Return to Video

นีล แม็คเกรเกอร์: ประวัติศาสตร์ 2,600 ปีผ่านวัตถุหนึ่งชิ้น

  • 0:00 - 0:02
    สิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้น
  • 0:02 - 0:05
    มีคุณสมบัติพิเศษสุดอย่างหนึ่ง
  • 0:05 - 0:07
    นั่นคือ มันอายุยืนยาวกว่าเรา
  • 0:07 - 0:09
    เราล้มหายตายจาก มันอยู่รอด
  • 0:09 - 0:12
    เรามีหนึ่งชีวิต มันมีหลายชีวิต
  • 0:12 - 0:15
    และในแต่ละชีวิต มันมีความหมายได้หลากหลาย
  • 0:15 - 0:18
    ซึ่งหมายความว่า ในขณะที่เรามีชีวประวัติหนึ่งเดียว
  • 0:18 - 0:20
    มันมีชีวประวัติมากมาย
  • 0:20 - 0:22
    เช้าวันนี้ ผมอยากจะพูดถึง
  • 0:22 - 0:25
    เรื่องราวหรือชีวประวัติอันหลากหลาย
  • 0:25 - 0:28
    ของวัตถุชิ้นหนึ่ง
  • 0:28 - 0:30
    วัตถุอันน่าทึ่ง
  • 0:30 - 0:32
    ผมเห็นด้วย
  • 0:32 - 0:34
    มันไม่ได้ดูพิเศษสักเท่าไหร่
  • 0:34 - 0:37
    ขนาดของมันประมาณลูกรักบี้
  • 0:37 - 0:39
    ถูกทำขึ้นจากดิน
  • 0:39 - 0:41
    และขึ้นรูปเป็น
  • 0:41 - 0:44
    ทรงกระบอก
  • 0:44 - 0:46
    ปกคลุมไปด้วยตัวอักษรแน่นขนัด
  • 0:46 - 0:49
    จากนั้นถูกนำไปตากแดดจนแห้ง
  • 0:49 - 0:51
    แล้วก็อย่างที่คุณเห็น
  • 0:51 - 0:53
    มันถูกกะเทาะออกไปบางส่วน
  • 0:53 - 0:55
    ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ
  • 0:55 - 0:58
    เพราะมันถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ 2,600 ปีก่อน
  • 0:58 - 1:00
    และถูกขุดขึ้นมา
  • 1:00 - 1:02
    ในปี 1879
  • 1:02 - 1:04
    แต่ในปัจจุบัน
  • 1:04 - 1:06
    ผมเชื่อว่าวัตถุชิ้นนี้
  • 1:06 - 1:08
    เป็นผู้เล่นหลัก
  • 1:08 - 1:10
    ในการเมืองของโลกตะวันออกกลาง
  • 1:10 - 1:12
    มันเป็นวัตถุที่
  • 1:12 - 1:14
    เต็มไปด้วยเรื่องราวอันน่าหลงใหล
  • 1:14 - 1:18
    และเรื่องราวเหล่านั้นยังไม่สิ้นสุด
  • 1:18 - 1:20
    จุดเริ่มของเรื่อง
  • 1:20 - 1:24
    เกิดขึ้นในสงครามอิหร่าน-อิรัก
  • 1:24 - 1:26
    ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์ต่างๆ
  • 1:26 - 1:28
    ที่นำไปสู่
  • 1:28 - 1:30
    การบุกอิรัก
  • 1:30 - 1:32
    โดยกองกำลังต่างชาติ
  • 1:32 - 1:34
    การโค่นล้มผู้นำเผด็จการ
  • 1:34 - 1:37
    และการเปลี่ยนแปลงระบอบอย่างฉับพลัน
  • 1:37 - 1:39
    ผมจึงอยากเริ่มต้นด้วย
  • 1:39 - 1:41
    เรื่องราวตอนหนึ่งจากเหตุการณ์เหล่านั้น
  • 1:41 - 1:44
    ซึ่งพวกคุณน่าจะคุ้นเคยกันดี
  • 1:44 - 1:46
    งานเลี้ยงของเบลชัซซาร์
  • 1:46 - 1:48
    เรากำลังพูดถึงสงครามอิหร่าน-อิรัก
  • 1:48 - 1:51
    เมื่อ 539 ปีก่อนคริสตกาล
  • 1:51 - 1:53
    แต่ความสอดคล้องของเหตุการณ์
  • 1:53 - 1:55
    ในช่วง 539 ปีก่อนคริสตกาล
  • 1:55 - 1:58
    กับปี 2003 และในระหว่างนั้น
  • 1:58 - 2:00
    เป็นสิ่งที่น่าตกใจ
  • 2:00 - 2:02
    นี่คือภาพของเรมแบรนด์ท
  • 2:02 - 2:04
    ซึ่งตอนนี้อยู่ที่เนชันแนล แกลเลอรีในลอนดอน
  • 2:04 - 2:06
    แสดงเรื่องราวจากพระคัมภีร์ฮีบรู
  • 2:06 - 2:09
    ของโหรชื่อดาเนียล
  • 2:09 - 2:11
    พวกคุณน่าจะพอรู้เรื่องราวอยู่แล้ว
  • 2:11 - 2:14
    เบลชัซซาร์เป็นบุตรของเนบูชัดเนซซาร์
  • 2:14 - 2:17
    ผู้พิชิตอิสราเอล ปล้นนครเยรูซาเล็ม
  • 2:17 - 2:19
    และกวาดต้อนชาวยิว
  • 2:19 - 2:21
    กลับไปยังนครบาบิลอน
  • 2:21 - 2:24
    นอกจากชาวยิว พระองค์ยังเอาวัตถุในวิหารกลับไปด้วย
  • 2:24 - 2:27
    พระองค์ปล้นสะดมและทำลายวิหารต่างๆ
  • 2:27 - 2:30
    ภาชนะทองคำล้ำค่าจากวิหารในเยรูซาเล็ม
  • 2:30 - 2:33
    ถูกนำกลับไปยังบาบิลอน
  • 2:33 - 2:35
    เบลชัซซาร์ บุตรของพระองค์
  • 2:35 - 2:37
    ตัดสินใจให้มีงานเฉลิมฉลองขึ้น
  • 2:37 - 2:39
    และเพื่อให้เร้าใจกว่าเดิม
  • 2:39 - 2:42
    พระองค์เพิ่มการดูหมิ่นสิ่งเคารพเข้าไปในงานรื่นเริง
  • 2:42 - 2:45
    โดยนำภาชนะศักดิ์สิทธิ์ออกมาใช้
  • 2:45 - 2:48
    ขณะนั้นพระองค์เข้าสู่สงครามกับอิหร่านแล้ว
  • 2:48 - 2:50
    กับกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย
  • 2:50 - 2:53
    และในคืนนั้นเอง ตามคำบันทึกของดาเนียล
  • 2:53 - 2:55
    ขณะที่งานเลี้ยงกำลังสนุกสุดเหวี่ยง
  • 2:55 - 2:58
    มีมือหนึ่งปรากฏขึ้นและเขียนลงบนผนังว่า
  • 2:58 - 3:01
    "เจ้าได้ถูกชั่งบนตราชูและพบว่ายังพร่องอยู่
  • 3:01 - 3:03
    อาณาจักรของเจ้าจะถูกส่งต่อ
  • 3:03 - 3:05
    ให้ชาวมีดส์และเปอร์เซีย"
  • 3:05 - 3:07
    และในคืนนั้นเอง
  • 3:07 - 3:11
    ไซรัส กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย บุกเข้าบาบิลอน
  • 3:11 - 3:16
    และระบอบของเบลชัซซาร์ก็จบสิ้นลง
  • 3:16 - 3:18
    แน่นอนว่านั่นคือชั่วขณะอันยิ่งใหญ่
  • 3:18 - 3:20
    ในประวัติศาสตร์
  • 3:20 - 3:22
    ของชาวยิว
  • 3:22 - 3:24
    มันเป็นเรื่องราวยิ่งใหญ่ ที่เราทุกคนรู้จักดี
  • 3:24 - 3:26
    "ข้อความบนผนัง"
  • 3:26 - 3:29
    ยังอยู่ในภาษาที่เราใช้กันทุกวันนี้
  • 3:29 - 3:31
    สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
  • 3:31 - 3:33
    เป็นเรื่องน่าทึ่ง
  • 3:33 - 3:35
    และเป็นจุดที่กระบอกของเรา
  • 3:35 - 3:37
    เข้าไปเกี่ยวข้อง
  • 3:37 - 3:39
    ไซรัส กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย
  • 3:39 - 3:41
    บุกเข้าบาบิลอนโดยไม่ต้องต่อสู้
  • 3:41 - 3:43
    อาณาจักรบาบิลอนอันยิ่งใหญ่
  • 3:43 - 3:45
    ซึ่งกินบริเวณตั้งแต่อิรักตอนใต้
  • 3:45 - 3:47
    ไปจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
  • 3:47 - 3:49
    ตกเป็นของไซรัส
  • 3:49 - 3:53
    และไซรัสได้ออกพระราชโองการ
  • 3:53 - 3:56
    และนั่นคือสิ่งที่กระบอกนี้เป็น
  • 3:56 - 3:59
    ประกาศิตของผู้นำที่ทำตามบัญชาของพระเจ้า
  • 3:59 - 4:03
    ผู้โค่นล้มกษัตริย์อิรัก
  • 4:03 - 4:05
    และกำลังจะนำเสรีภาพมาสู่ประชาชน
  • 4:05 - 4:07
    เพื่อสื่อสารกับชาวบาบิโลเนีย
  • 4:07 - 4:09
    มันจึงถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาบาบิโลเนีย
  • 4:09 - 4:12
    ไซรัสตรัสว่า "ข้าคือไซรัส กษัตริย์แห่งเอกภพทั้งมวล
  • 4:12 - 4:14
    ราชาผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงอำนาจ
  • 4:14 - 4:18
    กษัตริย์แห่งบาบิลอน เจ้าผู้ครองโลกทั้ง 4 ทิศ"
  • 4:18 - 4:21
    คงเห็นนะครับว่าพวกเขาไม่อายที่จะพูดเกินจริง
  • 4:21 - 4:23
    เป็นไปได้ว่านี่คือ
  • 4:23 - 4:25
    ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับแรก
  • 4:25 - 4:27
    โดยกองทัพของผู้มีชัย
  • 4:27 - 4:29
    เท่าที่เรามีอยู่
  • 4:29 - 4:31
    อีกเดี๋ยวเราจะได้เห็นว่า มันถูกเขียนขึ้น
  • 4:31 - 4:34
    โดยนักประชาสัมพันธ์มากประสบการณ์
  • 4:34 - 4:37
    ฉะนั้นจะพูดเกินจริงไปสักหน่อยก็ไม่แปลกอะไร
  • 4:37 - 4:39
    แล้วราชาผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงอำนาจ
  • 4:39 - 4:42
    เจ้าผู้ครองโลกทั้ง 4 ทิศ จะทำอะไรหรือ
  • 4:42 - 4:45
    ไซรัสตรัสต่อว่า เมื่อเอาชนะบาบิลอนได้
  • 4:45 - 4:48
    พระองค์จะปลดปล่อยผู้คน
  • 4:48 - 4:50
    ที่เนบูชัดเนซซาร์และเบลชัซซาร์
  • 4:50 - 4:52
    จับตัวมาเป็นทาส
  • 4:52 - 4:54
    ให้เป็นอิสระทันที
  • 4:54 - 4:56
    พระองค์จะให้พวกเขาได้กลับดินแดนของตนเอง
  • 4:56 - 4:58
    และที่สำคัญกว่านั้นคือ
  • 4:58 - 5:00
    พระองค์จะให้พวกเขา
  • 5:00 - 5:02
    ได้นำเทพเจ้า รูปปั้น
  • 5:02 - 5:04
    และภาชนะศักดิ์สิทธิ์
  • 5:04 - 5:06
    ซึ่งถูกริบมา กลับคืนไป
  • 5:06 - 5:09
    ผู้ที่เคยถูกกดขี่และถูกเนรเทศ
  • 5:09 - 5:11
    จะได้กลับบ้าน
  • 5:11 - 5:14
    พร้อมกับพระเจ้าของพวกเขา
  • 5:14 - 5:17
    พวกเขาจะได้ฟื้นฟูแท่นบูชาขึ้ันมาใหม่
  • 5:17 - 5:19
    และบูชาพระเจ้าของตน
  • 5:19 - 5:22
    ในวิถีทางและพื้นที่ของตัวเอง
  • 5:22 - 5:24
    นี่คือพระราชโองการ
  • 5:24 - 5:27
    ที่มีวัตถุชิ้นนี้เป็นหลักฐาน
  • 5:27 - 5:29
    เกี่ยวกับความจริงที่ว่าชาวยิว
  • 5:29 - 5:31
    หลังจากถูกเนรเทศมาอยู่บาบิลอน
  • 5:31 - 5:34
    วันปีที่พวกเขาต้องนั่งอยู่ริมน้ำ
  • 5:34 - 5:37
    คร่ำครวญหวนไห้ถึงนครเยรูซาเล็ม
  • 5:37 - 5:40
    ชาวยิวเหล่านั้นได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน
  • 5:40 - 5:42
    พวกเขาได้รับอนุญาตให้กลับคืนสู่เยรูซาเล็ม
  • 5:42 - 5:44
    และสามารถสร้างวิหารขึ้นใหม่
  • 5:44 - 5:46
    วัตถุชิ้นนี้คือเอกสารสำคัญ
  • 5:46 - 5:48
    ในประวัติศาสตร์ชนชาติยิว
  • 5:48 - 5:52
    พระธรรมพงศาวดารและเอสราในภาษาฮีบรู
  • 5:52 - 5:54
    พูดถึงเหตุการณ์เดียวกันนี้
  • 5:54 - 5:56
    และนี่คือเรื่องราวเดียวกัน
  • 5:56 - 5:58
    ในเวอร์ชั่นของชาวยิว
  • 5:58 - 6:00
    "แล้วไซรัส กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย จึงตรัสว่า
  • 6:00 - 6:03
    'อาณาจักรทั้งปวงในโลกนี้ที่พระผู้เป็นเจ้ามอบให้แก่ท่าน
  • 6:03 - 6:05
    พระองค์ทรงมีพระบัญชาให้ข้า
  • 6:05 - 6:07
    สร้างพระนิเวศน์ของพระองค์ขึ้นในเยรูซาเล็ม
  • 6:07 - 6:09
    ในเหล่าพวกท่าน ผู้ใดคือประชาชนของพระองค์
  • 6:09 - 6:11
    ขอพระองค์จงสถิตอยู่กับเขา
  • 6:11 - 6:14
    และขอให้เขาขึ้นไปที่นั่น'"
  • 6:14 - 6:16
    "ขึ้นไปที่นั่น" สู่พระเจ้า
  • 6:16 - 6:19
    ใจความหลักยังคงเป็นเรื่องของ
  • 6:19 - 6:21
    การหวนคืน
  • 6:21 - 6:23
    ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ
  • 6:23 - 6:25
    ของศาสนายูดาย
  • 6:25 - 6:27
    อย่างที่คุณรู้ การกลับคืนดินแดนในครั้งนั้น
  • 6:27 - 6:29
    วิหารแห่งที่สอง
  • 6:29 - 6:31
    ก่อร่างศาสนายูดายขึ้นมาใหม่
  • 6:31 - 6:33
    และความเปลี่ยนแปลงนั้น
  • 6:33 - 6:35
    เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่นั้น
  • 6:35 - 6:39
    เกิดขึ้นได้ด้วยไซรัส กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย
  • 6:39 - 6:42
    ดังที่ถูกบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ด้วยภาษาฮีบรู
  • 6:42 - 6:45
    และบนแผ่นดินด้วยภาษาบาบิโลเนีย
  • 6:45 - 6:47
    บันทึกสำคัญสองฉบับ
  • 6:47 - 6:49
    เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องการเมือง
  • 6:49 - 6:51
    สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นคือจุดเปลี่ยนสำคัญ
  • 6:51 - 6:54
    ในประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง
  • 6:54 - 6:57
    อาณาจักรอิหร่านของชาวมีดส์และเปอร์เซีย
  • 6:57 - 6:59
    รวมกันเป็นหนึ่งภายใต้ไซรัส
  • 6:59 - 7:03
    มันกลายเป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่แห่งแรกของโลก
  • 7:03 - 7:06
    ไซรัสเริ่มปกครองในช่วง 530 ปีก่อนคริสตกาล
  • 7:06 - 7:10
    และเมื่อถึงรัชสมัยของดาริอุส บุตรชายของพระองค์
  • 7:10 - 7:13
    ดินแดนฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
  • 7:13 - 7:15
    ล้วนตกอยู่ภายใต้อำนาจของเปอร์เซีย
  • 7:15 - 7:17
    อาณาจักรแห่งนี้ แท้จริงก็คือ
  • 7:17 - 7:19
    ดินแดนตะวันออกกลางที่เรารู้จักในปัจจุบัน
  • 7:19 - 7:22
    และเป็นรากฐานของตะวันออกกลางอย่างที่เราเข้าใจ
  • 7:22 - 7:24
    มันเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยรู้จักในขณะนั้น
  • 7:24 - 7:26
    ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ
  • 7:26 - 7:28
    มันเป็นรัฐแห่งแรก
  • 7:28 - 7:30
    ที่หลอมรวมวัฒนธรรมและศรัทธาอันหลากหลาย
  • 7:30 - 7:32
    ในระดับกว้าง
  • 7:32 - 7:34
    การปกครองจึงต้องเป็นไปด้วยวิถีทางใหม่
  • 7:34 - 7:36
    ด้วยภาษาที่แตกต่างหลากหลาย
  • 7:36 - 7:39
    เห็นได้จากการที่โองการนี้อยู่ในภาษาบาบิโลเนีย
  • 7:39 - 7:41
    และรัฐนี้ยังต้องตระหนักถึงพฤติกรรมที่แตกต่าง
  • 7:41 - 7:44
    ของผู้คน ศาสนา และศรัทธาอันหลากหลาย
  • 7:44 - 7:47
    ซึ่งทั้งหมดได้รับการยอมรับจากไซรัส
  • 7:47 - 7:49
    ไซรัสเป็นผู้ออกแบบ
  • 7:49 - 7:51
    วิธีบริหารสังคม
  • 7:51 - 7:56
    ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศรัทธา และวัฒนธรรม
  • 7:56 - 7:58
    และผลลัพธ์ที่ตามมา
  • 7:58 - 8:01
    คืออาณาจักรที่ครอบคลุมพื้นที่ที่คุณเห็นบนจอ
  • 8:01 - 8:04
    และอยู่รอดอย่างมีเสถียรภาพมาถึง 200 ปี
  • 8:04 - 8:07
    จนกระทั่งถูกตีแตกโดยอเล็กซานเดอร์
  • 8:07 - 8:09
    มันทิ้งความฝันของตะวันออกกลางที่เป็นหนึ่งเดียว
  • 8:09 - 8:11
    ดินแดนที่ผู้คนซึ่งมีศรัทธาอันแตกต่าง
  • 8:11 - 8:13
    สามารถอยู่ร่วมกันได้
  • 8:13 - 8:15
    การบุกรุกของกรีกดับความฝันนั้นลง
  • 8:15 - 8:18
    แน่นอนว่า อเล็กซานเดอร์ไม่สามารถปกครองได้
  • 8:18 - 8:20
    ทำให้เปอร์เซียแตกออกเป็นส่วนๆ
  • 8:20 - 8:22
    แต่สิ่งที่ไซรัสแสดงให้เห็น
  • 8:22 - 8:24
    ยังคงเป็นหัวใจสำคัญ
  • 8:24 - 8:27
    เซโนโฟน นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก
  • 8:27 - 8:29
    เขียนเอาไว้ในหนังสือ "ไซโรพีเดีย"
  • 8:29 - 8:31
    ยกย่องไซรัสในฐานะผู้นำที่ยิ่งใหญ่
  • 8:31 - 8:34
    และในประวัติศาสตร์ตะวันตกหลังจากนั้น
  • 8:34 - 8:37
    ไซรัสยังคงเป็นบุคคลต้นแบบ
  • 8:37 - 8:39
    นี่คือภาพจากศตวรรษที่ 16
  • 8:39 - 8:41
    เพื่อแสดงให้คุณเห็นว่าไซรัส
  • 8:41 - 8:44
    เป็นที่เคารพอย่างกว้างขวางเพียงใด
  • 8:44 - 8:46
    และหนังสือเกี่ยวกับไซรัสของซีโนโฟน
  • 8:46 - 8:49
    ที่พูดถึงวิธีในการบริหารสังคมที่หลากหลาย
  • 8:49 - 8:51
    ถือเป็นตำราสำคัญเล่มหนึ่ง
  • 8:51 - 8:53
    ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบิดาผู้สร้างชาติ
  • 8:53 - 8:55
    สมัยการปฏิวัติอเมริกา
  • 8:55 - 8:57
    เจฟเฟอร์สันคือหนึ่งในผู้ชื่นชม
  • 8:57 - 8:59
    อุดมคติของไซรัสส่งอิทธิพล
  • 8:59 - 9:01
    ต่อแนวคิดในสมัยศตวรรษที่ 18 อย่างเด่นชัด
  • 9:01 - 9:03
    ถึงการสร้างขันติธรรมทางศาสนา
  • 9:03 - 9:06
    ในรัฐใหม่
  • 9:08 - 9:10
    ในระหว่างนั้น กลับมาที่บาบิลอน
  • 9:10 - 9:12
    สถานการณ์ไม่ได้ดำเนินไปด้วยดีนัก
  • 9:12 - 9:15
    หลังจากอเล็กซานเดอร์และอาณาจักรอื่นๆ ล่มสลาย
  • 9:15 - 9:18
    บาบิลอนเสื่อมลง กลายเป็นสิ่งปรักหักพัง
  • 9:18 - 9:22
    และร่องรอยของอาณาจักรบาบิลอนอันยิ่งใหญ่ก็สูญหายไปจนสิ้น
  • 9:22 - 9:24
    จนกระทั่งปี 1879
  • 9:24 - 9:27
    เมื่อกระบอกนี้ถูกค้นพบ
  • 9:27 - 9:30
    ในนครบาบิลอน โดยคณะนักโบราณคดีจากบริติช มิวเซียม
  • 9:30 - 9:33
    ถึงตอนนี้ อีกเรื่องราวหนึ่งเกิดขึ้นมา
  • 9:33 - 9:35
    และมันก็เข้าสู่วิวาทะครั้งใหญ่
  • 9:35 - 9:37
    ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 --
  • 9:37 - 9:40
    คำบันทึกนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ เราจะไว้ใจมันได้หรือเปล่า
  • 9:40 - 9:42
    เรารู้เฉพาะเรื่องราว
  • 9:42 - 9:44
    การคืนกลับถิ่นของชาวยิวและโองการของไซรัส
  • 9:44 - 9:46
    จากพระคัมภีร์ในภาษาฮีบรู
  • 9:46 - 9:48
    ไม่มีหลักฐานอื่นใดอีก
  • 9:48 - 9:50
    แต่แล้ว วัตถุนี้ก็ปรากฏขึ้น
  • 9:50 - 9:52
    สร้างความตื่นเต้น
  • 9:52 - 9:54
    ให้กับโลกของผู้ที่เชื่อในพระคัมภีร์นั้น
  • 9:54 - 9:56
    ผู้ซึ่งศรัทธาถูกทำให้สั่นคลอน
  • 9:56 - 9:58
    โดยทฤษฎีวิวัฒนาการ ธรณีวิทยา
  • 9:58 - 10:00
    นี่ไงคือหลักฐาน ว่าข้อความ
  • 10:00 - 10:02
    ในพระคัมภีร์ถูกต้องจริงตามประวัติศาสตร์
  • 10:02 - 10:05
    มันเป็นชั่วขณะอันยิ่งใหญ่ในช่วงศตวรรษที่ 19
  • 10:05 - 10:10
    แต่แน่นอนว่า นี่คือส่วนที่ทำให้เรื่องราวซับซ้อน
  • 10:10 - 10:12
    สิ่งที่ถูกบันทึกไว้เป็นของแท้
  • 10:12 - 10:15
    น่ายินดีสำหรับโบราณคดี
  • 10:15 - 10:18
    แต่การตีความนั้นค่อนข้างจะซับซ้อนกว่ามาก
  • 10:18 - 10:21
    เหตุเพราะเนื้อหาบนกระบอกและในพระคัมภีร์ฮีบรู
  • 10:21 - 10:23
    มีสิ่งหนึ่งที่ต่างกันในสาระสำคัญ
  • 10:23 - 10:25
    กระบอกบาบิลอนถูกบันทึก
  • 10:25 - 10:27
    โดยนักบวชผู้บูชามาร์ดุค
  • 10:27 - 10:29
    พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งบาบิลอน
  • 10:29 - 10:31
    จึงไม่น่าแปลกใจที่เขาจะบอกคุณว่า
  • 10:31 - 10:33
    มาร์ดุคคือผู้ที่ทำให้ทุกสิ่งเกิดขึ้น
  • 10:33 - 10:36
    "มาร์ดุคที่เคารพ เรียกชื่อไซรัส"
  • 10:36 - 10:39
    มาร์ดุคคว้ามือของไซรัส
  • 10:39 - 10:41
    และตรัสสั่งให้ดูแลประชาชนของพระองค์
  • 10:41 - 10:44
    และมอบตำแหน่งผู้ปกครองแห่งบาบิลอนให้
  • 10:44 - 10:46
    มาร์ดุคตรัสกับไซรัสว่า
  • 10:46 - 10:48
    เขาจะเป็นผู้กระทำสิ่งที่เอื้ออารีและยิ่งใหญ่
  • 10:48 - 10:50
    นั่นคือ การปลดปล่อยผู้คนให้เป็นอิสระ
  • 10:50 - 10:52
    และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราควรสำนึกในบุญคุณ
  • 10:52 - 10:54
    และบูชามาร์ดุค
  • 10:54 - 10:56
    สำหรับผู้บันทึกภาษาฮีบรู
  • 10:56 - 10:58
    ในพันธสัญญาเก่า
  • 10:58 - 11:01
    คุณจะไม่แปลกใจที่ได้รู้ว่า
  • 11:01 - 11:03
    พวกเขาเห็นต่างออกไป
  • 11:03 - 11:05
    แน่นอนว่าสำหรับพวกเขา
  • 11:05 - 11:07
    หาใช่มาร์ดุคที่ทำให้เกิดเรื่องทั้งหมดขึ้น
  • 11:07 - 11:09
    หากแต่เป็นพระยะโฮวาห์
  • 11:09 - 11:11
    ในพระธรรมอิสยาห์
  • 11:11 - 11:13
    มีบทบันทึกอันแสนวิเศษ
  • 11:13 - 11:15
    ยกความดีความชอบทั้งหมด
  • 11:15 - 11:16
    ไม่ใช่แด่มาร์ดุค
  • 11:16 - 11:19
    หากมอบแด่พระผู้เป็นเจ้าแห่งอิสราเอล
  • 11:19 - 11:21
    พระผู้เป็นเจ้าแห่งอิสราเอล
  • 11:21 - 11:23
    ผู้เรียกขานชื่อของไซรัส
  • 11:23 - 11:26
    และจับมือของไซรัสเอาไว้
  • 11:26 - 11:28
    บอกให้เขาช่วยดูแลคนของพระองค์
  • 11:28 - 11:30
    นี่เป็นตัวอย่างอันน่าทึ่ง
  • 11:30 - 11:34
    ของการฉกฉวยอำนาจในการถ่ายทอด
  • 11:34 - 11:36
    เหตุการณ์ทางการเมืองอันเดียวกัน
  • 11:36 - 11:38
    ตามมุมมองของแต่ละศาสนา
  • 11:38 - 11:40
    เราต่างรู้ว่า พระเจ้า
  • 11:40 - 11:42
    มักอยู่ข้างคนหมู่มากเสมอ
  • 11:42 - 11:45
    คำถามก็คือ พระเจ้าของใคร
  • 11:45 - 11:47
    วิวาทะนี้สร้างความปั่นป่วน
  • 11:47 - 11:49
    ให้กับทุกคนในช่วงศตวรรษที่ 19
  • 11:49 - 11:51
    ที่ได้ทราบว่าบทบันทึกในคัมภีร์ฮีบรู
  • 11:51 - 11:54
    เป็นส่วนหนึ่งของโลกที่กว้างกว่าโลกทางศาสนา
  • 11:54 - 11:56
    และค่อนข้างชัดเจนว่า
  • 11:56 - 11:59
    กระบอกเก่าแก่กว่าบทบันทึกในพระธรรมอิสยาห์
  • 11:59 - 12:01
    กระนั้นพระดำรัสของพระยะโฮวาห์
  • 12:01 - 12:03
    ช่างคล้ายคลึงกับคำพูดของ
  • 12:03 - 12:05
    มาร์ดุคเหลือเกิน
  • 12:05 - 12:08
    มีเงื่อนงำบางอย่างที่บอกว่าอิสยาห์รู้เห็นในเรื่องนี้
  • 12:08 - 12:10
    เพราะเขากล่าวว่า
  • 12:10 - 12:13
    นี่คือพระดำรัสของพระเจ้า
  • 12:13 - 12:15
    "ข้าเรียกชื่อของเจ้า
  • 12:15 - 12:17
    แม้ว่าเจ้าอาจจะไม่รู้จักข้า"
  • 12:17 - 12:19
    แสดงว่าเป็นที่รับรู้ว่า
  • 12:19 - 12:21
    ไซรัสอาจไม่รู้ตัวเลยว่า
  • 12:21 - 12:24
    กำลังกระทำการภายใต้บัญชาของพระยะโฮวาห์
  • 12:24 - 12:27
    และเขาคงจะประหลาดใจพอๆ กัน หากรู้ว่าตัวเองกำลังทำตามบัญชาของมาร์ดุค
  • 12:27 - 12:29
    เพราะแน่นอนว่า
  • 12:29 - 12:31
    ไซรัสเป็นชาวอิหร่านที่ดี
  • 12:31 - 12:33
    ผู้ศรัทธาในพระเจ้าที่ต่างออกไป
  • 12:33 - 12:35
    ซึ่งไม่ถูกกล่าวถึงเลยในบทบันทึกเหล่านั้น
  • 12:35 - 12:37
    (เสียงหัวเราะ)
  • 12:37 - 12:39
    นั่นคือปี 1879
  • 12:39 - 12:41
    40 ปีถัดมา
  • 12:41 - 12:44
    ตอนนี้เราอยู่ในปี 1917
  • 12:44 - 12:46
    และกระบอกชิ้นนี้ได้เข้าสู่อีกโลกหนึ่ง
  • 12:46 - 12:48
    เป็นโลกของการเมืองที่แท้จริง
  • 12:48 - 12:50
    ในโลกร่วมสมัย
  • 12:50 - 12:53
    ช่วงเวลาของปฏิญญาบอลโฟร์
  • 12:53 - 12:56
    ปีที่อังกฤษ เจ้าอาณานิคมใหม่ในตะวันออกกลาง
  • 12:56 - 12:58
    ตัดสินใจว่าจะประกาศ
  • 12:58 - 13:00
    มอบบ้านให้แก่ชาวยิว
  • 13:00 - 13:02
    เพื่อให้
  • 13:02 - 13:04
    ชาวยิวได้กลับไป
  • 13:04 - 13:06
    เสียงตอบรับต่อเรื่องนี้
  • 13:06 - 13:09
    โดยชาวยิวที่อาศัยอยู่ในยุโรปตะวันออกคือ เสียงสรรเสริญ
  • 13:09 - 13:11
    ทั่วยุโรปตะวันออก
  • 13:11 - 13:13
    ชาวยิวแสดงภาพของไซรัส
  • 13:13 - 13:15
    และพระเจ้าจอร์จที่ 5
  • 13:15 - 13:17
    เคียงข้างกัน
  • 13:17 - 13:19
    ผู้ปกครองผู้ยิ่งใหญ่สองพระองค์
  • 13:19 - 13:22
    ผู้อนุญาตให้ชาวยิวคืนกลับสู่เยรูซาเล็ม
  • 13:22 - 13:25
    กระบอกไซรัสปรากฏต่อสาธารณชนอีกครั้ง
  • 13:25 - 13:27
    และเนื้อหาของกระบอก
  • 13:27 - 13:30
    เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
  • 13:30 - 13:33
    เมื่อสงครามสิ้นสุดลงในปี 1918
  • 13:33 - 13:36
    เป็นส่วนหนึ่งของแผนการศักดิ์สิทธิ์
  • 13:36 - 13:38
    พวกคุณรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 13:38 - 13:41
    รัฐอิสราเอลก่อกำเนิดขึ้น
  • 13:41 - 13:44
    และในอีก 50 ปีต่อมา ในช่วงปลายทศวรรษ 60
  • 13:44 - 13:47
    บทบาทของอังกฤษในฐานะเจ้าอาณานิคมยุติลง
  • 13:47 - 13:50
    และเรื่องราวใหม่ของกระบอกได้เริ่มต้นขึ้น
  • 13:50 - 13:52
    อังกฤษและอเมริกาตัดสินใจว่าตะวันออกกลาง
  • 13:52 - 13:55
    ต้องถูกป้องกันจากภัยคอมมิวนิสต์
  • 13:55 - 13:58
    อำนาจใหม่ที่จะถูกสร้างขึ้นเพื่อปฏิบัติภารกิจนี้
  • 13:58 - 14:00
    คืออิหร่าน ภายใต้พระเจ้าชาห์
  • 14:00 - 14:03
    พระเจ้าชาห์ได้สร้างประวัติศาสตร์อิหร่านขึ้นใหม่
  • 14:03 - 14:05
    หรือคืนกลับสู่ประวัติศาสตร์อิหร่าน
  • 14:05 - 14:08
    โดยเข้าไปอยู่ในศูนย์กลางประเพณีอันยิ่งใหญ่
  • 14:08 - 14:10
    พร้อมทั้งผลิตเหรียญกษาปณ์
  • 14:10 - 14:12
    ที่แสดงตัวพระองค์
  • 14:12 - 14:14
    คู่กับกระบอกไซรัส
  • 14:14 - 14:17
    เมื่อมีการจัดงานเฉลิมฉลองที่นครเปอร์เซโปลิส
  • 14:17 - 14:19
    พระองค์ต้องการกระบอกดังกล่าว
  • 14:19 - 14:22
    โดยขอยืมจากบริติช มิวเซียม กระบอกไซรัสจึงเดินทางไปยังเตหะราน
  • 14:22 - 14:24
    และเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่
  • 14:24 - 14:27
    ของราชวงศ์ปาห์ลาวี
  • 14:27 - 14:30
    กระบอกไซรัสเป็นเครื่องรับรองพระเจ้าชาห์
  • 14:30 - 14:33
    10 ปีต่อมา เกิดอีกเรื่องราวขึ้น
  • 14:33 - 14:35
    นั่นคือการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979
  • 14:35 - 14:37
    ในสมัยการปฏิวัติอิสลาม ไม่มีไซรัสอีกต่อไป
  • 14:37 - 14:39
    พวกเราไม่สนใจประวัติศาสตร์นั้น
  • 14:39 - 14:42
    เราสนแค่อิหร่านในฐานะที่เป็นรัฐอิสลาม
  • 14:42 - 14:44
    จนกระทั่งอิรัก
  • 14:44 - 14:47
    มหาอำนาจใหม่ที่เราเลือกให้ปกครองภูมิภาคดังกล่าว
  • 14:47 - 14:49
    บุกรุกอิหร่าน
  • 14:49 - 14:51
    เกิดเป็นสงครามอิหร่าน-อิรักอีกครั้ง
  • 14:51 - 14:53
    ถึงตอนนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาวอิหร่าน
  • 14:53 - 14:56
    ที่จะจดจำประวัติศาสตร์ของตน
  • 14:56 - 14:58
    อดีตอันยิ่งใหญ่
  • 14:58 - 15:01
    สมัยที่พวกเขาต่อสู้และเอาชนะอิรักได้
  • 15:01 - 15:03
    พวกเขาจำเป็นต้องหาสัญลักษณ์
  • 15:03 - 15:06
    ที่จะหลอมรวมชาวอิหร่านท้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน
  • 15:06 - 15:08
    ทั้งที่เป็นมุสลิม และไม่ใช่มุสลิม
  • 15:08 - 15:11
    ชาวคริสต์ พวกบูชาไฟ และชาวยิวที่อาศัยอยู่ในอิหร่าน
  • 15:11 - 15:13
    ผู้คนที่มีศรัทธา รวมทั้งที่ไม่มี
  • 15:13 - 15:16
    ไซรัสคือสัญลักษณ์ที่ชัดเจนนั้น
  • 15:16 - 15:19
    ด้วยเหตุนี้ เมื่อบริติช มิวเซียมและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเตหะราน
  • 15:19 - 15:21
    ร่วมมือและทำงานร่วมกัน
  • 15:21 - 15:23
    ชาวอิหร่านร้องขอเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น
  • 15:23 - 15:25
    ที่จะขอยืม
  • 15:25 - 15:27
    วัตถุเพียงชิ้นเดียวที่พวกเขาต้องการ
  • 15:27 - 15:29
    คือกระบอกไซรัส
  • 15:29 - 15:31
    และในปีที่แล้ว
  • 15:31 - 15:35
    กระบอกไซรัสได้เดินทางสู่เตหะราน
  • 15:35 - 15:38
    เป็นครั้งที่สอง
  • 15:38 - 15:41
    มันถูกแสดงโดยใส่ไว้ในกล่องดังที่เห็นอยู่นี้โดย
  • 15:41 - 15:44
    ผู้อำนวยการของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเตหะราน
  • 15:44 - 15:47
    ผู้หญิงอิหร่านเพียงไม่กี่คนที่ได้อยู่ในตำแหน่งสูง
  • 15:47 - 15:49
    เธอคือคุณอาร์ดากานิ
  • 15:49 - 15:51
    มันเป็นงานใหญ่
  • 15:51 - 15:54
    นี่คืออีกด้านของภาพเดียวกัน
  • 15:54 - 15:57
    กระบอกถูกแสดงในเตหะราน
  • 15:57 - 15:59
    สู่สายตาของประชาชนหนึ่งถึงสองล้านคน
  • 15:59 - 16:01
    ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือน
  • 16:01 - 16:03
    นี่เป็นนิทรรศการที่ได้รับความนิยมยิ่งกว่า
  • 16:03 - 16:05
    นิทรรศการยอดฮิตใดๆในโลกตะวันตก
  • 16:05 - 16:08
    และกลายเป็นกระเด็นที่มีการถกเถียงกันมาก
  • 16:08 - 16:11
    ว่ากระบอกหมายความว่าอย่างไร ไซรัสหมายถึงอะไร
  • 16:11 - 16:14
    แต่เหนือสิ่งอื่นใด ไซรัสที่ถูกสร้างขึ้นผ่านกระบอกนี้
  • 16:14 - 16:17
    ไซรัสในฐานะผู้ปกป้องมาตุภูมิ
  • 16:17 - 16:19
    และแน่นอน ในฐานะสัญลักษณ์ของอัตลักษณ์อิหร่าน
  • 16:19 - 16:21
    และของชาวอิหร่าน
  • 16:21 - 16:23
    ผู้มีขันติธรรมต่อทุกศรัทธา
  • 16:23 - 16:25
    กระทั่งอิหร่านในปัจจุบัน
  • 16:25 - 16:28
    พวกลัทธิบูชาไฟและชาวคริสต์ล้วนมีที่นั่ง
  • 16:28 - 16:31
    ในรัฐสภาอิหร่าน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
  • 16:31 - 16:34
    เพื่อชมวัตถุชิ้นนี้ในเตหะราน
  • 16:34 - 16:36
    ชาวยิวหลายพันคนที่อาศัยอยู่ในอิหร่าน
  • 16:36 - 16:38
    เดินทางมาเตหะรานเพื่อชมมัน
  • 16:38 - 16:40
    มันกลายเป็นสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่
  • 16:40 - 16:42
    เป็นหัวข้อวิวาทะว่าอิหร่านในสายตาอิหร่าน
  • 16:42 - 16:45
    และอิหร่านในสายตาโลกภายนอกเป็นอย่างไร
  • 16:45 - 16:48
    ยังเป็นอิหร่านที่ต่อสู้เพื่อผู้ที่ถูกกดขี่หรือไม่
  • 16:48 - 16:50
    อิหร่านจะปลดปล่อยผู้คนที่ทรราช
  • 16:50 - 16:53
    จับมาเป็นทาสและยึดครองดินแดนไปหรือไม่
  • 16:53 - 16:56
    นี่คือโวหารระดับชาติที่ถูกนำเสนออย่างมุ่งมั่น
  • 16:56 - 16:58
    และทั้งหมดถูกนำมารวมอยู่ด้วยกัน
  • 16:58 - 17:00
    ในงานมหรสพยิ่งใหญ่
  • 17:00 - 17:02
    เพื่อฉลองการกลับมาของกระบอก
  • 17:02 - 17:05
    ที่คุณเห็นคือกระบอกไซรัสขนาดใหญ่บนเวที
  • 17:05 - 17:08
    พร้อมตัวละครสำคัญๆ ในประวัติศาสตร์อิหร่าน
  • 17:08 - 17:10
    ที่มารวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วม
  • 17:10 - 17:13
    ในมรดกของชาติอิหร่าน
  • 17:13 - 17:15
    มันคือเรื่องราวที่ถูกนำเสนอ
  • 17:15 - 17:18
    ด้วยตัวประธานาธิบดีเอง
  • 17:18 - 17:20
    สำหรับผม
  • 17:20 - 17:22
    การนำวัตถุชิ้นนี้ไปยังอิหร่าน
  • 17:22 - 17:24
    การได้รับมอบหมายให้นำวัตถุชิ้นนี้ไปอิหร่าน
  • 17:24 - 17:26
    ถือเป็นการได้เป็นส่วนหนึ่ง
  • 17:26 - 17:28
    ของวิวาทะอันแสนวิเศษนี้
  • 17:28 - 17:30
    ซึ่งถูกนำไปสู่จุดสูงสุด
  • 17:30 - 17:32
    ว่าอิหร่านคืออะไร
  • 17:32 - 17:35
    มีอิหร่านอยู่กี่แบบ
  • 17:35 - 17:37
    มีประวัติศาสตร์ใดบ้างของอิหร่าน
  • 17:37 - 17:40
    ที่อาจส่งผลต่อโลกทุกวันนี้
  • 17:40 - 17:43
    นี่คือวิวาทะที่ยังไม่สิ้นสุด
  • 17:43 - 17:45
    และจะยังคงดำเนินต่อไป
  • 17:45 - 17:47
    เพราะวัตถุชิ้นนี้
  • 17:47 - 17:49
    ถือเป็นคำประกาศที่ยิ่งใหญ่
  • 17:49 - 17:51
    ถึงแรงปรารถนาของมนุษย์
  • 17:51 - 17:55
    มันยืนอยู่เคียงคู่รัฐธรรมนูญอเมริกา
  • 17:55 - 17:58
    มันพูดถึงเรื่องเสรีภาพที่แท้จริงมากกว่า
  • 17:58 - 18:00
    ธรรมนูญแม็คนา คาร์ตา
  • 18:00 - 18:03
    มันเป็นเอกสารที่มีความหมายได้หลายอย่าง
  • 18:03 - 18:06
    ทั้งกับอิหร่านและตะวันออกกลาง
  • 18:06 - 18:08
    แบบจำลองของกระบอกนี้
  • 18:08 - 18:10
    อยู่ที่องค์การสหประชาชาติ
  • 18:10 - 18:13
    มันจะถูกแสดงในนิวยอร์กช่วงฤดูใบไม่ร่วงนี้
  • 18:13 - 18:15
    เมื่อการถกเถียงสำคัญ
  • 18:15 - 18:18
    เกี่ยวกับอนาคตของตะวันออกกลางเริ่มขึ้น
  • 18:18 - 18:20
    ผมอยากจบโดยการถามคุณว่า
  • 18:20 - 18:22
    เรื่องราวต่อไปจะเป็นอย่างไร
  • 18:22 - 18:24
    ที่มีวัตถุนี้เข้าไปเกี่ยวข้อง
  • 18:24 - 18:26
    แน่นอนว่า กระบอกนี้จะปรากฏ
  • 18:26 - 18:28
    ในอีกหลายเรื่องราวของโลกตะวันออกกลาง
  • 18:28 - 18:30
    เรื่องราวใดในตะวันออกกลาง
  • 18:30 - 18:32
    เรื่องราวใดในโลก
  • 18:32 - 18:34
    ที่คุณอยากเห็น
  • 18:34 - 18:36
    ซึ่งสะท้อนถ้อยคำ
  • 18:36 - 18:38
    และความหมายบนกระบอกนี้
  • 18:38 - 18:40
    สิทธิของผู้คน
  • 18:40 - 18:42
    ที่จะอยู่ร่วมในรัฐเดียวกัน
  • 18:42 - 18:44
    โดยนับถือความเชื่อที่แตกต่างอย่างเสรี
  • 18:44 - 18:46
    ตะวันออกกลางหรือโลก
  • 18:46 - 18:48
    ที่ศาสนาไม่ได้เป็นสิ่งขวางกั้น
  • 18:48 - 18:51
    หรือความขัดแย้ง
  • 18:51 - 18:54
    อย่างที่คุณรู้ โลกตะวันออกกลางขณะนี้
  • 18:54 - 18:57
    ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นไปอย่างเข้มข้น
  • 18:57 - 18:59
    แต่ผมยังเชื่อว่ามันเป็นไปได้
  • 18:59 - 19:03
    ที่เสียงที่มีอำนาจและปราดเปรื่องที่สุดในสังคมนั้น
  • 19:03 - 19:05
    จะเป็นเสียงเดียวกับ
  • 19:05 - 19:07
    วัตถุที่เงียบงันนี้
  • 19:07 - 19:09
    กระบอกไซรัส
  • 19:09 - 19:11
    ขอบคุณครับ
  • 19:11 - 19:15
    (เสียงปรบมือ)
Title:
นีล แม็คเกรเกอร์: ประวัติศาสตร์ 2,600 ปีผ่านวัตถุหนึ่งชิ้น
Speaker:
Neil MacGregor
Description:

กระบอกดินที่ปกคลุมไปด้วยตัวอักษรลิ่มสมัยอัคคาเดียนซึ่งมีร่องรอยแตกหักเสียหาย ที่เรียกกันว่า กระบอกไซรัส (Cyrus Cylinder) คือสัญลักษณ์อันทรงพลังของขันติธรรมต่อความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม ในปาฐกถาที่ชวนติดตามนี้ นีล แม็คเกรเกอร์ ผู้อำนวยการของบริติช มิวเซียม จะพาเราย้อนกลับไปสู่ประวัติศาสตร์โลกตะวันออกกลางเมื่อ 2,600 ปีก่อนผ่านวัตถุชิ้นนี้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
19:16
Retired user added a translation

Thai subtitles

Revisions