Return to Video

คุณเป็นผู้ให้ หรือผู้รับ

  • 0:01 - 0:03
    ผมอยากคุณมองไปรอบ ๆ ห้องสักหนึ่งนาที
  • 0:03 - 0:06
    และพยายามมองหาคนที่ดูขี้ระแวงที่สุดในห้อง
  • 0:06 - 0:07
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:07 - 0:09
    จากนั้นชี้ตัวคน ๆ นั้นให้ผมที
  • 0:09 - 0:10
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:10 - 0:12
    อย่าทำจริงนะครับ
  • 0:12 - 0:13
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:13 - 0:15
    แต่ในฐานะนักจิตวิทยาองค์กร
  • 0:15 - 0:17
    ผมใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในองค์กรหลายแห่ง
  • 0:17 - 0:19
    และพบคนขี้ระแวงอยู่ทุกที่
  • 0:20 - 0:22
    ความระแวงเกิดจากคนที่ผมเรียกว่า "ผู้รับ"
  • 0:22 - 0:24
    ผู้รับ คือคนเห็นแก่ตัวเมื่อมี
    ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • 0:24 - 0:26
    มีแต่ "คุณทำอะไรให้ฉันได้บ้าง"
  • 0:27 - 0:28
    ตรงกันข้าม คือ "ผู้ให้"
  • 0:28 - 0:31
    หรือผู้ที่มักถามผู้อื่นว่า
  • 0:31 - 0:32
    "ฉันทำอะไร
    ให้คุณได้บ้าง"
  • 0:33 - 0:35
    ผมอยากให้ทุกคนนึกถึง
    สไตล์ของคุณ
  • 0:35 - 0:37
    เราทุกคนล้วนมีช่วงเวลาที่เป็นผู้ให้และรับ
  • 0:38 - 0:40
    สไตล์ คือ วิธีการที่คุณปฏิบัติต่อ
    คนส่วนใหญ่โดยส่วนใหญ่
  • 0:40 - 0:42
    โหมดอัตโนมัติของคุณ
  • 0:42 - 0:43
    ผมมีแบบประเมินสั้น ๆ ให้คุณทำ
  • 0:43 - 0:45
    เพื่อดูว่าคุณมีความเป็นผู้ให้หรือผู้รับ
    มากกว่ากัน
  • 0:45 - 0:47
    และคุณสามารถลองทำได้เลยตอนนี้
  • 0:48 - 0:49
    [แบบทดสอบความหลงตัวเอง]
  • 0:49 - 0:52
    [ขั้นตอนที่ 1: ใช้เวลาไตร่ตรองตัวเอง]
  • 0:52 - 0:53
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:53 - 0:56
    [ขั้นตอนที่ 2: ถ้าทำถึงขั้นตอนที่ 2
    คุณไม่ใช่พวกหลงตัวเอง]
  • 0:56 - 0:57
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:58 - 1:02
    สิ่งที่ผมจะพูดต่อไปนี้จะเป็นสิ่งเดียว
    ที่พูดในวันนี้โดยไม่มีข้อมูลยืนยัน
  • 1:02 - 1:05
    แต่ผมเชื่อว่ายิ่งคุณใช้เวลากว่าจะหัวเราะ
    การ์ตูนนี้นานเท่าไหร่
  • 1:05 - 1:08
    ก็ยิ่งน่ากังวลมากขึ้นว่าคุณจะเป็นผู้รับ
  • 1:08 - 1:09
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:09 - 1:11
    แน่นอนว่าไม่ใช่ผู้รับทุกคน
    เป็นพวกหลงตัวเอง
  • 1:11 - 1:14
    บางคนเป็นเพียงผู้ให้
    ที่ถูกทำร้ายหลายต่อหลายครั้ง
  • 1:14 - 1:17
    แต่ก็มีผู้รับอีกประเภท
    ที่เราจะไม่พูดถึงในวันนี้
  • 1:17 - 1:19
    ซึ่งเราเรียกว่า พวกโรคจิต
  • 1:19 - 1:20
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:20 - 1:23
    แต่ผมเคยสงสัยว่าจะมีคนแต่ละประเภท
    อยู่เท่าไหร่
  • 1:23 - 1:26
    ผมเลยทำการสำรวจคนกว่า 30,000 คน
    จากหลากหลายอาชีพ
  • 1:26 - 1:28
    หลากหลายวัฒนธรรมทั่วโลก
  • 1:28 - 1:30
    และพบว่าคนส่วนใหญ่อยู่ตรงกลาง
  • 1:30 - 1:32
    ระหว่างการเป็นผู้ให้กับผู้รับ
  • 1:32 - 1:34
    พวกเขาเลือกแบบที่ 3
    ที่เรียกว่า ผู้แลกเปลี่ยน
  • 1:34 - 1:37
    ถ้าคุณอยู่กลุ่มนี้ คุณจะพยายาม
    บาลานซ์ระหว่างการให้และการรับ
  • 1:37 - 1:40
    หมูไปไก่มา ผมจะทำให้คุณถ้าคุณทำให้ผม
  • 1:40 - 1:42
    ซึ่งดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่ปลอดภัย
    ในการใช้ชีวิต
  • 1:42 - 1:46
    แต่มันเป็นวิธีที่ได้ผลและก่อให้เกิดผลดี
    ในการใช้ชีวิตรึเปล่า
  • 1:46 - 1:49
    คำตอบสำหรับคำถามนี้ชัดเจนมาก...
