Return to Video

เดเนียล โกล์แมน (Daniel Goleman) ถกประเด็นเรื่อง ความกรุณาปราณี

  • 0:01 - 0:05
    คุณรู้ไหมครับ ผมรู้สึกแปลกใจเหมือนกันนะว่าไปไงมาไง ประเด็นหนึ่งที่เป็นประเด็นไปโดยปริยายของ TED
  • 0:05 - 0:08
    คือประเด็นเรื่อง ความกรุณาปราณี ตัวอย่างสาธิตที่กระตุ้นใจตามเราเพิ่งได้เห็นเหล่านี้
  • 0:09 - 0:13
    เชื้อเอชไอวี (HIV) ในอัฟริกา ประธานาธิบดีคลินตันเมื่อคืน
  • 0:13 - 0:18
    และผมอยากจะพูดอะไรที่สอดคล้องกัน ถ้าคุณจะกรุณา
  • 0:18 - 0:23
    เกี่ยวกับเรื่องความกรุณาปราณี และดึงจากระดับสากลมาสู่ระดับบุคคล
  • 0:23 - 0:25
    ผมเป็นนักจิตวิทยา แต่กรุณามั่นใจเลยว่า
  • 0:25 - 0:26
    ผมจะไม่พูดเรื่องใต้สะดือ
  • 0:27 - 0:31
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:32 - 0:34
    เมื่อไม่นานมานี้ มีงานวิจัยชิ้นสำคัญมากชิ้นหนึ่ง
  • 0:34 - 0:38
    ที่โรงเรียนศาสนาแห่งเมือง Princeton ที่ตั้งคำถามขึ้นมาว่า เพราะเหตุใด
  • 0:39 - 0:42
    หลายๆครั้งที่เรามีโอกาสช่วยเหลือผู้อื่น
  • 0:42 - 0:45
    บางครั้ง เราก็ช่วย แต่บางครั้ง เรากลับไม่ช่วย
  • 0:46 - 0:49
    กลุ่มนักศึกษาศาสนศาสตร์ที่โรงเรียนสอนศาสนาแห่งเมือง Princeton
  • 0:50 - 0:54
    ได้รับแจ้งว่า พวกเขาจะได้รับการฝึกการเทศนา
  • 0:54 - 0:57
    และแต่ละคนได้รับหัวข้อการเทศนาคนละหนึ่งหัวข้อ
  • 0:57 - 1:00
    ครึ่งหนึ่งได้รับหัวข้อ
  • 1:00 - 1:02
    นิทานสอนใจเรื่องผู้ใจบุญ
  • 1:02 - 1:04
    ผู้ที่หยุดดูคนแปลกหน้าข้างถนน
  • 1:05 - 1:07
    เพื่อจะช่วยเหลือเขา
  • 1:07 - 1:10
    อีกครึ่งหนึ่งได้รับหัวข้ออย่างสุ่มๆจากในไบเบิล
  • 1:10 - 1:13
    จากนั้น พวกเขาได้รับแจ้งว่า จะต้องไปที่อีกอาคารหนึ่งทีละคนๆ
  • 1:14 - 1:15
    เพื่อเทศนา
  • 1:15 - 1:18
    เมื่อเขาเดินจากอาคารแรกไปอาคารที่สอง
  • 1:18 - 1:21
    แต่ละคนจะผ่านคนๆหนึ่งที่นอนคุดคู้และร้องคราญขอความช่วยเหลือ
  • 1:22 - 1:26
    ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่าต้องการความช่วยเหลือจริงๆ แต่คำถามคือ พวกเขาหยุดช่วยหรือไม่
  • 1:26 - 1:27
    คำถามที่น่าสนใจกว่านั้นคือ
  • 1:28 - 1:31
    เกี่ยวกันไหมกับที่พวกเขากำลังครุ่นคิดพิจารณาถึงนิทานสอนใจ
  • 1:31 - 1:35
    เรื่องผู้ใจบุญ คำตอบก็คือ ไม่ ไม่เลยแม้แต่น้อย
  • 1:36 - 1:39
    สิ่งที่ดูเหมือนว่าจะกำหนดว่า คนเราจะหยุด
  • 1:39 - 1:40
    และช่วยคนแปลกหน้าที่ต้องการความช่วยหรือไม่นั้น
  • 1:40 - 1:43
    คือ การที่เขาคิดว่าเขารีบแค่ไหนต่างหาก
  • 1:44 - 1:48
    ว่าเขารู้สึกว่าเขากำลังจะไปสายอยู่หรือเปล่า หรือว่าเขาจดจ่อ
  • 1:48 - 1:49
    แต่กับสิ่งที่เขากำลังจะไปบรรยายอยู่หรือไม่
  • 1:50 - 1:52
    และผมคิดว่านี่เป็นสภาพเลวร้ายของชีวิตเรา
  • 1:53 - 1:57
    ที่เราไม่ช่วยเหลือผู้อื่นในทุกๆครั้งที่เรามีโอกาส
  • 1:57 - 2:00
    เพราะเราพุ่งความสนใจของเราไปอีกทางหนึ่ง
  • 2:00 - 2:03
    มีวิทยาศาสตร์ทางสมองแขนงใหม่ คือ ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงสังคม
  • 2:04 - 2:08
    เป็นการศึกษาระบบสมองของคนสองคน
  • 2:08 - 2:10
    ที่เกิดการกระตุ้นเมื่อพวกเขามีปฏิสัมพันธ์กัน
  • 2:10 - 2:14
    และแนวคิดใหม่เกี่ยวกับความกรุณาปราณีจากแขนงวิชานี้
  • 2:14 - 2:18
    คือ เรามีธรรมชาติที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
  • 2:18 - 2:22
    นั่นคือ เมื่อเราอยู่กับผู้อื่น
  • 2:23 - 2:26
    เราจะเข้าอกเข้าใจเขาไปโดยอัตโนมัติ เราจะรู้สึกร่วมไปกับพวกเขาได้โดยอัตโนมัติ
  • 2:27 - 2:29
    มีเซลล์ประสาทที่เพิ่งจะมีการค้นพบใหม่ เรียกว่า เซลล์กระจกเงา (mirror neuron)
  • 2:29 - 2:33
    ทำหน้าที่เหมือนการส่งสัญญาณในระบบประสาท กระตุ้นสมองของเรา
  • 2:33 - 2:37
    ในส่วนเดียวกันกับเซลล์ของคนอื่น เราจึงรู้สึกร่วมโดยอัตโนมัติ
  • 2:37 - 2:41
    และถ้าหากคนๆนั้นต้องการความช่วย หรือกำลังทุกข์ทรมาน
  • 2:42 - 2:46
    เราจะถูกเตรียมพร้อมอย่างอัตโนมัติที่จะช่วยเหลือ อย่างน้อยนี่ก็เป็นข้อโต้แย้ง
  • 2:46 - 2:49
    แต่แล้ว ก็มีคำถามว่า ทำไมเราจึงไม่ช่วย
  • 2:49 - 2:51
    และผมคิดว่านี่บอกอะไรหลายอย่าง
  • 2:52 - 2:54
    ตั้งแต่ การจดจ่อในตนเองอย่างสมบูรณ์
  • 2:55 - 2:57
    ไปถึงการสังเกต การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และไปจนถึงความกรุณาปราณี
  • 2:57 - 3:01
    และด้วยความจริงง่ายๆที่ว่า หากเราสนใจในตนเองอยู่
  • 3:02 - 3:05
    หากเราจดจ่อกับอะไรอยู่ อย่างที่เรามักเป็นแบบนั้นตลอดทั้งวัน
  • 3:05 - 3:08
    เราก็จะไม่สังเกตเห็นผู้อื่นได้อย่างเต็มที่จริงจัง
  • 3:08 - 3:10
    และความแตกต่างระหว่างความสนใจในตนเองและความสนใจอื่นๆ
  • 3:10 - 3:11
    เป็นอะไรที่เข้าใจยาก
  • 3:11 - 3:15
    วันหนึ่ง ผมกำลังจัดการเกี่ยวภาษีอยู่และผมได้ไปถึง
  • 3:15 - 3:17
    ส่วนที่ผมต้องลงรายการการบริจาคทั้งหมด
  • 3:18 - 3:21
    และผมรู้สึกมีความสุขมาก ตอนนั้นผมกลับไปดูเช็ค
  • 3:21 - 3:24
    ที่ส่งไปที่ Seva Foundation และผมพบว่าผมกำลังคิดอยู่ว่า
  • 3:24 - 3:26
    เอ้อ จริงด้วย!! ลาร์รี่ บริลเลียนท์ (Larry Brilliant) เพื่อนของผมจะต้องดีใจมากแน่ๆ
  • 3:27 - 3:28
    ที่ผมบริจาคเงินให้ Seva
  • 3:28 - 3:31
    ต่อมา ผมจึงตระหนักได้ว่าสิ่งที่ผมได้จากการให้นั้น
  • 3:31 - 3:35
    มันเป็นผลเชิงหลงตนเอง นั่นคือผมรู้สึกดีต่อตัวผมเอง
  • 3:35 - 3:40
    จากนั้น ผมเริ่มคิดเกี่ยวกับคนบนเทือกเขาหิมาลัย
  • 3:40 - 3:42
    ซึ่งพวกเขาจะได้รับการรักษาต้อกระจก และผมจึงตระหนักว่า
  • 3:43 - 3:46
    ผมได้ออกจากความรู้สึกหลงตน
  • 3:47 - 3:50
    ไปสู่ความปิติจากการช่วยเหลือ ไปสู่ความรู้สึกดี
  • 3:50 - 3:54
    ต่อคนที่จะได้รับความช่วยเหลือ ผมคิดว่านั่นแหละที่เป็นแรงบันดาล
  • 3:54 - 3:57
    แต่ความแตกต่างระหว่างการสนใจตนเอง
  • 3:57 - 3:58
    กับผู้อื่นนั้น
  • 3:58 - 4:01
    คือสิ่งที่ผมอยากให้ทุกคนใส่ใจ
  • 4:01 - 4:04
    คุณๆจะเห็นมันในง่ายๆในของโลกของการเดท
  • 4:05 - 4:08
    มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมนั่งอยู่ในร้านซูชิ
  • 4:08 - 4:11
    และผมเผอิญได้ยินผู้หญิงสองคนพูดถึงน้องชาย(หรือพี่ชาย)ของผู้หญิงอีกคนหนึ่ง
  • 4:12 - 4:15
    ที่เป็นโสดอยู่ และผู้หญิงคนนั้นพูดว่า
  • 4:15 - 4:17
    "น้องชายเรามีปัญหาในการหาคู่เดท
  • 4:17 - 4:19
    เขาเลยลองการเดทด่วน" ผมไม่รู้ว่าคุณรู้จักการเดทด่วนไหม
  • 4:19 - 4:23
    ผู้หญิงนั่งประจำโต๊ะ ส่วนผู้ชายย้ายโต๊ะไปเรื่อยๆ
  • 4:23 - 4:26
    จะมีนาฬิกาและระฆัง และเมื่อครบห้านาที บิงโก
  • 4:27 - 4:29
    จบการสนทนา และผู้หญิงจะตัดสินว่า
  • 4:29 - 4:33
    จะให้นามบัตรหรืออีเมลล์แก่ผู้ชายหรือไม่
  • 4:33 - 4:35
    เพื่อติดต่อกันภายหลัง และผู้หญิงคนนั้นบอกว่า
  • 4:35 - 4:39
    "น้องเราไม่เคยได้นามบัตรเลย และเรารู้แหละว่าทำไม
  • 4:39 - 4:44
    คือตอนที่น้องเรานั่ง น้องเราไม่หยุดพูดเกี่ยวกับตัวเองเลย
  • 4:44 - 4:45
    น้องเราไม่เคยถามอะไรผู้หญิงเลย
  • 4:46 - 4:51
    และตอนที่ผมกำลังหาข้อมูลในคอลัมน์หมวด Sunday Styles
  • 4:51 - 4:54
    ของหนังสือพิมพ์ New York Times หาดูเรื่องราวเบื้องหลังการแต่งงาน
  • 4:54 - 4:57
    เพราะน่าสนใจมากๆ และผมได้พบกับเรื่องราวการแต่งงานของ
  • 4:57 - 5:00
    อลีซ ชาร์นี เอ็บสไตน์ (Alice Charney Epstein) ซึ่งเธอบอกว่า
  • 5:00 - 5:02
    เมื่อเธออยู่ในช่วงเดท
  • 5:03 - 5:05
    เธอมีวิธีทดสอบง่ายๆ
  • 5:06 - 5:08
    บททดสอบคือ ตั้งแต่ที่ได้พบได้รู้จักกัน
  • 5:08 - 5:11
    นานแค่ไหนกว่าที่ชายหนุ่มก็เริ่มถามเธอ
  • 5:11 - 5:13
    ด้วยคำถามที่มีคำว่า "คุณ" อยู่ในนั้น
  • 5:13 - 5:17
    และดูเหมือนว่าเธอประสบความสำเร็จกับการใช้แบบทดสอบนี้ แล้วก็เลยได้กลายเป็นบทความนั้นไงครับ
  • 5:17 - 5:18
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:18 - 5:20
    ตอนนี้เรามาดูแบบทดสอบชิ้นเล็กๆชิ้นหนึ่งกันดีกว่า
  • 5:20 - 5:22
    ผมอยากให้คุณทดลองใช้ในงานปาร์ตี้ดูนะครับ
  • 5:22 - 5:24
    ที่นี่ ที่ TED เต็มไปด้วยโอกาสที่ยิ่งใหญ่
  • 5:26 - 5:29
    ในวารสาร Harvard Business Review มีบทความหนึ่งชื่อว่า
  • 5:29 - 5:32
    "ณ ช่วงขณะของมนุษย์" ซึ่งเกี่ยวกับว่า ทำอย่างไรเราจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์จริงๆ
  • 5:32 - 5:35
    กับเพื่อนร่วมงาน และเขาบอกว่าอย่างนี้ครับ
  • 5:35 - 5:38
    พื้นฐานเลยก็คือคุณต้องปิด BlackBerry ของคุณก่อน
  • 5:39 - 5:42
    ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และเลิกฝันกลางวัน
  • 5:43 - 5:45
    และให้ความสนใจอย่างเต็มที่กับคนๆนั้น
  • 5:46 - 5:50
    มีศัพย์ใหม่คำหนึ่งในภาษาอังกฤษ
  • 5:51 - 5:54
    สำหรับเวลาที่คนที่เราอยู่ด้วยหยิบเอา BlackBerry ขึ้นมา
  • 5:54 - 5:57
    หรือรับโทรศัพท์มือถือ และ ก็เหมือนกับว่าเราได้อันตรธานไปโดยฉับพลัน
  • 5:58 - 6:02
    คำนั้นคือ "pizzled" มันเป็นการผสมคำของ puzzled [งงงัน] กับ pissed off [โมโห]
  • 6:02 - 6:05
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:05 - 6:11
    ผมว่าก็เหมาะนะ มันเป็นความเอาใจเขามาใส่ใจเราของเรา เป็นการที่เราเข้าหาผู้อื่น
  • 6:12 - 6:15
    ที่แยกเราจากพวกปลิ้นปล้อน และพวกต่อต้านสังคม
  • 6:15 - 6:20
    ผมมีน้อง(หรือพี่)เขยคนหนึ่ง เขาชำนาญเรื่องน่ากลัวและสยดสยอง
  • 6:20 - 6:23
    เขาเขียนหนังสือ the Annotated Dracula, the Essential Frankenstein
  • 6:23 - 6:24
    เขาถูกฝึกมาในแนวของ Chaucer (สไตล์นักเขียนคนหนึ่ง)
  • 6:24 - 6:26
    แต่เขาเกิดที่ ทรานซิลเวเนีย
  • 6:26 - 6:28
    และผมคิดว่านั่นส่งผลต่อเขาเล็กน้อย
  • 6:28 - 6:32
    ยังไงก็ตาม ณ จุดหนึ่ง ลีโอนาร์ด (Leonard) น้องเขยผมคนนี้
  • 6:32 - 6:34
    ตัดสินใจเขียนหนังสือเกี่ยวกับ ฆาตกรต่อเนื่อง
  • 6:34 - 6:37
    คนที่เคยสร้างความสยดสยองไปทุกหัวระแหง
  • 6:38 - 6:40
    หลายปีที่ผ่านมา เขาเป็นที่รู้จักในนาม นักบีบคอแห่ง Santa Cruz
  • 6:41 - 6:45
    และ ก่อนที่เขาจะถูกจับ เขาได้ฆ่าปู่ย่าตายายของเขา
  • 6:45 - 6:48
    แม่เขา และนักศีกษาในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขต Santa Cruz อีก 5 คน
  • 6:49 - 6:51
    น้องเขยผมไปสัมภาษณ์ฆาตกรคนนี้
  • 6:52 - 6:54
    และเขาตระหนัก เมื่อเขาได้พบฆาตกรผู้นี้
  • 6:54 - 6:55
    ว่า ชายคนนี้ช่างน่ากลัวยิ่งนัก
  • 6:56 - 6:58
    ประการหนึ่งเพราะเขาสูงเกือบ 7 ฟุต (210 เซ็นติเมตร)
  • 6:58 - 7:01
    แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดเกี่ยวกับเขา
  • 7:01 - 7:06
    ที่น่ากลัวที่สุดคือ IQ เขาสูงถึง 160 ซึ่งเป็นระดับอัจฉริยะ
  • 7:07 - 7:11
    แต่มันไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง IQ และความเห็นอกเห็นใจ
  • 7:11 - 7:12
    ความรู้สึกที่ร่วมไปกับผู้อื่น
  • 7:13 - 7:15
    สิ่งเหล่านั้นมันถูกควบคุมด้วยสมองส่วนอื่น
  • 7:16 - 7:18
    ณ จุดหนึ่ง น้อยเขยผมรวบรวมความกล้า
  • 7:19 - 7:21
    เพื่อถามคำถามหนึ่งที่เขาอยากรู้มากๆ
  • 7:21 - 7:24
    และนั่นคือคำถามว่า คุณทำอย่างนั้นได้อย่างไร
  • 7:24 - 7:26
    คุณไม่รู้สึกสงสารเหยื่อของคุณแม้สักนิดเลยหรือ
  • 7:26 - 7:29
    การฆาตกรรมเหล่านั้นเป็นระยะประชั้นตัวกับคนใกล้ชิดคุ้นเคย เขาบีบคอเหยื่อ
  • 7:30 - 7:32
    และเขาตอบในสิ่งที่สำคัญมากคือ
  • 7:32 - 7:37
    "ไม่เลย หากผมรู้สึกเสียใจ ผมคงทำเช่นนั้นไม่ได้
  • 7:37 - 7:43
    ผมต้องเอาส่วนนั้นออกไป ผมต้องทำอย่างนั้น"
  • 7:43 - 7:48
    และการคิดแบบนั้นนั่นแหละที่ผมคิดว่าเป็นปัญหาอย่างยิ่ง
  • 7:49 - 7:53
    และในแง่หนึ่ง ผมจึงได้ไตร่ตรองเกี่ยวกับการที่เราตัดเอาความคิดส่วนนั้นออกไป
  • 7:53 - 7:55
    เมื่อเรามุ่งความสนใจมาที่ตัวเราเองในการทำอะไรก็ตาม
  • 7:56 - 7:59
    เราได้ตัดความคิดที่ว่านี่มีผู้อื่นอยู่หรือไม่
  • 8:00 - 8:05
    ลองคิดเกี่ยวกับการไปช็อปปิ้ง และคิดเกี่ยวกับความเป็นไปได้
  • 8:05 - 8:07
    ของแนวบริโภคนิยมเชิงอนุรักษ์
  • 8:08 - 8:10
    ตอนนี้ เหมือนที่ บิลล์ แม็คโดนอฟ (Bill McDonough) ได้ชี้ไว้
  • 8:12 - 8:16
    สิ่งที่เราซื้อและใช้มักมีผลกระทบที่ซ่อนเร้นอยู่
  • 8:16 - 8:19
    พวกเราทั้งหมดนั้นเป็นเหยื่อโดยที่ไม่รู้ตัวของสิ่งซ่อนเร้นพวกนี้
  • 8:20 - 8:22
    เราไม่ได้สังเกต และ ไม่ได้สังเกตว่าเราไม่ได้สังเกตเกี่ยวกับ
  • 8:23 - 8:29
    โมเลกุลที่เป็นพิษจากพรมหรือผ้าปูเบาะ
  • 8:30 - 8:35
    หรือเราไม่รู้ว่าผ้านั่นใช้เทคโนโลยีหรือการผลิตที่
  • 8:35 - 8:39
    สามารถนำกลับมาใช่ใหม่ได้หรือไม่
  • 8:39 - 8:41
    หรือเราจะต้องทิ้งมันไป อีกนัยหนึ่ง
  • 8:41 - 8:46
    เรานั้นไม่ได้สนใจเรื่องนิเวศและสาธารณสุข
  • 8:47 - 8:50
    และ ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
  • 8:50 - 8:52
    ของสิ่งที่เราซื้อและใช้
  • 8:54 - 8:58
    จะว่าไป ก็เหมือนกันห้องหนึ่งที่ตัวห้องเองเป็นช้างที่อยู่ในห้อง
  • 8:58 - 9:02
    และเรามองไม่เห็นมัน และเรากลายเป็นเหยื่อ
  • 9:02 - 9:05
    ของระบบที่เกี่ยวกับเราในที่อื่นๆ ลองพิจารณาอันนี้ครับ
  • 9:06 - 9:09
    มีหนังสือที่เยี่ยมมากเล่มหนึ่งชื่อ
  • 9:10 - 9:12
    สิ่งของ:ชีวิตที่ซ่อนอยู่ของใช้ประจำวัน
  • 9:13 - 9:16
    มันเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของของบางอย่างเช่น เสื้อยืด
  • 9:16 - 9:19
    และมันบอกเกี่ยวกับว่าฝ้ายปลูกที่ไหน
  • 9:19 - 9:21
    และปุ๋ยที่ใช้รวมทั้งผลกระทบของปุ๋ย
  • 9:21 - 9:25
    ที่มีต่อดิน และมันบอกว่า นี่ครับตัวอย่าง
  • 9:25 - 9:28
    ฝ้ายนั้นทนทานมากต่อสีย้อมผ้า
  • 9:28 - 9:31
    ราว 60 เปอร์เซ็นต์จะถูกล้างออกมาไปกับน้ำทิ้ง
  • 9:31 - 9:34
    และเป็นที่รู้กันดีในหมู่นักระบาดวิทยาว่าเด็กๆ
  • 9:34 - 9:39
    ที่อาศัยอยู่ใกล้โรงย้อมผ้าจะมีอัตราการเป็นโรคลูคีเมียสูง
  • 9:40 - 9:44
    มีบริษัทหนึ่งชื่อว่า Bernett and Company ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าให้กับ Polo.com
  • 9:45 - 9:50
    Victoria's Secret ด้วยเหตุที่ว่า CEO ของเขาที่สนใจในเรื่องนี้
  • 9:51 - 9:55
    ได้ทำการร่วมทุนที่จีนกับบริษัทย้อมผ้า
  • 9:55 - 9:57
    เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำทิ้งนั่น
  • 9:57 - 10:01
    จะถูกบำบัดด้วยวิธีที่เหมาะสมก่อนมันจะเทลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ
  • 10:01 - 10:05
    ตอนนี้ เรายังไม่มีหนทางที่จะเลือกซื้อเสื้อยืดที่ผลิตด้วยกระบวนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • 10:06 - 10:10
    แทนที่จะเป็นอันที่ไม่ดีได้ แล้วอะไรหล่ะที่จะทำให้เรามีหนทาง
  • 10:13 - 10:16
    อืม ผมคิดว่า อย่างหนึ่ง
  • 10:16 - 10:21
    มีเทคโนโลยีติดแถบป้ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้ร้านค้าใดๆก็ตาม
  • 10:21 - 10:25
    รู้ประวัติทั้งหมดของสิ่งของบนชั้นวางที่ร้านนั้น
  • 10:26 - 10:28
    คุณสามารถตามย้อนรอยไปถึงโรงงาน และเมื่อคุณทำเช่นนั้น
  • 10:28 - 10:32
    คุณจะสามารถดูกระบวนการผลิต
  • 10:32 - 10:36
    ที่ถูกใช้ในการผลิตสินค้านั้น และถ้ามันผลิตด้วยกระบวนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • 10:36 - 10:40
    คุณก็สามารถจะมั่นใจได้ หรือว่ามันไม่ใช่
  • 10:40 - 10:44
    ณ วันนี้ คุณสามารถไปที่ร้านไหนก็ได้
  • 10:44 - 10:47
    เอาเครื่องตรวจทาบบนแถบรหัสสินค้า
  • 10:47 - 10:49
    ซึ่งจะพาคุณไปที่เว็บไซต์
  • 10:49 - 10:51
    เขาทำขึ้นเพื่อคนที่แพ้ถั่วลิสง
  • 10:52 - 10:54
    และเว็บนั้นจะบอกคุณเกี่ยวกับสินค้านั้น
  • 10:55 - 10:56
    อีกนัยหนึ่ง ขณะที่ซื้อสินค้า
  • 10:56 - 11:00
    เราสามารถจะเลือกทางเลือกที่รับผิดชอบต่อสังคมได้
  • 11:00 - 11:06
    นี่เป็นที่สิ่งบอกว่าในโลกแห่งวิทยาการสารสนเทศ
  • 11:06 - 11:09
    ท้ายสุดแล้ว ทุกคนจะรู้ทุกอย่าง
  • 11:09 - 11:11
    และคำถามคือว่า มันจะทำให้เกิดความแตกต่างไหม
  • 11:13 - 11:16
    ย้อนกลับไปพักหนึ่ง ตอนที่ผมทำงานกับ New York Times
  • 11:17 - 11:19
    ในช่วงทศวรรษ 80s ผมเขียนบทความ
  • 11:19 - 11:21
    ว่าอะไรจะเป็นปัญหาใหม่สำหรับมหานครนิวยอร์ก
  • 11:21 - 11:23
    นั่นคือคนเร่ร่อนบนถนน
  • 11:23 - 11:27
    และผมใช้เวลาสองสัปดาห์ไปกับหน่วยงานด้านสังคม
  • 11:27 - 11:30
    ที่ดูแลคนเร่ร่อน และผมตระหนักว่า จากการมองเห็นผ่านคนเร่ร่อน
  • 11:30 - 11:35
    ผ่านสายตาพวกเขานั้น พวกเขาเกือบทั้งหมดเป็นคนไข้จิตเวช
  • 11:35 - 11:39
    ที่ไม่มีที่จะไป พวกเขาได้รับการตรวจวินิจฉัยแล้ว มันทำให้ผม
  • 11:40 - 11:43
    มันปลุกผมออกจากภวังค์ของเมืองที่ซึ่ง
  • 11:44 - 11:47
    เมื่อเราเห็น เมื่อเราเดินผ่านคนที่เร่ร่อน
  • 11:47 - 11:50
    เขาไม่อยู่ในตาสายเลย
  • 11:52 - 11:54
    เราไม่สังเกต และด้วยเหตุนี้เราจึงไม่ทำอะไร
  • 11:57 - 12:02
    วันหนึ่งหลังจากนั้นไม่นาน มันเป็นวันศุกร์ ตอนช่วงเย็นๆค่ำๆ
  • 12:02 - 12:05
    ผมกำลังเดินไปที่รถไฟใต้ติน ในชั่วโมงเร่งด่วน
  • 12:05 - 12:07
    ฝูงชนก็พากันกรูลงบันได
  • 12:07 - 12:09
    และทันทีที่ผมกำลังจะเดินลงบันไดนั้น
  • 12:09 - 12:12
    ผมสังเกตเห็นชายคนหนึ่งทรุดฮวบลงข้างทาง
  • 12:12 - 12:16
    ไม่มีเสื้อผ้าใส่ ไม่เคลื่อนไหว และคนต่างก็เดินเหยียบเขา
  • 12:17 - 12:18
    คนเป็นไม่รู้จะเท่าไหร่
  • 12:19 - 12:22
    และเพราะว่าภวังค์หลงในความเมืองผมนั้นได้ลดลง
  • 12:23 - 12:26
    ผมหยุดคิดว่าอะไรที่มันไม่ผิดปกติ
  • 12:27 - 12:29
    เวลาที่ผมหยุดนั้น คนสักครึ่งโหลได
  • 12:30 - 12:31
    ได้ล้อมไปช่วยที่ชายผู้นั้นทันที
  • 12:32 - 12:34
    และเราพบว่าเขาเชื้อสายสเปน เขาพูดอังกฤษไม่ได้เลย
  • 12:34 - 12:39
    เขาไม่มีเงินเลย เขาได้เดินเตร่ตามถนนเป็นเวลาหลายวันแล้ว อย่างหิวโหย
  • 12:39 - 12:40
    และหมดสติลงด้วยความหิว
  • 12:40 - 12:42
    ทันใดนั้น ใครบางคนไปซื้อน้ำส้มให้
  • 12:42 - 12:44
    บางคนซื้อฮอทดอก บางคนเรียกตำรวจรถไฟใต้ดินมาช่วย
  • 12:45 - 12:48
    ชายคนนี้กลับมาเป็นปกติในทันใด
  • 12:48 - 12:52
    แต่สิ่งง่ายๆที่เราต้องการคือแค่ การสังเกต
  • 12:53 - 12:54
    และ ผมเป็นคนมองโลกในแง่ดีด้วยสิ
  • 12:54 - 12:55
    ขอบคุณมากครับ
  • 12:55 - 12:57
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เดเนียล โกล์แมน (Daniel Goleman) ถกประเด็นเรื่อง ความกรุณาปราณี
Speaker:
Daniel Goleman
Description:

เดเนียล โกล์แมน (Daniel Goleman) เจ้าของงานเขียน "ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)" ตั้งคำถามว่าทำไมเราจึงไม่แสดงความกรุณาปราณีต่อผู้อื่นมากกว่าที่เป็นอยู่นี้ในแทบทุกๆโอกาส

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
12:56
Worawach Tungjitcharoen added a translation

Thai subtitles

Revisions