Return to Video

ทำไมดินสอนั้นสุดจะเจ๋ง

  • 0:00 - 0:04
    เสียงเป็นส่วนสำคัญนะคะ ในความคิดของฉัน
    สำหรับประสบการณ์ในการใช้ดินสอ
  • 0:04 - 0:07
    และมันก็มีเสียงการขีดเขียนนี่จริง ๆ
  • 0:07 - 0:09
    (เสียงขีดเขียน)
  • 0:10 - 0:13
    [ของธรรมดากับแนวคิดที่ยิ่งใหญ่]
  • 0:14 - 0:16
    [คาโรลีน เวฟเวอร์ พูดถึงดินสอ]
  • 0:17 - 0:19
    ดินสอเป็นของธรรมดา ๆ
  • 0:19 - 0:21
    มันทำมาจากไม้ที่มีชั้นเคลือบภายนอก
  • 0:21 - 0:23
    และยางลบ และส่วนแกน
  • 0:23 - 0:25
    ซึ่งทำมาจากกราไฟต์ ดินเหนียว และน้ำ
  • 0:25 - 0:28
    ทว่า ด้วยแรงงานคนหลายร้อย
    ในช่วงหลายศตวรรษทีเดียว
  • 0:28 - 0:30
    ที่ถูกใช้ไปเพื่อให้ได้มาซึ่งการออกแบบนี้
  • 0:30 - 0:33
    และมันก็มีประวัติศาสตร์ความร่วมมือ
    อันยาวนาน
  • 0:33 - 0:36
    ซึ่งสำหรับฉันแล้ว
    ทำให้มันเป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบเหลือเกิน
  • 0:36 - 0:38
    เรื่องราวของดินสอเริ่มขึ้นจากกราไฟต์
  • 0:38 - 0:41
    คนเริ่มพบว่าสสารใหม่นี้
  • 0:41 - 0:43
    มีประโยชน์ในการใช้งานจริง ๆ
  • 0:43 - 0:45
    พวกเขาตัดมันเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  • 0:45 - 0:48
    และพันมันด้วยลวด หนังแกะ หรือกระดาษ
  • 0:48 - 0:50
    และขายตามท้องถนนในกรุงลอนดอน
  • 0:50 - 0:52
    เพื่อที่จะเอาไว้ใช้เขียนหรือวาด
  • 0:52 - 0:54
    หรือ บ่อยครั้งทีเดียว
    ที่ชาวนาและคนเลี้ยงแกะ
  • 0:54 - 0:56
    ใช้มันเพื่อทำเครื่องหมายบนสัตว์ของพวกเขา
  • 0:56 - 0:57
    ในฝรั่งเศส
  • 0:57 - 1:01
    นิโคลัส แจ๊ค คอนเต้
    พบวิธีการบดกราไฟต์
  • 1:01 - 1:05
    และผสมมันเข้ากับดินเหนียวป่น
    และน้ำเพื่อให้มันกลายเป็นก้อนแป้งเปียก
  • 1:05 - 1:08
    จากนั้น ก็กดมันผ่านสู่เบ้าพิมพ์
    และเผาในเตาเผา
  • 1:08 - 1:11
    และผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ
    แกนกราไฟต์ที่แข็งมาก ๆ
  • 1:11 - 1:14
    ที่จะไม่แตกหักง่าย
    เรียบ และใช้งานได้
  • 1:14 - 1:17
    มันดีกว่าอะไรก็ตามที่มีอยู่ในเวลานั้น
  • 1:17 - 1:21
    และจนถึงวันนี้ วิธีการดังกล่าว
    ก็ยังคงถูกใช้ในการผลิตดินสอ
  • 1:21 - 1:25
    ขณะเดียวกัน ในทวีปอเมริก
    ในคอนคอร์ด รัฐแมสซาชูเซ็ท
  • 1:25 - 1:28
    เฮนรี เดวิด โทรัว
    ได้ประดิษฐ์ระดับการให้คะแนน
  • 1:28 - 1:30
    สำหรับความแข็งของดินสอขึ้นมา
  • 1:30 - 1:32
    มันถูกจัดตามคะแนนตั้งแต่หนึ่งถึงสี่
  • 1:32 - 1:35
    เลขสองหมายถึงความแข็งที่เหมาะสม
    สำหรับการใช้งานทั่วไป
  • 1:35 - 1:38
    ยิ่งดินสอนุ่มเท่าไร
    มันก็ยิ่งมีกราไฟต์มากเท่านั้น
  • 1:38 - 1:40
    และก็จะให้เส้นที่
    เข้มกว่าและเรียบเนียนกว่า
  • 1:41 - 1:44
    ยิ่งดินสอแข็งเท่าไร
    มันก็ยิ่งมีดินเหนียวมากเท่านั้น
  • 1:44 - 1:46
    และให้เส้นที่มีสีจางกว่าและคมกว่า
  • 1:47 - 1:50
    แต่เดิม เมื่อดินสอยังถูกทำขึ้นด้วยมือ
    พวกมันถูกทำออกมาให้เป็นแท่งกลม
  • 1:50 - 1:51
    มันไม่มีวิธีการผลิตได้โดยง่าย
  • 1:51 - 1:55
    และชาวอเมริกันนี่เอง
    ที่เป็นผู้ใช้เครื่องจักรในการผลิตมัน
  • 1:55 - 1:57
    หลายคนยกความดีความชอบให้ โจเซฟ ไดซอน
  • 1:57 - 2:00
    ว่าเป็นหนึ่งในคนแรก ๆ
    ที่เริ่มพัฒนาเครื่องจักรเฉพาะ
  • 2:00 - 2:04
    เพื่อที่จะใช้ตัดไม้เป็นแผ่น
    เจาะช่องในไม้นั้น
  • 2:04 - 2:06
    และใส่กาวลงไป
  • 2:06 - 2:08
    พวกเขาพบว่า
    มันง่ายกว่าและสิ้นเปลืองน้อยกว่า
  • 2:08 - 2:10
    ถ้าทำดินสอออกมาเป็นทรงหกเหลี่ยม
  • 2:10 - 2:12
    และนั่นก็กลายเป็นมาตรฐาน
  • 2:13 - 2:14
    ตั้งแต่เริ่มมีดินสอ
  • 2:14 - 2:16
    ผู้คนก็ชอบที่มันสามารถลบได้
  • 2:18 - 2:20
    แต่เดิม เศษขนมปัง
  • 2:20 - 2:22
    ถูกใช้เพื่อขัดถูส่วนที่เป็นรอยดินสอออกไป
  • 2:22 - 2:23
    ก่อนที่ยางและหินภูเขาไฟจะถูกนำมาใช้
  • 2:24 - 2:27
    ยางลบที่ถูกติดเข้าไปเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1858
  • 2:27 - 2:31
    เมื่อคนขายเครื่องเขียนชาวอเมริกัน
    ไฮเมน ลิปแมน จดสิทธิบัตรดินสอแท่งแรก
  • 2:31 - 2:32
    ที่มียางลบติดอยู่
  • 2:32 - 2:34
    ซึ่งเป็นการเปลี่ยนบทบาทของดินสอ
  • 2:35 - 2:38
    ดินสอสีเหลืองแท่งแรกของโลก
    คือ KOH-I-NOOR 1500
  • 2:38 - 2:40
    KOH-I-NOOR ได้ทำสิ่งที่แหวกแนวนี้
  • 2:40 - 2:43
    ซึ่งก็คือการทาสีดินสอด้วยสีเหลือง 14 ชั้น
  • 2:43 - 2:45
    และจุ่มปลายมันลงไปใน ทอง 14 กะรัต
  • 2:45 - 2:47
    ดินสอมีไว้สำหรับทุกคน
  • 2:47 - 2:49
    และดินสอทุกแท่งก็มีเรื่องราว
  • 2:50 - 2:54
    แบล๊ควิง 602 มีชื่อเสียง
    เพราะมันถูกใช้โดยนักเขียนมากมาย
  • 2:54 - 2:57
    โดยเฉพาะ จอห์น สเตนเบค
    และวลาดีมีร์ โนโบคอฟ
  • 2:57 - 3:00
    และจากนั้น เราก็มีบริษัทดินสอไดซอน
  • 3:00 - 3:03
    พวกเขาเป็นผู้ผลิต ไดซอน ไทคอนดีโรกา
  • 3:03 - 3:04
    มันเป็นภาพลักษณ์ของดินสอ
  • 3:04 - 3:07
    มันคือสิ่งที่คนนึกถึงเมื่อพูดกันถึงดินสอ
  • 3:07 - 3:09
    และเป็นสิ่งที่คนคิดถึงเมื่อพูดถึงโรงเรียน
  • 3:09 - 3:11
    และสำหรับฉัน ดินสอเป็นสิ่งที่
  • 3:11 - 3:14
    คนทั่วไปไม่เคยคิดทบทวนกันอย่างจริงจัง
  • 3:14 - 3:16
    ว่ามันถูกผลิตขึ้นอย่างไร
    หรือว่าทำไมมันถูกถูกผลิตด้วยวิธีการนั้น
  • 3:16 - 3:18
    เพราะว่ามันเป็นมาเช่นนั้นมาตลอดอยู่แล้ว
  • 3:19 - 3:21
    ในความคิดของฉัน เราไม่สามารถทำอะไร
  • 3:21 - 3:23
    ได้มากกว่านี้อีกแล้วเพื่อพัฒนาดินสอ
  • 3:24 - 3:25
    มันสมบูรณ์แบบที่สุดค่ะ
Title:
ทำไมดินสอนั้นสุดจะเจ๋ง
Speaker:
คาโรลีน เวฟเวอร์ (Caroline Weaver)
Description:

ทำไมดินสอต้องมีรูปทรงเป็นหกเหลี่ยม และมันได้สีเหลืองอันเป็นเอกลักษณ์ได้อย่างไร
คาโรลีน เวฟเวอร์ เจ้าของร้านขายดินสอ พาเราสู่ประวัติศาสตร์อันน่าสนใจของดินสอ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED Series
Duration:
03:39
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why the pencil is perfect
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Why the pencil is perfect
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why the pencil is perfect
Rawee Ma declined Thai subtitles for Why the pencil is perfect
Rawee Ma edited Thai subtitles for Why the pencil is perfect
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why the pencil is perfect

Thai subtitles

Revisions