Return to Video

วิธีการรักษาภาษาไว้ไม่ให้หายไป

  • 0:02 - 0:04
    ภาษาไม่ได้ตายไปโดยธรรมชาติ
  • 0:05 - 0:08
    ผู้คนละทิ้งภาษาแม่ของตน
    เพราะเขาถูกบังคับให้ทำ
  • 0:09 - 0:11
    และบ่อยครั้ง เพราะแรงกดดันทางการเมือง
  • 0:12 - 0:13
    ในปี 1892
  • 0:13 - 0:15
    นายพลของกองทัพบกสหรัฐ
    ริชาร์ด เฮนรี่ แพรท์
  • 0:15 - 0:18
    บอกว่า การทำลายวัฒนธรรมพื้นเมือง
  • 0:18 - 0:21
    เป็นทางเลือกเดียวในการทำลายคนพื้นเมือง
  • 0:22 - 0:25
    "ฆ่าพวกอินเดียน" เขากล่าว
    "แต่รักษาคนเอาไว้"
  • 0:26 - 0:29
    และในปี 1978
    รัฐบาลสหรัฐก็ทำอย่างนั้น
  • 0:29 - 0:32
    โดยนำเด็กพื้นเมืองไปจากครอบครัวของพวกเขา
  • 0:32 - 0:36
    และบังคับให้เรียนในโรงเรียนประจำ
    ซึ่งพวกเขาได้รับชื่อภาษาอังกฤษ
  • 0:36 - 0:38
    และถูกลงโทษหากพูดภาษาของพวกเขา
  • 0:39 - 0:42
    การดูดกลืนทางวัฒนธรรม คือ
    คำพูดที่สวยหรูของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
  • 0:44 - 0:46
    มีเจ็ดพันภาษาที่ยังไม่ตายในตอนนี้
  • 0:46 - 0:49
    แต่มีเพียงส่วนน้อยที่ได้รับ
    การยอมรับจากรัฐบาล
  • 0:49 - 0:50
    หรือใช้ในโลกออนไลน์
  • 0:51 - 0:53
    ดังนั้น สำหรับคนในวัฒนธรรมส่วนใหญ่แล้ว
  • 0:53 - 0:56
    โลกาภิวัฒน์ก็คือการแบ่งแยก
  • 0:57 - 1:00
    มันหมายถึงการยกเลิกการใช้ภาษาของคุณ
    เพื่อใช้ภาษาของคนอื่น
  • 1:02 - 1:03
    และถ้าไม่เปลี่ยนแปลง
  • 1:03 - 1:07
    จะมีมากถึง 3,000 ภาษา
    ที่จะหายไปภายใน 80 ปี
  • 1:08 - 1:10
    แต่มันมีการเปลี่ยนแปลง
  • 1:10 - 1:12
    ทั่วทุกที่ในโลก
  • 1:12 - 1:14
    ผู้คนกำลังฟื้นฟูภาษาของบรรพบุรุษ
  • 1:14 - 1:16
    และสร้างวัฒนธรรมของเขาขึ้นมาใหม่
  • 1:17 - 1:19
    และตามที่เราทราบ
  • 1:19 - 1:23
    การเรียกคืนภาษาเริ่มต้นในศตวรรษที่ 1800
    ซึ่งเป็นช่วงการเริ่มต่อต้านชาวยิว
  • 1:23 - 1:27
    ชุมชนชาวยิวมองที่ภาษาบรรพบุรุษของพวกขา
    นั่นคือ ภาษาฮีบรู
  • 1:27 - 1:29
    ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการนำวัฒนธรรมกลับคืนมา
  • 1:30 - 1:33
    และ ถึงแม้ภาษาฮีบรูจะไม่ถูกใช้มานับพันปี
  • 1:33 - 1:36
    มันก็ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในหนังสือศาสนา
    และปรัชญาของชาวยิว
  • 1:37 - 1:40
    ดังนั้น ชาวยิวจึงเริ่มเรียน
    และสอนภาษายิวให้แก่ลูกหลานของเขา
  • 1:40 - 1:43
    เพื่อสร้างคนพูดภาษาท้องถิ่นกลุ่มแรก
    ในรอบกว่าร้อยช่วงอายุคน
  • 1:44 - 1:48
    วันนี้ ภาษาฮีบรูเป็นภาษาแม่
    ของชาวยิว 5 ล้านคน
  • 1:48 - 1:50
    และอย่างน้อยสำหรับผม
  • 1:50 - 1:53
    สมาชิกชาวยิวผลัดถิ่นที่ซึมซับภาษาอังกฤษ
  • 1:53 - 1:56
    เสาหลักของเอกราชทางวัฒนธรรม
  • 1:57 - 2:00
    สองพันปีต่อมา
  • 2:00 - 2:01
    พวกเรายังอยู่ที่นี้
  • 2:03 - 2:04
    และจนถึงปัจจุบัน
  • 2:04 - 2:07
    การฟื้นคืนของภาษาฮีบรูเป็นเรื่องที่ผิดปกติ
  • 2:07 - 2:09
    มีไม่กี่ภาษาที่ยังคงรักษาไว้ได้
    เหมือนภาษาของเรา
  • 2:09 - 2:11
    และการเริ่มต้นของประเทศอิสราเอล
  • 2:11 - 2:14
    รัฐแรกของชาวยิวในรอบเกินกว่า 1,000 ปี
  • 2:14 - 2:16
    ได้ให้พื้นที่สำหรับการใช้ภาษาฮีบรู
    ในชีวิตประจำวัน
  • 2:17 - 2:21
    อีกนัยหนึ่ง หลายวัฒนธรรม
    ไม่ได้มีโอกาสอย่างนี้
  • 2:21 - 2:23
    (วิดีโอ) สวัสดี ฉันชื่อ เอลิซาเบธ
  • 2:23 - 2:25
    และฉันอาศัยในรัฐคอร์นวอล
  • 2:25 - 2:26
    นั่นคือชาวภาษาคอร์นิช
  • 2:26 - 2:28
    ซึ่งเป็นภาษาดั้งเดิมของคอร์นวอล
  • 2:28 - 2:32
    ซึ่งในวันนี้ โดยทางเทคนิคแล้ว
    เป็นเมืองหนึ่งในตอนใต้ของอังกฤษ
  • 2:33 - 2:36
    ในศตวรรษที่ 1900 นักเคลื่อนไหวชาวคอร์นิช
    ได้ต่อสู้เพื่อวัฒนธรรมของเขา
  • 2:37 - 2:39
    ภาษาที่ไม่ถูกใช้มาเกินกว่า 100 ปี
  • 2:39 - 2:43
    แต่พวกเขาใช้หนังสือเก่า และละคร
    เพื่อสอนลูกหลานของพวกเขา
  • 2:43 - 2:46
    อย่างไรก็ตาม คนรุ่นใหม่ที่พูดภาษาคอร์นิช
  • 2:46 - 2:47
    อาศัยกระจัดกระจายไปทั่วคอร์นวอล
  • 2:47 - 2:50
    และไม่สามารถใช้ภาษาได้อย่างเสรี
  • 2:51 - 2:54
    ในทศวรรษที่ 1990 ภาษาคอร์นิชได้ฟื้นขึ้น
  • 2:54 - 2:55
    แต่ก็ไม่ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น
  • 2:57 - 3:01
    ต่อมา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 2000
    คนพูดคอร์นิชได้พบกันในโลกออนไลน์
  • 3:01 - 3:05
    และใช้พื้นที่ดิจิตอลในการพูดคอร์นิช
    ในชีวิตประจำวัน
  • 3:06 - 3:09
    จากจุดนั้น พวกเขาได้จัดงานประจำสัปดาห์
    และประจำเดือน
  • 3:09 - 3:11
    ที่พวกเขาสามารถรวมกัน
    และพูดคอร์นิชในพื้นที่สาธารณะ
  • 3:12 - 3:15
    ในวันนี้ บางโรงเรียนได้มีการสอนภาษาคอร์นิช
  • 3:15 - 3:17
    มีสัญลักษณ์ในภาษาคอร์นิช
  • 3:17 - 3:19
    โฆษณาไอศกรีม
  • 3:19 - 3:21
    วิกิพีเดีย และแม้กระทั่ง
    มุกตกลงในอินเตอร์เน็ต
  • 3:22 - 3:24
    (หัวเราะ)
  • 3:26 - 3:30
    (หัวเราะ)
  • 3:30 - 3:33
    และเมื่อภาษาของเขาสมบูรณ์ขึ้นอีกครั้ง
  • 3:33 - 3:35
    ชาวคอร์นวอลก็ได้รับการยอมรับ
  • 3:35 - 3:38
    ในฐานะชาวเซลติก เช่นเดียวกับ
    ชาวไอร์แลนด์ สก๊อตแลนด์ และเวลส์
  • 3:39 - 3:41
    พวกเขามองไปที่อดีตของการบังคับ
    การดูดกลืนทางวัฒนธรรม
  • 3:41 - 3:44
    และพูดว่า "เราไม่ใช่เมืองของอังกฤษ"
  • 3:44 - 3:46
    เราเป็นประชาชนที่มีสิทธิของเราเอง
  • 3:46 - 3:47
    และเรายังอยู่ที่นี่"
  • 3:48 - 3:49
    และพวกเขาไม่ใช่คนกลุ่มเดียว
  • 3:49 - 3:54
    ชนเผ่าทูนิกา-บิลอกซิ ในลุยเซียน่าก็กำลัง
    พื้นฟูภาษาของบรรพบุรุษ
  • 3:54 - 3:56
    (วิดีโอ) ฉันชื่อทียานนา
  • 3:56 - 3:59
    เพื่อนเรียกฉันว่า "พายุที่เงียบสงัด"
  • 4:00 - 4:02
    มันเริ่มต้นในทศวรรษที่ 1980
  • 4:02 - 4:04
    เมื่อ ดอนน่า พีเออร์ริท และครอบครัว
  • 4:04 - 4:06
    เริ่มเดินทางไปที่ บาทอน รัฟ และนิว ออร์ลีน
  • 4:06 - 4:10
    เพื่อถ่ายสำเนาพจนานุกรมเก่าที่เก็บไว้
    ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย
  • 4:11 - 4:13
    โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาษาทูนิกา
  • 4:13 - 4:17
    และสอนมันให้แก่เด็ก ๆ
    รวมทั้งเผยแพร่ภายในชุมชน
  • 4:17 - 4:21
    วันนี้ พวกเขาเป็นผู้นำในการฟื้นฟู
    วัฒนธรรมทูนิกา
  • 4:21 - 4:26
    นับตั้งแต่ปี 2014 เกือบ 100 คนเข้าร่วม
    การศึกษาภาษาอย่างตั้งใจ
  • 4:26 - 4:29
    และตามการสำรวจในปี 2017
  • 4:29 - 4:32
    มีคนที่พูดภาษาทูนิกา
    ได้อย่างคล่องแคล่วถึง 32 คน
  • 4:32 - 4:34
    บางคน อย่างดอนน่าลูกสาวของเอลิซาเบธ
  • 4:34 - 4:36
    กำลังสอนภาษาทูนิกาใ้ห้แก่ลูกหลานของเขา
  • 4:36 - 4:38
    คนที่พูดภาษาที่เพิ่มขึ้นนี้กำลังทำบทความ
  • 4:38 - 4:41
    วิดีโอเฟซบุ๊ค และแม้กระทั่ง
    มุกตลกบนอินเตอร์เน็ต
  • 4:41 - 4:43
    (หัวเราะ)
  • 4:44 - 4:46
    (หัวเราะ)
  • 4:47 - 4:49
    (หัวเราะ)
  • 4:49 - 4:50
    และยิ่งใช้กันมากเท่าไหร่
  • 4:50 - 4:53
    ก็เป็นแรงบรรดาลใจให้ชาวทูนิกาอื่นๆ
    ให้มามีส่วนร่วมเท่านั้น
  • 4:54 - 4:58
    เร็วๆ นี้ สมาชิกชนเผ่าที่อาศัยในรัฐเท็กซัส
    เขียนถึงเอลิซาเบธทางเฟซบุ๊ก
  • 4:58 - 5:01
    ถามว่าเขียนคำว่า
    "โปรดอวยพรแก่แผ่นดินนี้" อย่างไร
  • 5:02 - 5:03
    เพื่อเขาจะได้ใช้เป็นป้ายที่สนาม
  • 5:03 - 5:06
    เพื่อแสดงให้เพื่อนบ้านเห็นว่า
    วัฒนธรรมของเธอยังมีอยู่
  • 5:06 - 5:08
    และยังรุ่งเรืองในปัจจุบัน
  • 5:09 - 5:11
    ปัจจุบัน ภาษาฮีบรู คอร์นิช และทูนิกา
  • 5:11 - 5:15
    เป็นเพียงแค่ 3 ตัวอย่างของคลื่นใต้น้ำ
    ของการเคลื่อนไหวทางภาษาในทุกทวีป
  • 5:16 - 5:19
    และแม้ว่าพวกเขาเป็นคนพูดภาษาเจอร์เรียล
    ที่มาจากหมู่เกาะแชนเนล
  • 5:19 - 5:23
    หรือคนพูดภาษาของชาวเคนยาจากไนโรบี
  • 5:23 - 5:26
    ทุกชุมชนที่ทำงานเพื่อรักษา
    และฟื้นฟูภาษา
  • 5:26 - 5:29
    มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ สื่อ
  • 5:29 - 5:31
    เพื่อว่าภาษาของพวกเขาจะถูกเผยแพร่และถูกสอน
  • 5:32 - 5:34
    และเช่นเดียวกับการเติบโตของอินเตอร์เน็ต
  • 5:34 - 5:36
    การขยายการเข้าถึงสื่อ และความคิดสร้างสรรค์
  • 5:38 - 5:41
    การรักษาและฟื้นฟูภาษาของบรรพบุรุษ
  • 5:41 - 5:43
    เป็นสิ่งที่เป็นไปได้มากกว่าเดิม
  • 5:44 - 5:46
    แล้วภาษาของบรรพบุรุษคุณคือภาษาอะไร ?
  • 5:46 - 5:49
    ของผมคือ ฮีบรู, ยิดดิช, ฮังกาเรียน
    และสก๊อตติช แกลิค
  • 5:49 - 5:51
    แม้ผมจะเติบโตโดยใช้ภาษาอังกฤษ
  • 5:52 - 5:56
    และเป็นโชคดีของผม ที่ภาษาเหล่านั้น
    มีใช้ในโลกออนไลน์
  • 5:56 - 5:58
    โดยเฉพาะภาษาฮีบรู
    มันถูกจัดเก็บในไอโฟนของผม
  • 5:58 - 6:00
    มันมีการแปลโดยกูเกิ้ล
  • 6:00 - 6:02
    แม้กระทั่งการแก้คำผิดอัตโนมัติ
  • 6:02 - 6:05
    และ ในขณะที่ภาษาของคุณอาจไม่ได้รับ
    การสนับสนุนในวงกว้าง
  • 6:05 - 6:07
    ผมขอกระตุ้ันให้คุณลองตรวจสอบดู
  • 6:07 - 6:11
    เพราะมีโอกาสที่ บางคน ในบางที่
    อาจเริ่มใช้มันในออลไลน์
  • 6:12 - 6:17
    การเรียกคืนภาษาของคุณ และ
    หวงแหนวัฒนธรรมของคุณไว้
  • 6:17 - 6:21
    เป็นวิธีการที่ทรงพลังในการเป็นตัวของตัวเอง
    ในยุคโลกาภิวัฒน์
  • 6:21 - 6:24
    เพราะ ผมพึ่งได้เรียนที่จะพูดในภาษาฮีบรูว่า
  • 6:24 - 6:27
    (ภาษาฮีบรู)
  • 6:27 - 6:28
    พวกเรายังอยู่ที่นี่
  • 6:29 - 6:30
    ขอบคุณ
  • 6:30 - 6:34
    (เสียงปรบมือ)
Title:
วิธีการรักษาภาษาไว้ไม่ให้หายไป
Speaker:
แดเนียล โบเกร อูเดล
Description:

มีภาษามากถึง 3,000 ภาษาที่อาจสูญหายไปได้ภายในอีก 80 ปีข้างหน้า ซึ่งเกือบจะทำให้วัฒนธรรมหายไปด้วย ในการเสวนาครั้งนี้ นักเคลื่อนไหวด้านภาษา แดเนียล โบเกร อูดล ได้แสดงถึงวิธีการที่ผู้คนรอบโลกหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อพื้นฟูภาษาของบรรพบุรุษ และสร้างวัฒนธรรมของตนขึ้นมาใหม่ รวมทั้งกระตุ้นเราให้สำรวจภาษาของบรรพบุรุษของเรา "เรียกคืนภาษาของคุณ และหวงแหนวัฒนธรรมของคุณไว้ คือ วิธีการที่ทรงพลังที่สุดในการเป็นตัวของตัวเอง" เขากล่าว

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
06:46
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for How to save a language from extinction
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for How to save a language from extinction
Arisa Satjaraxa accepted Thai subtitles for How to save a language from extinction
Arisa Satjaraxa edited Thai subtitles for How to save a language from extinction
Arisa Satjaraxa edited Thai subtitles for How to save a language from extinction
Panitan Suvannaroj edited Thai subtitles for How to save a language from extinction
Panitan Suvannaroj edited Thai subtitles for How to save a language from extinction
Panitan Suvannaroj edited Thai subtitles for How to save a language from extinction
Show all

Thai subtitles

Revisions