Return to Video

แดน พัลลอตต้า (Dan Pallotta): วิธีคิดเกี่ยวกับการกุศลของเราผิดอย่างมหันต์

  • 0:01 - 0:04
    ผมอยากจะพูดเรื่องเกี่ยวกับนวัตกรรมทางสังคม
  • 0:04 - 0:08
    และกิจการเพื่อสังคม
  • 0:08 - 0:11
    ผมบังเอิญมีลูกแฝดสาม
  • 0:11 - 0:13
    พวกเขายังเล็กอยู่ครับ เพิ่งจะห้าขวบ
  • 0:13 - 0:14
    เวลาที่ผมบอกใคร เขาจะถามย้ำว่า จริงเหรอ กี่คนนะ
  • 0:14 - 0:18
    เวลาที่ผมบอกใคร เขาจะถามย้ำว่า จริงเหรอ กี่คนนะ
  • 0:18 - 0:19
    นี่รูปของพวกเด็กๆครับ
  • 0:19 - 0:23
    คนซ้ายคือเสจ แอนนาลิซ่า แล้วก็ไรเดอร์
  • 0:23 - 0:28
    นอกจากนั้น เผอิญผมเป็นเกย์
  • 0:28 - 0:30
    การเป็นเกย์ และการเป็นพ่อให้ลูกแฝดสามคนนั้น
  • 0:30 - 0:33
    เป็นกิจการและนวัตกรรมทางสังคมที่สุด
  • 0:33 - 0:35
    เท่าที่ผมเคยทำมา
  • 0:35 - 0:40
    (เสียงหัวเราะ)
    (เสียงปรบมือ)
  • 0:40 - 0:43
    แต่นวัตกรรมทางสังคมที่ผมอยากจะเล่าให้ฟังนั้น
  • 0:43 - 0:44
    เกี่ยวกับการกุศลครับ
  • 0:44 - 0:47
    ผมอยากพูดถึงความคิดที่เราถูกสอน
  • 0:47 - 0:50
    เกี่ยวกับการให้ การกุศล
  • 0:50 - 0:52
    และองค์กรไม่แสวงหากำไร (NPO)
  • 0:52 - 0:55
    ที่กำลังกัดกร่อนความเชื่อที่เรารัก
  • 0:55 - 0:59
    และทำให้เราท้อถอย
    กับความพยายามที่จะเปลี่ยนโลกใบนี้
  • 0:59 - 1:02
    ผมขอถามก่อนว่า คุณเชื่อหรือไม่
  • 1:02 - 1:05
    ว่าองค์กร NPO เหล่านั้น มีบทบาทสำคัญ
  • 1:05 - 1:07
    ในการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้
  • 1:07 - 1:11
    คนส่วนใหญ่บอกว่า ธุรกิจจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ
  • 1:11 - 1:14
    และธุรกิจเพื่อสังคม จะจัดการทุกอย่างที่เหลือเอง
  • 1:14 - 1:16
    ตัวผมเองก็เชื่อว่าธุรกิจ
  • 1:16 - 1:19
    จะทำให้มวลมนุษย์ชนส่วนใหญ่ ก้าวไปข้างหน้า
  • 1:19 - 1:23
    แต่การก้าวหน้าแบบนั้น
    มักทิ้งคนประมาณ 10% หรือมากกว่า
  • 1:23 - 1:28
    ซึ่งเป็นคนที่ด้อยโอกาสที่สุด หรือโชคไม่ดีไว้ข้างหลัง
  • 1:28 - 1:29
    และธุรกิจเพื่อสังคมล้วนต้องการตลาด
  • 1:29 - 1:32
    และเรายังมีปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถ
  • 1:32 - 1:35
    ใช้เงินเพื่อสร้างตลาดได้
  • 1:35 - 1:38
    ผมเป็นกรรมการบริหารให้ศูนย์ผู้พิการแต่กำเนิด
  • 1:38 - 1:41
    และผู้คนเหล่านี้ต้องการเสียงหัวเราะ
  • 1:41 - 1:45
    ต้องการความเห็นอกเห็นใจ และต้องการความรัก
  • 1:45 - 1:48
    คุณจะแปรความรู้สึกเหล่านั้นเป็นเงินได้ยังไง
  • 1:48 - 1:51
    นี่คือพื้นที่ ที่ NPO
  • 1:51 - 1:53
    และ มูลนิธิต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม
  • 1:53 - 1:57
    เพราะการทำงานเพื่อคนอื่นนั้น เป็นตลาดแห่งความรัก
  • 1:57 - 1:59
    เป็นตลาดสำหรับคนที่
  • 1:59 - 2:02
    ไม่มีตลาดการค้าใดๆ ให้เข้าถึง
  • 2:02 - 2:05
    ดังนั้น ถ้าเราต้องการ
    อย่างที่ ฟูลเลอร์ บัคมินส์เตอร์ กล่าวไว้ว่า
  • 2:05 - 2:07
    โลกที่เหมาะกับทุกๆคน
  • 2:07 - 2:09
    ที่ไม่มีใครถูกลืม
  • 2:09 - 2:12
    ต้องเป็นที่ที่ NPO
  • 2:12 - 2:14
    เป็นส่วนสำคัญของการพูดคุยกัน
  • 2:14 - 2:17
    แต่ดูเหมือนว่ามันจะไม่เป็นอย่างนั้น
  • 2:17 - 2:19
    ทำไมองค์กรด้านมะเร็งเต้านม
  • 2:19 - 2:21
    ยังไม่สามารถรักษามะเร็งเต้านมได้
  • 2:21 - 2:23
    ทำไมองค์กรเพื่อคนไร้ที่อยู่อาศัย
  • 2:23 - 2:26
    ไม่สามารถหยุดการเร่ร่อนในเมืองใหญ่ได้
  • 2:26 - 2:30
    ทำไมอัตราความยากจน
    ถึงหยุดคาอยู่ที่ 12 %
  • 2:30 - 2:33
    ของประชากรในอเมริกามานานกว่า 40 ปีแล้ว
  • 2:33 - 2:37
    คำตอบคือ ปัญหาสังคมเหล่านี้
