Return to Video

ภาษากายของคุณเปลี่ยนตัวตนของคุณได้

  • 0:01 - 0:04
    ฉันอยากเริ่มต้นด้วยการแจกทางลัด
  • 0:04 - 0:06
    เปลี่ยนชีวิตให้คุณฟรีๆ
  • 0:06 - 0:09
    สิ่งเดียวที่คุณต้องทำก็คือ
  • 0:09 - 0:13
    เปลี่ยนมาดของคุณเป็นเวลาสองนาที
  • 0:13 - 0:16
    แต่ก่อนที่จะเฉลย ตอนนี้ฉันอยากให้คุณ
  • 0:16 - 0:20
    สำรวจร่างกายตัวเอง
    รวมถึงว่าคุณทำอะไรกับร่างกายของคุณอยู่
  • 0:20 - 0:22
    มีใครบ้างคะที่กำลังทำให้ตัวเองดูตัวเล็กลง?
  • 0:22 - 0:25
    คุณอาจกำลังนั่งหลังโกง นั่งไขว่ห้าง
  • 0:25 - 0:26
    นั่งไขว้ขา
  • 0:26 - 0:30
    บางครั้ง เรากอดอกแบบนี้
  • 0:30 - 0:33
    บางทีเรากางแขนออก
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:33 - 0:36
    ฉันเห็นนะคะ
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:36 - 0:38
    ทีนี้ ฉันอยากให้คุณเพ่งความสนใจ
    ต่อสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ตอนนี้
  • 0:38 - 0:40
    เราจะกลับมาพูดเรื่องนี้ในอีกสองสามนาที
  • 0:40 - 0:44
    และฉันหวังว่าถ้าคุณเรียนรู้
    ที่จะเปลี่ยนแปลงมันสักเล็กน้อย
  • 0:44 - 0:47
    มันอาจเปลี่ยนชีวิตของคุณได้เลย
  • 0:47 - 0:52
    คนเราหลงใหลเรื่องภาษากาย
  • 0:52 - 0:54
    และเราสนใจเป็นพิเศษ
  • 0:54 - 0:56
    กับภาษากายของคนอื่นๆ
  • 0:56 - 1:00
    รู้ไหมคะ เราสนใจใน เอิ่ม
  • 1:00 - 1:05
    การมีปฏิสัมพันธ์แบบกระอักกระอ่วน หรือการยิ้ม
  • 1:05 - 1:09
    การเหลือบมองแบบดูหมิ่น
    หรือการขยิบตาแบบกระอักกระอ่วน
  • 1:09 - 1:12
    แม้แต่การจับมือ
  • 1:12 - 1:15
    ผู้บรรยาย: พวกเขาเข้ามาถึง
    กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ และดูสิครับ
  • 1:15 - 1:17
    เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้โชคดีได้จับมือกับท่านประธานาธิบดี
  • 1:17 - 1:20
    แห่งสหรัฐอเมริกา โอ้ มาแล้วครับ
  • 1:20 - 1:25
    นายกรัฐมนตรีแห่ง -- ไม่เหรอ
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 1:25 - 1:27
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 1:27 - 1:31
    เอมี่: ดังนั้นการจับมือ หรือการไม่จับมือ
  • 1:31 - 1:34
    กลายเป็นหัวข้อสนทนาได้นานหลายสัปดาห์
  • 1:34 - 1:36
    แม้แต่สำนักข่าวบีบีซี และนิวยอร์กไทมส์
  • 1:36 - 1:40
    ดังนั้น ชัดเจนว่าเมื่อเราคิดถึงพฤติกรรมของอวัจนภาษา
  • 1:40 - 1:43
    หรือภาษากาย แต่นักสังคมศาสตร์เรียกมันว่าอวัจนภาษา
  • 1:43 - 1:46
    มันเป็นภาษาอย่างหนึ่ง เราจึงคิดว่ามันเป็นการสื่อสาร
  • 1:46 - 1:48
    เมื่อเราคิดว่ามันเป็นการสื่อสาร
    เราคิดถึงการมีปฏิสัมพันธ์
  • 1:48 - 1:51
    ดังนั้น ภาษากายของคุณกำลังสื่อสารอะไรกับฉัน
  • 1:51 - 1:54
    และภาษากายของฉันกำลังสื่อสารอะไรกับคุณ
  • 1:54 - 1:58
    และมันมีเหตุผลมากมายที่ทำให้เราชื่อว่า
    นี่เป็นมุมมองที่ถูกต้อง
  • 1:58 - 2:00
    ดังนั้น นักสังคมศาสตร์จึงทุ่มเทเวลา
  • 2:00 - 2:04
    ศึกษาผลกระทบจากภาษากายของเรา
  • 2:04 - 2:06
    และภาษากายของผู้คนอื่นๆ กับการตัดสินคน
  • 2:06 - 2:10
    เรามักตัดสินและอนุมานลักษณะของคนจากภาษากาย
  • 2:10 - 2:14
    และการตัดสินเหล่านั้นสามารถทำนาย
    ผลกระทบใหญ่หลวงต่อชีวิตได้เลยทีเดียว
  • 2:14 - 2:17
    เช่นใครที่เราจะจ้างหรือเลื่อนขั้น
    หรือใครที่เราจะขอออกเดทด้วย
  • 2:17 - 2:22
    ตัวอย่างเช่น นาลินี แอมบาดี (Nalini Ambady)
    นักวิจัยที่ Tufts University
  • 2:22 - 2:27
    แสดงให้เห็นว่า เมื่อคนดูคลิปวิดีโอ
    ความยาว 30 วินาที ที่ไม่มีเสียงพูด
  • 2:27 - 2:30
    ของการปฏิสัมพันธ์จริงระหว่างแพทย์กับคนไข้
  • 2:30 - 2:32
    การตัดสินของพวกเขาว่าแพทย์นั้นดูใจดีแค่ไหน
  • 2:32 - 2:35
    ใช้เป็นตัวทำนายได้ว่าแพทย์คนนั้นจะถูกฟ้องหรือไม่
  • 2:35 - 2:37
    แพทย์คนนั้นจะไร้ความสามารถหรือเปล่า ไม่ค่อยมีผลเท่าไหร่
  • 2:37 - 2:39
    แต่มันขึ้นกับว่าเราชอบแพทย์คนนั้นหรือเปล่า
  • 2:39 - 2:42
    และเขามีปฏิสัมพันธ์กับเราอย่างไร
  • 2:42 - 2:45
    ที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่านั้น อเล็กซ์ โทโดรอฟ (Alex Todorov)
    จาก Princeton ได้แสดงให้เห็นว่า
  • 2:45 - 2:49
    การตัดสินจากใบหน้า
    ของผู้เข้าสมัครชิงตำแหน่งการเมือง
  • 2:49 - 2:53
    ภายในหนึ่งวินาที ก็สามารถทำนายผล
    การเลือกตั้งวุฒิสภา
  • 2:53 - 2:57
    และการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐได้แม่นถึง 70%
  • 2:57 - 2:59
    และแม้แต่ในโลกดิจิตอล
  • 2:59 - 3:03
    การใช้อีโมติคอนอย่างเหมาะสมในการเจรจาออนไลน์
  • 3:03 - 3:06
    สามารถทำกำไรให้คุณจากการเจรจานั้นได้มากกว่า
  • 3:06 - 3:09
    แต่ถ้าคุณใช้อย่างไม่เหมาะสม
    ก็เป็นความคิดที่แย่ ใช่ไหมคะ
  • 3:09 - 3:12
    ดังนั้น เมื่อเราคิดถึงอวัจนภาษา
    เราคิดถึงการที่เราตัดสินคนอื่น
  • 3:12 - 3:15
    คนอื่นๆ ตัดสินเราอย่างไร และอะไรคือผลที่เกิดตามมา
  • 3:15 - 3:17
    แต่เรามักจะลืมผู้รับสารอีกหนึ่งคน
  • 3:17 - 3:21
    ที่ได้รับผลกระทบจากอวัจนภาษาของเรา
    นั่นก็คือตัวเราเอง
  • 3:21 - 3:24
    เราได้รับอิทธิพลจากอวัจนภาษาของเรา
    ความคิดของเรา
  • 3:24 - 3:26
    ความรู้สึกของเรา และปฏิกิริยาทางร่างกายของเรา
  • 3:26 - 3:29
    แล้วอวัจนภาษาที่ฉันกำลังพูดถึงคืออะไรล่ะคะ?
