Return to Video

การผจญภัยของนักล่าดาวเคราะห์น้อย

  • 0:01 - 0:04
    ฉันกำลังถือสิ่งที่เก่ามาก ๆ อยู่ค่ะ
  • 0:04 - 0:07
    มันเก่ากว่าวัตถุใด ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น
  • 0:07 - 0:10
    เก่ากว่าชีวิตบนโลก
  • 0:10 - 0:13
    เก่ากว่าเหล่าทวีปและมหาสมุทรที่ล้อมรอบ
  • 0:14 - 0:17
    สิ่งนี้ก่อกำเนิดขึ้น
    มากกว่า 4 พันล้านปีที่แล้ว
  • 0:17 - 0:19
    ในยุคแรกสุดของระบบสุริยะ
  • 0:19 - 0:21
    ช่วงที่ดาวเคราะห์กำลังก่อตัวขึ้น
  • 0:21 - 0:24
    เหล็กผสมนิกเคิลก้อนนี้
    อาจจะไม่ได้ดูพิเศษอะไรนัก
  • 0:25 - 0:26
    แต่ถ้าหากเราผ่ามันออกมาดู
  • 0:28 - 0:31
    คุณจะเห็นว่ามันมีโลหะที่ต่างจากของโลกเรา
  • 0:31 - 0:35
    ลวดลายนี้เผยให้เห็นผลึกโลหะ
    ที่ก่อตัวขึ้นได้จากในอวกาศเท่านั้น
  • 0:35 - 0:38
    ที่ซึ่งโลหะหลอมเหลวสามารถเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ
  • 0:38 - 0:40
    เพียงไม่กี่องศาทุกหลายล้านปี
  • 0:41 - 0:43
    สิ่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่ง
    ของวัตถุที่ใหญ่กว่านี้มาก
  • 0:43 - 0:46
    หนึ่งในเศษซากนับล้าน ๆ ส่วน
    หลังจากดาวเคราะห์ก่อตัว
  • 0:46 - 0:48
    เราเรียกพวกวัตถุพวกนี้ว่าดาวเคราะห์น้อย
  • 0:49 - 0:53
    ดาวเคราะห์น้อยเป็นเพื่อนร่วมจักรวาล
    ที่เก่าแก่และมีอยู่มากมาย
  • 0:53 - 0:56
    กราฟฟิคนี้แสดงให้เห็นถึง
    ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกที่โคจรรอบดวงอาทิตย์
  • 0:56 - 0:57
    ซึ่งคือวงกลมสีเหลือง
  • 0:57 - 0:59
    กวัดแกว่งใกล้ ๆ กับวงโคจรของโลก
  • 0:59 - 1:00
    ซึ่งคือวงแหวนสีฟ้า
  • 1:01 - 1:04
    โดยขนาดของโลก ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์น้อย
    ถูกทำให้ใหญ่เกินจริง
  • 1:04 - 1:05
    เพื่อจะได้เห็นอย่างชัดเจน
  • 1:05 - 1:09
    ทีมนักวิทยาศาสตร์รอบโลกกำลังค้นหาวัตถุเหล่านี้
  • 1:09 - 1:11
    เป็นการค้นพบดวงใหม่ ๆ ทุกวัน
  • 1:11 - 1:13
    เป็นการสร้างแผนที่รอบโลกขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • 1:13 - 1:15
    ผลงานส่วนใหญ่ได้รับเงินทุนจาก NASA
  • 1:16 - 1:20
    ดิฉันคิดว่าการค้นหาดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้
    เปรียบดั่งโครงการสาธารณะขนาดใหญ่
  • 1:20 - 1:23
    แต่แทนที่จะสร้างทางหลวง
    พวกเรากำลังทำแผนที่อวกาศ
  • 1:23 - 1:26
    สร้างคลังข้อมูลที่จะคงทนหลายชั่วอายุคน
  • 1:26 - 1:32
    นี่คือดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก 1,556 ดวง
    ที่ถูกค้นพบเฉพาะในปีที่แล้ว
  • 1:34 - 1:37
    และพวกนี้ทั้งหมดคือดาวเคราะห์น้อยรอบโลก
  • 1:37 - 1:41
    ซึ่งจำนวนล่าสุดนั้นอยู่ที่ 13,733 ดวง
  • 1:41 - 1:44
    แต่ละดวงถูกถ่ายภาพและจัดเรียงประเภท
  • 1:44 - 1:46
    และแต่ละดวงก็มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์
    ของตัวมันเอง
  • 1:46 - 1:48
    ถึงแม้แต่ละดวงจะมีความแตกต่างกัน
  • 1:48 - 1:51
    แต่วงโคจรของพวกมันสามารถถูกทำนายล่วงหน้า
    ได้หลายสิบปี
  • 1:51 - 1:55
    และวงโคจรของบางดวงก็สามารถทำนายล่วงหน้า
    ด้วยความแม่นยำสูงมาก
  • 1:55 - 1:58
    ตัวอย่างเช่นนักวิทยาศาตร์
    จากศูนย์วิจัยเครื่องยนตร์ไอพ่น
  • 1:58 - 2:02
    คาดคะเนตำแหน่งดาวเคราะห์น้อยทูทาทิส
    ได้ล่วงหน้าถึง 4 ปี
  • 2:02 - 2:04
    โดยคลาดเคลื่อนไปแค่ 30 กิโลเมตร
  • 2:04 - 2:05
    ในระยะเวลา 4 ปี่ที่ผ่านมา
  • 2:05 - 2:09
    ทูทาทิสได้เดินทางเป็นระยะทาง
    8.5 พันล้านกิโลเมตร
  • 2:09 - 2:11
    คาดเคลื่อนกันระดับทศนิยมเลยค่ะ
  • 2:11 - 2:20
    เคลื่อนไปประมาณ 0.000000004
  • 2:20 - 2:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:22 - 2:25
    เหตุผลที่ดิฉันมีเศษดาวเคราะห์น้อย
    อันสวยงามนี้
  • 2:25 - 2:27
    ก็เพราะว่า เหมือนกับเพื่อนบ้านที่เจอกัน
  • 2:27 - 2:29
    บางครั้งดาวเคราะห์น้อยก็แวะมา
    อย่างไม่บอกล่วงหน้า
  • 2:29 - 2:31
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:33 - 2:34
    วันนี้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว
  • 2:34 - 2:38
    ดาวเคราะห์น้อยดวงเล็กระเบิด
    เหนือเมืองเชลยาบินสก์ ในประเทศรัสเซีย
  • 2:38 - 2:40
    โดยเทหวัตถุนี้มีความกว้าง 19 เมตร
  • 2:40 - 2:42
    พอ ๆ กับขนาดร้านสะดวกซื้อ
  • 2:43 - 2:46
    เทหวัตถุขนาดนี้จะชนเข้ากับโลก
    ทุก ๆ 50 ปี หรือประมาณนั้น
  • 2:48 - 2:50
    66 ล้านปีที่แล้ว
  • 2:50 - 2:52
    เทหวัตถุขนาดใหญ่กว่านี้มาก
    ได้พุ่งชนโลก
  • 2:52 - 2:53
    ทำให้เกิดการสูญพันธ์ครั้งใหญ่
  • 2:53 - 2:57
    พืชและสัตว์ร้อยละ 75 ได้หายไป
  • 2:57 - 2:59
    ช่างน่าเศร้า เพราะรวมถึงเหล่าไดโนเสาร์ด้วย
  • 2:59 - 3:02
    เทหวัตถุในครั้งนั้นกว้างสัก 10 กิโลเมตร
  • 3:02 - 3:06
    และ 10 กิโลเมตรก็เทียบได้กับระดับการบิน
    เครื่อง 747
  • 3:06 - 3:08
    ครั้งหน้าหากคุณอยู่บนเครื่องบิน
  • 3:08 - 3:12
    ลองนั่งติดขอบหน้าต่างแล้วมองลงไป
    พร้อมจินตนาการว่ามีก้อนหินใหญ่มโหฬาร
  • 3:12 - 3:14
    ตั้งตระหง่านจากพื้นดิน
  • 3:14 - 3:16
    จนขึ้นมาถึงขอบปีกเครื่องบินของคุณ
  • 3:17 - 3:21
    และมันก็กว้างเสียจนต้องใช้เวลานาทีกว่า
    ถึงจะบินผ่านมันไปได้
  • 3:21 - 3:24
    นั้นล่ะค่ะ ขนาดดาวเคราะห์น้อยที่โหม่งโลก
  • 3:25 - 3:26
    มันเป็นครั้งหนึ่งในชีวิตของฉัน
  • 3:26 - 3:30
    ที่ดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้
    ถูกถือว่าเป็นภัยต่อโลกของเรา
  • 3:30 - 3:32
    และตั้งแต่นั้นมาก็มีความพยายาม
  • 3:32 - 3:34
    ในการสำรวจดาวเคราะห์น้อย
    และจัดเรียงประเภท
  • 3:35 - 3:37
    และฉันก็โชคดีพอในการเป็นส่วนหนึ่ง
    ของความพยายามครั้งนี้
  • 3:37 - 3:41
    ในการได้เป็นส่วนหนึ่งของทิมนักวิทยาศาสตร์ที่ได้
    ใช้กล้องส่องทางไกล NEOWISE ของ NASA
  • 3:41 - 3:44
    ปัจจุบัน NEOWISE เองไม่ได้ถูกออกแบบมา
    เพื่อค้นหาดาวเคราะห์น้อย
  • 3:44 - 3:48
    มันถูกออกแบบสำหรับโคจรรอบโลก
    และส่องสำรวจไกลออกไปจากระบบสุริยะ
  • 3:48 - 3:51
    เพื่อที่จะค้นหาดาวที่เย็นเฉียบที่สุด
    และกาแล็กซี่ที่สว่างที่สุด
  • 3:51 - 3:55
    และมันก็ทำหน้าที่ได้อย่างดี
    เต็มอายุการใช้งาน 7 เดือนของมัน
  • 3:56 - 3:59
    แต่ตอนนี้ หกปีต่อมา มันก็ยังคงทำงานอยู่
  • 3:59 - 4:02
    เราจึงเปลี่ยนจุดประสงค์เป็นการสำรวจ
    และศึกษาดาวเคราะห์น้อย
  • 4:02 - 4:04
    และแม้ว่ามันจะเป็นหุ่นยนต์อวกาศตัวน้อย
  • 4:04 - 4:05
    แต่ทุกวันนี้มันเหมือนรถมือสองซะมากกว่า
  • 4:05 - 4:07
    สารหล่อเย็นที่ใช้หล่อเย็นเซนเซอร์ของมัน
    ก็หมดไปนานแล้ว
  • 4:07 - 4:10
    เราก็เลยอำกันว่าระบบแอร์มันเสีย
  • 4:10 - 4:12
    มันโคจรมาแล้วกว่า 920 ล้านไมล์
  • 4:12 - 4:17
    แต่ก็ยังทำงานได้ดีเยี่ยม
  • 4:17 - 4:18
    มันสามารถถ่ายรูปท้องฟ้า
    ในทุก ๆ 11 วินาที
  • 4:18 - 4:22
    และได้ถ่ายไปแล้ว 23 รูป
    นับตั้งแต่ฉันเริ่มพูดเรื่องนี้
  • 4:22 - 4:25
    หนึ่งในหลายเหตุผลที่ NEOWISE ล้ำค่ามากๆ
  • 4:26 - 4:28
    คือการที่มันส่องท้องฟ้า
    ในรูปแบบอินฟาเรดส่องความร้อน
  • 4:28 - 4:31
    นั้นแปลว่าแทนที่จะตรวจจับดาวเคราะห์น้อย
    ด้วยแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์
  • 4:31 - 4:34
    NEOWISE ตรวจจับความร้อนที่แผ่ออกมา
  • 4:34 - 4:36
    นี่เป็นความสามารถที่สำคัญเพราะ
    ดาวเคราะห์น้อยบางดวงก็ดำเหมือนถ่าน
  • 4:36 - 4:40
    จึงเป็นเรื่องยากหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้
    ในการตรวจพบมันด้วยกล้องส่องทางไกล
  • 4:40 - 4:43
    แต่สำหรับ NEOWISE ไม่ว่าจะมืดหรือสว่าง
    แค่ไหนก็สามารถตรวจจับได้
  • 4:43 - 4:46
    นักดาราศาสตร์กำลังใช้ทุกเทคนิคที่มี
  • 4:49 - 4:52
    ในการสำรวจและศึกษาเหล่าดาวเคราะห์น้อย
  • 4:52 - 4:54
    และในปี 2010 ก็ถือเป็นการบรรลุความก้าวหน้า
  • 4:54 - 4:57
    ชุมชนพวกเราได้ค้นพบ 90 เปอร์เซนต์
    ของดาวเคราะห์น้อย
  • 4:57 - 5:01
    ที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 กิโลเมตร
  • 5:01 - 5:03