  • 2:37 - 2:39
    เป็นปัญหาที่มีขนาดใหญ่มาก
  • 2:39 - 2:42
    แต่องค์กรเราเล็กจิ๋ว เมื่อเทียบกับปัญหาเหล่านั้น
  • 2:42 - 2:45
    และเรามีความเชื่อที่ทำให้มันเล็กอยู่อย่างนั้น
  • 2:45 - 2:47
    เรามีกฏเกณฑ์อยู่สองชุด
  • 2:47 - 2:49
    ชุดหนึ่งสำหรับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
  • 2:49 - 2:52
    และอีกชุดหนึ่งสำหรับเศรษฐกิจแบบที่เหลือในโลก
  • 2:52 - 2:54
    มันเป็นการแบ่งแยกปิดกั้น
  • 2:54 - 2:57
    องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรใน 5 ด้าน
  • 2:57 - 2:59
    อย่างแรกคือการให้เงินชดเชย
  • 2:59 - 3:02
    ในองค์กรแสวงหาผลกำไร
    ยิ่งคุณสร้างคุณค่ามากเท่าใหร่
  • 3:02 - 3:04
    คุณก็ยิ่งทำเงินได้มากเท่านั้น
  • 3:04 - 3:06
    แต่เราไม่ชอบให้ NPO ใช้เงิน
  • 3:06 - 3:10
    เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนสร้างคุณค่า
    ในการช่วยเหลือสังคมมากขึ้น
  • 3:10 - 3:13
    เรามีความเชื่อต่อต้านว่า
  • 3:13 - 3:16
    คนเราอาจช่วยคนอื่น เพื่อหวังเงินมหาศาล
  • 3:16 - 3:18
    มันน่าสนใจที่เราไม่มีความเชื่อที่จะต่อต้านว่า
  • 3:18 - 3:22
    คนกำลังทำเงินมหาศาล โดยไม่ต้องช่วยใคร
  • 3:22 - 3:24
    ถ้าคุณต้องการหาเงิน 50 ล้านดอลลาร์
  • 3:24 - 3:27
    โดยขายวีดีโอเกมส์รุนแรงให้เด็ก ก็ทำได้เลย
  • 3:27 - 3:29
    เราจะถ่ายคุณขึ้นปก Wired Magazine ให้
  • 3:29 - 3:31
    แต่ถ้าคุณต้องการหาเงินครึ่งล้าน
  • 3:31 - 3:32
    เพื่อรักษาโรคมาลาเรียในเด็ก
  • 3:32 - 3:40
    คุณจะถูกมองว่าเป็นเชื้อโรคเสียเอง
    (เสียงปรบมือ)
  • 3:40 - 3:43
    และเรามองว่านี่เป็นเรื่องระบบศีลธรรม
  • 3:43 - 3:45
    แต่เราไม่ทันได้นึกว่าระบบความคิดนี้
  • 3:45 - 3:48
    จะส่งผลข้างเคียงที่รุนแรง ซึ่งก็คือ
  • 3:48 - 3:52
    มันทำให้เราต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • 3:52 - 3:55
    ระหว่างการทำเพื่อตัวคุณและครอบครัว
  • 3:55 - 3:58
    หรือทำความดีเพื่อโลกใบนี้
  • 3:58 - 4:01
    ป้อนให้กับบัณฑิต ที่จบใหม่จากสถาบันชั้นนำ
  • 4:01 - 4:03
    และส่งคนเป็นหมื่นคน
  • 4:03 - 4:05
    คนที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ
    ในองค์กร NPO
  • 4:05 - 4:08
    แต่ส่งพวกเขาตรงไปหาองค์กรแสวงผลกำไรทั้งหลาย
  • 4:08 - 4:13
    เพราะพวกเขาไม่ยินดีที่จะเสียสละตนเอง
    ในเชิงเศรษฐกิจในระยะยาว
  • 4:13 - 4:16
    นิตยสาร Bussinessweek ได้ทำสำรวจผลตอบแทน
  • 4:16 - 4:19
    ของผู้บริหาร ที่จบจากมหาวิทยาลัยมา 10 ปีแล้ว
  • 4:19 - 4:22
    และผลตอบแทนของผู้ที่จบเอกบริหาร
    จากมหา'ลัยสแตนฟอร์ด
  • 4:22 - 4:27
    ขณะที่เขาอายุ 38 นั้น
    อยู่ที่ 400,000 ดอลลาร์ รวมโบนัสแล้ว
  • 4:27 - 4:29
    ส่วนในปีเดียวกันนั้น เงินเดือนเฉลี่ย
  • 4:29 - 4:32
    ของผู้บริหาร องค์กรการกุศลด้านการแพทย์
    ที่มีมูลค่ากว่า 5 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐ
  • 4:32 - 4:37
    อยู่ที่ 232,000 ดอลลาร์
    และ 84,000 ดอลลาร์ สำหรับองค์กรเพื่อยุติความหิวโหย
  • 4:37 - 4:39
    ดังนั้น มันจึงไม่มีทางเป็นไปได้เลย
    ที่เราจะเอาคนที่
  • 4:39 - 4:44
    มีความสามารถพอจะหาเงินได้ 400,000 เหรียญ
    ที่จะยอมเสียสละ 316,000 เหรียญทุกๆปี
  • 4:44 - 4:48
    เพื่อเป็นผู้บริหารองค์กรเพื่อยุติความหิวโหย
  • 4:48 - 4:51
    บางคนอาจจะบอกว่า
    "ก็เพราะพวกเด็กบริหาร งกเงินเองนี่นา"
  • 4:51 - 4:54
    มันก็ไม่ใช้อย่างนั้นเสมอไป
    พวกเขาอาจจะฉลาด
  • 4:54 - 4:56
    มันถูกกว่า ถ้าเขาจะบริจาคเงิน
  • 4:56 - 5:00
    100,000 ดอลลาร์ ทุกๆปีให้กับองค์กรเพื่อความหิวโหย