  • 3:29 - 3:32
    ฉันเป็นนักจิตวิทยาสังคม ฉันศึกษาเรื่องอคติ
  • 3:32 - 3:35
    และฉันสอนที่โรงเรียนธุรกิจชื่อดังแห่งหนึ่ง
  • 3:35 - 3:39
    ดังนั้นฉันจึงอดไม่ได้
    ที่จะสนใจเรื่องพลวัตของอำนาจ
  • 3:39 - 3:43
    ฉันสนใจการแสดงออกถึงอำนาจและการครอบงำ
  • 3:43 - 3:45
    ผ่านทางอวัจนภาษาเป็นพิเศษ
  • 3:45 - 3:48
    แล้วอวัจนภาษาที่สื่อถึงพลังอำนาจคืออะไร
  • 3:48 - 3:50
    นี่ค่ะ คืออวัจนภาษาที่ว่า
  • 3:50 - 3:53
    ในอาณาจักรสัตว์ มันคือการขยายตัว
  • 3:53 - 3:56
    คุณทำตัวเองให้ดูใหญ่ คุณยืดตัวออก
  • 3:56 - 3:59
    คุณทำตัวพอง พูดง่ายๆ คือเปิดตัวเองออก
  • 3:59 - 4:02
    มันคือการเปิดตัวออก มันเป็นอย่างนี้
  • 4:02 - 4:06
    ในอาณาจักรสัตว์ทุกชนิด ไม่เฉพาะสัตว์ตระกูลลิง
  • 4:06 - 4:09
    มนุษย์ก็ทำเช่นเดียวกัน
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:09 - 4:13
    คนเราทำท่าทางนี้ ทั้งตอนที่อยู่ในฐานะที่มีอำนาจ
  • 4:13 - 4:16
    และตอนที่รู้สึกมีอำนาจเพียงชั่วขณะหนึ่ง
  • 4:16 - 4:19
    สิ่งนี้น่าสนใจเป็นพิเศษ
    เพราะมันแสดงให้เราเห็นว่า
  • 4:19 - 4:23
    วิธีแสดงออกถึงพลังอำนาจนี้
    มันเป็นสากลและเก่าแก่แค่ไหน
  • 4:23 - 4:25
    การแสดงออกนี้ ซึ่งเรียกกันว่า ความทะนงตน
  • 4:25 - 4:28
    เจสสิกา เทรซี (Jessica Tracy) ได้ทำการศึกษา
    และแสดงให้เห็นว่า
  • 4:28 - 4:31
    คนที่เกิดมามีสายตามองเห็น
  • 4:31 - 4:33
    และคนที่ตาบอดตั้งแต่เกิดล้วนทำสิ่งนี้
  • 4:33 - 4:36
    เมื่อพวกเขาชนะการแข่งขันอะไรสักอย่าง
  • 4:36 - 4:38
    เมื่อเขาวิ่งข้ามเส้นชัย และเขาเป็นที่หนึ่ง
  • 4:38 - 4:40
    มันไม่สำคัญว่าพวกเขาจะเคยเห็นคนอื่น
    ทำสิ่งนั้นมาก่อนหรือไม่
  • 4:40 - 4:41
    พวกเขาจะทำแบบนี้เสมอ
  • 4:41 - 4:44
    ชูแชนขึ้นเป็นรูปตัว V เชิดคางขึ้น
  • 4:44 - 4:47
    แล้วเราทำอย่างไรเมื่อเรารู้สึกไร้อำนาจ
  • 4:47 - 4:51
    เราทำในสิ่งตรงกันข้าม เราปิดตัวเอง ห่อตัว
  • 4:51 - 4:54
    เราทำตัวให้เล็กลง
    เราไม่อยากกระทบกระทั่งกับคนที่อยู่ข้างๆ
  • 4:54 - 4:57
    เช่นเดียวกัน ทั้งสัตว์และมนุษย์ทำในสิ่งเดียวกัน
  • 4:57 - 5:01
    และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเอาคนที่มีอำนาจ
  • 5:01 - 5:03
    และไร้อำนาจมาอยู่ด้วยกัน สิ่งที่พวกเรามักทำ
  • 5:03 - 5:07
    เมื่อมีความเหลื่อมล้ำของอำนาจ คือ
    เราจะเป็นคู่เสริมทางอวัจนภาษาของกันและกัน
  • 5:07 - 5:10
    ดังนั้น ถ้าบางคนมีอำนาจกว่าเรามากๆ
  • 5:10 - 5:12
    เรามีแนวโน้มจะทำตัวเล็กลง เราจะไม่เลียนแบบเขา
  • 5:12 - 5:14
    เราทำในสิ่งตรงกันข้าม
  • 5:14 - 5:17
    ฉันเฝ้าสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้ในห้องเรียน
  • 5:17 - 5:24
    และฉันเห็นอะไรรู้ไหมคะ?
    ฉันสังเกตว่านักเรียนบริหารธุรกิจ
  • 5:24 - 5:27
    ใช้อวัจนภาษาแสดงออกถึงอำนาจอย่างเต็มที่
  • 5:27 - 5:29
    คุณจะเห็นคนที่ทำตัวเหมือนเป็นจ่าฝูง
  • 5:29 - 5:32
    ปราดเข้ามาในห้อง เข้ามากลางห้อง
  • 5:32 - 5:36
    ก่อนที่การเรียนจะเริ่มขึ้น พวกเขาต้องการจะจับจองพื้นที่
  • 5:36 - 5:38
    เมื่อพวกเขานั่งลง เขาจะแผ่ขยายตัวเอง
  • 5:38 - 5:40
    พวกเขายกมือขึ้นแบบนี้
  • 5:40 - 5:43
    คุณจะพบคนอื่นๆ ที่ตัวแทบจะหดหายไปเลย
  • 5:43 - 5:45
    เมื่อพวกเขาเข้ามา ทันที่ที่พวกเขาเข้ามา
  • 5:45 - 5:48
    คุณจะเห็นได้จากหน้าตาท่าทางของพวกเขา
  • 5:48 - 5:50
    และพวกเขานั่งในเก้าอี้ พยายามทำตัวให้เล็กที่สุด
  • 5:50 - 5:53
    และพวกเขาทำอย่างนี้เวลายกมือ
  • 5:53 - 5:55
    ฉันสังเกตเห็นสองสิ่งจากเรื่องนี้
  • 5:55 - 5:56
    หนึ่ง คุณจะไม่ประหลาดใจเลย
  • 5:56 - 5:59
    ว่ามันดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับเพศ
  • 5:59 - 6:04
    ผู้หญิงมีแนวโน้มสูงกว่าผู้ชาย
    ที่จะทำท่าแบบนี้
  • 6:04 - 6:07
    ผู้หญิงรู้สึกถึงความด้อยอำนาจกว่าผู้ชายอยู่เสมอ
  • 6:07 - 6:11
    ดังนั้นมันจึงไม่น่าประหลาดใจ
    แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ฉันสังเกตก็คือ
  • 6:11 - 6:14
    มันเหมือนจะเกี่ยวข้องรวมไปถึง
  • 6:14 - 6:17
    การที่นักเรียนจะมีส่วนร่วมในห้องเรียนมากแค่ไหน
    และมีส่วนร่วมดีแค่ไหนด้วย
  • 6:17 - 6:20
    ซึ่งมันสำคัญมากในห้องเรียนของวิชาบริหารธุรกิจ
  • 6:20 - 6:23
    เพราะการมีส่วนร่วมคิดเป็นครึ่งหนึ่งของเกรด
  • 6:23 - 6:27
    ดังนั้น โรงเรียนบริหารธุรกิจค่อนข้างมีปัญหา
    เรื่องช่องว่างของเกรดที่เกิดจากเพศ
  • 6:27 - 6:30
    คุณได้นักเรียนที่มีคุณสมบัติดีพอๆ กัน
    ทั้งหญิงและชายเข้ามาเรียน
  • 6:30 - 6:32
    แต่คุณกลับได้เกรดที่แตกต่างกัน
  • 6:32 - 6:36
    เพราะความแตกต่างในการมีส่วนร่วมในห้องเรียน
  • 6:36 - 6:39
    ฉันจึงเริ่มสงสัยว่า
  • 6:39 - 6:41
    เอาล่ะ คุณมีคนเหล่านี้ ซึ่งเข้ามาแบบนี้
  • 6:41 - 6:45
    เป็นไปได้ไหมว่า
    ถ้าเราให้คนเหล่านี้แสร้งทำท่าทางมีอำนาจ
  • 6:45 - 6:47
    มันจะชักจูงให้พวกเขามีส่วนร่วมมากขึ้น
  • 6:47 - 6:51
    ดังนั้น ผู้ร่วมงานคนสำคัญของฉัน ดานา คาร์นีย์
    (Dana Carney) ที่เบิร์คลีย์ (Berkeley)
  • 6:51 - 6:55
    และตัวฉัน อยากจะรู้ว่า คุณจะแสร้งทำ
    จนกระทั่งคุณทำได้จริงๆ หรือไม่
  • 6:55 - 6:58
    คือ คุณสามารถทำท่าแบบนี้สักครู่หนึ่ง
  • 6:58 - 7:02
    เพื่อให้ได้ประสบการณ์ทางพฤติกรรม
    ที่ทำให้คุณรู้สึกมีอำนาจได้ไหม
  • 7:02 - 7:05
    เรารู้ว่าอวัจนภาษาของเราควบคุม
    ความคิดและความรู้สึก
  • 7:05 - 7:07
    ที่คนอื่นมีต่อเรา มีหลักฐานสนับสนุนมากมาย
  • 7:07 - 7:10
    แต่คำถามของเราจริงๆ ก็คือ อวัจนภาษาของเรา
  • 7:10 - 7:13
    สามารถควบคุมวิธีที่เราคิด
    และรู้สึกต่อตัวเราเองได้หรือไม่
  • 7:13 - 7:16
    มีหลักฐานบางชิ้นที่สนับสนุนว่ามันเป็นจริง
  • 7:16 - 7:21
    ยกตัวอย่างเช่น เรายิ้มเมื่อมีความสุข
  • 7:21 - 7:23
    ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อเราถูกบังคับให้ยิ้ม
  • 7:23 - 7:27
    โดยคาบปากกาไว้แบบนี้
    มันทำให้เรารู้สึกมีความสุขไปด้วย
  • 7:27 - 7:30
    ดังนั้นมันจึงเป็นไปได้ทั้งสองทาง
    และเมื่อเป็นเรื่องของอำนาจ
  • 7:30 - 7:35
    มันก็เป็นไปได้ทั้งสองทางเช่นกัน เมื่อคุณรู้สึกมีอำนาจ
  • 7:35 - 7:39
    คุณมีแนวโน้มจะทำแบบนี้ และก็เป็นไปได้เช่นกัน
  • 7:39 - 7:44
    ที่เมื่อคุณแสร้งทำเป็นมีอำนาจ คุณจะมีแนวโน้ม
  • 7:44 - 7:47
    ที่จะรู้สึกมีอำนาจขึ้นมาจริงๆ
  • 7:47 - 7:50
    คำถามข้อที่สอง ก็คือ
  • 7:50 - 7:53
    เรารู้ว่าจิตใจของเราส่งผลกระทบต่อร่างกาย
  • 7:53 - 7:57
    และก็จริงอีกเช่นกันว่า ร่างกายของเราสามารถ
    ส่งผลกระทบต่อจิตใจได้ด้วย
  • 7:57 - 8:00
    และเมื่อฉันพูดถึงจิตใจ ในบริบทเรื่องอำนาจ
  • 8:00 - 8:01
    ฉันหมายถึงอะไร
  • 8:01 - 8:03
    ฉันหมายถึงความคิดและความรู้สึก
  • 8:03 - 8:07
    และปฏิกิริยาทางสรีระวิทยา
    ที่รวมกันเป็นความคิดและความรู้สึกของเรา
  • 8:07 - 8:10
    ในกรณีของฉัน มันคือฮอร์โมน ฉันศึกษาฮอร์โมน
  • 8:10 - 8:13
    จิตใจของผู้ที่มีอำนาจและผู้ที่ไร้อำนาจ
  • 8:13 - 8:14
    นั้นเป็นเช่นไร?
  • 8:14 - 8:19
    ไม่น่าแปลกใจเลย คนที่มีอำนาจมักจะ
  • 8:19 - 8:23
    มีความหนักแน่น มั่นใจ มองโลกในแง่ดี
  • 8:23 - 8:26
    พวกเขารู้สึกจริงๆ ว่าพวกเขาจะชนะ
    แม้แต่ในเกมเสี่ยงโชค
  • 8:26 - 8:30
    สามารถคิดในเชิงนามธรรมได้ดีกว่า
  • 8:30 - 8:33
    รับความเสี่ยงได้สูงกว่า
  • 8:33 - 8:35
    ผู้ที่มีอำนาจกับผู้ไร้อำนาจ
    มีความแตกต่างกันสูงมาก
  • 8:35 - 8:39
    ในทางสรีระวิทยาก็มีความแตกต่างกันมาก
    ในฮอร์โมนหลักสองตัว
  • 8:39 - 8:43
    คือ เทสโทสเตอโรน (testosterone)
    ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งการแสดงอำนาจ
  • 8:43 - 8:46
    และคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งคือฮอร์โมนความเครียด
  • 8:46 - 8:50
    สิ่งที่เราพบก็คือ
  • 8:50 - 8:54
    ในสัตว์ตระกูลลิง จ่าฝูงตัวผู้ที่มีอำนาจมาก
  • 8:54 - 8:57
    มีเทสโทสเตอโรนสูง และคอร์ติซอลต่ำ
  • 8:57 - 9:00
    และผู้นำที่มีอำนาจและมีประสิทธิภาพ
  • 9:00 - 9:03
    ก็มีเทสโทสเตอโรนสูง และคอร์ติซอลต่ำเช่นกัน
  • 9:03 - 9:05
    นั่นหมายถึงอะไร เมื่อคุณคิดถึงอำนาจ
  • 9:05 - 9:07
    คนมักคิดถึงแต่เทสโทสเตอโรน
  • 9:07 - 9:09
    เพราะมันเกี่ยวกับการแสดงอำนาจ
  • 9:09 - 9:13
    แต่จริงๆ แล้ว อำนาจนั้นหมายรวมถึง
    การตอบสนองของคุณต่อความเครียดด้วย
  • 9:13 - 9:16
    คุณต้องการผู้นำที่มีอำนาจ ที่มีอำนาจเหนือคนอื่นๆ
  • 9:16 - 9:18
    มีเทสโทสเตอโรนสูง แต่อ่อนไหวต่อความเครียดหรือเปล่า
  • 9:18 - 9:21
    คงไม่ คุณต้องการบุคคล
  • 9:21 - 9:23
    ที่มีอำนาจ มั่นคง เด่นกว่าคนอื่น
  • 9:23 - 9:27
    และไม่อ่อนไหวต่อความเครียด บุคคลซึ่งทำตัวผ่อนคลาย
  • 9:27 - 9:33
    เรารู้ว่าในโครงสร้างสังคมของสัตว์ตระกูลลิง
  • 9:33 - 9:37
    ถ้าจ่าฝูงต้องการครอบครอง
    ถ้าใครสักคนหนึ่งต้องสวมบทบาท
  • 9:37 - 9:39
    ของจ่าฝูงอย่างทันทีทันใด
  • 9:39 - 9:42
    ภายสองไม่กี่วัน ระดับเทสโทสเตอโรนของคนนั้นจะสูงขึ้น
  • 9:42 - 9:46
    อย่างมีนัยสำคัญ และระดับคอร์ติซอล
    ก็จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน
  • 9:46 - 9:49
    เรามีหลักฐานว่าร่างกายสามารถ
  • 9:49 - 9:51
    เปลี่ยนแปลงจิตใจ อย่างน้อยก็ในระดับผิวเผิน
  • 9:51 - 9:55
    และการเปลี่ยนบทบาทก็สามารถ
    เปลี่ยนแปลงจิตใจได้ด้วย
  • 9:55 - 9:58
    แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อคุณเปลี่ยนบทบาท
  • 9:58 - 10:01
    จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณทำอะไรเล็กน้อยมากๆ
  • 10:01 - 10:03
    เช่นการปรับเปลี่ยนเล็กๆ การแทรกแซงเล็กๆ แบบนี้
  • 10:03 - 10:06
    โดยพูดกับตัวเองว่า "ในสองนาที ฉันจะยืนท่านี้
  • 10:06 - 10:09
    และนั่นจะทำให้ฉันรู้สึกมีอำนาจมากขึ้น"
  • 10:09 - 10:13
    นี่คือสิ่งที่เราทำ เรานำคนกลุ่มหนึ่ง
  • 10:13 - 10:17
    มายังห้องทดลองและทำการทดลองเล็กๆ
  • 10:17 - 10:22
    คนกลุ่มนี้ จะต้องทำท่าแห่งอำนาจ
  • 10:22 - 10:24
    หรือท่าไร้อำนาจเป็นเวลาสองนาที
  • 10:24 - 10:27
    ฉันจะให้ดูภาพท่าเหล่านี้ 5 แบบ
    แม้ว่าพวกเขาจะใช้แค่สองแบบเท่านั้น
  • 10:27 - 10:29
    นี่คือท่าหนึ่ง
  • 10:29 - 10:31
    อีกสองท่า
  • 10:31 - 10:34
    ท่านี้ถูกตั้งชื่อว่า "วันเดอร์วูแมน"
  • 10:34 - 10:37
    โดยสื่อต่างๆ
  • 10:37 - 10:38
    นี่คืออีกสองท่า
  • 10:38 - 10:40
    ดังนั้นคุณสามารถยืนหรือนั่งก็ได้
  • 10:40 - 10:42
    และนี่คือ ท่าไร้อำนาจ
  • 10:42 - 10:46
    คุณห่อตัว ทำตัวเองให้เล็กลง
  • 10:46 - 10:48
    ท่านี้เป็นท่าที่ไร้อำนาจจริงๆ
  • 10:48 - 10:49
    เมื่อคุณแตะคอตัวเอง
  • 10:49 - 10:52
    จริงๆ แล้วคุณกำลังปกป้องตัวเอง
  • 10:52 - 10:55
    นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น พวกเขาเข้ามา
  • 10:55 - 10:56
    เราแบ่งเขาออกเป็นสองกลุ่ม
  • 10:56 - 11:00
    เราบอกเขาว่า "คุณต้องทำท่าแบบนี้ หรือไม่ก็แบบนี้"
  • 11:00 - 11:01
    พวกเขาไม่ได้ดูรูปของท่าทางเหล่านั้น
    เพราะเราไม่อยากชี้นำ
  • 11:01 - 11:05
    ให้เขาคิดถึงเรื่องอำนาจ
    เราต้องการให้พวกเขารู้สึกถึงอำนาจด้วยตัวเอง
  • 11:05 - 11:07
    ดังนั้น พวกเขาทำท่าเหล่านี้เป็นเวลา 2 นาที
  • 11:07 - 11:10
    จากนั้นเราก็ถามพวกเขาว่า "คุณรู้สึกมีอำนาจแค่ไหน"
    โดยใช้คำถามหลายข้อ
  • 11:10 - 11:13
    แล้วเราก็ให้โอกาสเขาเสี่ยงพนัน
  • 11:13 - 11:16
    และจากนั้นเราเก็บตัวอย่างน้ำลาย
  • 11:16 - 11:17
    แค่นั้นเอง นั่นคือการทดลองทั้งหมด
  • 11:17 - 11:21
    และนี่คือสิ่งที่เราค้นพบ
    การยอมรับความเสี่ยง ซึ่งในที่นี้คือการพนัน
  • 11:21 - 11:24
    เราพบว่า เมื่อคุณทำท่ามีอำนาจสูง
  • 11:24 - 11:27
    86 เปอร์เซ็นต์ของพวกคุณจะกล้าพนัน
  • 11:27 - 11:29
    เมื่อคุณอยู่ในท่าไร้อำนาจ
  • 11:29 - 11:33
    มีแค่ 60 เปอร์เซ็นต์ที่กล้าเสี่ยง
    นั่นมันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทีเดียว
  • 11:33 - 11:36
    นี่คือสิ่งที่เราพบในเรื่องเทสโทสเตอโรน
  • 11:36 - 11:39
    เทียบกับระดับเทสโทสเตอโรนก่อนเริ่มทดลอง กลุ่มมีอำนาจ
  • 11:39 - 11:42
    มีเทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้นประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์
  • 11:42 - 11:46
    กลุ่มคนไร้อำนาจ มีเทสโทสเตอโรนลดลง
    ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
  • 11:46 - 11:49
    เพียงแค่สองนาที คุณก็ได้การเปลี่นแปลงเหล่านี้
  • 11:49 - 11:52
    และนี่คือผลที่ได้ในเรื่องคอร์ติซอล
    ในกลุ่มคนมีอำนาจ
  • 11:52 - 11:55
    มีคอร์ติซอลลดลงประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์
  • 11:55 - 11:59
    และในกลุ่มคนไร้อำนาจ มีคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น
    ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์
  • 11:59 - 12:02
    ดังนั้น เพียงแค่สองนาทีก็นำไปสู่
    การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเหล่านี้
  • 12:02 - 12:05
    ที่ปรับเปลี่ยนสมองคุณให้เป็นได้ทั้ง
  • 12:05 - 12:08
    หนักแน่น มั่นใจ และสบาย
  • 12:08 - 12:12
    หรือ อ่อนไหวต่อความเครียด
  • 12:12 - 12:16
    รู้สึกปิดกั้นตัวเอง พวกเราต่างเคยรู้สึกแบบนั้นใช่ไหมคะ
  • 12:16 - 12:19
    ดังนั้น มันเหมือนว่าอวัจนภาษาของเราสามารถควบคุม
  • 12:19 - 12:21
    วิธีที่เราคิดและรู้สึกเกี่ยวกับตัวเราเอง
  • 12:21 - 12:23
    ไม่เพียงแค่คนอื่น แต่รวมถึงตัวเราเองด้วย
  • 12:23 - 12:26
    และร่างกายของเราก็เปลี่ยนแปลงจิตใจเราได้
  • 12:26 - 12:28
    แต่แน่นอน คำถามถัดไปก็คือ
  • 12:28 - 12:30
    การทำท่าแห่งอำนาจเพียงสองสามนาที
  • 12:30 - 12:32
    สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคุณได้จริงๆ จังๆ หรือเปล่า
  • 12:32 - 12:35
    นี่มันแค่การทดลองในห้องทดลอง มันเป็นงานเล็กๆ
  • 12:35 - 12:37
    ใช้เวลาเพียงสองนาที
    คุณจะเอามันไปใช้จริงๆ ได้ที่ไหนบ้าง
  • 12:37 - 12:40
    ก็ในสถานการณ์ที่สำคัญกับเราน่ะสิ
  • 12:40 - 12:44
    และเราคิดว่าจริงๆ แล้ว มันสำคัญมาก ฉันหมายถึง
  • 12:44 - 12:47
    คุณควรจะนำมันไปใช้ในสถานการณ์
    ที่คุณจะต้องถูกประเมิน
  • 12:47 - 12:50
    เช่น ในสถานการณ์ที่ถูกคุกคามทางสังคม
    ที่คุณกำลังถูกประเมิน
  • 12:50 - 12:54
    ไม่ว่าจะโดยเพื่อนๆ เช่น สำหรับวัยรุ่น
    ก็คือสถานการณ์ในห้องทานอาหารกลางวัน
  • 12:54 - 12:56
    สำหรับบางคน อาจเป็นการพูด
  • 12:56 - 12:59
    ในที่ประชุมคณะกรรมการของโรงเรียน
    หรือการนำเสนอผลงาน
  • 12:59 - 13:02
    หรือการบรรยายแบบนี้
  • 13:02 - 13:05
    หรือการสัมภาษณ์งาน
  • 13:05 - 13:07
    เราคิดว่า สถานการณ์ที่คนส่วนใหญ่จะเชื่อมโยงได้
  • 13:07 - 13:08
    เพราะคนส่วนใหญ่เคยผ่านมาแล้ว
  • 13:08 - 13:10
    นั่นคือการสัมภาษณ์งาน
  • 13:10 - 13:14
    ดังนั้นเราจึงตีพิมพ์การค้นพบนี้ และสื่อต่างๆ
  • 13:14 - 13:16
    ก็พากันตื่นเต้น และพวกเขาบอกว่า นี่คือสิ่งที่คุณต้องทำ
  • 13:16 - 13:20
    เมื่อคุณไปสัมภาษณ์งาน ใช่ไหมคะ
    (เสียงหัวเราะ)
  • 13:20 - 13:22
    ตอนนั้นเรากลัวมาก และกล่าวว่า
  • 13:22 - 13:24
    โอ้ พระเจ้า ไม่นะไม่ เราไม่ได้หมายความอย่างนั้นเลย
  • 13:24 - 13:27
    ด้วยเหตุผลทั้งหลายทั้งปวง อย่าทำแบบนั้นเด็ดขาด
  • 13:27 - 13:30
    นี่ไม่ใช่การที่คุณพูดกับคนอื่นๆ
  • 13:30 - 13:31
    มันคือการที่คุณพูดกับตัวคุณเอง คุณจะทำอะไร
  • 13:31 - 13:34
    ก่อนเข้าไปสัมภาษณ์งาน? คุณทำแบบนี้
  • 13:34 - 13:36
    ใช่ไหมคะ? คุณนั่งลง คุณกำลังเล่นไอโฟน
  • 13:36 - 13:39
    หรือแอนดรอยด์ พยายามไม่ให้ใครคลาดสายตา
  • 13:39 - 13:41
    คุณกำลังดูกระดาษโน้ตของคุณ
  • 13:41 - 13:43
    คุณนั่งหลังโกง ทำตัวเองให้ดูเล็ก
  • 13:43 - 13:45
    ในขณะที่สิ่งที่คุณควรทำจริงๆ แล้ว อาจเป็นแบบนี้
  • 13:45 - 13:48
    คุณอาจทำแบบนี้ในห้องน้ำ ใช่ไหมคะ
    ทำแบบนั้น ลองหาเวลาสักสองนาที
  • 13:48 - 13:50
    นั่นคือสิ่งที่เราอยากทดสอบ
  • 13:50 - 13:52
    เราพาคนกลุ่มหนึ่งเข้ามาในห้องทดลอง
  • 13:52 - 13:55
    ให้พวกเขาทำท่าแห่งอำนาจ หรือ ไร้อำนาจ
  • 13:55 - 13:58
    พวกเขาต้องผ่านการสัมภาษณ์งานอันเคร่งเครียด
  • 13:58 - 14:02
    ใช้เวลานานห้านาที พวกเขาถูกบันทึกวิดีโอ
  • 14:02 - 14:04
    และถูกประเมินด้วย โดยผู้ประเมิน
  • 14:04 - 14:08
    ก็ถูกฝึกมาไม่ให้โต้ตอบด้วยอวัจนภาษา
  • 14:08 - 14:10
    ดังนั้นพวกเขาจึงดูเหมือนแบบนี้
  • 14:10 - 14:12
    ลองจินตนาการว่านี่คือคนที่กำลังสัมภาษณ์คุณอยู่
  • 14:12 - 14:17
    เป็นเวลานานห้านาที โดยไร้การตอบสนอง
    นี่มันแย่ยิ่งกว่าโดนต้อนเสียอีก
  • 14:17 - 14:20
    คนทั่วไปไม่ชอบภาวะแบบนี้ นี่คือสิ่งที่
    แมรีแอน ลาฟรานซ์ (Marianne LaFrance)
  • 14:20 - 14:22
    เรียกว่า "สถานการณ์น่าเบื่อแต่หนีไม่ได้"
    (social quicksand)
  • 14:22 - 14:24
    ซึ่งทำให้คอร์ติซอลของคุณพุ่งปรี๊ด
  • 14:24 - 14:26
    เราให้พวกเขาเข้าไปสัมภาษณ์งานแบบนี้
  • 14:26 - 14:28
    เพราะเราต้องการดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น
  • 14:28 - 14:32
    เราให้ผู้ประเมินสี่คนดูวิดีโอเทปนี้
  • 14:32 - 14:35
    พวกเขาไม่รู้สมมติฐานของเรา
    พวกเขาไม่รู้สภาวะก่อนการสัมภาษณ์
  • 14:35 - 14:38
    พวกเขาไม่รู้ว่าใครทำท่าอะไรก่อนการสัมภาษณ์
  • 14:38 - 14:43
    พวกเขาเพียงแค่ได้ดูเทปการสัมภาษณ์
  • 14:43 - 14:45
    และพูดว่า "โอ้ เราต้องการจ้างคนพวกนี้"
  • 14:45 - 14:48
    หมายถึงคนที่ทำท่ามีอำนาจทั้งหมด
    หรือพูดว่า "เราไม่อยากจ้างคนพวกนี้
  • 14:48 - 14:51
    เรายังประเมินคนกลุ่มนี้สูงกว่าในทุกๆ ด้านด้วย"
  • 14:51 - 14:56
    แต่อะไรเป็นตัวขับดันล่ะ?
    มันไม่เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของสิ่งที่เขาพูดเลย
  • 14:56 - 14:59
    แต่อยู่ที่ภาพลักษณ์ที่พวกเขานำเสนอในระหว่างการพูด
  • 14:59 - 15:01
    เพราะเราให้คะแนนพวกเขาในตัวแปร
  • 15:01 - 15:04
    ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถ
    เช่น การพูดของเขามีโครงสร้างดีแค่ไหน?
  • 15:04 - 15:06
    มันฟังดูดีแค่ไหน? คุณสมบัติของพวกเขาเป็นอย่างไร?
  • 15:06 - 15:09
    ตัวแปรพวกนี้ไม่มีผลต่อการจ้างงานเลย
    แต่สิ่งที่ได้รับผลกระทบคือ
  • 15:09 - 15:13
    สิ่งเหล่านี้ คนสามารถแสดงตัวตนที่แท้จริงออกมา
  • 15:13 - 15:15
    พวกเขาเผยตัวตนออกมา
  • 15:15 - 15:17
    พวกเขาแสดงความคิด ในแบบของตนเอง
  • 15:17 - 15:19
    โดยไม่มีอะไรมาปิดบัง
  • 15:19 - 15:24
    และนี่คือสิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อน
    หรือเป็นตัวนำพาให้เกิดผลดังกล่าว
  • 15:24 - 15:28
    เมื่อฉันบอกคนอื่นๆ เรื่องนี้
  • 15:28 - 15:31
    ว่าร่างกายของเราสามารถเปลี่ยนแปลงจิตใจของเรา
    และจิตใจของเราก็เปลี่ยนพฤติกรรมเราได้
  • 15:31 - 15:34
    และพฤติกรรมของเราก็สามารถ
    เปลี่ยนแปลงชีวิตเราได้ พวกเขาบอกฉันว่า
  • 15:34 - 15:35
    "ฉันว่ามันไม่ .... มันดูเสแสร้ง"
  • 15:35 - 15:39
    ฉันตอบว่า คุณต้องเสแสร้งจนกว่าคุณจะทำมันได้จริง
    คนมักคิดว่า ฉันทำไม่ได้ มันไม่ใช่ตัวฉัน
  • 15:39 - 15:42
    ฉันไม่อยากไปถึงจุดนั้น แล้วยังรู้สึกเหมือนพวกหลอกลวง
  • 15:42 - 15:44
    ฉันไม่อยากรู้สึกเหมือนเป็นพวกต้มตุ๋น
  • 15:44 - 15:48
    ฉันไปอยากไปถึงจุดนั้น
    แล้วต้องรู้สึกว่าฉันไม่ควรค่าพอ
  • 15:48 - 15:50
    นั่นมันช่างสอดคล้องกับกรณีของฉันเหลือเกิน
  • 15:50 - 15:53
    ฉันอยากจะเล่าเรื่องสั้นๆ ให้พวกคุณฟัง
  • 15:53 - 15:56
    เกี่ยวกับการเป็นพวกหลอกลวง
    และความรู้สึกไม่ควรค่าพอจะอยู่ตรงจุดนั้น
  • 15:56 - 15:59
    เมื่อฉันอายุได้ 19 ปี ฉันประสบอุบัติเหตุ
    ทางรถยนต์ที่ร้ายแรงมากๆ
  • 15:59 - 16:02
    ฉันถูกเหวี่ยงออกจากรถ กลิ้งหลายตลบ
  • 16:02 - 16:06
    ฉันถูกเหวี่ยงออกจากรถ และฉันฟื้นขึ้นมา
    ในห้องกายภาพของผู้บาดเจ็บทางสมอง
  • 16:06 - 16:09
    และฉันต้องออกจากมหาวิทยาลัย
  • 16:09 - 16:15
    เมื่อฉันรู้ตัวว่า I.Q. ของฉันลดลง
    กว่า 2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 16:15 - 16:18
    มันเจ็บปวดมาก
  • 16:18 - 16:21
    ฉันรู้ว่า I.Q. ฉันเคยเป็นเท่าไร
    ฉันเคยถูกจัดอยู่ในกลุ่มเด็กฉลาด
  • 16:21 - 16:23
    ฉันถูกเรียกว่าเป็นเด็กมีพรสวรรค์
  • 16:23 - 16:26
    เมื่อฉันถูกให้ออกจากมหาวิทยาลัย
    ฉันพยายามกลับไปเรียน
  • 16:26 - 16:28
    พวกเขาบอกว่า "เธอจะเรียนไม่จบนะ
  • 16:28 - 16:30
    มีอย่างอื่นมากมายที่เธอจะทำได้
  • 16:30 - 16:32
    แต่การเรียนมันยากเกินไปสำหรับเธอ"
  • 16:32 - 16:36
    ฉันลำบากมากกับเรื่องนี้ ต้องบอกตามตรง
  • 16:36 - 16:39
    การถูกลบอัตลักษณ์ของตนเอง แก่นแท้ของตัวตน
  • 16:39 - 16:41
    และสำหรับฉัน มันคือการเป็นคนฉลาด
  • 16:41 - 16:45
    เมื่อมันโดนพรากไปจากคุณ
    ไม่มีอะไรจะทำให้คุณรู้สึกไร้อำนาจไปยิ่งกว่านั้นอีกแล้ว
  • 16:45 - 16:48
    ฉันรู้สึกไร้อำนาจโดยสิ้นเชิง
    ฉันขยันเรียน และขยันเรียน และขยันเรียน
  • 16:48 - 16:51
    และฉันก็โชคดี และขยันเรียน
    และก็โชคดี และขยันเรียน
  • 16:51 - 16:53
    จนสุดท้าย ฉันก็เรียนจบ
  • 16:53 - 16:55
    ฉันต้องใช้เวลานานกว่าเพื่อนๆ ถึงสี่ปี
  • 16:55 - 17:00
    ฉันโน้มน้าวใครคนหนึ่ง ซูซาน ฟิสก์ (Susan Fiske)
    อาจารย์ที่ปรึกษาผู้เป็นดั่งเทพธิดาของฉัน
  • 17:00 - 17:03
    ให้รับฉันเข้าเรียนต่อ
    สุดท้ายฉันจึงได้เข้าเรียนที่พรินซ์ตัน (Princeton)
  • 17:03 - 17:06
    ฉันรู้สึกเหมือนว่าฉันไม่คู่ควรกับที่นั่น
  • 17:06 - 17:07
    ฉันเป็นพวกหลอกลวง
  • 17:07 - 17:08
    และคืนก่อนการกล่าวบรรยายในปีแรกของฉัน
  • 17:08 - 17:11
    และการบรรยายของนักศึกษาชั้นปีหนึ่ง
    ที่ปรินซ์ตั้น เป็นการบรรยาย 20 นาที
  • 17:11 - 17:13
    มีผู้ฟัง 20 คน แค่นั้นเอง
  • 17:13 - 17:16
    แต่ฉันกลัวมาก ว่าคนจะรู้ความจริงในวันรุ่งขึ้น
  • 17:16 - 17:19
    จนฉันต้องโทรไปหาอาจารย์
    และบอกเธอว่า "หนูขอลาออกค่ะ"
  • 17:19 - 17:21
    เธอตอบว่า "เธอลาออกไม่ได้
  • 17:21 - 17:23
    เพราะฉันวางเดิมพันเรื่องเธอเอาไว้
    และเธอต้องอยู่ต่อ
  • 17:23 - 17:25
    เธอจะต้องอยู่ต่อ และนี่คือสิ่งที่เธอต้องทำ
  • 17:25 - 17:27
    เธอจะต้องแสร้งทำมัน
  • 17:27 - 17:31
    เธอจะต้องพูดในทุกๆ งานที่เธอถูกขอให้พูด
  • 17:31 - 17:32
    เธอจะต้องพูด และพูด และพูด
  • 17:32 - 17:35
    แม้ว่าเธอจะกลัวจนตัวแข็งทื่อ
  • 17:35 - 17:38
    และเกิดประสบการณ์ออกจากร่าง จนกระทั่ง
  • 17:38 - 17:41
    เธอถึงจุดหนึ่ง ที่เธอจะบอกตัวเองว่า 'พระเจ้าช่วย ฉันกำลังทำมัน
  • 17:41 - 17:44
    ฉันกลายเป็นคนที่ทำได้จริงๆ ฉันกำลังทำมันอยู่จริงๆ'"
  • 17:44 - 17:46
    นั่นคือสิ่งที่ฉันทำ ห้าปีในการเรียนบัณฑิตศึกษา
  • 17:46 - 17:48
    แล้วฉันก็ไปอยู่ที่นอร์ธเวสเทิร์น (Northwestern) สองสามปี
  • 17:48 - 17:51
    แล้วย้ายไปฮาร์วาร์ด (Harvard) และที่ฮาวาร์ด
  • 17:51 - 17:54
    ฉันก็เลิกคิดถึงมันไปเลย
    แต่ก่อนหน้านั้นนานทีเดียวที่ฉันคอยแต่คิดว่า
  • 17:54 - 17:56
    "ฉันไม่คู่ควรกับที่นี่ ไม่คู่ควรกับที่นี่"
  • 17:56 - 17:59
    ตอนปลายปีแรกของฉันที่ฮาร์วาร์ด
  • 17:59 - 18:04
    นักเรียนคนหนึ่งผู้ไม่เคยพูดในชั้นเรียนเลยทั้งเทอม
  • 18:04 - 18:07
    คนที่ฉันเคยเตือนว่า "นี่ เธอต้องมีส่วนร่วมในชั้นเรียนนะ
    ไม่อย่างนั้นเธอจะไม่ผ่าน"
  • 18:07 - 18:09
    เด็กคนนั้นมาที่ห้องทำงานฉัน ฉันไม่รู้จักเธอเลย
  • 18:09 - 18:13
    และเธอเข้ามาในแบบหมดสภาพ พ่ายแพ้ยับเยิน
    เธอกล่าวว่า
  • 18:13 - 18:19
    "หนูไม่คู่ควรกับที่นี่"
  • 18:19 - 18:23
    นั่นคือช่วงเวลาสำคัญสำหรับฉัน
    เพราะสองสิ่งได้เกิดขึ้น
  • 18:23 - 18:25
    สิ่งแรกคือฉันได้ตระหนัก
  • 18:25 - 18:28
    ว่า พระเจ้า ฉันไม่รู้สึกแบบนั้นอีกต่อไปแล้ว
  • 18:28 - 18:31
    ฉันไม่รู้สึกแบบนั้นอีกต่อไปแล้ว
    แต่เธอรู้สึก และฉันเข้าใจดี
  • 18:31 - 18:33
    และสิ่งที่สอง คือ เธอคู่ควรจะอยู่ที่นี่!
  • 18:33 - 18:35
    เธอสามารถเสแสร้งได้ จนเธอกลายเป็นแบบนั้นจริงๆ
  • 18:35 - 18:39
    ดังนั้นฉันจึงพูดว่า "เธอคู่ควร! เธอสมควรจะได้อยู่ที่นี่
  • 18:39 - 18:40
    และพรุ่งนี้ เธอจะต้องเสแสร้งทำมัน
  • 18:40 - 18:43
    เธอจะต้องทำตัวให้มีอำนาจ
  • 18:43 - 18:47
    และเธอจะต้อง --"
    (เสียงปรบมือ)
  • 18:47 - 18:49
    (เสียงปรบมือ)
  • 18:49 - 18:53
    "และเธอจะต้องเข้าเรียน
  • 18:53 - 18:55
    และเธอจะต้องแสดงความเห็น
    ที่เยี่ยมยอดที่สุดกว่าใครๆ"
  • 18:55 - 18:58
    คุณรู้อะไรไหม?
    แล้วเธอก็แสดงความเห็นที่เยี่ยมยอดจริงๆ
  • 18:58 - 18:59
    และคนอื่นๆ ต่างหันมามองเธอ แล้วทำท่าเหมือนกับว่า
  • 18:59 - 19:03
    พระเจ้า ฉันไม่เคยสังเกตเลยว่าเธอนั่งอยู่ตรงนั้น
    (เสียงหัวเราะ)
  • 19:03 - 19:06
    เธอกลับมาหาฉัน เมื่อเวลาผ่านไปเดือนหนึ่ง
    และฉันตระหนักว่า
  • 19:06 - 19:08
    เธอไม่ได้แค่แสร้งทำจนเธอทำมันได้จริงๆ
  • 19:08 - 19:11
    แต่เธอแสร้งทำ จนมันกลายเป็นตัวเธอไปเลย
  • 19:11 - 19:12
    เธอเปลี่ยนไป
  • 19:12 - 19:17
    และดังนั้นฉันจึงอยากบอกคุณว่า
    อย่าแค่แสร้งทำจนคุณทำมันได้
  • 19:17 - 19:19
    ให้แสร้งทำจนมันกลายเป็นตัวคุณ
  • 19:19 - 19:23
    ทำมันให้มากพอจนมันกลายเป็นตัวคุณ
  • 19:23 - 19:26
    สิ่งสุดท้ายที่ฉันจะฝากไว้ก่อนจบการบรรยาย
  • 19:26 - 19:30
    คือการปรับเปลี่ยนเล็กๆ น้อยๆ
    สามารถนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ได้
  • 19:30 - 19:33
    ดังนั้น นี่คือสองนาที
  • 19:33 - 19:34
    สองนาที สองนาที สองนาที
  • 19:34 - 19:38
    ก่อนที่คุณจะต้องเข้าไปในสถานการณ์
    ที่จะต้องถูกประเมินอย่างเคร่งเครียด
  • 19:38 - 19:40
    ใช้เวลาสักสองนาที พยายามทำสิ่งเหล่านี้ ในลิฟท์
  • 19:40 - 19:44
    ในห้องน้ำ ที่โต๊ะของคุณในห้องมิดชิด
  • 19:44 - 19:46
    นั่นคือสิ่งที่คุณควรทำ ปรับสมองของคุณ
  • 19:46 - 19:48
    เพื่อให้รับมือได้ดีที่สุดในสถานการณ์นั้น
  • 19:48 - 19:51
    เพิ่มเทสโทสเตอโรนของคุณให้สูงขึ้น
    และลดคอร์ติซอลให้ต่ำลง
  • 19:51 - 19:55
    อย่าออกมาจากสถานการณ์นั้นพร้อมด้วยความรู้สึกที่ว่า
    โธ่ ฉันยังไม่ได้แสดงตัวตนจริงๆ ของฉันเลย
  • 19:55 - 19:57
    จงออกจากสถานการณ์นั้นด้วยความรู้สึกว่า
    โอ้ ฉันรู้สึกว่า
  • 19:57 - 19:59
    ฉันได้พูดในแบบของฉัน และแสดงออกในแบบของฉัน
  • 19:59 - 20:01
    ฉันอยากขอร้องให้คุณ
  • 20:01 - 20:05
    ลองทำท่ามีอำนาจ
  • 20:05 - 20:07
    และฉันอยากขอให้คุณ
  • 20:07 - 20:10
    นำความรู้นี้ไปแบ่งปัน เพราะมันง่ายมาก
  • 20:10 - 20:12
    ฉันไม่มีผลประโยชน์ในเรื่องนี้เลยนะ
    (เสียงหัวเราะ)
  • 20:12 - 20:14
    เอาไปบอกคนอื่นๆ แบ่งปันกัน
  • 20:14 - 20:16
    เพราะคนที่จะใช้มันได้มากที่สุด คือคนที่
  • 20:16 - 20:20
    ไม่มีทรัพยากรอื่น และไม่มีเทคโนโลยี
  • 20:20 - 20:23
    และไม่มีสถานะทางสังคม และไม่มีอำนาจ
    จงให้ความรู้นี้แก่พวกเขา
  • 20:23 - 20:25
    เพราะเขาสามารถทำในที่ลับตา
  • 20:25 - 20:27
    พวกเขาแค่ต้องการร่างกายของเขา
    ความเป็นส่วนตัว และเวลาสองนาที
  • 20:27 - 20:30
    และมันจะสามารถเปลี่ยนชีวิตพวกเขาได้จริงๆ
  • 20:30 - 20:35
    ขอบคุณค่ะ
    (เสียงปรบมือ)
  • 20:35 - 20:42
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ภาษากายของคุณเปลี่ยนตัวตนของคุณได้
Speaker:
เอมี่ คัดดี้ (Amy Cuddy)
Description:

ภาษากายไม่เพียงส่งผลต่อมุมมองของคนอื่นที่มีต่อเรา แต่มันยังอาจเปลี่ยนมุมมองของเราที่มีต่อตัวเราเองด้วย นักจิตวิทยาสังคม เอมี่ คัดดี้ แสดงให้เห็นว่า "ท่าแห่งอำนาจ" นั่นคือ การยืนในท่าทางที่มั่นใจ แม้ว่าเราจะไม่มั่นใจก็ตาม สามารถส่งผลกระทบต่อระดับเทสโทสเตอโรนและคอร์ติซอลในสมองได้ และอาจยังส่งผลกระทบต่อโอกาสประสบความสำเร็จของเราได้อีกด้วย

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
21:02

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 16 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut