Return to Video

เครื่องมือที่แก้ไขช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดในการผ่าตัด

  • 0:01 - 0:03
    ครั้งแรกที่ผมได้ยืนในห้องผ่าตัด
  • 0:03 - 0:05
    และดูการผ่าตัดจริง
  • 0:05 - 0:07
    ผมไม่คิดจะคาดหวังอะไร
  • 0:07 - 0:09
    ผมเป็นนักศึกษามหาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • 0:09 - 0:11
    ผมคิดว่า มันคงจะเหมือนในทีวี
  • 0:11 - 0:13
    เพลงฟังดูน่ากลัว เปิดคลอไป
  • 0:13 - 0:16
    เม็ดเหงื่อหลั่งไหลลงจากใบหน้าศัลยแพทย์
  • 0:16 - 0:19
    แต่มันไม่ใช่แบบนั้นเลย
  • 0:19 - 0:20
    ในวันนั้น มีเสียงเพลง ผมคิดว่า
  • 0:20 - 0:23
    เป็นเพลงยอดฮิตของมาดอนน่า (เสียงหัวเราะ)
  • 0:23 - 0:25
    และมีเสียงพูดคุยกันมากมาย
  • 0:25 - 0:27
    ไม่ใช่แค่เกี่ยวกับอัตราเต้นของหัวใจคนป่วย
  • 0:27 - 0:30
    แต่เกี่ยวกับกีฬา และแผนเที่ยวในวันหยุด
  • 0:30 - 0:32
    ตั้งแต่นั้นมา ยิ่งผมดูการผ่าตัดมากเท่าได
  • 0:32 - 0:34
    ผมยิ่งรับรู้ว่า มันเป็นอย่างนี้เอง
  • 0:34 - 0:36
    แบบที่แปลกออกไป มันก็แค่อีกวันในที่ทำงาน
  • 0:36 - 0:38
    แต่บ่อยครั้งมาก
  • 0:38 - 0:40
    ที่เสียงดนตรีถูกทำให้เบาลง
  • 0:40 - 0:42
    ทุกคนหยุดคุยกัน
  • 0:42 - 0:45
    และจ้องไปที่สิ่งเดียวกัน
  • 0:45 - 0:47
    นั่นเป็นเวลาที่คุณรู้ว่าบางอย่างที่สำคัญมาก
  • 0:47 - 0:49
    และอันตรายอย่างยิ่ง กำลังเกิดขึ้น
  • 0:49 - 0:50
    ครั้งแรกที่ผมเห็นนั้น
  • 0:50 - 0:52
    ผมกำลังดูผ่าตัดแบบหนึ่ง
  • 0:52 - 0:54
    เรียกว่า การผ่าตัดทางกล้อง
  • 0:54 - 0:56
    และสำหรับท่านทั้งหลายที่ไม่คุ้นกับมัน
  • 0:56 - 0:59
    การผ่าตัดทางกล้องนั้น แทนที่จะผ่าแผลกว้าง
  • 0:59 - 1:01
    อย่างที่คุณอาจคุ้นเคยเกี่ยวกับการผ่าตัด
  • 1:01 - 1:03
    การผ่าตัดทางกล้อง คือการที่ศัลยแพทย์ทำ
  • 1:03 - 1:07
    รอยผ่าเล็กๆ 3 รอย หรือมากกว่า ในผู้ป่วย
  • 1:07 - 1:09
    แล้วสอดใส่เครื่องมือที่ยาวบางเหล่านี้
  • 1:09 - 1:10
    และกล้องตัวหนึ่งเข้าไป
  • 1:10 - 1:14
    แล้วทำกระบวนการผ่าตัดจริง ภายในตัวผู้ป่วย
  • 1:14 - 1:17
    ซึ่งดีมาก เพราะทำให้โอกาสติดเชื้อลดลง
  • 1:17 - 1:20
    เจ็บน้อยกว่ามาก และเวลาพักฟื้นสั้นกว่า
  • 1:20 - 1:23
    แต่มันก็มีข้อเสียที่ต้องคำนึงถึง
  • 1:23 - 1:24
    เพราะรอยผ่านั้นเกิดจาก
  • 1:24 - 1:27
    เครื่องมือที่ยาวและแหลม เรียกว่า
  • 1:27 - 1:28
    ท่อแทงเจาะหรือโทรคาร์ (trocar)