  • 5:00 - 5:02
    ยกเว้นภาษีได้อีก 50,000 เหรียญ
  • 5:02 - 5:06
    ก็ยังมีเงินได้สูงกว่าทำงานในองค์กรการกุศล
    ราว 270,000 เหรียญต่อปี
  • 5:06 - 5:09
    แล้วยังถูกเรียกขานว่า เป็นคนใจบุญสุนทาน
  • 5:09 - 5:11
    เพราะเขาบริจาคหนึ่งแสนเหรียญให้การกุศล
  • 5:11 - 5:13
    ได้นั่งเป็นกรรมการบริหารมูลนิธิ
  • 5:13 - 5:15
    เผลอๆ คอยแนะนำ ผู้บริหารที่น่าสงสาร
  • 5:15 - 5:18
    ที่ตัดสินใจมาเป็นผู้บริหารขององค์กรเพื่อยุติความหิวโหย
  • 5:18 - 5:22
    แล้วเขาก็มีอำนาจ และมีแรงผลักดันแบบนี้
    ไปตลอดชีวิตการทำงาน
  • 5:22 - 5:26
    และยังมีคำชื่นชม รอพวกเขาอยู่อีกด้วย
  • 5:26 - 5:29
    การแบ่งแยกอีกแบบหนึ่ง
    เกิดขึ้นในวงการโฆษณาและการตลาด
  • 5:29 - 5:33
    เราบอกคนในกลุ่มแสวงหาผลกำไรว่าให้
    "ใช้เงิน ใช้เงิน ใช้เงิน" ในการโฆษณา
  • 5:33 - 5:36
    ใช้จนกระทั่งเงินเหรียญสุดท้ายหมดคุณประโยชน์ลง"
  • 5:36 - 5:40
    แต่ในทางกลับกัน เราไม่อยากเห็นเงินบริจาคของเรา
    ถูกใช้เพื่อโฆษณา
  • 5:40 - 5:44
    ความคิดเราคือ
    "ถ้าคุณขอรับบริจาคชั่วโมงโฆษณา
  • 5:44 - 5:47
    ได้ออกอากาศตอนตีสี่ ผมก็โอเคนะ"
  • 5:47 - 5:49
    แต่ผมไม่อยากให้เงินบริจาคของผม
    ถูกนำไปใช้ซื้อโฆษณา
  • 5:49 - 5:51
    ผมอยากให้เงินไปถึงผู้ที่ยากไร้"
  • 5:51 - 5:53
    ประหนึ่งว่าเงินที่โยนไปในโฆษณา
  • 5:53 - 5:56
    ไม่สามารถดึงเงินจำนวนมากกว่ากลับมาได้
  • 5:56 - 5:58
    เพื่อช่วยเหลือผู้ที่กำลังขาดแคลน
  • 5:58 - 6:00
    ในปี 1990 บริษัทของผมได้สร้าง
  • 6:00 - 6:03
    โครงการเดินทางด้วยจักรยานทางไกล
    เพื่อรณรงค์เรื่องโรคเอดส์
  • 6:03 - 6:08
    และการเดินทางไกลสามวันในระยะ 60 ไมล์
    เพื่อรณรงค์ต่่อต้านมะเร็งเต้านม
  • 6:08 - 6:11
    และในช่วงเวลา 9 ปีที่ผ่านมา
  • 6:11 - 6:16
    เราได้เห็นคนธรรมดา 182,000 คน ที่เข้ามา
    ร่วมทำวีรกรรมเหล่านี้กับพวกเรา
  • 6:16 - 6:20
    และพวกเขาได้ระดมทุน จำนวน 581 ล้านดอลลาร์
  • 6:20 - 6:25
    พวกเขาระดมทุนได้มาก และรวดเร็ว
  • 6:25 - 6:27
    กว่างานอื่นๆ ในประวัติศาสตร์
  • 6:27 - 6:30
    ด้วยความคิดที่ว่า ทุกคนเหนื่อยหน่าย
  • 6:30 - 6:33
    กับการถูกขอให้ทำเท่าที่ทำได้ เพื่อสังคม
  • 6:33 - 6:35
    พวกเขาต้องการค้นหา
  • 6:35 - 6:37
    ศักยภาพที่แท้จริงที่เขาทำได้
  • 6:37 - 6:41
    เพื่ออุดมการณ์ที่เขาสนใจ
  • 6:41 - 6:44
    แต่พวกเขาต้องได้รับการชักชวน
  • 6:44 - 6:45
    เราได้คนจำนวนมากมายมาเข้าร่วม
  • 6:45 - 6:48
    โดยซื้อโฆษณาเต็มหน้า
    ในนสพ. เดอะนิวยอร์คไทม์
  • 6:48 - 6:51
    ในนสพ. เดอะ บอสตัน โกลบ
    และช่วงเวลาไพรม์ไทม์ในทีวีและวิทยุ
  • 6:51 - 6:53
    คุณคิดว่าจะมีคนเข้าร่วมกี่คน
  • 6:53 - 6:56
    ถ้าเราทำแต่แจกใบปลิวในร้านซักรีด
  • 6:56 - 7:00
    ยอดการบริจาคในอเมริกานั้นค้างอยู่ที่
  • 7:00 - 7:04
    2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม
    ตั้งแต่เราเริ่มวัดกันในช่วงปี 1970
  • 7:04 - 7:06
    มันเป็นความจริงที่สำคัญมาก เพราะมันบอกเราว่า
  • 7:06 - 7:09
    ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
  • 7:09 - 7:12
    ไม่เคยแย่งส่วนแบ่งการตลาด
  • 7:12 - 7:15
    มาจากองค์กรแสวงหาผลกำไรได้เลย
  • 7:15 - 7:17
    แล้วคุณลองคิดดูว่า องค์กรหนึ่ง
  • 7:17 - 7:20
    จะแย่งส่วนแบ่งการตลาด มาจากอีกองค์กรหนึ่งได้อย่างไร
  • 7:20 - 7:23
    ถ้าองค์กรนั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการตลาด
  • 7:23 - 7:25
    ถ้าเราบอกบริษัทอุปโภคบริโภคว่า
  • 7:25 - 7:28
    "คุณสามารถโฆษณาสรรพคุณทุกอย่างได้"
