Return to Video

ทำไมหมวกกันน๊อคไม่สามารถป้องกันการกระแทกสมองได้ -- แล้วจะใช้อะไรดีล่ะ

  • 0:00 - 0:05
    ในปัจจุบัน คำว่าการกระทบกระแทกสมอง
    ก่อให้เกิดความน่ากลัวมากยิ่งกว่าแต่ก่อน
  • 0:05 - 0:07
    และผมก็รู้จากประสบการณ์โดยตรง
  • 0:08 - 0:10
    ผมเล่นอเมริกันฟุตบอลมา 10 ปี
  • 0:10 - 0:13
    ถูกอัดที่หัวมาเป็นพัน ๆ ครั้ง
  • 0:13 - 0:16
    และผมต้องบอกคุณว่า สิ่งที่แย่ยิ่งกว่านั้น
  • 0:16 - 0:21
    คืออุบัติเหตุจากรถจักรยานสองครั้ง
    ที่ทำให้สมองของผมได้รับการกระแทก
  • 0:21 - 0:24
    และผมก็ยังได้รับผลกระทบ
    จากอุบัติเหตุครั้งล่าสุดอยู่
  • 0:24 - 0:26
    ในวันนี้ ณ ตอนนี้
  • 0:28 - 0:30
    เราหวาดกลัวต่อการกระทบกระแทกสมอง
  • 0:30 - 0:32
    ที่ไม่มีหลักฐานมาสนับสนุน
  • 0:34 - 0:37
    มีข้อมูลที่แสดงว่า
    ประวัติการกระทบกระแทกซ้ำ ๆ
  • 0:37 - 0:40
    สามารถนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม
    ดังเช่น โรคอัลไซเมอร์
  • 0:40 - 0:42
    และอาการทางสมองบาดเจ็บเรื้อรัง
  • 0:42 - 0:45
    นั่นเป็นประเด็นในภาพยนตร์ของวิล สมิท
    เรื่อง "Concussion"
  • 0:47 - 0:50
    ฉะนั้น ทุกคนก็เลยคิดภาพแต่ในกรอบ
    เรื่องอเมริกันฟุตบอลและสิ่งที่เห็นในกองทัพ
  • 0:50 - 0:51
    แต่คุณอาจไม่รู้ว่า
  • 0:52 - 0:56
    การขี่รถจักรยานเป็นสาเหตุหลักของ
    การกระทบกระแทกสมองในเด็ก
  • 0:56 - 0:58
    มันเป็นกีฬาที่เกี่ยวข้องกับ
    การกระทบกระแทกสมอง
  • 0:59 - 1:02
    และอีกอย่างหนึ่งที่ผมควรจะบอกคุณ
  • 1:02 - 1:03
    ที่คุณอาจไม่รู้
  • 1:03 - 1:06
    ก็คือหมวกกันน๊อคที่ใส่กันตอนขี่รถจักรยาน
    และตอนเล่นอเมริกันฟุตบอล
  • 1:06 - 1:07
    และในอีกหลาย ๆ กิจกรรมนั้น
  • 1:08 - 1:10
    ไม่ได้ถูกออกแบบหรือถูกทดสอบมา
  • 1:10 - 1:14
    ว่าพวกมันป้องกันการกระทบกระแทกสมอง
    ของลูก ๆ ของคุณได้ดีแค่ไหน
  • 1:14 - 1:16
    อันที่จริงแล้ว พวกมันถูกออกแบบและทดสอบ
  • 1:16 - 1:19
    ในเรื่องของความสามารถในการป้องกัน
    หัวกระโหลกแตกร้าว
  • 1:20 - 1:25
    และผมก็ได้รับคำถามนี้จากพ่อแม่เสมอ ๆ
  • 1:25 - 1:27
    พวกเขาถามผมว่า
  • 1:27 - 1:29
    "คุณจะอนุญาตให้ลูกของคุณ
    เล่นอเมริกันฟุตบอลหรือเปล่า"
  • 1:29 - 1:33
    หรือ "ฉันควรอนุญาตให้ลูกของฉัน
    เล่นอเมริกันฟุตบอลหรือเปล่า"
  • 1:33 - 1:35
    และในฐานะคนในวงการ ผมคิดว่า
  • 1:36 - 1:40
    เรายังให้คำตอบอย่างมั่นใจไม่ได้เลย
  • 1:41 - 1:45
    ฉะนั้น ผมพิจารณาคำถามนั่น
    จากมุมมองที่แตกต่างออกไป
  • 1:45 - 1:49
    และผมก็อยากจะรู้ว่าเราจะป้องกัน
    การกระทบกระแทกสมองได้อย่างไร
  • 1:49 - 1:50
    นั่นมันเป็นไปได้หรือเปล่า
  • 1:50 - 1:53
    และผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คิดว่า
    มันเป็นไปไม่ได้
  • 1:55 - 1:57
    แต่สิ่งที่เรากำลังศึกษากันอยู่
    ในห้องทดลองของผม
  • 1:57 - 2:01
    กำลังเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติม
    เกี่ยวกับการกระทบกระแทกสมอง
  • 2:01 - 2:04
    ซึ่งจะทำให้เรามีความเข้าใจที่ดีขึ้น
  • 2:04 - 2:07
    เหตุผลที่เราสามารถป้องกันกระโหลกร้าว
    ได้ด้วยหมวกกันน๊อค
  • 2:07 - 2:09
    ก็เพราะว่ามันค่อนข้างง่าย
    เรารู้ว่ากลไกของมันเป็นอย่างไร
  • 2:09 - 2:11
    การกระทบกระแทกสมอง
    ยังเป็นปริศนาที่เราไม่เข้าใจ
  • 2:12 - 2:16
    ฉะนั้น เพื่อให้คุณพอเห็นภาพว่า
    การกระทบกระแทกสมองเป็นอย่างไร
  • 2:17 - 2:19
    ผมอยากให้คุณชมวีดีโอนี้
  • 2:19 - 2:22
    ที่คุณจะพบมันได้
    เมื่อทำการค้นหาผ่านกูเกิล
  • 2:22 - 2:23
    "การกระทบกระแทกสมองคืออะไร"
  • 2:23 - 2:25
    เว็บไซต์ของซีดีซี (CDC) ปรากฏขึ้นมา
  • 2:25 - 2:28
    และวีดีโอนี้บอกเล่าเรื่องราวทั้งหมด
  • 2:28 - 2:31
    สิ่งที่คุณเห็นคือศีรษะที่เคลื่อนไปข้างหน้า
  • 2:31 - 2:33
    สมองที่ยังอยู่ในส่วนด้านหลัง
  • 2:33 - 2:34
    และจากนั้นสมองก็ค่อยเคลื่อนตามมา
  • 2:34 - 2:37
    และกระแทกเข้ากับกระโหลก
  • 2:37 - 2:39
    มันเด้งกลับออกจากกระโหลก
  • 2:39 - 2:43
    และจากนั้นก็เคลื่อนไปยังอีกด้านหนึ่ง
    ของกระโหลก
  • 2:43 - 2:47
    และสิ่งที่คุณจะสังเกตก็คือสิ่งที่ถูกเน้นไว้
    ในวีดีโอจากซีดีซีนี้
  • 2:47 - 2:49
    ซึ่งผมจะขอย้ำว่างานนี้
    ได้รับเงินสนับสนุนจาก NFL
  • 2:49 - 2:52
    ก็คือส่วนผิวนอกของสมอง
  • 2:52 - 2:56
    ที่ซึ่งกระแทกเข้ากับกระโหลก
  • 2:56 - 3:00
    ดูเหมือนว่ามันได้รับบาดเจ็บหรือเสียหาย
    ฉะนั้นมันก็คือผิวส่วนนอกของสมอง
  • 3:00 - 3:02
    และที่ผมอยากจะทำสำหรับวีดีโอนี้ก็คือ
  • 3:02 - 3:05
    บอกกับคุณว่ามันมีบางแง่มุม
    ที่อาจเป็นความจริง
  • 3:05 - 3:08
    ที่บ่งบอกว่านักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า
    มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทบกระแทก
  • 3:08 - 3:11
    แต่มันอาจยังมีส่วนที่ผิดอยู่หลายจุด
    ในวีดีโอนี้
  • 3:11 - 3:14
    สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นด้วย และผมก็คิดว่า
    ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย
  • 3:14 - 3:16
    ก็คือสมองมีการเคลื่อนไหวแบบนี้
  • 3:16 - 3:19
    มันอยู่ในส่วนด้านหลังของกระโหลก
  • 3:19 - 3:21
    และจากนั้นเคลื่อนตามมา
    เคลื่อนไปข้างหน้าและหลัง และแกว่ง
  • 3:21 - 3:23
    นั่นเป็นสิ่งที่เราคิดว่าเกิดขึ้นจริง
  • 3:24 - 3:27
    อย่างไรก็ดี ระดับการเคลื่อนที่
    ที่คุณได้เห็นในวีดีโอนี้
  • 3:27 - 3:29
    บางที อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด
  • 3:29 - 3:32
    ในส่วนโค้งโพรงกระโหลก
    มีพื้นที่อยู่น้อยมาก
  • 3:32 - 3:34
    มีเพียงไม่กี่มิลลิเมตรเท่านั้นเอง
  • 3:34 - 3:37
    และมันก็เต็มไปด้วยน้ำในสมอง
  • 3:37 - 3:39
    ซึ่งทำหน้าที่เป็นชั้นป้องกัน
  • 3:39 - 3:43
    และสมองทั้งหมดก็อาจเคลื่อนที่น้อยมาก
    ภายในกระโหลก
  • 3:45 - 3:47
    อีกปัญหาหนึ่งเกี่ยวกับวีดีโอนี้
  • 3:47 - 3:48
    ก็คือสมองที่เราเห็น
  • 3:48 - 3:51
    ถูกแสดงในลักษณะก้อนของแข็ง
    ที่เคลื่อนไปรอบ ๆ
  • 3:51 - 3:53
    และนั่นก็ไม่ใช่ความจริงเช่นกัน
  • 3:54 - 3:57
    สมองของคุณเป็นส่วนที่นุ่มที่สุดส่วนหนึ่ง
    ของร่างกาย
  • 3:57 - 3:59
    และคุณอาจคิดว่ามันเหมือนกับเยลลี่
  • 3:59 - 4:01
    ฉะนั้น เมื่อศีรษะของคุณ
    เคลื่อนไปข้างหน้าและหลัง
  • 4:01 - 4:04
    สมองของคุณจะหมุนและบิดไปมา
  • 4:04 - 4:06
    และเนื้อเยื่อก็จะถูกยืด
  • 4:06 - 4:09
    และผมก็คิดว่าผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่
    ก็เห็นด้วยกับเรื่องนี้
  • 4:10 - 4:13
    การกระทบกระแทกนั้นไม่น่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 4:13 - 4:14
    บนผิวนอกของสมอง
  • 4:15 - 4:17
    แต่เกิดกับส่วนที่ลึกมากกว่านั้น
  • 4:17 - 4:18
    ลงไปตามแกนกลางของสมอง
  • 4:19 - 4:22
    ทีนี้ วิธีการที่เรากำลังจัดการกับปัญหานี้ก็คือ
  • 4:22 - 4:24
    พยายามทำความเข้าใจ
    กลไกของการกระทบกระแทก
  • 4:24 - 4:26
    และพยายามเข้าใจว่าเราจะป้องกันมันได้อย่างไร
  • 4:26 - 4:29
    โดยใช้อุปกรณ์ที่มีหน้าตาแบบนี้
  • 4:29 - 4:30
    มันคือฟันยาง
  • 4:31 - 4:34
    มันมีตัวตรวจจับอยู่ภายใน
    ที่เหมือนกันกับตัวตรวจจับ
  • 4:34 - 4:35
    ที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือของคุณ
    ซึ่งได้แก่
  • 4:35 - 4:38
    ตัววัดความเร่ง ไจโรสโคป
  • 4:38 - 4:39
    และเมื่อใครก็ตามได้รับการปะทะเข้าที่ศีรษะ
  • 4:40 - 4:42
    มันจะบอกคุณว่าศีรษะของเขาเคลื่อนไปอย่างไร
  • 4:42 - 4:45
    โดยบันทึกไว้ที่อัตราพันตัวอย่างต่อวินาที
  • 4:47 - 4:49
    หลักการเบื้องหลังฟันยางก็คือ
  • 4:49 - 4:51
    มันพอดีกับฟันของคุณ
  • 4:51 - 4:54
    ฟันของคุณเป็นส่วนหนึ่งที่แข็งที่สุด
    ในร่างกาย
  • 4:54 - 4:56
    ฉะนั้น มันถูกฝังอยู่แน่นในกระโหลกของคุณ
  • 4:56 - 4:58
    และให้การวัดที่แม่นยำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • 4:58 - 5:00
    ว่ากระโหลกเคลื่อนที่อย่างไร
  • 5:00 - 5:03
    ผู้คนได้พยายามวิธีการอื่น ๆ
    ด้วยหมวกกันน๊อค
  • 5:03 - 5:06
    เราได้ใช้ตัวตรวจวัดอย่างอื่น
    ที่ติดไว้ที่ผิวหนัง
  • 5:06 - 5:09
    และพวกมันก็เคลื่อนที่มากเกินไป
  • 5:09 - 5:12
    และเราก็พบว่านี่เป็นเพียงวิธีการเดียว
    ที่เชื่อถือได้
  • 5:12 - 5:13
    ที่จะวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 5:15 - 5:20
    ฉะนั้นตอนนี้ เรามีอุปกรณ์นี้แล้ว
    เราสามารถทำได้มากกว่าการศึกษาศพ
  • 5:20 - 5:22
    เพราะว่าคุณสามารถเรียนรู้อะไรมากมาย
    เกี่ยวกับการกระทบกระแทก
  • 5:22 - 5:23
    จากการศึกษาศพ
  • 5:23 - 5:26
    และเราต้องการที่จะเรียนรู้และศึกษา
    คนที่มีชีวิตอยู่เช่นกัน
  • 5:26 - 5:30
    ฉะนั้น สถานที่ใดบ้างที่เราจะสามารถ
    หากลุ่มของอาสาสมัตรได้
  • 5:30 - 5:34
    เพื่อที่จะให้พวกเขาเอาศีรษะไปกระแทกกัน
    ได้บ่อยครั้ง
  • 5:34 - 5:36
    และมีการกระทบกระแทกเสมอ ๆ
  • 5:36 - 5:38
    ครับ ผมเป็นหนึ่งในพวกนั้น
  • 5:38 - 5:40
    และมันก็คือทีมอเมริกันฟุตบอลสแตนฟอร์ด
    ที่แสนจะเป็นมิตร
  • 5:42 - 5:43
    ฉะนั้น นี่แหละครับห้องทดลองของเรา
  • 5:43 - 5:45
    และผมอยากที่จะแสดงให้คุณดู
  • 5:45 - 5:48
    การกระทบกระแทกครั้งแรก
    ที่เราวัดด้วยอุปกรณ์นี้
  • 5:48 - 5:52
    หนึ่งในสิ่งที่ผมควรจะบอกก็คือ
    อุปกรณ์มีไจโรสโคปอยู่ในนั้น
  • 5:52 - 5:55
    และนั่นทำให้เราสามารถวัดการหมุนของศีรษะได้
  • 5:55 - 5:58
    ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คิดว่า
    นั่นเป็นปัจจัยสำคัญ
  • 5:58 - 6:00
    ที่อาจเริ่มบอกกับเราว่ามันเกิดอะไรขึ้น
    เมื่อเกิดการกระทบกระแทก
  • 6:01 - 6:02
    ฉะนั้น โปรดดูวีดีโอนี้นะครับ
  • 6:03 - 6:07
    ผู้บรรยาย: คูก้าบุกเข้ามากันอีก
    แต่ถือว่าโชคดี
  • 6:07 - 6:08
    มีช่องแล้วครับ
  • 6:10 - 6:12
    ผมว่าเขาจะไม่เป็นไรนะ
  • 6:12 - 6:14
    (เสียงผู้ชมร้องอื้ออึง)
  • 6:19 - 6:20
    ทางด้านบนของจอของคุณ
  • 6:20 - 6:22
    คุณจะเห็นเขาเข้ามาหลังเส้นแนว
  • 6:22 - 6:24
    และถูกแยกออกไปอย่างปลอดภัย
  • 6:28 - 6:31
    มันพุงเข้ามาหาคุณที่ความเร็วจริง
    คุณจะได้ยินสิ่งนี้
  • 6:33 - 6:35
    การชนที่เกิดจาก --
  • 6:36 - 6:39
    เดวิด คามาริโญ: ขอโทษครับ
    ให้คุณดูสามครั้งนี่อาจจะมากไปหน่อย
  • 6:39 - 6:40
    แต่คุณก็คงจะเข้าใจแล้วว่ามันเป็นอย่างไร
  • 6:40 - 6:43
    ฉะนั้น เมื่อคุณดูจากภาพนี้
  • 6:43 - 6:47
    ที่คุณเห็นได้ก็คือเขาถูกชนเข้าอย่างแรง
    และเขาก็เจ็บ
  • 6:47 - 6:49
    แต่เมื่อเราสกัดข้อมูลออกมา
  • 6:49 - 6:51
    จากฟันยางที่เราให้เขาใส่ไว้
  • 6:51 - 6:54
    เราสามารถเห็นรายละเอียดได้มากกว่า
    ละเอียดกว่า
  • 6:54 - 6:56
    และหนึ่งในสิ่งที่เราสังเกตเห็น
  • 6:56 - 7:00
    ก็คือเขาถูกชนทางด้านซ้ายล่างของหน้ากาก
  • 7:00 - 7:03
    และนั่นก็ทำบางสิ่ง
    ซึ่งเป็นการกระทบกระแทกเบา ๆ
  • 7:03 - 7:05
    ศีรษะไม่ได้เคลื่อนไปทางขวา
  • 7:05 - 7:07
    อันที่จริง มันหมุนไปทางซ้ายก่อน
  • 7:07 - 7:10
    จากนั้นเมื่อคอเริ่มย่อลงมา
  • 7:10 - 7:13
    แรงของการกระแทกทำให้มันเคลื่อนไปทางด้านหลัง
  • 7:13 - 7:19
    ฉะนั้นการเคลื่อนที่ไปทางซ้ายและขวา
    เป็นเหมือนกับการเคลื่อนที่ของแส้
  • 7:19 - 7:23
    และเราคิดว่านั่นนอาจเป็นสิ่งที่นำไปสู่
    การบาดเจ็บของสมอง
  • 7:23 - 7:27
    ทีนี้ อุปกรณ์นี้จำกัดเพียงแค่ว่า
    มันสามารถวัดการเคลื่อนของกระโหลก
  • 7:27 - 7:31
    แต่ที่เราอยากจะรู้ก็คือ
    มันเกิดอะไรขึ้นในสมอง
  • 7:31 - 7:34
    ฉะนั้น เราจึงร่วมมือกับกลุ่มของ
    สวิน แคลิเวน ในสวีเดน
  • 7:34 - 7:38
    พวกเขาพัฒนาแบบจำลองสมองที่มีขนาดจำกัด
  • 7:38 - 7:40
    และในแบบจำลองนี้
  • 7:40 - 7:43
    การใช้ข้อมูลจากฟันยางของเรา
    จากการบาดเจ็บที่ผมแสดงให้คุณดู
  • 7:43 - 7:45
    และที่คุณเห็นนี้ก็คือสมอง --
  • 7:45 - 7:48
    นี่เป็นภาพตัดขวางที่ทางด้านหน้า
  • 7:48 - 7:50
    ของสมองที่ถูกบิดและถูกกระทบกระแทก
    อย่างที่ผมได้พูดถึง
  • 7:50 - 7:53
    คุณจะเห็นว่ามันไม่เหมือนกับในวีดีโอของ CDC
  • 7:53 - 7:55
    ทีนี้ สีที่คุณดูอยู่นี้
  • 7:55 - 7:59
    บอกว่าเนื้อเยื่อสมองถูกยืดไปมากน้อยแค่ไหน
  • 7:59 - 8:01
    และส่วนสีแดงนั้นหมายถึง 50 เปอร์เซ็นต์
  • 8:01 - 8:05
    นั่นหมายถึงสมองได้ถูกยืดไป 50 เปอร์เซ็นต์
    ของความยาวตามปกติ
  • 8:05 - 8:06
    เนื้อเยื่อในบริเวณนั้น
  • 8:07 - 8:10
    และสิ่งสำคัญก็คือที่ผมอยากจะให้คุณสนใจ
    ก็คือจุดแดงนี้
  • 8:10 - 8:13
    จุดแดงนี้ใกล้กับส่วนกลางของสมอง
  • 8:13 - 8:15
    และถ้าจะเปรียบเทียบ
  • 8:15 - 8:19
    คุณไม่ค่อยเห็นสีแบบนั้นในส่วนผิวนอก
  • 8:19 - 8:22
    ดังที่วีดีโอของ CDC แสดง
  • 8:23 - 8:25
    ทีนี้ เพื่อที่จะอธิบายในรายละเอียด
  • 8:25 - 8:28
    เกี่ยวกับว่าเราคิดว่ามันเกิดอะไรขึ้น
    เมื่อเกิดการกระทบกระแทก
  • 8:28 - 8:30
    สิ่งหนึ่งที่ผมควรพูดถึง
  • 8:30 - 8:33
    ก็คือเราและคนอื่น ๆ ได้สังเกต
    ว่าการกระทบกระแทกจะเกิดขึ้นได้มากกว่า
  • 8:33 - 8:37
    เมื่อคุณถูกกระแทก
    และศีรษะของคุณหมุนไปในทิศทางนี้
  • 8:37 - 8:39
    มันเกิดได้บ่อย ๆ ในกีฬาอย่างอเมริกันฟุตบอล
  • 8:39 - 8:43
    แต่มันน่าจะเป็นอันตรายมากกว่านั้น
    แล้วมันเกิดอะไรขึ้นในสถานการณ์นี้
  • 8:43 - 8:46
    ครับ สิ่งหนึ่งที่คุณจะสังเกตก็คือ
    ในสมองของมนุษย์
  • 8:46 - 8:47
    ที่แตกต่างจากของสัตว์อื่น ๆ
  • 8:47 - 8:50
    คือเรามีพูใหญ่สองข้าง
  • 8:50 - 8:52
    เรามีสมองซีกขวาและสมองซีกซ้าย
  • 8:52 - 8:55
    และสิ่งสำคัญก็คือ ที่เราสังเกตเห็นในรูปนี้
  • 8:55 - 8:58
    ก็คือลึกลงไปในส่วนกลาง
    สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา
  • 8:58 - 9:01
    นี่คือเนื้อเยื่อส่วนใหญ่
    ที่อยู่ลึกลงไปในสมอง
  • 9:01 - 9:04
    และในเนื้อเยื่อนั้น
    ที่คุณมองไม่เห็นในภาพนี้
  • 9:04 - 9:05
    และคุณต้องเชื่อผม
  • 9:06 - 9:07
    ก็คือมันมีแผ่นที่เป็นเส้นใยของเนื้อเยื่อ
  • 9:07 - 9:08
    ที่เรียกว่า แฟลกซ์
  • 9:08 - 9:12
    และมันก็วางตัวจากส่วนหน้าของศีรษะ
    ไปจนถึงส่วนหลังของศีรษะ
  • 9:12 - 9:13
    และมันก็ค่อนข้างที่จะแข็ง
  • 9:13 - 9:17
    และที่มันเกิดขึ้นก็คือ เมื่อคุณถูกกระแทก
  • 9:17 - 9:20
    และศีรษะของคุณหมุนในทิศทางซ้ายขวา
  • 9:20 - 9:24
    แรงสามารถถูกส่งผ่านไปได้อย่างรวดเร็ว
    ลงไปตามแกนกลางของสมองของคุณ
  • 9:24 - 9:26
    ทีนี้ สิ่งที่อยู่ทางด้านล่างของเนื้อเยื่อคืออะไร
  • 9:27 - 9:30
    มันเป็นเส้นสายของสมอง
  • 9:30 - 9:34
    และอันที่จริงมัดสีแดงนี้
    ที่อยู่ทางด้านล่างของเนื้อเยื่อ
  • 9:34 - 9:37
    คือมัดใยเดี่ยวขนาดใหญ่
  • 9:37 - 9:41
    นั่นคือเส้นสายที่เชื่อมต่อ
    ซีกขวาและซ้ายของสมองของคุณ
  • 9:41 - 9:43
    มันเรียกว่า คอร์ปัส แคลโลซัม
  • 9:43 - 9:45
    และเราคิดว่านั่นอาจเป็น
  • 9:45 - 9:49
    หนึ่งในกลไกที่สำคัญที่สุด
    ของการกระทบกระแทก
  • 9:49 - 9:54
    และเมื่อแรงนั้นเคลื่อนลงมา
    พวกมันกระทบเข้ากับคอร์ปัส แคลโลซัม
  • 9:54 - 9:57
    มันทำให้เกิดการแยกตัว
    ระหว่างสมองซีกขวาและซ้าย
  • 9:57 - 9:59
    และสามารถอธิบายอาการบางอย่าง
    ของการกระทบกระแทกสมองได้
  • 10:01 - 10:03
    การค้นพบนี้ยังสอดคล้องกัน
    กับสิ่งที่เราเห็น
  • 10:04 - 10:08
    ในโรคสมองนี้ที่ผมพูดถึง
    โรคทางสมองที่บาดเจ็บเรื้อรัง
  • 10:08 - 10:13
    นี่คือภาพของอดีตนักอเมริกันฟุตบอลอาชีพ
    วัยกลางคน
  • 10:13 - 10:17
    และสิ่งที่ผมอยากจะเน้นก็คือ
    ถ้าคุณดูที่คอร์ปัส แคลโลซัม
  • 10:17 - 10:21
    และผมจะย้อนกลับไปให้คุณดูขนาด
    ของคอร์ปัส แคลโลซัม ปกติ
  • 10:21 - 10:25
    และขนาดของมันในคน
    ที่มีโรคทางสมองที่บาดเจ็บเรื้อรัง
  • 10:26 - 10:28
    มันลีบลงไปมาก
  • 10:28 - 10:31
    และมันก็เป็นเช่นเดียวกัน
    สำหรับพื้นที่ในส่วนล่าง
  • 10:31 - 10:33
    ส่วนล่างเหล่านี้มีขนาดใหญ่กว่ามาก
  • 10:33 - 10:36
    และเนื้อเยื่อทั้งหมดใกล้กับส่วนกลางของสมอง
  • 10:36 - 10:37
    ค่อย ๆ ตายเมื่อเวลาผ่านไป
  • 10:37 - 10:41
    ฉะนั้น สิ่งที่เราได้เรียนรู้มีความสอดคล้องกัน
  • 10:42 - 10:44
    ทีนี้ มันมีข่าวดีครับ
  • 10:44 - 10:48
    ผมหวังว่าจะให้คุณรับรู้ได้ถึงความหวัง
    ในช่วงตอนจบของการบรรยายนี้
  • 10:48 - 10:50
    หนึ่งในสิ่งที่เราสังเกต
  • 10:50 - 10:52
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับกลไกล
    ของการบาดเจ็บนี้
  • 10:52 - 10:56
    ก็คือ แม้ว่าจะมีการส่งแรงอย่างรวดเร็ว
    ลงไปตามเนื้อเยื่อ
  • 10:56 - 10:59
    มันก็ยังต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง
  • 10:59 - 11:04
    และสิ่งที่เราคิดก็คือ ถ้าเราสามารถ
    ทำให้ศีรษะเคลื่อนช้าลงมากพอ
  • 11:04 - 11:07
    เพื่อที่สมองจะไม่ค้างอยู่ด้านหลังกระโหลก
  • 11:07 - 11:11
    แต่มันจะเคลื่อนไปกับกระโหลก
    อย่างประสานกันแล้ว
  • 11:11 - 11:14
    เราอาจสามารถป้องกันกลไกล
    ที่ทำให้เกิดการกระทบกระแทกสมองได้
  • 11:14 - 11:17
    ฉะนั้น เราจะทำให้
    ศีรษะเคลื่อนช้าลงได้อย่างไร
  • 11:19 - 11:20
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:20 - 11:22
    หมวกกันน๊อคขนาดใหญ่
  • 11:23 - 11:26
    ด้วยพื้นที่ที่มากขึ้น คุณมีเวลามากขึ้น
  • 11:26 - 11:29
    และนี่มันก็น่าขำสักหน่อย
    สำหรับพวกคุณบางคนที่เห็นสิ่งนี้
  • 11:29 - 11:32
    นี่คือฟุตบอลลูกโป่ง
    มันเป็นกีฬาจริง ๆ นะครับ
  • 11:32 - 11:33
    อันที่จริง ผมเห็นวัยรุ่นบางคน
  • 11:33 - 11:36
    เล่นกีฬานี้ใกล้ ๆ กับบ้านของผม
  • 11:36 - 11:39
    และเท่าที่ผมรู้ มันไม่เคยมีรายงาน
    เรื่องการกระทบกระแทกสมองเลย
  • 11:39 - 11:40
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:40 - 11:45
    แต่เอาเข้าจริง ๆ แล้ว หลักการนี้มันได้ผล
  • 11:45 - 11:46
    แต่มันออกจะดูมากไปหน่อย
  • 11:46 - 11:51
    มันไม่ใช่หลักการที่จะทำได้จริง ๆ สำหรับ
    การขี่รถจักรยานหรือการเล่นอเมริกันฟุตบอล
  • 11:52 - 11:56
    เราก็เลยเกิดความร่วมมือกับบริษัทในสวีเดน
    ที่ชื่อว่า โฮฟดิง (Hövding)
  • 11:56 - 11:58
    พวกคุณบางคนคงเคยเห็นผลงานของพวกเขาแล้ว
  • 11:58 - 12:03
    และพวกเขาก็ใช้หลักการเดียวกัน
    ของอากาศเพื่อที่จะทำให้คุณมีพื้นที่มากขึ้น
  • 12:03 - 12:04
    เพื่อป้องกันการกระทบกระแทก
  • 12:05 - 12:07
    เด็ก ๆ ครับ อย่าเล่นเองที่บ้านนะครับ
    ขอร้องล่ะ
  • 12:09 - 12:11
    นี่คือสตันต์แมนที่ไม่ได้ใส่หมวกกันน๊อค
  • 12:12 - 12:14
    แต่ว่าเขามีปลอกคอ
  • 12:14 - 12:17
    และปลอกคอนี้มีตัวตรวจจับอยู่
  • 12:17 - 12:21
    มันเป็นตัวตรวจจับประเภทเดียวกัน
    กับที่อยู่ในฟันยาง
  • 12:21 - 12:24
    มันตรวจจับว่าเมื่อเราที่เขาน่าจะหกล้ม
  • 12:24 - 12:26
    และมันก็มีถุงลมที่ระเบิดตัวออกมาและทำงาน
  • 12:26 - 12:30
    โดยหลักการแล้ว มันทำงานแบบเดียวกัน
    กับถุงลมในรถยนต์ของคุณ จำเป็นอย่างยิ่ง
  • 12:30 - 12:33
    และในการทดลองอุปกรณ์ของพวกเขา
    ในห้องทดลองของผม
  • 12:33 - 12:37
    เราพบว่ามันสามารถลดความเสี่ยง
    ของการกระทบกระแทกในบางสถานการณ์ได้
  • 12:37 - 12:39
    เมื่อเปรียบเทียบกับ
    หมวกกันน๊อคจักรยานตามปกติ
  • 12:39 - 12:41
    มันเป็นการพัฒนาที่ค่อนข้างน่าตื่นเต้น
  • 12:42 - 12:46
    แต่เพื่อที่เราจะรู้ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี
  • 12:46 - 12:48
    ที่เราสามารถป้องกันการกระทบกระแทกได้
  • 12:48 - 12:51
    มันจะต้องเป็นไปตามมาตราฐาน
  • 12:51 - 12:53
    นั่นคือความเป็นจริง
  • 12:53 - 12:56
    อุปกรณ์นี้มีวางขายอยู่ในยุโรป
  • 12:56 - 13:00
    แต่ไม่มีขายในอเมริกา
    และบางที่มันก็คงยังไม่มีขายในเร็ว ๆ นี้
  • 13:00 - 13:01
    ผมจะบอกพวกคุณว่าทำไม
  • 13:01 - 13:05
    มันมีเหตุผลที่ดีและไม่ดี
  • 13:05 - 13:07
    หมวกกันน๊อคจักรยานถูกควบคุมโดยรัฐฯ
  • 13:07 - 13:11
    คณะกรรมการคุ้มครองความปลอดภัยสินค้า
    สำหรับผู้บริโภคได้รับสิทธิ
  • 13:11 - 13:13
    ในการรับรองหมวกกันน๊อคจักรยาน
    ที่จะวางจำหน่าย
  • 13:13 - 13:15
    และนี่คือการทดสอบที่พวกเขาใช้
  • 13:15 - 13:18
    ซึ่งมันกลับไปยังสิ่งที่ผมบอกกับคุณ
    ในตอนต้นเกี่ยวกับโครงสร้างของกระโหลก
  • 13:18 - 13:20
    นั่นเป็นเหตุผลของการทดสอบนี้
  • 13:20 - 13:21
    และนั่นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำ
  • 13:21 - 13:24
    มันสามารถช่วยชีวิตคุณได้
    แต่มันไม่เพียงพอ ผมบอกได้เลย
  • 13:24 - 13:27
    ยกตัวอย่างเช่น สิ่งหนึ่งที่การทดสอบนี้
    ไม่ได้ประเมิน
  • 13:27 - 13:30
    ก็คือมันไม่ได้บอกคุณ
    ว่าถุงลมนี้กำลังจะทำงาน
  • 13:30 - 13:34
    อย่างถูกที่ถูกเวลา และจะไม่ทำงาน
    เมื่อมันไม่เป็นที่ต้องการหรือเปล่า
  • 13:34 - 13:36
    คล้ายกัน มันไม่ได้บอกคุณ
  • 13:36 - 13:39
    ว่าหมวกกันน๊อคนี้
    จะป้องการการเกิดการกระทบกระแทกได้หรือไม่
  • 13:39 - 13:43
    และถ้าคุณดูหมวกกันน๊อคของนักอเมริกันฟุตบอล
    ซึ่งไม่ได้ถูกควบคุม
  • 13:43 - 13:45
    พวกมันได้รับการทดสอบคล้ายกันมาก
  • 13:46 - 13:48
    พวกมันไม่ได้ถูกควบคุม
    โดยรัฐฯ ไม่ว่าโดยวิธีใด
  • 13:48 - 13:51
    พวกมันถูกควบคุมโดยหน่วยงานอุตสาหกรรม
    ซึ่งนั่นเป็นการทำงานของอุตสาหกรรมส่วนใหญ่
  • 13:51 - 13:54
    แต่ด้วยหน่วยงานอุตสาหกรรม
    ผมบอกคุณได้ว่าพวกเขา
  • 13:54 - 13:55
    ไม่ค่อยที่จะปรับเปลี่ยนมาตราฐาน
  • 13:55 - 13:59
    ฉะนั้น ในห้องทดลองของผม
    ไม่เพียงแต่ศึกษากลไกการกระทบกระแทก
  • 13:59 - 14:02
    แต่เรายังต้องการที่จะเข้าใจ
    ว่าเราจะมีมาตราฐานที่ดีกว่านี้ได้อย่างไร
  • 14:02 - 14:07
    และเราก็หวังว่ารัฐฯ จะใช้ข้อมูลพวกนี้
  • 14:07 - 14:08
    เพื่อกระตุ้นสนับสนุนนวัตกรรม
  • 14:08 - 14:10
    โดยให้ผู้บริโภครู้ว่า
  • 14:10 - 14:14
    พวกเขาได้รับการป้องกันจากหมวกกันน๊อคแค่ไหน
  • 14:14 - 14:17
    และผมอยากที่จะพาพวกคุณกลับไป
    ยังคำถามแรกที่ผมถาม
  • 14:17 - 14:21
    ซึ่งก็คือ ผมรู้สึกสบายใจหรือไม่
    ที่จะให้ลูกของผมเล่นอเมริกันฟุตบอล
  • 14:21 - 14:22
    หรือขึ่รถจักรยาน
  • 14:22 - 14:26
    และนี่อาจเป็นเพียงผลลัพธ์
    จากประสบการณ์การได้รับบาดเจ็บของผม
  • 14:26 - 14:30
    ผมรู้สึกประหม่าที่เห็นโรส
    ลูกสาวของผมขี่จักรยาน
  • 14:31 - 14:33
    เธออายุขวบครึ่ง
  • 14:33 - 14:38
    และเธอก็อยากที่จะซิ่งลงไปตามถนน
    ในซานฟรานซิสโก
  • 14:38 - 14:40
    นี่คือด้านล่างของถนนเหล่านี้
  • 14:40 - 14:46
    และเป้าหมายส่วนตัวของผม
    ก็คือ -- และผมก็เชื่อว่ามันเป็นไปได้ --
  • 14:46 - 14:48
    คือพัฒนาเทคโนโลยีนี้ต่อไป
  • 14:48 - 14:51
    และอันที่จริง เรากำลังศึกษาบางสิ่ง
    ในห้องทดลองของผมโดยเฉพาะ
  • 14:51 - 14:54
    ที่จะใช้พื้นที่ในหมวกกันน๊อค
    ได้อย่างเหมาะสมที่สุด
  • 14:54 - 14:56
    และผมก็มั่นใจว่าเราจะสามารถทำได้
  • 14:56 - 14:59
    ก่อนที่เธอพร้อมที่จะขี่จักรยานสองล้อ
  • 14:59 - 15:01
    ว่าจะมีอะไรสักอย่าง
  • 15:01 - 15:04
    ที่สามารถที่จะลดความเสี่ยง
    ของการกระทบกระแทกสมองได้จริง ๆ
  • 15:04 - 15:07
    และเป็นไปตามการควบคุมของร่างกาย
  • 15:07 - 15:09
    และสิ่งที่ผมอยากจะทำก็คือ --
  • 15:09 - 15:12
    และผมก็รู้ว่าสำหรับพวกคุณบางคน
  • 15:12 - 15:14
    ผมมีเวลาสองสามปี --
  • 15:14 - 15:18
    ที่จะสามารถบอกกับผู้ปกครองและ
    ปู่ย่าตายายได้เมื่อผมถูกถาม
  • 15:18 - 15:23
    ว่ามันปลอดภัยและดีต่อสุขภาพของลูก ๆ ของคุณ
    หรือไม่ที่จะทำกิจกรรมเหล่านี้
  • 15:23 - 15:26
    และผมก็โชคดีมาก
    ที่มีทีมที่แสนวิเศษที่สแตนฟอร์ด
  • 15:26 - 15:27
    ที่ทำงานกันอย่างหนัก
  • 15:27 - 15:32
    ผมหวังว่าจะกลับมาในอีกสองสามปี
    พร้อมกับเรื่องราวในตอนจบ
  • 15:32 - 15:34
    แต่สำหรับตอนนี้ ผมจะบอกคุณว่า
  • 15:34 - 15:37
    อย่างได้เอาแต่กลัวเมื่อคุณได้ยินคำว่า
    การกระทบกระแทกสมอง
  • 15:37 - 15:38
    มันยังมีหวังครับ
  • 15:38 - 15:39
    ขอบคุณครับ
  • 15:39 - 15:44
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมหมวกกันน๊อคไม่สามารถป้องกันการกระแทกสมองได้ -- แล้วจะใช้อะไรดีล่ะ
Speaker:
เดวิด คามาริโญ (David Camarillo)
Description:

การกระทบกระแทกสมองคืออะไร บางที มันอาจไม่ได้เป็นอย่างที่คุณคิด ในการบรรยายจากผลงานวิจัยล่าสุดนี้ นักชีววิศวกรรม (และอดีตนักฟุตบอล) เดวิด คามาริโญ แสดงให้เห็นว่าจริง ๆ แล้วมันเกิดอะไรขึ้นระหว่างการกระแทก - และทำไมหมวกกีฬาสำหรับกันน๊อคไม่อาจช่วยป้องกันสมองได้ นี่คือโฉมหน้าของการป้องกันการกระแทกล้ำยุค

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:56

Thai subtitles

Revisions