  • 1:49 - 1:50
    อาจจะครับ
  • 1:50 - 1:51
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:51 - 1:53
    ผมศึกษาองค์กรหลายแห่ง
  • 1:53 - 1:55
    และคนหลายพันคน
  • 1:55 - 1:58
    ผมให้วิศวกรวัดผลผลิตของพวกเขา
  • 1:58 - 2:01
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:01 - 2:04
    ผมศึกษาผลการเรียนของนักศึกษาแพทย์
  • 2:04 - 2:06
    และรายได้ของพนักงานขาย
  • 2:06 - 2:07
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:07 - 2:09
    และโดยไม่คาดคิด
  • 2:09 - 2:12
    ผมพบว่าคนที่ผลงานแย่ที่สุด
    ในแต่ละกลุ่ม คือ ผู้ให้
  • 2:13 - 2:15
    วิศวกรที่ทำงานเสร็จน้อยที่สุด
  • 2:15 - 2:17
    คือคนที่ช่วยเหลือคนอื่นมากกว่า
    การที่คนมาช่วยตอบแทน
  • 2:17 - 2:19
    พวกเขายุ่งอยู่กับการทำงานของคนอื่น
  • 2:20 - 2:23
    พวกเขาไม่มีเวลาและพลังงานที่จะทำงาน
    ของตัวเองให้เสร็จ
  • 2:23 - 2:25
    ในคณะแพทย์ ผลการเรียนที่ต่ำที่สุด
    เป็นของนักศึกษาแพทย์
  • 2:25 - 2:28
    ที่เห็นด้วยมากที่สุดกับข้อความอย่างเช่น
  • 2:28 - 2:30
    "ฉันชอบที่จะช่วยเหลือผู้อื่น"
  • 2:31 - 2:33
    ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเราควรไว้ใจหมอ
  • 2:33 - 2:36
    ที่มาเรียนเป็นหมอโดยไม่มีความต้องการ
    ที่จะช่วยใครเลย
  • 2:36 - 2:37
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:37 - 2:40
    ในการขายก็เช่นกัน
    รายได้ที่ต่ำที่สุดเป็นของ
  • 2:40 - 2:42
    เหล่าพนักงานขายที่ใจกว้างมากที่สุด
  • 2:42 - 2:44
    ผมติดต่อไปยังหนึ่งในพนักงานขายเหล่านั้น
  • 2:44 - 2:46
    เป็นคนที่ได้คะแนนผู้ให้สูงสุด
  • 2:46 - 2:48
    และถามเขาว่า "ทำไมคุณถึงห่วย
    ในอาชีพของคุณ?"
  • 2:48 - 2:50
    ผมไม่ได้ถามแบบนั้นจริง ๆ แต่...
  • 2:50 - 2:51
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:51 - 2:53
    "อะไรคือข้อเสียของความใจกว้างในการขาย"
  • 2:53 - 2:57
    และเขาตอบว่า "คือ ผมใส่ใจลูกค้าของผมมากๆ
  • 2:57 - 2:59
    ถึงขนาดที่ว่า
    ผมจะไม่มีวันขายของห่วยๆ ให้กับพวกเขา"
  • 2:59 - 3:01
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:01 - 3:02
    ผมอยากรู้จริง ๆ ว่า
  • 3:02 - 3:05
    คุณกี่คนที่ระบุตัวเองว่า
    เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับหรือผู้แลกเปลี่ยน
  • 3:05 - 3:06
    ยกมือขึ้นครับ
  • 3:07 - 3:10
    ครับ อาจจะมีมากกว่านี้
    ถ้าผมถามก่อนบอกข้อมูลเหล่านี้
  • 3:11 - 3:14
    แต่จริงๆ แล้ว
    มีเรื่องหักมุมตรงนี้ครับ
  • 3:14 - 3:17
    แม้ว่าผู้ให้มักจะเสียสละตัวเอง
  • 3:17 - 3:20
    แต่พวกเขาทำให้องค์กรดีขึ้น
  • 3:20 - 3:23
    มีหลักฐานมากมายครับ
  • 3:23 - 3:27
    มีงานวิจัยหลายต่อหลายชิ้น
    ที่ศึกษาความถี่ของพฤติกรรมของผู้ให้
  • 3:27 - 3:29
    ที่อยู่ในทีมหรือในองค์กร
  • 3:29 - 3:32