  • 7:28 - 7:31
    แต่บอก NPO ว่า
    "คุณไม่สามารถโฆษณาความดีของคุณได้นะ"
  • 7:31 - 7:35
    คุณคิดว่าเงินของลูกค้าจะไหลไปทางไหน
  • 7:35 - 7:38
    เรื่องที่สามคือเรื่องความเสี่ยง
  • 7:38 - 7:42
    ในการทดลองใช้วิธีใหม่ในการหารายได้
  • 7:42 - 7:46
    เพราะ ดิสนีย์ สามารถทำหนัง
    มูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ ที่เจ๊งได้
  • 7:46 - 7:48
    โดยไม่มีใครเรียกอัยการให้สอบสวน
  • 7:48 - 7:52
    แต่ถ้าคุณบริจาคเงิน 1 ล้านเหรียญเพื่อการกุศล
  • 7:52 - 7:55
    แลัวมันไม่สร้างผลตอบแทน 75% ให้กับองค์กร
  • 7:55 - 7:57
    ภายในช่วง 12 เดือนแรก
  • 7:57 - 7:59
    คุณก็จะถูกเรียกมาสอบสวน
  • 7:59 - 8:02
    ดังนั้น NPO จึงลังเลอย่างมาก
    ในการลองทำอะไรที่กล้าหาญ
  • 8:02 - 8:06
    ทำอะไรที่แตกต่าง หรือระดมทุนขนาดใหญ่
  • 8:06 - 8:08
    เพราะกลัวว่า ถ้างานนั้นล้มเหลว ชื่อเสียงของพวกเขา
  • 8:08 - 8:10
    จะถูกลากจมโคลนไปด้วย
  • 8:10 - 8:12
    คุณทราบดีว่า เมื่อคุณห้ามการล้มเหลว
  • 8:12 - 8:13
    คุณก็ทำลายความคิดสร้างสรรค์ไปด้วย
  • 8:13 - 8:16
    เมื่อคุณทำลายความคิดสร้างสรรค์
    คุณก็ไม่สามารถหาเงินเพิ่มได้
  • 8:16 - 8:18
    พอรายได้ไม่เพิ่ม คุณก็โตไม่ได้
  • 8:18 - 8:23
    พอคุณโตไม่ได้ คุณก็แก้ปัญหาใหญ่ในสังคมไม่ได้
  • 8:23 - 8:26
    การแบ่งแยกด้านที่สี่คือ เรื่องเวลา
  • 8:26 - 8:30
    ทำไมอเมซอนอยู่ได้หกปี โดยไม่คืนเงินให้นักลงทุน
  • 8:30 - 8:32
    แล้วทุกคนก็อดทนรอ
  • 8:32 - 8:34
    พวกเขารู้ว่า มีเป้าหมายระยะยาวรออยู่
  • 8:34 - 8:36
    นั่นคือการเป็นเจ้าใหญ่ในตลาด
  • 8:36 - 8:39
    แต่ถ้าองค์กรการกุศลฝันว่า
  • 8:39 - 8:43
    จะสร้่างองค์กรขนาดใหญ่ ใช้เวลาหกปี
  • 8:43 - 8:45
    จะไม่มีเงินซักแดงตกถึงผู้ยากไร้
  • 8:45 - 8:47
    เงินทั้งหมดจะถูกใช้เพื่อการขยายองค์กร
  • 8:47 - 8:50
    เราคงเห็นคนโดนตรึงไม้กางเขนประจานแน่
  • 8:50 - 8:52
    และด้านสุดท้ายก็คือเรื่องกำไร
  • 8:52 - 8:55
    สำหรับองค์กรที่ทำกำไรแล้ว พวกเขาคืนกำไรให้กับผู้คน
  • 8:55 - 8:57
    เพื่อดึงดูดแหล่งเงินทุน มาส่งเสริมความคิดใหม่ๆ
  • 8:57 - 9:00
    แต่องค์กรการกุศลทั้งหลาย
    ไม่สามารถจ่ายกำไรให้กับทุกคนได้
  • 9:00 - 9:05
    ดังนั้นองค์กรที่แสวงผลกำไรจึงผูกขาดตลาด
    ที่มีมูลค่าหลายล้านล้านไว้
  • 9:05 - 9:07
    ส่วน NPO ก็อดอยาก ไร้หนทางเติบโต
  • 9:07 - 9:10
    ไร้ความเสี่ยง แต่ไร้ความคิดใหม่ๆ ต่อไป
  • 9:10 - 9:14
    พอเอาทั้ง 5 ด้านมารวมกัน
    คุณก็ไม่สามารถใช้เงิน
  • 9:14 - 9:16
    เพื่อดึงคนเก่งๆ มาจากองค์กรที่แสวงหาผลกำไร
  • 9:16 - 9:18
    โฆษณาที่ทำก็เล็กกว่า
  • 9:18 - 9:21
    ที่องค์กรที่แสวงหาผลกำไร ใช้หาลูกค้าใหม่ๆ
  • 9:21 - 9:23
    คุณไม่สามารถเสี่ยง เพื่อดึงลูกค้าเหล่านั้น
  • 9:23 - 9:25
    แบบที่องค์กรแสวงหาผลกำไรเสี่ยงได้
  • 9:25 - 9:27
    คุณมีเวลาหาลูกค้าน้อยกว่า
  • 9:27 - 9:29
    ที่องค์กรแสวงหาผลกำไรมี
  • 9:29 - 9:31
    และคุณไม่มีตลาดหุ้น เพื่อหาทุน
  • 9:31 - 9:34
    ถึงแม้ว่าคุณหาเงินก้อนแรกมาได้
  • 9:34 - 9:36
    และคุณเพิ่งวางหมากให้ NPO
  • 9:36 - 9:39
    เสียเปรียบองค์กรแสวงหาผลกำไรอย่างยิ่งยวด
  • 9:39 - 9:41
    ในทุกๆ ระดับ
  • 9:41 - 9:45
    ถ้าสงสัยว่ากฎที่แตกต่างนี้ มีผลกระทบอย่างไร
  • 9:45 - 9:47
    ลองดูสถิติที่น่าเห็นใจนี้
  • 9:47 - 9:49
    ตั้งแต่ปี 1970 ถึง 2009
  • 9:49 - 9:51
    มีองค์กรไม่แสวงผลกำไร
  • 9:51 - 9:55
    ที่ก้าวข้ามเส้นรายได้ 50 ล้านดอลลาร์ไปได้
  • 9:55 - 9:57
    มีทั้งหมด 144 องค์กร
  • 9:57 - 9:59
    ขณะที่จำนวนขององค์กรแสวงหาผลกำไร
  • 9:59 - 10:03
    มีอยู่ 46,136 องค์กร
  • 10:03 - 10:06
    เพราะฉะนั้น เรากำลังต่อกรกับ
    ปัญหาทางสังคมขนาดใหญ่มหึมา
  • 10:06 - 10:09
    แต่องค์กรเราไม่สามารถขยายตัวได้เลย
  • 10:09 - 10:13
    ที่ทำได้กลับเป็นองค์กรอย่าง
    โคคาโคล่า หรือ เบอร์เกอร์คิง
  • 10:13 - 10:16
    แล้วทำไมเราจึงมีแนวคิดแบบนี้
  • 10:16 - 10:20
    ก็ แบบเดียวกับหลักการอื่นๆ ที่เราคลั่งไคล้กันในอเมริกา
  • 10:20 - 10:23
    ความคิดเหล่านี้มาจาก
    ความเชื่อของพวกเคร่งศาสนา (Puritan)
  • 10:23 - 10:26
    พวกเขาอพยพมาด้วยเหตุผลทางศาสนา
    หรืออย่างน้อยเขาก็บอกเช่นนั้น
  • 10:26 - 10:30
    แต่พวกเขามาที่นี่เพื่อหาเงินจำนวนมากด้วย
  • 10:30 - 10:32
    พวกเขารักพระเจ้า แต่พวกเขาก็เป็น
  • 10:32 - 10:34
    นักลงทุนที่จริงจังด้วย
  • 10:34 - 10:38
    และพวกเขามักถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกที่
    มีแนวโน้มขูดรีดกำไร
  • 10:38 - 10:40
    เมื่อเทียบกับผู้มาตั้งรกรากกลุ่มอื่นๆ
  • 10:40 - 10:43
    แต่ในขนะเดียวกัน พวกเคร่งศาสนา ก็เป็น
    พวกลัทธิคาลวินด้วย
  • 10:43 - 10:46
    พวกเขาถูกสอนให้เกลียดตัวเอง
  • 10:46 - 10:49
    พวกเขาถูกสอนว่า การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
  • 10:49 - 10:52
    เป็นเส้นทางสู่นรกตลอดกาล
  • 10:52 - 10:55
    ซึ่งมันขัดแย้งกัน ถูกไหม
  • 10:55 - 10:57
    พวกเขาเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก
    มาเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว
  • 10:57 - 11:01
    แต่การสร้างเนื้อสร้างตัวนั้น
    จะพาลงนรกโดยตรงเลย
  • 11:01 - 11:03
    พวกเขาทำอย่างไรกับเรื่องนี้
  • 11:03 - 11:05
    การกุศล กลายเป็นคำตอบของพวกเขา
  • 11:05 - 11:07
    มันกลายเป็นที่พึ่งทางใจด้านเศรษฐกิจ
  • 11:07 - 11:11
    ให้เขาได้ไถ่บาป
    จากการค้ากำไรของพวกเขา
  • 11:11 - 11:14
    ห้าเซนต์ต่อหนึ่งดอลลาร์
  • 11:14 - 11:16
    คุณจะทำเงินเพื่อการกุศลได้อย่่างไร
  • 11:16 - 11:19
    ในเมื่อการกุศล เป็นแค่การไถ่บาป
    จากการหาเงิน
  • 11:19 - 11:23
    เงินกระตุ้น จึงไม่ถือเป็นส่วนหนึ่ง
    ในการช่วยเหลือผู้อื่น
  • 11:23 - 11:26
    เพื่อที่เขาจะได้สบายใจ
    ในการหาเงินสำหรับตัวเอง
  • 11:26 - 11:29
    ในช่วง 400 ปีที่ผ่านมา ไม่มีอะไรมาขัดขวาง
  • 11:29 - 11:35
    เพื่อบอกว่า "การทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดผล
    แบบนี้มันไม่ยุติธรรมเลย"
  • 11:35 - 11:39
    อุดมคติที่มีมาแต่เดิมกำลังถูกตรวจสอบ
    โดยคำถามที่อันตรายคำถามนี้
  • 11:39 - 11:43
    ซึ่งก็คือ "เงินบริจาคของฉันกี่เปอร์เซ็นต์กัน
    ที่กลายเป็นค่าใช้จ่ายประกอบการ
  • 11:43 - 11:45
    มีหลายปัญหาเกี่ยวกับคำถามนี้
  • 11:45 - 11:47
    แต่ผมจะขอเน้นแค่สองเรื่อง
  • 11:47 - 11:51
    อย่างแรก มันทำให้เรารู้สึกว่าค่าประกอบการนั้น
    เป็นเรื่องที่ไม่ดี
  • 11:51 - 11:55
    ว่ามันไม่ใช่ส่วนหนึ่งของอุดมการณ์หลัก
  • 11:55 - 12:00
    แต่มันใช่ครับ โดยเฉพาะถ้ามันทำให้เราเติบโตได้
  • 12:00 - 12:02
    ความคิดนี้ที่ฟังต่อๆกันมา ไม่ว่าอย่างไรก็ดี
  • 12:02 - 12:04
    กลายเป็นปฎิปักษ์กับอุดมการณ์
  • 12:04 - 12:07
    ก่อให้เกิดปัญหาที่ใหญ่กว่าเดิม นั่นคือ
  • 12:07 - 12:10
    องค์กรถูกบังคับให้ทำงานต่อไป
    โดยลดค่าใช้จ่าย
  • 12:10 - 12:12
    ที่ต้องใช้ในการเติบโต
  • 12:12 - 12:15
    เพียงเพื่อให้ค่าประกอบการนั้นอยู่ในระดับต่ำ
  • 12:15 - 12:17
    เราถูกสอนว่า องค์กรการกุศลควรใช้เงิน
  • 12:17 - 12:20