  • 1:28 - 1:31
    และวิธีที่ศัลยแพทย์ใช้เครื่องมือนี้
  • 1:31 - 1:32
    คือเขาจับมัน
  • 1:32 - 1:34
    และกดมัน เข้าไปในช่องท้อง
  • 1:34 - 1:37
    จนกว่ามันจะทะลุลงไป
  • 1:37 - 1:40
    และเหตุผลที่ทำไมทุกคน ในห้องผ่าตัดนั้น
  • 1:40 - 1:43
    จ้องไปที่เครื่องมือชิ้นนั้น ในวันนั้น
  • 1:43 - 1:46
    เป็นเพราะว่า เขาต้องระวังแบบสุดๆ
  • 1:46 - 1:48
    ที่จะไม่เจาะจนทะลุผ่าน และ
  • 1:48 - 1:52
    เจาะมันเข้าไปในอวัยวะและเส้นเลือดข้างใต้
  • 1:52 - 1:53
    แต่ปัญหานี้ ทุกท่านคงคุ้นกันดีอยู่แล้ว
  • 1:53 - 1:56
    เพราะผมมั่นใจมากๆว่า คุณเคยเห็นมันที่อื่น
  • 1:56 - 1:58
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:58 - 2:00
    จำนี่ได้มั้ยครับ
  • 2:00 - 2:04
    (เสียงปรบมือ)
  • 2:04 - 2:06
    คุณรู้ว่า อาจจะเป็นวินาทีไหนก็ได้
  • 2:06 - 2:08
    ที่หลอดจะเจาะทะลุผ่านเข้าไป
  • 2:08 - 2:09
    และคุณไม่รู้ว่า มันจะออกไปอีกด้านหนึ่ง
  • 2:09 - 2:11
    และตรงมาที่มือคุณ
  • 2:11 - 2:12
    หรือคุณจะทำให้นํ้ากระเด็นไปทั่ว
  • 2:12 - 2:16
    แต่คุณกลัว ใช่มั้ยครับ
  • 2:16 - 2:18
    ไม่เว้นแม้แต่สักครั้ง ที่คุณทำสิ่งนี้
  • 2:18 - 2:20
    คุณได้ประสบการณ์ฟิสิกส์ขั้นพื้นฐาน
  • 2:20 - 2:23
    เหมือนที่ผมกำลังดูอยู่ ในห้องผ่าตัดวันนั้น
  • 2:23 - 2:26
    และกลายเป็นว่า มันเป็นปัญหาอย่างแท้จริง
  • 2:26 - 2:29
    ในปี 2003 FDA ได้ออกมาประกาศว่า
  • 2:29 - 2:32
    การใช้ท่อแทงเจาะ
    อาจเป็นขั้นที่อันตรายที่สุด
  • 2:32 - 2:34
    ในการผ่าตัดที่รุกลํ้าร่างกายน้อยที่สุด
  • 2:34 - 2:36
    อีกครั้ง ในปี 2009 เราเห็นรายงาน ที่บอกว่า
  • 2:36 - 2:39
    ท่อแทงเจาะเป็นเหตุเกินครึ่งหนึ่ง
  • 2:39 - 2:42
    ของอาการแทรกซ้อนหลักๆ ในการผ่าตัดทางกล้อง
  • 2:42 - 2:43
    และ อ้อ ผมลืมบอกไป
  • 2:43 - 2:47
    เรื่องนี้ ยังไม่เปลี่ยนไปเลย 25 ปีมาแล้ว
  • 2:47 - 2:48
    เมื่อผมเข้าเรียนต่อปริญญาโท
  • 2:48 - 2:50
    เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งที่ผมอยากจะศึกษา
  • 2:50 - 2:52
    ผมพยายามอธิบายให้เพื่อนของผม
  • 2:52 - 2:54
    ว่าผมกำลังใช้เวลาทำอะไรกันแน่
  • 2:54 - 2:56
    และผมบอกว่า
  • 2:56 - 2:58
    "มันก็เหมือนกับเวลาคุณเจาะผ่านผนังห้อง
  • 2:58 - 3:01
    เพื่อแขวนอะไรสักอย่างในอพาร์ทเม้นท์
  • 3:01 - 3:05
    ทันทีที่สว่านเจาะทะลุกำแพงครั้งแรก