    และพบว่ายิ่งคนให้ความช่วยเหลือ
    และแบ่งปันความรู้
  • 3:32 - 3:33
    และให้คำแนะนำสอนงานมากเท่าไหร่
  • 3:33 - 3:36
    องค์กรจะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น
    ในทุกมิติที่เราศึกษา
  • 3:36 - 3:39
    ทั้งผลตอบแทนและความพึงพอใจ
    ของลูกค้าสูงขึ้น การรักษาบุคลากรดีขึ้น
  • 3:39 - 3:41
    แม้กระทั่งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง
  • 3:41 - 3:44
    ผู้ให้ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการช่วยผู้อื่น
  • 3:44 - 3:46
    พัฒนาทีมงาน
  • 3:46 - 3:48
    แล้วก็โชคไม่ดีที่พวกเขา
    จะต้องลำบากไปตลอดทาง
  • 3:48 - 3:50
    ผมอยากจะพูดถึงสิ่งที่ต้องทำ
  • 3:50 - 3:53
    เพื่อสร้างวัฒนธรรม
    ที่ช่วยให้เหล่าผู้ให้ประสบความสำเร็จ
  • 3:54 - 3:57
    ผมสงสัยว่าหากผู้ให้
    คือ ผู้ที่ทำงานแย่ที่สุด
  • 3:57 - 3:58
    แล้วใครคือผู้ที่ทำงานดีที่สุด
  • 3:59 - 4:02
    เริ่มที่ข่าวดีที่ว่า
    ไม่ใช่ผู้รับครับ
  • 4:02 - 4:06
    เหล่าผู้รับมักจะเติบโตอย่างรวดเร็ว
    แต่ตกต่ำอย่างรวดเร็วในเกือบทุก ๆ อาชีพ
  • 4:06 - 4:08
    และพวกเขาก็ตกต่ำด้วยน้ำมือของผู้แลกเปลี่ยน
  • 4:08 - 4:11
    ถ้าคุณเป็นผู้แลกเปลี่ยน คุณเชื่อเรื่องของ
    "ตาต่อตา" หรือโลกที่ยุติธรรม
  • 4:11 - 4:13
    และเมื่อเจอกับเหล่าผู้รับ
  • 4:13 - 4:15
    คุณจะรู้สึกเหมือนว่าเป็นหน้าที่ของคุณ
  • 4:15 - 4:17
    ที่จะลงโทษคนคนนั้นให้สาสม
  • 4:17 - 4:18
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:18 - 4:19
    เป็นทางเดียวที่จะ
    คืนความยุติธรรม
  • 4:20 - 4:22
    คนส่วนใหญ่เป็นผู้แลกเปลี่ยน
  • 4:22 - 4:24
    และหมายความว่าหากคุณเป็นผู้รับ
  • 4:24 - 4:26
    ในที่สุดผลการกระทำจะตามสนองคุณทัน
  • 4:26 - 4:27
    ทำอะไรก็ได้อย่างนั้น
  • 4:27 - 4:29
    ถ้าสรุปแบบมีเหตุมีผลก็คือ
  • 4:29 - 4:32
    ผู้ที่ทำงานได้ยอดเยี่ยม
    คือ เหล่าผู้แลกเปลี่ยน
  • 4:32 - 4:33
    แต่ก็ไม่ใช่อยู่ดี
  • 4:33 - 4:36
    ในทุกอาชีพ ในทุกองค์กร
    ที่ผมเคยศึกษามา
  • 4:36 - 4:38
    กลับเป็นเหล่าผู้ให้ อีกแล้วครับ
  • 4:40 - 4:43
    เรามาดูข้อมูลที่ผมรวบรวมจาก
    พนักงานขายหลายร้อยคน
  • 4:43 - 4:44
    ติดตามดูรายได้ของพวกเขา
  • 4:44 - 4:47
    จะเห็นได้ว่าเหล่าผู้ให้
    อยู่ทั้งสองกลุ่ม
  • 4:47 - 4:49
    พวกเขาอยู่ในกลุ่มคนส่วนใหญ่
    ที่มีรายได้น้อยที่สุด
  • 4:49 - 4:50
    และในกลุ่ม
    ที่มีรายได้มากที่สุด
  • 4:50 - 4:53
    เช่นเดียวกับผลการทำงาน
    ของเหล่าวิศวกร
  • 4:53 - 4:54
    และผลการเรียนนักศึกษาแพทย์
  • 4:54 - 4:58
    เหล่าผู้ให้อยู่กลุ่มที่ต่ำสุดและสูงสุด
  • 4:58 - 5:00
    ในทุกตัวชี้วัดความสำเร็จ
    ที่ผมสามารถวัดได้
  • 5:00 - 5:02
    สิ่งนี้นำมาซึ่งคำถามที่ว่า
  • 5:02 - 5:05
    เราจะสร้างโลกที่เหล่าผู้ให้
    ก้าวสู่ความเป็นเลิศขึ้นได้อย่างไร?
  • 5:05 - 5:08
    ผมอยากพูดถึงวิธีการ
    ที่ไม่จำกัดอยู่แค่ในวงการธุรกิจ
  • 5:08 - 5:10
    แต่ใช้ได้กับองค์กรไม่แสวงหากำไร
    โรงเรียน
  • 5:10 - 5:11
    หรือแม้กระทั่งภาครัฐ
  • 5:11 - 5:12
    คุณพร้อมรึยัง?
  • 5:12 - 5:13
    (เสียงเชียร์)
  • 5:13 - 5:16
    ยังไงผมก็จะพูดอยู่แล้ว
    แต่ขอบคุณที่เชียร์
  • 5:16 - 5:17
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:17 - 5:19
    สิ่งแรกที่สำคัญมาก ๆ คือ
  • 5:19 - 5:22
    การมองเห็นว่าเหล่าผู้ให้
    คือคนที่มีคุณค่ามากที่สุด
  • 5:22 - 5:24
    แต่ถ้าพวกเขาไม่ระวังพวกเขาก็จะหมดแรง
  • 5:25 - 5:27
    คุณจึงต้องคอยดูแลเหล่าผู้ให้
    ในที่ทำงานของคุณ
  • 5:27 - 5:31
    ผมเรียนรู้เรื่องที่สำคัญมากนี้จาก
    ผู้มีเครือข่ายดีที่สุด จากนิตยสาร Fortune
  • 5:33 - 5:34
    ผู้ชายนะครับ ไม่ใช่แมว
  • 5:34 - 5:36
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:36 - 5:37
    เขาชื่อ อดัม ริฟท์กิน
  • 5:37 - 5:40
    เขาเป็นเจ้าของธุรกิจจำนวนมาก
    ที่ประสบความสำเร็จ
  • 5:40 - 5:42
    เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการช่วยผู้อื่น
  • 5:42 - 5:45
    และเคล็ดลับของเขา คือ ความช่วยเหลือ 5 นาที
  • 5:45 - 5:48
    อดัมบอกว่า "คุณไม่ต้องเป็นแม่ชีเทเรซ่า
    หรือคานธี"
  • 5:48 - 5:49
    เพื่อเป็นผู้ให้
  • 5:49 - 5:51
    คุณแค่หาทางทำสิ่งเล็กน้อย
    เพื่อเพิ่มคุณค่าที่ยิ่งใหญ่
  • 5:51 - 5:53
    ให้กับชีวิตของผู้อื่น
  • 5:53 - 5:55
    อาจจะเป็นสิ่งง่าย ๆ เช่น
    การแนะนำ
  • 5:55 - 5:57
    ให้คนสองคนได้ประโยชน์
    จากการรู้จักกัน
  • 5:57 - 6:01
    อาจจะเป็นการแบ่งปันความรู้
    หรือให้ข้อมูลป้อนกลับ
  • 6:01 - 6:04
    หรือเป็นสิ่งธรรมดา ๆ เช่น การพูดว่า
  • 6:04 - 6:05
    "คุณรู้มั้ย
  • 6:05 - 6:06
    ผมจะลองดูว่า
  • 6:06 - 6:10
    ผมจะจำผู้ที่ไม่เคยมีใครมองเห็นงานของเขา
    ได้หรือไม่"
  • 6:10 - 6:13
    และการให้ความช่วยเหลือ 5 นาทีนั้นสำคัญมาก ๆ
  • 6:13 - 6:16
    ในการช่วยให้เหล่าผู้ให้กำหนดขอบเขต
    และปกป้องตัวเอง
  • 6:16 - 6:17
    สิ่งที่สองที่สำคัญ
  • 6:17 - 6:19
    ถ้าอยากสร้างวัฒนธรรม
    ช่วยผู้ให้สู่ความสำเร็จ
  • 6:19 - 6:22
    คือสร้างวัฒนธรรมที่
    การขอความช่วยเหลือเป็นเรื่องปกติ
  • 6:22 - 6:24
    ที่ผู้คนถามคำถามจำนวนมาก
  • 6:25 - 6:27
    นี่อาจจะแทงใจดำหลาย ๆ คนนิดหน่อย
  • 6:27 - 6:30
    [คุณต้องเป็นผู้ให้ตลอดเวลา
    ในทุกความสัมพันธ์เลยหรือ?]
