Return to Video

แอรอน ฮิวอี: นักโทษสงครามชนพื้นเมืองอเมริกัน

  • 0:00 - 0:03
    ผมมาที่นี่ในวันนี้เพื่อแสดงภาพถ่ายของชาวลาโกตา
  • 0:04 - 0:06
    หลายท่านในที่นี้อาจเคยได้ยินเรื่องราวของเผ่าลาโกตา
  • 0:06 - 0:08
    หรืออย่างน้อยก็เรื่องชนเผ่าขนาดใหญ่
  • 0:08 - 0:10
    ที่ชื่อเผ่าซู
  • 0:10 - 0:13
    ชาวลาโกตาเป็นหนึ่งในหลายชนเผ่า
    ที่ต้องอพยพออกจากแผ่นดินตนเอง
  • 0:13 - 0:15
    ไปยังค่ายกักกันนักโทษสงคราม
  • 0:15 - 0:17
    ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าเขตสงวน
  • 0:17 - 0:19
    ชื่อเต็มคือเขตสงวนไพน์ริดจ์
  • 0:19 - 0:21
    หัวข้อของสไลด์นำเสนอในวันนี้
  • 0:21 - 0:23
    ตั้งอยู่ห่าง 75 ไมล์ออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้
  • 0:23 - 0:25
    ของเทือกเขาแบล็คฮิลในรัฐเซาท์ดาโกตา
  • 0:25 - 0:27
    ซึ่งบางครั้งก็ถูกเรียกว่า
  • 0:27 - 0:30
    ค่ายกักกันนักโทษสงครามหมายเลข 334
  • 0:30 - 0:33
    และเป็นที่ที่ชาวลาโกตาอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
  • 0:33 - 0:35
    ถ้ามีใครในที่นี้เคยได้ยินชื่อ AIM
  • 0:35 - 0:37
    ขบวนการอเมริกันอินเดียน
  • 0:37 - 0:39
    หรือรัสเซลล์ มีนส์
  • 0:39 - 0:41
    หรือลีโอนาร์ด เพลทิเอร์
  • 0:41 - 0:43
    หรือการเผชิญหน้ารับศึกที่โอกลาลา
  • 0:43 - 0:46
    ถ้าอย่างนั้นคุณคงทราบว่าไพน์ริดจ์เป็นจุดเกิดเหตุ
  • 0:46 - 0:49
    ของเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นกับชาวอเมริกันพื้นเมือง
  • 0:49 - 0:51
    วันนี้ผมเลยได้รับเชิญมาพูดอะไรเล็กน้อย
  • 0:51 - 0:53
    เรื่องความสัมพันธ์ของผมกับชาวลาโกตา
  • 0:53 - 0:55
    ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากเรื่องหนึ่ง
  • 0:55 - 0:57
    เพราะว่า หากคุณได้สังเกตสีผิวของผม
  • 0:57 - 0:59
    ผมเป็นคนขาว
  • 0:59 - 1:02
    ซึ่งนับเป็นอุปสรรคชิ้นใหญ่
    ซึ่งขวางกั้นเขตสงวนชนพื้นเมืองอยู่
  • 1:04 - 1:06
    วันนี้ คุณจะได้เห็นผู้คนมากมายในภาพถ่ายของผม
  • 1:06 - 1:09
    ผมสนิทกับพวกเขามาก
    พวกเขาต้อนรับผมดีเหมือนเป็นคนในครอบครัว
  • 1:09 - 1:11
    พวกเขาเรียกผมว่า "พี่ชาย" หรือว่า "ลุง"
  • 1:11 - 1:13
    และเชิญผมไปบ้านซ้ำแล้วซ้ำอีกตลอดเวลาห้าปี
  • 1:13 - 1:15
    แต่ว่าที่ไพน์ริดจ์
  • 1:15 - 1:18
    ผมยังเป็นคนที่ถูกเรียกว่า "วาชิชู" เสมอ
  • 1:18 - 1:21
    "วาชิชู" เป็นภาษาลาโกตา
  • 1:21 - 1:23
    ซึ่งหมายถึง "คนที่ไม่ใช่ชาวอินเดียน"
  • 1:23 - 1:25
    แต่อีกความหมายหนึ่งของคำนี้
  • 1:25 - 1:29
    หมายถึง "คนที่เก็บเนื้อส่วนที่ดีที่สุดไว้กับตัว"
  • 1:29 - 1:31
    ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ผมอยากจะเน้นย้ำ
  • 1:31 - 1:33
    คนที่เก็บเนื้อส่วนที่ดีที่สุดไว้กับตัว
  • 1:33 - 1:35
    หมายถึง คนโลภ
  • 1:36 - 1:38
    ลองมองไปรอบๆห้องบรรยายในวันนี้สิครับ
  • 1:38 - 1:41
    เราอยู่กันที่โรงเรียนเอกชนทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา
  • 1:41 - 1:44
    นั่งบนเก้าอี้กำมะหยี่สีแดง
  • 1:44 - 1:46
    มีเงินพกอยู่ในกระเป๋า
  • 1:46 - 1:48
    ถ้าเราลองมองชีวิตตัวเอง
  • 1:48 - 1:50
    แท้จริงแล้วเราได้ชิงเอา
  • 1:50 - 1:52
    เนื้อส่วนที่ดีที่สุดมาไว้กับตัว
  • 1:52 - 1:55
    เพราะอย่างนั้น วันนี้ขอให้มาชมชุดภาพถ่าย
  • 1:55 - 1:57
    ของผู้คนที่ต้องสูญเสีย
  • 1:57 - 1:59
    เพื่อให้เราเป็นผู้ได้มา
  • 1:59 - 2:02
    โปรดระลึกว่าเมื่อคุณมองที่ใบหน้าของผู้คนเหล่านี้
  • 2:02 - 2:05
    นี่ไม่ใช่เพียงภาพของชาวลาโกตาเท่านั้น
  • 2:05 - 2:08
    แต่พวกเขายังสะท้อนภาพของชาวพื้นเมืองทั้งหมด
  • 2:10 - 2:12
    ในกระดาษใบนี้
  • 2:12 - 2:14
    คือประวัติศาสตร์ในแบบที่ผมได้เรียนรู้
  • 2:14 - 2:17
    จากเพื่อนและครอบครัวชาวลาโกตา
  • 2:17 - 2:19
    ต่อไปนี้เป็นประวัติศาสตร์เรียงตามลำดับเวลา
  • 2:19 - 2:22
    ของการทำสนธิสัญญา การละเมิดสนธิสัญญา
  • 2:22 - 2:24
    และการสังหารหมู่ที่ถูกฉาบหน้าด้วยภาพของสงคราม
  • 2:24 - 2:26
    ผมจะเริ่มจากปี ค.ศ. 1824
  • 2:26 - 2:28
    หน่วยงานที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ
    สำนักจัดการด้านชนพื้นเมือง
  • 2:28 - 2:30
    ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกองทัพบก
  • 2:30 - 2:32
    เป็นจุดเริ่มต้นของบรรยากาศการใช้ความรุนเรง
  • 2:32 - 2:34
    ในการติดต่อเจรจากับชาวอเมริกันพื้นเมือง
  • 2:34 - 2:36
    ปี ค.ศ. 1851
  • 2:36 - 2:38
    สนธิสัญญาค่ายลารามี
    ฉบับแรกก็ได้รับการยกร่าง
  • 2:38 - 2:41
    เป็นการระบุขอบเขตดินแดน
    ของชาติลาโกตาอย่างชัดแจ้ง
  • 2:41 - 2:43
    ข้อความตามสนธิสัญญา
  • 2:43 - 2:45
    ระบุให้ดินแดนดังกล่าวเป็นรัฐเอกราช
  • 2:45 - 2:47
    หากข้อตกลงในสนธิสัญญาได้รับการปฏิบัติตาม
  • 2:47 - 2:50
    และมีกฎหมายรับรองข้อความตามสนธิสัญญา
  • 2:50 - 2:53
    เช่นนั้น หน้าตาของสหรัฐอเมริกาจะเป็นเช่นนี้ในวันนี้
  • 2:55 - 2:57
    10 ปีจากนั้น
  • 2:57 - 3:00
    พระราชบัญญัติโฮมสเตด
    ลงนามโดยประธานาธิบดีลินคอล์น
  • 3:00 - 3:03
    ส่งผลให้คนขาวไหลบ่าเข้าไป
    ตั้งรกรากในดินแดนชาวพื้นเมือง
  • 3:03 - 3:05
    ปี ค.ศ. 1863
  • 3:05 - 3:07
    การลุกฮือของชนเผ่าซูแถบซานตีในมินนิโซตา
  • 3:07 - 3:10
    ปิดฉากลงด้วยการแขวนคอชาวซู 38 ราย
  • 3:10 - 3:13
    เป็นการประหารชีวิตครั้งใหญ่ที่สุด
    ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา
  • 3:14 - 3:16
    การประหารครั้งนั้นได้รับคำสั่งจากประธานาธิบดีลินคอล์น
  • 3:16 - 3:18
    เหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงสองวัน
  • 3:18 - 3:21
    ถัดจากการลงนามในประกาศเลิกทาส
  • 3:22 - 3:25
    ปี ค.ศ. 1866 ปีแห่งการเริ่มต้นสร้างทางรถไฟข้ามทวีป
  • 3:25 - 3:27
    ศักราชใหม่
  • 3:27 - 3:29
    เราจัดสรรที่ดินเพื่อสร้างทางรถไฟ
  • 3:29 - 3:32
    โดยการตัดเข้าไปยังใจกลางของชาติลาโกตา
  • 3:32 - 3:34
    สนธิสัญญาจึงถูกฉีกทิ้ง
  • 3:34 - 3:37
    เพื่อเป็นการตอบโต้ ชาวพื้นเมืองสามชนเผ่า
    นำโดยหัวหน้าเรดคลาวด์
  • 3:37 - 3:40
    ได้โจมตีและเอาชนะกองทัพสหรัฐฯได้หลายครั้ง
  • 3:40 - 3:42
    ผมอยากย้ำอีกครั้ง
  • 3:42 - 3:45
