Return to Video

วิธีง่าย ๆ ในการใช้ชีวิตของคนเป็นโรคพาร์คินสัน

  • 0:01 - 0:04
    ในอินเดีย พวกเรามีครอบครัวขนาดใหญ่มาก
  • 0:04 - 0:06
    ฉันขอพนันว่าพวกคุณทุกคน
    คงเคยได้ยินมาแบบนี้
  • 0:06 - 0:09
    ซึ่งนั่นหมายความว่าเราจะมี
    กิจกรรมในครอบครัวมากมาย
  • 0:10 - 0:14
    ดังนั้น เมื่อตอนฉันยังเด็ก พ่อแม่ของฉัน
    เคยพาฉันไปเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านั้น
  • 0:14 - 0:17
    แต่มีอยู่กิจกรรมหนึ่งที่ฉัน
    ตั้งหน้าตั้งตารอคอยอยู่เสมอ ๆ
  • 0:17 - 0:19
    คือการได้เล่นกับลูกพี่ลูกน้อง
  • 0:20 - 0:22
    และแทบจะทุกครั้ง จะมีคุณลุงคนหนึ่ง
  • 0:22 - 0:24
    คนที่เคยอยู่ในที่แห่งนั้น
  • 0:24 - 0:26
    ซึ่งพร้อมเสมอที่มาร่วมสนุกกับพวกเรา
  • 0:26 - 0:27
    และมีเกมส์ต่าง ๆ ให้เรา
  • 0:27 - 0:30
    ทำให้ช่วงเวลาในวัยเด็กของเรา
    มีความสุขที่สุด
  • 0:31 - 0:33
    ผู้ชายคนนี้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จมาก ๆ
  • 0:33 - 0:35
    เขาเป็นคนที่เข้มแข็งและไว้ใจได้
  • 0:36 - 0:40
    แต่หลังจากนั้น คุณลุงที่เคยแข็งแรง
    ก็ค่อย ๆ มีสุขภาพที่แย่ลง
  • 0:41 - 0:44
    เขาถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสัน
  • 0:45 - 0:49
    พาร์กินสันเป็นโรคที่เป็นเหตุให้
    ระบบประสาทเสื่อมลง
  • 0:49 - 0:52
    ซึ่งนั่นหมายความว่า
    คุณลุงผู้ซึ่งเคยมีชีวิตที่อิสระ
  • 0:52 - 0:57
    กลับต้องพบว่าการดื่มกาแฟ เป็นเรื่องที่ยาก
    เพราะร่างกายสั่นอยู่ตลอดเวลา
  • 0:58 - 1:00
    คุณลุงของฉันจึงเริ่มที่จะใช้เครื่องช่วยเดิน
  • 1:00 - 1:02
    รวมไปถึงช่วยในการหมุนตัว
  • 1:02 - 1:06
    เขาจะต้องค่อย ๆ เดินทีละขั้น แบบนี้
  • 1:06 - 1:07
    และต้องเป็นเช่นนี้ตลอดไป
  • 1:08 - 1:11
    ดังนั้น คุณลุงผู้ซึ่งเคยเป็น
    คนที่คนอื่นให้ความสนใจ
  • 1:11 - 1:13
    ในทุก ๆ ครั้งที่ครอบครัวรวมตัวกัน
  • 1:14 - 1:16
    กลับต้องไปหลบ ๆ ซ่อน ๆ
  • 1:16 - 1:20
    เขาพยายามที่จะหลบคนอื่น
    ที่มองเขาด้วยสายตาที่น่าสงสาร
  • 1:20 - 1:23
    และเขาไม่ได้เป็นคนเดียวที่เป็นโรคนี้
  • 1:23 - 1:29
    ทุก ๆ ปี จะมีคนถึง 60,000 คนที่ถูก
    วินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสัน
  • 1:29 - 1:31
    และมันก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  • 1:32 - 1:38
    ในฐานะนักออกแบบ พวกเรานึกฝันว่าสิ่งที่เรา
    ออกแบบจะช่วยแก้ปัญหาพวกนี้ได้
  • 1:38 - 1:41
    เราคิดว่าสิ่งนี้จะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด
  • 1:41 - 1:43
    แต่มันไม่จำเป็นเสมอไป
  • 1:44 - 1:46
    คุณสามารถเลือกที่จะตั้งเป้า
    ไปที่ปัญหาง่าย ๆ
  • 1:47 - 1:50
    และสร้างวิธีการแก้ปัญหาย่อยๆให้กับพวกเขา
    และในที่สุดมันก็จะสร้างแรงผลักดันครั้งใหญ่
  • 1:51 - 1:54
    ดังนั้น เป้าหมายที่ฉันมาอยู่ตรงนี้
    ไม่ใช่การรักษาคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน
  • 1:55 - 1:58
    แต่เป็นการทำให้เรื่องยาก ๆ
    ในชีวิตประจำวันของพวกเขาง่ายขึ้น
  • 1:58 - 1:59
    และสร้างให้เกิดแรงผลักดัน
  • 2:00 - 2:04
    เอาล่ะ สิ่งแรกที่เล็งไว้เป็นเรื่อง
    แรงสั่นจากร่างกาย
  • 2:04 - 2:09
    ลุงของฉันบอกว่าเขาเลิกดื่มกาแฟหรือชา
    ในที่สาธารณะ
  • 2:09 - 2:10
    เพียงเพราะแค่มันรู้สึกเขินอาย
  • 2:11 - 2:14
    โอเค ดังนั้น ฉันก็เลยสร้างถ้วย
    ที่ไม่หกขึ้นมา
  • 2:15 - 2:18
    มันทำงานง่าย ๆ ตามรูปทรงของมัน
  • 2:18 - 2:23
    ส่วนโค้งด้านบน จะช่วยให้น้ำ
    ไหลเบนกลับเข้าไปทุกครั้งที่มีแรงสั่น
  • 2:23 - 2:26
    และนี่จะช่วยให้น้ำไม่หก
    หากเทียบกับถ้วยปกติ
  • 2:27 - 2:32
    แต่สิ่งสำคัญที่สุดอยู่ตรงที่มันไม่เหมือน
    ของใช้สำหรับคนเป็นโรคพาร์กินสัน
  • 2:32 - 2:36
    มันดูเหมือนถ้วยปกติที่ใช้คุณก็ใช้ ฉันก็ใช้
    และคนซุ่มซ่ามก็ใช้
  • 2:36 - 2:40
    แต่มันทำให้พวกเขาใช้งานได้ง่ายขึ้น
    เพราะมันกลมกลืนกับถ้วยปกติ
  • 2:42 - 2:45
    เอาล่ะ แก้ไปได้ปัญหาหนึ่งแล้ว
  • 2:45 - 2:46
    ยังมีปัญหาอีกมากมาย
  • 2:47 - 2:49
    ตลอดที่ผ่านมา ฉันสัมภาษณ์เขา
  • 2:49 - 2:51
    ถามเขา
  • 2:51 - 2:54
    และฉันก็ได้แค่ข้อมูลเพียงผิวเผิน
  • 2:54 - 2:57
    หรือเพียงแค่ตอบคำถามของฉัน
  • 2:57 - 3:00
    แต่จริง ๆ ฉันอยากที่จะทุ่มเทเพื่อให้
    ได้มุมมองใหม่ ๆ มากกว่านี้
  • 3:01 - 3:05
    ฉันคิดแล้ว เลยคิดว่าจะไปสังเกต
    กิจวัตรประจำวันของเขา
  • 3:05 - 3:07
    ในขณะที่เขากินข้าว ในขณะที่เขากำลังดูทีวี
  • 3:08 - 3:12
    และหลังจากนั้น เมื่อตอนที่ฉันกำลังสังเกต
    เขาตอนที่กำลังเดินไปที่โต๊ะอาหาร
  • 3:12 - 3:17
    ทันใดนั้นฉันก็ฉุกคิดได้ว่า ผู้ชายคนนี้
    คนที่แค่เดินบนพื้นเรียบ ๆ ก็ยากแล้ว
  • 3:17 - 3:19
    เขาเดินขึ้นบันไดได้อย่างไร
  • 3:19 - 3:23
    เพราะในอินเดีย พวกเราไม่มีรอกเลื่อน
    ที่จะช่วยให้คุณขึ้นบันไดได้
  • 3:23 - 3:25
    เหมือนกับในประเทศที่พัฒนาแล้ว
  • 3:25 - 3:27
    แต่กับคน ๆ นี้ ที่ต้องมาเดินขึ้นลงบันได
  • 3:28 - 3:29
    ดังนั้น เขาจึงบอกฉันว่า
  • 3:29 - 3:31
