Return to Video

The Internet: Wires, Cables, & Wifi

  • 0:03 - 0:08
    อินเทอร์เน็ต |
    แบบเดินสาย เคเบิล และ Wi-Fi
  • 0:10 - 0:13
    ฉันชื่อเทซ วินล็อก
    เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ที่ Google
  • 0:14 - 0:19
    คำถามคือ ภาพ ข้อความ หรืออีเมลถูกส่ง
    จากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งได้ยังไง
  • 0:19 - 0:21
    ไม่ใช่เวทมนตร์ค่ะ แต่เพราะอินเทอร์เน็ต
  • 0:21 - 0:24
    ระบบที่จับต้องได้
    ที่ผลิตมาเพื่อเคลื่อนย้ายข้อมูลค่ะ
  • 0:25 - 0:27
    อินเทอร์เน็ตคล้ายบริการไปรษณีย์มาก
  • 0:28 - 0:31
    แต่สิ่งของทางกายภาพที่ส่งไป
    มันต่างกันนิดนึง
  • 0:31 - 0:33
    แทนที่จะเป็นกล่องพัสดุ
    หรือซองจดหมาย
  • 0:34 - 0:36
    อินเทอร์เน็ตกลับส่งข้อมูลเลขฐานสอง
  • 0:37 - 0:38
    ข้อมูลทำจากบิท
  • 0:38 - 0:43
    บิทคือคู่อะไรที่ตรงข้ามกัน
    เปิดกับปิด หรือ ใช่กับไม่ใช่
  • 0:45 - 0:48
    เรามักใช้เลข 1 แทนการเปิด
    และ 0 แทนการปิด
  • 0:49 - 0:51
    หนึ่งบิทมีความเป็นไปได้สองอย่าง
    จึงเรียกว่ารหัสฐานสอง
  • 0:52 - 0:58
    8 รวมกันเป็น 1 ไบต์
    1000 ไบต์ เท่ากับ 1 กิโลไบต์
  • 0:58 - 1:00
    1000 กิโลไบต์ เท่ากับ 1 เมกะไบต์
  • 1:00 - 1:04
    เพลงหนึ่งมักจะมีขนาด 3-4 เมกะไบต์
  • 1:04 - 1:07
    ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรือเพลง
  • 1:07 - 1:10
    ทุกอย่างในอินเทอร์เน็ต
    จะเสนอและส่งเป็นบิท
  • 1:10 - 1:12
    พวกนี้คืออะตอมของข้อมูล
  • 1:13 - 1:16
    แต่ใช่ว่าเราส่งเลข 1 กับ 0
    จากที่หนึ่งสู่ที่หนึ่ง
  • 1:17 - 1:18
    หรือจากคนหนึ่งถึงอีกคนนะคะ
  • 1:18 - 1:23
    แล้วอะไรที่จับต้องได้
    ที่ส่งไปตามสาย ทางอากาศล่ะ
  • 1:23 - 1:25
    เรามาดูตัวอย่างถึงวิธีสื่อสารของมนุษย์
  • 1:26 - 1:30
    แบบที่ส่งข้อมูลหนึ่งอย่างหากันนะคะ
  • 1:31 - 1:34
    สมมติว่าเปิดไฟ คือ 1
    ปิดไฟคือ 0
  • 1:34 - 1:37
    หรือใช้เสียงบี๊ปส่งรหัสมอร์ส
  • 1:39 - 1:41
    วิธีนี้ใช้ได้แต่ช้ามาก ผิดพลาดได้มาก
  • 1:42 - 1:43
    และอาศัยมนุษย์ล้วน ๆ
  • 1:43 - 1:44
    แต่ที่เราต้องการคือเครื่องจักร
  • 1:44 - 1:47
    จากประวัติศาสตร์มนุษย์
    เราสร้างระบบมากมาย
  • 1:47 - 1:51
    ที่สามารถส่งข้อมูลฐานสอง
    ผ่านสื่อทางการภาพหลากชนิด
  • 1:51 - 1:56
    ปัจจุบันเราส่งบิททางกายภาพด้วยไฟฟ้า
    แสงไฟและคลื่นวิทยุ
  • 1:59 - 2:00
    สำหรับการส่งด้วยไฟฟ้านั้น
  • 2:00 - 2:03
    นึกภาพหลอดไฟสองหลอดต่อกับสายไฟทองแดง
  • 2:04 - 2:07
    ถ้าคนที่คุมคนหนึ่ง
    ปล่อยไฟฟ้าเข้าไป ไฟก็ติด
  • 2:07 - 2:09
    ไม่มีไฟฟ้า ก็ไม่มีแสงไฟ
  • 2:09 - 2:14
    ถ้าคนคุมทั้งสองฝั่งเห็นตรงกันว่า
    เปิดไฟเท่ากับ 1 ปิดไฟเท่ากับ 0
  • 2:14 - 2:17
    ก็จะได้ระบบส่งหน่วยข้อมูล
  • 2:17 - 2:19
    จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง
    ด้วยการใช้ไฟฟ้า
  • 2:20 - 2:21
    แต่มีปัญหานิดนึง
  • 2:22 - 2:24
    ถ้าอยากส่งเลข 0 ติดกันห้าตัวล่ะ
  • 2:25 - 2:30
    จะทำยังไงให้คนใดคนหนึ่งนับจำนวนเลข 0 ได้
  • 2:30 - 2:33
    ทางออกคือให้ใช้นาฬิกาหรือตัวจับเวลา
  • 2:33 - 2:37
    ก็ตกลงกันก่อนว่าผู้ส่งจะส่ง
    บิทละ 1 วินาที
  • 2:37 - 2:40
    ผู้รับก็นั่งบันทึกทุกวินาที
    ดูว่ามีอะไรบ้าง
  • 2:41 - 2:44
    ถ้าจะส่ง 0 ห้าตัวติดกัน ก็ปิดไฟ
  • 2:44 - 2:48
    รอ 5 วินาที ผู้รับก็จดว่าเป็น 5 วินาที
  • 2:49 - 2:50
    ว่าเป็น 00000
  • 2:50 - 2:52
    ส่วนเลข 1 ก็ทำตรงข้าม แค่เปิดไฟ
  • 2:54 - 2:57
    แน่นอนว่าเราอยากส่งข้อมูลให้ไว
    กว่า 1 บิทต่อวินาที
  • 2:57 - 2:59
    ก็เลยต้องเพิ่มแบนด์วิธค่ะ
  • 2:59 - 3:01
    มันคือความจุสูงสุด
    ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลของอุปกรณ์
  • 3:01 - 3:04
    แบนด์วิธวัดได้จากวิทเรต
  • 3:04 - 3:06
    ซึ่งก็คือจำนวนบิทที่เราส่งได้
  • 3:07 - 3:09
    ในเวลาที่กำหนด ซึ่งมักวัดเป็นวินาที
  • 3:10 - 3:13
    การวัดความเร็วที่ต่างกัน
    คือระยะเวลาแฝง
  • 3:13 - 3:18
    หรือเวลาที่ บิทต้องใช้เดินทาง
    จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง
  • 3:19 - 3:20
    จากต้นกำเนิดไปอุปกรณ์อีกเครื่อง
  • 3:22 - 3:23
    สำหรับมนุษย์แล้ว
  • 3:23 - 3:27
    1 บิทต่อวินาทีนั้นค่อนข้างเร็ว
    และยากที่จะตามทัน
  • 3:27 - 3:31
    สมมติว่าจะดาวน์โหลดเพลง 3MB ใน 3 วินาที
  • 3:32 - 3:37
    ด้วยความเร็ว 8 ล้านบิทต่อเมกะไบต์
    ซึ่งก็คือ 8 ล้านบิทต่อวินาที
  • 3:37 - 3:40
    แน่นอนว่ามนุษย์รับส่ง
    8 ล้านบิท/วินาทีไม่ได้
  • 3:40 - 3:42
    แต่เครื่องจักรทำได้สบาย ๆ
  • 3:42 - 3:45
    ทีนี้ก็มีคำถามว่าเคเบิลแบบไหน
  • 3:45 - 3:48
    ที่ใช้ส่งข้อความพวกนี้
    แล้วมันจะไปได้ไกลแค่ไหน
  • 3:49 - 3:52
    ด้วยสายอีเธอร์เน็ตอย่างที่พบได้ที่บ้าน
    ออฟฟิศ หรือโรงเรียน
  • 3:53 - 3:56
    พวกนี้สัญญาณจะหายในไม่กี่ร้อยฟุต
  • 3:58 - 4:02
    ถ้าจะให้อินเทอร์เน็ตทำงานได้ทั้งโลก
  • 4:02 - 4:07
    ก็ต้องหาวิธีส่งข้อมูลระยะไกลให้ได้
    แบบข้ามมหาสมุทร
  • 4:07 - 4:12
    แล้วจะใช้อะไรได้ล่ะ
    อะไรที่เคลื่อนที่ไวกว่าไฟฟ้าผ่านสายไฟ
  • 4:13 - 4:19
    แสงไง เราส่งบิทเป็นแสงจากที่หนึ่ง
    ไปอีกที่หนึ่งได้ด้วยสายเคเบิลใยแก้วนำแสง
  • 4:19 - 4:23
    เคเบิลใยแก้วนำแสงคือใบแก้ว
    ที่ผลิตมาเพื่อสะท้อนแสง
  • 4:24 - 4:29
    เวลาส่งแสงไปที่เคเบิลแสงจะสะท้อนขึ้นลง
    ตามความยาวเคเบิลจนถึงอีกฝั่ง
  • 4:30 - 4:34
    ด้วยมุมที่เด้ง
    ทำให้เราส่งได้ทีละหลายบิทพร้อมกัน
  • 4:34 - 4:36
    ซึ่งเดินทางด้วยความเร็วแสงทั้งหมด
  • 4:36 - 4:42
    ไฟเบอร์จึงรวดเร็วมาก และที่สำคัญคือ
    สัญญาณไม่เสื่อมสภาพตามระยะทาง
  • 4:43 - 4:45
    สัญญาณจึงเดินทางได้หลายร้อยไมล์
    โดยที่ไม่ขาด
  • 4:45 - 4:51
    เราถึงใช้ใยแก้วนำแสงข้ามพื้นมหาสมุทร
    เพื่อเชื่อมต่อทวีปเข้าด้วยกัน
  • 4:51 - 4:55
    ในปี 2008 มีเคเบิลสายหนึ่งขาด
    แถวอเล็กซานเดรีย อียิปต์
  • 4:55 - 4:59
    จนอินเทอร์เน็ตในตะวันออกกลาง
    และอินเดียหลายส่วนได้รับผลกระทบ
  • 4:59 - 5:04
    เราอาจเห็นอินเทอร์เน็ตเป็นของตาย
    แต่ที่จริงมันเป็นระบบที่บอบบา จับต้องได้
  • 5:04 - 5:10
    ไฟเบอร์นั่นก็เจ๋ง แต่ก็แพงและทำยาก
    ส่วนมากจะเป็นสายทองแดง
  • 5:11 - 5:16
    แต่เราจะเคลื่อนย้ายอะไร
    โดยไม่ใช้สายได้ยังไง ส่งแบบไร้สายยังไง
  • 5:17 - 5:22
    เครื่องส่งสัญญาณไร้สายมักใช้สัญญาณวิทยุ
    เพื่อส่งบิทจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง
  • 5:22 - 5:29
    เครื่องก็ต้องแปลเลข 1 กับ 0
    เป็นสัญญาณวิทยุด้วยความถี่ที่ต่างกัน
  • 5:29 - 5:34
    เครื่องที่รับก็แปลสัญญาณวิทยุกลับ
    เป็นเลขฐานสองให้คอมพิวเตอร์คุณ
  • 5:34 - 5:36
    ความไร้สายทำให้อินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ได้
  • 5:37 - 5:40
    แต่คลื่นวิทยุไม่ได้เดินทางไกลขนาดนั้น
    ก่อนจะสัญญาณหาย
  • 5:41 - 5:45
    เวลาอยู่ชิคาโกถึงรับสัญญาณวิทยุ
    จากลอสแองเจลิสไม่ได้
  • 5:46 - 5:49
    แม้ไร้สายมันจะดี
    แต่ทุกวันนี้ก็ยังพึ่งแบบมีสาย
  • 5:49 - 5:53
    ถ้าเราใช้ Wi-Fi ในร้านกาแฟ
    บิทจะถูกส่งไปยังเราเตอร์ไร้สาย
  • 5:54 - 5:58
    ก่อนส่งผ่านสาย
    และเดินทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต
  • 5:59 - 6:01
    วิธีส่งบิทแบบจับต้องได้
    อาจเปลี่ยนไปในอนาคต
  • 6:02 - 6:06
    อาจเป็นเลเซอร์ระหว่างดาวเทียม
    หรือคลื่นวิทยุระหว่างบอลลูน หรือโดรน
  • 6:06 - 6:12
    แต่การนำเสนอข้อมูลด้วยเลขฐานสอง
    และโพรโตคอลในการรับส่งข้อมูล
  • 6:12 - 6:14
    น่าจะยังคงเดิม
  • 6:14 - 6:20
    ทุกสิ่งในอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นคำ
    อีเมล รูปภาพ วีดีโอหมาแมวล้วนมาจาก
  • 6:20 - 6:25
    การส่งเลข 1 และ 0 ผ่านสัญญาณไฟฟ้า
    แสง คลื่นวิทยุ และความรักค่ะ
Title:
The Internet: Wires, Cables, & Wifi
Description:

more » « less
Video Language:
English
Duration:
06:41

Thai subtitles

Revisions