  • 3:05 - 3:09
    และมีรอยเจาะนี่ ใช่มั้ยครับ
  • 3:11 - 3:13
    แล้วเขาก็มองผมและพูดว่า
  • 3:13 - 3:17
    "หมายถึง เหมือนเจาะเข้าไปในสมองคนใช่มั๊ย"
  • 3:17 - 3:19
    ผมจึงถามกลับว่า"ว่าไงนะ?" (เสียงหัวเราะ)
  • 3:19 - 3:22
    แล้วผมก็ค้นดูและเขาเจาะเข้าไปในสมองคนจริงๆ
  • 3:22 - 3:24
    กระบวนการผ่าตัดสมองมากมายนั้น
  • 3:24 - 3:28
    จริงๆแล้ว เริ่มต้นด้วยการเจาะผ่านกะโหลก
  • 3:28 - 3:30
    และหากศัลยแพทย์ไม่ระมัดระวัง
  • 3:30 - 3:33
    เขาอาจเจาะทะลุตรงเข้าไปในสมองได้
  • 3:33 - 3:36
    นี่จึงเป็นชั่วขณะที่ผมเริ่มคิด
  • 3:36 - 3:39
    ใช่ การเจาะกระโหลกศีรษะ การผ่าตัดทางกล้อง
  • 3:39 - 3:41
    ทำไมไม่ดูด้านอื่นๆทางการแพทย์ด้วย?
  • 3:41 - 3:43
    คิดดู คุณไปพบหมอครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
  • 3:43 - 3:45
    และคุณไม่ได้ยึดติดกับบางอย่าง ใช่มั้ยครับ
  • 3:45 - 3:47
    คังนั้น ความเป็นจริงก็คือ
  • 3:47 - 3:49
    การเจาะทางการแพทย์ มีอยู่ทุกที่
  • 3:49 - 3:52
    และนี่เป็นเพียงแค่สองกระบวนการ ที่ผมพบ
  • 3:52 - 3:55
    ที่เกี่ยวข้องกับขั้นเจาะเนื้อเยื่อ
  • 3:55 - 3:57
    และถ้าเราเอาแค่สามอย่าง ได้แก่
  • 3:57 - 4:01
    ผ่าตัดทางกล้อง การบล็อกหลัง และเจาะกระโหลก
  • 4:01 - 4:05
    พวกนี้ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนกว่า 30,000 โรค
  • 4:05 - 4:08
    ในทุกๆปี แค่ประเทศนี้ ประเทศเดียว
  • 4:08 - 4:11
    ผมถือว่า มันเป็นปัญหาที่ควรค่าแก่การแก้ไข
  • 4:11 - 4:13
    ดังนั้น เรามาดูอุปกรณ์บางอย่าง
  • 4:13 - 4:16
    ที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการประเภทนี้
  • 4:16 - 4:19
    ได้พูดถึงการบล็อกหลัง นี่คือเข็มฉีดเข้าไป
  • 4:19 - 4:21
    ใช้ในการเจาะผ่านเอ็นในสันหลัง
  • 4:21 - 4:24
    และส่งตัวยาชา ในระหว่างการคลอดบุตร
  • 4:24 - 4:26
    นี่เป็นชุดเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ไขกระดูก
  • 4:26 - 4:28
    เครื่องมือพวกนี้ ใช้ทำโพรงในกระดูก และ
  • 4:28 - 4:32
    เก็บไขกระดูกหรือตัวอย่างกระดูกที่มีรอยโรค
  • 4:32 - 4:34
    นี่คือดาบปลายปืน จากสงครามกลางเมือง
  • 4:34 - 4:37
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:37 - 4:39
    ถ้าผมบอกไปว่าเป็นเครื่องมือเจาะทางการแพทย์
  • 4:39 - 4:41
    คุณอาจจะเชื่อผมไปแล้วก็ได้
  • 4:41 - 4:44
    เพราะว่า มันแตกต่างกันตรงไหนละครับ?
  • 4:44 - 4:46
    ดังนั้น ยิ่งผมค้นคว้ามากขึ้นเท่าใด
  • 4:46 - 4:47
    ผมก็ยิ่งคิดว่า มันจะต้องมี
  • 4:47 - 4:49
    วิธีที่ดีกว่า ที่จะทำสิ่งนี้
  • 4:49 - 4:52
    และสำหรับผม กุญแจไขปัญหานี้
  • 4:52 - 4:54
    คือ เครื่องมือเจาะต่างๆเหล่านี้ทั้งหมด
  • 4:54 - 4:58
    มีชุดของลักษณะฟิสิกส์พื้นฐานเหมือนกัน
  • 4:58 - 4:59
    แล้วฟิสิกส์พวกนั้นคืออะไร
  • 4:59 - 5:01
    เรากลับไปที่การเจาะทะลุกำแพงกัน
  • 5:01 - 5:05
    คุณใช้แรงลงบนเครื่องเจาะ ไปที่กำแพง
  • 5:05 - 5:08
    และนิวตันบอกว่า กำแพงจะใช้แรงต้านกลับมา
  • 5:08 - 5:09
    เท่าๆกันและในทางตรงกันข้าม
  • 5:09 - 5:11
    ดังนั้น เมื่อคุณเจาะกำแพง
  • 5:11 - 5:13
    แรงเหล่านั้นจึงสมดุลย์กัน
  • 5:13 - 5:15
    แต่แล้วในจังหวะขณะที่เครื่องเจาะ
  • 5:15 - 5:17
    ทะลุไปอีกด้านหนึ่งของกำแพง เป็นครั้งแรก
  • 5:17 - 5:20
    และจังหวังนั้นเอง ที่กำแพงไม่มีแรงต้านกลับ
  • 5:20 - 5:23
    แต่สมองยังไม่ตอบสนองต่อแรงที่เปลี่ยนไปนั้น
  • 5:23 - 5:24
    ในเสี้ยววินาทีนั้นเอง
  • 5:24 - 5:27
    หรือนานเท่าใดก็ตาม คุณก็ยังใช้แรงผลักอยู่
  • 5:27 - 5:29
    และแรงที่ไม่สมดุลย์นั้น ทำให้เกิดความเร่ง
  • 5:29 - 5:32
    และนั่นคือ แรงถลำ (the plunge)
  • 5:32 - 5:36
    แต่ถ้าหากจังหวะที่คุณเจาะทะลุนั้น
  • 5:36 - 5:38
    คุณสามารถดึงปลายแหลมนั้น กลับมาได้
  • 5:38 - 5:41
    และฝืนแรงที่เร่งเร็วไปข้างหน้าได้จริง
  • 5:41 - 5:43
    นั่นคือ สิ่งที่ผมได้เริ่มต้นทำ
  • 5:43 - 5:44
    จินตนาการว่าคุณมีเครื่องมือ
  • 5:44 - 5:48
    ปลายแหลมๆสักอย่าง เพื่อตัดผ่านเนื้อเยื่อ
  • 5:48 - 5:51
    วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะดึงปลายแหลมกลับมาได้
  • 5:51 - 5:53
    คืออะไรหรือ ผมเลือก ตัวสปิง
  • 5:53 - 5:55
    เมื่อคุณยืดตัวสปริง ปลายนั่นก็จะยืดออกไป
  • 5:55 - 5:57
    ดังนั้น มันก็พร้อมที่จะเจาะเนื้อเยื่อ
  • 5:57 - 5:59
    แต่ตัวสปริงอยากจะดึงปลายกลับมา
  • 5:59 - 6:01
    แล้วคุณจะควบคุมปลายนั่น ให้อยู่กับที่
  • 6:01 - 6:03
    จนถึงช่วงขณะที่เจาะทะลุได้อย่างไร
  • 6:03 - 6:06
    ผมได้ใช้เครื่องกลไกชิ้นนี้ครับ
  • 6:06 - 6:08
    เมื่อปลายของเครื่อง ถูกกดลงบนเนื้อเยื่อ
  • 6:08 - 6:12
    กลไกนั้นจะขยายออก และอัดเข้าที่กับกำแพง
  • 6:12 - 6:14
    และการเสียดสีที่เกิดขึ้นนั้น
  • 6:14 - 6:17
    ล๊อกมันให้เข้าที่ กันไม่ให้สปริงหดปลายกลับ
  • 6:17 - 6:19
    แต่เมื่อถึงจังหวะที่เจาะทะลุเป็นรู
  • 6:19 - 6:21
    เนื้อเยื้อไม่สามารถออกแรงผลักที่ปลายได้อีก
  • 6:21 - 6:24
    กลไกจึงคลายตัว สปริงหดกลับให้ปลายกลับมา
  • 6:24 - 6:26
    ให้ผมแสดงสิ่งที่เกิดขึ้น แบบช้าๆ
  • 6:26 - 6:27
    นี่ก็ประมาณ 2,000 เฟรมต่อวินาที
  • 6:27 - 6:29
    และผมอยากให้คุณสังเกตตรงปลาย
  • 6:29 - 6:32
    ตรงข้างล่างนั่น เกือบจะผ่านเนื้อเยื่อแล้ว
  • 6:32 - 6:35
    คุณจะเห็นว่า ช่วงขณะที่เจาะทะลุ
  • 6:37 - 6:40
    ตรงนั้น กลไกจะคลายตัวออก และหดปลายกลับ
  • 6:40 - 6:42
    ผมอยากแสดงให้เห็นอีกครั้ง แบบใกล้ๆมากขึ้น
  • 6:42 - 6:44
    คุณกำลังจะเห็นปลายใบมีดที่เเหลมคมนั้น และ
  • 6:44 - 6:46
    ช่วงที่มันทะลุแผ่นยาง
  • 6:46 - 6:51
    มันก็จะหายเข้าไปในปลอกมนสีขาวนี้
  • 6:51 - 6:52
    ตรงนั้นแหละครับ
  • 6:52 - 6:57
    เกิดขึ้นในสี่ส่วนร้อยของวินาที หลังทะลุ
  • 6:57 - 7:01
    เพราะเครื่องออกแบบการเจาะโดยใช้หลักฟิสิกส์
  • 7:01 - 7:03
    และไม่เจาะจงเฉพาะการเจาะกระโหลก
  • 7:03 - 7:05
    หรือการผ่าตัดทางกล้อง หรือกระบวนการอื่นๆ
  • 7:05 - 7:08
    จึงนำไปประยุกต์ใช้ได้ตลอดการแพทย์สาขาต่างๆ
  • 7:08 - 7:11
    และในขนาดของการใช้งานที่ต่างกันออกไป
  • 7:11 - 7:13
    แต่มันไม่ได้เหมือนแบบนี้เสมอไป
  • 7:13 - 7:15
    นี่เป็นต้นแบบตัวแรกของผม
  • 7:15 - 7:18
    ครับ พวกนั้นเป็นไม้ไอติม
  • 7:18 - 7:19
    แล้วก็มีหนังยางอยู่ด้านบน
  • 7:19 - 7:23
    ใช้ราว 30 นาทีในการทำ แต่มันก็ใช้งานได้
  • 7:23 - 7:25
    พิสูจน์ให้ผมรู้ว่าแนวคิดของผมใช้ได้
  • 7:25 - 7:28
    แสดงให้เห็นผลการทำงานสองปีในโครงการนี้
  • 7:28 - 7:30
    ผมทำงานเรื่องนี้ ก็เพราะว่า
  • 7:30 - 7:31
    ปัญหานี้มันติดตรึงใจผมจริงๆ
  • 7:31 - 7:34
    มันทำให้ผมต้องตื่นอยู่ทั้งคืน
  • 7:34 - 7:37
    แต่ผมคิดว่า มันน่าจะตรึงใจคุณด้วย เช่นกัน
  • 7:37 - 7:38
    เพราะผมบอกว่า การเจาะมีอยู่ทั่วทุกแห่ง
  • 7:38 - 7:43
    หมายถึงว่า ณ จุดหนึ่งอาจเป็นปัญหาของคุณด้วย
  • 7:43 - 7:44
    วันแรกในห้องผ่าตัดนั้น
  • 7:44 - 7:47
    ไม่คาดคิดเลยว่าจะมาเป็นคนไข้
    ของการใช้ท่อแทงเจาะ
  • 7:47 - 7:51
    ปีที่แล้ว ผมเป็นไส้ติ่งอักเสบขณะเที่ยวกรีก
  • 7:51 - 7:53
    ผมจึงเข้าโรงพยาบาลในกรุงเอเธนส์