  • 6:30 - 6:31
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:31 - 6:33
    สิ่งที่คุณเห็นในเหล่าผู้ให้
    ที่ประสบความสำเร็จ
  • 6:33 - 6:36
    คือพวกเขารู้ว่า
    การเป็นผู้รับเป็นเรื่องที่ยอมรับได้
  • 6:37 - 6:39
    ถ้าคุณบริหารองค์กร
    คุณสามารถทำให้มันง่ายขึ้นได้
  • 6:39 - 6:41
    อย่างเรื่องการขอความช่วยเหลือ
  • 6:41 - 6:43
    ผมและเพื่อนร่วมงาน
    ศึกษาโรงพยาบาลหลายแห่ง
  • 6:43 - 6:47
    เราพบว่าในบางชั้น
    พยาบาลขอความช่วยเหลือกันบ่อยครั้ง
  • 6:47 - 6:49
    และน้อยมากในชั้นอื่น ๆ
  • 6:49 - 6:53
    ปัจจัยที่โดดเด้งขึ้นมา
    ในชั้นที่การขอความช่วยเหลือเป็นเรื่องปกติ
  • 6:53 - 6:53
    เป็นบรรทัดฐาน
  • 6:53 - 6:56
    คือ การมีพยาบาลหนึ่งคนที่มีหน้าที่แค่
  • 6:56 - 6:59
    ช่วยพยาบาลคนอื่น ๆ ในหน่วยอย่างเดียว
  • 6:59 - 7:00
    เมื่อหน้าที่เอื้อ
  • 7:00 - 7:03
    พยาบาลกล่าวว่า "มันไม่น่าอาย
    ไม่อันตรายที่จะขอความช่วยเหลือ
  • 7:03 - 7:05
    มันกลับได้รับการสนับสนุน"
  • 7:06 - 7:09
    การขอความช่วยเหลือไม่ใช่แค่สำคัญต่อ
    การปกป้องความสำเร็จ
  • 7:09 - 7:11
    และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ให้
  • 7:11 - 7:13
    มันยังสำคัญและทำให้
    ผู้อื่นมีพฤติกรรมเป็นผู้ให้มากขึ้น
  • 7:13 - 7:15
    เพราะข้อมูลบอกเราว่า
  • 7:15 - 7:18
    การให้กว่าร้อยละ 75 ถึง 90 ในองค์กร
  • 7:18 - 7:19
    เริ่มจากการขอ
  • 7:20 - 7:21
    แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ขอ
  • 7:21 - 7:23
    เพราะไม่อยากถูกมองว่า
    ไม่มีความสามารถ
  • 7:23 - 7:26
    พวกเขาไม่รู้จะหันไปหาใคร
    พวกเขาไม่อยากเป็นภาระของใคร
  • 7:26 - 7:28
    แต่ถ้าไม่มีใครขอความช่วยเหลือ
  • 7:28 - 7:30
    คุณจะพบแต่ผู้ให้ที่หัวเสียจำนวนมาก
    ในองค์กร
  • 7:30 - 7:32
    ที่ชอบการเสนอตัวและให้ความช่วยเหลือ
  • 7:32 - 7:35
    ถ้าเพียงแค่พวกเขารู้ว่าการให้
    เป็นประโยชน์กับใคร อย่างไร
  • 7:35 - 7:37
    แต่ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุด
  • 7:37 - 7:40
    หากอยากสร้างวัฒนธรรม
    ของผู้ให้ที่ประสบความสำเร็จ
  • 7:40 - 7:43
    คือการรอบคอบเวลาที่คุณจะให้ใครเข้าทีม
  • 7:43 - 7:46
    ผมคิดว่า เมื่ออยากได้วัฒนธรรม
    ของความใจกว้างที่สร้างผลลัพธ์
  • 7:46 - 7:48
    คุณควรสรรหาผู้ให้จำนวนเยอะ ๆ
  • 7:48 - 7:51
    แต่ผมก็ต้องประหลาดใจเมื่อพบว่า
    จริง ๆ แล้วนั่นไม่ถูกต้อง
  • 7:52 - 7:54
    ว่าผลกระทบทางลบของ
    การมีผู้รับในองค์กรต่อวัฒนธรรม
  • 7:54 - 7:57
    มักรุนแรงเป็นสองถึงสามเท่าของ
    ผลกระทบทางบวกของการมีผู้ให้
  • 7:58 - 7:59
    ลองคิดดูนะครับ
  • 7:59 - 8:00
    ปลาเน่าตัวเดียว เหม็นไปทั้งข้อง
  • 8:00 - 8:03
    แต่ไข่ดีฟองเดียว
    ไม่ทำให้ได้ไข่ดีทั้งโหล
  • 8:04 - 8:05
    ผมไม่รู้ว่าคืออะไร
  • 8:05 - 8:06
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:06 - 8:08
    แต่ผมหวังว่าคุณจะเข้าใจ
  • 8:08 - 8:11
    แค่ลองให้ผู้รับเข้ามาในทีม
    เพียงแค่หนึ่งคน
  • 8:11 - 8:14
    และคุณก็จะเห็นว่า ผู้ให้ในทีม
    จะเลิกให้ความช่วยเหลือคนอื่น
  • 8:15 - 8:17
    พวกเขาจะพูดว่า "ฉันอยู่ท่ามกลาง
    เหล่าสิงสาราสัตว์
  • 8:17 - 8:18
    ทำไมฉันต้องช่วย?"
  • 8:19 - 8:20
    แต่ถ้ารับผู้ให้เข้ามาในทีม
    หนึ่งคน
  • 8:20 - 8:23
    คุณจะไม่เห็นความใจกว้าง
    ที่แผ่กระจายออกไป
  • 8:23 - 8:24
    โดยมาก คนจะพูดว่า
  • 8:24 - 8:26
    "เยี่ยม! เขาทำงานทั้งหมดได้"
  • 8:27 - 8:29
    การคัดเลือกที่มีประสิทธิภาพ
    และการสร้างทีม
  • 8:30 - 8:32
    จึงไม่ใช่การรับผู้ให้เข้ามา
  • 8:32 - 8:34
    แต่เป็นการกรองผู้ให้ออกไป
  • 8:35 - 8:36
    ถ้าคุณทำเช่นนั้นได้ดี
  • 8:36 - 8:37
    องค์กรจะมีแต่ผู้ให้
    และผู้แลกเปลี่ยน
  • 8:38 - 8:39
    ผู้ให้ก็จะใจกว้าง
  • 8:39 - 8:41
    เพราะไม่ต้องกังวลถึง
    ผลของการให้
  • 8:41 - 8:44
    และข้อดีของผู้แลกเปลี่ยน คือ
    พวกเขาทำตามบรรทัดฐาน
  • 8:45 - 8:48
    แล้วคุณจะตรวจจับผู้รับ
    ก่อนจะสายได้อย่างไร
  • 8:49 - 8:52
    เราไม่ค่อยเก่งเรื่องการมองหาเหล่าผู้รับ
  • 8:52 - 8:53
    โดยเฉพาะเมื่อแรกพบ
  • 8:53 - 8:55
    มีลักษณะบุคลิกภาพที่
    มักจะทำให้เราสับสน
  • 8:56 - 8:57
    นั่นคือ ความประนีประนอม
  • 8:57 - 9:00
    หนึ่งในบุคลิกภาพ
    ที่มีอยู่ทุกวัฒนธรรม
  • 9:00 - 9:03
    คนที่ประนีประนอมจะดูอบอุ่นและเป็นมิตร
    พวกเขาน่าคบ สุภาพ
  • 9:03 - 9:05
    คุณจะเจอพวกเขาได้เยอะในแคนาดา
  • 9:05 - 9:06
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:07 - 9:10
    ซึ่งเป็นที่ที่มีการประกวด
    ระดับชาติ
  • 9:10 - 9:12
    เพื่อเฟ้นหาคำขวัญของแคนาดา
    และเติมประโยคนี้สมบูรณ์
  • 9:12 - 9:15
    "เป็นชาวแคนาดาดั่ง..."
  • 9:15 - 9:16
    ผมว่าคำขวัญที่ชนะเลิศน่าจะเป็น
  • 9:16 - 9:18
    "เป็นชาวแดนาดาดั่งเมเปิลไซรัป"
    หรือ "...ดั่งฮอกกี้น้ำแข็ง"
  • 9:18 - 9:22
    แต่ไม่ครับ ชาวแคนาดาโหวตให้
    คำขวัญประจำชาติ คือ
  • 9:22 - 9:23
    ผมไม่ได้ล้อเล่น
  • 9:23 - 9:26
    "เป็นชาวแคนาดาให้ได้มากที่สุด
    ในทุกโอกาส"
  • 9:26 - 9:29
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:30 - 9:32
    สำหรับท่านที่เป็นคนประนีประนอมสูง
  • 9:32 - 9:33
    หรือไม่ก็มีเชื้อสายชาวแคนาดา
  • 9:33 - 9:35
    คุณจะเข้าใจทันที
  • 9:35 - 9:37
    ผมจะพูดได้อย่างไรว่าผมเป็นคนอย่างหนึ่ง
  • 9:37 - 9:40
    ในขณะที่ปรับตัวตลอดเวลา
    เพื่อเอาใจคนอื่น
  • 9:40 - 9:42
    คนที่ไม่ประนีประนอมจะไม่ค่อยทำแบบนั้น
  • 9:42 - 9:45
    พวกเขาจะโต้แย้ง
    ขี้สงสัย และท้าทาย
  • 9:45 - 9:48
    และมีแนวโน้มที่จะเรียนกฎหมาย
    มากกว่าคนอื่น
  • 9:48 - 9:49
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:49 - 9:51
    นั่นไม่ใช่มุข
    นั่นเป็นเรื่องจริง
  • 9:51 - 9:52
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:52 - 9:55
    ผมมักคิดว่า
    คนประนีประนอม คือ ผู้ให้
  • 9:55 - 9:58
    และคนไม่ประนีประนอม
    คือ ผู้รับ
  • 9:58 - 9:59
    แต่แล้วผมก็รวบรวมข้อมูล
  • 9:59 - 10:02
    และอึ้งเมื่อไม่พบ
    ความสัมพันธ์กันเลย
  • 10:02 - 10:05
    เพราะกลายเป็นว่า
    ความประนีประนอมหรือไม่นั้น
  • 10:05 - 10:06
    เป็นเพียงเปลือกนอก
  • 10:06 - 10:08
    หรือการพูดคุยกับคุณ
    น่าพึงใจเพียงใด
  • 10:08 - 10:10
    แต่การให้และการรับเป็นเรื่องของ
    แรงจูงใจภายใน
  • 10:10 - 10:13
    ค่านิมยมของคุณคืออะไร
    เจตนาของคุณต่อผู้อื่นคืออะไร
  • 10:13 - 10:15
    หากคุณอยากจะตัดสินผู้อื่นได้อย่างแม่นยำ
  • 10:15 - 10:19
    คุณต้องรอให้ถึงเวลาที่
    ผู้ให้คำปรึกษาทุกคนในห้องรอคอย
  • 10:19 - 10:20
    แล้ววาดตารางเมทริกซ์ 2X2
  • 10:20 - 10:24
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:25 - 10:28
    เรามักหาผู้ให้ที่ประนีประนอมเจอได้ง่าย
  • 10:28 - 10:31
    พวกเขาจะตอบรับคำขอทุกอย่าง
  • 10:32 - 10:34
    เรามักมองเห็นผู้รับที่ไม่ประนีประนอม
    ได้อย่างรวดเร็ว
  • 10:34 - 10:39
    แม้ว่าคุณอาจจะเรียกพวกเขาด้วยชื่อ
    ที่ค่อนข้างต่างออกไป
  • 10:40 - 10:42
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:42 - 10:44
    เรามักลืมคนอีกสองประเภท
  • 10:44 - 10:47
    เรามีผู้ให้ที่ไม่ประนีประนอมอยู่ในองค์กร
  • 10:47 - 10:49
    คนที่แข็งนอก
  • 10:49 - 10:52
    แต่ลึกๆ แล้วนึกถึงประโยชน์ของผู้อื่น
  • 10:53 - 10:54
    หรือที่วิศวกรเรียกว่า
  • 10:54 - 10:56
    "อ๋อ ผู้ให้ที่ไม่ประนีประนอม
  • 10:56 - 11:00
    เหมือนกับคนที่มี User Interface ที่แย่
    แต่มีระบบปฏิบัติการที่ยอดเยี่ยม
  • 11:00 - 11:01
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:01 - 11:03
    ถ้านั่นช่วยให้เข้าใจมากขึ้น
  • 11:03 - 11:04
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:04 - 11:07
    ผู้ให้ที่ไม่ประนีประนอม
    ถูกมองข้ามมากที่สุดในองค์กร
  • 11:07 - 11:10
    เพราะพวกเขาให้ข้อคิดเห็น
    ตรงไปตรงมา
  • 11:10 - 11:13
    ที่ไม่มีใครอยากได้ยิน
    แต่ทุกคนต้องฟัง
  • 11:13 - 11:15
    เราต้องทำให้ดีกว่านี้
    เพื่อเห็นค่าพวกเขา
  • 11:15 - 11:17
    มากกว่าที่จะปิดกั้นพวกเขาอย่างรวดเร็ว
  • 11:17 - 11:19
    และพูดว่า "แอ๊ น่ารำคาญ
  • 11:19 - 11:21
    ต้องเป็นพวกผู้รับที่เห็นแก่ตัวแน่"
  • 11:22 - 11:24
    อีกประเภทที่เรามักลืม
    ประเภทที่อันตรายที่สุด
  • 11:24 - 11:27
    นั่นคือ ผู้รับที่ประนีประนอม
    หรือพวกจอมปลอม
  • 11:28 - 11:30
    คนที่เป็นมิตรกับคุณเมื่ออยู่ต่อหน้า
  • 11:30 - 11:32
    และแทงข้างหลังเมื่อคุณเผลอ
  • 11:32 - 11:34
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:34 - 11:37
    ผมมีวิธีที่ชอบในการจับ
    คนพวกนี้ตอนสัมภาษณ์
  • 11:37 - 11:39
    คือ การถามคำถามว่า
  • 11:39 - 11:41
    "ขอให้คุณบอกชื่อคนสี่คน
  • 11:41 - 11:44
    ที่คุณได้ช่วยส่งเสริมให้
    เขาก้าวหน้าในงาน?"
