Return to Video

ทุกสิ่งที่คุณได้ยินในภาพยนตร์คือเรื่องโกหก

  • 0:01 - 0:03
    ผมอยากจะเริ่มต้นด้วยการทำการทดลองอันหนึ่ง
  • 0:05 - 0:08
    ผมจะเล่นวิดีโอของวันฝนตกสามอัน
  • 0:09 - 0:13
    แต่ผมได้ทำการแทนเสียงหนึ่งในวิดีโอนั้น
  • 0:13 - 0:15
    โดยแทนที่จะใช้เสียงของฝนจริง ๆ
  • 0:15 - 0:18
    ผมได้ใส่เสียงทอดเบคอนลงไปแทน
  • 0:19 - 0:23
    ดังนั้นผมอยากให้คุณคิดดี ๆ ว่า
    ในคลิปไหนกันแน่ที่เป็นเสียงเบคอน
  • 0:24 - 0:26
    (เสียงฝนตก)
  • 0:27 - 0:29
    (เสียงฝนตก)
  • 0:32 - 0:34
    (เสียงฝนตก)
  • 0:41 - 0:42
    โอเคครับ
  • 0:43 - 0:46
    จริง ๆ แล้ว ผมโกหก
  • 0:46 - 0:47
    เสียงทั้งหมดคือเสียงเบคอน
  • 0:47 - 0:49
    (เสียงทอดเบคอน)
  • 0:52 - 0:54
    (เสียงปรบมือ)
  • 0:57 - 1:00
    ที่ผมทำแบบนี้นั้น ไม่ใช่เพราะผม
    อยากทำให้คุณหิว
  • 1:01 - 1:02
    ทุกครั้งที่คุณเห็นฉากฝนตก
  • 1:02 - 1:08
    แต่เพื่อแสดงให้คุณเห็นว่าสมองของเรานั้น
    ถูกตั้งค่ามาให้เปิดรับหลอกลวง
  • 1:09 - 1:11
    เราไม่ได้กำลังมองหาความถูกต้องแม่นยำ
  • 1:12 - 1:15
    ดังนั้นในเรื่องของการตบตา
  • 1:15 - 1:18
    ผมอยากจะขออ้างคำพูดของ
    หนึ่งในนักเขียนที่ผมชื่นชอบคนหนึ่ง
  • 1:18 - 1:25
    ในหนังสือเรื่อง "ความเสื่อมถอยของการ
    หลอกลวง" ออสการ์ ไวลด์ ได้เสนอความคิดขึ้น
  • 1:25 - 1:31
    ว่าศิลปะที่ไม่ดีทั้งหมดนั้นมาจาก
    การเลียนแบบธรรมชาติและการอยู่กับความจริง
  • 1:31 - 1:36
    และศิลปะที่ยอดเยี่ยมทั้งหมดนั้นมาจาก
    การโกหกหลอกลวงและการตบตา
  • 1:37 - 1:40
    และสื่อถึงสิ่งที่สวยงาม ที่ไม่มีอยู่จริง
  • 1:40 - 1:44
    ดังนั้น เมื่อคุณกำลังดูหนังอยู่
  • 1:45 - 1:46
    แล้วโทรศัพท์ดัง
  • 1:46 - 1:48
    จริง ๆ แล้วมันไม่ได้ดังจริง ๆ
  • 1:49 - 1:53
    มันถูกใส่เข้ามาทีหลังใน
    ขั้นตอนหลังการผลิตงานในสตูดิโอ
  • 1:53 - 1:56
    เสียงทั้งหมดที่คุณได้ยินคือของปลอม
  • 1:56 - 1:58
    ทุก ๆ สิ่ง นอกเหนือไปจากบทพูด
  • 1:58 - 1:59
    ไม่ใช่ของจริง
  • 1:59 - 2:03
    เมื่อคุณดูหนังสักเรื่อง
    แล้วคุณเห็นนกกระพือปีก
  • 2:03 - 2:05
    (เสียงนกกระพือปีก)
  • 2:06 - 2:08
    พวกเขาไม่ได้อัดเสียงนกจริง ๆ
  • 2:08 - 2:13
    มันฟังดูเหมือนจริงมากกว่า
    ถ้าคุณอัดเสียงแผ่นกระดาษ
  • 2:13 - 2:15
    หรือเขย่าถุงมือที่ใช้ในครัว
  • 2:15 - 2:17
    (เสียงนกกระพือปีก)
  • 2:19 - 2:22
    เสียงของมวนบุหรี่ที่ไหม้อยู่ในระยะใกล้นั้น
  • 2:22 - 2:24
    (เสียงมวนบุหรี่ไหม้)
  • 2:25 - 2:28
    มันจะฟังเหมือนจริงกว่ามาก
  • 2:28 - 2:31
    ถ้าคุณบีบลูกบอลที่ห่อด้วยกระดาษแก้ว
  • 2:31 - 2:32
    แล้วปล่อยมือออก
  • 2:32 - 2:35
    (เสียงลูกบอลถูกปล่อยมือ)
  • 2:36 - 2:37
    ต่อยงั้นหรอ?
