Return to Video

เทมเปิล แกรนดิน: โลกต้องการสมองทุกรูปแบบ

  • 0:00 - 0:02
    ก่อนอื่นฉันจะเริ่มด้วยการพูดถึงออทิสติกสักหน่อย
  • 0:02 - 0:04
    ว่ามันคืออะไร
  • 0:04 - 0:07
    ออทิสติกนี่มีความหลากหลายมาก
  • 0:07 - 0:10
    ตั้งแต่รุนแรงสุดๆ คือเด็กที่ไม่พูดเลยตลอดชีวิต
  • 0:10 - 0:13
    ไปจนถึงนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่ฉลาดสุดๆ
  • 0:13 - 0:15
    ที่จริงวันนี้ฉันรู้สึกอบอุ่นใจเหมือนอยู่บ้านเลย
  • 0:15 - 0:17
    เพราะในที่นี้ มีคนที่มีความเป็นออทิสติกอยู่ในสายเลือดเยอะแยะ
  • 0:17 - 0:19
    คุณคง...
  • 0:19 - 0:23
    (เสียงปรบมือ)
  • 0:23 - 0:25
    มันเป็นคุณลักษณะที่มีระดับมากน้อยแตกต่างกัน
  • 0:25 - 0:28
    พวกเนิร์ดที่สนใจอะไรบางอย่างแบบสุดขั้ว กลายเป็น
  • 0:28 - 0:30
    แอสเพอร์เกอร์ หรือออทิสติกอ่อนๆ ไปตั้งแต่เมื่อไหร่
  • 0:30 - 0:33
    ฉันหมายความว่า ถ้าไอน์สไตน์ โมสาร์ต
  • 0:33 - 0:35
    และเทสลามีชีวิตอยู่วันนี้ เขาคงถูกจะวินิจฉัย
  • 0:35 - 0:37
    ว่าเป็นออทิสติกอ่อนๆ นะ
  • 0:37 - 0:40
    สิ่งหนึ่งที่ฉันห่วงจริงๆ ก็คือ
  • 0:40 - 0:43
    จะทำอย่างไรให้เด็กเหล่านี้เติบโตขึ้น
  • 0:43 - 0:45
    และเป็นผู้สร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่อไป
  • 0:45 - 0:49
    อย่างที่บิลเกตส์พูดไปเมื่อเช้านี้
  • 0:49 - 0:51
    โอเค ทีนี้ ถ้าคุณอยากเข้าใจ
  • 0:51 - 0:53
    คนเป็นออทิสติก และพวกสัตว์ต่างๆ
  • 0:53 - 0:55
    ฉันอยากจะพูดถึงรูปแบบวิธีคิดที่แตกต่างกันออกไป
  • 0:55 - 0:58
    คุณต้องข้ามให้พ้นวัจนภาษา (ภาษาที่เป็นถ้อยคำ)
  • 0:58 - 1:00
    ฉันคิดเป็นภาพ
  • 1:00 - 1:03
    ฉันไม่ได้คิดเป็นภาษา
  • 1:03 - 1:05
    ทีนี้ ลักษณะพิเศษของสมองของคนเป็นออทิสติก
  • 1:05 - 1:08
    คือการใส่ใจรายละเอียด
  • 1:08 - 1:10
    โอเค นี่เป็นแบบทดสอบที่คุณจะต้อง
  • 1:10 - 1:12
    เลือกอักษรตัวใหญ่ หรืออักษรตัวเล็ก
  • 1:12 - 1:14
    สมองของคนเป็นออทิสติก
  • 1:14 - 1:16
    เห็นอักษรตัวเล็กได้เร็วกว่า
  • 1:16 - 1:20
    ในขณะที่สมองคนปกติละเลยรายละเอียดพวกนี้ไป
  • 1:20 - 1:22
    ทีนี้ เวลาคุณสร้างสะพาน รายละเอียดเป็นสิ่งสำคัญมาก
  • 1:22 - 1:25
    เพราะสะพานอาจพังได้ถ้าคุณละเลยรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ
  • 1:25 - 1:28
    สิ่งหนึ่งที่ฉันเป็นห่วงเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ทุกวันนี้
  • 1:28 - 1:30
    ก็คือ อะไรๆ มันเป็นนามธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ
  • 1:30 - 1:32
    ผู้คนห่างเหินจากการทำงาน
  • 1:32 - 1:34
    ชนิดที่ได้ลงไม้ลงมือทำจริงๆ
  • 1:34 - 1:36
    ฉันกังวลจริงๆ ที่เห็นโรงเรียนจำนวนมาก
  • 1:36 - 1:38
    ตัดรายวิชาเชิงปฏิบัติออกไป
  • 1:38 - 1:40
    เพราะศิลปะ และวิชาทำนองนี้
  • 1:40 - 1:42
    เป็นวิชาที่ฉันทำได้ดี
  • 1:42 - 1:44
    โอเค ในงานปศุสัตว์ที่ฉันทำ
  • 1:44 - 1:47
    ฉันสังเกตเห็นอะไรเล็กๆ น้อยๆ หลายอย่างที่คนส่วนใหญ่ไม่สังเกต
  • 1:47 - 1:49
    อะไรที่ทำให้วัวตกใจและขัดขืน
  • 1:49 - 1:52
    อย่างเช่น ธงที่โบกสะบัดอยู่หน้าศูนย์พยาบาลสัตว์
  • 1:52 - 1:55
    ฟาร์มแห่งนี้เกือบจะรื้อศูนย์พยาบาลสัตว์ทิ้งไปแล้ว
  • 1:55 - 1:57
    ความจริงที่เขาต้องทำคือแค่เอาธงออกไป
  • 1:57 - 2:00
    อย่าให้มีอะไรที่เคลื่อนไหววูบวาบ แสงสีที่ตัดกัน
  • 2:00 - 2:02
    ช่วงต้นยุค 70 ที่ฉันเริ่มทำงาน ฉันลงไปคลาน
  • 2:02 - 2:04
    ในทางเดินของวัวเพื่อดูว่ามันเห็นอะไรบ้าง
  • 2:04 - 2:07
    คนอื่นมองว่าฉันบ้า แต่ฉันพบว่า เสื้อคลุมที่พาดไว้บนรั้วทำให้มันกลัว
  • 2:07 - 2:10
    เงาวูบวาบ และสายยางบนพี้นก็ทำให้มันตกใจไม่ยอมเดิน
  • 2:10 - 2:12
    คนทั่วไปไม่สังเกตสิ่งเหล่านี้
  • 2:12 - 2:14
    โซ่ที่ห้อยลงมาจากรั้วด้วย
  • 2:14 - 2:16
    หนัง (ชีวประวัติของ Temple) สื่อสารเรื่องนี้ออกมาได้ดีมาก
  • 2:16 - 2:18
    ที่จริงฉันชอบที่หนังเล่าถึง
  • 2:18 - 2:20
    โปรเจ็คทุกอย่างที่ฉันทำเลย
  • 2:20 - 2:23
    เขาเอาภาพที่ฉันวาดมาใช้ในหนังด้วย
  • 2:23 - 2:25
    อ้อ หนังที่ว่านั้นชื่อ "Temple Grandin"
  • 2:25 - 2:27
    ไม่ใช่ "Thinking in Picture" (ชื่อหนังสือชีวประวัติของ Temple)
  • 2:27 - 2:29
    ทีนี้ คำว่าคิดเป็นภาพนี่มันคืออะไร
  • 2:29 - 2:31
    มันคือหนังที่ฉายอยู่ในหัวคุณเลยแหละ
  • 2:31 - 2:33
    สมองของฉันทำงานเหมือน Google ที่ใช้ค้นหาภาพ
  • 2:33 - 2:36
    ตอนเด็กๆ ฉันไม่รู้ว่าวิธีการคิดของฉันต่างจากคนอื่น
  • 2:36 - 2:38
    ฉันคิดว่าทุกคนคิดเป็นภาพ
  • 2:38 - 2:40
    จนเมื่อฉันเขียนหนังสือเรื่อง Thinking In Pictures
  • 2:40 - 2:43
    ฉันไปสัมภาษณ์ผู้คนว่าเขามีวิธีการคิดยังไง
  • 2:43 - 2:45
    ฉันตกใจมากที่พบว่าวิธีการคิดของฉัน
  • 2:45 - 2:47
    มันต่างจากคนอื่นมากเลย
  • 2:47 - 2:49
    อย่างถ้าฉันพูดถึง "ยอดหอคอยของโบสถ์"
  • 2:49 - 2:51
    คนส่วนใหญ่ก็จะคิดถึงยอดหอคอยทั่วๆ ไปแบบคร่าวๆ
  • 2:51 - 2:53
    แม้ว่าจะคนในห้องนี้อาจจะไม่ได้คิดแบบนี้
  • 2:53 - 2:57
    แต่คนส่วนใหญ่ข้างนอกเขาคิดแบบนี้
  • 2:57 - 2:59
    ส่วนฉันจะเห็นเป็นภาพที่เจาะจงเลย
  • 2:59 - 3:03
    มันแวบขึ้นมาในหัวฉัน เหมือนกูเกิ้ลสำหรับหารูปภาพ
  • 3:03 - 3:05
    ในหนังเขาก็ทำซีนหนึ่งไว้ดีมาก
  • 3:05 - 3:09
    ตอนที่มีคนพูดคำว่า "รองเท้า" แล้วภาพของเท้ามากมายจากยุคปี 50 และ 60
  • 3:09 - 3:11
    แวบเข้ามาในจินตนาการของฉัน
  • 3:11 - 3:13
    โอเค นี่คือโบสถ์ที่ฉันไปตอนเด็กๆ
  • 3:13 - 3:16
    ชัดเจนและเจาะจงแบบนี้เลย มีอีก อันนี้คือฟอร์ท คอลลินส์
  • 3:16 - 3:18
    โอเค เอาโบสถ์ที่ดังๆ บ้างดีไหม
  • 3:18 - 3:21
    คือ ภาพมันจะแวบเข้ามาแบบนี้
  • 3:21 - 3:24
    เร็วมากๆ เหมือนกูเกิ้ลสำหร้บค้นหารูปภาพ
  • 3:24 - 3:26
    แล้วจะแวบขึ้นมาทีละรูป
  • 3:26 - 3:28
    แล้วฉันก็จะคิดต่อว่า เอ เติมหิมะเข้าไปดีไหม
  • 3:28 - 3:30
    หรือจะเป็นภาพท้องฟ้ามีพายุฝน
  • 3:30 - 3:33
    แล้วก็สร้างเป็นวิดีโอขึ้นมาในหัว
  • 3:33 - 3:36
    ทีนี้ การคิดเป็นภาพนี่เป็นประโยชน์มหาศาล
  • 3:36 - 3:39
    ในงานออกแบบโรงเรือนและการจัดการปศุสัตว์
  • 3:39 - 3:41
    และฉันก็พยายามอย่างมากที่จะปรับปรุง
  • 3:41 - 3:43
    วิธีการปฏิบัติกับวัวก่อนที่มันจะถูกส่งเข้าโรงชำแหละ
  • 3:43 - 3:46
    ฉันไม่เอาภาพน่าสยองของโรงชำแหละมาฉายหรอก
  • 3:46 - 3:48
    ฉันอัพโหลดภาพพวกนั้นขึ้นบนยูทูปแล้ว ถ้าคุณอยากดูนะ
  • 3:48 - 3:52
    แต่หนึ่งในสิ่งที่ฉันทำได้ในงานออกแบบของฉัน
  • 3:52 - 3:54
    ก็คือ ฉันสามารถทดสอบการทำงาน
  • 3:54 - 3:56
    ของเครื่องมือที่ฉันออกแบบได้ในจินตนาการ
  • 3:56 - 3:59
    เหมือนระบบคอมพิวเตอร์เสมือนจริง
  • 3:59 - 4:01
    นี่เป็นภาพจากมุมมองทางอากาศ
  • 4:01 - 4:04
    ของอุปกรณ์ตัวหนึ่งในโปรเจ็คของฉันที่ได้นำไปถ่ายทอดในหนัง
  • 4:04 - 4:06
    เจ๋งดีนะ ว่าไหม
  • 4:06 - 4:08
    ฉันว่ามีคนที่เป็นแอสเพอร์เกอร์
  • 4:08 - 4:11
    และออทิสติกหลายแบบเลยนะ ที่ทำงานอยู่ในกองถ่ายหนังน่ะ
  • 4:11 - 4:13
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:13 - 4:15
    แต่อย่างหนึ่งที่ฉันห่วงมากเลย
  • 4:15 - 4:19
    ก็คือ ปัจจุบันคนหนุ่มสาวที่เป็นแบบนี้หายไปไหนกัน
  • 4:19 - 4:22
    พวกเขาไม่ได้เข้าทำงานในซิลิกอนแวลี่ย์ ที่ซึ่งเหมาะกับพวกเขา
  • 4:22 - 4:25
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:25 - 4:30
    (เสียงปรบมือ)
  • 4:30 - 4:33
    สิ่งหนึ่งที่ฉันเรียนรู้ตั้งแต่ยังวัยรุ่นเพราะว่าฉันไม่ใช่คนเข้าสังคมเก่ง
  • 4:33 - 4:37
    ก็คือ ฉันต้องขายงานของฉัน ไม่ใช่ตัวตนของฉัน
  • 4:37 - 4:39
    และวิธีการขายงานระบบจัดการปศุสัตว์ของฉัน
  • 4:39 - 4:42
    คือการโชว์ภาพที่ฉันวาด ฉันโชว์รูปเครื่องมือต่างๆ
  • 4:42 - 4:44
    อีกอย่างที่ช่วยฉันได้คือ ตอนที่ฉันเด็กๆ
  • 4:44 - 4:46
    นั่นคือ ยุคปี 50 คุณจะถูกสอนเรื่องมารยาท
  • 4:46 - 4:48
    ว่าคุณไม่สามารถไปหยิบสินค้าในร้านมาจากชั้น
  • 4:48 - 4:50
    แล้วโยนเล่นไปมาได้
  • 4:50 - 4:53
    พอเด็กโตถึงช่วงเกรด 3 เกรด 4 (9-10 ขวบ)
  • 4:53 - 4:56
    คุณอาจจะเห็นเด็กคนนี้เริ่มกลายเป็นนักคิดด้วยภาพ
  • 4:56 - 4:58
    วาดรูปที่มีมิติความลึกได้
  • 4:58 - 5:00
    ทีนี้ ฉันอยากจะเน้นว่า เด็กออทิสติกทุกคน
  • 5:00 - 5:02
    ไม่ได้กลายเป็นนักคิดด้วยภาพกันทุกคน
  • 5:02 - 5:06
    ฉันมีภาพสแกนสมองที่ทำเมื่อสองสามปีก่อน
  • 5:06 - 5:08
    ฉันเคยพูดเล่นสนุกๆ ว่า
  • 5:08 - 5:10
    ฉันมีสายอินเทอร์เน็ตใหญ่ยักษ์
  • 5:10 - 5:12
    ฝังอยู่ในสมองส่วนการมองเห็นของตัวเอง
  • 5:12 - 5:14
    นี่เป็นภาพถ่ายแบบ tensor ของสมองฉัน
  • 5:14 - 5:16
    แสดงให้เห็นว่าสายอินเทอร์เน็ตในหัวของฉัน
  • 5:16 - 5:18
    มันใหญ่กว่าคนทั่วไปถึงสองเท่า
  • 5:18 - 5:20
    เส้นสีแดงนั่นคือของฉัน
  • 5:20 - 5:24
    เส้นสีน้ำเงินเป็นของคนที่นำมาเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นผู้หญิงวัยเดียวกับฉัน
  • 5:24 - 5:26
    เห็นไหม ฉันมีเส้นสีแดงเส้นใหญ่เยอะแยะ
  • 5:26 - 5:28
    ของคนปกติ สีน้ำเงินนั่น
  • 5:28 - 5:32
    เส้นเล็กกว่ามาก
  • 5:32 - 5:34
    ตอนนี้งานวิจัยบางชิ้นเผยว่า
  • 5:34 - 5:38
    คนเราคิดด้วยสมองส่วนการมองเห็นได้จริงๆ แต่จะมากน้อยต่างไปในแต่ละคน
  • 5:38 - 5:41
    ทีนี้ คนที่คิดด้วยภาพก็คือสมองรูปแบบหนึ่งเท่านั้น
  • 5:41 - 5:44
    คุณเห็นแล้วใช่ไหม ว่าสมองของคนเป็นออทิสติกนั้นมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
  • 5:44 - 5:48
    ดีอย่างหนื่ง แต่อย่างอื่นแย่
  • 5:48 - 5:50
    เรื่องที่ฉันแย่คือพีชคณิต และฉันก็ไม่เคยได้รับอนุญาต
  • 5:50 - 5:52
    ให้ลงเรียนเรขาคณิตหรือตรีโกณมิติ
  • 5:52 - 5:55
    ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่แย่มาก ฉันพบว่ามีเด็กจำนวนมากที่อยากข้ามพีชคณิต
  • 5:55 - 5:57
    ไปเรียนเรขาคณิตและตรีโกณมิติเลย
  • 5:57 - 6:00
    ทีนี้ สมองอีกแบบหนึ่ง คือ นักคิดระบบหรือแบบแผน
  • 6:00 - 6:02
    อะไรที่เป็นนามธรรมกว่า นั่นคือพวกวิศวกร
  • 6:02 - 6:04
    นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • 6:04 - 6:06
    เอาละ นี่คือการคิดเป็นระบบแบบแผน เจ้าตั๊กแตนตำข้าวตัวนี้
  • 6:06 - 6:08
    ทำมาจากกระดาษแผ่นเดียว
  • 6:08 - 6:10
    ไม่ใช้เทปกาว ไม่มีการตัด
  • 6:10 - 6:13
    ลวดลายบนพี้นหลังนั่นคือแบบที่ใช้พับเจ้าตั๊กแตนตัวนี้
  • 6:13 - 6:15
    นี่คือรูปแบบการคิดต่างๆ
  • 6:15 - 6:18
    คิดเป็นภาพเสมือนจริง อย่างฉัน
  • 6:18 - 6:22
    คิดเป็นระบบแบบแผน เช่น ดนตรี และคณิตศาสตร์
  • 6:22 - 6:24
    คนพวกนี้บางคนก็จะมีปัญหาเรื่องการอ่าน
  • 6:24 - 6:26
    คุณจะพบปัญหาแบบนี้
  • 6:26 - 6:29
    ในเด็กที่เป็นโรค dyslexia (อาการความบกพร่องในการอ่าน) ด้วย
  • 6:29 - 6:31
    คุณจะเห็นสมองที่แตกต่างแบบนี้
  • 6:31 - 6:34
    แล้วก็มีสมองที่คิดเป็นคำพูด ซึ่งเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างได้
  • 6:34 - 6:36
    ทีนี้ อีกประเด็นคือเรื่องประสาทสัมผัส
  • 6:36 - 6:40
    ฉันกังวลมากที่ต้องใส่เครื่องมือนี้ไว้บนหน้า
  • 6:40 - 6:43
    ฉันก็เลยเข้ามาก่อนครึ่งชั่วโมง
  • 6:43 - 6:45
    เพื่อจะได้ใส่มัน แล้วทำตัวให้เคยชินกับมัน
  • 6:45 - 6:48
    แล้วต้องดัดมันออกไปไม่ให้มันมาแกะกะแถวคาง
  • 6:48 - 6:51
    แต่ประสาทสัมผัสนี่เป็นปัญหาจริงๆ เด็กบางคนไม่ชอบแสงฟลูออเรสเซนต์
  • 6:51 - 6:54
    บางคนมีปัญหาว่าไวต่อเสียงมาก
  • 6:54 - 6:57
    ต่างคนก็มีปัญหาต่างกันออกไป
  • 6:57 - 7:01
    ทีนี้ การคิดเป็นภาพช่วยฉันได้มาก
  • 7:01 - 7:03
    ในการทำความเข้าใจสัตว์
  • 7:03 - 7:06
    เพราะอะไร ลองคิดดู การคิดของสัตว์ก็ใช้ข้อมูลจากประสาทสัมผัส
  • 7:06 - 7:10
    ไม่ได้ใช้คำพูด พวกมันคิดเป็นภาพ
  • 7:10 - 7:13
    คิดเป็นเสียง คิดเป็นกลิ่น
  • 7:13 - 7:16
    ลองคิดดูสิ ว่ามีข้อมูลอยู่บนหัวจ่ายน้ำดับเพลิงอันหนึ่งมากแค่ไหน
  • 7:16 - 7:19
    พวกสัตว์รู้ว่าก่อนหน้านี้มีใครผ่านมาตรงนั้นบ้าง ตั้งแต่เมื่อไหร่
  • 7:19 - 7:22
    เป็นมิตรหรือศัตรู มีใครที่มันจะจับคู่ด้วยได้ไหม
  • 7:22 - 7:25
    มีข้อมูลมหาศาลเลยบนหัวจ่ายน้ำดับเพลิงอันหนึ่ง
  • 7:25 - 7:29
    เป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดมาก
  • 7:29 - 7:31
    รายละเอียดปลีกย่อยเหล่านี้
  • 7:31 - 7:33
    ช่วยฉันได้มากในการทำความเข้าใจสัตว์
  • 7:33 - 7:37
    ทีนี้ สมองของสัตว์ แล้วก็สมองของฉันด้วย
  • 7:37 - 7:39
    เราเอาข้อมูลที่ได้จากประสาทสัมผัส
  • 7:39 - 7:41
    มาจัดเป็นหมวดหมู่
  • 7:41 - 7:43
    คนขี่ม้า
  • 7:43 - 7:45
    กับคนที่ยืนบนพี้น
  • 7:45 - 7:47
    เป็นสองอย่างที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง
  • 7:47 - 7:50
    คุณอาจจะเจอม้าที่เคยถูกคนขี่ทำร้าย
  • 7:50 - 7:52
    มันไม่กลัวสัตวแพทย์นะ
  • 7:52 - 7:55
    ไม่กลัวช่างทำเกือกม้าด้วย แต่คุณขี่มันไม่ได้นะ
  • 7:55 - 7:58
    คนอาจจะเจอม้าอีกตัว ที่ถูกช่างทำเกือกตีเอา
  • 7:58 - 8:00
    มันก็จะกลัวใครก็ตามที่ยืนบนพื้น
  • 8:00 - 8:03
    รวมทั้งสัตวแพทย์ด้วย แต่มันกลับยอมให้คนขี่
  • 8:03 - 8:05
    วัวก็เหมือนกัน
  • 8:05 - 8:07
    คนขี่ม้า
  • 8:07 - 8:09
    กับคนที่เดินเท้า เป็นสองอย่างที่แตกต่างกัน
  • 8:09 - 8:11
    เห็นไหมล่ะ มันคือภาพสองภาพที่ไม่เหมือนกัน
  • 8:11 - 8:14
    ทีนี้ ฉันอยากให้คุณเห็นว่ามันจำเพาะเจาะจงขนาดไหน
  • 8:14 - 8:18
    ไอ้ความสามารถที่จะจัดข้อมูลเข้าหมวดหมู่เป็นประเภทเนี่ย
  • 8:18 - 8:21
    ฉันพบว่าคนส่วนใหญ่จัดระบบข้อมูลที่มีรายละเอียดมากๆ ได้ไม่ดี
  • 8:21 - 8:23
    เวลาฉันไปซ่อมอุปกรณ์
  • 8:23 - 8:25
    หรือไปแก้ปัญหาอะไรในโรงงาน
  • 8:25 - 8:29
    ดูเหมือนผู้คนในโรงงานพวกนั้นเขาคิดไม่ออกว่า "นี่เรามีปัญหาเรื่องคน
  • 8:29 - 8:31
    หรือว่าเรื่องอุปกรณ์กันแน่"
  • 8:31 - 8:33
    พูดอีกอย่างคือ แยะแยะหมวดหมู่ปัญหาเรื่องเครื่องมือ
  • 8:33 - 8:35
    กับปัญหาเรื่องคนออกจากกันไม่ได้
  • 8:35 - 8:38
    ฉันพบว่าคนจำนวนมากมีปัญหาเรื่องนี้
  • 8:38 - 8:41
    ทีนี้ พอฉันคิดออกว่ามันเป็นปัญหาทางเครื่องมือ
  • 8:41 - 8:43
    แล้วมันเป็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่ฉันแก้ได้
  • 8:43 - 8:46
    หรือว่ามันมีปัญหาทั้งระบบกันแน่
  • 8:46 - 8:49
    คนส่วนมากแยกแยะเรื่องนี้ไม่ออกอีกเช่นกัน
  • 8:49 - 8:51
    ลองดูสิ อย่างเช่นการแก้ปัญหา
  • 8:51 - 8:53
    ว่าจะทำอย่างไรให้สายการบินมีความปลอดภัยมากขึ้น
  • 8:53 - 8:55
    ใช่ ฉันบินมาเป็นล้านไมล์แล้วนี่
  • 8:55 - 8:57
    ฉันบินไปไหนมาไหนเยอะมาก
  • 8:57 - 9:00
    ถ้าฉันไปที่ทบวงการบินพลเรือนของสหรัฐอเมริกา
  • 9:00 - 9:04
    คุณว่าฉันจะไปดูอะไรบ้าง?
  • 9:04 - 9:06
    ฉันจะไปดูหางเครื่องบิน
  • 9:06 - 9:09
    คุณรู้ไหม โศกนาฏกรรมเครื่องบินตกห้าครั้งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา
  • 9:09 - 9:13
    ถ้าไม่ใช่ว่าหางหลุดออกมา ก็ต้องมีอุปกรณ์บางอย่างที่อยู่ในหาง
  • 9:13 - 9:15
    ชำรุดเสียหาย
  • 9:15 - 9:17
    มันคือหางเครื่องบิน ง่ายๆ เลย
  • 9:17 - 9:19
    แล้วรู้ไหม เวลานักบินเดินดูรอบเครื่องบิน
  • 9:19 - 9:21
    เขาไม่เห็นสิ่งที่อยู่ในหางเครื่องบิน
  • 9:21 - 9:23
    แต่เวลาฉันมาคิด
  • 9:23 - 9:26
    ฉันดึงข้อมูลรายละเอียดปลีกย่อยอันนี้ขึ้นมา
  • 9:26 - 9:29
    มันเป็นข้อมูลที่จำเพาะเจาะจงมาก เห็นไหม ฉันคิดจากข้อมูลขึ้นมา
  • 9:29 - 9:33
    ฉันเอาข้อมูลชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกันเหมือนตัวต่อ
  • 9:33 - 9:35
    ทีนี้ นี่คือเจ้าม้าตัวหนึ่ง
  • 9:35 - 9:37
    ที่กลัวหมวกคาวบอยสีดำเอามากๆ
  • 9:37 - 9:39
    เพราะมันเคยถูกใครบางคนที่ใส่หมวกสีดำทำร้ายเอา
  • 9:39 - 9:42
    ถ้าคุณใส่หมวกสีขาว อันนี้ไม่มีปัญหา
  • 9:42 - 9:45
    ทีนี้ ประเด็นสำคัญก็คือ โลกเราต้องการ
  • 9:45 - 9:47
    มันสมองทุกรูปแบบ
  • 9:47 - 9:49
    ให้มาทำงานร่วมกัน
  • 9:49 - 9:52
    เราต้องมาช่วยกันสร้างมันสมองแบบต่างๆ เหล่านี้
  • 9:52 - 9:55
    สิ่งหนึ่งที่ทำให้ฉันโมโหมากตลอดเวลาที่
  • 9:55 - 9:57
    ฉันเดินทางไปประชุมเรื่องออทิสติกในที่ต่างๆ
  • 9:57 - 10:00
    ก็คือ ฉันเห็นเด็กเนิร์ดที่มีสมองอัจฉริยะมากมาย
  • 10:00 - 10:03
    พวกนี้เข้าสังคมไม่ค่อยเก่ง
  • 10:03 - 10:05
    แล้วก็ไม่มีใครใส่ใจที่จะพัฒนาเขาในทางที่เขาสนใจเลย
  • 10:05 - 10:07
    เช่น ความสนใจทางวิทยาศาสตร์
  • 10:07 - 10:10
    ประเด็นนี้ทำให้ฉันคิดถึงครูวิทยาศาสตร์ของฉัน
  • 10:10 - 10:13
    หนังถ่ายทอดภาพครูสอนวิทยาศาสตร์ของฉันได้งดงามมาก
  • 10:13 - 10:15
    ฉันมันก็แค่เด็กโง่ๆ เซ่อๆ คนหนึ่ง
  • 10:15 - 10:18
    ตอนอยู่มัธยมปลายฉันไม่สนใจเรียนเลย
  • 10:18 - 10:21
    จนกระทั่งฉันเข้าเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของคุณครูคาร์ล็อก
  • 10:21 - 10:24
    หรือด็อกเตอร์คาร์ล็อกที่คุณเห็นในหนัง
  • 10:24 - 10:27
    เขาให้การบ้านที่ท้าทาย
  • 10:27 - 10:30
    ให้ฉันคิดว่าจะสร้างห้องลวงตาได้อย่างไร
  • 10:30 - 10:32
    นั่นแหละ สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ
  • 10:32 - 10:34
    ให้เด็กได้เห็นอะไรเจ๋งๆ
  • 10:34 - 10:37
    รู้ไหม อย่างหนึ่งที่ฉันว่า TED น่าจะทำ ก็คือ
  • 10:37 - 10:40
    บอกทุกๆ โรงเรียนให้รู้ว่ามีเล็กเชอร์ที่ยอดเยี่ยมมากมายใน TED
  • 10:40 - 10:42
    และยังมีอะไรเจ๋งๆ อีกเยอะมากในอินเทอร์เน็ต
  • 10:42 - 10:44
    ที่สามารถทำให้เด็กสนใจได้
  • 10:44 - 10:47
    เพราะฉันเห็นเด็กเนิร์ดพวกนี้จำนวนมาก
  • 10:47 - 10:50
    แล้วพวกครูในภาคกลางแถบตะวันตก (ของอเมริกา) รวมทั้งภาคอื่นๆ ด้วย
  • 10:50 - 10:52
    ถ้าไม่ได้เข้าถึงเทคโนโลยีพวกนี้
  • 10:52 - 10:54
    เขาก็ไม่รู้ว่าจะทำยังไงกับเด็กพวกนี้ดี
  • 10:54 - 10:56
    แล้วเขาก็เลยไม่ได้เดินตามแนวทางที่ถูก
  • 10:56 - 10:58
    ทีนี้ ประเด็นคือ คุณอาจจะฝึกให้สมอง
  • 10:58 - 11:01
    เชี่ยวชาญทางการคิด การใช้กระบวนการทางปัญญา
  • 11:01 - 11:04
    หรือสมองคุณอาจจะมีทักษะทางสังคมเป็นเยี่ยม
  • 11:04 - 11:06
    ตอนนี้มีงานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า คนที่เป็นออทิสติก
  • 11:06 - 11:08
    อาจจะมีเครือข่ายใยประสาทที่พิเศษ
  • 11:08 - 11:11
    ในสมองที่เป็นเลิศ แต่เราสูญเสียวงจรเรื่องสังคมไป
  • 11:11 - 11:15
    มันได้อย่างเสียอย่าง ระหว่างการคิด กับการเข้าสังคม
  • 11:15 - 11:17
    ถ้าเป็นรุนแรงมากๆ
  • 11:17 - 11:20
    คุณก็อาจได้เห็นคนที่พูดหรือใช้ภาษาไม่ได้เลย
  • 11:20 - 11:22
    ในสมองของคนปกติทั่วไป
  • 11:22 - 11:25
    สมองที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาจะคลุมสมองส่วนการคิดเป็นภาพ
  • 11:25 - 11:28
    ที่เรามีเหมือนกับสัตว์ นี่เป็นงานวิจัยของด๊อกเตอร์บรูซ มิลเลอร์
  • 11:28 - 11:31
    เขาศึกษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์
  • 11:31 - 11:33
    ที่มีภาวะสมองเสื่อมในส่วนกลีบขมับส่วนหน้า
  • 11:33 - 11:36
    สมองส่วนการใช้ภาษาของผู้ป่วยเสื่อมไปหมดแล้ว
  • 11:36 - 11:41
    แล้วดูสิ ภาพวาดชิ้นนี้วาดโดยผู้ป่วยที่เคยเป็นช่างติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์
  • 11:41 - 11:45
    แล้วยังมีแวนโก๊ะซึ่งไม่รู้เรื่องฟิสิกส์เลย
  • 11:45 - 11:47
    แต่ฉันว่ามันน่าสนใจมากเลย
  • 11:47 - 11:49
    เพราะล่าสุดมีงานวิจัยที่แสดงว่า
  • 11:49 - 11:51
    ลวดลายในภาพวาดของแวนโก๊ะ
  • 11:51 - 11:54
    ตรงกับแบบจำลองทางสถิติของความผันผวน
  • 11:54 - 11:56
    ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดที่น่าสนใจขึ้นมาว่า
  • 11:56 - 11:58
    บางที แบบแผนทางคณิตศาสตร์บางอย่าง
  • 11:58 - 12:00
    อาจจะอยู่ในสมองของมนุษย์อยู่แล้ว
  • 12:00 - 12:02
    แล้วยังมีเรื่องของ วูลฟ์แฟรม อีก (ผู้พูดก่อนหน้า เทมเปิล)
  • 12:02 - 12:04
    ฉันนั่งจดบันทึกคำค้นทั้งหมด
  • 12:04 - 12:06
    ที่ฉันสามารถใช้ได้
  • 12:06 - 12:10
    เพราะฉันคิดว่ามันเป็นตัวอย่างในการบรรยายเรื่องออทิสติกของฉันได้ด้วย
  • 12:10 - 12:12
    เราต้องหาอะไรที่น่าสนใจมาให้เด็กพวกนี้ดู
  • 12:12 - 12:14
    แต่ตอนนี้ โรงเรียนเอาวิชาซ่อมรถ
  • 12:14 - 12:16
    การร่างแบบ และศิลปะออกจากหลักสูตร
  • 12:16 - 12:19
    ฉันว่าศิลปะเป็นวิชาที่ดีที่สุดในโรงเรียน
  • 12:19 - 12:21
    เราต้องนึกถึงมันสมองที่แตกต่างหลากหลายเหล่านี้
  • 12:21 - 12:24
    และเราต้องช่วยกันพัฒนาสมองเหล่านี้
  • 12:24 - 12:27
    เพราะแน่นอนว่าเราจำเป็นต้องอาศัย
  • 12:27 - 12:30
    คนเหล่านี้ในอนาคต
  • 12:30 - 12:32
    ทีนี้มาพูดเรื่องงานบ้าง
  • 12:32 - 12:34
    ครูวิทยาศาสตร์ของฉันกระตุ้นให้ฉันเรียนหนังสือ
  • 12:34 - 12:37
    เพราะฉันเป็นเด็กโง่ๆ เซ่อๆ คนหนึ่งที่ไม่อยากเรียน
  • 12:37 - 12:39
    แต่คุณรู้ไหม ตอนนั้นฉันทำงานหาประสบการณ์อยู่นะ
  • 12:39 - 12:41
    ฉันสังเกตเห็นว่าเด็กๆ เหล่านี้ไม่ได้เรียนรู้เรื่องพื้นฐานบางอย่าง
  • 12:41 - 12:43
    เช่น การตรงต่อเวลา
  • 12:43 - 12:45
    ฉันถูกสอนเรื่องนี้ตอนฉันอายุแปดขวบ
  • 12:45 - 12:48
    แล้วก็มารยาทบนโต๊ะอาหารเวลาไปงานเลี้ยงที่บ้านคุณยายในวันเสาร์
  • 12:48 - 12:51
    ฉันถูกสอนมาตั้งแต่ยังเด็กมากๆ
  • 12:51 - 12:54
    แล้วตอนฉันอายุ 13 ฉันได้งานในร้านตัดเสื้อ
  • 12:54 - 12:56
    งานเย็บผ้า
  • 12:56 - 12:59
    ฉันไปฝึกงานตอนที่อยู่มหาวิทยาลัย
  • 12:59 - 13:02
    ฉันประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ
  • 13:02 - 13:05
    แล้วก็เรียนรู้ที่จะทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • 13:05 - 13:09
    คุณรู้ไหม ที่จริงตอนเด็กๆ ฉันไม่อยากทำอะไรเลยนอกจากวาดรูปม้า
  • 13:09 - 13:11
    แม่ของฉันบอกว่า "ไหนลองวาดรูปอย่างอื่นหน่อยสิ"
  • 13:11 - 13:13
    เด็กๆ เหล่านี้ต้องเรียนรู้ที่จะทำอย่างอื่นด้วย
  • 13:13 - 13:15
    เช่น ถ้าเด็กหมกมุ่นกับตัวต่อเลโก
  • 13:15 - 13:18
    ก็ให้เขาต่อเลโกเป็นของต่างๆ
  • 13:18 - 13:20
    เพราะสมองของคนเป็นออทิสติก
  • 13:20 - 13:22
    มักจะหมกมุ่นกับอะไรบางอย่าง
  • 13:22 - 13:24
    เช่น ถ้าเด็กชอบรถแข่ง
  • 13:24 - 13:26
    ก็ใช้รถแข่งมาสอนเลขเขาสิ
  • 13:26 - 13:29
    ไหนลองคิดซิว่าต้องใช้เวลาเท่าไหร่รถถึงจะวิ่งได้ระยะทางเท่านั้นเท่านี้
  • 13:29 - 13:33
    พูดง่ายๆ คือ ใช้ความหมกมุ่นนั้น
  • 13:33 - 13:36
    มาสร้างแรงจูงใจให้เด็ก นั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องทำ
  • 13:36 - 13:39
    ฉันเหลืออดจริงๆ กับพวกครู
  • 13:39 - 13:42
    โดยเฉพาะย่านอื่นที่ไม่ใช่แถบนี้
  • 13:42 - 13:44
    เขาไม่รู้ว่าจะทำยังไงกับเด็กฉลาดๆ พวกนี้
  • 13:44 - 13:46
    นั่นทำให้ฉันโมโหมาก
  • 13:46 - 13:48
    คนที่คิดเป็นภาพทำอะไรได้บ้างเมื่อเขาโตขึ้น
  • 13:48 - 13:51
    กราฟฟิกดีไซน์ งานมากมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
  • 13:51 - 13:56
    ถ่ายภาพ ออกแบบอุตสาหกรรม
  • 13:56 - 13:58
    นักคิดระบบแบบแผน พวกนี้ก็จะกลายเป็น
  • 13:58 - 14:01
    นักคณิตศาสตร์ วิศวกรซอฟแวร์
  • 14:01 - 14:05
    นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อะไรทำนองนั้น
  • 14:05 - 14:08
    แล้วก็มีสมองที่ถนัดเรื่องถ้อยคำ พวกนี้ก็จะเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่เก่ง
  • 14:08 - 14:11
    เป็นนักแสดงที่ยอดเยี่ยม
  • 14:11 - 14:13
    เพราะสำหรับคนที่เป็นออทิสซึมอย่างฉัน
  • 14:13 - 14:16
    ฉันต้องเรียนรู้ทักษะทางสังคม ซึ่งเหมือนการเล่นละคร
  • 14:16 - 14:19
    มันต้องเรียนน่ะ มันจำเป็นนะ
  • 14:19 - 14:22
    และเราก็จำเป็นต้องดูแลเด็กพวกนี้อย่างใกล้ชิด
  • 14:22 - 14:24
    ซึ่งต้องอาศัยพี่เลี้ยงที่คอยให้คำปรึกษา
  • 14:24 - 14:27
    อย่างครูสอนวิทยาศาสตร์ของฉัน เขาไม่ได้มีประกาศนียบัตรวิชาชีพครู
  • 14:27 - 14:29
    เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์จากองค์การนาซ่า
  • 14:29 - 14:31
    ตอนนี้บางรัฐก็เริ่มเปลี่ยนแล้ว
  • 14:31 - 14:33
    โดยให้คนที่มีปริญญาทางชีววิทยา เคมี
  • 14:33 - 14:36
    มาสอนชีววิทยาและเคมีในโรงเรียนได้
  • 14:36 - 14:38
    เราต้องทำอย่างนี้
  • 14:38 - 14:40
    เพราะสิ่งหนึ่งที่ฉันสังเกตเห็นคือ
  • 14:40 - 14:42
    ครูที่ดีสำหรับเด็กจำนวนมาก
  • 14:42 - 14:44
    ไปอยู่ในวิทยาลัยชุมชน
  • 14:44 - 14:47
    เราต้องหาครูดีๆ แบบนี้เข้ามาในโรงเรียนมัธยมบ้าง
  • 14:47 - 14:50
    อีกอย่างหนึ่งที่จะได้ผลดีมากๆ ก็คือ
  • 14:50 - 14:53
    มีคนมากมายที่เกษียณแล้ว
  • 14:53 - 14:56
    จากวงการซอฟต์แวร์ เราให้เขามาสอนเด็กๆ ก็ได้
  • 14:56 - 14:59
    สิ่งที่เขาสอนจะเก่าก็ไม่เป็นไร
  • 14:59 - 15:02
    เพราะสิ่งที่เราต้องการคือการจุดประกาย
  • 15:02 - 15:05
    ทำให้เด็กตื่นเต้นสนอกสนใจ
  • 15:05 - 15:08
    ถ้าคุณทำให้เขาสนใจได้ เดี๋ยวเขาก็เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่มีทั้งหมดต่อเอง
  • 15:08 - 15:10
    ครูพี่เลี้ยงจึงสำคัญมากๆ
  • 15:10 - 15:12
    ฉันไม่รู้จะย้ำยังไงให้มากกว่านี้
  • 15:12 - 15:15
    ถึงสิ่งดีๆ ที่ครูวิทยาศาสตร์ทำให้ฉัน
  • 15:15 - 15:18
    เราต้องแนะแนวทางให้เด็กๆ เหล่านี้ จ้างเขามาทำงาน
  • 15:18 - 15:20
    และถ้าคุณรับเด็กเหล่านี้เข้ามาฝึกงาน
  • 15:20 - 15:23
    ประเด็นคือ กับเด็กออทิสติกและแอสเพอร์เกอร์
  • 15:23 - 15:26
    คุณต้องมอบหมายงานแบบเจาะจง อย่าบอกแค่ว่าให้ "ออกแบบซอฟต์แวร์"
  • 15:26 - 15:28
    คุณต้องบอกเขาให้เจาะจงชัดเจนกว่านั้น
  • 15:28 - 15:31
    เช่น "ออกแบบซอฟต์แวร์สำหรับโทรศัพท์
  • 15:31 - 15:33
    ให้มันทำงานบางอย่างที่คุณต้องการ
  • 15:33 - 15:35
    โดยใช้หน่วยความจำไม่เกินเท่านี้"
  • 15:35 - 15:37
    คุณต้องบอกให้ชัดเจนแบบนี้
  • 15:37 - 15:39
    เอาล่ะ ฉันพูดจบแล้ว
  • 15:39 - 15:41
    ขอบคุณทุกท่านที่มาในวันนี้ค่ะ
  • 15:41 - 15:43
    ฉันยินดีมากที่ได้มาพูดวันนี้
  • 15:43 - 15:55
    (เสียงปรบมือ)
  • 15:55 - 15:58
    โอ้ คุณมีคำถามเหรอ โอเค
  • 15:58 - 15:59
    (เสียงปรบมือ)
  • 15:59 - 16:03
    คริส แอนเดอร์สัน: ขอบคุณมากครับ
  • 16:03 - 16:05
    คุณรู้ไหม ผมชอบที่คุณเคยเขียนไว้
  • 16:05 - 16:07
    ว่า "ถ้ามีปาฏิหาริย์
  • 16:07 - 16:10
    ทำให้โรคออทิสติกหายไปจากโลกนี้
  • 16:10 - 16:13
    วันนี้มนุษย์ก็คงยังพบปะสังสรรค์กันหน้ากองไฟ
  • 16:13 - 16:15
    ตรงปากทางเข้าถ้ำอยู่"
  • 16:15 - 16:17
    เทมเปิล แกรมดิน: เพราะอะไรล่ะ คุณรู้ไหมใครเอาหินมาทำหอกทำขวานเป็นคนแรก
  • 16:17 - 16:20
    บรรพบุรุษเราที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ ถ้าคุณกำจัดยีนของอาการออทิสติกไปหมด
  • 16:20 - 16:22
    ก็คงจะไม่มีซิลิกอนแวลีย์อีกต่อไป
  • 16:22 - 16:24
    วิกฤตพลังงานก็คงจะไม่ได้รับการแก้ไขด้วย
  • 16:24 - 16:27
    (เสียงปรบมือ)
  • 16:27 - 16:29
    คริส: ครับ ผมอยากถามคุณอีกสองสามคำถาม
  • 16:29 - 16:31
    ถ้าคุณคิดว่าคำถามไหนไม่เหมาะสม
  • 16:31 - 16:33
    ก็บอกผมเลยนะ ว่า "ขอคำถามถัดไป"
  • 16:33 - 16:35
    ถ้าเกิดมีใครสักคนในที่นี้
  • 16:35 - 16:37
    มีลูกเป็นออทิสติก
  • 16:37 - 16:39
    หรือรู้จักเด็กที่เป็นออทิสติก
  • 16:39 - 16:42
    ที่แปลกแยก ไม่ยอมคุยกับเขา
  • 16:42 - 16:44
    คุณจะแนะนำว่ายังไงครับ?
  • 16:44 - 16:46
    เทมเปิล: อย่างแรกคือ คุณต้องดูว่าเด็กอายุเท่าไหร่
  • 16:46 - 16:48
    ถ้าเด็กอายุ สอง สาม หรือสี่ขวบ
  • 16:48 - 16:50
    ไม่พูด ไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  • 16:50 - 16:52
    ฉันขอเน้นสุดๆ เลยนะว่า
  • 16:52 - 16:56
    อย่าทิ้งไว้ คุณต้องคอยสอนตัวต่อตัวอย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • 16:56 - 16:59
    ที่คุณต้องเข้าใจคือ โรคออทิสติกมีความรุนแรงหลายระดับ
  • 16:59 - 17:01
    ประมาณครึ่งหนึ่งของคนที่เป็นออทิสติก
  • 17:01 - 17:03
    จะไม่สามารถพูด และไม่สามารถไปทำงาน
  • 17:03 - 17:06
    ที่ซิลิกอนแวลีย์ได้ เป็นไปไม่ได้เลย
  • 17:06 - 17:08
    แต่อีกครึ่งหนึ่ง คุณจะเจอเด็กเนิร์ด
  • 17:08 - 17:10
    ที่มีอาการออทิสติกอ่อนๆ
  • 17:10 - 17:12
    กลุ่มนี้ละ ที่คุณต้องไปจุดประกายให้เขา
  • 17:12 - 17:14
    โดยให้ทำอะไรที่น่าสนใจ
  • 17:14 - 17:17
    ฉันเองเข้าสังคมได้ก็เพราะเจอคนที่มีความสนใจร่วมกัน
  • 17:17 - 17:21
    ฉันขี่ม้ากับเด็กคนอื่น ฉันทำจรวดจำลองกับเด็กคนอื่น
  • 17:21 - 17:23
    ทำแล็บอิเล็กทรอนิกส์กับเด็กคนอื่น
  • 17:23 - 17:25
    ตอนยุค 60 นั่น เราเอากระจกติดเข้ากับ
  • 17:25 - 17:28
    แผ่นยางที่หุ้มลำโพง แล้วจัดงานแสดงแสงสีเสียง
  • 17:28 - 17:31
    ซึ่งพวกเรารู้สึกว่ามันเจ๋งมากเลย
  • 17:31 - 17:33
    คริส: มันจะเกินจริงไปไหมครับ
  • 17:33 - 17:35
    ถ้าเขาจะคาดหวังว่า
  • 17:35 - 17:38
    เด็กคนนั้นจะรักเขา
  • 17:38 - 17:40
    เทมเปิล: ฉันจะบอกให้ เด็กเหล่านี้จะจงรักภักดีกับคุณมาก
  • 17:40 - 17:42
    ถ้าบ้านคุณไฟไหม้ เขาจะลุยเข้าไปช่วยคุณออกมาเลยล่ะ
  • 17:42 - 17:45
    คริส: ว้าว ทีนี้ คนส่วนใหญ่ ถ้าคุณไปถามเขาว่า
  • 17:45 - 17:47
    อะไรที่เขารักและเอาใจใส่มากที่สุด เขาจะตอบทำนองว่า
  • 17:47 - 17:50
    "ลูกของฉัน" หรือ "คนรักของฉัน"
  • 17:50 - 17:53
    แล้วคุณล่ะครับ อะไรที่คุณรักและใส่ใจมากที่สุด?
  • 17:53 - 17:55
    เทมเปิล: ฉันรักสิ่งที่ฉันทำ อยากให้สิ่งฉันทำ
  • 17:55 - 17:57
    เปลี่ยนโลกให้น่าอยู่ขึ้น
  • 17:57 - 17:59
    เวลามีคุณแม่ของเด็กออทิสติกพูดกับฉันว่า
  • 17:59 - 18:01
    "ลูกฉันเข้าเรียนมหาวิทยาลัยก็เพราะหนังสือของคุณ
  • 18:01 - 18:03
    หรือเพราะได้ฟังคุณพูด" นั่นล่ะที่ทำให้ฉันมีความสุข
  • 18:03 - 18:06
    คุณรู้ไหม โรงฆ่าสัตว์ที่ฉันเคยทำงานด้วย
  • 18:06 - 18:08
    เมื่อช่วงปี 80 มันแย่มากๆ เลย
  • 18:08 - 18:12
    ฉันสร้างระบบง่ายๆ สำหรับให้คะแนนโรงฆ่าสัตว์ขึ้นมา
  • 18:12 - 18:14
    แค่นับว่ามีวัวกี่ตัวที่ล้ม
  • 18:14 - 18:16
    มีวัวกี่ตัวที่ถูกตี
  • 18:16 - 18:18
    วัวกี่ตัวที่ร้องสุดใจขาดดิ้น
  • 18:18 - 18:20
    ง่ายมากๆ อย่างนี้เลย
  • 18:20 - 18:22
    คุณสังเกตเห็นอะไรง่ายๆ บางอย่างได้กับตา
  • 18:22 - 18:24
    มันได้ผลดีมาก ฉันมีความสุขเวลาที่เห็น
  • 18:24 - 18:27
    อะไรที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในโลกได้จริงๆ
  • 18:27 - 18:29
    เราต้องมีอะไรที่จับต้องได้แบบนั้นมากขึ้น
  • 18:29 - 18:31
    และลดอะไรที่เป็นนามธรรมลงซะบ้าง
  • 18:31 - 18:38
    (เสียงปรบมือ)
  • 18:38 - 18:40
    คริส: ตอนที่เราคุยโทรศัพท์กัน
  • 18:40 - 18:42
    คุณพูดอะไรอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้ผมทึ่งมาก
  • 18:42 - 18:46
    คุณบอกว่าคุณสนใจเซิร์ฟเวอร์ฟาร์ม เล่าให้เราฟังหน่อยได้ไหมครับ
  • 18:46 - 18:49
    เทมเปิล: ฉันตื่นเต้นมากเลยตอนที่ได้อ่านเรื่องนี้
  • 18:49 - 18:52
    เพราะเซิร์ฟเวอร์เป็นที่เก็บความรู้
  • 18:52 - 18:54
    เหมือนห้องสมุด
  • 18:54 - 18:56
    ฉันว่าความรู้เป็นอะไรที่มีค่ามาก
  • 18:56 - 18:58
    เมื่อสิบกว่าปีก่อน
  • 18:58 - 19:00
    ห้องสมุดของเราโดนน้ำท่วม
  • 19:00 - 19:02
    นั่นเป็นยุคก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะบูม
  • 19:02 - 19:04
    ฉันเศร้ามากเลยที่หนังสือทั้งหมดเสียหาย
  • 19:04 - 19:06
    เพราะมันหมายถึงความรู้ถูกทำลายไปด้วย
  • 19:06 - 19:08
    ฉันเลยสนใจเซิร์ฟเวอร์ฟาร์ม หรือศูนย์ข้อมูล
  • 19:08 - 19:11
    เพราะมันคือห้องสมุดชั้นดีที่เอาไว้เก็บความรู้
  • 19:11 - 19:14
    คริส: เทมเปิล ผมอยากบอกว่าผมดีใจมากจริงๆ ที่คุณมาพูดให้กับเราที่ TED
  • 19:14 - 19:17
    เทมเปิล: ขอบคุณมากค่ะ ขอบคุณ
  • 19:17 - 19:23
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เทมเปิล แกรนดิน: โลกต้องการสมองทุกรูปแบบ
Speaker:
Temple Grandin
Description:

เทมเปิล แกรนดินซึ่งถูกวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกตั้งแต่เด็ก เล่าให้เราฟังว่าสมองของเธอทำงานอย่างไร เธอเล่าถึงความสามารถในการ "คิดเป็นภาพ" ซึ่งช่วยให้เธอแก้ปัญหาที่สมองของคนปกติมักจะละเลยไป เธอแสดงให้เห็นว่าโลกต้องการคนที่อาจจะจัดว่าเป็นออทิสติกบ้างไม่มากก็น้อย: ไม่ว่าจะเป็นคนที่คิดเป็นภาพ คิดเป็นระบบหรือรูปแบบ คิดเป็นคำพูด และเด็กฉลาดที่ใครๆ มองว่าประหลาดทุกประเภท

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
19:26
Thipnapa Huansuriya added a translation

Thai subtitles

Revisions