  • 11:44 - 11:46
    ผู้รับจะบอกชื่อคนสี่คน
  • 11:46 - 11:49
    ที่มีอิทธิพลเหนือกว่าเขา
  • 11:49 - 11:52
    เพราะผู้ให้เก่งเรื่องประจบประแจง
    และสร้างความเสียหาย
  • 11:53 - 11:56
    ผู้ให้มักจะบอกชื่อคนที่อยู่ต่ำกว่าเขา
  • 11:56 - 11:58
    คนที่ไม่มีอำนาจเท่า
  • 11:58 - 11:59
    คนที่ไม่สามารถทำประโยชน์
    ให้ได้
  • 12:00 - 12:02
    พูดกันตรง ๆ ทุกคนรู้ว่า
    คุณเรียนรู้ลักษณะคน
  • 12:02 - 12:04
    ได้จากวิธีปฏิบัติต่อ
    พนักงานเสิร์ฟในร้านอาหาร
  • 12:04 - 12:05
    หรือคนขับรถ Uber
  • 12:07 - 12:08
    และถ้าเราทำได้
  • 12:08 - 12:10
    ถ้าเราสามารถสกัดผู้รับ
    ออกจากองค์กร
  • 12:10 - 12:13
    ถ้าเราทำให้การขอความช่วยเหลือ
    เป็นเรื่องปลอดภัย
  • 12:13 - 12:15
    ถ้าเราสามารถปกป้อง
    ผู้ให้จากการหมดแรง
  • 12:15 - 12:18
    และทำให้เป็นเรื่องโอเค
    หากพวกเขาจะมุ่งไปสู่เป้าหมายของตัวเอง
  • 12:18 - 12:20
    และช่วยเหลือคนอื่น
  • 12:20 - 12:23
    เราจะสามารถเปลี่ยนคำนิยามความสำเร็จ
  • 12:23 - 12:26
    แทนที่จะพูดว่า มันเป็นเรื่องของ
    การชนะในทุกสนาม
  • 12:26 - 12:30
    ทุกคนจะเริ่มตระหนักว่า
    ที่จริงความสำเร็จเป็นเรื่องของการช่วยเหลือ
  • 12:31 - 12:33
    ผมเชื่อว่า หนทางสู่ความสำเร็จ
    ที่มีความหมายที่สุด
  • 12:33 - 12:34
    คือการช่วยให้ผู้อื่นประสบความสำเร็จ
  • 12:35 - 12:36
    และหากเราส่งต่อความเชื่อนี้
  • 12:36 - 12:39
    เราจะสามารถเปลี่ยนความหวาดระแวง
    ไปอย่างสิ้นเชิง
  • 12:39 - 12:41
    ที่จริงมีคำเรียกนะครับ
  • 12:41 - 12:42
    เรียกว่า โพรนอยด์ (Pronoia)
  • 12:43 - 12:45
    หรือความหลงเชื่อว่า
  • 12:45 - 12:47
    คนอื่น ๆ อยากให้เรามีความสุข
  • 12:47 - 12:49
    (เสียงหัวเราะ)
  • 12:51 - 12:53
    ลับหลังเรา
  • 12:53 - 12:56
    พวกเขาพูดถึงแต่สิ่งดีงามเกี่ยวกับเรา
  • 12:57 - 13:01
    สิ่งที่ยิ่งใหญ่ในวัฒนธรรมของผู้ให้
    คือ นั่นไม่ใช่ภาพหลอน
  • 13:01 - 13:02
    แต่เป็นความจริง
  • 13:03 - 13:06
    ผมอยากอยู่ในโลกที่
    ผู้ให้ประสบความสำเร็จ
  • 13:06 - 13:08
    และหวังว่าคุณจะช่วยผม
    สร้างโลกแบบนั้นขึ้นมา
  • 13:09 - 13:10
    ขอบคุณครับ
  • 13:10 - 13:15
    (เสียงปรบมือ)
Title:
คุณเป็นผู้ให้ หรือผู้รับ
Speaker:
อดัม แกรนท์ (Adam Grant)
Description:

ทุกองค์กรจะมีคนอยู่สามประเภท ผู้ให้ ผู้รับ และผู้แลกเปลี่ยน อดัม แกรนท์ นักจิตวิทยาองค์กรวิเคราะห์คนสามประเภทนี้และแนะนำวิธีที่จะสร้างวัฒนธรรมของความใจกว้าง รวมไปถึงการป้องกันบุคลากรที่เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตนและกอบโกยจากผู้อื่นมากเกินควร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
13:28
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Are you a giver or a taker?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Are you a giver or a taker?
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Are you a giver or a taker?
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Are you a giver or a taker?
Sawitri Tiavonksombat edited Thai subtitles for Are you a giver or a taker?
Sawitri Tiavonksombat edited Thai subtitles for Are you a giver or a taker?
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for Are you a giver or a taker?
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for Are you a giver or a taker?
Show all

Thai subtitles

Revisions