    ชาวลาโกตาเอาชนะกองทัพสหรัฐฯได้
  • 3:45 - 3:48
    ปี ค.ศ. 1868 สนธิสัญญาค่ายลารามีฉบับที่สอง
  • 3:48 - 3:51
    ระบุชัดแจ้งถึงอำนาจอธิปไตยของชาติชนเผ่าซู
  • 3:51 - 3:54
    และความเป็นเจ้าของเทือกเขา
    แบล็คฮิลศักดิ์สิทธิ์ของชาวลาโกตา
  • 3:54 - 3:56
    รัฐบาลยังรับรองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
    และสิทธิในการล่าสัตว์
  • 3:56 - 3:58
    บริเวณรัฐแวดล้อมด้วย
  • 3:58 - 4:00
    เราสัญญาว่าบริเวณลุ่มน้ำพาวเดอร์
  • 4:00 - 4:03
    จะปราศจากคนขาวนับจากวันที่ประกาศ
  • 4:03 - 4:05
    สนธิสัญญานั้นเป็นชัยชนะที่สวยงามหมดจด
  • 4:05 - 4:07
    สำหรับเรดคลาวด์และชาวซู
  • 4:07 - 4:10
    ที่จริง สงครามดังกล่าวเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์
  • 4:10 - 4:13
    ที่รัฐบาลขอเจรจาสงบศึก
  • 4:13 - 4:16
    โดยยอมรับข้อเสนอทุกอย่างจากฝ่ายตรงข้าม
  • 4:18 - 4:20
    ปี ค.ศ. 1869
  • 4:20 - 4:22
    การสร้างทางรถไฟข้ามทวีปเสร็จสมบูรณ์
  • 4:22 - 4:25
    และสิ่งหนึ่งที่มาพร้อมกับทางรถไฟ
    คือกลุ่มคนล่าสัตว์กลุ่มใหญ่
  • 4:25 - 4:28
    ผู้ออกล่าควายป่าครั้งใหญ่
  • 4:28 - 4:31
    ทำลายแหล่งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม
    และที่อยู่อาศัยของชาวซู
  • 4:31 - 4:33
    ปี ค.ศ. 1871
  • 4:33 - 4:35
    พระราชบัญญัติอินเดียนแอพโพรพริเอชัน
  • 4:35 - 4:38
    ทำให้ชาวอเมริกันอินเดียนทุกคน
    อยู่ใต้ความคุ้มครองของรัฐบาลกลาง
  • 4:38 - 4:41
    นอกจากนี้ กองทัพยังออกคำสั่ง
  • 4:41 - 4:44
    ไม่ให้ชาวอเมริกันอินเดียนแถบตะวันตกออกจากเขตสงวน
  • 4:44 - 4:46
    ชาวอเมริกันอินเดียนทุกคนในแถบตะวันตก ณ ตอนนั้น
  • 4:46 - 4:48
    ได้กลายเป็นนักโทษสงคราม
  • 4:48 - 4:50
    ในปี ค.ศ. 1871 เช่นเดียวกัน
  • 4:50 - 4:52
    เป็นช่วงเวลาสิ้นสุดการทำสนธิสัญญา
  • 4:52 - 4:55
    ปัญหาของสนธิสัญญาคือ ได้มอบสถานะ
    ให้ชนเผ่าต่างๆมีฐานะเทียบเท่ารัฐเอกราช
  • 4:55 - 4:57
    ซึ่งเรายอมไม่ได้
  • 4:57 - 4:59
    เรามีแผนการ
  • 4:59 - 5:01
    ปี ค.ศ. 1874
  • 5:01 - 5:04
    นายพลจอร์จ คัสเตอร์ประกาศถึง
    การขุดพบทองคำในดินแดนลาโกตา
  • 5:04 - 5:06
    โดยเฉพาะแทบเทือกเขาแบล็กฮิล
  • 5:06 - 5:08
    ข่าวเรื่องทองคำส่งผลให้คนขาวจำนวนมาก
    อพยพเข้าไปตั้งรกราก
  • 5:08 - 5:10
    ในชาติลาโกตา
  • 5:10 - 5:12
    นายพลคัสเตอร์เสนอให้รัฐสภาหาหนทาง
  • 5:12 - 5:14
    ยุติสนธิสัญญากับชาวลาโกตา
  • 5:14 - 5:16
    ให้เร็วที่สุด
  • 5:16 - 5:19
    ปี ค.ศ. 1875 สงครามลาโกตาเริ่มต้นขึ้น
  • 5:19 - 5:22
    เนื่องจากการละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญาค่ายลารามี
  • 5:22 - 5:24
    ปี ค.ศ. 1876
  • 5:24 - 5:26
    วันที่ 26 กรกฎาคม
  • 5:26 - 5:28
    ระหว่างการเดินทางไปโจมตีหมู่บ้านลาโกตา
  • 5:28 - 5:30
    กองทหารม้าที่ 7 ของคัสเตอร์โดนถล่มราบคาบ
  • 5:30 - 5:32
    ที่สมรภูมิลิตเติลบิ๊กฮอร์น
  • 5:32 - 5:34
    ปี ค.ศ. 1877
  • 5:34 - 5:37
    นักรบชาวลาโกตาและหัวหน้าเครซีฮอร์ส
  • 5:37 - 5:39
    ยอมจำนนที่ค่ายโรบินสัน
