Return to Video

จำเป็นจะต้องมีการสะกดคำใหม่หรือไม่|การินา กาลเปริน (Karina Galperin) |TEDxRiodelaPlata

  • 0:10 - 0:15
    เราเสียเวลาในโรงเรียนไปมาก
    เพื่อเรียนรู้เรื่องการสะกดคำ
  • 0:15 - 0:21
    เด็ก ๆ ในโรงเรียน
    ก็ยังคงเสียเวลาไปมากกับการสะกดคำ
  • 0:22 - 0:26
    ดังนั้น ฉันจึงอยากแบ่งปันคำถามหนึ่ง
    กับพวกคุณซึ่งก็คือ
  • 0:27 - 0:31
    "จำเป็นจะต้องมี
    การสะกดคำใหม่หรือไม่"
  • 0:31 - 0:33
    ฉันเชื่อว่าคำตอบคือใช่ มันจำเป็นต้องมี
  • 0:33 - 0:38
    หรือจะให้ดีกว่านั้น ฉันเชื่อว่าเราต้องทำให้
    การสะกดคำที่เรามีอยู่แล้วให้ง่ายขึ้น
  • 0:38 - 0:43
    ทั้งคำถามและคำตอบนี้
    ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ในภาษาสเปนเลย
  • 0:43 - 0:47
    นี่เป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมา
    ครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดหลายศตวรรษ
  • 0:47 - 0:52
    ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1492 ในหลักไวยากรณ์แรก
    ของภาษาสเปน
  • 0:52 - 0:58
    แอนโตนิโอ เด เนบริฆา บัญญัติหลักการสะกดคำ
    ของเราไว้อย่างชัดเจนและเรียบง่ายว่า
  • 0:58 - 1:01
    "ด้วยเหตุนี้ เราต้องเขียนอย่างที่เราออกเสียง
  • 1:01 - 1:04
    และออกเสียงอย่างที่เราเขียน"
  • 1:04 - 1:07
    แต่ละเสียงควรถูกแทนด้วยหนึ่งตัวอักษร
  • 1:07 - 1:10
    และแต่ละตัวอักษรควรเป็นตัวแทน
    ของเสียงเดียวเท่านั้น
  • 1:10 - 1:15
    และตัวอักษรที่ไม่ได้แทนเสียงใด ๆ
    ก็ควรถูกตัดทิ้งไป
  • 1:17 - 1:19
    กฎเกณฑ์นี้ กฎเกณฑ์ทางสัทศาสตร์
  • 1:19 - 1:23
    - ที่บอกว่าเราต้องเขียนตามที่เราออกเสียง -
  • 1:23 - 1:27
    ทั้งมีอยู่ และไม่มีอยู่ ในรากฐาน
    ของการสะกดคำที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
  • 1:28 - 1:32
    ที่มีอยู่เพราะว่าภาษาสเปนต่างจากภาษาอื่น ๆ
  • 1:32 - 1:34
    อย่างภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส
  • 1:34 - 1:36
    ที่ต่อต้านอย่างหนักเสมอมา
  • 1:36 - 1:41
    ต่อการเขียนที่แตกต่าง
    จากการออกเสียงมากเกินไป
  • 1:41 - 1:44
    แต่กฎเกณฑ์ที่ว่าไม่มีอยู่
    เพราะเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18
  • 1:44 - 1:47
    มีการตัดสินใจว่าจะทำให้การเขียน
    ของพวกเราเป็นแบบแผนเดียวกันอย่างไร
  • 1:47 - 1:52
    ยังมีอีกกฎเกณฑ์หนึ่ง
    ที่ชี้นำส่วนสำคัญในการตัดสินใจ
  • 1:52 - 1:55
    กฎเกณฑ์อื่นที่ว่า คือ นิรุกติศาสตร์
  • 1:55 - 1:57
    ซึ่งบอกว่าเราจะต้องเขียน
  • 1:57 - 2:00
    ตามที่คำดั้งเดิมในภาษาต้นกำเนิดนั้น ๆ
  • 2:00 - 2:02
    ในภาษาละติน ในภาษากรีก เป็นต้น
  • 2:02 - 2:06
    และด้วยเหตุนี้ เราจึงมีตัว H ที่ไม่ได้แทนเสียงใด ๆ
    ซึ่งเราเขียน แต่เราไม่ได้ออกเสียง
  • 2:06 - 2:10

    ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีทั้งตัว B และตัว V
  • 2:10 - 2:12
    ซึ่งตรงข้ามกับที่คนส่วนใหญ่เชื่อกัน
  • 2:12 - 2:15
    การออกเสียงตัวอักษรทั้งสองในภาษาสเปน
    ไม่เคยแตกต่างกันเลย
  • 2:16 - 2:20
    ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีตัว G ที่มีเสียงหนัก
    อย่างคำว่า "gente" (เฆนเต)
  • 2:20 - 2:23
    และบางครั้งก็ออกเสียงอ่อน
    อย่างคำว่า "gato" (กาโต)
  • 2:23 - 2:26
    ด้วยเหตุนี้ เราจึงมี C, S และ Z
  • 2:27 - 2:31
    ตัวอักษรทั้งสามที่ในบางพื้นที่แทนเสียงเดียว
  • 2:31 - 2:33
    และในพื้นที่อื่น ๆ ก็สองเสียง
    แต่ไม่มีที่ใดที่แทนสามเสียง
  • 2:35 - 2:37
    ฉันไม่ได้จะมาเล่าอะไร
  • 2:37 - 2:40
    ที่พวกคุณไม่รู้จากประสบการณ์ของตัวเอง
  • 2:40 - 2:43
    พวกเราทุกคนต่างก็ไปโรงเรียน
  • 2:43 - 2:48
    พวกเราทุกคนลงทุนเวลามากมาย
    ไปกับการเรียนรู้
  • 2:48 - 2:53
    เวลามากมายของสมอง
    ที่ปั้นแต่งได้และเยาว์วัย
  • 2:53 - 2:55
    ถูกใช้ไปกับการเขียนตามคำบอก
  • 2:55 - 3:00
    กับการท่องจำหลักการสะกดคำ
    ที่อย่างไรก็ดี เต็มไปด้วยข้อยกเว้น
  • 3:00 - 3:04
    พวกเราถูกถ่ายทอดความคิดในหลายรูปแบบ
    ทั้งโดยตรงและโดยนัยว่า
  • 3:04 - 3:06
    การสะกดคำนั้น
  • 3:06 - 3:10
    มีบทบาทระดับฐานรากบางอย่าง
    ในการศึกษาของพวกเรา
  • 3:11 - 3:13
    อย่างไรก็ตาม ฉันมีความรู้สึก
  • 3:13 - 3:17
    ว่าเหล่าครูบาอาจารย์ไม่ได้ตั้งคำถามกับตัวเอง
    ว่าทำไมมันถึงได้สำคัญนัก
  • 3:17 - 3:20
    รวมไปถึง การไม่ได้ตั้งคำถาม
    ที่มีมาก่อนหน้านั้นว่า
  • 3:20 - 3:22
    การสะกดคำทำหน้าที่อะไร
  • 3:23 - 3:26
    การสะกดคำมีไว้ทำไม
  • 3:28 - 3:30
    และความจริงก็คือ เมื่อมีใครตั้งคำถามนี้
  • 3:30 - 3:34
    คำตอบที่ได้ก็ค่อนข้างจะเรียบง่าย
    และไม่ได้ก้าวพ้นไป
  • 3:34 - 3:36
    จากสิ่งที่มักจะเชื่อกัน
  • 3:36 - 3:40
    การสะกดคำมีไว้
    เพื่อทำให้การเขียนมีรูปแบบเดียว
  • 3:41 - 3:43
    เพื่อให้พวกเราทุกคนเขียนเหมือนกันหมด
  • 3:43 - 3:47
    ดังนั้น มันจึงง่ายกว่าสำหรับพวกเรา
    ที่จะเข้าใจเมื่อพวกเราอ่านกัน
  • 3:48 - 3:51
    ทว่า ตรงกันข้ามกับแง่มุมอื่น ๆ ของภาษา
  • 3:51 - 3:53
    อย่างเช่นการใช้เครื่องหมายวรรคตอน
  • 3:53 - 3:59
    การสะกดคำไม่สามารถให้การแสดงออกใด ๆ
    ที่เกี่ยวข้องได้
  • 3:59 - 4:01
    แต่เครื่องหมายวรรคตอน ทำได้
  • 4:02 - 4:06
    ด้วยเครื่องหมายวรรคตอน ฉันสามารถ
    เลือกเปลี่ยนตามความหมายของประโยค
  • 4:06 - 4:07
    ด้วยเครื่องหมายวรรคตอน
  • 4:07 - 4:11
    ฉันสามารถกำหนดจังหวะเฉพาะ
    ลงไปในสิ่งที่ฉันกำลังเขียน
  • 4:11 - 4:14
    แต่กับการสะกดคำแล้ว มันทำไม่ได้
  • 4:14 - 4:17
    การสะกดคำ มีแต่ถูกหรือผิด
  • 4:17 - 4:20
    อยู่ที่ว่ามันเป็นไปตามกฎเกณฑ์ในปัจจุบันหรือไม่
  • 4:21 - 4:22
    ดังนั้นแล้ว
  • 4:22 - 4:26
    มันจะไม่สมเหตุสมผลเหตุผลมากกว่าหรือ
    ที่จะทำให้กฎเกณฑ์ในปัจจุบันเรียบง่ายขึ้น
  • 4:26 - 4:32
    เพื่อให้การสอน การเรียน
    และการสะกดคำอย่างถูกต้องทำได้ง่ายขึ้น
  • 4:33 - 4:37
    มันจะไม่สมเหตุสมเหตุผลมากกว่าหรือ
    ที่เราจะทำให้กฎเกณฑ์ในปัจจุบันเรียบง่ายขึ้น
  • 4:37 - 4:39
    เพื่อเวลาทั้งหมด
  • 4:39 - 4:43
    ที่ทุกวันนี้เราเสียไปกับการสอนการสะกดคำ
  • 4:43 - 4:46
    จะถูกนำไปใช้กับแง่มุมอื่น ๆ ของภาษา
  • 4:46 - 4:50
    ที่ความสลับซับซ้อนสมควรได้รับเวลา
    และการลงทุนลงแรง
  • 4:52 - 4:57
    สิ่งที่ฉันเสนอ ไม่ใช่การล้มล้างอักขรวิธี
  • 4:57 - 5:01
    ไม่ใช่ว่าใครจะเขียนแบบไหนตามใจก็ได้
  • 5:01 - 5:05
    ภาษาเป็นเครื่องมือที่เราใช้งานร่วมกัน
  • 5:05 - 5:06
    และดังนั้น
  • 5:06 - 5:10
    ฉันคิดว่า มันเป็นเรื่องจำเป็น
    ที่เราจะต้องยึดหลักเกณฑ์ร่วมกัน
  • 5:11 - 5:13
    แต่ฉันก็คิดว่าเป็นเรื่องจำเป็นเช่นกัน
  • 5:13 - 5:18
    ที่หลักเกณฑ์ร่วมนี้ จะเรียบง่ายที่สุด
    เท่าที่จะเป็นไปได้
  • 5:18 - 5:21
    เหนือสิ่งอื่นใด เพราะว่า
    ถ้าพวกเราทำให้การสะกดคำง่ายขึ้น
  • 5:21 - 5:24
    เราไม่ได้ทำให้ตกต่ำลงแต่อย่างใด
  • 5:24 - 5:27
    เมื่อมีการทำให้การสะกดคำง่ายขึ้น
  • 5:27 - 5:31
    มันไม่ได้ลดทอน
    คุณภาพของภาษาแต่อย่างใด
  • 5:32 - 5:36
    ทุกวัน ฉันทำงาน
    เกี่ยวกับวรรณกรรมในยุคทอง
  • 5:36 - 5:39
    อ่านงานเขียนของการ์ซิลาโซ, เซร์บันเตส,
    กอนโกรา, เกเบโด
  • 5:39 - 5:42
    ที่บางครั้งพวกเขาเขียน "hombre"
    โดยไม่มีตัว h
  • 5:42 - 5:45
    บางครั้งสะกด "escribir" ด้วยตัว v
  • 5:45 - 5:48
    แต่สำหรับฉัน มันชัดเจนมากว่า
  • 5:48 - 5:53
    ความแตกต่างระหว่างงานเขียนเหล่านั้น
    และงานเขียนของพวกเรา คือเรื่องของมาตรฐาน
  • 5:53 - 5:57
    หรือเรื่องของการที่ยังไม่มีมาตรฐาน
    ในช่วงเวลานั้น
  • 5:57 - 5:58
    แต่ไม่ใช่เรื่องของคุณภาพ
  • 6:00 - 6:02
    แต่ฉันขอกลับมา
    ที่เรื่องของเหล่าครูบาอาจารย์ก่อน
  • 6:02 - 6:05
    เพราะพวกเขาเป็นบุคคลสำคัญในเรื่องนี้
  • 6:06 - 6:11
    ฉันเพิ่งพูดถึง
    การยืนกรานที่ไม่ได้มีการคิดทบทวนเท่าไหร่
  • 6:11 - 6:14
    ที่เหล่าครูอาจารย์
    เคี่ยวเข็ญเราแล้วเคึ่ยวเข็ญเราอีก
  • 6:14 - 6:15
    ในเรื่องการสะกดคำ
  • 6:15 - 6:19
    แต่ความจริงคือ
    สิ่งต่าง ๆ เป็นอย่างที่มันเป็นอยู่
  • 6:19 - 6:21
    อันนี้เรื่องที่เข้าใจได้อย่างชัดเจน
  • 6:21 - 6:23
    ในสังคมของพวกเรานั้น
  • 6:23 - 6:27
    การสะกดคำมีหน้าที่เสมือนตัวชี้วัดพิเศษ
  • 6:27 - 6:31
    ที่ช่วยแยกระหว่างผู้รู้มากจากผู้รู้น้อย
    แยกผู้ได้รับการศึกษาออกจากผู้โง่เขลา
  • 6:31 - 6:36
    ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
    ที่ผู้นั้นกำลังเขียนแต่อย่างใด
  • 6:36 - 6:40
    คนหนึ่งสามารถได้งานหรือถูกปฏิเสธงาน
  • 6:40 - 6:42
    เพียงตัว H ตัวเดียวที่ใส่หรือไม่ได้ใส่ลงไป
  • 6:42 - 6:45
    คนหนึ่งสามารถถูกล้อเลียนในที่สาธารณะได้
  • 6:45 - 6:48
    เพียงเพราะใส่ตัวอักษร B หรือ V ผิดไป
  • 6:48 - 6:50
    ดังนั้น ในบริบทนี้
  • 6:50 - 6:55
    ชัดเจนว่าเป็นเรื่องสมเหตุผลสมผล
    ที่จะอุทิศเวลานั้นให้กับการสะกดคำ
  • 6:55 - 6:57
    แต่เราต้องไม่ลืมว่า
  • 6:57 - 7:00
    ในประวัติศาสตร์ภาษาของพวกเรา
  • 7:00 - 7:02
    มีแต่เหล่าครูบาอาจารย์
  • 7:02 - 7:06
    หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
    กับการสอนตัวอักษรตั้งต้น
  • 7:06 - 7:09
    ที่ผลักดันการปฏิรูปอักขรวิธี
  • 7:09 - 7:11
    ที่ตระหนักว่าการสะกดคำของเรานั้น
  • 7:11 - 7:15
    บางครั้งก็เป็นอุปสรรคต่อการถ่ายทอดความรู้
  • 7:15 - 7:17
    ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของพวกเรา
  • 7:17 - 7:22
    ซาร์เมียนโต กับอันเดรส เบโย
    ผลักดันการปฏิรูปอักขรวิธีครั้งใหญ่
  • 7:22 - 7:25
    ซึ่งในที่สุดก็มีผลบังคับใช้ในภาษาสเปน
  • 7:25 - 7:29
    ในประเทศชิลีช่วงกลางคริสตศตรววษที่ 19
  • 7:31 - 7:35
    แล้วทำไมเราถึงไม่ตามรอยครูอาจารย์เหล่านี้
  • 7:35 - 7:39
    และเริ่มพัฒนาอักขรวิธีของเรา
  • 7:39 - 7:43
    ตรงนี้ ใกล้ชิดกับพวกเรา 10,000 คน
  • 7:43 - 7:44
    ฉันอยากที่จะเสนอแนะ
  • 7:44 - 7:48
    เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนบางอย่าง
    ที่ฉันคิดว่ามีเหตุผลที่จะเริ่มอภิปรายกัน
  • 7:50 - 7:52
    เราลบเอา H ที่ไม่ออกเสียงออกไปเสีย
  • 7:52 - 7:57
    ที่ที่เราเขียน H แต่ไม่ได้ออกเสียงอะไร
  • 7:57 - 7:58
    ก็ไม่ต้องเขียนลงไป
  • 7:58 - 7:59
    (เสียงปรบมือ)
  • 7:59 - 8:02
    ฉันคิดไม่ออกว่า
    การยึดติดทางอารมณ์แบบไหน
  • 8:02 - 8:07
    ที่สามารถแก้ต่างให้กับตัว H ไม่ออกเสียง
    อันแสนจะน่ารำคาญนี้ได้
  • 8:07 - 8:10
    อย่างที่บอกไว้ก่อนหน้านี้
    สำหรับ B และ V
  • 8:10 - 8:12
    ว่าในภาษาสเปนมันไม่เคยมีความแตกต่าง
  • 8:12 - 8:13
    (เสียงปรบมือ)
  • 8:13 - 8:17
    เลือกเอาแค่อันเดียว จะเป็นอันไหนก็ได้
    เราสามารถเถียงกันได้ มานั่งจับเข่าคุยกัน
  • 8:17 - 8:20
    แต่ละคนมีความชอบของตัวเอง
    แต่ละคนสามารถโต้เถียงได้
  • 8:20 - 8:23
    เราจะมีเพียงตัวเดียว อีกตัวก็ยกเลิกไป
  • 8:23 - 8:26
    สำหรับ G และ J เรามาแบ่งหน้าที่ให้พวกมันกัน
  • 8:26 - 8:31
    ว่า G จะแทนเสียงอ่อน เช่น "gato" (กาโต),
    "mago" (มาโก), "águila" (อากิลา)
  • 8:31 - 8:34
    และตัว J คงเสียงหนักเอาไว้
  • 8:34 - 8:39
    "jarabe" (ฆาราเบ), "jirafa" (ฆิราฟา),
    "gente" (เฆนเต), "argentino" (อาร์เฆนติโน)
  • 8:40 - 8:45
    สำหรับตัว C, S และ Z เป็นกรณีที่น่าสนใจ
  • 8:45 - 8:49
    เพราะมันแสดงให้เห็นว่า
    กฎเกณฑ์ทางสัทศาสตร์ควรจะเป็นตัวชี้แนะ
  • 8:49 - 8:52
    แต่ไม่ควรเป็นหลักการเบ็ดเสร็จ
  • 8:52 - 8:57
    ในบางกรณี การออกเสียงที่ต่างออกไป
    ก็ควรนำมาพิจารณาด้วย
  • 8:57 - 9:00
    ทีนี้ ฉันได้บอกไปแล้วว่า C, S, Z
  • 9:00 - 9:03
    ในบางพื้นที่จะแทนด้วยเสียงเดียว
    ในขณะที่ในบางที่จะแทนด้วยสองเสียง
  • 9:03 - 9:08
    ถ้าสามตัวอักษร เหลือเพียงสองตัวอักษร
    มันก็คงจะดีขึ้น
  • 9:10 - 9:14
    สำหรับบางคน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
    อาจดูค่อนข้างจะสุดโต่ง
  • 9:14 - 9:17
    แต่มันไม่เท่าไหร่หรอก
  • 9:17 - 9:20
    ราชบัณฑิตยสถานสเปน
    และทุกสถาบันทางภาษา
  • 9:20 - 9:25
    ก็เชื่อเช่นเดียวกันว่า
    ควรมีการปรับเปลี่ยนการสะกดคำไปตามเวลา
  • 9:25 - 9:30
    เชื่อว่าภาษามีการเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์
    กับประเพณี และกับความเคยชิน
  • 9:30 - 9:34
    แต่ก็เชื่อเช่นกันว่า ภาษาเป็นเครื่องมือ
    ในทางปฏิบัติเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
  • 9:34 - 9:39
    และเชื่อว่า บางครั้ง การยึดติดกับประวัติศาสตร์
    กับประเพณี และกับความเคยชิน
  • 9:39 - 9:44
    ได้กลายมาเป็นอุปสรรค
    ในการใช้งานในปัจจุบัน
  • 9:45 - 9:48
    สิ่งนี้อธิบายว่า จริง ๆ แล้ว ภาษาของเรา
  • 9:48 - 9:54
    เป็นมากกว่าสิ่งที่เรารู้จัก
    เป็นมากกว่าความใกล้ชิดกันทางภูมิศาสตร์
  • 9:54 - 9:58
    มันค่อย ๆ ถูกปรับเปลี่ยนไป
    ตามประวัติศาสตร์ของเรา
  • 9:58 - 10:01
    ยกตัวอย่าง เราเปลี่ยนจากการสะกด
    "orthographia" เป็น "ortografía"
  • 10:01 - 10:06
    จาก theatro" เป็น "teatro"
    จาก "quantidad" เป็น "cantidad"
  • 10:06 - 10:08
    จาก "symbolo" เป็น "símbolo"
  • 10:08 - 10:13
    และเมื่อไม่นานมานี้ก็เริ่มที่จะลบตัว H
    ที่ไม่ออกเสียงทิ้งไปอย่างเงียบ ๆ
  • 10:13 - 10:16
    ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานสเปน
  • 10:16 - 10:21
    "arpa" และ "armonía"
    สามารถเขียนโดยมีตัว H หรือไม่มีก็ได้
  • 10:21 - 10:23
    และพวกเราก็ยังอยู่กันเป็นสุขดี
  • 10:25 - 10:28
    นอกจากนี้ ฉันยังคิดว่า
  • 10:28 - 10:34
    ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่ง
    ที่จะหยิบยกคำถามนี้ขึ้นมา
  • 10:35 - 10:39
    เราพูดกันอยู่เสมอว่า
    ภาษาเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ
  • 10:39 - 10:41
    จากระดับล่างขึ้นบน
  • 10:41 - 10:44
    โดยผู้ใช้ภาษาทั่วไปรับเอาคำใหม่ ๆ มาใช้
  • 10:44 - 10:48
    และเป็นผู้ที่สร้างความเปลี่ยนแปลง
    ทางไวยากรณ์
  • 10:48 - 10:52
    เรื่อยมาถึงระดับหน่วยงานต่าง ๆ
    ซึ่งในบางทีก็เป็นสำนักวิชาการ
  • 10:52 - 10:56
    บางที่ก็เป็นพจนานุกรม
    บางที่ก็เป็นกระทรวง
  • 10:56 - 10:59
    ที่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงและรวมเข้ามาไว้
    เป็นเวลานานหลังจากนั้น
  • 11:00 - 11:04
    นี่เป็นเรื่องจริง
    เฉพาะบางระดับของภาษา
  • 11:04 - 11:07
    มันเป็นเรื่องจริงในระดับคำศัพท์
  • 11:07 - 11:11
    เป็นเรื่องไม่ค่อยจริงในระดับไวยากรณ์
  • 11:11 - 11:15
    และถ้าให้ฉันพูด มันเกือบจะไม่จริงเลย
    ในระดับการสะกดคำ
  • 11:15 - 11:19
    ที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
    มีการเปลี่ยนแปลงจากระดับบนลงล่าง
  • 11:19 - 11:21
    เป็นสถาบันต่าง ๆ เสมอ
  • 11:21 - 11:25
    ที่จัดตั้งกฎเกณฑ์ และเสนอแนะการเปลี่ยนแปลง
  • 11:26 - 11:31
    แล้วทำไมฉันถึงได้พูดว่า
    ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งล่ะ
  • 11:31 - 11:33
    จนถึงทุกวันนี้
  • 11:33 - 11:39
    การเขียนเคยเป็นการใช้งานที่จำกัด
    และเป็นส่วนตัวมากกว่าการพูด
  • 11:39 - 11:44
    แต่ในยุคสมัยของพวกเรา
    ยุคสมัยของสื่อสังคมออนไลน์
  • 11:44 - 11:47
    กำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
  • 11:48 - 11:51
    เราไม่เคยเขียนมากเท่าสมัยนี้มาก่อน
  • 11:51 - 11:56
    เราไม่เคยเขียนมากมาย
    แล้วมีผู้เห็นมากมายขนาดนี้มาก่อน
  • 11:57 - 12:00
    และในสื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้
    นี่เป็นครั้งแรก
  • 12:00 - 12:04
    ที่พวกเราได้เห็นการใช้การสะกดคำแบบใหม่ ๆ
    เป็นจำนวนมาก
  • 12:04 - 12:09
    รวมไปถึงผู้คนที่สะกดคำอย่างถูกต้อง
    สมบูรณ์แบบ ได้รับการศึกษาอย่างสูง
  • 12:09 - 12:13
    แต่เมื่อพวกเขาเขียนในสื่อสังคมออนไลน์
    ก็ปฏิบัติตัวเหมือน ๆ กัน
  • 12:13 - 12:17
    กับผู้ที่ใช้คนอื่น ๆ ส่วนใหญ่ในสื่อสังคมออนไลน์
  • 12:17 - 12:21
    พูดอีกอย่างก็คือ ยืดหยุ่นต่อความถูกต้อง
    ของการสะกดคำ
  • 12:21 - 12:25
    และให้ความสำคัญกับความรวดเร็ว
    และประสิทธิภาพของการสื่อสาร
  • 12:26 - 12:31
    ตอนนี้ ในสื่อเหล่านั้น
    มีการใช้งานที่ยุ่งเหยิงตามแต่ละบุคคล
  • 12:31 - 12:34
    แต่ฉันคิดว่า เราต้องให้ความสนใจกับมัน
  • 12:34 - 12:37
    เพราะว่า บางทีการใช้งานเหล่านี้
    อาจจะบอกกับพวกเราว่า
  • 12:37 - 12:41
    ในยุคนี้ การเขียนที่ได้รับตำแหน่งแห่งที่ใหม่
  • 12:41 - 12:45
    กำลังต้องการกฎเกณฑ์การสะกดคำใหม่ ๆ ด้วย
  • 12:46 - 12:51
    ฉันเชื่อว่าพวกเรามาผิดทาง
    หากจะปฏิเสธหรือละทิ้งการใช้งานดังกล่าว
  • 12:51 - 12:53
    ถ้าว่าเราคิดว่าการเขียนเหล่านี้
  • 12:53 - 12:56
    เป็นเหมือนอาการความถดถอยทางวัฒนธรรม
    ในยุคสมัยของพวกเรา
  • 12:56 - 13:01
    ไม่ค่ะ ฉันเชื่อว่าเราต้องคอยสอดส่องจัดระเบียบ
    และการเขียนเหล่านี้ต้องถูกนำมาพิจารณา
  • 13:01 - 13:07
    ภายใต้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็น
    ในยุคสมัยของพวกเรามากกว่านี้
  • 13:08 - 13:12
    ฉันเองก็สามารถคาดคะเนได้ถึงข้อคัดค้านบางข้อ
  • 13:13 - 13:15
    จะมีคนที่บอกว่า
  • 13:15 - 13:20
    หากพวกเราทำให้การสะกดคำง่ายขึ้น
    เราจะสูญเสียประวัติของคำไป
  • 13:21 - 13:24
    ถ้าจะเอาจริง ๆ
    หากเราต้องการสงวนประวัติของคำเอาไว้
  • 13:24 - 13:26
    ใช้เพียงแค่หลักการสะกดคำอย่างเดียวคงไม่พอ
  • 13:26 - 13:30
    เรายังต้องเรียนรู้ภาษาละติน กรีก อารบิก อีกด้วย
  • 13:31 - 13:36
    หากใช้การสะกดคำที่ปรับปรุงให้เรียบง่าย
    เราสามารถย้อนไปดูประวัติของคำได้
  • 13:36 - 13:41
    ที่เดิมที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
    ซึ่งก็คือพจนานุกรมทางนิรุกติศาสตร์
  • 13:42 - 13:45
    ข้อคัดค้านข้อที่สอง คือบางคนอาจจะบอกว่า
  • 13:45 - 13:47
    "หากพวกเราทำให้การสะกดคำนั้นง่ายขึ้น
  • 13:47 - 13:49
    เราจะไม่สามารถแยกความแตกต่าง
  • 13:49 - 13:52
    ระหว่างคำต่าง ๆ
    ที่ตอนนี้มีความแตกต่างกันเพียงตัวอักษรเดียว"
  • 13:52 - 13:56
    นี่เป็นเรื่องจริง แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหา
  • 13:56 - 14:01
    ภาษาของเรานั้น มีคำที่ออกเสียงเหมือนกัน
    มีคำที่มีมากกว่าหนึ่งความหมาย
  • 14:01 - 14:03
    แต่เราก็ไม่ได้สับสนแต่อย่างใด
  • 14:03 - 14:06
    "banco" (ม้านั่ง) ที่พวกเรานั่ง
    กับ "banco" (ธนาคาร) ที่พวกเราฝากเงิน
  • 14:06 - 14:09
    "traje" (ชุดสูท) ที่พวกเราสวมใส่
    กับ "trajimos" สิ่งที่พวกเรานำมา
  • 14:10 - 14:16
    ในสถานการณ์ส่วนมาก
    บริบทจะเป็นตัวแก้ไขความสับสนที่อาจเกิดขึ้น
  • 14:17 - 14:20
    แต่มีข้อโต้แย้งข้อที่สาม
  • 14:22 - 14:28
    ที่ฉันคิดว่า เป็นที่เข้าใจได้
    รวมทั้งเป็นข้อที่สะเทือนอารมณ์มากที่สุด
  • 14:28 - 14:32
    คือข้อโต้แย้งที่ว่า
    "ฉันไม่อยากเปลี่ยน
  • 14:32 - 14:36
    ฉันถูกสอนมาแบบนี้
    ฉันชินกับรูปแบบนี้
  • 14:36 - 14:40
    เมื่อฉันอ่านคำที่เขียนด้วยคำที่ถูกทำให้สะกดง่ายขึ้น
  • 14:40 - 14:42
    มันรู้สึกแสลงลูกตา"
  • 14:44 - 14:49
    ข้อโต้แย้งนี้ ต่างก็มีอยู่ในตัวเราทั้งนั้น
    ไม่มากก็น้อย
  • 14:49 - 14:51
    ฉันเชื่อว่าเราควรทำอย่างไรน่ะหรือ
  • 14:51 - 14:54
    ก็ทำอย่างที่เราเคยทำเสมอมาในเรื่องนี้
  • 14:54 - 14:56
    การเปลี่ยนแปลงยังคงเดินหน้าต่อไป
  • 14:56 - 14:59
    สอนกฎเกณฑ์ใหม่แก่เด็ก ๆ
  • 14:59 - 15:04
    ส่วนผู้ที่ไม่ต้องการเปลี่ยน
    ก็ปล่อยให้เขียนไปตามความเคยชิน
  • 15:04 - 15:08
    และรอให้เวลาปูรากฐานกฎเกณฑ์ใหม่
  • 15:09 - 15:15
    การปฏิรูปอักขรวิธีทั้งหมดที่ประสบความสำเร็จ
    และไปแตะต้องความคุ้นชินที่ฝังรากสุดลึก
  • 15:15 - 15:21
    ต่างก็ทำอย่างสุขุมรอบคอบ เป็นเอกฉันท์
    ค่อยเป็นค่อยไป และด้วยความอดทนอดกลั้น
  • 15:21 - 15:25
    แต่เราก็ไม่อาจยอมให้
    ความยึดติดกับวิถีเดิม ๆ
  • 15:25 - 15:28
    มาขัดขวางไม่ให้มีการเดินหน้าต่อไปได้
  • 15:28 - 15:32
    การแสดงความเคารพที่ดีที่สุด
    ที่เราสามารถทำได้ต่ออดีตกาล
  • 15:32 - 15:34
    คือการทำให้สิ่งที่เราได้รับมานั้น
    ดีขึ้นกว่าเดิม
  • 15:35 - 15:38
    ดังนั้น ฉันเชื่อว่าพวกเราต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า
  • 15:38 - 15:40
    สถาบันวิชาการต่าง ๆ ต้องมีการยอมรับร่วมกัน
  • 15:40 - 15:43
    และจัดแจงการสะกดคำของพวกเราเสียใหม่
  • 15:43 - 15:49
    ลบความเคยชินที่เรามี เพียงเพราะเราได้รับมา
    แต่ก็ไม่ได้มีประโยชน์อันใด
  • 15:49 - 15:53
    และฉันก็เชื่อว่า หากเราทำได้
  • 15:53 - 15:57
    ในขอบเขตที่พอประมาณ
    แต่ลำคัญอย่างยิ่งยวดในภาษา
  • 15:57 - 16:00
    เราจะสามารถส่งต่ออนาคตที่ดีกว่า
  • 16:00 - 16:02
    ให้กับคนรุ่นถัดไปได้
  • 16:03 - 16:04
    (เสียงปรบมือ)
Title:
จำเป็นจะต้องมีการสะกดคำใหม่หรือไม่|การินา กาลเปริน (Karina Galperin) |TEDxRiodelaPlata
Description:

การบรรยายนี้เป็นงาน TEDx ที่ถูกจัดขึ้นอย่างอิสระจากงานสัมมนา TED

เราเสียเวลาและพลังงานไปเท่าไหร่กับการเรียนรู้การสะกดคำ มันคุ้มค่าหรือไม่ เรามีทางเลือกใดบ้าง การินา กาลเปริน มีข้อเสนอหนึ่งที่อาจทำให้พวกเราประหลาดใจ

การินาเป็นดุษฎีบัณฑิตทางด้านภาษาและวรรณคดีโรมานซ์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดนอกจากนี้ยังได้รับปริญญาตรีทางด้านอักษรศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย ดิ เตลา และผู้อำนวยการหลักสูตรวารสารศาสตร์ที่ UTDT/ลา เนซิออน

more » « less
Video Language:
Spanish
Team:
closed TED
Project:
TEDxTalks
Duration:
16:24

Thai subtitles

Revisions