    "โอเค เดี๋ยวผมจะขึ้นบันไดให้ดูว่าทำยังไง"
  • 3:32 - 3:34
    เรามาดูกันว่าฉันเห็นอะไร
  • 3:37 - 3:40
    เขาใช้เวลานานมากในการมายืนจุดนี้
  • 3:40 - 3:41
    และฉันก็คิดตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ว่า
  • 3:42 - 3:43
    "โอ้พระเจ้า นั่นเขาจะทำจริง ๆ ใช่ไหม"
  • 3:43 - 3:46
    "เขาจะเดินลงบันไดโดยที่ไม่ใช้เครื่อง
    ช่วยเดินจริง ๆใช่ไหม"
  • 3:46 - 3:48
    และหลังจากนั้น
  • 3:50 - 3:53
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:57 - 3:59
    และเขาก็หมุนตัวกลับ
    เขาทำมันได้อย่างง่ายดาย
  • 4:01 - 4:02
    พวกคุณตกใจใช่ไหม
  • 4:03 - 4:04
    ฉันก็เหมือนกัน
  • 4:07 - 4:10
    คนคนนี้ที่ไม่สามารถเดินบนพื้นเรียบ ๆ
  • 4:10 - 4:12
    กลับเป็นมืออาชีพในการเดินขึ้นลงบันไดได้
  • 4:14 - 4:18
    ในการวิจัยเรื่องนี้ ฉันคิดว่าเป็นเพราะ
    การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
  • 4:18 - 4:22
    ในขณะที่อีกหลาย ๆ คน
    ที่ประสบกับอาการเดียวกัน
  • 4:22 - 4:23
    กลับใช้เครื่องช่วยเดิน
  • 4:23 - 4:25
    ในจังหวะที่เขาทำมันเป็นกิจวัตร
  • 4:25 - 4:27
    อาการของเขาทั้งหมดได้หายไป
  • 4:27 - 4:29
    เพราะการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ
  • 4:30 - 4:34
    ดังนั้น หัวใจในการแก้ปัญหาสำหรับฉันคือการ
    พยายามแปลงความรู้สึกเวลาเดินบนบันได
  • 4:34 - 4:35
    ให้เหมือนเดินบนพื้นเรียบ
  • 4:36 - 4:39
    และฉันก็ได้ลองใช้แนวคิดมากมายทดสอบเขา
  • 4:39 - 4:42
    แต่สุดท้ายอันที่ได้ผลจริง ๆ เป็นอันนี้
    เรามาลองดูกัน
  • 4:45 - 4:48
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:49 - 4:53
    (เสียงปรบมือ)
  • 4:53 - 4:54
    เขาเดินเร็วขึ้นใช่ไหม
  • 4:54 - 4:58
    (เสียงปรบมือ)
  • 4:59 - 5:02
    ฉันเรียกสิ่งนี้ว่าบันไดลวงตา
  • 5:02 - 5:07
    และเมื่อบันไดลวงตานี้หมดระยะ
    เขาก็หยุดเหมือนเดิม
  • 5:07 - 5:09
    และนี่เรียกว่าการเดินติดขัด
  • 5:09 - 5:10
    และมันเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
  • 5:10 - 5:14
    ดังนั้น ทำไมเราไม่ทำบันไดลวงตา
    ให้กระจายทั่วห้อง
  • 5:14 - 5:16
    เพื่อทำให้พวกเขารู้สึก
    สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
  • 5:17 - 5:20
    คุณรู้ไหมว่าบางที เทคโนโลยี
    ก็ไม่ใช่คำตอบทุกเรื่อง
  • 5:20 - 5:23
    สิ่งที่เราต้องการคือ การยึดคน
    เป็นศูนย์กลางในการแก้ปัญหา
  • 5:23 - 5:25
    ฉันจะทำให้มันง่าย ๆ ก็ได้
    อย่างทำเป็นภาพฉาย
  • 5:25 - 5:27
    หรือใช้แว่นอัจฉริยะของกูเกิ้ล
    หรืออะไรประมาณนั้น
  • 5:28 - 5:30
    แต่ฉันคิดที่จะเลือกใช้
    การพิมพ์ภาพแปะบนพื้น
  • 5:30 - 5:33
    ภาพพิมพ์นี้สามารถเอาไปแปะ
    ในโรงพยาบาล
  • 5:33 - 5:36
    เพื่อที่ทำให้พวกเขารู้สึกยอมรับได้มากกว่า
  • 5:37 - 5:40
    สิ่งที่ฉันต้องการคือ ทำให้ทุก ๆ วันของ
    ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน
  • 5:40 - 5:42
    มีความรู้สึกเหมือนกับลุงของฉันในวันนั้น
  • 5:42 - 5:46
    เขาบอกฉันว่า ฉันทำให้เขารู้สึกเหมือนเป็น
    ตัวเขาคนเดิมที่เคยเป็น
  • 5:47 - 5:51
    คำว่า "ฉลาดปราดเปรื่อง" ในโลกปัจจุบัน
    มีความหมายเหมือนกับความไฮเทค ก้าวหน้า
  • 5:52 - 5:55
    และโลกนี้ก็กำลังจะก้าวหน้า ฉลาดขึ้น
    ล้ำหน้าไปทุก ๆวัน
  • 5:56 - 5:59
    แต่ทำไมเรา ถึงไม่ฉลาดเลือกที่จะใช้บางสิ่ง
    ที่มันง่าย ๆ แต่มีประสิทธิภาพสูง
  • 6:00 - 6:04
    สิ่งที่เราต้องการคือการเอาใจใส่แค่เล็กน้อย
    และความอยากรู้อยากเห็นบางสิ่ง
  • 6:04 - 6:07
    ที่จะออกไปพบปะ ไปสังเกต
  • 6:07 - 6:08
    แต่ไม่ใช่หยุดเพียงแค่นั้น
  • 6:09 - 6:12
    เราควรที่จะค้นหาปัญหาที่ซับซ้อน
    อย่ากลัวที่จะเข้าหามัน
  • 6:12 - 6:16
    แยกมัน ทำให้ปัญหามันง่ายลง
    เป็นเพียงปัญหาเล็ก ๆ
  • 6:16 - 6:18
    และหาวิธีง่าย ๆ สำหรับมัน
  • 6:18 - 6:21
    ทดสอบมัน อาจล้มเหลวได้ถ้าจำเป็น
  • 6:21 - 6:24
    แต่ขอให้ได้ความรู้แจ้ง
    ที่จะทำให้มันดีขึ้น
  • 6:24 - 6:28
    ลองนึกเล่น ๆ ว่าเราทุกคนจะทำอะไรได้บ้าง
    หากเราคิดขึ้นมาได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ
  • 6:29 - 6:32
    โลกของเราจะเป็นอย่างไร หากเราเชื่อมโยง
    ความคิดที่ง่าย ๆ ของเราได้ทั้งหมด
  • 6:33 - 6:36
    มาช่วยกันสร้างโลกที่ฉลาดขึ้น
    แต่ใช้วิธีการเรียบง่าย
  • 6:36 - 6:37
    ขอบคุณค่ะ
  • 6:37 - 6:40
    (เสียงปรบมือ)
Title:
วิธีง่าย ๆ ในการใช้ชีวิตของคนเป็นโรคพาร์คินสัน
Speaker:
มิลีฮา โซนจิ (Mileha Soneji)
Description:

วิธีการแก้ไขง่าย ๆ จะดีที่สุดเสมอ แม้ว่าการเผชิญหน้ากับบางอย่างที่สลับซับซ้อนอย่างโรคพาร์คินสัน ในการพูดที่สร้างแรงจูงใจ มิลิฮา โซนจิ ได้แบ่งปันวิธีการออกแบบที่ใช้งานได้จริง ทำให้กิจวัตรประจำวันของคนป่วยด้วยโรคพาร์คินสันใช้ชีวิตที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม "เทคโนโลยีไม่ใช่ทุกอย่าง" เธอบอก "แต่สิ่งที่เราต้องการคือมนุษย์เป็นศูนย์กลางของการแก้ปัญหา"

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
06:57

Thai subtitles

Revisions