  • 5:39 - 5:42
    เวลาต่อมา เขาถูกสังหารระหว่างที่ถูกคุมขัง
  • 5:45 - 5:48
    ปี ค.ศ. 1877 ยังเป็นปีที่เราพบวิธี
  • 5:48 - 5:50
    การหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญาค่ายลารามี
  • 5:50 - 5:53
    มีการเสนอข้อตกลงใหม่ต่อหัวหน้าเผ่าซูและผู้นำอื่นๆ
  • 5:53 - 5:56
    ภายใต้แคมเปญว่า "ยอมขายหรืออดตาย"
  • 5:56 - 5:59
    จงลงนามในสัญญา ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีอาหารให้คนในเผ่า
  • 5:59 - 6:02
    ประชากรชายเพียงร้อยละ 10 ลงนามในสัญญา
  • 6:02 - 6:04
    สนธิสัญญาค่ายลารามี
  • 6:04 - 6:06
    ระบุให้ต้องมีสมาชิกในเผ่าจำนวนสามในสี่ลงนาม
  • 6:06 - 6:08
    จึงจะถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
  • 6:08 - 6:10
    ข้อตกลงในสนธิสัญญาจึงถูกละเลย
  • 6:10 - 6:13
    ปี ค.ศ. 1887 พระราชบัญญัติดอส์
  • 6:13 - 6:16
    การถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันบนพื้นที่เขตสงวนสิ้นสุดลง
  • 6:16 - 6:19
    เขตสงวนถูกตัดแบ่งเป็นผืนขนาด 0.65 ตร.กม.
  • 6:19 - 6:21
    แต่ละผืนแจกจ่ายให้ชาวพื้นเมืองแต่ละคน
  • 6:21 - 6:23
    ส่วนที่เหลือจากการจัดสรรก็ตกเป็นของรัฐ
  • 6:23 - 6:26
    เผ่าสูญเสียที่ดินหลายแสนตารางกิโลเมตร
  • 6:26 - 6:28
    ความฝันแบบอเมริกัน
    ในการเป็นเจ้าของที่ดินส่วนตัว
  • 6:28 - 6:30
    กลายเป็นวิธีการอันชาญฉลาด
  • 6:30 - 6:33
    ในการแบ่งพื้นที่เขตสงวน
    จนไม่หลงเหลืออะไรไว้
  • 6:33 - 6:35
    การเปลี่ยนแปลงครั้งดังกล่าวทำลายเขตสงวนลง
  • 6:35 - 6:38
    ทำให้การแบ่งพื้นที่เพื่อนำไปขายทำได้ง่ายขึ้น
  • 6:38 - 6:41
    เมื่อผ่านไปแต่ละรุ่น
  • 6:41 - 6:43
    พื้นที่ส่วนใหญ่ที่เหลือจากการจัดสรร
  • 6:43 - 6:45
    และที่ดินที่แบ่งแล้วในพื้นที่เขตสงวนหลายแปลง
  • 6:45 - 6:48
    ปัจจุบันนี้ตกเป็นของ
    เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ซึ่งเป็นคนขาว
  • 6:48 - 6:51
    อีกครั้งหนึ่ง ที่ดินผืนใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์
    ตกเป็นของวาชิชู
  • 6:52 - 6:54
    ปี ค.ศ. 1890 วันที่ผมเชื่อว่าเป็น
  • 6:54 - 6:57
    วันที่สำคัญที่สุดในสไลด์โชว์นี้
  • 6:57 - 6:59
    นี่คือปีที่มีการสังหารหมู่ที่วูนเด็ดนี
  • 6:59 - 7:01
    วันที่ 29 ธันวาคม
  • 7:01 - 7:04
    กองกำลังสหรัฐฯล้อมค่ายของชาวซูไว้
    ที่บริเวณวูนเด็ดนีครีก
  • 7:04 - 7:06
    และสังหารหัวหน้าบิ๊กฟุต
  • 7:06 - 7:08
    พร้อมนักโทษสงคราม 300 ราย
  • 7:08 - 7:10
    โดยใช้อาวุธปืนยิงรัว
  • 7:10 - 7:12
    ยิงกระสุนระเบิด
  • 7:12 - 7:14
    จากปืนที่เรียกว่าปืนใหญ่ฮ็อชคิส
  • 7:14 - 7:16
    ฉากที่เรียกกันว่า "สงคราม" นี้
  • 7:16 - 7:19
    มีการมอบเหรียญกล้าหาญจากรัฐสภา 20 เหรียญ
  • 7:19 - 7:22
    ให้กองทหารม้าที่ 7
  • 7:22 - 7:24
    จวบจนทุกวันนี้
  • 7:24 - 7:27
    ครั้งนั้นนับเป็นเหรียญกล้าหาญที่มากที่สุด
  • 7:27 - 7:30
    ที่ได้มอบให้ในสงครามๆเดียว
  • 7:30 - 7:32
    มีการมอบเหรียญกล้าหาญมากมาย
  • 7:32 - 7:34
    ให้กับการสังหารผู้หญิงและเด็กอย่างไม่เลือกปฏิบัติ