  • 7:53 - 7:54
    และศัลยแพทย์บอกผมว่า
  • 7:54 - 7:57
    เขาจะทำการผ่าตัดทางกล้อง
  • 7:57 - 7:59
    เขาจะเอาใส้ติ่งออกมาทางรอยผ่าเล็กๆนั้น
  • 7:59 - 8:02
    และเขาบอกเรื่องที่ผมคาดว่าจะหายป่วยอย่างไร
  • 8:02 - 8:03
    และอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง
  • 8:03 - 8:06
    เขาพูด "คุณจะถามอะไรมั๊ย" ผมก็บอกว่า
  • 8:06 - 8:09
    "คำถามเดียวครับหมอ
    คุณจะใช้ท่อแทงเจาะแบบไหนครับ"
  • 8:09 - 8:13
    คำอ้างอิงที่ผมชอบ เรื่องการผ่าตัดทางกล้อง
  • 8:13 - 8:16
    จึงมาจากคุณหมอชื่อ เอช ซี จาโคเบียส
  • 8:16 - 8:19
    "การเจาะเองนั่นแหละที่ทำให้เกิดความเสี่ยง"
  • 8:19 - 8:22
    เป็นอ้างอิงที่ผมชอบเพราะ เอช ซี จาโคเบียส
  • 8:22 - 8:26
    เป็นคนแรกที่ทำการผ่าทางกล้องกับคนป่วย
  • 8:26 - 8:30
    และเขาเขียนไว้ในปี 1912 นี่จึงเป็นปัญหา
  • 8:30 - 8:36
    ที่ทำให้คนบาดเจ็บและถึงตายมากกว่า 100 ปี
  • 8:36 - 8:38
    จึงง่ายที่คิดกันว่าทุกปัญหาสำคัญภายนอกนั้น
  • 8:38 - 8:42
    มีคณะผู้เชี่ยวชาญทำงาน 24 ชั่วโมงเพื่อแก้
  • 8:42 - 8:45
    ความจริงก็คือ มันไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป
  • 8:45 - 8:48
    เราต้องพบปัญหาพวกนั้นให้มากขึ้น
  • 8:48 - 8:50
    และหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้น
  • 8:50 - 8:54
    ดังนั้นถ้าคุณพบปัญหาที่ตรึงตาตรึงใจคุณ
  • 8:54 - 8:55
    ขอให้คุณจงตื่นอยู่ทั้งคืน
  • 8:55 - 8:58
    ให้ตัวคุณเองนั้นติดตรึงอยู่กับมัน
  • 8:58 - 9:01
    เพราะว่ามีอีกหลายชีวิตที่ต้องช่วยรักษาไว้
  • 9:01 - 9:04
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เครื่องมือที่แก้ไขช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดในการผ่าตัด
Speaker:
นิโคไล เบกก์ (Nikolai Begg)
Description:

การผ่าตัดต้องทำอยู่ทุกวัน เพื่อเจาะทำรูเข้าไปในผิวหนังก่อนกระบวนการผ่าตัด--พร้อมกับความเสี่ยงต่อการทำความเสียหายกับสิ่งที่อยู่อีกด้านหนึ่ง ในการพูดที่ตรึงใจ เรามาค้นพบวิธีการที่วิศวกรเครื่องกล ชื่อ นิโคไล เบกก์ กำลังใช้หลักฟิสิกส์เพื่อพัฒนาเครื่องมือแพทย์สำคัญที่เรียกว่า ท่อแทงเจาะ (trocar) ให้ทันสมัยขึ้น และพัฒนาช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดในการผ่าตัดทั่วไปหลายอย่าง ให้ดีขึ้นได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
09:21

Thai subtitles

Revisions