Return to Video

การเป็นพ่อแม่เด็ก ๆ ในเขตสงครามนั้นเป็นเช่นไร

  • 0:01 - 0:06
    ผู้คนทั่วโลกกว่า 1.5 พันล้านคน
    ประสบกับความขัดแย้งด้วยอาวุธ
  • 0:07 - 0:10
    ด้วยเหตุนี้
    ผู้คนจึงถูกบีบให้ลี้ภัยจากประเทศตัวเอง
  • 0:10 - 0:13
    ทำให้เกิดผู้อพยพมากกว่า 15 ล้านคน
  • 0:14 - 0:15
    ส่วนเด็ก ๆ แน่นอนว่า
  • 0:15 - 0:17
    เป็นผู้บริสุทธิ์และเหยื่ออันแสนเปราะบาง
  • 0:19 - 0:21
    แต่มิใช่แค่เพียง
    ภัยคุกคามทางกายภาพที่เด่นชัดเท่านั้น
  • 0:21 - 0:25
    บ่อยครั้งที่ภัยเงียบจากสงคราม
    ส่งผลต่อครอบครัวเด็ก ๆ
  • 0:26 - 0:29
    การผ่านประสบการณ์สงคราม
    ทำให้เด็ก ๆ ตกอยู่ในความเสี่ยงสูง
  • 0:30 - 0:32
    ที่จะมีปัญหาพัฒนาการทางอารมณ์
    และพฤติกรรม
  • 0:34 - 0:36
    ซึ่งเราทำได้เพียงนึกภาพ ว่าเด็กเหล่านี้
  • 0:36 - 0:38
    คงจะรู้สึกอกสั่นขวัญแขวน ถูกคุกคาม
    และตกอยู่ในความเสี่ยง
  • 0:39 - 0:40
    แต่ก็ยังมีข่าวดีอยู่บ้าง
  • 0:40 - 0:44
    คุณภาพของความเอาใจใส่ที่เด็ก ๆ ได้รับ
    จากครอบครัวของพวกเขา
  • 0:44 - 0:48
    จะส่งผลต่อสุขภาวะของเด็ก ๆ
    อย่างมีนัยยะสำคัญ
  • 0:48 - 0:51
    มากยิ่งกว่าประสบการณ์จริงจากสงคราม
    ที่เด็ก ๆ ต้องพบเจอเสียอีก
  • 0:52 - 0:55
    ดังนั้น เราจึงสามารถปกป้องเด็ก ๆ ได้
  • 0:55 - 1:00
    ด้วยอุ่นไอรัก ด้วยการอุ้มชูที่ให้ที่พึ่งทางใจ
    ทั้งในระหว่างและภายหลังภัยขัดแย้ง
  • 1:02 - 1:05
    เมื่อ ปี ค.ศ. 2011
    ฉันเป็นนักศึกษาปริญญาเอกปีแรก
  • 1:05 - 1:08
    ในสถาบันวิทยาศาสตร์จิตวิทยา
    แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
  • 1:09 - 1:10
    เช่นเดียวกับทุกท่าน ณ ที่แห่งนี้
  • 1:11 - 1:14
    ฉันได้ดูข่าววิกฤตการณ์ในซีเรีย
    ที่ปรากฏต่อหน้าจากโทรทัศน์
  • 1:15 - 1:17
    ครอบครัวฉันเองก็มีถิ่นฐานมาจากซีเรีย
  • 1:17 - 1:18
    และในช่วงแรก ๆ นั้น
  • 1:18 - 1:21
    ฉันต้องสูญเสียสมาชิกครอบครัวหลายคน
    ไปอย่างน่าใจหาย
  • 1:22 - 1:24
    ทั้งฉันและครอบครัวต่างมานั่งดูทีวีร่วมกัน
  • 1:25 - 1:27
    เราทุกคนต่างเคยเห็นภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
  • 1:27 - 1:29
    ระเบิดทำลายล้างตึกรามบ้านช่อง
  • 1:29 - 1:30
    ความโกลาหล ความเสียหาย
  • 1:31 - 1:33
    ผู้คนต่างกรีดร้องและวิ่งหนี
  • 1:33 - 1:37
    ภาพที่ผู้คนร้องโหยหวนและวิ่งหนีนั้น
    เป็นสิ่งที่ทำให้ฉันปวดใจที่สุดเสมอ
  • 1:37 - 1:40
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    ภาพเด็ก ๆ ที่แลดูหวาดผวา
  • 1:41 - 1:45
    ตัวฉันก็เป็นคุณแม่ลูกสองที่มีความอยากรู้
    อยากเห็นตามประสาเด็กทั่วไป
  • 1:45 - 1:47
    ในเวลานั้นเขาทั้งสองมีอายุ 5 และ 6 ขวบ
  • 1:47 - 1:50
    เป็นช่วงอายุที่เด็ก ๆ มักจะชอบถามคำถามมากมาย
  • 1:50 - 1:52
    และหวังจะได้รับคำตอบที่แท้จริงและน่าเชื่อถือ
  • 1:53 - 1:56
    ฉันจึงเริ่มสงสัยว่า จะเป็นอย่างไรนะ
  • 1:56 - 1:59
    หากฉันต้องดูแลลูกในเขตสงคราม
    และค่ายผู้ลี้ภัย
  • 2:00 - 2:02
    ลูก ๆ ของฉันจะเปลี่ยนไปไหม
  • 2:03 - 2:06
    นัยน์ตาอันสดใสและมีความสุขของลูกสาวฉัน
    จะจางหายไปไหม
  • 2:07 - 2:12
    ลักษณะนิสัยสบาย ๆ และไร้กังวลของลูกชาย
    จะกลายเป็นหวาดกลัวและเก็บตัวไหม
  • 2:13 - 2:14
    ฉันจะรับมือได้อย่างไร
  • 2:15 - 2:17
    แล้วตัวฉันจะเปลี่ยนไปไหม
  • 2:19 - 2:21
    ในฐานะที่ฉันเป็นนักจิตวิทยา
    และผู้สอนการเลี้ยงดูบุตร
  • 2:21 - 2:25
    เรารู้ว่าการฝึกให้ผู้ปกครอง
    มีทักษะการเลี้ยงดูบุตรที่ดี
  • 2:25 - 2:27
    สามารถส่งผลต่อสุขภาวะของเด็ก ๆ
    อย่างมากมายเหลือคณานับ
  • 2:28 - 2:30
    เราเรียกสิ่งนี้ว่าการฝึกฝนการเลี้ยงดู
  • 2:31 - 2:33
    คำถามที่ฉันเคยคิดถึงก็คือ
  • 2:33 - 2:36
    โปรแกรมการฝึกฝนการเลี้ยงดู
    จะเป็นประโยชน์ต่อครอบครัว
  • 2:36 - 2:39
    ในขณะที่พวกเขายังอยู่ในเขตสงคราม
    หรือค่ายผู้ลี้ภัยได้หรือไม่
  • 2:39 - 2:42
    เราจะสามารถนำคำแนะนำและการฝึก
    ให้เข้าไปถึงพวกเขาได้หรือไม่
  • 2:42 - 2:44
    อันจะสามารถช่วยให้ผ่านความยากลำบากนี้ไปได้
  • 2:46 - 2:49
    ฉันจึงเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก
  • 2:49 - 2:50
    ศาสตราจารย์เรเชล คาแลม
  • 2:50 - 2:54
    ด้วยแนวคิดที่จะใช้ความรู้ทางวิชาการ
    เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกแห่งความเป็นจริง
  • 2:55 - 2:57
    ในตอนนั้นฉันเองก็ยังไม่แน่ใจนัก
    ว่าต้องการทำอะไร
  • 2:58 - 3:00
    เธอฟังฉันอย่างตั้งใจและใจเย็น
  • 3:00 - 3:01
    แล้วฉันก็ดีใจ เมื่อเธอพูดว่า
  • 3:02 - 3:04
    "หากนั่นคือสิ่งที่คุณอยากทำ
    และถ้ามันมีความหมายมากสำหรับคุณ
  • 3:04 - 3:06
    เช่นนั้นก็ลงมือทำมันเลยสิ
  • 3:06 - 3:09
    มาหาคำตอบกันว่าโปรแกรมฝึกการเลี้ยงดู
  • 3:09 - 3:11
    จะเป็นประโยชน์แก่ครอบครัว
    ในสถานการณ์เช่นนี้ไหม"
  • 3:12 - 3:15
    ฉะนั้น จากห้าปีที่ผ่านมา
    ทั้งตัวฉันและเพื่อนร่วมงาน
  • 3:15 - 3:17
    อย่างศาสตราจารย์คาแลม
    และดร.คิม คาร์ทไรท์
  • 3:17 - 3:20
    ได้ร่วมกันทำงาน
    เพื่อช่วยเหลือครอบครัวเหล่านี้
  • 3:20 - 3:22
    ที่ต้องมาพานพบกับสงคราม
    และการพลัดพรากถิ่นฐาน
  • 3:24 - 3:27
    ฉะนั้น การที่จะรู้ว่าเราจะช่วยเหลือครอบครัว
    ที่ต้องเผชิญกับภัยขัดแย้งได้อย่างไร
  • 3:27 - 3:28
    จะประคับประคองเด็ก ๆ อย่างไร
  • 3:28 - 3:32
    ขั้นแรกคือการถามพวกเขาตรง ๆ
    ว่ากำลังมีปัญหาเรื่องอะไร
  • 3:32 - 3:33
    ใช่ไหมล่ะคะ
  • 3:34 - 3:35
    เข้าใจว่ามันอาจจะดูตรงไปหน่อย
  • 3:35 - 3:37
    แต่บ่อยครั้งที่คนที่เปราะบางมากที่สุด
  • 3:37 - 3:39
    ก็คือกลุ่มคนที่เราพยายามจะช่วยเหลือ
  • 3:39 - 3:40
    แต่เรากลับไม่ถามอย่างจริงจัง
  • 3:40 - 3:43
    กี่ครั้งแล้ว ที่เราทึกทักกันไปเอง
    ว่าเรารู้เรื่องจริง
  • 3:43 - 3:47
    แล้วเข้าไปช่วยเหลือพวกเขา
    โดยเราไม่ปริปากถามก่อน
  • 3:47 - 3:51
    ฉะนั้น ฉันจึงเดินทางไปค่ายผู้ลี้ภัย
    ทั้งในซีเรียและตุรกี
  • 3:51 - 3:53
    ฉันนั่งลงและรับฟังปัญหาของพวกเขา
  • 3:54 - 3:57
    ฉันรับฟังอุปสรรคในการเลี้ยงดู
  • 3:57 - 3:59
    รับฟังความยากลำบากในการเลี้ยงดู
  • 3:59 - 4:01
    และรับฟังคำร้องขอความช่วยเหลือ
  • 4:02 - 4:04
    และบางที ทุกอย่างก็ต้องชะงัก
  • 4:04 - 4:06
    เพราะฉันทำได้เพียงแค่กุมมือพวกเขาไว้
  • 4:06 - 4:08
    ร่วมร้องไห้อย่างเงียบ ๆ
    และสวดภาวนาไปพร้อมกัน
  • 4:09 - 4:11
    พวกเขาเล่าถึงความยากลำบากให้ฉันฟัง
  • 4:11 - 4:15
    พวกเขาเล่าถึงเงื่อนไขยุ่งยากในค่ายผู้ลี้ภัย
  • 4:15 - 4:18
    ที่ทำให้ไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้สักอย่าง
    เว้นแต่งานง่าย ๆ
  • 4:18 - 4:20
    เช่น การกักตุนน้ำสะอาด
  • 4:21 - 4:23
    พวกเขาบอกฉันว่า
    เขาต้องทนเฝ้ามองลูก ๆ นั่งเก็บตัว
  • 4:24 - 4:27
    จมปลักไปกับความโศกเศร้า, หดหู่, โกรธแค้น
  • 4:27 - 4:30
    ฉี่รดที่นอน, ดูดนิ้ว, หวาดกลัวเสียงดัง
  • 4:30 - 4:32
    หวาดกลัวต่อฝันร้าย
  • 4:32 - 4:34
    ฝันร้ายอันน่าประหวั่นพรั่นพรึง
  • 4:35 - 4:39
    ครอบครัวเหล่านี้ต้องประสบชะตากรรม
    เหมือนเช่นที่เราเห็นกันในโทรทัศน์
  • 4:39 - 4:40
    ตัวผู้เป็นแม่
  • 4:40 - 4:43
    ที่กลายเป็นหม้ายมีจำนวนเกือบครึ่ง
  • 4:43 - 4:45
    หรือไม่รู้กระทั่งว่าสามีเป็นหรือตาย
  • 4:45 - 4:48
    พยายามอธิบายถึงความรู้สึกอันเลวร้าย
    ว่าพวกเธอรับมือกับมันยากเย็นเพียงใด
  • 4:49 - 4:54
    พวกเธอเฝ้ามองเด็ก ๆ เปลี่ยนไป
    และไม่รู้จะช่วยเหลืออย่างไร
  • 4:54 - 4:57
    ไม่รู้จะตอบคำถามที่ลูก ๆ เพียรถามอย่างไร
  • 4:57 - 5:01
    แต่สิ่งที่ฉันพบว่าช่างน่าอัศจรรย์
    และก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจ
  • 5:01 - 5:06
    คือ การที่ครอบครัวเหล่านี้
    มีกำลังใจที่จะช่วยลูก ๆ มากเหลือเกิน
  • 5:06 - 5:08
    แม้ว่าจะต้องพบกับอุปสรรคทั้งหมดนี้
  • 5:08 - 5:10
    พวกเขาก็คอยช่วยเหลือลูก ๆ ของเขา
  • 5:10 - 5:14
    พวกเขาพยายามขอความช่วยเหลือ
    เหล่าผู้ที่ทำงานใน NGO
  • 5:14 - 5:16
    จากครูในค่ายผู้ลี้ภัย
  • 5:16 - 5:17
    หน่วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • 5:17 - 5:18
    พ่อแม่ครอบครัวอื่น ๆ
  • 5:19 - 5:22
    ฉันเจอคุณแม่ท่านหนึ่ง
    ที่เพิ่งมาอยู่ในค่ายได้เพียง 4 วัน
  • 5:22 - 5:24
    แต่ได้พยายามถึง 2 หน
  • 5:24 - 5:26
    ในการขอความช่วยเหลือ
    ให้ลูกสาวตัวน้อยวัย 8 ขวบ
  • 5:26 - 5:28
    ผู้ที่ตกอยู่ในห้วงฝันร้าย
  • 5:30 - 5:33
    แต่น่าเศร้า ที่ความพยายามเหล่านี้
    มักจะไร้ประโยชน์เสียส่วนใหญ่
  • 5:34 - 5:36
    เมื่อใดที่มีคณะแพทย์มาค่ายผู้ลี้ภัย
  • 5:36 - 5:38
    ก็จะยุ่งอยู่ตลอดเวลาเสมอ
  • 5:38 - 5:42
    หรือไม่มีความรู้ และเวลา
    ในการช่วยเหลือการเลี้ยงดูขั้นพื้นฐาน
  • 5:42 - 5:45
    คุณครูและพ่อแม่คนอื่น ๆ
    ในค่ายผู้ลี้ภัยก็เช่นเดียวกัน
  • 5:46 - 5:50
    ส่วนหนึ่งของชุมชนผู้ลี้ภัยหน้าใหม่
    ที่กำลังต่อสู้เพื่อความจำเป็นใหม่ ๆ
  • 5:51 - 5:53
    ฉะนั้น เราจึงเริ่มคิดหาทาง
  • 5:54 - 5:56
    ว่าเราจะช่วยพวกเขาได้อย่างไร
  • 5:57 - 6:01
    ผู้ที่กำลังต่อสู้กับสิ่งที่หนักเกินจะรับไหว
  • 6:01 - 6:03
    วิกฤตการณ์ซีเรียครั้งนี้ชี้ชัดแล้วว่า
  • 6:03 - 6:08
    มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเข้าช่วยเหลือ
    ครอบครัวเหล่านี้ในระดับปัจเจกบุคคล
  • 6:08 - 6:10
    เราจะช่วยพวกเขาอย่างไรได้อีก
  • 6:10 - 6:14
    เราจะเข้าถึงพวกเขาในระดับประชากร
  • 6:14 - 6:16
    และมีค่าใช้จ่ายน้อย
  • 6:17 - 6:20
    ในช่วงเวลาอันน่าสะพรึงกลัวเช่นนี้ได้อย่างไร
  • 6:21 - 6:23
    หลังจากที่ใช้เวลาพูดคุยกับผู้ทำงานใน NGO
  • 6:23 - 6:26
    หนึ่งในนั้น ได้แนะนำไอเดียอันแสนบรรเจิด
  • 6:26 - 6:31
    ในการแจกใบปลิวความรู้การเลี้ยงดูบุตร
    ผ่านกระดาษห่อขนมปัง
  • 6:31 - 6:35
    กระดาษห่อขนมปังที่จะถูกส่งไปให้
    ครอบครัวในพื้นที่ขัดแย้งของซีเรีย
  • 6:35 - 6:37
    โดยผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม
  • 6:37 - 6:39
    นั่นคือสิ่งที่เราได้ทำไปค่ะ
  • 6:39 - 6:42
    กระดาษห่อขนมปังนั้น
    ไม่ได้ถูกดัดแปลงรูปโฉมแต่อย่างใด
  • 6:42 - 6:44
    ที่เพิ่มมามีเพียงกระดาษอีกสองแผ่น
  • 6:45 - 6:50
    แผ่นแรก คือใบข้อมูล
    และคำแนะนำขั้นพื้นฐานในการเลี้ยงดูบุตร
  • 6:50 - 6:53
    ที่จะช่วยให้สิ่งที่ผู้เป็นพ่อแม่อาจต้องเจอ
  • 6:53 - 6:55
    และสิ่งที่ลูก ๆ ของพวกเขาอาจต้องเจอ
    กลับสู่สภาวะปกติ
  • 6:55 - 6:59
    และข้อมูลวิธีในการช่วยเหลือตนเอง
    และลูก ๆ
  • 6:59 - 7:03
    เช่นข้อมูลในการใช้เวลาพูดคุยกับลูก ๆ
  • 7:03 - 7:05
    แสดงออกถึงความรักให้มากขึ้น
  • 7:05 - 7:07
    และใจเย็นกับลูก ๆ ให้มากขึ้น
  • 7:07 - 7:09
    ยามที่พูดคุยกับพวกเขา
  • 7:09 - 7:12
    ส่วนกระดาษอีกแผ่น คือ
    แบบสอบถามข้อเสนอแนะ
  • 7:12 - 7:14
    แน่นอนว่ามีปากกาแนบไปด้วยค่ะ
  • 7:14 - 7:18
    ฉะนั้น การแจกจ่ายใบปลิวอันเรียบง่ายนี้
  • 7:18 - 7:21
    หรือนี่จะเป็นวิถีทางที่เป็นไปได้
    ในการส่งมอบการปฐมพยาบาลด้านจิตใจ
  • 7:22 - 7:25
    ที่มอบความอบอุ่น ความปลอดภัย
    และการเลี้ยงดูที่เปี่ยมไปด้วยรักกันแน่นะ
  • 7:25 - 7:29
    เพียงสัปดาห์เดียว เราสามารถแจก
    ใบปลิวได้ถึง 3,000 แผ่น
  • 7:30 - 7:34
    แต่สิ่งที่น่าทึ่งก็คือ
    เรามีอัตราตอบรับถึง 60 เปอร์เซ็นต์
  • 7:34 - 7:38
    60 เปอร์เซ็นต์
    จาก 3,000 ครอบครัวที่ตอบรับเรา
  • 7:38 - 7:41
    ดิฉันไม่ทราบนะคะ
    ว่าเรามีนักวิจัยอยู่กี่ท่าน ณ ที่แห่งนี้
  • 7:41 - 7:43
    แต่อัตราการตอบรับที่ว่านี้มันน่าประทับใจจริง ๆ
  • 7:43 - 7:46
    และหากมีผลตอบรับแบบนี้ในแมนเชสเตอร์
    คงจะเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่
  • 7:46 - 7:49
    แทบไม่ต้องพูดถึงพื้นที่ขัดแย้งในซีเรีย
  • 7:49 - 7:53
    เป็นการชี้ชัดถึงความสำคัญของข้อความ
    ที่มีต่อครอบครัวเหล่านั้น
  • 7:55 - 7:59
    ฉันจำได้ว่าเราตื่นเต้นและกระตือรือร้นแค่ไหน
    ที่ได้รับแบบสอบถามคืน
  • 7:59 - 8:02
    หลายครอบครัวได้ส่งข้อความกลับมานับร้อย
  • 8:02 - 8:04
    ส่วนใหญ่แล้วเป็นไปในทางบวกและสนับสนุน
  • 8:04 - 8:06
    แต่ข้อความที่ฉันชอบเป็นพิเศษคงจะเป็น
  • 8:06 - 8:09
    "ขอบคุณที่ไม่ลืมพวกเราและลูก ๆ ของเรา"
  • 8:10 - 8:12
    นี่แสดงให้เห็นถึงวิธีช่วยเหลือที่มีศักยภาพ
  • 8:12 - 8:15
    ในการส่งมอบการปฐมพยาบาลด้านจิตใจ
    แก่ครอบครัว
  • 8:15 - 8:17
    และข้อเสนอแนะที่ตอบกลับมาก็เช่นกัน
  • 8:17 - 8:20
    ลองนึกภาพถึงการให้ความช่วยเหลือนี้
    ด้วยวิธีอื่น
  • 8:20 - 8:24
    เช่น การแจกจ่ายนมสำหรับทารกแรกเกิด
    หรือเครื่องใช้ส่วนตัวของผู้หญิง
  • 8:24 - 8:26
    หรือแม้แต่ตะกร้าอาหารดูนะคะ
  • 8:28 - 8:30
    ฉะนั้น มาทำให้พวกเขา
    ใกล้ชิดความเป็นบ้านมากขึ้นจะดีกว่า
  • 8:30 - 8:31
    เพราะวิกฤตผู้ลี้ภัยในครั้งนี้
  • 8:31 - 8:34
    คือวิกฤตที่กระทบถึงเราทุกคน
  • 8:35 - 8:39
    เราถูกถาโถมด้วยรูปภาพ
    และสถิตินี้อยู่ทุกคืนวัน
  • 8:39 - 8:41
    และนั่นก็ไม่น่าแปลกใจเลย
  • 8:41 - 8:42
    เพราะเมื่อเดือนที่แล้ว
  • 8:42 - 8:45
    ผู้ลี้ภัยกว่าล้านคนได้เดินทางมาถึงยุโรป
  • 8:45 - 8:46
    หนึ่งล้านคนเชียวนะคะ
  • 8:47 - 8:50
    ผู้ลี้ภัยทั้งหลายก็เข้าร่วมสังคมพวกเรา
  • 8:50 - 8:52
    และพวกเขาจะกลายเป็นเพื่อนบ้านเรา
  • 8:52 - 8:54
    ลูก ๆ ของพวกเขาก็จะเข้าโรงเรียน
    แห่งเดียวกันกับลูก ๆ ของเรา
  • 8:55 - 8:59
    เราจึงปรับเปลี่ยนใบปลิวให้ตรง
    กับความต้องการของผู้ลี้ภัยในยุโรป
  • 9:00 - 9:02
    และเราจะเปิดให้เข้าถึงโดยเสรีผ่านออนไลน์ได้
  • 9:02 - 9:05
    ในพื้นที่ที่มีการหลั่งไหลเข้ามา
    ของผู้ลี้ภัยในปริมาณสูง
  • 9:05 - 9:08
    เช่น ระบบบริการสุขภาพของสวีเดน
    ได้อัพโหลดใบปลิวลงเว็บไซต์พวกเขา
  • 9:08 - 9:10
    และภายใน 45 นาทีแรก
  • 9:10 - 9:13
    มันก็ถูกดาวน์โหลดไปถึง 343 ครั้ง
  • 9:13 - 9:15
    เป็นการชี้ให้เห็น
    ว่ามันมีความสำคัญถึงเพียงไหน
  • 9:15 - 9:18
    สำหรับอาสาสมัคร, ผู้ปฏิบัติงาน
    และครอบครัวอื่น
  • 9:18 - 9:21
    ในการเข้าถึงข้อมูล
    การปฐมพยาบาลทางจิตใจได้โดยเสรี
  • 9:23 - 9:29
    ในปี ค.ศ. 2013 ฉันนั่งอยู่บนพื้นแข็ง ๆ
    และเย็นเยียบที่เต็นท์ในค่ายผู้ลี้ภัย
  • 9:29 - 9:33
    พร้อมด้วยบรรดาคุณแม่ที่นั่งรายล้อม
    ขณะที่ฉันกำลังดำเนินการสนทนากลุ่ม
  • 9:33 - 9:36
    มีหญิงชราคนหนึ่งยืนอยู่ตรงข้ามกับฉัน
  • 9:36 - 9:39
    และคนที่ดูเหมือนเด็กผู้หญิงวัย 13
    เอนตัวพิงอยู่ข้าง ๆ
  • 9:39 - 9:42
    โดยศีรษะของเธออยู่ตรงเข่าของหญิงชรา
  • 9:42 - 9:45
    เด็กสาวคนนี้นิ่งเงียบตลอดระยะการสนทนากลุ่ม
  • 9:45 - 9:46
    นั่งชันเข่าแนบชิดอก
  • 9:46 - 9:48
    โดยไม่ปริปากอะไรทั้งสิ้น
  • 9:49 - 9:51
    เมื่อเหลือเวลาอีกเล็กน้อย
    ก่อนยุติการสนทนากลุ่ม
  • 9:51 - 9:54
    ขณะที่ฉันกำลังขอบคุณ
    บรรดาคุณแม่ที่สละเวลามาร่วม
  • 9:54 - 9:57
    หญิงชราคนนั้นก็มองมาที่ฉัน
    พลางชี้ไปที่สาวน้อย
  • 9:57 - 9:59
    แล้วพูดกับฉันว่า
    "คุณช่วยพวกเราเรื่อง..ได้ไหม?"
  • 10:00 - 10:02
    ฉันเองก็ไม่มั่นใจ
    ว่าเธออยากให้ฉันช่วยอะไร
  • 10:02 - 10:04
    ฉันมองที่เด็กหญิงและยิ้มให้
  • 10:04 - 10:06
    แล้วพูดเป็นภาษาอาหรับว่า
  • 10:06 - 10:08
    "สวัสดีจ้ะ เธอชื่ออะไร"
  • 10:08 - 10:09
    "เธอชื่ออะไรเหรอ"
  • 10:10 - 10:12
    เธอมองมาที่ฉันด้วยความสับสน
  • 10:12 - 10:14
    แล้วตอบว่า "ฮาลูล"
  • 10:15 - 10:19
    ฮาลูล เป็นชื่อเล่นของชื่อผู้หญิง
    ในภาษาอาหรับ "ฮาลา"
  • 10:19 - 10:22
    และจะใช้คำนี้ก็ต่อเมื่อเอ่ยถึงสาวน้อย
    ที่อายุน้อยมาก ๆ
  • 10:23 - 10:27
    จากจุดนี้ฉันจึงรู้ว่า จริง ๆ แล้ว
    ฮาลา น่าจะมีอายุมากกว่า 13
  • 10:28 - 10:32
    ปรากฏว่าเธอเป็นคุณแม่วัย 25 ปี
    ของลูกน้อยถึงสามคน
  • 10:33 - 10:37
    ฮาลา เคยเป็นคุณแม่ที่ร่าเริงสดใส
    มั่นใจ เปี่ยมด้วยความรักและความห่วงใย
  • 10:37 - 10:38
    แก่ลูก ๆ ของเธอเป็นอย่างมาก
  • 10:38 - 10:40
    ทว่าสงครามแปรเปลี่ยนทุกอย่างไปจนหมด
  • 10:41 - 10:45
    เธอผ่านเหตุการณ์การทิ้งระเบิดในเมือง
  • 10:45 - 10:48
    เธออยู่ในช่วงเวลาแห่งการระเบิด
  • 10:48 - 10:51
    เมื่อเครื่องบินขับไล่
    บินวนไปมาเหนืออาคารบ้านเรือน
  • 10:51 - 10:52
    แล้วทิ้งระเบิดลงมา
  • 10:52 - 10:55
    ลูก ๆ ของเธอคงจะกรีดร้องด้วยความหวาดกลัว
  • 10:55 - 10:58
    ฮาลาจึงรีบปรี่ไปคว้าหมอนมาปิดหูลูก ๆ ของเธอ
  • 10:58 - 10:59
    เพื่อไม่ให้ได้ยินเสียงดังอื้ออึง
  • 10:59 - 11:01
    ในขณะที่ตัวเธอเองก็กรีดร้องเช่นกัน
  • 11:02 - 11:04
    และเมื่อเธอและลูก ๆ มาถึงค่ายผู้ลี้ภัย
  • 11:04 - 11:07
    เธอรู้ว่าในที่สุดเธอและลูกก็ปลอดภัยแล้ว
  • 11:07 - 11:10
    เธอจึงเริ่มปิดกั้นตัวเอง
    ทำเหมือนอย่างที่ตัวเธอเคยเป็นครั้งยังเด็ก
  • 11:11 - 11:13
    เธอปฏิเสธครอบครัวของเธออย่างสิ้นเชิง
  • 11:14 - 11:16
    ทั้งลูก ๆ ของเธอ, สามีของเธอ
  • 11:17 - 11:19
    ฮาลาไม่อาจแบกรับอะไรได้อีกแล้ว
  • 11:21 - 11:23
    นี่คือความยากลำบากในการเลี้ยงดู
    ที่มีจุดจบอันร้ายแรง
  • 11:24 - 11:25
    แต่น่าเศร้าที่มันไม่ใช่เรื่องแปลกเลย
  • 11:25 - 11:28
    สำหรับผู้ที่ต้องประสบกับความขัดแย้ง
    และการพลัดพรากถิ่นฐาน
  • 11:28 - 11:31
    จะต้องเผชิญความขัดแย้งทางอารมณ์อย่างรุนแรง
  • 11:32 - 11:34
    และนั่นคือสิ่งที่เราทุกคนพอจะเข้าใจความรู้สึก
  • 11:35 - 11:38
    ถ้าคุณเคยผ่านช่วงเวลาที่ย่ำแย่มาในชีวิตคุณ
  • 11:39 - 11:42
    หากคุณสูญเสียใครสักคนหรือสิ่งที่คุณรักมาก
  • 11:43 - 11:45
    คุณจะรับมือต่อไปได้อย่างไร
  • 11:47 - 11:50
    คุณจะยังสามารถดูแลตัวเอง
    และครอบครัวคุณได้อยู่หรือไม่
  • 11:51 - 11:55
    ลองคิดดูสิว่าช่วงปีแรก ๆ ของชีวิตนั้น
    สำคัญอย่างยิ่งยวด
  • 11:55 - 11:58
    ต่อพัฒนาการทางร่างกายและอารมณ์ที่ดี
  • 11:58 - 12:03
    และคนร่วมพันห้าร้อยล้าน
    กำลังประสบกับความขัดแย้งทางอาวุธ
  • 12:03 - 12:06
    หลายคนในจำนวนเหล่านั้นได้เข้ามา
    เป็นส่วนหนึ่งของสังคมเราในปัจจุบัน
  • 12:06 - 12:08
    เราไม่อาจทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ได้อีกต่อไป
  • 12:08 - 12:11
    กับความต้องการของผู้ที่ประสบสงคราม
    และการพลัดถิ่น
  • 12:13 - 12:15
    เราต้องให้ความสำคัญแก่ความต้องการ
    ของครอบครัวเหล่านั้นเป็นลำดับต้น ๆ
  • 12:15 - 12:20
    ทั้งผู้พลัดถิ่นในประเทศตัวเอง
    และคนที่เป็นผู้ลี้ภัยทั่วโลก
  • 12:21 - 12:26
    ความต้องการเหล่านี้ต้องได้รับความสำคัญ
    จากผู้ที่ทำงานใน NGO และผู้วางนโยบาย
  • 12:26 - 12:30
    ทั้งองค์กร WHO, องค์กร UNHCR
    และพวกเราทุกคน
  • 12:30 - 12:34
    ไม่ว่าเราจะทำงานอยู่ในตำแหน่งใด
    ในสังคมของเราก็ตาม
  • 12:36 - 12:41
    เมื่อเราเริ่มรับรู้ถึงตัวผู้ประสบภัยขัดแย้ง
  • 12:41 - 12:45
    เมื่อเราเริ่มสังเกตถึงอารมณ์อันซับซ้อน
    ที่ปรากฏบนในหน้าของพวกเขา
  • 12:45 - 12:47
    เราก็จะเห็นพวกเขาในฐานะมนุษย์เฉกเช่นเรา
  • 12:48 - 12:51
    เราจะเห็นความต้องการของครอบครัวเหล่านั้น
  • 12:51 - 12:52
    และนั่นคือความต้องการของมนุษย์อย่างแท้จริง
  • 12:54 - 12:57
    เมื่อความต้องการของครอบครัวเหล่านี้
    ได้รับการให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก
  • 12:57 - 13:00
    การเข้าแทรกแซงช่วยเหลือเด็กในด้านมนุษยธรรม
  • 13:00 - 13:05
    จะได้รับการให้ความสำคัญและรับรู้ถึงหน้าที่
    พื้นฐานของครอบครัวในการช่วยเหลือเด็ก ๆ
  • 13:06 - 13:08
    "สุขภาพจิตของครอบครัว"
    จะต้องประกาศให้ดังก้องและชัดเจน
  • 13:08 - 13:10
    ไปในระดับโลกและระดับนานาชาติ
  • 13:11 - 13:15
    เด็ก ๆ จะมีแนวโน้มที่จะเข้ารับ
    บริการทางสังคมน้อยลง
  • 13:15 - 13:16
    ในประเทศที่ไปตั้งรกราก
  • 13:16 - 13:19
    เพราะว่าครอบครัวเหล่านี้
    จะต้องได้รับการช่วยเหลือในช่วงแรก
  • 13:21 - 13:23
    แล้วเราก็จะเปิดใจให้มากขึ้น
  • 13:23 - 13:25
    ต้อนรับเขามากขึ้น ดูแลเขามากขึ้น
  • 13:25 - 13:29
    และเชื่อใจในตัวผู้ที่มา
    เข้ารวมสังคมของพวกเรากันมากขึ้น
  • 13:30 - 13:32
    เราจะต้องหยุดยั้งสงครามทั้งหลาย
  • 13:33 - 13:37
    เราต้องสร้างโลกใบใหม่ที่เด็ก ๆ จะสามารถ
    ฝันถึงเครื่องบินมาโปรยแจกของขวัญได้
  • 13:37 - 13:39
    ไม่ใช่มาทิ้งระเบิด
  • 13:39 - 13:43
    จนกว่าเราจะหยุดยั้งความขัดแย้งด้วยอาวุธ
    ที่คุกรุ่นไปทั่วโลกได้
  • 13:43 - 13:46
    ครอบครัวเหล่านี้จะพลัดถิ่น
  • 13:46 - 13:47
    ทิ้งให้เด็ก ๆ ต้องเปราะบางร่ำไป
  • 13:48 - 13:51
    แต่จากการปรับปรุงการเลี้ยงดู
    และการช่วยเหลือผู้ดูแล
  • 13:51 - 13:56
    มันก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะบรรเทาความสัมพันธ์
    ระหว่างสงครามและความทุกข์ทางจิตใจ
  • 13:56 - 13:58
    ในตัวเด็ก ๆ และครอบครัวได้
  • 13:59 - 14:00
    ขอบคุณค่ะ
  • 14:00 - 14:02
    (เสียงปรบมือ)
Title:
การเป็นพ่อแม่เด็ก ๆ ในเขตสงครามนั้นเป็นเช่นไร
Speaker:
อาลา เอล-คาห์นี (Aala El-Khani)
Description:

พ่อแม่จะปกป้องและช่วยให้ลูก ๆ ของพวกเขารู้สึกปลอดภัยอีกครั้งหนึ่งได้อย่างไร ในเมื่อบ้านของพวกเขาถูกทำลายอย่างย่อยยับจากสงคราม ในการบรรยายอันแสนอบอุ่นหัวใจนี้ นักจิตวิทยา อาลา เอล-คาห์นี จะมากล่าวถึงงานของเธอในการช่วยเหลือ และเรียนรู้จากครอบครัวผู้ลี้ภัยที่ได้รับผลกระทบจากสงครามกลางเมืองในซีเรีย เธอตั้งคำถามว่า เราจะช่วยเหลือพ่อแม่เหล่านี้ในการมอบการเลี้ยงดูที่ให้ความอบอุ่นและปลอดภัยแก่ลูก ๆ อันเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการที่สุดได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:16

Thai subtitles

Revisions