเราสูญเสียพื้นฐานร่วมนี้
    และความสามารถในการพูดกับคนอื่น
  • 12:38 - 12:41
    ที่แตกต่างจากเราไปเล็กน้อย
  • 12:41 - 12:44
    เพราะว่าเรายอมให้ช่องสื่อไม่กี่ช่อง
    ที่มีอิทธิพล
  • 12:44 - 12:45
    เข้ามาควบคุมกระบอกเสียงนี้
  • 12:46 - 12:49
    และกำกับ ควบคุม
    แนวคิดที่เราทุกคนคิดอ่าน
  • 12:49 - 12:52
    และผมก็ไม่แน่ใจว่าจะแก้ไขมันอย่างไร
    เพราะผมก็เป็นแค่นักวิทยาศาสตร์
  • 12:52 - 12:55
    แต่บางที ทางหนึ่งที่เราจะทำได้
  • 12:55 - 12:57
    คือกลับไปยังวิธีการสื่อสาร
    ที่เป็นธรรมชาติมากกว่า
  • 12:57 - 12:59
    ซึ่งก็คือการสนทนา
  • 12:59 - 13:02
    ที่ไม่ใช่เพียงแค่การที่ผม
    พูดอยู่กับพวกคุณในตอนนี้
  • 13:02 - 13:04
    แต่เป็นวิธีการพูด
    ที่เป็นธรรมชาติมากกว่านี้
  • 13:04 - 13:08
    ที่ซึ่งผมกำลังพูด
    และผมกำลังฟัง
  • 13:08 - 13:12
    และการที่เราพยายามจะมีพื้นฐานร่วม
    และแนวคิดใหม่ด้วยกัน
  • 13:12 - 13:13
    เพราะว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม
  • 13:13 - 13:17
    คนที่เราเข้าคู่ด้วย
    เป็นตัวกำหนดว่าเราเป็นอย่างไร
  • 13:17 - 13:20
    และความต้องการของเรา
    ที่จะถูกเข้าคู่ด้วยกับอีกสมองหนึ่ง
  • 13:20 - 13:24
    เป็นอะไรบางอย่างที่เป็นพื้นฐาน
    ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุยังน้อย
  • 13:24 - 13:28
    ฉะนั้น ให้ผมจบการบรรยายนี้
    ด้วยตัวอย่างจากชีวิตส่วนตัวของผม
  • 13:29 - 13:33
    ที่ผมคิดว่ามันเป็นตัวอย่างที่ดี
    ที่ว่าการเข้าคู่กับคนอื่น
  • 13:33 - 13:36
    เป็นการกำหนดว่าเราเป็นอย่างไรจริง ๆ
  • 13:36 - 13:39
    นี่คือลูกชายขของผม
    โจนาธาน ตอนที่ยังเด็ก
  • 13:39 - 13:44
    ดูสิครับว่าเราพัฒนาเกมส์เสียง
    กับภรรยาของผมด้วยกัน
  • 13:44 - 13:49
    จากความต้องการและความสุข
    ที่จะได้เข้าคู่กับมนุษย์อีกคนหนึ่ง
  • 13:50 - 13:54
    (เสียงของทั้งสองคน)
  • 14:03 - 14:05
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:05 - 14:09
    ทีนี้ ลองคิดดูครับ
    ว่าความสามารถของลูกชายของผม
  • 14:09 - 14:12
    ที่จะเข้าคู่กับเรา
    และคนอื่น ๆ ในชีวิตของเขา
  • 14:12 - 14:15
    กำลังที่จะปั้นให้เขา
    เป็นอย่างที่เขากำลังจะเป็นได้อย่างไร
  • 14:15 - 14:17
    และคิดดูครับว่าคุณอย่างไรบ้าง
    ในชีวิตประจำวัน
  • 14:17 - 14:22
    จากการมีปฏิสัมพันธ์และเข้าคู่
    กับคนอื่น ๆ ในชีวิต
  • 14:23 - 14:25
    ฉะนั้น เข้าคู่กับคนอื่น ๆ เสมอ
  • 14:25 - 14:27
    เผยแผ่ความคิดของคุณออกไป
  • 14:27 - 14:30
    เพราะว่า ผลรวมของเราทุกคน
    ผนวกรวมเข้าคู่กัน
  • 14:30 - 14:32
    ยิ่งใหญ่กว่าแค่ส่วนหนึ่งของเราเอง
  • 14:32 - 14:33
    ขอบคุณครับ
  • 14:33 - 14:38
    (เสียงปรบมือ)
Title:
นี่คือสมองของคุณตอนกำลังสื่อสาร
Speaker:
ยูริ แฮสสัน (Uri Hasson)
Description:

นักประสาทวิทยาศาสตร์ ยูริ แฮสสัน วิจัยพื้นฐานการสื่อสารของมนุษย์ และทำการทดลองจากห้องทดลองของเขาเปิดเผยว่าสมองของเราแสดงถึงกิจกรรมที่คล้ายกันแม้ว่าจะต่างใช้ภาษาที่ต่างกัน หรือมัน "เทียบเคียงกัน" เมื่อเราได้ยินแนวคิดหรือเรื่องราวเดียวกัน กลไกธรรมชาติที่น่าทึ่งนี้ทำให้เราสามารถส่งต่อรูปแบบสมองพื้นฐาน แบ่งปันความคิดและความรู้กันได้ "เราสามารถสื่อสารได้เพราะว่าเรามีรหัสร่วมกันที่แสดงความหมาย" แฮสสันกล่าว

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:51
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for This is your brain on communication
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for This is your brain on communication
Rawee Ma accepted Thai subtitles for This is your brain on communication
Rawee Ma edited Thai subtitles for This is your brain on communication
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for This is your brain on communication
Rawee Ma declined Thai subtitles for This is your brain on communication
Rawee Ma edited Thai subtitles for This is your brain on communication
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for This is your brain on communication
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions