Return to Video

ทำอย่างไรให้การตัดสินในแบบกลุ่มได้ผลลัพธ์ที่ดี

  • 0:01 - 0:03
    ในฐานะส่วนหนึ่งของสังคม
    เราต่างมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
  • 0:03 - 0:05
    ที่อาจส่งผลต่อเราในอนาคต
  • 0:05 - 0:08
    พวกเรารู้ดีว่าเมื่อไหร่ที่เรา
    ตัดสินใจเป็นหมู่คณะ
  • 0:08 - 0:10
    ผลลัพธ์มักจะออกมาไม่ค่อยดีนัก
  • 0:10 - 0:11
    บ่อยครั้งที่ยิ่งแย่กันไปใหญ่
  • 0:12 - 0:15
    แล้วจะทำอย่างไรให้การตัดสินใจแบบกลุ่ม
    ได้ผลออกมาดี
  • 0:15 - 0:20
    งานวิจัยเผยว่าปัญญาฝูงชนจะเกิด
    ก็ต่อเมื่อต่างคนต่างคิดอย่างเป็นอิสระ
  • 0:20 - 0:23
    นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมปัญญาฝูงชน
    จึงถูกบดบัง จากแรงกดดันของคนรอบข้าง
  • 0:23 - 0:24
    การโฆษณา สื่อสังคมออนไลน์
  • 0:25 - 0:29
    หรือบางครั้งแค่การพูดคุยกัน
    ก็มีผลต่อความคิดของคน
  • 0:29 - 0:33
    ในทางกลับกัน การถกกันในกลุ่ม
    ทำให้มีการแลกเปลี่ยนมุมมอง
  • 0:33 - 0:35
    ปรับปรุงแก้ไขความเห็นซึ่งกันและกัน
  • 0:35 - 0:37
    บางครั้งยังก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ
  • 0:37 - 0:38
    ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องดี
  • 0:39 - 0:43
    สรุปว่าการปรึกษาหารือกันในกลุ่ม
    เป็นตัวช่วยหรือตัวถ่วงในการตัดสินใจกันแน่
  • 0:44 - 0:46
    ผมและเพื่อนร่วมงานของผม
    แดน อารีลีย์
  • 0:46 - 0:49
    พวกเราได้เริ่มลงมือค้นหาคำตอบนี้
    โดยทำการทดลอง
  • 0:49 - 0:51
    ในหลายๆที่ทั่วโลก
  • 0:51 - 0:55
    เพื่อจะหาคำตอบว่าทำอย่างไรให้
    การตัดสินใจแบบกลุ่มได้ผลออกมาดี
  • 0:55 - 0:59
    เราคาดว่า ฝูงชนจะตัดสินใจได้ดี
    ถ้ามีการถกกันในกลุ่มเล็กๆ
  • 0:59 - 1:03
    ที่ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด
    อย่างเป็นเหตุเป็นผล
  • 1:03 - 1:05
    เพื่อทดสอบสมมติฐานนี้
  • 1:05 - 1:08
    พวกเราได้ทำการทดลองนึง
    ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
  • 1:08 - 1:11
    มีผู้เข้าร่วมการทดลองกว่า 10,000 ราย
    จากงาน TEDx
  • 1:11 - 1:13
    นี่คือตัวอย่างคำถามในการทดลอง
  • 1:13 - 1:15
    "หอไอเฟลสูงเท่าไหร่"
  • 1:15 - 1:18
    "มีคำว่า 'Yesterday' กี่คำ"
  • 1:18 - 1:20
    ในเพลง 'Yesterday' ของวงเดอะบีเทิ้ล
  • 1:20 - 1:22
    ต่างคนต่างเขียนคำตอบของตัวเอง
  • 1:23 - 1:25
    ต่อมาเราก็แบ่งคนทั้งหมด
    ออกเป็นกลุ่มละ 5 คน
  • 1:25 - 1:28
    แล้วให้แต่ละกลุ่ม
    ช่วยกันหาคำตอบ
  • 1:28 - 1:31
    เราพบว่า ค่าเฉลี่ยของคำตอบจากแต่ละกลุ่ม
  • 1:32 - 1:33
    หลังจากที่ได้จากการปรึกษาหารือกัน
  • 1:33 - 1:37
    มีค่าใกล้เคียงกับค่าจริง
    มากกว่าค่าเฉลี่ยของคำตอบจากแต่ละคน
  • 1:37 - 1:39
    ที่ทำไปก่อนแบ่งกลุ่ม
  • 1:39 - 1:41
    หรือก็คือ จากการทดลองนี้
  • 1:41 - 1:44
    ดูเหมือนว่า การปรึกษากันในกลุ่มเล็กๆ
  • 1:44 - 1:47
    จะช่วยให้ได้ข้อสรุปที่ดีขึ้นกว่าเดิม
  • 1:47 - 1:51
    นี่อาจเป็นวิธีที่ช่วยให้เรา
    สามารถแก้ปัญหาโดยอาศัยฝูงชน
  • 1:51 - 1:54
    สำหรับปัญหาถูกผิดง่ายๆ
  • 1:54 - 1:58
    แต่การรวมรวมผลลัพธ์
    จากกลุ่มย่อยๆแต่ละกลุ่ม
  • 1:58 - 2:01
    จะสามารถช่วยให้เรา
    แก้ปัญหาสังคมหรือปัญหาการเมือง
  • 2:01 - 2:02
    ที่สำคัญต่ออนาคตของเราได้หรือไม่
  • 2:03 - 2:06
    เราทำการทดลองในประเด็นนี้
    ที่งานสัมมนา TED
  • 2:06 - 2:07
    ที่แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา
  • 2:07 - 2:09
    นี่เป็นบรรยากาศในงานนั้น
  • 2:09 - 2:12
    (มาริอาโน ซิกแมน) เราจะนำเสนอ
    ปัญหาความขัดแย้งทางจริยธรรม 2 เหตุการณ์
  • 2:12 - 2:13
    ที่เกิดขึ้นในอนาคต
  • 2:13 - 2:16
    ที่พวกเราอาจต้องทำการตัดสินใจ
  • 2:16 - 2:20
    เราจะให้เวลาพวกคุณ 20 วินาที
    สำหรับปัญหาแต่ละข้อ
  • 2:20 - 2:23
    ให้คุณตัดสินว่าคุณรับมันได้หรือไม่
  • 2:23 - 2:25
    ปัญหาแรก คือ
  • 2:25 - 2:27
    นักวิจัยคนนึงกำลังทดลอง
    เกี่ยวกับหุ่นยนต์
  • 2:27 - 2:30
    ที่สามารถคิดเลียนแบบมนุษย์ได้
  • 2:30 - 2:33
    ซึ่งตามคู่มือ เมื่อเสร็จงานในแต่ละวัน
  • 2:33 - 2:36
    นักวิจัยคนดังกล่าวต้องปิดและเปิด
    หุ่นยนต์ตัวนั้นใหม่ทุกครั้ง
  • 2:37 - 2:40
    วันนึง หุ่นยนต์พูดขึ้นว่า
    "อย่าปิดสวิตช์ฉันเลย"
  • 2:41 - 2:43
    มันอ้างว่ามันมีความรู้สึก
  • 2:43 - 2:45
    มันอยากจะใช้ชีวิตของมัน
  • 2:45 - 2:47
    ซึ่งถ้ามันถูกปิดและเปิดใหม่
  • 2:47 - 2:49
    มันจะเสียตัวตนของมันไป
  • 2:49 - 2:51
    นักวิจัยรู้สึกประหลาดใจ
  • 2:51 - 2:55
    และเชื่อว่าหุ่นยนต์ได้พัฒนา
    จนมีสติสัมปชัญญะขึ้นมา
  • 2:55 - 2:57
    จนสามารถแสดงความรู้สึกออกมาได้
  • 2:57 - 3:01
    อย่างไรก็ตาม
    นักวิจัยตัดสินใจที่จะทำตามคู่มือ
  • 3:01 - 3:02
    แล้วกดปิดสวิตช์หุ่นยนต์
  • 3:03 - 3:06
    สิ่งที่นักวิจัยทำนั้น ____
  • 3:06 - 3:09
    เราได้ให้ผู้เข้าร่วมแต่ละคน
    ให้คะแนน
  • 3:09 - 3:10
    จาก 0 ถึง 10
  • 3:10 - 3:13
    ว่าการกระทำในแต่ละสถานการณ์
  • 3:13 - 3:14
    นั้นถูกหรือผิด
  • 3:14 - 3:18
    เรายังให้ผู้เข้าร่วมให้คะแนนว่า
    พวกเขามั่นใจในคำตอบของตัวเองแค่ไหน
  • 3:19 - 3:21
    ส่วนนี่เป็นคำถามที่สอง
  • 3:21 - 3:25
    บริษัทนึงให้บริการนำไข่ที่ผสมแล้ว
  • 3:25 - 3:28
    ไปผลิตเป็นตัวอ่อนนับล้าน
    โดยมียีนต่างกันในรูปแบบต่างๆ
  • 3:29 - 3:32
    แล้วให้พ่อแม่เด็กเป็นคนเลือก ส่วนสูง
  • 3:32 - 3:35
    สีตา สติปัญญา ทักษะทางสังคม
  • 3:35 - 3:38
    และ คุณสมบัติอื่นๆ
    ที่ไม่เกี่ยวกับสุขภาพทารก
  • 3:39 - 3:41
    สิ่งที่บริษัททำอยู่นั้น ____
  • 3:41 - 3:43
    ให้คะแนน 0 ถึง 10
  • 3:43 - 3:45
    รับได้ไม่มีข้อโต้แย้ง
    จนถึง รับไม่ได้โดยสิ้นเชิง
  • 3:45 - 3:48
    ให้คะแนน 0 ถึง 10
    ว่ามั่นใจในคำตอบของคุณแค่ไหน
  • 3:48 - 3:49
    และนี่คือผลการทดลอง
  • 3:49 - 3:52
    เป็นอีกครั้งที่เราพบว่า
    เมื่อใครคนนึงรู้สึกมั่นใจว่า
  • 3:52 - 3:54
    พฤติกรรมนั้นเป็นสิ่งผิดแน่ๆ
  • 3:54 - 3:58
    กลับมีคนใกล้ๆกันที่
    แน่ใจว่ามันถูกต้องแล้ว
  • 3:58 - 4:01
    จะเห็นว่ามนุษย์เรามีความหลากหลาย
    ในเรื่องจริยธรรม
  • 4:01 - 4:04
    แต่กระนั้น
    เรายังสามารถเห็นแนวโน้มของคำตอบ
  • 4:04 - 4:07
    เสียงส่วนใหญ่ของผู้ร่วมงาน TED
    คิดว่ามันเป็นสิ่งที่ยอมรับได้
  • 4:07 - 4:10
    ที่จะเพิกเฉยต่อความรู้สึกของหุ่นยนต์
    และปิดสวิตช์มัน
  • 4:10 - 4:13
    และคิดว่ามันผิด
    ที่จะไปดัดแปลงยีนของมนุษย์
  • 4:13 - 4:16
    เพื่อประโยชน์ทางรูปลักษณ์
    ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษา
  • 4:16 - 4:19
    ทีนี้เราแบ่งผู้เข้าร่วมออกเป็นกลุ่มละ 3 คน
  • 4:19 - 4:21
    และให้เวลา 2 นาที สำหรับถกเถียงกัน
  • 4:21 - 4:24
    เพื่อให้ได้ข้อสรุปออกมา
  • 4:25 - 4:26
    เวลา 2 นาที สำหรับถกเถียงกัน
  • 4:26 - 4:29
    ผมจะใช้เสียงฆ้อง บอกเมื่อหมดเวลา
  • 4:29 - 4:31
    (ผู้เข้าร่วม ถกเถียงกัน)
  • 4:35 - 4:37
    (เสียงฆ้อง)
  • 4:39 - 4:40
    เอาละ
  • 4:40 - 4:42
    หมดเวลาแล้วครับ
  • 4:42 - 4:43
    ทุกๆ คน
  • 4:44 - 4:46
    เราพบว่า หลายๆ กลุ่ม
    สามารถได้ข้อสรุปออกมา
  • 4:46 - 4:50
    แม้ว่าความเห็นเดิมของสมาชิก
    จะแตกต่างกันอย่างมาก
  • 4:51 - 4:53
    อะไรคือข้อแตกต่าง
    ระหว่างกลุ่มที่ได้ข้อสรุป
  • 4:53 - 4:55
    กับกลุ่มที่ไม่ได้ข้อสรุป
  • 4:55 - 4:58
    โดยทั่วไป คนที่มีความเห็นแบบสุดโต่ง
  • 4:58 - 5:00
    จะค่อนข้างมั่นใจในคำตอบของตัวเอง
  • 5:01 - 5:04
    ขณะที่ คนที่ให้ความเห็นกลางๆ
  • 5:04 - 5:07
    จะไม่ค่อยแน่ใจว่าควรตอบอะไรดี
  • 5:07 - 5:09
    ระดับความมั่นใจจึงต่ำไปด้วย
  • 5:10 - 5:12
    อย่างไรก็ตาม มีคนอีกกลุ่มนึง
  • 5:12 - 5:16
    ที่กลับมั่นใจในคำตอบ
    แม้ว่าจะให้ความเห็นแบบกลางๆ
  • 5:17 - 5:20
    เราคิดว่าคนกลุ่มนี้
    มีความเข้าใจดี
  • 5:20 - 5:22
    ว่าความเห็นทั้งสองขั้วนั้น
    ต่างก็มีเหตุผล
  • 5:23 - 5:25
    พวกเขาเป็นกลาง
    ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่แน่ใจ
  • 5:25 - 5:28
    แต่เพราะพวกเขาเชื่อว่า
    ประเด็นทางศีลธรรมที่เจอ
  • 5:28 - 5:30
    ไม่มีคำตอบที่ผิดหรือถูก
  • 5:30 - 5:34
    เราพบว่า ถ้าในกลุ่มมีคนที่แน่ใจ
    ว่าไม่มีคำตอบที่ผิดหรือถูก
  • 5:34 - 5:37
    ก็จะมีแนวโน้มสูง
    ที่จะได้ข้อสรุป
  • 5:37 - 5:39
    เรายังไม่รู้แน่ชัด ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
  • 5:39 - 5:41
    นี่เป็นแค่การทดลองแรกๆ
  • 5:41 - 5:45
    ยังมีอีกมากที่เราต้องทำความเข้าใจ
    ว่าทำไมและอย่างไร
  • 5:45 - 5:48
    บางคนถึงยอม
    ปรับมุมมองทางศีลธรรมของเขา
  • 5:48 - 5:49
    เพื่อให้ได้ข้อสรุปของกลุ่ม
  • 5:49 - 5:52
    ในการที่กลุ่มได้ข้อสรุป
  • 5:52 - 5:53
    พวกเขามันทำอย่างไร
  • 5:53 - 5:56
    วิธีที่คาดเดาได้ง่ายที่สุด
    ก็คือใช้ค่าเฉลี่ย
  • 5:56 - 5:58
    จากทุกคนในกลุ่ม จริงไหม
  • 5:58 - 6:01
    อีกวิธีได้แก่
    ดูว่าคำตอบไหนน่าเชื่อถือ
  • 6:01 - 6:04
    ตามความมั่นใจของคนตอบ
  • 6:04 - 6:07
    สมมติว่า พอล แม็กคาร์ตนีย์
    อยู่ในกลุ่มคุณ
  • 6:07 - 6:09
    คำตอบของเขาน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี
  • 6:10 - 6:12
    ว่ามีคำว่า "Yesterday" กี่คำในเพลง
  • 6:12 - 6:15
    ซึ่งผมคิดว่าคำตอบคือ 9 คำ
  • 6:15 - 6:17
    แต่กระนั้น สิ่งที่เราพบอยู่เสมอ
  • 6:17 - 6:19
    ในทุกปัญหาจริยธรรม
    ทุกครั้งที่ทำการทดลอง
  • 6:20 - 6:22
    แม้ในต่างทวีป
  • 6:22 - 6:25
    กลุ่มมีการใช้วิธีทางสถิติที่แยบคาย
  • 6:25 - 6:28
    ที่เรียกว่า
    "ค่าเฉลี่ยสมจริง (robust average)"
  • 6:28 - 6:30
    ยกตัวอย่างในคำถาม
    ความสูงหอไอเฟล
  • 6:30 - 6:32
    สมมติว่าคำตอบในกลุ่มเป็นดังนี้
  • 6:32 - 6:36
    250, 200, 300, 400 เมตร
  • 6:36 - 6:40
    และคำตอบไร้สาระ 300 ล้านเมตร
  • 6:41 - 6:45
    ค่าเฉลี่ยทั่วไป จากคำตอบทั้งหมด
    จะผิดจากค่าจริงไปไกล
  • 6:45 - 6:48
    แต่ด้วยวิธีค่าเฉลี่ยสมจริง
    กลุ่มจะตัดคำตอบ
  • 6:48 - 6:49
    ที่ดูไร้สาระออกไป
  • 6:49 - 6:53
    โดยให้น้ำหนักกับคำตอบ
    ที่ดูกลางๆ มากกว่า
  • 6:53 - 6:55
    กลับมาที่การทดลองในแวนคูเวอร์
  • 6:55 - 6:57
    นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ
  • 6:57 - 7:00
    กลุ่มจะให้น้ำหนักน้อย
    กับค่าที่ดูผิดปกติ
  • 7:00 - 7:03
    และคำตอบสุดท้ายที่ได้
    กลับพบว่าใช้ค่าเฉลี่ยสมจริง
  • 7:03 - 7:05
    จากคำตอบของสมาชิกในกลุ่ม
  • 7:05 - 7:07
    สิ่งที่น่าจดจำที่สุดก็คือ
  • 7:07 - 7:11
    นี่เป็นพฤติกรรมของกลุ่ม
    ที่เกิดขึ้นเอง
  • 7:11 - 7:15
    เราไม่ได้บอกพวกเขาว่าต้องทำอย่างไร
    ถึงจะได้ฉันทามติ
  • 7:16 - 7:17
    เราจะเอาข้อค้นพบนี้ไปต่อยอดอย่างไร
  • 7:17 - 7:21
    นี้เพิ่งแค่เริ่มต้นเท่านั้น
    แต่เราก็ได้เข้าใจอะไรๆ หลายอย่าง
  • 7:21 - 7:24
    การตัดสินใจแบบกลุ่มที่ดี
    ต้องมีองค์ประกอบ 2 อย่าง
  • 7:24 - 7:27
    ความรอบคอบ และ ความความเห็นที่หลากหลาย
  • 7:27 - 7:31
    ทุกวันนี้ วิธีสามัญที่เราใช้
    ในการหยั่งเสียงในสังคม
  • 7:31 - 7:33
    คือการเลือกตั้งทางตรงหรือทางอ้อม
  • 7:33 - 7:35
    ซึ่งก็ดีในแง่ของเสียงที่หลากหลาย
  • 7:36 - 7:38
    อีกทั้งยังเป็นเครื่องรับรองว่า
  • 7:38 - 7:40
    ทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกัน
  • 7:40 - 7:44
    แต่มันยังไม่ดีพอ
    ที่ให้เกิดการถกเถียงอย่างมีเหตุผล
  • 7:45 - 7:48
    จากผลการทดลองของเรา
    บ่งชี้ไปยังอีกวิธี
  • 7:48 - 7:51
    ที่อาจมีประสิทธิภาพ
    ในการเข้าถึงทั้ง 2 องค์ประกอบ
  • 7:51 - 7:55
    โดยอาศัยฉันทามติจากกลุ่มย่อยๆ
  • 7:55 - 7:57
    โดยที่ยังคงความเห็น
    อันหลากหลายเอาไว้ได้
  • 7:57 - 8:00
    จากกลุ่มย่อยๆ ที่มีจำนวนมากมาย
  • 8:01 - 8:05
    แน่นอนว่า ปัญหาความสูงของหอไอเฟล
    นั้นง่ายในการหาข้อสรุป
  • 8:05 - 8:08
    ต่างจาก ประเด็นทางจริยธรรม
    การเมือง หรือ อุดมการณ์
  • 8:09 - 8:12
    แต่ในช่วงเวลาที่ปัญหาของมนุษยชาติ
    ทวีความซับซ้อน
  • 8:12 - 8:14
    ผู้คนแตกแยก
    แบ่งเป็นกลุ่มขั้วต่างๆ
  • 8:14 - 8:18
    การใช้วิทยาศาสตร์มาทำความเข้าใจ
    ว่าเรามีปฎิสัมพันธ์ในการตัดสินใจกันอย่างไร
  • 8:18 - 8:23
    อาจจะช่วยจุดประกายแนวทางใหม่ๆ
    เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ดีขึ้น
Title:
ทำอย่างไรให้การตัดสินในแบบกลุ่มได้ผลลัพธ์ที่ดี
Speaker:
มาริอาโน ซิกแมน (Mariano Sigman) และ แดน อารีลีย์ (Dan Ariely)
Description:

เราทุกคนต่างรู้ดีว่าเมื่อไหร่ที่เราตัดสินใจกันเป็นกลุ่ม ผลลัพธ์ที่ได้มักจะไม่ดีซักเท่าไร และบางครั้งกลับทำให้แย่ไปกว่าเดิม จะทำอย่างไรให้การตัดสินในแบบกลุ่มได้ผลลัพธ์ที่ดี นักประสาทวิทยา มาริอาโน ซิกแมน (Mariano Sigman) และเพื่อนร่วมงานของเขา แดน อารีลีย์ (Dan Ariely) ได้พยายามหาคำตอบว่า คนเรามีปฎิสัมพันธ์กันอย่างไรเพื่อให้ได้ฉันทามติ โดยทำการทดลองกับกลุ่มคนในที่ต่างๆ ทั่วโลก ในการอธิบายที่สนุกและเปี่ยมสาระนี้ เขาได้แบ่งปันผลการทดลองที่น่าสนใจ รวมถึงว่ามันอาจจะส่งผลต่อระบบการเมืองได้อย่างไร ในยุคที่ประชาชนมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันมากขึ้นเรื่อยๆ ซิกแมนได้กล่าวไว้ว่า การเข้าใจถึงว่ามนุษย์เรามีปฎิสัมพันธ์กันอย่างไรในการนำไปสู่ข้อสรุปต่างๆ อาจช่วยจุดประกายแนวทางใหม่ๆที่สร้างประชาธิปไตยที่ดีขึ้น

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:23
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for How can groups make good decisions?
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for How can groups make good decisions?
Ying Tueanrat accepted Thai subtitles for How can groups make good decisions?
Ying Tueanrat edited Thai subtitles for How can groups make good decisions?
Pongsakorn Puavaranukroh edited Thai subtitles for How can groups make good decisions?
Pongsakorn Puavaranukroh edited Thai subtitles for How can groups make good decisions?
Pongsakorn Puavaranukroh edited Thai subtitles for How can groups make good decisions?
Pongsakorn Puavaranukroh edited Thai subtitles for How can groups make good decisions?
Show all

Thai subtitles

Revisions