  • 2:37 - 2:39
    (เสียงต่อย)
  • 2:39 - 2:41
    อุ๊ปส์ เดี๋ยวขอผมเล่นอีกครั้งหนึ่ง
  • 2:41 - 2:42
    (เสียงต่อย)
  • 2:43 - 2:46
    เสียงนี้มักจะทำขึ้นโดยการปักมีดเข้าไปในผัก
  • 2:46 - 2:48
    และมักจะเป็นกะหล่ำปลี
  • 2:49 - 2:50
    (เสียงมีดปักกะหล่ำปลี)
  • 2:51 - 2:54
    อันต่อไป คือเสียงหักกระดูก
  • 2:54 - 2:56
    (กระดูกหัก)
  • 2:57 - 2:59
    จริง ๆ แล้ว ไม่มีใครถูกทำอันตราย
  • 2:59 - 3:00
    มันเป็นเพียงแค่
  • 3:01 - 3:04
    การหักผักขึ้นช่าย หรือไม่ก็ผักกะหล่ำแช่แข็ง
  • 3:04 - 3:06
    (เสียงหักกะหล่ำแช่แข็งหรือผักขึ้นช่าย)
  • 3:07 - 3:08
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:09 - 3:14
    การสร้างเสียงที่ตรงนั้น
    ไม่ได้ง่ายเหมือนกับ
  • 3:14 - 3:16
    การเดินไปห้างสรรพสินค้า
  • 3:16 - 3:19
    แล้วไปยังแผนกผักผลไม้
  • 3:19 - 3:21
    แต่มันมักจะซับซ้อนมากกว่านั้นมาก
  • 3:21 - 3:24
    ดังนั้น เรามาแยกองค์ประกอบ
  • 3:24 - 3:26
    ของการสร้างซาวด์เอฟเฟกต์กัน
  • 3:26 - 3:30
    หนึ่งในเรื่องที่ผมชอบคือเรื่องของ
    แฟรงค์ เซราฟีนี
  • 3:30 - 3:32
    เขาเป็นผู้ที่มีคุณูปการ
    คนหนึ่งต่อคลังเสียงของเรา
  • 3:32 - 3:35
    และเป็นนักออกแบบเสียงที่ยอดเยี่ยมให้กับ
    ภาพยนตร์เรื่อง Tron, Star Trek และอื่น ๆ
  • 3:36 - 3:42
    เขาเป็นส่วนหนึ่งของทีมบริษัทพาราเมาต์ที่
    ได้รับรางวัลออสการ์สาขาลำดับเสียงยอดเยี่ยม
  • 3:42 - 3:44
    สำหรับเรื่อง
    "ล่าตุลาแดง (The Hunt for Red October)"
  • 3:44 - 3:47
    ในหนังคลาสสิคเกี่ยวกับสงครามเย็นนี้
    ในทศวรรษที่ 90
  • 3:47 - 3:52
    พวกเขาได้รับคำสั่งให้สร้างเสียง
    ของใบพัดเรือดำน้ำ
  • 3:52 - 3:53
    แต่พวกเขาก็มีปัญหาเล็ก ๆ อยู่อย่างหนึ่ง
  • 3:53 - 3:57
    ก็คือพวกเขาไม่สามารถหาเรือดำน้ำได้
    ในเวสต์ฮอลลีวูด
  • 3:57 - 4:00
    ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้ว
    สิ่งที่พวกเขาทำก็คือ
  • 4:00 - 4:04
    พวกเขาไปที่สระว่ายน้ำของเพื่อนคนหนึ่ง
  • 4:04 - 4:08
    แล้วแฟรงค์ก็กระโดดลงสระ
    ด้วยท่างอเข่าหรือบอมบา
  • 4:09 - 4:11
    พวกเขาติดตั้งไมค์ไว้ใต้น้ำ
  • 4:11 - 4:14
    และไมค์เหนือหัวด้านบนนอกสระว่ายน้ำ
  • 4:14 - 4:17
    และนี่ก็คือเสียงที่ได้จากไมค์ใต้น้ำ
  • 4:17 - 4:19
    (เสียงใต้น้ำ)
  • 4:20 - 4:21
    และเมื่อเพิ่มเสียงไมค์ด้านบนเข้าไป
  • 4:21 - 4:23
    ก็จะได้เป็นเสียงแบบนี้
  • 4:23 - 4:25
    (เสียงน้ำกระเด็น)
  • 4:26 - 4:30
    แล้วทีนี้ พวกเขาก็นำเสียงนั้นมา
    แล้วลดระดับเสียงของมันไปหนึ่งระดับ
  • 4:30 - 4:32
    คล้าย ๆ กับการลดความเร็วของเพลงลง
  • 4:33 - 4:35
    (เสียงน้ำกระเด็นที่ระดับเสียงลดลง)
  • 4:36 - 4:39
    จากนั้นพวกเขาก็เอาคลื่นความถี่สูงออก
    หลาย ๆ ความถี่
  • 4:39 - 4:41
    (เสียงน้ำกระเด็น)
  • 4:41 - 4:43
    แล้วก็ลดระดับเสียงลงไปอีกหนึ่งระดับ
  • 4:44 - 4:47
    (เสียงน้ำกระเด็นที่ระดับเสียงลดลง)
  • 4:47 - 4:49
    จากนั้นพวกเขาก็เพิ่ม
    เสียงน้ำกระเด็นเข้าไปอีกนิดหน่อย
  • 4:49 - 4:51
    จากไมโครโฟนด้านบน
  • 4:51 - 4:55
    (เสียงน้ำกระเด็น)
  • 4:55 - 4:57
    และจากการทำวน ๆ แบบนี้กับเสียงไปเรื่อย ๆ
  • 4:57 - 4:58
    พวกเขาก็ได้สิ่งนี้
  • 4:58 - 5:01
    (เสียงใบพัดเรือดำน้ำหมุน)
  • 5:04 - 5:11
    ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโยลีนั้นถูก
    เชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อลวงให้เราคิด
  • 5:11 - 5:14
    ว่าเราอยู่ในเรือดำน้ำ
  • 5:15 - 5:18
    แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณ
    สร้างเสียงของคุณขึ้นมา
  • 5:18 - 5:21
    แล้วคุณนำไปรวมเข้ากับรูปภาพ
  • 5:21 - 5:25
    คุณก็จะอยากให้เสียงเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่ง
    ของโลกแห่งเรื่องราวนั้น ๆ
  • 5:25 - 5:29
    และหนึ่งในทางที่ดีที่สุดก็คือ
    การเพิ่มเสียงก้องเข้าไป
  • 5:30 - 5:33
    ดังนั้น นี่จึงเป็นอุปกรณ์เสียงชิ้นแรก
    ที่ผมอยากจะพูดถึง
  • 5:33 - 5:38
    เสียงสะท้อนกลับ หรือเสียงก้อง
    คือการคงอยู่ของเสียง
  • 5:38 - 5:40
    หลังจากที่เสียงต้นนั้นหายไป
  • 5:40 - 5:43
    ดังนั้นมันก็คล้าย ๆ กับ
  • 5:43 - 5:46
    การสะท้อนทั้งหมดที่เกิดจากวัสดุ
  • 5:46 - 5:49
    วัตถุ และกำแพงรอบ ๆ เสียงนั้น
  • 5:49 - 5:51
    ยกตัวอย่างเช่น เสียงยิงปืน
  • 5:51 - 5:54
    เสียงต้นของมันนั้นอยู่ไม่ถึงครึ่งวินาที
  • 5:56 - 5:57
    (เสียงยิงปืน)
  • 5:58 - 5:59
    เมื่อเพิ่มเสียงก้องเข้าไปนั้น
  • 5:59 - 6:03
    เราสามารถทำให้มันมีเสียงราวกับว่า
    เสียงนั้นถูกอัดในห้องน้ำ
  • 6:03 - 6:05
    (เสียงปืนก้องในห้องน้ำ)
  • 6:05 - 6:09
    หรือเหมือนกับว่าเสียงนั้นถูกอัดใน
    ห้องสวดมนต์หรือโบสถ์
  • 6:09 - 6:10
    (เสียงปินก้องในโบสถ์)
  • 6:11 - 6:13
    หรือในหุบเขาลึก
  • 6:14 - 6:16
    (เสียงปืนก้องในหุบเขาลึก)
  • 6:16 - 6:19
    ดังนั้น เสียงก้องนั้นให้ข้อมูลมากมายกับเรา
  • 6:19 - 6:24
    เกี่ยวกับพื้นที่ระหว่างผู้ฟัง
    และแหล่งกำเนิดเสียงดั้งเดิม
  • 6:24 - 6:26
    ถ้าเปรียบเทียบเสียงเป็นรสชาติ
  • 6:26 - 6:30
    เสียงสะท้อนก็เหมือนกับกลิ่นของเสียงนั่นเอง
  • 6:30 - 6:32
    แต่เสียงสะท้อนทำอะไรได้มากกว่านั้นมาก
  • 6:32 - 6:36
    การได้ยินเสียงที่มีการสะท้อนน้อยกว่า
  • 6:36 - 6:39
    สิ่งที่เกิดขึ้นในฉากนั้น
  • 6:39 - 6:42
    จะเป็นการบอกเราทันที
  • 6:42 - 6:44
    ว่าเรากำลังฟังเสียงผู้บรรยายอยู่
  • 6:44 - 6:49
    ผู้บรรยายที่ไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์
    ที่เกิดขึ้นในฉาก
  • 6:50 - 6:55
    เช่นเดียวกัน ในช่วงเวลาของความใกล้ชิด
    ผูกพันธ์ทางอารมณ์ในโรงภาพยนตร์นั้น
  • 6:55 - 6:57
    มักจะไม่มีเสียงสะท้อนเลย
  • 6:57 - 7:01
    เพราะว่ามันจะให้ความรู้สึกเหมือนกับ
    ว่ามีใครสักคนพูดใส่หูของเราโดยตรง
  • 7:01 - 7:03
    ในทางตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง
  • 7:03 - 7:06
    การเพิ่มเสียงสะท้อนไปที่เสียงพูดมาก ๆ
  • 7:06 - 7:09
    จะทำให้เราคิดว่าเรากำลังฟังเหตุการณ์
    ที่เกิดขึ้นในอดีต
  • 7:10 - 7:13
    หรืออาจเหมือนกับว่าเรานั้นอยู่ในหัวของ
    ตัวละครสักตัวหนึ่ง
  • 7:14 - 7:16
    หรือการที่เรากำลังฟังเสียงของพระเจ้า
  • 7:16 - 7:19
    หรือ ฟังสิ่งที่ทรงพลังมากกว่าในภาพยนตร์
  • 7:19 - 7:20
    มอร์แกน ฟรีแมน
  • 7:20 - 7:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:22 - 7:23
    ดังนั้น
  • 7:23 - 7:25
    (เสียงปรบมือ)
  • 7:26 - 7:29
    ว่าแต่ว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่น ๆ
  • 7:29 - 7:31
    ที่นักออกแบบเสียงใช้กันคืออะไรล่ะ
  • 7:32 - 7:34
    จริง ๆ แล้ว สิ่งนี้สำคัญมากเลยทีเดียว