    ซึ่งสามารถสร้างความเสียหาย
    อย่างหนักแก่โลก
  • 5:03 - 5:06
    แต่งานของพวกเรายังไม่เสร็จสมบูรณ์
  • 5:06 - 5:07
    เทหวัตถุขนาด 140 เมตรหรือมากกว่านี้
    ก็พอที่จะทำลายประเทศระดับกลางทั้งประเทศได้
  • 5:08 - 5:12
    ณ ตอนนี้ เราค้นพบแค่ร้อยละ 25 ของพวกมัน
  • 5:12 - 5:16
    เราจึงต้องเฝ้าค้นหาดาวเคราะห์น้อย
    ที่โคจรใกล้โลกต่อไป
  • 5:16 - 5:20
    เราเป็นเผ่าพันธ์เดียวที่เข้าใจแคลคูลัส
  • 5:20 - 5:22
    หรือสร้างกล้องส่องทางไกล
  • 5:22 - 5:24
    และเรารู้ว่าจะหาดาวพวกนี้อย่างไร
  • 5:24 - 5:26
    นี่จึงเป็นความรับผิดชอบของพวกเรา
  • 5:26 - 5:28
    หากเราตรวจพบดาวเคราะห์น้อยที่เป็นภัย
    ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
  • 5:28 - 5:32
    เราก็จะสามารถปัดมันจากวงโคจรโลกได้
  • 5:32 - 5:34
    ไม่เหมือนกับแผ่นดินไหว พายุเฮอริเคน
    หรือการปะทุของภูเขาไฟ
  • 5:34 - 5:37
    การพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อย
    สามารถคาดคะเนได้อย่างแม่นยำ
  • 5:37 - 5:40
    และป้องกันอย่างทันท่วงทีได้
  • 5:40 - 5:41
    สิ่งที่เราต้องทำตอนนี้คือ
    การทำแผนที่อวกาศรอบโลกเรา
  • 5:41 - 5:44
    เราต้องมุ่งสำรวจท้องฟ้าต่อไป
  • 5:44 - 5:46
    ขอบคุณค่ะ
  • 5:46 - 5:48
    (เสียงปรบมือ)
Title:
การผจญภัยของนักล่าดาวเคราะห์น้อย
Speaker:
แคร์รี่ นูเจนท์
Description:

แคร์รี่ นูเจนท์นั้นเป็นนักล่าดาวเคราะห์น้อย เธอเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนักวทิยาศาสตร์ที่ทำงานสำรวจค้นพบและจัดเรียงประเภทเพื่อนบ้านที่เก่าแก่และมีมากที่สุดในอวกาศ ทำไมกันถึงต้องจับตามองพวกดาวเคราะห์น้อยกันนะ? ในทอล์คที่อัดแน่นด้วยข้อมูลและแสนสั้นนี้ นูเจนท์จะมาอธิบายถึงผลพลอยได้จากการสำรวจที่จะช่วยปกป้องโลกและสิ่งมีชีวิตบนโลกของเรา

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:09
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for Adventures of an asteroid hunter
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Adventures of an asteroid hunter
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for Adventures of an asteroid hunter
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Adventures of an asteroid hunter
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Adventures of an asteroid hunter
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Adventures of an asteroid hunter
Theeraparp Riambuppha edited Thai subtitles for Adventures of an asteroid hunter
Theeraparp Riambuppha edited Thai subtitles for Adventures of an asteroid hunter
Show all

Thai subtitles

Revisions