    ให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้
    สำหรับค่าประกอบการ เช่นการระดมทุน
  • 12:20 - 12:24
    ด้วยทฤษฏีที่ว่า
    ยิ่งคุณใช้เงินในการระดมทุนน้อยเท่าไหร่
  • 12:24 - 12:27
    ยิ่งมีเงินเหลือมากพอเพื่ออุดมการณ์หลัก
  • 12:27 - 12:30
    มันก็จริงถ้าเราอยู่ในโลกที่รันทด
  • 12:30 - 12:33
    ซึ่งหมายความว่าขนมพายชิ้นนี้
    ไม่สามารถขยายใหญ่ขึ้นได้
  • 12:33 - 12:37
    แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง
    ที่การลงทุนในเรื่องการระดมทุนนั้น
  • 12:37 - 12:40
    ทำให้ระดมทุนได้มากขึ้น
    และทำให้พายชิ้นนี้ใหญ่ขึ้นได้
  • 12:40 - 12:42
    แปลว่าเราเข้าใจตรงข้ามกับความเป็นจริง
  • 12:42 - 12:45
    และเราควรใช้เงินมากขึ้น ไม่ใช่น้อยลง
  • 12:45 - 12:47
    ในการระดมทุน เพราะการระดมทุนเป็นกิจกรรมเดียว
  • 12:47 - 12:50
    ที่สามารถเพิ่มเงินเหล่านั้นเป็นทวีคูณ
  • 12:50 - 12:54
    เพื่อนำไปใช้กับอุดมการณ์ที่เราใส่ใจ
    ซะมากมายเหลือเกิน
  • 12:54 - 12:57
    ผมขอยกสองตัวอย่าง อันแรกคือ
    เราเริ่มโครงการขี่จักรยานเพื่อโรคเอดส์
  • 12:57 - 13:00
    ด้วยเงินลงทุนประมาณ 50,000 ดอลลาร์
    ในส่วนทรัพย์สินเสี่ยง
  • 13:00 - 13:05
    ภายในช่วงเวลา 9 ปี เราสามารถทำเงินได้เป็น 1,982 เท่า
  • 13:05 - 13:11
    เงินต้นนั้นกลายเป็นยอด 108 ล้านเหรียญ
    หลังหักค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเอดส์แล้ว
  • 13:11 - 13:13
    เราปล่อยโครงการเพื่อมะเร็งเต้านม เป็นเวลาสามวัน
  • 13:13 - 13:17
    โดยมีเงินลงทุนเริ่มต้น 350,000 ดอลลาร์
    ในส่วนทรัพย์สินเสี่ยง
  • 13:17 - 13:21
    ภายในเวลาห้าปี เราหาเงินได้เพิ่มอีก 554 เท่า
  • 13:21 - 13:25
    กลายเป็นยอด 194 ล้านเหรียญ หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว
  • 13:25 - 13:27
    เพื่อการวิจัยด้านมะเร็งเต้านม
  • 13:27 - 13:30
    ทีนี้ถ้าคุณเป็นคนใจบุญที่สนใจเรื่องมะเร็งเต้านม
  • 13:30 - 13:31
    อะไรดูสมเหตุสมผลกว่ากัน
  • 13:31 - 13:35
    ระหว่างออกไปหานักวิจัยที่ดีที่่สุดในโลก
  • 13:35 - 13:38
    แล้วเอาเงิน 350,000 ดอลลาร์ ให้เธอใช้ทำวิจัย
  • 13:38 - 13:42
    เทียบกับการมอบเงิน 350,000 ดอลลาร์ ให้ฝ่ายระดมทุน
  • 13:42 - 13:47
    เพื่อให้มันทวีคูณ เป็น 194 ล้านดอลลาร์
    เพื่อการวิจัยมะเร็งเต้านม
  • 13:47 - 13:51
    ปี 2002 เป็นปีที่เราประสบความสำเร็จมากที่สุด
  • 13:51 - 13:54
    ในปีนั้นปีเดียว เราหาเงินให้มะเร็งเต้านม
  • 13:54 - 13:58
    ได้ 71 ล้านเหรียญหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว
  • 13:58 - 14:00
    แล้วเราก็ต้องปิดกิจการลง
  • 14:00 - 14:03
    อย่างกระทันหัน และอย่างน่าเสียใจ
  • 14:03 - 14:08
    ทำไม ก็เพราะว่าผู้ให้การสนับสนุน
    เลิกสนับสนุนเรา
  • 14:08 - 14:10
    พวกเขาไม่ต้องการมีส่วนร่วม
  • 14:10 - 14:13
    เพราะเราถูกสื่อประณาม
  • 14:13 - 14:16
    เรื่องการนำเงิน 40% จากยอดรวมไปใช้หาพนักงาน
  • 14:16 - 14:19
    กับการบริการลูกค้า
    และการสร้างประสบการณ์ที่สวยงามอื่นๆ
  • 14:19 - 14:23
    มันไม่มีคำศัพท์ทางบัญชีที่ถูกบัญญัติมา
    เพื่อใช้อธิบายถึง
  • 14:23 - 14:25
    ลักษณะการลงทุนเพื่อการเติบโตและอนาคต
  • 14:25 - 14:30
    นอกจากหัวบัญชี
    ว่าเป็น "ค่าใช้จ่ายในการประกอบการ"
  • 14:30 - 14:36
    ในวันหนึ่ง พนักงานเจ๋งๆ ของเราทั้ง 350 คน
  • 14:36 - 14:40
    จึงตกงาน
  • 14:40 - 14:44
    เพราะพวกถูกระบุว่าเป็นค่าประกอบการ
  • 14:44 - 14:46
    ผู้สนับสนุนของเราลองไปจัดงานเองดู
  • 14:46 - 14:47
    ผลคือค่าประกอบการกลับสูงขึ้น
  • 14:47 - 14:50
    รายได้สนับสนุนการวิจัยกลับลดลง
  • 14:50 - 14:56
    คิดเป็น 84 เปอร์เซ็นต์
    หรือ 60 ล้านดอลลาร์ต่อปี
  • 14:56 - 14:59
    นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเราสับสน
  • 14:59 - 15:03
    ระหว่างจริยธรรม และความมัธยัสถ์
  • 15:03 - 15:06
    เราถูกสอนว่า การขายขนมปัง
    มีค่าประกอบการเพียง 5 เปอร์เซ็นต์
  • 15:06 - 15:11
    นั้นเหมาะสมกว่า
    องค์กรเพื่อการกุศลที่จะมีค่าประกอบการ 40%
  • 15:11 - 15:14
    แต่เรามองข้ามความจริงที่สำคัญที่สุดไป
  • 15:14 - 15:18
    นั่นคือ ขนาดขององค์กร
    หรือขนาดของชิ้นพายทั้งสอง
  • 15:18 - 15:22
    ใครจะสนว่าธุรกิจเบเกอรี่เล็กๆ
    บวกค่าการประกอบการแค่ 5%
  • 15:22 - 15:25
    แต่ถ้าการขายขนมปัง
    ทำให้องค์กรมีรายได้แค่ 71 ดอลลาร์
  • 15:25 - 15:27
    เพราะมันไม่ต้องลงทุนเพื่อขยายกิจการ
  • 15:27 - 15:29
    แล้วองค์การที่เชี่ยวชาญด้านระดมทุน
  • 15:29 - 15:32
    หารายได้ได้ 71 ล้านดอลลาร์
    เพราะเขามีความสามารถพอล่ะ
  • 15:32 - 15:34
    ทีนี้ พายชิ้นไหนกันที่เราจะเลือก และพายชิ้นไหน
  • 15:34 - 15:38
    ที่ผู้คนที่หิวโหยจะเลือก
  • 15:38 - 15:42
    นี่คือผลกระทบในภาพกว้างครับ
  • 15:42 - 15:45
    ผมบอกว่ายอดเงินบริจาคคิดเป็น 2%
    ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในสหรัฐฯ
  • 15:45 - 15:48
    คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ต่อปี
  • 15:48 - 15:52
    แต่มีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์
    หรือประมาณ 60 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
  • 15:52 - 15:54
    ที่บริจาคให้องค์กรด้านสุขภาพ
    และบริการด้านมนุษยชนอื่นๆ
  • 15:54 - 15:57
    ที่เหลืออยู่กับองค์กรเพื่อศาสนา
    การศึกษา และการวิจัยในโรงพยาบาล
  • 15:57 - 16:00
    และเงิน 60 ล้านดอลาร์นั้น
    เรียกได้ว่าเกือบจะไม่พอ
  • 16:00 - 16:02
    กับการจัดการปัญหาเหล่านั้น
  • 16:02 - 16:04
    แต่ถ้าเราจะสามารถทำให้การบริจาคนี้
  • 16:04 - 16:10
    ที่คิดเป็น 2 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวม
    ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว
  • 16:10 - 16:13
    กลายเป็น 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม
    ด้วยการลงทุนเพื่อความเติบโตนั้น
  • 16:13 - 16:17
    จะทำให้มีเงินเพิ่ม 150 ล้านดอลลาร์ต่อปี
  • 16:17 - 16:20
    และถ้าเงินเพิ่มส่วนใหญ่นั้น
  • 16:20 - 16:22
    แบ่งไปด้านสุขภาพและมนุษยชน
  • 16:22 - 16:25
    เพราะเราสนับสนุนทั้งสองนั้น ให้ลงทุนด้านการเติบโต
  • 16:25 - 16:29
    หมายความว่าส่วนงานนั้น
    จะเติบโตเป็นสามเท่า
  • 16:29 - 16:31
    เรากำลังพูดถึงขนาดที่ใหญ่ขึ้น
  • 16:31 - 16:34
    และเรากำลังพูดถึงความเป็นไปได้
    ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงๆ
  • 16:34 - 16:37
    แต่มันจะไม่มีทางเกิดขึ้นด้วยการบังคับ
  • 16:37 - 16:39
    ให้องค์กรเหล่านี้ลดตัวเองลงมา
  • 16:39 - 16:45
    เพื่อรักษาค่าประกอบการให้ต่ำเข้าไว้
  • 16:45 - 16:48
    คนยุคเราคงไม่อยากให้คนรุ่นหลัง
    มาอ่านบันทึกแล้วพบว่า
  • 16:48 - 16:51
    "เราได้รักษาค่าประกอบการ
    ขององค์กรการกุศลให้ต่ำเข้าไว้"
  • 16:51 - 16:59
    (หัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 16:59 - 17:01
    เราอยากให้คนรุ่นหลังรู้ว่า
    เราเปลี่ยนโลกอย่างไรบ้าง
  • 17:01 - 17:03
    และเราจะทำเช่นนั้นได้
  • 17:03 - 17:06
    ด้วยการเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้
  • 17:06 - 17:08
    เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้เมื่อคุณพูดถึงการกุศล
  • 17:08 - 17:10
    อย่าถามว่าค่าประกอบการคิดเป็นเท่าใหร่
  • 17:10 - 17:12
    แต่ถามถึงขนาดความฝันของพวกเค้า
  • 17:12 - 17:16
    ความฝันแบบบริษัทแอปเปิล กูเกิล หรือ อเมซอน
  • 17:16 - 17:18
    ถามถึงวิธีวัดความก้าวหน้าของความฝัน
  • 17:18 - 17:21
    และสิ่งที่เขาต้องการ
    เพื่อทำให้ความฝันนั้นเป็นจริง
  • 17:21 - 17:23
    ไม่ว่าค่าประกอบการจะสูงแค่ไหน
  • 17:23 - 17:28
    ใครจะสนใจเรื่องค่าประกอบการ
    ตราบใดที่ปัญหาเหล่านั้นได้รับการแก้ไข
  • 17:28 - 17:31
    ถ้าเราสามารถเปิดใจ
  • 17:31 - 17:35
    เปิดความคิดได้ขนาดนั้น
    เหล่า NPO ก็สามารถ
  • 17:35 - 17:39
    มีบทบาทในการเปลี่ยนโลก ให้กับประชากรทุกคน
  • 17:39 - 17:45
    คนที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างที่สุด
  • 17:45 - 17:50
    และถ้านั่นจะเป็นมรดกที่เราจะทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลัง
  • 17:50 - 17:53
    ว่าเราได้แสดงความรับผิดชอบ
  • 17:53 - 17:56
    ต่อความคิดที่เรารับตกทอดมา
  • 17:56 - 17:59
    แล้วมาใตร่ตรอง ปรับปรุงใหม่
  • 17:59 - 18:03
    เราได้คิดหนทางใหม่
    ที่มนุษยชาติจะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ
  • 18:03 - 18:06
    เพื่อพวกเราทุกๆ คนตลอดไป
  • 18:06 - 18:11
    ผมว่า เราควรให้เด็กๆ เป็นคนสรุป
    ว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร
  • 18:11 - 18:13
    แอนนาลิซ่า: นั่นก็จะเป็น
  • 18:13 - 18:15
    เสจ: นวัตกรรมทางสังคม
  • 18:15 - 18:17
    ไรเดอร์: ที่แท้จริง
  • 18:17 - 18:20
    แดน: ขอบคุณมากครับ ขอบคุณ
  • 18:20 - 18:30
    (เสียงปรบมือ)
  • 18:30 - 18:34
    ขอบคุณครับ (เสียงปรบมือ)
Title:
แดน พัลลอตต้า (Dan Pallotta): วิธีคิดเกี่ยวกับการกุศลของเราผิดอย่างมหันต์
Speaker:
Dan Pallotta
Description:

นักเรียกร้องสิทธิและนักระดมทุน แดน พัลลอตต้า เรียกร้องถึงความไม่เท่าเทียมของการทำการกุศลในสังคม เรามีองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NPO, nonprofit organization) จำนวนมาก หากแต่พวกเขาได้รับคำชื่นชมเมื่อใช้เงินได้น้อย ไม่ใช่จากการทำงานให้สำเร็จลุล่วง และแทนที่จะวัดผลงานกันแบบเดิมๆ ด้วยการวัดความมัธยัสถ์เหนือกว่าคุณธรรม เขาขอให้เราเริ่มให้รางวัลองค์กรการกุศลทั้งหลายที่มีเป้าหมายสูงๆ และประสบความสำเร็จมากๆ (ถึงแม้ว่ามันจะมีค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ตามมาก็ตาม) ในการพูดครั้งนี้ เขาขอให้พวกเราลองเปลี่ยนวิธีที่เราใช้คิดเปลี่ยนโลกกันดีกว่า

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
18:54
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for The way we think about charity is dead wrong
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for The way we think about charity is dead wrong
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for The way we think about charity is dead wrong
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for The way we think about charity is dead wrong
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for The way we think about charity is dead wrong
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for The way we think about charity is dead wrong
Unnawut Leepaisalsuwanna rejected Thai subtitles for The way we think about charity is dead wrong
Unnawut Leepaisalsuwanna commented on Thai subtitles for The way we think about charity is dead wrong
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions