Return to Video

เจสัน ฟรายด์ : เหตุผลที่งานไม่ออกในที่ทำงาน

  • 0:00 - 0:02
    ผมกำลังจะพูดถึงเรื่อง "งาน" ครับ
  • 0:02 - 0:04
    โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า ทำไมคนเรา
  • 0:04 - 0:06
    ถึงมีแนวโน้มทำงานให้เสร็จในที่ทำงานไม่ได้
  • 0:06 - 0:09
    ซึ่งก็เป็นปัญหาที่เราทุกคนมีเหมือนกัน
  • 0:09 - 0:11
    ผมมาเริ่มพูดตั้งแต่ต้นเลยดีกว่า
  • 0:11 - 0:14
    เรามีบริษัท องค์กรไม่แสวงกำไร และองค์กรการกุศล
  • 0:14 - 0:16
    กลุ่มเหล่านี้ล้วน
  • 0:16 - 0:18
    มีลูกจ้าง
  • 0:18 - 0:20
    อาสาสมัคร หรืออะไรทำนองนี้
  • 0:20 - 0:23
    เจ้าขององค์กรเหล่านี้ต่างคาดหวังว่าบุคคลเหล่านี้
  • 0:23 - 0:25
    จะทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม
  • 0:25 - 0:27
    ในความเห็นผมนะ อย่างน้อยๆ
  • 0:27 - 0:29
    งานที่มอบหมายให้ควรจะออกมา
  • 0:29 - 0:31
    ได้ดีในระดับหนึ่ง
  • 0:31 - 0:33
    ทีนี้สิ่งที่องค์กรเหล่านี้ทำ คือตัดสินใจว่า
  • 0:33 - 0:35
    พนักงานและอาสาสมัครทั้งหมดต้องมาอยู่รวมกันในที่ที่เดียว
  • 0:35 - 0:37
    เพื่อทำงานที่ว่า
  • 0:37 - 0:40
    ดังนั้นบริษัท หรือองค์กรการกุศล หรือองค์กรประเภทไหนก็ตาม
  • 0:40 - 0:42
    ปกติพวกเขา คือยกเว้นว่าคุณจะทำงานในแอฟริกา
  • 0:42 - 0:44
    ถ้าคุณโชคดีมากที่จะทำงานที่นั่น
  • 0:44 - 0:46
    พวกเขาจะบังคับให้ลูกจ้างไปสำนักงานทุกวัน
  • 0:46 - 0:48
    เลยเป็นเหตุให้บริษัทเหล่านี้
  • 0:48 - 0:50
    จัดการสร้างสำนักงาน
  • 0:50 - 0:53
    ซื้อหรือทำสัญญาเช่าตึกต่างๆ
  • 0:53 - 0:55
    ไม่ก็เช่าเพียงพื้นที่บางส่วน
  • 0:55 - 0:58
    แล้วก็เติมเต็มไปด้วยสิ่งของต่่างๆ
  • 0:58 - 1:01
    ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะหนังสือ โต๊ะทำงาน
  • 1:01 - 1:03
    เก้าอี้ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
  • 1:03 - 1:05
    ซอฟต์แวร์
  • 1:05 - 1:07
    อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
  • 1:07 - 1:10
    หรืออาจจะเป็นตู้เย็น หรืออะไรอีกหลายๆอย่าง
  • 1:10 - 1:12
    เสร็จแล้วก็คาดหวังว่าพนักงานหรืออาสาสมัครของพวกเขา
  • 1:12 - 1:15
    จะมาสถานที่นั้นๆทุกวัน เพื่อทำงานออกมาได้ยอดเยี่ยม
  • 1:15 - 1:18
    ฟังดูเป็นข้อเรียกร้องที่มีเหตุมีผลเต็มเปี่ยม
  • 1:18 - 1:20
    อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณได้ลองถามคนเหล่านั้น
  • 1:20 - 1:22
    หรือแม้แต่ตั้งคำถาม
  • 1:22 - 1:24
    กับตัวคุณเองว่า
  • 1:24 - 1:27
    เมื่อคุณต้องทำบางสิ่งให้เสร็จจริงๆ คุณอยากไปที่ไหน
  • 1:27 - 1:29
    คุณจะพบว่าคำตอบของคนเหล่านี้
  • 1:29 - 1:31
    ไม่ได้เหมือนกับที่เจ้าขององค์กรทั้งหลายคิดไว้
  • 1:31 - 1:33
    ถ้าคุณถามพวกเขาว่า : "คุณต้องไปที่ไหน
  • 1:33 - 1:35
    เวลาที่คุณต้องการทำสิ่งใดๆให้เสร็จ?"
  • 1:35 - 1:37
    โดยทั่วไป คุณจะได้คำตอบหนึ่งในสามแบบ ดังนี้
  • 1:37 - 1:40
    แบบแรก คือประเภทของสถานที่หรือห้อง
  • 1:40 - 1:42
    แบบที่สอง คือสิ่งใดๆที่เคลื่อนที่ได้
  • 1:42 - 1:44
    แบบที่สาม คือ ช่วงเวลาต่างๆ
  • 1:44 - 1:46
    ทีนี้มาดูตัวอย่างกัน
  • 1:46 - 1:49
    เวลาที่ผมถามผู้คน ซึ่งผมถามคำถามนี้มาประมาณ 10 ปีแล้ว
  • 1:49 - 1:51
    ผมถามว่า "คุณไปที่ไหนเวลาที่คุณต้องการทำอะไรให้เสร็จ?"
  • 1:51 - 1:54
    ผมจะได้คำตอบจากคนกลุ่มหนึ่งว่า ระเบียง ดาดฟ้า
  • 1:54 - 1:56
    ห้องครัว
  • 1:56 - 1:58
    ห้องเสริมในบ้าน
  • 1:58 - 2:00
    ห้องใต้ดิน
  • 2:00 - 2:03
    ร้านกาแฟ ห้องสมุด
  • 2:03 - 2:06
    แล้วก็มีคนอีกประเภทที่ตอบว่า ในรถไฟ
  • 2:06 - 2:09
    เครื่องบิน รถยนต์ ยานพาหนะต่างๆ
  • 2:09 - 2:11
    หรือประเภทสุดท้ายที่ตอบว่า
  • 2:11 - 2:13
    "อืม... ที่จริงมันไม่สำคัญหรอกว่าผมอยู่ที่ไหน
  • 2:13 - 2:16
    ขอแค่เป็นช่วงเช้าตรู่ หรือกลางดึก ไม่ก็เป็นเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ก็โอเคแล้ว"
  • 2:16 - 2:19
    คุณแทบจะไม่ได้ยินใครตอบว่า อยากทำงานให้เสร็จที่ "สำนักงาน"
  • 2:19 - 2:22
    แต่แล้วธุรกิจก็หมดเงินไปมากมายกับสถานที่ที่เรียกว่า "สำนักงาน"
  • 2:22 - 2:24
    ที่ๆทุกคนถูกบังคับให้ไปตลอดเวลา
  • 2:24 - 2:27
    ทั้งๆที่พวกเขาก็ไม่ได้ทำงานในสำนักงาน
  • 2:27 - 2:29
    นี่มันเรื่องอะไรกัน?
  • 2:29 - 2:31
    ทำไมถึงเป็นแบบนี้?
  • 2:31 - 2:34
    ทำไมถึงเกิดเรื่องนี้ขึ้น?
  • 2:34 - 2:36
    ยิ่งผมขุดเรื่องนี้ลึกเท่าไหร่
  • 2:36 - 2:38
    ก็ยิ่งพบว่าผู้คน
  • 2:38 - 2:40
    ขอบอกว่านี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
  • 2:40 - 2:42
    การที่ผู้คนไปทำงาน
  • 2:42 - 2:44
    จริงๆแล้ว ก็เพื่อเอา "วันทำงาน"
  • 2:44 - 2:46
    ไปแลกกับ "ชั่วขณะการทำงาน" ที่ติดกันเป็นช่วงๆ
  • 2:46 - 2:48
    นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน
  • 2:48 - 2:50
    คุณไม่ได้มี "วันทำงาน" เต็มๆ มีแต่ "ชั่วขณะ" การทำงาน
  • 2:50 - 2:53
    ราวกับว่าประตูเข้าสำนักงานคือปากทางเข้าเครื่องบด
  • 2:53 - 2:55
    เมื่อคุณเดินเข้าไป 1 วันของคุณก็ถูกหั่นออกเป็นเสี่ยงๆ
  • 2:55 - 2:58
    มี 15 นาทีสำหรับตรงนี้ อีก 30 สำหรับตรงนั้น
  • 2:58 - 3:00
    เสร็จแล้วก็มีอะไรมาขัดจังหวะ คุณถูกดึงออกจากงาน
  • 3:00 - 3:03
    แล้วก็ต้องไปทำอะไรอย่างอื่น เหลือ 20 นาที แล้วต่อด้วยพักเที่ยง
  • 3:03 - 3:05
    พักเสร็จก็มีอย่างอื่นที่ต้องทำ
  • 3:05 - 3:08
    เสร็จแล้วก็ไปทำงานต่ออีก 15 นาที แล้วก็มีคนดึงตัวไปถามคำถาม
  • 3:08 - 3:11
    เผลอแป๊ปเดียว ก็ 5 โมงเย็นแล้ว
  • 3:11 - 3:13
    เมื่อคุณทบทวนการใช้เวลาวันนี้
  • 3:13 - 3:15
    ก็เพิ่งมารู้ตัวว่ายังทำอะไรไม่เสร็จสักอย่าง
  • 3:15 - 3:17
    พวกเราทุกคนมีประสบการณ์แบบนี้กันทั้งนั้น
  • 3:17 - 3:19
    เราอาจจะเพิ่งเจอสดๆ ร้อนๆ เมื่อวานนี้
  • 3:19 - 3:21
    หรือวานซืน หรือวันก่อนหน้านั้น
  • 3:21 - 3:24
    คุณมองย้อนกลับไปแล้วบ่นกับตัวเองว่า "เซ็งจริง...วันนี้ทำอะไรไม่เสร็จเลย"
  • 3:24 - 3:26
    ผมเคยอยู่ที่ทำงาน
  • 3:26 - 3:29
    นั่งอยู่ที่โต๊ะ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ราคาแพง
  • 3:29 - 3:31
    ใช้ซอฟต์แวร์ที่บริษัทบอกให้ผมใช้
  • 3:31 - 3:34
    เข้าประชุมตามที่เจ้านายสั่ง
  • 3:34 - 3:36
    ผมประชุมผ่านโทรศัพท์ทางไกล ผมทำเรื่องพวกนี้มาหมดแล้ว
  • 3:36 - 3:39
    ในขณะที่ผมไม่ได้ทำอะไรเสร็จเป็นชิ้นเป็นอันเลย
  • 3:39 - 3:41
    ผมแค่ทำสิ่งที่ต้องทำ
  • 3:41 - 3:43
    แต่ทำงานที่มีความหมายจริงๆ ไม่เสร็จเลย
  • 3:43 - 3:46
    ทีนี้ สิ่งที่คุณจะพบ โดยเฉพาะสำหรับคนที่มีหัวคิดสร้างสรรค์
  • 3:46 - 3:48
    นักออกแบบ นักเขียนโปรแกรม
  • 3:48 - 3:50
    นักเขียน วิศวกร
  • 3:50 - 3:52
    หรือนักคิด
  • 3:52 - 3:54
    ก็คือคนเหล่านี้ต้องการ
  • 3:54 - 3:57
    ช่วงเวลานานๆที่ไม่มีอะไรมาขัดจังหวะ เพื่อทำงานให้เสร็จสมบูรณ์
  • 3:57 - 4:00
    เป็นไปไม่ได้ที่คุณขอจะให้ใครสร้างสรรค์ความคิดภายใน 15 นาที
  • 4:00 - 4:02
    เพราะเวลาแค่นั้นไม่พอให้คิดจริงจังเกี่ยวกับปัญหาด้วยซ้ำ
  • 4:02 - 4:04
    จริงอยู่ คุณอาจจะมีวาบความคิด
  • 4:04 - 4:07
    แต่การที่จะครุ่นคิดอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับปัญหา และมองมันอย่างรอบคอบจริงๆ
  • 4:07 - 4:10
    คุณต้องใช้ช่วงเวลายาวๆ ที่ไม่มีอะไรมารบกวน
  • 4:10 - 4:13
    ถึงแม้ว่าวันทำงานปกติต่อวันมีแปดชั่วโมง
  • 4:13 - 4:16
    ในที่นี้ มีใครบ้างครับที่มีเวลาแปดชั่วโมงเป็นของตัวเองในที่ทำงาน?
  • 4:16 - 4:18
    เจ็ดชั่วโมงมีไหมครับ?
  • 4:18 - 4:21
    หก? ห้า? สี่?
  • 4:21 - 4:24
    ครั้งสุดท้ายที่คุณมีเวลาสามชั่วโมงเป็นของตัวเองที่ทำงานคือเมื่อไหร่?
  • 4:24 - 4:26
    สองชั่วโมง? บางทีคุณอาจมีแค่ชั่วโมงเดียว
  • 4:26 - 4:28
    มีคนจำนวนน้อยมากๆ ที่จะมี
  • 4:28 - 4:31
    ช่วงเวลายาวๆ ที่ไม่ถูกขัดจังหวะในที่ทำงาน
  • 4:31 - 4:34
    นี่คือเหตุผลที่ผู้คนเลือกที่จะทำงานที่บ้าน
  • 4:34 - 4:36
    หรือพวกเขาอาจเลือกไปสำนักงานก็ได้
  • 4:36 - 4:38
    แต่จะต้องไปถึงตั้งแต่ตอนเช้ามืด
  • 4:38 - 4:40
    หรือดึกดื่น ตอนที่ไม่มีใึครอยู่
  • 4:40 - 4:43
    หรือทำงานต่อหลังจากที่ทุกคนกลับไปแล้ว หรือไปทำงานวันหยุดสุดสัปดาห์
  • 4:43 - 4:45
    ไม่ก็ทำงานบนเครื่องบิน
  • 4:45 - 4:47
    ทำงานเสร็จในรถ หรือบนรถไฟ
  • 4:47 - 4:49
    เพราะไม่มีใครมาทำให้เสียสมาธิ
  • 4:49 - 4:51
    ปัจจุบันสิ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจมีหลายประเภท
  • 4:51 - 4:53
    ซึ่งที่ผมกำลังจะพูดต่อไปนี้
  • 4:53 - 4:55
    ยังไม่ใช่ประเภทที่แย่มากๆ
  • 4:55 - 4:57
    กิจกรรมทำนองนี้
  • 4:57 - 4:59
    ที่เรามีเวลาเพียงช่วงสั้นๆ ที่จะทำอะไรให้เสร็จ
  • 4:59 - 5:01
    ทำให้ผมนึกถึงกิจกรรมอีกอย่างหนึ่ง
  • 5:01 - 5:03
    ที่จะไม่ได้มีผลถ้าเพียงคุณถูกรบกวน
  • 5:03 - 5:05
    นั่นคือ "การนอน"
  • 5:05 - 5:07
    ผมคิดว่า การนอนกับการทำงานนั้นใกล้เคียงกันมาก
  • 5:07 - 5:09
    ไม่ใช่เพราะว่าคุณทำงานตอนหลับได้
  • 5:09 - 5:11
    หรือหลับตอนทำงานได้
  • 5:11 - 5:13
    ไม่ใช่อย่างงั้นนะครับ
  • 5:13 - 5:15
    ผมกำลังพูดถึงข้อเท็จจริงที่ว่า
  • 5:15 - 5:17
    การนอนกับการทำงานนั้น
  • 5:17 - 5:19
    เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ห้วงเวลา
  • 5:19 - 5:21
    หรือช่วงเวลาเป็นหลัก
  • 5:22 - 5:25
    การนอนหลับเป็นเรื่องของช่วงหรือระยะเวลา
  • 5:25 - 5:27
    อาจเรียกไม่เหมือนกัน
  • 5:27 - 5:29
    นั่นคือ ช่วงการนอนมีห้าช่วง
  • 5:29 - 5:32
    การจะไปให้ถึงระยะที่หลับลึกที่สุด ระยะที่มีประโยชน์จริงๆ
  • 5:32 - 5:34
    คุณก็จะต้องผ่านช่วงแรกๆ ไปให้ได้ก่อน
  • 5:34 - 5:36
    ถ้าคุณถูกขัดจังหวะในขณะที่กำลังอยู่ในระยะแรกๆ
  • 5:36 - 5:38
    สมมติถ้ามีใครกลิ้งมาโดนคุณตอนนอน
  • 5:38 - 5:41
    หรือมีเสียงรบกวน หรืออะไรก็ตามแต่
  • 5:41 - 5:43
    คุณจะหลับต่อจากจุดเดิมไม่ได้
  • 5:43 - 5:45
    ถ้าคุณถูกขัดจังหวะจนตื่น
  • 5:45 - 5:47
    คุณก็จะต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่
  • 5:47 - 5:50
    ถอยไปหลายช่วงและเริ่มต้นใหม่
  • 5:50 - 5:52
    ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ บางทีคุณเจอเหตุการณ์แบบนี้
  • 5:52 - 5:54
    แล้วตื่นเช้ามาตอน 7-8 โมง
  • 5:54 - 5:56
    หรือสายกว่านั้น
  • 5:56 - 5:58
    แล้วรู้สึกว่า "โหย...เมื่อคืนนอนไม่เต็มอิ่มเลย"
  • 5:58 - 6:01
    ฉันพยายามหลับ พยายามข่มตานอน
  • 6:01 - 6:03
    แต่ไม่ได้นอนหลับจริงๆ
  • 6:03 - 6:06
    เราใช้คำว่า ไปหลับ
  • 6:06 - 6:08
    แต่เราไม่ได้หลับในทันที เรากำลังเดินทางไปยังจุดนั้น
  • 6:08 - 6:11
    การหลับต้องใช้เวลา คุณต้องผ่านช่วงต่างๆ
  • 6:11 - 6:13
    และถ้าคุณถูกขัดจังหวะ คุณก็จะนอนไม่พอ
  • 6:13 - 6:15
    ทีนี้เราจะคาดหวังอะไรได้ มีใครไหมครับที่คิดว่าคนที่ถูกขัดจังหวะ
  • 6:15 - 6:17
    ตลอดทั้งคืนจะหลับดีได้? มีมั้ยครับ?
  • 6:17 - 6:19
    ผมไม่คิดว่าใครจะตอบว่า "ได้" ใช่มั้ยครับ
  • 6:19 - 6:21
    แล้วทำไมเราถึงไปคาดหวังว่าคนที่ถูกขัดจังหวะ
  • 6:21 - 6:23
    ตลอดทั้งวันในที่ทำงานจะทำงานออกมาได้ดี?
  • 6:23 - 6:26
    เราจะคาดหวังให้คนทำงานของตัวเองได้อย่างไร
  • 6:26 - 6:28
    ถ้าพวกเขาไปสำนักงานเพื่อถูกขัดจังหวะ?
  • 6:28 - 6:31
    ผมรู้สึกว่าเรื่องนี้ไม่ค่อยมีเหตุมีผลเลย
  • 6:31 - 6:33
    ทีนี้ มีการขัดจังหวะแบบไหนบ้างที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน
  • 6:33 - 6:35
    แต่ไม่เกิดที่อื่น?
  • 6:35 - 6:37
    เพราะที่อื่น สิ่งที่สามารถก่อกวนคุณจะเป็นพวก
  • 6:37 - 6:39
    ทีวีที่เปิดอยู่
  • 6:39 - 6:41
    การทีี่คุณอยากออกไปเดินเล่น
  • 6:41 - 6:43
    หรือการมีตู้เย็นอยู่ชั้นล่าง
  • 6:43 - 6:46
    อยากนอนบนโซฟานุ่มๆ หรืออะไรก็ตามที่คุณอยากทำ
  • 6:46 - 6:48
    และถ้าคุณได้คุยเรื่องนี้กับผู้จัดการบางคน
  • 6:48 - 6:51
    พวกเขาจะบอกว่าเหตุผลที่ไม่อยากให้พนักงานทำงานที่บ้าน
  • 6:51 - 6:53
    ก็เพราะกลัวสิ่งขัดจังหวะเหล่านี้
  • 6:53 - 6:55
    หรือบางที
  • 6:55 - 6:57
    พวกเขาอาจจะแย้งว่า
  • 6:57 - 6:59
    "แหม...ถ้าผมมองไม่เห็นพนักงาน ผมจะรู้ได้ยังไงว่าพวกเขาทำงานอยู่?"
  • 6:59 - 7:02
    ซึ่งแน่นอนครับว่าไร้สาระ แต่นี่คือข้ออ้างข้อหนึ่งที่ผู้จัดการเขาใช้กัน
  • 7:02 - 7:04
    ผมก็เป็นหนึ่งในผู้จัดการแบบนั้นเหมือนกัน
  • 7:04 - 7:06
    ผมเข้าใจดี ผมเข้าใจหัวอกผู้จัดการ
  • 7:06 - 7:08
    พวกเราทุกคนต้องปรับปรุงเหตุการณ์แบบนี้
  • 7:08 - 7:10
    แต่ผู้จัดการมักจะยกสิ่งขัดจังหวะเป็นข้ออ้าง
  • 7:10 - 7:12
    "ผมปล่อยให้ลูกจ้างทำงานที่บ้านไม่ได้หรอก
  • 7:12 - 7:14
    ไม่งั้น พวกเขาคงจะดูทีวี หรือทำอย่างอื่นไปด้วย"
  • 7:14 - 7:17
    แต่เอาเข้าจริง สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ขัดจังหวะเราหรอก
  • 7:17 - 7:19
    เพราะมันเป็นสิ่งที่พวกเรา "สมัครใจ" ให้ขัดจังหวะ
  • 7:19 - 7:21
    คุณตัดสินใจเอาเองว่าจะอยากให้ทีวีขัดจังหวะตอนไหน
  • 7:21 - 7:23
    ตัดสินใจเองว่าจะเปิดอะไรเมื่อไหร่
  • 7:23 - 7:26
    ตัดสินใจว่าจะลงไปข้างล่างหรือไปเดินเล่นกี่โมง
  • 7:26 - 7:28
    แต่ที่ทำงาน สิ่งที่ขัดจังหวะและเบี่ยงเบนความสนใจส่วนใหญ่
  • 7:28 - 7:30
    ตัวการที่ทำให้คนทำงานไม่เสร็จจริงๆ
  • 7:30 - 7:32
    ล้วนไม่ได้เกิดขึ้นโดยสมัครใจ
  • 7:32 - 7:35
    ลองมาดูตัวอย่างสองสามเรื่องกันนะครับ
  • 7:35 - 7:37
    เรื่องแรก ผู้จัดการและเจ้านายทั้งหลาย
  • 7:37 - 7:40
    มักจะทำให้คุณเชื่อว่าสิ่งที่ขัดจังหวะจริงๆ ณ ที่ทำงาน
  • 7:40 - 7:43
    คือ การเล่นเฟซบุค ทวิตเตอร์
  • 7:43 - 7:46
    วีดีโอยูทูป และเว็บไซต์อื่นๆ
  • 7:46 - 7:48
    ซึ่งพวกเขาลงมือจัดการเป็นเรื่องเป็นราว
  • 7:48 - 7:50
    ถึงขนาดสั่งแบนเว็บเหล่านี้ในสำนักงาน
  • 7:50 - 7:53
    พวกคุณบางคนอาจทำงานในองค์กรที่เข้าเว็บเหล่านี้ไม่ได้
  • 7:53 - 7:56
    โทษนะ เราอยู่เมืองจีนกันเหรอครับ? เป็นบ้าอะไรกันนี่?
  • 7:56 - 7:58
    คุณเข้าเว็บไซต์ที่ทำงานไม่ได้
  • 7:58 - 8:00
    และนั่นถูกมองว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้คนทำงานไม่เสร็จเหรอ?
  • 8:00 - 8:02
    เพราะพวกเขาเล่นเฟซบุคกับทวิตเตอร์เนี่ยนะ?
  • 8:02 - 8:05
    ค่อนข้างไร้สาระนะครับ พวกนี้จริงๆเป็นแค่นกต่อเท่านั้น
  • 8:07 - 8:09
    ทุกวันนี้เฟซบุค ทวิตเตอร์ และยูทูบ
  • 8:09 - 8:12
    เปรียบได้กับการพักสูบบุหรี่สมัยใหม่
  • 8:12 - 8:14
    ถ้าเป็นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ไม่มีใครสนใจเรื่องพนักงาน
  • 8:14 - 8:16
    ขอพัก 15 นาทีเพื่อไปสูบบุหรี่หรอก
  • 8:16 - 8:18
    แล้วทำไมเราถึงต้องใส่ใจล่ะครับว่ามีใครเข้าใช้เฟซบุค
  • 8:18 - 8:20
    เล่นทวิตเตอร์ หรือดูวีดีโอยูทูบเป็นระยะๆ
  • 8:20 - 8:23
    พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริงในสำนักงาน
  • 8:23 - 8:25
    ปัญหาที่แท้จริงคือสิ่งที่ผมเรียกว่า
  • 8:25 - 8:27
    ปัญหาเอ็มแอนด์เอ็ม
  • 8:27 - 8:29
    นั่นก็คือ ผู้จัดการ (แมเนเจอร์) และการประชุม (มีตติ้ง)
  • 8:29 - 8:32
    สองอย่างนี้ต่างหากที่เป็นปัญหาที่แท้จริงในสำนักงานสมัยนี้
  • 8:32 - 8:35
    เป็นตัวการหลักที่ทำให้ผู้คนทำงานไม่เสร็จในที่ทำงาน
  • 8:35 - 8:37
    ทั้งหมดก็คือ เอ็มแอนด์เอ็มเนี่ยแหละ
  • 8:37 - 8:39
    ที่น่าสนใจคือ
  • 8:39 - 8:42
    ถ้าคุณฟังที่หลายๆคนพูดถึงสถานที่ที่ทำงานๆได้ดี
  • 8:42 - 8:44
    อย่างที่บ้าน ในรถ หรือบนเครื่องบิน
  • 8:44 - 8:46
    กลางดึก หรือเช้ามืด
  • 8:46 - 8:48
    จะเห็นได้ว่า เหล่านั้นคือที่ที่ไม่มีผู้จัดการ และไม่มีการประชุม
  • 8:48 - 8:51
    มีสิ่งที่สามารถขัดจังหวะหลายอย่าง แต่ไม่มีผู้จัดการและการประชุม
  • 8:51 - 8:54
    ฉะนั้น สองสิ่งนี้คือสิ่งที่คุณไม่พบเจอที่ไหนเลย
  • 8:54 - 8:57
    เว้นแต่ในที่ทำงาน
  • 8:57 - 8:59
    ที่จริงผู้จัดการคือคนที่
  • 8:59 - 9:01
    มีหน้าที่ขัดจังหวะลูกน้อง
  • 9:01 - 9:04
    การขัดจังหวะผู้อื่นคืองานหลักของผู้จัดการ
  • 9:04 - 9:06
    พวกเขาไม่ได้ลงมือทำงานเอง
  • 9:06 - 9:09
    ฉะนั้นพวกเขาจึงต้องมั่นใจให้ได้ว่าคนอื่นกำลังทำงาน นั่นก็คือ การเข้าไปขัดจังหวะ
  • 9:09 - 9:11
    ตอนนี้โลกเราก็มีผู้จัดการเยอะมาก
  • 9:11 - 9:13
    และผู้คนก็เยอะมากเช่นกัน
  • 9:13 - 9:15
    มีการขัดจังหวะเกิดขึ้นเยอะมากในโลกเพราะผู้จัดการพวกนี้
  • 9:15 - 9:17
    พวกเขาต้องคอยมาถามว่า "ว่าไง เป็นยังไงบ้าง?
  • 9:17 - 9:19
    ขอดูหน่อยว่าทำถึงไหนแล้ว" และอื่นๆ ทำนองนี้
  • 9:19 - 9:21
    พวกเขาชอบขัดคุณในจังหวะที่ผิด
  • 9:21 - 9:24
    พวกเขาก็จะมาขัดจังหวะเวลาที่คุณกำลังพยายามทำอะไรสักอย่าง
  • 9:24 - 9:26
    ที่พวกเขาจ้างคุณทำ
  • 9:26 - 9:28
    ค่อนข้างแย่นะครับ
  • 9:28 - 9:31
    แต่ที่แย่กว่านั้นอีกคือ สิ่งที่ผู้จัดการทำมาตลอด
  • 9:31 - 9:33
    นั่นคือ การเรียกประชุม
  • 9:33 - 9:35
    การประชุมเป็นของมีพิษ
  • 9:35 - 9:38
    ของที่แย่มากและปล่อยพิษ
  • 9:38 - 9:40
    ระหว่างวันทำงาน
  • 9:40 - 9:43
    เราทุกคนรู้ว่านี่คือเรื่องจริง
  • 9:43 - 9:45
    ไม่มีวันหรอกที่คุณจะเห็นพนักงานเรียกประชุมด่วน
  • 9:45 - 9:47
    พนักงานไม่ได้มีอำนาจนั้น
  • 9:47 - 9:49
    ผู้จัดการคือคนที่เรียก
  • 9:49 - 9:51
    เพื่อให้พนักงานมารวมตัวกัน
  • 9:51 - 9:53
    และสิ่งที่ขัดจังหวะคนที่ทำงานอยู่อย่างรุนแรง
  • 9:53 - 9:55
    คือการประกาศว่า "เอาล่ะ
  • 9:55 - 9:58
    เรียกคนมาให้ครบ 10 คน เพื่อประชุมกันเดี๋ยวนี้...
  • 9:58 - 10:00
    ผมไม่สนใจว่าพวกคุณกำลังทำอะไรอยู่
  • 10:00 - 10:03
    แต่คุณต้องหยุดสิ่งที่คุณกำลังทำ เราจะได้ประชุมหารือกัน"
  • 10:03 - 10:06
    มีแนวโน้มแค่ไหนครับว่าคน 10 คนนั้นพร้อมแล้วที่จะหยุด?
  • 10:06 - 10:08
    ถ้าหากพวกเขากำลังคิดเรื่องที่สำคัญจริงๆ อยู่ล่ะ?
  • 10:08 - 10:10
    หรือกำลังทำงานที่สำคัญอยู่ล่ะ?
  • 10:10 - 10:12
    อยู่ๆ คุณก็บอกพวกเขาว่าต้องหยุดทำทันที
  • 10:12 - 10:14
    เพื่อไปทำอย่างอื่น
  • 10:14 - 10:17
    ไปรวมตัวกันที่ห้องประชุม
  • 10:17 - 10:20
    คุยเรื่องอะไรก็ตาม ที่ไม่ค่อยสลักสำคัญเท่าไหร่
  • 10:20 - 10:22
    เพราะการประชุมไม่ใช่งานที่ทำอยู่
  • 10:22 - 10:25
    การประชุมคือการพูดคุยเรื่องที่คุณควรจะทำหลังจากนั้น
  • 10:25 - 10:27
    อีกทั้ง การประชุมมักจะเป็นต้นธาร
  • 10:27 - 10:29
    ของการประชุมอื่นๆ ที่จะตามมา
  • 10:29 - 10:31
    และมักจะก่อให้เกิดการประชุมต่อไปไม่รู้จบ
  • 10:31 - 10:33
    จำนวนคนที่มาร่วมประชุมมักจะมากเกินจำเป็น
  • 10:33 - 10:36
    และการประชุมก็มีค่าใช้จ่ายสูงมากสำหรับองค์กร
  • 10:36 - 10:39
    บริษัทต่างๆ มักจะคิดว่าการประชุมหนึ่งชั่วโมงก็คือการประชุมหนึ่งชั่วโมง
  • 10:39 - 10:42
    แต่ความจริงไม่ใช่ เว้นเสียแต่ว่ามีผู้เข้าร่วมประชุมเพียงคนเดียว
  • 10:42 - 10:45
    ถ้ามีคน 10 คนในที่ประชุม มันก็จะเป็นการประชุม 10 ชั่วโมง ไม่ใช่หนึ่งชั่วโมง
  • 10:45 - 10:48
    นั่นคือ 10 ชั่วโมงของผลิตภาพที่ถูกดึงออกไปจากองค์กร
  • 10:48 - 10:50
    เพื่อมาประชุมหนึ่งชั่วโมงนี่
  • 10:50 - 10:53
    ซึ่งน่าจะใช้คนสองสามคนก็พอ
  • 10:53 - 10:55
    คุยกันไม่กี่นาที
  • 10:55 - 10:57
    แต่ไม่ มันกลายเป็นการประชุมที่ต้องนัดหมาย
  • 10:57 - 11:00
    เพราะการนัดประชุมทำงานแบบเดียวกันกับซอฟต์แวร์
  • 11:00 - 11:03
    คือมีช่วงเวลา 15 นาที 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง
  • 11:03 - 11:05
    คุณไม่นัดประชุมยาว 8 ชั่วโมงในโปรแกรมเอาท์ลุค
  • 11:05 - 11:07
    คุณทำไม่ได้ ผมไม่รู้ว่ามันให้คุณทำหรือเปล่า
  • 11:07 - 11:10
    คุณนัดทีละ 15 นาที 30 นาที 45 นาที หรือ 1 ชั่วโมงได้
  • 11:10 - 11:12
    แล้วเราก็มักจะประชุมให้เต็มช่วงเวลาเหล่านั้น
  • 11:12 - 11:14
    ถึงแม้ว่าการสนทนาควรจะจบเร็วกว่าก็ตาม
  • 11:14 - 11:17
    คงเห็นแล้วนะครับว่าการประชุมกับผู้จัดการเป็นปัญหาใหญ่ในโลกธุรกิจทุกวันนี้
  • 11:17 - 11:19
    โดยเฉพาะในที่ทำงาน
  • 11:19 - 11:22
    นอกสำนักงานไม่มีสองอย่างนี้หรอกครับ
  • 11:22 - 11:24
    ผมก็เลยมีข้อเสนอบางประการ
  • 11:24 - 11:27
    ที่จะแก้ไขสถานการณ์นี้
  • 11:27 - 11:29
    สิ่งที่ผู้จัดการทำได้ --
  • 11:29 - 11:31
    หวังว่าจะเป็นผู้จัดการทีปราดเปรื่องหน่อย --
  • 11:31 - 11:34
    สิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อปรับที่ทำงานให้เป็นที่ที่พนักงานทำงานได้ดีขึ้น
  • 11:34 - 11:37
    ไม่ใช่เป็นที่สุดท้ายที่พนักงานเลือก แต่เป็นที่แรก
  • 11:37 - 11:39
    ทำอะไรได้บ้างเพื่อให้คนเริ่มพูดว่า
  • 11:39 - 11:41
    "เวลาที่ฉันอยากทำอะไรๆ ให้เสร็จ ฉันจะเข้าไปที่สำนักงาน"
  • 11:41 - 11:43
    เพราะที่ทำงานมีอุปกรณ์ครบครัน
  • 11:43 - 11:45
    ควรมีทุกอย่างให้พวกเขาทำงานได้
  • 11:45 - 11:48
    แต่ตอนนี้พวกเขาไม่อยากไปที่ทำงาน ฉะนั้นเราจะทำยังไงดี?
  • 11:48 - 11:50
    ผมมีข้อเสนอสามประการที่อยากแลกเปลี่ยนครับ
  • 11:50 - 11:53
    ผมมีเวลาเหลือประมาณ 3 นาที ก็น่าจะพอดี
  • 11:53 - 11:56
    เราทุกคนเคยได้ยินเรื่องวันศุกร์ชิลๆ คือให้คนแต่งตัวตามสบาย
  • 11:56 - 11:58
    ผมไม่รู้ว่ายังมีคนทำแบบนี้อยู่หรือเปล่า
  • 11:58 - 12:01
    ทำไมไม่ลอง "วันพฤหัสไม่พูด" ดูล่ะครับ
  • 12:01 - 12:03
    คือสมมติว่า
  • 12:03 - 12:05
    ลองเลือกวันพฤหัสขึ้นมาหนึ่งวัน แค่เดือนละวัน
  • 12:05 - 12:08
    ครึ่งวันก็ได้ สมมติว่าเอาแค่ช่วงบ่ายก็พอ -- ผมจะอธิบายง่ายๆ
  • 12:08 - 12:10
    แค่ช่วงบ่ายของวันพฤหัสหนึ่งวัน
  • 12:10 - 12:12
    บ่ายวันพฤหัสแรกของเดือน
  • 12:12 - 12:14
    ทุกคนในที่ทำงานต้องไม่คุยกัน
  • 12:14 - 12:16
    มีแต่ความเงียบเท่านั้น
  • 12:16 - 12:18
    สิ่งที่คุณจะพบก็คือ
  • 12:18 - 12:20
    พวกเขาจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล
  • 12:20 - 12:22
    เมื่อไม่มีใครคุยกัน
  • 12:22 - 12:24
    นี่คือเวลาที่ทำให้คนทำงานเสร็จจริงๆ
  • 12:24 - 12:26
    เวลาที่ไม่มีใครรบกวน ไม่มีใครมาขัดจังหวะ
  • 12:26 - 12:29
    และถ้าคุณให้สิ่งนี้ได้ -- ให้เวลา 4 ชั่วโมงติดกันที่ไม่มีการขัดจังหวะ
  • 12:29 - 12:31
    มันก็จะเป็นของขวัญที่ดีที่สุดที่คุณให้คนที่ทำงานได้
  • 12:31 - 12:33
    ดีกว่าให้คอมพิวเตอร์อีกครับ
  • 12:33 - 12:36
    ดีกว่าจอใหม่ ดีกว่าซอฟต์แวร์ตัวใหม่
  • 12:36 - 12:38
    หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ปกติคนใช้กัน
  • 12:38 - 12:40
    การให้เวลา 4 ชั่วโมงแห่งความเงียบสงบที่ทำงาน
  • 12:40 - 12:42
    เป็นสิ่งที่จะมีมูลค่าสูงอย่างเหลือเชื่อ
  • 12:42 - 12:44
    ถ้าคุณลองทำแบบนี้ดู ผมคิดว่าคุณจะเห็นด้วยกับผม
  • 12:44 - 12:46
    และบางที ถ้าคุณทำแบบนี้ได้บ่อยๆ
  • 12:46 - 12:48
    อาจจะเป็นทุกๆสองสัปดาห์
  • 12:48 - 12:50
    ทุกสัปดาห์ หรือสัปดาห์ละครั้ง
  • 12:50 - 12:52
    ให้เป็นช่วงบ่ายที่ไม่มีใครพูดกับใครเลย
  • 12:52 - 12:55
    คุณจะพบว่ามันใช้ได้ผลจริงๆ
  • 12:55 - 12:57
    อีกอย่างหนึ่งที่คุณสามารถลองได้
  • 12:57 - 12:59
    ก็คือเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสาร
  • 12:59 - 13:01
    จากการสื่อสารและประสานงานเชิงรุก
  • 13:01 - 13:03
    คือพวกที่ต้องมาเจอหน้ากัน
  • 13:03 - 13:06
    การสะกิดคน ทักทายคน นัดประชุม
  • 13:06 - 13:08
    ลองเปลี่ยนเรื่องพวกนี้มาเป็นการสื่อสารเชิงตั้งรับดู
  • 13:08 - 13:11
    นั่นคือการส่งอีเมลและเมสเสจ
  • 13:11 - 13:14
    หรือผลิตภัณฑ์ที่ให้ทำงานด้วยกัน ของแบบนี้
  • 13:14 - 13:17
    บางคนอาจบอกว่าอีเมลทำให้เสียสมาธิมากๆ
  • 13:17 - 13:19
    และเมสเสจแบบไอเอ็มก็รบกวนสมาธิ
  • 13:19 - 13:21
    โปรแกรมพวกนี้ทำให้เสียสมาธิสุดๆ
  • 13:21 - 13:24
    แต่อย่าลืมว่ามันจะขัดจังหวะได้ เฉพาะในเวลาที่คุณเลือกเอง
  • 13:24 - 13:27
    คุณปิดโปรแกรมอีเมลได้ แค่คุณปิดเจ้านายคุณไม่ได้
  • 13:27 - 13:29
    คุณออกจากไอเอ็มได้
  • 13:29 - 13:31
    คุณซ่อนสถานะผู้จัดการคุณไม่ได้
  • 13:31 - 13:33
    คุณออกจากของเหล่านี้ได้
  • 13:33 - 13:36
    เลือกเองได้ว่าจะโดนขัดจังหวะตอนไหนและเมื่อไหร่
  • 13:36 - 13:38
    เมื่อไหร่ที่คุณว่าง เมื่อไหร่ที่พร้อมทำงานใหม่
  • 13:38 - 13:41
    เพราะงานก็เหมือนกับการนอนหลับ คือมันเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ
  • 13:41 - 13:43
    ดังนั้นคุณจะมุ่งมั่นมีสมาธิกับงาน
  • 13:43 - 13:45
    แล้วก็ค่อยๆ ปล่อยผ่านอารมณ์นั้นไป
  • 13:45 - 13:47
    ณ จุดๆหนึ่ง คุณอาจจะอยากเช็คอีเมล หรือไอเอ็ม
  • 13:47 - 13:50
    มีไม่กี่เรื่องหรอกครับ ที่จะเร่งด่วนจริงๆ
  • 13:50 - 13:53
    ขนาดที่้ต้องจัดการทันทีหรือต้องตอบเมลในวินาทีนี้
  • 13:53 - 13:55
    ดังนั้นถ้าผู้จัดการของคุณ
  • 13:55 - 13:57
    เริ่มส่งเสริมให้หนักงานใช้ไอเอ็มหรืออีเมล
  • 13:57 - 13:59
    และสิ่งอื่นๆ ที่สามารถปิดกันเอง
  • 13:59 - 14:01
    พวกเขาก็จะแวะมาคุยกับคุณตามตารางของเขาได้
  • 14:01 - 14:04
    ข้อเสนอข้อสุดท้ายของผมคือ
  • 14:04 - 14:07
    ถ้าคุณกำลังจะต้องไปประชุม
  • 14:07 - 14:09
    ถ้าคุณมีอำนาจพอ
  • 14:09 - 14:12
    ก็ยกเลิกไปเถอะครับ ประชุมที่ว่านี่
  • 14:13 - 14:15
    วันนี้เป็นวันศุกร์ -- ปกติแล้ว บริษัทจะนัดประชุมในวันจันทร์
  • 14:15 - 14:17
    อย่ามีมันเลยครับ
  • 14:17 - 14:19
    ผมไม่ได้แนะให้เลื่อนมันไปเฉยๆ
  • 14:19 - 14:21
    ผมหมายความว่าให้ลบมันออกจากความจำของคุณ
  • 14:21 - 14:24
    แล้วคุณจะพบว่า ทุกอย่างยังดำเนินไปได้ด้วยดี
  • 14:24 - 14:26
    การหารือหรือการตัดสินใจทั้งหมดที่คุณคิดว่าต้องทำ
  • 14:26 - 14:28
    ณ เวลา 9.00 น. ของวันจันทร์
  • 14:28 - 14:30
    ลืมทั้งหมดนั้นไปเลยครับ และสิ่งต่างๆ จะยังโอเค
  • 14:30 - 14:33
    เพราะผู้คนจะมีช่วงเช้าที่เป็นอิสระกว่าเดิม คิดอะไรๆ ได้
  • 14:33 - 14:35
    และคุณจะพบว่าบางที ทุกอย่างที่คุณคิดว่าคุณต้องทำ
  • 14:35 - 14:37
    คุณไม่ได้ต้องทำจริงๆ หรอก
  • 14:37 - 14:39
    และทั้งหมดนั้นก็เป็นข้อเสนอสามข้อที่ผมอยากมอบให้กับทุกท่าน
  • 14:39 - 14:41
    ขอให้ลองเอาไปคิดดู
  • 14:41 - 14:43
    ผมหวังว่าความคิดบางอย่าง
  • 14:43 - 14:45
    จะมีอิทธิพลพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  • 14:45 - 14:47
    สำหรับผู้จัดการ เจ้านาย เจ้าของธุรกิจ
  • 14:47 - 14:50
    ออร์แกไนเซอร์ และคนที่มีหน้าที่บริหารจัดการบุคคล
  • 14:50 - 14:52
    คิดที่จะให้พวกเขาปล่อยวางบ้าง
  • 14:52 - 14:54
    ปล่อยให้คนอื่นมีเวลาที่จะทำงานให้เสร็จ
  • 14:54 - 14:56
    ผมคิดว่าทั้งหมดนี้จะคุ้มค่าในที่สุด
  • 14:56 - 14:58
    ขอบคุณที่รับฟังครับ
  • 14:58 - 15:00
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เจสัน ฟรายด์ : เหตุผลที่งานไม่ออกในที่ทำงาน
Speaker:
Jason Fried
Description:

เจสัน ฟรายด์ มีทฤษฎีสุดขั้วเกี่ยวกับการทำงาน - ที่ทำงานไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะสมสำหรัีบการทำงาน ใน TEDxMidwest เขาชี้ให้เห็นถึงปัญหาหลัก(ปัญหา เอ็มแอนด์เอ็ม) และสามข้อเสนอว่างานจะเป็นงานได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:00
Sarinee Achavanuntakul added a translation

Thai subtitles

Revisions