Return to Video

ทำไมคุณควรรู้ว่าเพื่อนร่วมงานได้เงินเดือนเท่าไร

  • 0:01 - 0:03
    คุณได้เงินเดือนเท่าไรครับ
  • 0:03 - 0:05
    อย่าพูดออกมานะครับ
  • 0:06 - 0:07
    แต่นึกตัวเลขนั้นไว้ในใจ
  • 0:08 - 0:13
    ทีนี้ คุณคิดว่าคนที่นั่นอยู่ข้าง ๆ คุณ
    ได้เงินเดือนเท่าไร
  • 0:13 - 0:15
    เหมือนกันครับ อย่าพูดออกมานะครับ
  • 0:15 - 0:16
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:17 - 0:20
    ในที่ทำงาน คุณคิดว่า
  • 0:20 - 0:23
    คนที่นั่งอยู่ในคอกทำงานหรือมุมมืด ๆ
    ข้าง ๆ คุณ ได้เงินเดือนเท่าไร
  • 0:23 - 0:25
    คุณรู้หรือเปล่าครับ
  • 0:25 - 0:26
    คุณควรที่จะรู้หรือเปล่า
  • 0:27 - 0:31
    สังเกตไหมครับว่า สำหรับผมแล้ว
    มันรู้สึกไม่ค่อยดีที่จะถามคำถามพวกนี้
  • 0:31 - 0:34
    แต่ยอมรับเถอะครับ -- คุณก็อยากที่จะรู้
  • 0:35 - 0:39
    พวกคุณส่วนใหญ่ไม่สบายใจ
    กับแนวคิดที่จะป่าวประกาศเงินเดือนของเรา
  • 0:39 - 0:41
    เราไม่ควรที่จะบอกเพื่อนบ้านของเรา
  • 0:41 - 0:44
    และเราไม่ควรที่จะบอกเพื่อนบริษัทอื่น ๆ
  • 0:44 - 0:47
    เหตุผลโดยสรุปก็เพราะว่า
    ถ้าทุกคนรู้ว่าทุกคนได้เงินเดือนเท่าไร
  • 0:47 - 0:49
    ก็จะเกิดภาวะนรกแตก
  • 0:49 - 0:51
    จะมีการถกเถียงกัน จะมีการฟาดฟัน
  • 0:51 - 0:54
    และอาจทำให้บางคนลาออก
  • 0:54 - 0:57
    แต่ถ้าหากว่าความลับนี้อันที่จริงแล้ว
    เป็นที่มาของการแข่งขันทั้งหมดนี่ล่ะ
  • 0:57 - 1:00
    และจะเกิดอะไรขึ้น
    ถ้าเรากำจัดความลับนี้ออกไป
  • 1:01 - 1:05
    ถ้าหากจริง ๆ แล้วการเปิดเผยเป็นการเพิ่ม
    ความรู้สึกยุติธรรมเท่าเทียมและความร่วมมือ
  • 1:05 - 1:06
    ภายในบริษัทล่ะ
  • 1:06 - 1:09
    จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราทำให้
    เรื่องเงินเดิอนได้รับการเปิดเผย
  • 1:10 - 1:12
    สองสามปีที่ผ่านมา
  • 1:12 - 1:15
    ผมได้ศึกษาผู้นำองค์กรและผู้ลงทุน
  • 1:15 - 1:18
    ผู้ที่ตั้งคำถามต่อปรัชญาที่มีมาแต่ดั้งเดิม
    เกี่ยวกับการบริหารบริษัท
  • 1:18 - 1:21
    และคำถามที่เกี่ยวข้องกับเงินเดือน
    ก็ผุดขึ้นมาอยู่เรื่อย
  • 1:21 - 1:24
    แล้วคำตอบก็น่าประหลาดใจไม่แพ้กัน
  • 1:24 - 1:26
    กลายเป็นว่าการเปิดเผยเงินเดือน --
  • 1:26 - 1:28
    การเปิดเผยตัวเลขเงินเดือนทั่วทั้งบริษัท --
  • 1:28 - 1:31
    ทำให้ที่ทำงานมีบรรยากาศดีกว่า
    ทั้งสำหรับลูกจ้าง
  • 1:31 - 1:33
    และสำหรับตัวองค์กร
  • 1:33 - 1:36
    เมื่อผู้คนไม่รู้ว่าพวกเขาได้เงินเดือนเท่าไร
    เมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมงาน
  • 1:36 - 1:38
    พวกเขาจะรู้สึกว่าได้รับเงินน้อยเกินไป
  • 1:38 - 1:40
    และอาจทำให้เกิดการแบ่งแยกกัน
  • 1:41 - 1:43
    คุณอยากทำงานในที่ซึ่งยอมให้เกิดแนวคิด
  • 1:43 - 1:46
    ที่ทำให้คุณรู้สึกว่าได้เงินน้อยเกินไป
    หรือเกิดการแบ่งแยกหรือเปล่า
  • 1:47 - 1:49
    แต่การทำให้เรื่องเงินเดือนเป็นความลับนี่แหละ
    ที่เป็นการทำแบบนั้น
  • 1:49 - 1:52
    และมันก็เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ
    ที่ทั้งมีมาเนิ่นนานและพบได้ทั่วไป
  • 1:53 - 1:55
    แม้ว่าอันที่จริงแล้วในสหรัฐอเมริกา
  • 1:55 - 1:58
    กฎหมายคุ้มครองสิทธิที่ลูกจ้าง
    จะพูดถึงเงินเดือนของพวกเขา
  • 1:59 - 2:02
    หนึ่งในตัวอย่างที่โด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน
  • 2:02 - 2:04
    การบริหารงานของนิตยสาร วานิตี แฟร์
  • 2:04 - 2:06
    มีการส่งจดหมายเวียนที่มีหัวข้อว่า
  • 2:06 - 2:09
    " ห้ามลูกจ้างพูดคุยกัน
    เรื่องเงินเดือนที่ได้รับ"
  • 2:10 - 2:13
    "การห้าม" การพูดคุยระหว่างลูกจ้าง
    เกี่ยวกับเงินเดือนที่ได้รับ
  • 2:13 - 2:16
    ทีนี้ จดหมายเวียนดังกล่าว
    ก็ไม่ได้เป็นที่พึงใจกับทุกคน
  • 2:16 - 2:18
    นักประพันธ์ชื่อดังชาวนิวยอร์ก
    โดโรธี ปาร์กเกอร์
  • 2:18 - 2:19
    โรเบิร์ต เบนช์เลย์
    และ โรเบิร์ต เชอร์วู๊ด
  • 2:20 - 2:22
    นักเขียนทั้งหมดจาก
    อะโกนควิน ราวด์ เทเบิล
  • 2:22 - 2:24
    ตัดสินใจที่จะสนับสนุนให้เกิดการเปิดเผย
  • 2:24 - 2:26
    และเข้ามาทำงานในวันรุ่งขึ้น
  • 2:26 - 2:29
    พร้อมกับป้ายระบุเงินเดือน
    ที่คล้องอยู่รอบคอของพวกเขา
  • 2:29 - 2:30
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:31 - 2:32
    ลองนึกภาพดูสิครับ คุณเข้าทำงาน
  • 2:32 - 2:36
    พร้อมกับป้ายระบุเงินเดือนที่คาดอยู่บนอก
    ซึ่งทุกคนเห็นได้
  • 2:38 - 2:41
    แต่ทำไมบริษัทถึงไม่สนับสนุน
    ให้เกิดการพูดคุยกันเรื่องเงินเดือนล่ะ
  • 2:41 - 2:44
    ทำไมบางคนยอมทำตามแนวทางนี้
  • 2:46 - 2:49
    กลายเป็นว่า นอกจากข้อสรุปโดยรวมนี้แล้ว
  • 2:49 - 2:52
    อันที่จริงแล้วความลับเรื่องเงินเดือน
    ยังเป็นวิธีการที่ช่วยประหยัดเงินได้มาก
  • 2:52 - 2:54
    เห็นไหมครับ
    การเก็บเรื่องเงินเดือนเป็นความลับ
  • 2:54 - 2:57
    นำไปสู่สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า
    "ความไม่สมมาตรของข้อมูล"
  • 2:57 - 2:59
    นั่นเป็นสถานการณ์ ที่ในการต่อรอง
  • 3:00 - 3:03
    ฝ่ายหนึ่งมีข้อมูลมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งมาก
  • 3:03 - 3:06
    และในพูดคุยเรื่องการจ้างงาน
    การเลื่อนตำแหน่ง หรือการขึ้นเงินเดือน
  • 3:06 - 3:10
    นายจ้างสามารถใช้ความลับนี้
    ในการช่วยประหยัดเงินได้เป็นจำนวนมาก
  • 3:11 - 3:13
    ลองนึกดูว่าคุณจะต่อรอง
    เรื่องการขึ้นเงินเดือนได้ดีกว่าเดิมแค่ไหน
  • 3:13 - 3:15
    ถ้าคุณรู้ว่าทุกคนได้เงินเดือนเท่าไร
  • 3:18 - 3:20
    นักเศรษฐศาสตร์เตือนว่า
    ความไม่สมมาตรของข้อมูลนี้
  • 3:20 - 3:22
    สามารถทำให้ตลาดแรงงานเกิดความบิดเบี้ยว
  • 3:22 - 3:24
    ใครบางคนอาจลืมใบรับเงินเดือน
    ไว้บนเครื่องถ่ายเอกสาร
  • 3:24 - 3:26
    และทุกคนก็จะเริ่มทะเลาะถกเถียงกัน
  • 3:27 - 3:29
    อันที่จริงแล้ว พวกเขาเตือนด้วยซ้ำว่า
  • 3:29 - 3:33
    ความไม่สมมาตรของข้อมูลสามารถนำไปสู่
    การล้มเหลวของตลาดแรงงาน
  • 3:34 - 3:36
    และผมคิดว่าเราเกือบจะไปถึงจุดนั้นแล้ว
  • 3:36 - 3:37
    นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมครับ
  • 3:37 - 3:42
    ประการแรก ลูกจ้างส่วนใหญ่ไม่รู้เลยว่า
    พวกเขาได้เงินดีแต่ไหนเมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมงาน
  • 3:43 - 3:47
    ในปี ค.ศ. 2015 การสำรวจลูกจ้าง 70,000 คน
  • 3:47 - 3:50
    เผยว่า สองในสามของทุกคนที่ได้รับค่าจ้าง
    ในอัตราค่าแรงของตลาดแรงงาน
  • 3:50 - 3:52
    บอกว่า พวกเขารู้สึกว่าได้เงินเดือนน้อยเกินไป
  • 3:53 - 3:56
    และในบรรดาทุกคนที่รู้สึกว่า
    พวกเขาได้เงินเดือนน้อยเกินไป
  • 3:56 - 3:59
    60 เปอร์เซ็นต์บอกว่า
    พวกเขาตั้งใจที่จะลาออก
  • 3:59 - 4:02
    ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหน --
    ได้เงินน้อยเกินไป ได้เงินมากเกินไป
  • 4:02 - 4:03
    หรือได้เงินพอดี
    กับอัตราค่าแรงของตลาดแรงงาน
  • 4:04 - 4:07
    ถ้าคุณเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจนี้
    คุณจะบอกว่าอย่างไรครับ
  • 4:07 - 4:08
    คุณคิดว่าคุณได้เงินน้อยเกินไปหรือเปล่า
  • 4:08 - 4:10
    เดี๋ยว ๆ รอเดี๋ยวนะครับ --
    คุณจะรู้ได้อย่างไรกันล่ะครับ
  • 4:10 - 4:12
    เพราะว่าคุณไม่ได้รับอนุญาต
    ให้พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้นี่นา
  • 4:13 - 4:17
    ต่อไป ความไม่สมมาตรของข้อมูล
    ความลับเรื่องเงินเดือน
  • 4:17 - 4:19
    ทำให้มันง่ายกว่าต่อการเพิกเฉย
    ไม่ใส่ใจการแบ่งแยก
  • 4:19 - 4:22
    ที่ปรากฏตัวอยู่แล้วในตลาดแรงงานทุกวันนี้
  • 4:22 - 4:26
    ใน ค.ศ. 2011 รายงานจากสถาบัน
    เพื่อการวิจัยนโยบายของสตรี
  • 4:26 - 4:28
    เผยว่า ช่วงระหว่างเพศชายและหญิง
  • 4:28 - 4:30
    คือ 23 เปอร์เซ็นต์
  • 4:30 - 4:33
    นี่เป็นที่มาของเงิน 77 เซ็นต์
  • 4:34 - 4:35
    แต่ในรัฐบาลกลาง
  • 4:35 - 4:37
    ที่ซึ่งเงินเดือนถูกกำหนดไว้ที่ระดับขั้นจำเพาะ
  • 4:37 - 4:39
    และทุกคนก็รู้ว่าระดับขั้นเหล่านั้นคือเท่าไรบ้าง
  • 4:39 - 4:41
    และช่วงระหว่างเพศ
    ลดลงเหลือ 11 เปอร์เซ็นต์ --
  • 4:41 - 4:44
    และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนการควบคุม
    ต่อปัจจัยใด ๆ
  • 4:44 - 4:47
    ที่นักเศรษฐศาสตร์ถกเถียงกัน
    ว่ามันควรหรือไม่ควรที่จะควบคุม
  • 4:47 - 4:50
    ถ้าคุณต้องการกำจัดช่องว่างค่าจ้าง
    ระหว่างเพศลง
  • 4:50 - 4:52
    บางทีคุณอาจต้องเริ่มต้น
    ด้วยการเปิดเผยเงินเดือน
  • 4:53 - 4:56
    ถ้านี่เป็นหน้าตาของความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
    ของตลาดแรงงานแล้วล่ะก็
  • 4:56 - 4:59
    การเปิดเผยก็คงจะเป็นหนทางเดียว
    ที่จะทำให้เกิดความยุติธรรม
  • 5:00 - 5:03
    เอาล่ะครับ ผมตระหนักว่า
    การให้คนอื่นรู้ว่าคุณได้เงินเท่าไร
  • 5:03 - 5:04
    อาจทำให้รู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไร
  • 5:04 - 5:06
    แต่มันจะรู้สึกไม่ดียิ่งกว่าหรือเปล่า
  • 5:06 - 5:09
    ที่จะคอยคิดอยู่เสมอ
    ว่าคุณถูกแบ่งแยกหรือเปล่า
  • 5:09 - 5:13
    หรือว่าภรรยา ลูกสาว หรือน้องสาวของคุณ
    ได้รับเงินอย่างเป็นธรรมไหม
  • 5:13 - 5:17
    การเปิดเผยยังคงเป็นหนทางที่ดีที่สุด
    ที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรม
  • 5:17 - 5:19
    และการเปิดเผยเงินเดือนอย่างโปร่งใส
    จะนำมาซึ่งสิ่งนั้น
  • 5:20 - 5:23
    นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้นำการลงทุน
    และผู้นำองค์กรทั้งหลาย
  • 5:23 - 5:25
    ได้ทำการทดสอบทดลอง
    เปิดเผยข้อมูลเงินเดือนมานานหลายปีแล้ว
  • 5:26 - 5:27
    อย่างเช่น เดน แอทคินสัน
  • 5:27 - 5:31
    เดน เป็นนักลงทุนผู้ก่อตั้งบริษัทมากมาย
  • 5:31 - 5:32
    ด้วยกติการการจ่ายเงินเดือน
    อย่างเป็นความลับ
  • 5:32 - 5:36
    และแม้กระทั่งใช้กติกานั้น
    ในการจ่ายเงินเดือนที่แตกต่างกันอย่างมาก
  • 5:36 - 5:38
    ให้กับผู้ที่มีคุณสมบัติเท่ากันสองคน
  • 5:38 - 5:40
    โดยขึ้นอยู่กับว่า
    พวกเขาต่อรองได้มากน้อยแค่ไหน
  • 5:40 - 5:43
    และเดนก็เห็นการแข่งขัน
    ที่เกิดขึ้นจากสิ่งนี้
  • 5:44 - 5:46
    เมื่อเขาก่อตั้งบริษัทใหม่ล่าสุดของเขา
    ซัมออล์ (SumAll)
  • 5:46 - 5:49
    เขายึดมั่นกับการเปิดเผยเรื่องเงินเดือน
    มาตั้งแต่เริ่มต้น
  • 5:50 - 5:52
    และผลลัพธ์ก็น่าทึ่ง
  • 5:52 - 5:54
    และในการศึกษาครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 5:54 - 5:56
    เมื่อคนรู้ว่าพวกเขาได้เงินเดือนดีแค่ไหน
  • 5:56 - 5:58
    และเงินเดือนนั้นเป็นอย่างไร
    เมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมงาน
  • 5:58 - 6:01
    พวกเขามักจะทำงานหนัก
    เพื่อที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของตัวเอง
  • 6:01 - 6:04
    มักจะใจจดใจจ่อมากขึ้น
    และมักลาออกน้อยกว่า
  • 6:04 - 6:05
    นั่นเป็นเหตุผลว่า
    ทำไมเดนไม่ใช่คนเดียวที่ทำแบบนี้
  • 6:05 - 6:07
    ตั้งแต่เทคโนโลยีสตาร์ทอัพ
    อย่างเช่น บัฟเฟอร์ (Buffer)
  • 6:08 - 6:11
    ไปจนถึง โฮล ฟู๊ดส์ (Whole Foods)
    ที่มีลูกจ้างเป็นหมื่น ๆ คน
  • 6:11 - 6:14
    ที่ไม่เพียงแต่เงินเดือนของคุณจะถูกเปิดเผย
    ให้ทุกคนได้รับทราบ
  • 6:14 - 6:17
    แต่ข้อมูลประสิทธิภาพการทำงานของคุณ
    ที่มีต่อห้างร้าน และแผนกของคุณ
  • 6:18 - 6:19
    ยังถูกเปิดเผยในอินทราเน็ตของบริษัท
  • 6:19 - 6:21
    ให้กับทุกคนอีกด้วย
  • 6:22 - 6:24
    ทีนี้ การเปิดเผยเงินเดือนนั้นมีหลายรูปแบบ
  • 6:24 - 6:26
    ไม่ใช่ว่าทุกรูปแบบจะเหมาะกับทุกบริษัท
  • 6:26 - 6:29
    บ้างเปิดเผยเงินเดือนของพวกเขา
    ให้ทุกคนได้รับทราบ
  • 6:29 - 6:31
    บางก็เก็บไว้เป็นเรื่องภายในของบริษัท
  • 6:31 - 6:34
    บ้างก็ให้สูตรสำหรับการคำนวณเงินเดือน
  • 6:34 - 6:35
    และบ้างก็ให้ระดับขั้นของเงินเดือน
  • 6:35 - 6:37
    และจัดแบ่งทุก ๆ คนไปตามระดับนั้น
  • 6:37 - 6:39
    ฉะนั้น คุณไม่จำเป็นต้องทำป้าย
  • 6:39 - 6:42
    สำหรับลูกจ้างของคุณทุกคน
    เพื่อที่จะแขวนเอาไว้เมื่ออยู่ในที่ทำงาน
  • 6:42 - 6:45
    และคุณไม่จำเป็น
    ที่จะต้องเป็นคนเดียวที่แขวนป้าย
  • 6:45 - 6:46
    ที่คุณทำมาจากบ้าน
  • 6:46 - 6:50
    แต่พวกเราสามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
    ในเรื่องการเปิดเผยเงินเดือนได้
  • 6:50 - 6:52
    สำหรับพวกคุณที่มีอำนาจหน้าที่
  • 6:52 - 6:54
    ที่จะผลักดันความโปร่งใสดังกล่าว
  • 6:54 - 6:56
    มันถึงเวลาแล้วที่เราจะเดินหน้า
  • 6:56 - 6:58
    และสำหรับพวกคุณที่ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่นั้น
  • 6:58 - 7:00
    มันถึงเวลาแล้วที่จะสนับสนุนเพื่อสิทธินั้น
  • 7:01 - 7:03
    เอาล่ะ แล้วคุณได้เงินเดือนเท่าไรครับ
  • 7:04 - 7:07
    และนั่นมันเป็นอย่างไร
    เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่คุณทำงานด้วย
  • 7:07 - 7:08
    คุณควรรู้เอาไว้
  • 7:09 - 7:11
    และพวกเขาก็ควรรู้เช่นกัน
  • 7:12 - 7:13
    ขอบคุณครับ
  • 7:13 - 7:16
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมคุณควรรู้ว่าเพื่อนร่วมงานได้เงินเดือนเท่าไร
Speaker:
เดวิด เบอร์คัส (David Burkus)
Description:

คุณได้เงินเดือนเท่าไร มันเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่คุณทำงานด้วย คุณควรที่จะรู้ และพวกเขาก็ควรที่จะรู้เช่นกัน นักวิจัยด้านการจัดการ เดวิด เบอร์คัส กล่าว ในการบรรยายนี้
เบอร์คัส ตั้งคำถามข้อสรูปตามธรรมเนียมเกี่ยวกับการเก็บเรื่องเงินเดือนเป็นความลับและยกตัวอย่างกรณีที่น่าสนใจว่าทำไมการเปิดเผยเรื่องเงินเดือนน่าจะเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้าง องค์กร และสังคม

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
07:29

Thai subtitles

Revisions