Return to Video

คณิตศาสตร์แห่งรัก

  • 0:00 - 0:05
    วันนี้ ดิฉันอยากคุยกับคุณเรื่อง
    คณิตศาสตร์แห่งความรัก
  • 0:05 - 0:07
    ฉันว่าเราทุกคนคงเห็นตรงกันว่า
  • 0:07 - 0:12
    นักคณิตศาสตร์นี่ขึ้นชื่อว่า
    หาแฟนเก่งเหลือเกิน
  • 0:12 - 0:15
    แต่ไม่ใช่แค่เพราะบุคลิกภาพที่น่าหลงใหล
  • 0:15 - 0:20
    ทักษะการพูดคุยที่เหนือชั้น
    และกล่องดินสอเลิศๆ
  • 0:20 - 0:24
    แต่เป็นเพราะเราได้ลงแรงไปเยอะ
    กับการสร้างหลักคณิตศาสตร์
  • 0:24 - 0:26
    สำหรับการหาคู่รักที่สมบูรณ์แบบ
  • 0:26 - 0:30
    บทความที่ฉันชอบที่สุดในเรื่องนี้ ชื่อว่า
  • 0:30 - 0:33
    "ทำไมผมจึงไม่มีแฟน"
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:33 - 0:37
    ปีเตอร์ แบคคัส พยายามคำนวณ
    โอกาสที่เขาจะพบรัก
  • 0:37 - 0:39
    ปีเตอร์ไม่ใช่คนโลภมากเท่าไหร่
  • 0:39 - 0:42
    จากผู้หญิงทั้งหมดในอังกฤษ
  • 0:42 - 0:45
    ปีเตอร์ต้องการแค่ใครสักคนที่บ้านอยู่ใกล้เขา
  • 0:45 - 0:47
    ใครสักคนที่อายุพอๆ กัน
  • 0:47 - 0:50
    ใครสักคนที่เรียนจบมหาวิทยาลัย
  • 0:50 - 0:52
    ใครสักคนที่น่าจะเข้ากับเขาได้ดี
  • 0:52 - 0:54
    ใครสักคนที่เขาจะรู้สึกชอบ
  • 0:54 - 0:56
    ใครสักคนที่น่าจะชอบเขา
  • 0:56 - 0:59
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:59 - 1:04
    แล้วสรุปว่า ทั้งประเทศอังกฤษ
    จะมีผู้หญิงแบบนี้ประมาณ 26 คน
  • 1:05 - 1:08
    ดูท่าไม่ค่อยดีเลยเนอะ
    ว่าไหมปีเตอร์
  • 1:08 - 1:09
    ถ้าจะให้เห็นภาพชัดขึ้น
  • 1:09 - 1:13
    ตัวเลขที่ว่านั้น ยังน้อยกว่า
    จำนวนสิ่งมีชีวิตนอกโลกที่มีสติปัญญา
  • 1:13 - 1:17
    ที่มีคนประมาณเอาไว้ถึง 400 เท่า
  • 1:17 - 1:22
    และปีเตอร์ก็มีโอกาส 1 ใน 285,000
  • 1:22 - 1:24
    ที่จะได้เจอหญิงสาวคนพิเศษคนนั้น
  • 1:24 - 1:25
    ในคืนหนึ่งที่เขาไปเที่ยวนอกบ้าน
  • 1:25 - 1:27
    ฉันเชื่อว่านั้นเป็นเหตุผลว่าทำไม
    พวกนักคณิตศาสตร์
  • 1:27 - 1:31
    ถึงไม่เสียเวลาไปท่องราตรีอีกแล้ว
  • 1:31 - 1:33
    แต่จริงๆ แล้ว ส่วนตัวฉันเอง
  • 1:33 - 1:35
    ไม่เชื่อความคิดที่มองโลกแง่ร้ายแบบนี้
  • 1:35 - 1:38
    เพราะฉันรู้ดี เช่นเดียวกับที่พวกคุณทุกคนรู้
  • 1:38 - 1:40
    ว่าความรักมันไม่ได้ดำเนินไปอย่างนั้น
  • 1:40 - 1:45
    อารมณ์ของมนุษย์ไม่ได้เป็นระเบียบ
    มีเหตุผล และทำนายได้ง่ายแบบนั้น
  • 1:45 - 1:48
    แต่นั่นไม่ได้แปลว่า
  • 1:48 - 1:51
    คณิตศาสตร์ช่วยอะไรเราไม่ได้เลย
  • 1:51 - 1:55
    เพราะความรัก ก็เหมือนเรื่องอื่นๆ ในชีวิต
    ที่มีแบบแผนต่างๆ มากมาย
  • 1:55 - 1:59
    และที่สุดแล้ว คณิตศาสตร์ก็คือการศึกษา
    แบบแผนของปรากฏการณ์ต่างๆ นั่นเอง
  • 1:59 - 2:03
    แบบแผนที่ว่า มีตั้งแต่จากการพยากรณ์อากาศ
    ไปจนถึงความผันผวนในตลาดหุ้น
  • 2:03 - 2:07
    ไปจนถึงการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์
    การเติบโตของเมืองต่างๆ
  • 2:07 - 2:09
    ถ้าจะพูดกันตรงๆ นะ สิ่งเหล่านี้
    ก็ไม่มีอันไหนเลย
  • 2:09 - 2:13
    ที่เป็นระเบียบหรือทำนายได้ง่าย
  • 2:13 - 2:18
    แต่เพราะฉันเชื่อในคณิตศาสตร์
    ว่ามันทรงพลังจนมีศักยภาพ
  • 2:18 - 2:22
    ที่จะช่วยให้เรามีมุมมองใหม่
    ต่อเกือบจะทุกสิ่งทุกอย่าง
  • 2:22 - 2:25
    แม้แต่อะไรที่ลึกลับมากๆ อย่างความรัก
  • 2:25 - 2:27
    ดังนั้น เพื่อพยายามโน้มน้าวคุณ
  • 2:27 - 2:31
    ว่าคณิตศาสตร์มันน่าทึ่ง เจ๋ง
    และสำคัญแค่ไหน
  • 2:31 - 2:39
    ฉันอยากเล่าเคล็ดลับความรักเด็ดสุด 3 อย่าง
    ที่พิสูจน์มาแล้วด้วยคณิตศาสตร์
  • 2:40 - 2:42
    โอเค เคล็ดลับเด็ดสุดข้อที่หนึ่ง
  • 2:42 - 2:45
    หาคู่ออนไลน์อย่างไรให้ชนะเลิศ
  • 2:46 - 2:50
    เว็บไซต์หาคู่ออนไลน์ที่ฉันชอบสุดคือ
    OkCupid
  • 2:50 - 2:54
    ไม่ใช่แค่เพราะกลุ่มผู้ก่อตั้ง
    เป็นนักคณิตศาสตร์
  • 2:54 - 2:55
    แต่เพราะเป็นนักวิทยาศาสตร์
  • 2:55 - 2:57
    เขาจึงเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ
  • 2:57 - 3:00
    ทุกคนที่มาใช้เว็บไซต์ที่ว่า
    โดยเก็บมาเกือบสิบปีแล้ว
  • 3:00 - 3:02
    พวกเขากำลังพยายามค้นหาแบบแผน
  • 3:02 - 3:04
    ในวิธีการที่เราพูดถึงตัวเราเอง
  • 3:04 - 3:06
    และวิธีปฏิสัมพันธ์ที่เรามีกับผู้อื่น
  • 3:06 - 3:08
    บนเว็บไซต์หาคู่ออนไลน์
  • 3:08 - 3:11
    และเขาก็พบผลที่น่าสนใจมาก
    ในหลายประเด็น
  • 3:11 - 3:12
    แต่ที่ฉันชอบที่สุด คือ
  • 3:12 - 3:16
    กลายเป็นว่า บนเว็บไซต์หาคู่ออนไลน์นั้น
  • 3:16 - 3:22
    ความสวยหล่อไม่ได้เป็นตัวกำหนด
    ว่าจะมีคนสนใจคุณมากแค่ไหน
  • 3:22 - 3:25
    และที่จริง การที่มีคนคิดว่าคุณขี้เหร่
  • 3:25 - 3:28
    อาจมีประโยชน์ต่อตัวคุณ
  • 3:28 - 3:30
    ฉันจะบอกให้ว่าทำไม
  • 3:30 - 3:35
    ในแบบฟอร์มส่วนหนึ่งของ OkCupid
  • 3:35 - 3:38
    คุณสามารถให้คะแนนความสวยหล่อ
    ของคนอื่นได้
  • 3:38 - 3:40
    บนมาตรวัดที่มีค่า 1 ถึง 5
  • 3:40 - 3:43
    ทีนี้ ถ้าเราเปรียบเทียบคะแนนความสวยหล่อ
  • 3:43 - 3:46
    กับค่าเฉลี่ยจำนวนข้อความที่เขาได้รับ
  • 3:46 - 3:48
    คุณจะเริ่มเห็นว่า
  • 3:48 - 3:52
    ความสวยหล่อสัมพันธ์กับความเป็นที่สนใจ
    ในเว็บไซต์หาคู่ออนไลน์
  • 3:52 - 3:55
    นี่เป็นกราฟที่คนของ OkCupid สร้างขึ้นมา
  • 3:55 - 3:58
    สิ่งสำคัญที่น่าสังเกตุคือ
    มันไม่จริงเสมอไป
  • 3:58 - 4:01
    ว่ายิ่งสวยหล่อ
    คุณจะยิ่งได้รับข้อความมากขึ้น
  • 4:01 - 4:05
    คำถามคือ คนที่อยู่ตรงนี้มีอะไรดี
  • 4:05 - 4:10
    ถึงได้มีคนสนใจมากกว่าคนกลุ่มนี้
  • 4:10 - 4:12
    ทั้งที่มีคะแนนความสวยหล่อเท่ากัน
  • 4:12 - 4:17
    และเหตุผลที่ว่า ทำไมสิ่งสำคัญ
    จึงไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ภายนอก
  • 4:17 - 4:19
    ฉันขออธิบายให้เห็นภาพ
    ด้วยตัวอย่างอันนี้
  • 4:19 - 4:24
    ถ้าลองดูใครสักคน เช่น
    พอร์เทีย เดอ รอสซี่ เป็นต้น
  • 4:24 - 4:28
    ทุกคนเห็นด้วยว่าพอร์เทีย เดอ รอสซี่
    เป็นผู้หญิงที่สวยมากคนหนึ่ง
  • 4:28 - 4:32
    ไม่มีใครคิดว่าเธอขี้เหร่
    แต่เธอก็ไม่ได้เป็นสุดยอดนางแบบเช่นกัน
  • 4:32 - 4:37
    ถ้าคุณเปรียบเทียบพอร์เทีย เดอ รอสซี่
    กับคนอย่างซารา เจสซิกา พาร์กเกอร์
  • 4:37 - 4:40
    คนจำนวนมาก จะว่าไปก็ รวมถึงตัวฉันเองด้วย
  • 4:40 - 4:44
    คิดว่าซารา เจสซิกา พาร์กเกอร์นั้น
    สวยเลิศแบบจริงจัง
  • 4:44 - 4:47
    และอาจเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิต
    ที่สวยงามที่สุด
  • 4:47 - 4:50
    ที่เคยเดินอยู่บนพื้นผิวโลกนี้
  • 4:50 - 4:56
    แต่คนอื่นบางคน เช่น
    คนส่วนใหญ่ในโลกอินเทอร์เน็ต
  • 4:56 - 5:02
    ดูจะคิดว่าเธอหน้าเหมือนม้า
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:02 - 5:05
    ทีนี้ ถ้าคุณให้คนทั่วไปประเมินความสวย
  • 5:05 - 5:07
    ของซารา เจสซิกา พาร์กเกอร์
    กับพอร์เทีย เดอ รอสซี่
  • 5:07 - 5:10
    ว่าสวยแค่ไหน
    ให้คะแนนจาก 1 ถึง 5
  • 5:10 - 5:13
    ฉันว่าทั้งคู่คงได้คะแนนเฉลี่ยพอๆ กัน
  • 5:13 - 5:16
    แต่แบบแผนการให้คะแนนของคนจะต่างกันมาก
  • 5:16 - 5:19
    คะแนนของพอร์เทียจะเกาะกลุ่มอยู่ใกล้ๆ ค่า 4
  • 5:19 - 5:21
    เพราะทุกคนเห็นด้วยว่าเธอสวย
  • 5:21 - 5:24
    ในขณะที่กรณีซารา เจสซิกา พาร์กเกอร์
    ความเห็นจะเป็นสองขั้ว
  • 5:24 - 5:26
    คะแนนของเธอมีการกระจายเยอะมาก
  • 5:26 - 5:28
    และความหลากหลายของคะแนนนี่แหละสำคัญ
  • 5:28 - 5:31
    ความหลากหลายของความเห็นนี่แหละ
    ทำให้มีคนสนใจคุณมากขึ้น
  • 5:31 - 5:33
    ในเว็บไซต์หาคู่ออนไลน์
  • 5:33 - 5:34
    หมายความว่า
  • 5:34 - 5:37
    ถ้าคนบางคนคิดว่าคุณสวยหล่อ
  • 5:37 - 5:39
    คุณจะได้เปรียบกว่า
  • 5:39 - 5:44
    ถ้ามีแค่บางคนคิดว่าคุณสวยน่ามองสุดๆ
  • 5:44 - 5:46
    นั่นดีกว่ากรณีที่คน "ทุกคน" คิดว่า
  • 5:46 - 5:48
    คุณเป็นสาวสวยข้างบ้าน
  • 5:48 - 5:50
    ฉันคิดว่าคุณจะเริ่มเข้าใจมากขึ้น
  • 5:50 - 5:53
    เมื่อคุณคิดจากมุมของ
    คนที่เป็นฝ่ายส่งข้อความมาหา
  • 5:53 - 5:56
    สมมุติคุณคิดว่าใครสักคนสวยหล่อ
  • 5:56 - 6:00
    แต่คุณคิดว่าคนอื่นคงไม่ได้สนใจคนคนนี้เท่าไหร่
  • 6:00 - 6:03
    นั่นหมายความว่าคุณมีคู่แข่งน้อยลง
  • 6:03 - 6:05
    และนั่นคือสิ่งจูงใจเพิ่มเติม
    ที่ทำให้คุณติดต่อเขาไป
  • 6:05 - 6:08
    ในขณะที่ ถ้าเทียบกับกรณีที่
    คุณคิดว่าใครสักคนสวยหล่อ
  • 6:08 - 6:11
    แต่สงสัยว่าคนอื่นทุกคน
    ก็คิดเหมือนกัน
  • 6:11 - 6:15
    ถ้าอย่างนั้น คุณจะหาเรื่อง
    ให้ตัวเองเสียหน้าทำไม เอาจริงๆ
  • 6:15 - 6:17
    จุดที่น่าสนใจมากๆ อยู่ตรงนี้แหละ
  • 6:17 - 6:21
    เพราะเวลาคนทั่วไปเลือกรูปมาใช้
    ในเว็บหาคู่ออนไลน์
  • 6:21 - 6:24
    เขามักพยายามลดอะไรต่างๆ
  • 6:24 - 6:27
    ที่เขาคิดว่าคนอื่นจะคิดว่าไม่สวย
  • 6:27 - 6:31
    ตัวอย่างคลาสสิกคือ
    คนที่อาจจะน้ำหนักเกินไปหน่อย
  • 6:31 - 6:35
    ตั้งใจเลือกรูปที่ตัดช่วงตัวออกไปเยอะๆ
  • 6:35 - 6:37
    หรือผู้ชายหัวล้าน
  • 6:37 - 6:39
    ก็ตั้งใจเลือกรูปที่ตัวเองใส่หมวก
  • 6:39 - 6:42
    แต่นั่นมันตรงกันข้ามกับสิ่งที่คุณควรทำ
  • 6:42 - 6:44
    ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จในการหาคู่ออนไลน์
  • 6:44 - 6:48
    แทนที่จะทำอย่างนั้น
    จริงๆ คุณควรเน้นสิ่งที่ทำให้คุณแตกต่าง
  • 6:48 - 6:52
    ถึงแม้บางคนจะมองว่ามันไม่สวยไม่ดึงดูดใจ
  • 6:52 - 6:56
    เพราะคนที่ชอบคุณ
    ยังไงเขาก็ชอบคุณอยู่ดี
  • 6:56 - 7:00
    การมีบางคนที่ไม่ชอบคุณ
    กลับเป็นประโยชน์กับคุณเสียอีก
  • 7:00 - 7:03
    โอเค เคล็ดลับความรักสุดเด็ดข้อที่ 2
  • 7:03 - 7:06
    ลองจินตนาการว่าคุณประสบความสำเร็จสูงมาก
  • 7:06 - 7:07
    ในการหาคู่
  • 7:07 - 7:11
    แต่ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า
    แล้วจะเปลี่ยนคนที่ใช่นั้น
  • 7:11 - 7:15
    ให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
    ในระยะยาวได้อย่างไร
  • 7:15 - 7:19
    พูดให้ชัดขึ้นคือ คุณจะรู้ได้ยังไง
    ว่าถึงเวลาลงหลักปักฐานแล้ว
  • 7:19 - 7:22
    ทีนี้ โดยทั่วไป เราไม่ควรตกลงปลงใจ
  • 7:22 - 7:24
    แต่งงานกับคนแรกที่ผ่านเข้ามา
  • 7:24 - 7:27
    และแสดงความสนใจในตัวคุณ
  • 7:27 - 7:30
    แต่คุณก็ไม่ควรปล่อยเวลาให้เนิ่นนานเกิน
  • 7:30 - 7:33
    ถ้าคุณต้องการเพิ่มโอกาส
    ที่จะมีความสุขในระยะยาว
  • 7:33 - 7:36
    อย่างที่เจน ออสเต็น
    นักเขียนคนโปรดของฉันกล่าวไว้
  • 7:36 - 7:38
    "ผู้หญิงโสดอายุ 27
  • 7:38 - 7:42
    ก็หมดหวังแล้วที่จะรู้สึก
    หรือทำให้คนมารักชอบได้อีก"
  • 7:42 - 7:44
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:44 - 7:47
    ขอบคุณมาก เจน
    คุณรู้อะไรเกี่ยวกับความรักบ้างนะ?
  • 7:48 - 7:49
    ทีนี้ คำถามคือ
  • 7:49 - 7:52
    คุณจะรู้ได้ยังไงว่าถึงเวลาที่ควร
    ตกลงปลงใจกับใครสักคน
  • 7:52 - 7:55
    จากคนทั้งหมด
    ที่คุณมีโอกาสคบด้วยตลอดชีวิตนี้
  • 7:55 - 7:58
    โชคดีนะ เรามีหลักคณิตศาสตร์เจ๋งๆ
    ที่สามารถเอามาใช้ช่วยเราในกรณีนี้
  • 7:58 - 8:01
    เรียกว่า ทฤษฎีการหยุดที่จุดที่ดีที่สุด
    (optimal stoppping theory)
  • 8:01 - 8:03
    ลองจินตนาการนะคะ
  • 8:03 - 8:05
    ว่าคุณเริ่มมีแฟนตอนอายุ 15
  • 8:05 - 8:09
    และคุณหวังว่าจะแต่งงานก่อนที่จะอายุ 35
  • 8:09 - 8:11
    ก็จะมีคนจำนวนหนึ่ง
  • 8:11 - 8:13
    ที่คุณคบเป็นแฟนด้วยตลอดชีวิตนี้
  • 8:13 - 8:15
    แล้วแต่ละคนก็ดีมากดีน้อยต่างกัน
  • 8:15 - 8:18
    กติกามีอยู่ว่า
    เมื่อคุณตกลงแต่งงานกับใครแล้ว
  • 8:18 - 8:21
    คุณไม่สามารถมองไปข้างหน้าว่า
    มีใครที่จะเข้ามาอีก
  • 8:21 - 8:24
    และคุณก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจ
    ย้อนไปหาคนเก่าที่ผ่านมาแล้วได้
  • 8:24 - 8:25
    อย่างน้อยในประสบการณ์ของฉัน
  • 8:25 - 8:28
    ฉันพบว่า คนทั่วไป
    ไม่ชอบเป็นตัวสำรองรอถูกเรียก
  • 8:28 - 8:33
    หลังจากถูกทิ้งไปหาคนอื่นแล้วตั้งหลายปี
  • 8:33 - 8:37
    คณิตศาสตร์บอกเราว่า สิ่งที่คุณควรทำ
  • 8:37 - 8:40
    กับคน 37 เปอร์เซ็นต์แรกที่เข้ามาจีบ
  • 8:40 - 8:44
    คือปฏิเสธไปให้หมด
    อย่าคิดไปแต่งงานด้วย
  • 8:44 - 8:46
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:46 - 8:49
    จากนั้น คุณควรเลือกคนต่อไปที่เข้ามาจีบ
  • 8:49 - 8:52
    ที่ดีกว่าทุกคนที่คุณเคยได้เจอมา
  • 8:52 - 8:53
    ลองมาดูตัวอย่างนะคะ
  • 8:53 - 8:56
    เราสามารถพิสูจน์ได้
    ด้วยคณิตศาสตร์นะคะ
  • 8:56 - 8:59
    ว่านี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้
  • 8:59 - 9:03
    ในการเพิ่มโอกาสสูงสุด
    ที่จะได้พบเจอคู่รักที่สมบูรณ์แบบ
  • 9:03 - 9:08
    แต่ฉันเสียใจที่ต้องบอกว่า
    วิธีนี้ก็มาพร้อมความเสี่ยง
  • 9:08 - 9:13
    เช่น ถ้าคู่รักที่สมบูรณ์แบบของคุณ
  • 9:13 - 9:16
    มาปรากฏตัวในกลุ่ม 37 เปอร์เซ็นต์แรก
  • 9:16 - 9:19
    เสียใจด้วยค่ะ คุณต้องปฏิเสธเขาไป
  • 9:19 - 9:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:22 - 9:24
    ทีนี้ คิดต่อตามหลักคณิตศาสตร์
  • 9:24 - 9:26
    ทุกคนที่เข้ามาหลังจากนั้น
  • 9:26 - 9:28
    อาจไม่มีใครดีกว่าคนที่คุณเคยได้เจออีกเลย
  • 9:28 - 9:32
    คุณก็ต้องผ่านไป ปฏิเสธทุกคน
    แล้วตายอย่างโดดเดี่ยว
  • 9:32 - 9:34
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:35 - 9:40
    อาจจะมีฝูงแมวมาแทะซากคุณบ้าง
  • 9:40 - 9:43
    เอาล่ะ ความเสี่ยงอีกอย่างคือ
    ลองจินตนาการนะคะ
  • 9:43 - 9:47
    ว่าคนที่คุณคบด้วยใน 37 เปอร์เซ็นต์แรกนั้น
  • 9:47 - 9:51
    เป็นคนที่ม น่าเบื่อ และนิสัยแย่มาก
  • 9:51 - 9:53
    แต่ไม่เป็นไร เพราะคุณอยู่ในช่วงการปฏิเสธ
  • 9:53 - 9:55
    ก็ผ่านพวกนี้ไป
  • 9:55 - 9:59
    แต่ลองคิดดูนะคะ
    คนต่อไปที่เข้ามา
  • 9:59 - 10:03
    อาจจะน่าเบื่อ ทึ่ม และนิสัยแย่
  • 10:03 - 10:05
    น้อยกว่าคนก่อนๆ แค่เล็กน้อย
  • 10:05 - 10:09
    ถ้าคุณทำตามหลักคณิตศาสตร์
    ฉันเกรงว่าคุณจะต้องแต่งงานกับเขา
  • 10:09 - 10:12
    แล้วลงเอยด้วยความสัมพันธ์ที่
    บอกตรงๆ ว่า ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด
  • 10:12 - 10:13
    เสียใจด้วยนะ
  • 10:13 - 10:16
    แต่ฉันคิดว่ามันก็มีอะไรดีๆ แฝงอยู่นะ
  • 10:16 - 10:19
    บริษัทผลิตการ์ดฮอลมาร์กจะได้มีตลาดใหม่
  • 10:19 - 10:21
    เป็นการ์ดวาเลนไทน์แบบนี้
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:21 - 10:25
    "คุณสามีที่รัก คุณคือคนที่แย่น้อยกว่า
  • 10:25 - 10:28
    ผู้ชาย 37 เปอร์เซ็นต์แรกที่ฉันเคยคบนิดนึง"
  • 10:28 - 10:33
    ฟังดูโรแมนติกกว่าที่ปกติฉันเคยพูดนะนี่
  • 10:33 - 10:38
    โอเค วิธีนี้ไม่ได้ให้ผลสำเร็จ
    100 เปอร์เซ็นต์
  • 10:38 - 10:41
    แต่ไม่มีกลยุทธ์อื่นใดที่ได้ผลดีกว่านี้
  • 10:41 - 10:44
    และที่จริง ในธรรมชาติก็มีปลาบางชนิด
  • 10:44 - 10:48
    ที่มีพฤติกรรมตามกลยุทธ์นี้เป๊ะๆ เลย
  • 10:48 - 10:50
    คือ ไม่เลือกคู่ที่เจอกันในช่วง
  • 10:50 - 10:53
    37 เปอร์เซ็นต์แรกของฤดูผสมพันธุ์เลย
  • 10:53 - 10:57
    แล้วจึงเลือกปลาตัวต่อไป
    ที่เจอกันหลังจากช่วงเวลานั้น
  • 10:57 - 10:59
    ที่แบบ ตัวใหญ่กว่า แข็งแรงกว่า
  • 10:59 - 11:02
    ปลาทั้งหมดที่เคยเจอมาก่อนหน้านั้น
  • 11:02 - 11:06
    ฉันเชื่อด้วยว่า ลึกๆ ในจิตใต้สำนึก
    มนุษย์เราก็ทำอย่างนี้อยู่แล้ว
  • 11:06 - 11:10
    เราให้เวลาตัวเองวิ่งเล่นในท้องทุ่งสักพัก
  • 11:10 - 11:13
    ลองดูตลาดว่าเป็นยังไง อะไรทำนองนั้น
    ตอนที่เรายังอายุน้อย
  • 11:13 - 11:18
    แล้วจึงเริ่มมองหาตัวเลือก
    คนที่จะแต่งงานด้วยอย่างจริงจัง
  • 11:18 - 11:20
    ตอนเราอายุยี่สิบกลางๆ ถึงยี่สิบปลายๆ
  • 11:20 - 11:23
    ฉันว่านี่คือข้อพิสูจน์ที่ชัดเจน
    ถ้าเรายังต้องการหลักฐานเพิ่ม
  • 11:23 - 11:27
    ว่าสมองของคนเราทุกคนถูกสร้างมา
    ให้มีความสามารถทางคณิตศาสตร์อยู่บ้างแล้ว
  • 11:28 - 11:29
    โอเค นั้นคือเคล็ดลับสุดเด็ดข้อที่สอง
  • 11:29 - 11:33
    ทีนี้ มาข้อที่สาม
    เราจะหลีกเลี่ยงการหย่าร้างอย่างไร
  • 11:33 - 11:36
    โอเค สมมุติว่า
    คุณเลือกคู่ที่สมบูรณ์แบบแล้ว
  • 11:36 - 11:41
    และคุณก็ลงหลักปักฐาน
    ในความสัมพันธ์ตลอดชีวิตกับเขา
  • 11:41 - 11:45
    ทีนี้ ฉันเชื่อว่าทุกคนคงไม่อยากหย่าร้าง
  • 11:45 - 11:49
    เว้นแต่ ไม่รู้สิ
    อย่างภรรยาของเพียร์ส มอร์แกน มั้ง
  • 11:50 - 11:52
    แต่มันน่าเศร้า
    ที่ข้อเท็จจริงของชีวิตสมัยใหม่คือ
  • 11:52 - 11:56
    การแต่งงานครึ่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา
    จบลงด้วยการหย่าร้าง
  • 11:56 - 12:00
    ประเทศอื่นๆ ในโลกก็ไม่ได้ต่างกันกันมากนัก
  • 12:00 - 12:02
    ทีนี้ คุณไม่ผิดเลยถ้าคิดว่า
  • 12:02 - 12:05
    การโต้แย้งที่เกิดก่อนการแยกทาง
  • 12:05 - 12:09
    ไม่ใช่สิ่งที่จะศึกษาด้วยคณิตศาสตร์ได้
  • 12:09 - 12:11
    ประการแรก เพราะมันยากมาก
  • 12:11 - 12:14
    ที่จะกำหนดว่าควรวัดอะไร
  • 12:14 - 12:20
    แต่นั่นไม่ได้หยุดนักจิตวิทยาชื่อ
    จอห์น ก็อตแมน ซึ่งทำสิ่งที่ว่ายากๆ นั้นเลย
  • 12:20 - 12:26
    ก็อตแมนสังเกตคู่สมรสร้อยๆ คู่สนทนากัน
  • 12:26 - 12:28
    แล้วบันทึกทุกอย่างที่คุณจะนึกออก
  • 12:28 - 12:31
    เขาบันทึกว่าทั้งคู่พูดอะไรในการสนทนา
  • 12:31 - 12:33
    วัดระดับการนำไฟฟ้าของผิวหนัง
  • 12:33 - 12:35
    บันทึกการแสดงออกทางสีหน้า
  • 12:35 - 12:37
    อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต
  • 12:37 - 12:43
    ทุกอย่างเลยจริงๆ ยกเว้นเรื่องที่ว่า
    ตกลงภรรยาถูกเสมอจริงหรือเปล่า
  • 12:43 - 12:46
    ซึ่งบังเอิญภรรยาถูกเสมออยู่แล้วค่ะ
  • 12:46 - 12:49
    แต่สิ่งที่ก็อตแมนกับทีมของเขาพบคือ
  • 12:49 - 12:52
    ตัวแปรที่สำคัญที่สุดที่ทำนายได้
  • 12:52 - 12:54
    ว่าคู่สมรสจะหย่าร้างกันไหม
  • 12:54 - 12:59
    คือ แต่ละฝ่ายแสดงพฤติกรรมทางบวกหรือทางลบ
    มากหรือน้อยในการสนทนา
  • 12:59 - 13:02
    คู่สมรสที่มีความเสี่ยงหย่าร้างต่ำ
  • 13:02 - 13:06
    มีคะแนนพฤติกรรมทางบวกมากกว่าทางลบ
    บนมาตรวัดของก็อตแมน
  • 13:06 - 13:08
    ขณะที่ความสัมพันธ์ที่ไม่ดี
  • 13:08 - 13:11
    คือคู่ที่กำลังจะหย่าร้าง
  • 13:11 - 13:15
    เขาพบว่าการสนทนาจะเป็นวงจรทางลบ
    ที่แย่ลงเรื่อยๆ
  • 13:15 - 13:18
    จากแนวคิดที่เรียบง่ายสุดๆ นี้
  • 13:18 - 13:20
    ก็อตแมนและทีมวิจัยสามารถทำนาย
  • 13:20 - 13:23
    ว่าคู่สมรสคู่ไหนจะหย่าร้าง
  • 13:23 - 13:26
    ด้วยความแม่นยำ 90 เปอร์เซ็นต์
  • 13:26 - 13:29
    แต่เมื่อเขาร่วมงานกับนักคณิตศาสตร์
    ชื่อเจมส์ เมอร์เรย์
  • 13:29 - 13:31
    พวกเขาก็เริ่มเข้าใจอย่างถ่องแท้มากขึ้น
  • 13:31 - 13:36
    ว่าอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดวงจรทางลบ
    และมันเกิดขึ้นได้อย่างไร
  • 13:36 - 13:37
    ผลที่เขาพบ
  • 13:37 - 13:42
    ซึ่งฉันว่ามันน่าสนใจและเรียบง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ
  • 13:42 - 13:46
    สมการเหล่านี้ ทำนายได้ว่าภรรยาและสามี
  • 13:46 - 13:48
    จะตอบสนองอย่างไรต่อไปในการสนทนา
  • 13:48 - 13:50
    มีลักษณะเป็นบวกหรือลบมากแค่ไหน
  • 13:50 - 13:52
    และสมการนี้ มันขึ้นอยู่กับ
  • 13:52 - 13:54
    อารมณ์ปกติของแต่ละคนเมื่ออยู่คนเดียว
  • 13:54 - 13:57
    อารมณ์ของแต่ละคนเมื่อเขาอยู่กับคู่รัก
  • 13:57 - 13:59
    แต่ที่สำคัญที่สุด มันขึ้นอยู่กับว่า
  • 13:59 - 14:02
    สามีกับภรรยามีอิทธิพลต่อกันและกันมากแค่ไหน
  • 14:02 - 14:05
    ฉันคิดว่าจุดนี้สำคัญที่ต้องบอก
    ณ เวทีนี้เลยว่า
  • 14:05 - 14:08
    สมการเดียวกันนี้เอง
    สามารถเอาไปใช้
  • 14:08 - 14:10
    อธิบายได้อย่างดีเยี่ยมเลย
  • 14:10 - 14:14
    ว่าจะเกิดอะไรขึ้นระหว่างสองประเทศ
    ที่แข่งขันกันสะสมอาวุธ
  • 14:14 - 14:16
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:18 - 14:22
    ดังนั้น คู่สมรสที่กำลังโต้เถียง
    ดิ่งลงสู่วงจรทางลบ
  • 14:22 - 14:24
    และตกอยู่ในภาวะหมิ่นเหม่ที่จะหย่าร้าง
  • 14:24 - 14:28
    มีแบบแผนทางคณิตศาสตร์
    เหมือนการเริ่มต้นสงครามนิวเคลียร์
  • 14:28 - 14:31
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:31 - 14:33
    แต่ตัวแปรที่สำคัญจริงๆ ในสมการนี้คือ
  • 14:33 - 14:36
    อิทธิพลที่ทั้งสองฝ่ายมีต่อกัน
  • 14:36 - 14:39
    พูดให้เจาะจงลงไปคือ สิ่งที่เรียกว่า
    ขีดจำกัดความอดทนต่อเรื่องทางลบ
  • 14:39 - 14:41
    ขีดจำกัดความอดทนต่อเรื่องทางลบนี้
  • 14:41 - 14:45
    ก็คือสามีจะทำตัวน่ารำคาญได้มากแค่ไหน
  • 14:45 - 14:49
    ก่อนที่ภรรยาจะเริ่มหงุดหงิด
    หรือในทางกลับกัน
  • 14:49 - 14:54
    ฉันเองเคยคิดว่าชีวิตแต่งงานที่ดี
    ต้องประนีประนอมและเข้าใจกัน
  • 14:54 - 14:57
    และยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งมีพื้นที่
    เป็นตัวของตัวเอง
  • 14:57 - 15:01
    ฉันเลยคิดว่า ความสัมพันธ์
    ที่ประสบความสำเร็จที่สุดนั้น
  • 15:01 - 15:04
    คือความสัมพันธ์ที่ทั้งสองฝ่าย
    มีขีดจำกัดความอดทนต่อเรื่องทางลบสูง
  • 15:04 - 15:06
    คู่สมรสต่างปล่อยเรื่องไม่พอใจผ่านไป
  • 15:06 - 15:08
    จะพูดออกมาก็เฉพาะเรื่องใหญ่ๆ เท่านั้น
  • 15:08 - 15:12
    แต่ที่จริงแล้ว คณิตศาสตร์และ
    ข้อค้นพบจากทีมวิจัยของก็อตแมน
  • 15:12 - 15:15
    แสดงว่าความจริงกลับเป็นตรงกันข้าม
  • 15:15 - 15:18
    คู่สมรสที่ดีที่สุด
    หรือประสบความสำเร็จในชีวิตคู่มากที่สุด
  • 15:18 - 15:22
    คือคู่ที่มีขีดจำกัดความอดทน
    ต่อเรื่องทางลบต่ำ
  • 15:22 - 15:25
    ที่ไม่ปล่อยให้ปัญหาอะไรเล็ดลอดสายตา
  • 15:25 - 15:28
    และเปิดโอกาสให้ต่างฝ่ายต่างได้บ่น
  • 15:28 - 15:34
    เป็นคู่ที่พยายามซ่อมแซมความสัมพันธ์
    ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
  • 15:34 - 15:36
    มีมุมมองทางบวกต่อชีวิตสมรสของตน
  • 15:36 - 15:39
    คู่สมรสที่ไม่ปล่อยอะไรผ่านไป
  • 15:39 - 15:44
    ไม่ปล่อยให้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ
    กลายเป็นเรื่องใหญ่โต
  • 15:44 - 15:50
    ทีนี้ แน่ละ มันต้องมีอะไรมากกว่า
    การมีขีดจำกัดความอดทนต่อเรื่องทางลบต่ำ
  • 15:50 - 15:54
    และการไม่ประนีประนอม
    ที่ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จ
  • 15:54 - 15:57
    แต่ฉันคิดว่ามันน่าสนใจมาก
  • 15:57 - 15:59
    ที่รู้ว่าจริงๆ มันมีหลักฐานทางคณิตศาสตร์
  • 15:59 - 16:02
    ที่บอกว่า คุณไม่ควรปล่อย
    ความโกรธให้คงอยู่ข้ามคืน
  • 16:02 - 16:04
    นั่นคือเคล็ดลับเด็ดสุดสามข้อของฉัน
  • 16:04 - 16:07
    ว่าคณิตศาสตร์สามารถช่วยคุณในเรื่อง
    ความรักและความสัมพันธ์ได้อย่างไร
  • 16:07 - 16:10
    แต่ฉันหวังว่า นอกจากประโยชน์
    ในฐานะเคล็ดลับแล้ว
  • 16:10 - 16:14
    มันคงช่วยให้คุณเข้าใจพลังของคณิตศาสตร์
    มากขึ้นอีกนิดหนึ่ง
  • 16:14 - 16:18
    เพราะสำหรับฉัน สมการและสัญลักษณ์
    ไม่ใช่แค่สิ่งของ
  • 16:18 - 16:23
    มันคือเสียงที่เล่าเรื่อง
    ความรุ่มรวยอันน่าเหลือเชื่อของธรรมชาติ
  • 16:23 - 16:25
    และความเรียบง่ายอย่างน่าทึ่ง
  • 16:25 - 16:29
    ในแบบแผนที่บิด หมุน โค้งงอ
    และค่อยๆ พัฒนาขึ้นรอบตัวเรา
  • 16:29 - 16:32
    จากวิถีของโลก และพฤติกรรมของเรา
  • 16:32 - 16:34
    ฉันจึงหวังว่า บางที
    สำหรับพวกคุณบางคน
  • 16:34 - 16:37
    ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้จาก
    คณิตศาสตร์แห่งความรักนี้
  • 16:37 - 16:40
    คงสามารถโน้มน้าวให้คุณ
    รักคณิตศาสตร์มากขึ้นอีกสักนิด
  • 16:40 - 16:42
    ขอบคุณค่ะ
  • 16:42 - 16:44
    (เสียงปรบมือ)
Title:
คณิตศาสตร์แห่งรัก
Speaker:
ฮันนาห์ ฟราย (Hannah Fry)
Description:

การหาคู่ที่ใช่ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ -- แต่มันเป็นเหมือนคณิตศาสตร์เสียด้วยซ้ำ ในการบรรยายที่มีเสน่ห์นี้ นักคณิตศาสตร์ ฮันนาห์ ฟราย แสดงรูปแบบว่าเรามองหารักอย่างไร และให้สามสุดยอดเคล็ดลับ (ที่ได้รับการพิสูจน์โดยคณิตศาสตร์!) สำหรับการหาคนพิเศษคนนั้น

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:56
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The mathematics of love
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The mathematics of love
Thipnapa Huansuriya approved Thai subtitles for The mathematics of love
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for The mathematics of love
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for The mathematics of love
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for The mathematics of love
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for The mathematics of love
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for The mathematics of love
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions