Return to Video

ความลับที่ฉันพบ ณ พื้นมหาสมุทร

  • 0:01 - 0:02
    ฉันเป็นนักเคมีทางทะเล
  • 0:02 - 0:04
    ฉันศึกษาสารเคมีในมหาสมุทรปัจจุบัน
  • 0:04 - 0:07
    ฉันศึกษาสารเคมีในมหาสมุทรในอดีต
  • 0:07 - 0:09
    การมองย้อนอดีตของฉัน
  • 0:09 - 0:13
    ทำได้โดยใช้การศึกษาฟอสซิลที่หลงเหลืออยู่
    จากปะการังใต้น้ำลึก
  • 0:13 - 0:15
    คุณจะเห็นภาพปะการังพวกนี้ทางด้านหลัง
  • 0:15 - 0:20
    พวกมันถูกเก็บมาจากบริเวณขั้วโลกใต้
    ลึกลงไปเป็นพัน ๆ เมตรในทะเล
  • 0:20 - 0:22
    ฉะนั้น มันจึงเป็นปะการังที่แตกต่างออกไป
  • 0:22 - 0:26
    จากปะการังที่คุณเคยเห็น
    ถ้าคุณเคยไปพักผ่อนในแถบเขตร้อน
  • 0:26 - 0:28
    ฉันหวังว่าการบรรยายนี้
  • 0:28 - 0:30
    จะให้ภาพสี่มิติของมหาสมุทรกับคุณ
  • 0:30 - 0:33
    สองมิติ อย่างเช่นภาพสองมิติแสนสวย
  • 0:33 - 0:35
    ของอุณหภูมิพื้นผิวทะเลนี้
  • 0:35 - 0:39
    ภาพนี้ถูกถ่ายจากดาวเทียม
    มันก็เลยมีความคมจากอวกาศที่สูงมาก
  • 0:40 - 0:43
    ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่เข้าใจได้ไม่ยาก
  • 0:43 - 0:46
    บริเวณศูนย์สูตรอบอุ่นเพราะได้แสงแดดมากกว่า
  • 0:46 - 0:49
    บริเวณขั้วโลกหนาวเพราะได้แสงแดดน้อยกว่า
  • 0:49 - 0:52
    และนั่นทำให้น้ำแข็งขั้วโลกก่อตัวขึ้น
    ในบริเวณขั้วโลกใต้
  • 0:52 - 0:54
    และทางตอนซีกโลกเหนือ
  • 0:54 - 0:58
    ถ้าคุณขุดลึกลงไปในทะเล
    หรือกระทั่งเอานิ้วเท้าของคุณลงไปในทะเล
  • 0:58 - 1:00
    คุณจะรู้ว่ามันจะเย็นมากขึ้นและมากขึ้น
    เมื่อมันลึกลงไป
  • 1:00 - 1:04
    และส่วนใหญ่นั่นเป็นเพราะนำ้ลึก
    ทึ่ปกคลุมความเวิ้งว้างของมหาสมุทร
  • 1:04 - 1:07
    มาจากบริเวณขั้วโลกที่เย็น
    ที่ซึ่งน้ำมีความหนาแน่น
  • 1:08 - 1:11
    ถ้าเราเดินทางย้อนกลับไป 20,000 ปีก่อน
  • 1:11 - 1:13
    โลกหน้าตาแตกต่างออกไปมาก
  • 1:13 - 1:16
    และฉันเพิ่งให้คุณได้ชมภาพสมมติ
    ของความแตกต่างหลัก
  • 1:16 - 1:19
    ที่คุณอาจเคยเห็น
    ถ้าคุณย้อนกลับไปนานพอ
  • 1:19 - 1:20
    น้ำแข็งขั้วโลกมีขนาดใหญ่กว่ามาก
  • 1:20 - 1:24
    พวกมันปกคลุมทวีปส่วนใหญ่
    และพวกมันแผ่ขยายออกไปทั่วมหาสมุทร
  • 1:24 - 1:26
    ระดับน้ำทะเลต่ำกว่านี้ 120 เมตร
  • 1:27 - 1:30
    [ระดับ] คาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าตอนนี้มาก
  • 1:30 - 1:34
    ฉะนั้น โลกอาจมีอุณหภูมิโดยรวมสูงกว่าตอนนี้
    ประมาณสามถึงห้าองศา
  • 1:34 - 1:37
    และมีบริเวณขั้วโลกที่เย็นกว่ามาก ๆ
  • 1:38 - 1:39
    สิ่งที่ฉันกำลังพยายามทำความเข้าใจ
  • 1:39 - 1:42
    และสิ่งที่เพื่อนร่วมงานของฉัน
    กำลังพยายามทำความเข้าใจ
  • 1:42 - 1:45
    คือการที่เราเปลี่ยน
    จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นนั่น
  • 1:45 - 1:48
    สู่สภาพอากาศที่อบอุ่น อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
  • 1:48 - 1:50
    เรารู้ได้จากการวิจัยแกนน้ำแข็ง
  • 1:50 - 1:53
    ว่าการเปลี่ยนจากสภาพที่เย็นเป็นสภาพที่อุ่น
  • 1:53 - 1:58
    ไม่ได้ราบเรียบอย่างที่คุณอาจคาดคิด
    จากการเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ของรังสีแสงอาทิตย์
  • 1:58 - 2:01
    และเรารู้ได้จากแกนน้ำแข็ง
    เพราะว่าถ้าคุณเจาะลึกลงไปในน้ำแข็ง
  • 2:01 - 2:05
    คุณจะพบกับวงปีของน้ำแข็ง
    และคุณสามารถเห็นสิ่งนี้ไ้ด้ในก้อนน้ำแข็ง
  • 2:05 - 2:07
    คุณสามารถเห็นชั้นสีฟ้าขาวเหล่านั้นได้
  • 2:07 - 2:10
    ก๊าซถูกกักอยู่ในแกนน้ำแข็ง
    เราจึงสามารถวัดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ --
  • 2:10 - 2:13
    นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเรารู้ว่า
    คาร์บอนไดออกไซด์ในอดีตจึงต่ำกว่า --
  • 2:13 - 2:16
    และเคมีของน้ำแข็งยังบอกเราถึงอุณหภูมิ
  • 2:16 - 2:17
    ในบริเวณขั้วโลก
  • 2:17 - 2:21
    และถ้าคุณเคลื่อนไปตามเวลา
    จาก 20,000 ปีก่อน มาถึงปัจจุบัน
  • 2:21 - 2:23
    คุณจะเห็นว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น
  • 2:23 - 2:24
    มันไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
  • 2:24 - 2:26
    บางครั้งมันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • 2:26 - 2:28
    จากนั้นก็คงที่
  • 2:28 - 2:29
    จากนั้นก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • 2:29 - 2:31
    มันแตกต่างไปในบริเวณขั้วโลก
  • 2:31 - 2:34
    และคาร์บอนไดออกไซด์
    เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
  • 2:35 - 2:38
    เราค่อนข้างมั่นใจว่า
    มหาสมุทรมีส่วนอย่างมาก
  • 2:38 - 2:40
    มหาสมุทรเก็บคาร์บอนไว้มากมาย
  • 2:40 - 2:43
    มากกว่าในชั้นบรรยากาศ
    ประมาณ 60 เท่า
  • 2:43 - 2:46
    มันยังมีบทบาทในการถ่ายทอดความร้อน
    ไปตามเส้นศูนย์สูตร
  • 2:46 - 2:50
    และมหาสมุทรก็เต็มไปด้วยแร่ธาตุ
    และมันควบคุมการผลิตพื้นฐาน
  • 2:50 - 2:53
    ฉะนั้น ถ้าเราต้องการหาว่า
    เกิดอะไรขึ้นลึกลงไปใต้ทะเล
  • 2:53 - 2:55
    เราต้องลงไปที่นั่นกันจริง ๆ
  • 2:55 - 2:56
    ดูว่ามีอะไร
  • 2:56 - 2:57
    และเริ่มสำรวจ
  • 2:57 - 3:00
    นี่เป็นภาพน่าทึ่งที่เราเก็บได้
    จากภูเขาใต้ทะเล
  • 3:00 - 3:03
    ลึกลงไปประมาณหนึ่งกิโลเมตร
    ในน่านน้ำสากล
  • 3:03 - 3:06
    ในเขตศูนย์สูตรแอตแลนติก ห่างไปจากแผ่นดิน
  • 3:06 - 3:09
    คุณเป็นคนกลุ่มแรก ๆ
    ที่จะได้เห็นสิ่งนี้จากพื้นทะเล
  • 3:09 - 3:10
    ไปพร้อม ๆ กับกลุ่มวิจัยของฉัน
  • 3:11 - 3:13
    คุณอาจเห็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ ๆ
  • 3:13 - 3:14
    เราก็ไม่รู้เหมือนกัน
  • 3:14 - 3:18
    คุณอาจต้องเก็บตัวอย่าง
    และทำอนุกรมวิธานอย่างจริงจัง
  • 3:18 - 3:20
    คุณจะเห็นปะการังหมากฝรั่ง (bubblegum coral)
    แสนสวยพวกนี้
  • 3:20 - 3:22
    มีดาวทะเลแข็ง ๆ เติบโตอยู่บนพวกมัน
  • 3:22 - 3:25
    พวกมันมีหนวดที่ยื่นออกมาจากปะการัง
  • 3:25 - 3:28
    มีปะการังที่มีโครงสร้างแคลเซียมคาร์บอเนต
    รูปร่างต่าง ๆ
  • 3:28 - 3:32
    ที่เติบโตบนหินบะซอลท์
    บนภูเขาใต้ทะเลขนาดใหญ่
  • 3:32 - 3:35
    และสิ่งที่ดูทึม ๆ พวกนั้น
    คือฟอสซิลของปะการัง
  • 3:35 - 3:37
    และพวกเรากำลังจะพูดถึงพวกมันต่อไปอีกนิด
  • 3:37 - 3:39
    ในขณะที่การเดินทางย้อนเวลากลับไป
  • 3:39 - 3:42
    เพื่อที่จะทำอย่างนั้น เราต้องเช่าเรือวิจัย
  • 3:42 - 3:45
    นี่คือยานสำรวจวิจัยมหาสมุทร เจมส์ คุก
  • 3:45 - 3:46
    ที่เทียบท่าอยู่ที่เทเนอร์ริเฟ
  • 3:46 - 3:47
    สวยใช่ไหมล่ะคะ
  • 3:48 - 3:49
    เยี่ยมเลย ถ้าคุณไม่ได้เป็นทหารเรือตัวยง
  • 3:50 - 3:52
    บางที มันเกิดเรื่องแบบนี้
  • 3:52 - 3:55
    นี่คือพวกเราที่พยายามเพื่อให้แน่ใจว่า
    เราจะไม่เสียตัวอย่างมีค่าไป
  • 3:55 - 3:58
    ทุกคนลนลาน และฉันก็เมาเรืออย่างหนัก
  • 3:58 - 4:01
    ฉะนั้น มันไม่ได้น่าสนุกสนานตลอดเวลา
    แต่โดยทั่วไปแล้วมันสนุกดี
  • 4:01 - 4:04
    เราจะต้องเป็นผู้ที่อ่านแผนที่เก่งมาก ๆ
  • 4:04 - 4:08
    เราไม่สามารถพบกับปะการังน่าทึ่งเหล่านั้น
    ได้ทั่ว ๆ ไป
  • 4:08 - 4:11
    มันมีอยู่ทั่วโลกและมันอยู่ลึก
  • 4:11 - 4:13
    แต่เราต้องหาสถานที่ที่ใช่จริง ๆ
  • 4:13 - 4:16
    ที่เราห็นคือแผนที่โลก
    และส่วนที่ซ้อนลงไปคือทางเดินเรือ
  • 4:16 - 4:17
    ของปีที่แล้ว
  • 4:18 - 4:19
    มันเป็นการเดินเรือเจ็ดสัปดาห์
  • 4:19 - 4:21
    และนี่คือพวกเรา ที่ทำแผนที่เอง
  • 4:21 - 4:26
    ซึ่งมันคือแผนที่พื้นทะเลพื้นที่ประมาณ
    75,000 ตารางกิโลเมตร ที่เราทำในเจ็ดสัปดาห์
  • 4:26 - 4:28
    แต่นั่นเป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ ของพื้นทะเล
  • 4:28 - 4:30
    เราเดินทางจากตะวันตกไปทางตะวันออก
  • 4:30 - 4:33
    บนส่วนของมหาสมุทร
    ที่มองดูแทบไม่เห็นบนแผนขนาดใหญ่
  • 4:33 - 4:37
    แต่อันที่จริง ภูเขาบางลูก
    มีขนาดใหญ่พอ ๆ กับเอเวอเรส
  • 4:37 - 4:39
    ฉะนั้น ด้วยแผนที่ที่เราทำขึ้นบนเรือ
  • 4:39 - 4:41
    มีความคมชัดระดับ 100 เมตร
  • 4:41 - 4:44
    ซึ่งเพียงพอสำหรับเลือกบริเวณ
    ที่จะจัดวางอุปกรณ์ของเรา
  • 4:44 - 4:45
    แต่ไม่เพียงพอที่จะเห็นอะไรมากนัก
  • 4:46 - 4:48
    เพื่อที่จะทำอย่างนั้น
    เราต้องส่งยานควบคุมระยะไกล
  • 4:48 - 4:50
    ที่ห่างจากพื้นทะเลประมาณห้าเมตร
  • 4:51 - 4:54
    และถ้าเราทำอย่างนั้น เราจะสามารถทำให้
    แผนที่ที่มีความคมชัดระดับหนึ่งเมตร
  • 4:54 - 4:56
    มีความคมชัดมากขึ้นอีกเป็นพันเมตร
  • 4:56 - 4:58
    นี่คือยานควบคุมระยะไกล
  • 4:58 - 5:00
    ยานที่เอาไว้ทำวิจัย
  • 5:00 - 5:03
    คุณจะเห็นแผงไฟขนาดใหญ่ด้านบน
  • 5:03 - 5:06
    พวกมันมีกล้องความคมชัดสูง
    แขนควบคุม
  • 5:06 - 5:09
    และกล่องเล็ก ๆ มากมาย
    และสิ่งที่จะเอาไว้ใส่ตัวอย่าง
  • 5:09 - 5:13
    นี่คือพวกเราในการขับยานนี้ครั้งแรก
  • 5:13 - 5:15
    ดำลงไปในมหาสมุทร
  • 5:15 - 5:17
    เราไปค่อนข้างเร็ว
    เพื่อให้มั่นใจว่ายานควบคุมระยะไกล
  • 5:17 - 5:19
    จะไม่ได้รับผลกระทบจากยานอื่น ๆ
  • 5:19 - 5:20
    และเราก็ดำลงไป
  • 5:20 - 5:23
    และนี่คือสิ่งที่เราได้เห็น
  • 5:23 - 5:26
    มีฟองน้ำทะเลขนาดเป็นเมตร
  • 5:27 - 5:31
    นี่คือแตงกวาทะเลจำพวกหนึ่ง (holoturian) --
    มันเป็นพวกทากทะเล
  • 5:31 - 5:32
    ตอนนี้ช้าลงแล้ว
  • 5:32 - 5:35
    ภาพส่วนใหญ่ของเราที่ฉันแสดงให้คุณชมตอนนี้
    ถูกเร่งความเร็วขึ้น
  • 5:35 - 5:37
    เพราะทั้งหมดนี้ใช้เวลาค่อนข้างมาก
  • 5:37 - 5:40
    นี่ก็เป็นแตงกวาทะเลที่สวยงามเช่นกัน
  • 5:41 - 5:44
    และสัตว์ชนิดนี้ที่คุณกำลังจะได้เห็น
    สร้างความประหลาดใจให้เรามาก
  • 5:44 - 5:47
    ฉันไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน
    และมันทำให้เราแปลกใจ
  • 5:47 - 5:51
    หลังจากทำงานมาประมาณ 15 ชั่วโมง
    และเราพวกเราก็มีความสุขกันมาก
  • 5:51 - 5:54
    ทันใดนั้นเอง ยักษ์ใหญ่แห่งท้องทะเล
    ก็เริ่มคลานผ่านเข้ามา
  • 5:54 - 5:57
    มันคือ ไพโรโซม
    หรือเพรียงหัวหอม (colonial tunicate)
  • 5:57 - 5:59
    มันไม่ใช่สิ่งที่เราคาดว่าจะพบ
  • 5:59 - 6:01
    เรามองหาปะการังน้ำลึก
  • 6:02 - 6:04
    คุณกำลังจะได้เห็นภาพของวินาทีนั้น
  • 6:05 - 6:07
    มันมีขนาดเล็ก
    มีความสูงประมาณห้าเซนติเมตร
  • 6:07 - 6:10
    มันมีโครงสร้างเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต
    คุณจะเห็นหนวดของมันตรงนั้น
  • 6:11 - 6:13
    พัดไปมาตามกระแสน้ำทะเล
  • 6:13 - 6:16
    สิ่งมีชีวิตลักษณะนี้อาจมีชีวิตอยู่
    ประมาณร้อยปีก่อน
  • 6:16 - 6:20
    และในขณะที่มันเติบโต
    มันก็รับเอาสารเคมีจากมหาสมุทร
  • 6:20 - 6:22
    และสารเคมีเหล่านี้
    หรือปริมาณของสารเคมีเหล่านี้
  • 6:22 - 6:25
    ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ
    มันขึ้นอยู่กับ pH
  • 6:25 - 6:26
    มันขึ้นอยู่กับธาตุอาหาร
  • 6:26 - 6:30
    และถ้าคุณเข้าใจได้ว่าสารเคมีเหล่านี้
    เข้าไปในโครงสร้างได้อย่างไร
  • 6:30 - 6:32
    เราจะสามารถกลับไป เก็บตัวอย่างฟอสซิล
  • 6:32 - 6:35
    และสร้างสิ่งที่มหาสมุทรเคยเป็นในอดีตได้
  • 6:35 - 6:39
    และที่คุณเห็นอยู่นี่ คือพวกเราที่กำลังเก็บปะการัง
    ด้วยระบบดูด
  • 6:39 - 6:41
    และเราเก็บมันเข้าไปในภาชนะสำหรับตัวอย่าง
  • 6:41 - 6:43
    เราสามารถทำได้อย่างระมัดระวัง
    ฉันอยากจะบอกให้ทราบนะคะ
  • 6:43 - 6:46
    สิ่งมีชีวิตบางชนิดเหล่านี้อยู่มานานกว่านั้น
  • 6:46 - 6:49
    ปะการังสีดำที่เรียกว่า เลอิโอพาร์ท (Leiopathes)
    ที่ถ่ายไว้โดยเพื่อนร่วมงานของฉัน
  • 6:49 - 6:53
    แบรนเดน โรอาร์ค ประมาณ 500 เมตร
    ที่ฮาวาย
  • 6:53 - 6:55
    สี่พันปีเป็นเวลาที่ยาวนาน
  • 6:55 - 6:58
    ถ้าคุณเอาปะการังเหล่านี้มาสักกิ่ง
    แล้วทำความสะอาด
  • 6:58 - 7:00
    นี่คือหน้าตัดประมาณ 100 ไมครอน
  • 7:01 - 7:03
    และแบรนเดน
    นำบางส่วนของปะการังมาวิเคราะห์ --
  • 7:03 - 7:05
    คุณจะเห็นร่องรอย --
  • 7:05 - 7:08
    และเขาสามารถแสดงให้เห็นว่า
    แถบวงปีนั้นมีอยู่
  • 7:08 - 7:10
    ในแบบที่เท่า ๆ กัน ที่มหาสมุทรความลึก 500 เมตร
  • 7:10 - 7:13
    ปะการังสามารถบันทึกการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล
  • 7:13 - 7:15
    ซึ่งค่อนข้างน่าทึ่งทีเดียว
  • 7:15 - 7:18
    แต่ 4,000 ปีก็ไม่เพียงพอสำหรับเรา
    ที่จะย้อนกลับไปตอนที่ธารน้ำแข็งมีอยู่มากที่สุด
  • 7:18 - 7:20
    แล้วเราทำอย่างไรล่ะ
  • 7:20 - 7:22
    เราลงไปเพื่อตัวอย่างฟอสซิลเหล่านี้
  • 7:22 - 7:25
    มันทำให้ฉันเป็นที่ไม่นิยมในกลุ่มวิจัย
  • 7:25 - 7:26
    ในขณะที่เดินทาง
  • 7:26 - 7:28
    มันมีฉลามยักษ์ทุกหนทุกแห่ง
  • 7:28 - 7:30
    มีไพโรโซม
    มีแตงกวาทะเลว่ายน้ำ
  • 7:30 - 7:32
    มีฟองน้ำยักษ์
  • 7:32 - 7:34
    แต่ฉันทำให้ทุกคนลงไป
    ยังบริเวณฟอสซิลตาย
  • 7:34 - 7:38
    และใช้เวลาไปมากกับการขุดพื้นทะเล
  • 7:38 - 7:41
    และเราเก็บปะการังทั้งหมดนี้
    นำมันกลับขึ้นมา และจัดแยก
  • 7:41 - 7:44
    แต่ว่าพวกมันแต่ละอันมีอายุที่ต่างกัน
  • 7:44 - 7:46
    และถ้าเราสามารถรู้ได้ว่า
    พวกมันมีอายุเท่าไร
  • 7:46 - 7:48
    เราก็จะสามารถวัดสัญญาณเคมีเหล่านั้น
  • 7:48 - 7:50
    ซึ่งมันช่วยให้เรารู้ว่า
  • 7:50 - 7:52
    เกิดอะไรขึ้นในมหาสมุทรในอดีต
  • 7:53 - 7:54
    ภาพทางซ้ายนี้
  • 7:54 - 7:57
    ฉันได้เฉือนปะการัง
    ทำความสะอาดมันอย่างระวัง
  • 7:57 - 7:59
    และนำมาถ่ายภาพ
  • 7:59 - 8:00
    ทางขวามือ
  • 8:01 - 8:04
    เรานำบางชิ้นส่วนของปะการัง
    นำมันลงไปในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
  • 8:04 - 8:05
    เหนี่ยวนำให้เกิดฟิสชัน
  • 8:05 - 8:06
    และทุกครั้งที่มีการสลาย
  • 8:06 - 8:08
    คุณจะว่ามันถูกทำเครื่องหมายบนปะการัง
  • 8:08 - 8:10
    เราจึงสามารถเห็นการกระจายของยูเรเนียมได้
  • 8:10 - 8:12
    ทำไมเราถึงทำเช่นนี้
  • 8:12 - 8:14
    ยูเรเนียมเป็นธาตุที่คนไม่ค่อยนึกถึง
  • 8:14 - 8:15
    แต่ฉันชอบมันนะ
  • 8:15 - 8:18
    การสลายของมันช่วยให้เรารู้
    เกี่ยวกับอัตราและอายุ
  • 8:18 - 8:20
    ของเหตุการณ์เกิดขึ้นในมหาสมุทร
  • 8:20 - 8:22
    และถ้าคุณจำได้จากตอนแรก
  • 8:22 - 8:25
    ว่านั่นเป็นสิ่งที่เราต้องการรู้
    เมื่อเราคิดถึงเรื่องสภาวะอากาศ
  • 8:25 - 8:27
    เราจึงใช้เลเซอร์เพื่อวิเคราะห์ยูเรเนียม
  • 8:27 - 8:29
    และหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็คือ
    ธีโอเรียม ในปะการังเหล่านี้
  • 8:29 - 8:32
    และนั่นบอกกับเราว่า จริง ๆ แล้ว
    ฟอสซิลมีอายุเท่าไร
  • 8:33 - 8:35
    แอนนิเมชันสวย ๆ ของมหาสมุทรทางตอนใต้
  • 8:35 - 8:38
    ที่ฉันกำลังจะแสดงให้ดู
    ว่าเราใช้ปะการังพวกนี้อย่างไร
  • 8:38 - 8:42
    เพื่อให้ได้ผลลัพท์จากอดีตของมหาสมุทร
  • 8:42 - 8:45
    เราดูที่ความหนาแน่นของน้ำที่ผิวน้ำ
  • 8:45 - 8:47
    ในแอนิเมชันนี้โดย ไรอัน อเบอร์นาร์ที
  • 8:47 - 8:50
    นี่เป็นเพียงข้อมูลภายในหนึ่งปี
  • 8:50 - 8:52
    แต่คุณสามารถเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลง
    ของมหาสมุทรทางตอนใต้
  • 8:52 - 8:56
    การผสมกันที่หนาแน่น
    โดยเฉพาะเกรท แพสเสจ
  • 8:56 - 8:58
    ซึ่งแสดงโดยกล่อง
  • 8:58 - 9:01
    เป็นที่หนึ่งที่มีกระแสน้ำที่แรงที่สุดในโลก
  • 9:01 - 9:03
    ที่ผ่านมาจากตรงนี้
    ไปลจากตะวันตกไปตะวันออก
  • 9:03 - 9:05
    มันผสมปนเหกันอย่างพลุ่นพล่าน
  • 9:05 - 9:08
    เพราะว่ามันเคลื่อนที่อยู่เหนือ
    ภูเขายักษ์ใต้ทะเล
  • 9:08 - 9:12
    และนั่นทำให้คาร์บอนไดออกไซด์และความร้อน
    ได้แลกเปลี่ยนกับบรรยากาศเข้าออก
  • 9:12 - 9:16
    และที่สำคัญ มหาสมุทรกำลังหายใจ
    ผ่านมหาสมุทรทางตอนใต้นี้
  • 9:17 - 9:22
    เราเก็บปะการังทั้งด้านหน้าและหลัง
    ของเส้นทางขั้วโลกใต้นี้
  • 9:22 - 9:25
    และเราพบสิ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจ
    จากการคำนวนอายุโดยยูเรเนียม
  • 9:25 - 9:28
    ปะการังย้ายถิ่นฐานจากทางใต้ไปทางเหนือ
  • 9:28 - 9:31
    ระหว่างการเปลี่ยนแปลง
    จากยุคน้ำแข็งไปเป็นระหว่างยุคน้ำแข็ง
  • 9:31 - 9:32
    เราไม่รู้จริง ๆ ว่าทำไม
  • 9:32 - 9:35
    แต่เรารู้ว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับแหล่งอาหาร
  • 9:35 - 9:37
    และอาจเกี่ยวข้องกับออกซิเจนในน้ำ
  • 9:38 - 9:39
    นั่นล่ะค่ะ
  • 9:39 - 9:42
    ฉันกำลังจะแสดงสิ่งที่ฉันคิดว่า
    เราได้พบเกี่ยวกับสภาวะอากาศ
  • 9:42 - 9:44
    จากปะการังเหล่านี้ในมหาสมุทรทางตอนใต้
  • 9:44 - 9:47
    เราเดินทางขึ้นลงภูเขาใต้ทะเล
    เราเก็บฟอสซิลปะการังเล็ก ๆ
  • 9:47 - 9:49
    นี่คือภาพของมัน
  • 9:49 - 9:50
    เราคิดย้อนกลับไปยังยุคน้ำแข็ง
  • 9:50 - 9:52
    จากการวิเคราะห์ปะการัง
  • 9:52 - 9:55
    ว่าส่วนลึกของมหาสมุทรทางตอนใต้
    มีคาร์บอนอยู่มาก
  • 9:55 - 9:58
    และมีชั้นที่มีความหนาแน่นต่ำ
    อยู่ทางตอนบน
  • 9:58 - 10:01
    นั่นกั้นไม่ให้คาร์บอนไดออกไซด์
    หนีออกไปจากมหาสมุทร
  • 10:02 - 10:04
    จากนั้นเราพบว่าปะการัง
    ที่มีอายุในช่วงกลาง ๆ
  • 10:04 - 10:09
    และพวกมันแสดงให้เราเห็นว่ามหาสมุทร
    ผสมเส้นทางผ่านการเปลี่ยนสภาวะอากาศ
  • 10:09 - 10:11
    ที่ทำให้คาร์บอนหนีออกจากทะเลลึก
  • 10:12 - 10:15
    และจากนั้น ถ้าเราวิเคราะห์ปะการัง
    ที่มีอายุใกล้เคียงกับปัจจุบัน
  • 10:15 - 10:18
    หรือถ้าเราลงไปข้างล่างนั่นในปัจจุบันนี้
  • 10:18 - 10:20
    และวัดสารเคมีของปะการัง
  • 10:20 - 10:24
    เราจะเห็นว่าเราอยู่ตรงจุดที่คาร์บอน
    สามารถแลกเปลี่ยนเข้าออกได้
  • 10:24 - 10:26
    ฉะนั้น นี่เป็นวิธีการที่เราใช้ฟอสซิลปะการัง
  • 10:26 - 10:28
    เพื่อช่วยให้เราสามาารถศึกษา
    สิ่งแวดล้อมของเราได้
  • 10:30 - 10:32
    ฉันอยากจะฝากภาพสุดท้ายนี้ไว้กับคุณ
  • 10:32 - 10:36
    มันเป็นเพียงภาพนิ่ง
    ที่ตัดมาจากบันทึกที่ฉันได้ให้คุณดูไปแล้ว
  • 10:36 - 10:38
    มันคือสวนปะการังที่น่าทึ่ง
  • 10:38 - 10:41
    เราไม่ได้แม้แต่จะหวังว่าจะพบสิ่งที่สวยงามนี้
  • 10:41 - 10:43
    มันลึกลงไปหลายพันเมตร
  • 10:43 - 10:44
    มันมีสายพันธุ์ใหม่ ๆ
  • 10:44 - 10:46
    มันเป็นสถานที่สวยงาม
  • 10:46 - 10:48
    มันมีฟอสซิลอยู่ในนั้น
  • 10:48 - 10:50
    และตอนนี้ ฉันได้ฝึกให้คุณ
    เข้าใจถึงฟอสซิลปะการัง
  • 10:50 - 10:52
    ที่อยู่ด้านล่างนั่น
  • 10:52 - 10:55
    ฉะนั้น ถ้าครั้งหน้าคุณโชคดี
    ได้บินไปเหนือมหาสมุทร
  • 10:55 - 10:56
    หรือล่องเรือข้ามมหาสมุทร
  • 10:56 - 10:59
    ลองคิดดู --
    มันมีภูเขาทะเลยักษ์อยู่ทางด้านล่าง
  • 10:59 - 11:01
    ที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน
  • 11:01 - 11:02
    และมีปะการังที่แสนงาม
  • 11:02 - 11:03
    ขอบคุณค่ะ
  • 11:03 - 11:08
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ความลับที่ฉันพบ ณ พื้นมหาสมุทร
Speaker:
ลอว์รา โรบินสัน (Laura Robinson)
Description:

ลึกลงไปหลายร้อยเมตรจากผิวน้ำมหาสมุทร ลอว์รา โรบินสัน หยั่งลึกลงไปตามความชันของภูเขายักษ์ใต้ทะเล เธอกำลังตามล่าปะการังอายุหลายพันปีที่เธอสามารถทดสอบมันในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เพื่อหาคำตอบว่ามหาสมุทรเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรตามกาลเวลา จากการศึกษาประวัติศาสตร์โลก โรบินสันหวังว่าจะพบกับเบาะแสว่ามันอาจเกิดอะไรขึ้นในอนาคต

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:21

Thai subtitles

Revisions