  • 7:34 - 7:36
    มากกว่าที่พบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
  • 7:36 - 7:38
    สงครามโลกครั้งที่สอง
  • 7:38 - 7:40
    สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม
  • 7:40 - 7:43
    อิรักหรืออัฟกานิสถาน
  • 7:44 - 7:46
    การสังหารหมู่ที่วูนเด็ดนี
  • 7:46 - 7:49
    นับเป็นการสิ้นสุดของสงครามกับชนพื้นเมือง
  • 7:49 - 7:51
    เมื่อไรก็ตามที่ผมไปยังจุด
  • 7:51 - 7:53
    ที่เป็นสุสานหมู่แห่งวูนเด็ดนี
  • 7:53 - 7:55
    ผมมองเห็นไม่ใช่แค่หลุมศพ
  • 7:55 - 7:57
    สำหรับชาวลาโกตาหรือชาวซู
  • 7:57 - 8:00
    แต่เป็นหลุมศพของชาวพื้นเมืองทั้งหมด
  • 8:03 - 8:05
    แบล็คเอลค์ บุคคลศักดิ์สิทธิ์กล่าวไว้ว่า
  • 8:05 - 8:07
    "ณ ตอนนั้น ข้าไม่รู้
  • 8:07 - 8:09
    ว่าชีวิตถูกพรากไปเท่าใด
  • 8:09 - 8:11
    แต่เมื่อมองย้อนกลับไป
  • 8:11 - 8:13
    จากยอดเขาสูงแห่งวัยชรา
  • 8:13 - 8:15
    ข้ายังเห็นชีวิตสตรีและเด็กที่ถูกคร่า
  • 8:15 - 8:17
    ทั้งกองสูงและกระจัดกระจาย
  • 8:17 - 8:20
    ตลอดสายธารที่คดเคี้ยวนั้น
  • 8:23 - 8:25
    ภาพนั้นยังประจักษ์ชัดดุจเดียวกับ
  • 8:25 - 8:28
    ภาพที่มองด้วยสายตาในวัยหนุ่ม
  • 8:31 - 8:34
    และข้าเห็นว่ามีบางสิ่งสูญสิ้นไปกับธุลีที่เปื้อนโลหิต
  • 8:35 - 8:38
    ถูกกลบอยู่ใต้พายุหิมะ
  • 8:39 - 8:42
    ความฝันของชนชาติได้สูญสิ้นไป ณ ที่นั้น
  • 8:42 - 8:45
    ซึ่งฝันนั้นเป็นฝันอันงดงาม"
  • 8:46 - 8:48
    เหตุการณ์ดังกล่าว
  • 8:48 - 8:51
    ก่อให้เกิดศักราชใหม่ในประวัติศาสตร์ชนพื้นเมือง
  • 8:52 - 8:54
    ทุกอย่างถูกวัดค่าตีราคาได้
  • 8:54 - 8:57
    ทั้งก่อนเหตุการณ์วูนเด็ดนีและหลังจากนั้น
  • 8:57 - 8:59
    เพราะว่าเป็นชั่วขณะนั้นเอง
  • 8:59 - 9:02
    ที่นิ้วจ่ออยู่ที่ไกของปืนฮ็อชคิส
  • 9:02 - 9:06
    ที่รัฐบาลสหรัฐฯประกาศ
    สิทธิของชนพื้นเมืองอย่างชัดแจ้ง
  • 9:06 - 9:08
    พวกเขารู้สึกเหนื่อยกับสนธิสัญญา
  • 9:08 - 9:10
    พวกเขาเหนื่อยกับเทือกเขาศักดิ์สิทธิ์
  • 9:10 - 9:13
    เหนื่อยกับพิธีกรรมการร่ายรำ
  • 9:13 - 9:16
    และยังเหนื่อยกับความยุ่งยากต่างๆที่เกิดกับชาวซู
  • 9:16 - 9:19
    พวกเขาเลยขนปืนใหญ่มา
  • 9:20 - 9:23
    "ยังอยากเป็นชาวพื้นเมืองอยู่ไหม" พวกเขาถาม
  • 9:23 - 9:25
    มือเหนี่ยวไกปืน
  • 9:30 - 9:32
    ปี ค.ศ. 1900
  • 9:32 - 9:35
    ประชากรชาวอเมริกันอินเดียนมีจำนวนลดลง
  • 9:36 - 9:38
    เหลือ 250,000 คน
  • 9:38 - 9:40
    เทียบกับจำนวนประชากรราวแปดล้าน
  • 9:40 - 9:42
    ในปี ค.ศ. 1492
  • 9:44 - 9:46
    กรอเทปไปข้างหน้า
  • 9:46 - 9:48
    ปี ค.ศ. 1980
  • 9:48 - 9:50
    คดีที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา
  • 9:50 - 9:53
    ระหว่างชนพื้นเมืองเผ่าซู โจทก์
    และสหรัฐอเมริกา จำเลย
  • 9:53 - 9:56
    ได้รับการพิจารณาโดยศาลสูงสหรัฐฯ
  • 9:57 - 10:00
    ศาลวินิจฉัยว่า เมื่อชาวซูกลับเข้าไป
    ตั้งรกรากในเขตสงวนอีกครั้ง
  • 10:00 - 10:03
    และที่ดินของชาวซูราวสามหมื่นตารางกิโลเมตร
  • 10:03 - 10:06
    ก็เปิดให้คนเข้าไปสำรวจและตั้งรกราก
  • 10:06 - 10:08
    ในการนี้ ข้อตกลงในสนธิสัญญาค่ายลารามีฉบับที่สอง
  • 10:08 - 10:10
    ถูกละเมิด
  • 10:10 - 10:12
    ศาลระบุว่า
  • 10:12 - 10:14
    เทือกเขาแบล็คฮิลถูกแย่งชิงไปโดยผิดกฎหมาย
  • 10:14 - 10:16
    และราคาตั้งต้นของที่ดินรวมกับอัตราดอกเบี้ย
  • 10:16 - 10:18
    ให้จ่ายให้กับชาวพื้นเมืองเผ่าซู
  • 10:18 - 10:20
    เพื่อเป็นการจ่ายเงินชดเชยให้ชาวซู
  • 10:20 - 10:23
    ศาลสั่งให้จ่ายเงินจำนวนเพียง 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • 10:23 - 10:25
    แก่ประชาชนชาวซู
  • 10:25 - 10:28
    ชาวซูปฏิเสธเงินและเริ่มรณรงค์ในแคมเปญ
  • 10:28 - 10:31
    "เทือกเขาแบล็คฮิลไม่ได้มีไว้จำหน่าย"
  • 10:31 - 10:33
    ปี ค.ศ. 2010
  • 10:33 - 10:36
    สถิติเกี่ยวกับชาวพื้นเมืองในวันนี้
  • 10:36 - 10:39
    ผ่านไปกว่าหนึ่งศตวรรษหลังจาก
    เหตุการณ์สังหารหมู่ที่วูนเด็ดนี
  • 10:39 - 10:41
    แสดงให้เห็นถึงมรดกที่ตกทอดมาจากการยึดครอง
  • 10:41 - 10:43
    การบังคับให้อพยพย้ายถิ่น
  • 10:43 - 10:45
    และการละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญา
  • 10:45 - 10:48
    อัตราการว่างงานในเขตสงวนไพน์ริดจ์
  • 10:48 - 10:51
    แปรไปมาระหว่างร้อยละ 85 ถึง 90
  • 10:51 - 10:54
    สำนักพัฒนาที่อยู่อาศัยไม่สามารถก่อสร้างอะไรเพิ่มเติมได้
  • 10:54 - 10:56
    ส่วนสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่ก็ค่อยๆพังทลายลง
  • 10:56 - 10:58
    หลายคนกลายเป็นคนไร้บ้าน
  • 10:58 - 11:00
    ส่วนผู้ที่มีบ้านก็แออัดยัดเยียด
    อยู่ในอาคารที่ส่งกลิ่นเหม็น
  • 11:00 - 11:02
    บ้างอยู่รวมกันถึงห้าครอบครัว
  • 11:02 - 11:04
    บ้านในเขตไพน์ริดจ์ถึงร้อยละ 39
  • 11:04 - 11:06
    ไม่มีไฟฟ้าใช้
  • 11:06 - 11:09
    และบ้านในเขตไพน์ริดจ์อย่างน้อยร้อยละ 60
  • 11:09 - 11:11
    ก็ถูกรบกวนจากเชื้อราดำ
  • 11:11 - 11:13
    ประชากรกว่าร้อยละ 90
  • 11:13 - 11:16
    มีชีวิตอยู่ใต้เส้นแบ่งระดับความยากจนที่รัฐระบุไว้
  • 11:16 - 11:19
    อัตราของผู้ป่วยวัณโรคในเขตไพน์ริดจ์
  • 11:19 - 11:22
    สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่สหรัฐฯระบุไว้ประมาณแปดเท่า
  • 11:22 - 11:24
    อัตราตายของทารก
  • 11:24 - 11:26
    สูงที่สุดในทวีปนี้
  • 11:26 - 11:29
    และสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่สหรัฐฯระบุไว้ประมาณสามเท่า
  • 11:29 - 11:31
    อัตราการเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงเป็นห้าเท่า
  • 11:31 - 11:33
    ของค่าเฉลี่ยที่สหรัฐฯระบุไว้
  • 11:33 - 11:36
    อัตราการออกจากโรงเรียนสูงถึงร้อยละ 70
  • 11:36 - 11:38
    อัตราการลาออกของครู
  • 11:38 - 11:41
    สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่รัฐระบุไว้แปดเท่า
  • 11:41 - 11:44
    บ่อยครั้ง ที่พบว่าปู่ย่าตายายเป็นผู้เลี้ยงดูหลานๆ
  • 11:44 - 11:47
    เพราะว่าพ่อแม่ เนื่องจากการติดสุรา
  • 11:47 - 11:49
    การใช้ความรุนแรงในครอบครัว
    และความไม่เอาใจใส่
  • 11:49 - 11:51
    ทำให้พวกเขาเลี้ยงดูลูกไม่ได้
  • 11:52 - 11:55
    ประชากรอายุกว่า 40 ปีจำนวนร้อยละ 50
  • 11:55 - 11:57
    ทุกข์ทรมานจากโรคเบาหวาน
  • 11:57 - 11:59
    อายุคาดเฉลี่ยของชาย
  • 11:59 - 12:01
    อยู่ระหว่าง 46 ปี
  • 12:01 - 12:04
    ถึง 48 ปี
  • 12:04 - 12:06
    ซึ่งเท่ากับ
  • 12:06 - 12:09
    ค่าเฉลี่ยในประเทศอัฟกานิสถานและโซมาเลีย
  • 12:10 - 12:13
    บทส่งท้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ประสบความสำเร็จ
  • 12:13 - 12:15
    คือการที่ผู้กดขี่
  • 12:15 - 12:18
    สามารถถอนมือออกมาและพูดได้ว่า
  • 12:18 - 12:21
    "ให้ตายสิ ดูว่าคนพวกนี้ทำอะไรกับตัวเอง
  • 12:21 - 12:23
    พวกเขาฆ่ากันเอง
  • 12:23 - 12:25
    พวกเขาฆ่าคนชาติเดียวกันเอง
  • 12:25 - 12:28
    ในขณะที่เรามองพวกเขาค่อยๆตาย"
  • 12:28 - 12:31
    นี่เป็นวิธีที่เราจับจองสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของ
  • 12:31 - 12:33
    นี่เป็นมรดก
  • 12:33 - 12:35
    ของปรัชญาเทพลิขิต
  • 12:35 - 12:37
    นักโทษยังคงถือกำเนิด
  • 12:37 - 12:39
    ในค่ายของนักโทษสงคราม
  • 12:39 - 12:42
    เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานแม้จะไม่มีผู้คุมแล้ว
  • 12:44 - 12:46
    นี่คือกระดูกที่เหลือ
  • 12:46 - 12:49
    หลังจากเนื้อส่วนที่ดีที่สุดถูกชิงไป
  • 12:51 - 12:53
    นานมาแล้ว
  • 12:53 - 12:55
    เหตุการณ์เหล่านี้ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน
  • 12:55 - 12:58
    โดยมีที่มาจากคนที่ดูเหมือนผม โดยวาชิชู
  • 12:58 - 13:00
    ผู้กระหายอยากได้ที่ดิน น้ำ
  • 13:00 - 13:03
    และทองคำในหุบเขา
  • 13:03 - 13:05
    เหตุการณ์เหล่านั้นก่อให้เกิดผลกระทบแบบโดมิโน
  • 13:05 - 13:07
    ที่สืบเนื่องยาวนานและยังไม่จบสิ้น
  • 13:07 - 13:11
    ความเป็นชาติมหาอำนาจของเรา
    อาจทำให้เรารู้สึกไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • 13:12 - 13:15
    กับการสังหารหมู่ในปี ค.ศ. 1890
  • 13:15 - 13:18
    หรือการละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญาหลายคราว
    เมื่อ 150 ปีก่อน
  • 13:19 - 13:21
    ผมยังต้องตั้งคำถามคุณ
  • 13:21 - 13:24
    ว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับค่าสถิติทุกวันนี้
  • 13:25 - 13:27
    อะไรคือความเชื่อมโยง
  • 13:27 - 13:29
    ระหว่างภาพความทุกข์ทรมานเหล่านี้
  • 13:29 - 13:31
    กับประวัติศาสตร์ที่ผมเพิ่งอ่านให้คุณฟัง
  • 13:31 - 13:33
    และประวัติศาสตร์เหล่านี้จำนวนมากน้อยแค่ไหน
  • 13:33 - 13:35
    ที่คุณรู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของ
  • 13:35 - 13:38
    มีสิ่งใดไหมที่คุณคิดว่าเป็น
    ความรับผิดชอบของคุณในปัจจุบัน
  • 13:39 - 13:42
    ผมได้รับการบอกเล่าว่า ต้องมีอะไรบ้างที่เราทำได้
  • 13:42 - 13:45
    น่าจะมีการกระตุ้นเตือนให้คนรู้สึกมีส่วนร่วม
  • 13:45 - 13:48
    เนื่องจากผมยืนอยู่ขอบสนามมายาวนานแล้ว
  • 13:48 - 13:50
    พอใจกับการเป็นผู้เฝ้าดู
  • 13:50 - 13:53
    ทำเพียงแค่ถ่ายภาพ
  • 13:53 - 13:56
    เนื่องจากหนทางแก้ไขดูจะอยู่ไกลไปในอดีต
  • 13:56 - 13:58
    ผมไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าเครื่องย้อนเวลา
  • 13:58 - 14:00
    เพื่อให้กลับไปแก้ไขได้
  • 14:00 - 14:02
    ความทุกข์ทรมานของชนพื้นเมือง
  • 14:02 - 14:05
    ไม่ใช่เรื่องที่จะแก้ไขได้ง่าย
  • 14:06 - 14:08
    ไม่ใช่เรื่องที่ทุกคนจะช่วยเหลือได้
  • 14:08 - 14:10
    ด้วยวิธีการที่เราช่วยเหลือประเทศไฮติ
  • 14:10 - 14:13
    หรือหยุดโรคเอดส์ หรือต่อสู้กับความยากจน
  • 14:13 - 14:15
    คำว่า "การแก้ไข" ที่เราใช้นี้
  • 14:15 - 14:18
    อาจเป็นเรื่องยากสำหรับชาติมหาอำนาจ
  • 14:18 - 14:20
    มากกว่าแค่การจ่ายเช็ค 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • 14:20 - 14:22
    หรือการเดินทางเพื่อการกุศล
  • 14:22 - 14:24
    ไปทาสีบ้านที่เปื้อนสีสเปรย์
  • 14:24 - 14:26
    หรือครอบครัวที่อาศัยย่านชานเมือง
  • 14:26 - 14:29
    บริจาคเสื้อผ้าที่พวกเขาไม่ต้องการแล้วกล่องหนึ่ง
  • 14:29 - 14:31
    อย่างนั้นเราจะทำอะไรได้
  • 14:31 - 14:34
    แค่ยักไหล่อยู่ในความมืดอย่างนั้นหรือ
  • 14:34 - 14:36
    สหรัฐอเมริกา
  • 14:36 - 14:38
    ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
  • 14:38 - 14:40
    ที่จะละเมิดข้อตกลง
  • 14:40 - 14:42
    ที่ทำขึ้นในปี ค.ศ. 1851 และปี ค.ศ. 1868
  • 14:42 - 14:45
    ในสนธิสัญญาค่ายลารามีที่ทำขึ้นกับชาวลาโกตา
  • 14:45 - 14:47
    การกระตุ้นเตือนที่ผมอยากนำเสนอในวันนี้
  • 14:47 - 14:50
    ความประสงค์จาก TED คือสิ่งนี้
  • 14:51 - 14:53
    เคารพสนธิสัญญา
  • 14:53 - 14:55
    คืนแบล็คฮิลกลับไป
  • 14:55 - 14:58
    ไม่ใช่เรื่องของเราว่าเขาจะเอาไปทำอะไร
  • 15:00 - 15:06
    (เสียงปรบมือ)
Title:
แอรอน ฮิวอี: นักโทษสงครามชนพื้นเมืองอเมริกัน
Speaker:
แอรอน ฮิวอี
Description:

ความพยายามของแอรอน ฮิวอีในการเก็บภาพความยากจนในสหรัฐอเมริกาได้นำพาเขาไปยังเขตสงวนไพน์ริดจ์ สถานที่ซึ่งการต่อสู้ดิ้นรนของชาวพื้นเมืองลาโกตาเป็นปัญหาที่น่าตกใจแต่ถูกปล่อยปละละเลย อันเป็นเหตุให้เขาต้องหันมาสนใจประเด็นดังกล่าว ผ่านไปห้าปีหลังจากการทำงาน ภาพถ่ายอันสะเทือนอารมณ์ได้รับการถักทอเข้ากับบทเรียนทางประวัติศาสตร์อันน่าตกใจ ถ่ายทอดมาในการบรรยายที่เข้มข้นและหาญกล้าใน TEDxDU.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:07
Dimitra Papageorgiou approved Thai subtitles for America's native prisoners of war
Pathumjit Atikomkamalasai accepted Thai subtitles for America's native prisoners of war
Bongkot Charoensak edited Thai subtitles for America's native prisoners of war
Bongkot Charoensak edited Thai subtitles for America's native prisoners of war
Bongkot Charoensak edited Thai subtitles for America's native prisoners of war
Pathumjit Atikomkamalasai declined Thai subtitles for America's native prisoners of war
Pathumjit Atikomkamalasai edited Thai subtitles for America's native prisoners of war
Pathumjit Atikomkamalasai edited Thai subtitles for America's native prisoners of war
Show all

Thai subtitles

Revisions