  • 7:40 - 7:41
    คือความเงียบนั่นเอง
  • 7:42 - 7:45
    เพียงแค่ความเงียบไม่กี่ชั่วขณะ
    ก็สามารถทำให้เราเพ่งความสนใจได้
  • 7:46 - 7:48
    และในโลกตะวันตก
  • 7:48 - 7:50
    เราไม่ค่อยคุ้นชินกับความเงียบเวลาพูดมากนัก
  • 7:50 - 7:54
    เพราะมันถูกมองว่าทำให้อึดอัดและไม่สุภาพ
  • 7:55 - 7:58
    ดังนั้นความเงียบที่มาก่อน
    การสื่อสารด้วยการพูดนั้น
  • 7:59 - 8:01
    สามารถก่อให้เกิดความตึงเครียดได้มากมาย
  • 8:01 - 8:05
    แต่คุณลองจินตนาการถึงภาพยนตร์ฮอลลีวูด
    ใหญ่ ๆ สักเรื่องหนึ่งดูสิ
  • 8:05 - 8:09
    เรื่องที่เต็มไปด้วยเสียงระเบิด
    และเสียงปืนกล
  • 8:10 - 8:14
    เสียงดังนั้นกลายเป็นเสียงที่ไม่ดังอีกต่อไป
    เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง
  • 8:14 - 8:16
    ดังนั้น ตามรูปแบบของหยินและหยาง
  • 8:16 - 8:19
    ความเงียบนั้นต้องการความดัง
    และความดังก็ต้องการความเงียบเช่นกัน
  • 8:19 - 8:22
    เพื่อให้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดผลขึ้นมา
  • 8:22 - 8:24
    แต่ความเงียบหมายถึงอะไรล่ะ
  • 8:24 - 8:27
    จริง ๆ แล้ว มันขึ้นกับว่ามันถูกใช้อย่างไร
    ในหนังแต่ละเรื่อง
  • 8:27 - 8:31
    ความเงียบอาจนำเราเข้าไปในหัวของตัวละคร
  • 8:31 - 8:32
    หรือกระตุ้นให้เกิดความคิด
  • 8:32 - 8:35
    เรามักเชื่อมโยงความเงียบเข้ากับ
  • 8:37 - 8:38
    การไตร่ตรอง
  • 8:39 - 8:40
    การเพ่งสมาธิ
  • 8:41 - 8:43
    การครุ่นคิด
  • 8:45 - 8:48
    แต่นอกจากจะมีเพียงแค่หนึ่งความหมาย
  • 8:48 - 8:50
    ความเงียบนั้นกลับกลายเป็นเหมือนผ้าใบว่าง ๆ
  • 8:50 - 8:54
    ที่ผู้ชมนั้นต่างได้รับการเชิญชวน
    ให้มาวาดลวดลายและระบายความคิดของพวกเขาเอง
  • 8:55 - 8:59
    แต่ผมต้องบอกให้ชัดเจนก่อนว่า
    จริง ๆ แล้วความเงียบนั้นไม่มีอยู่จริง
  • 8:59 - 9:04
    และผมรู้ว่ามันฟังดูเหมือนแถลงการณ์
    TED Talk ที่อวดฉลาดมากที่สุด
  • 9:05 - 9:10
    แต่ถึงแม้ว่าคุณจะเข้าไปในห้อง
    ที่ไม่มีเสียงสะท้อนเลย
  • 9:10 - 9:12
    รวมถึงไม่มีเสียงจากภายนอกเข้ามา
  • 9:12 - 9:15
    คุณก็จะยังคงได้ยิน
    เสียงเลือดของคุณสูบฉีดอยู่ดี
  • 9:16 - 9:20
    และในโรงภาพยนตร์ ในยุคก่อนนั้น
    ไม่เคยมีช่วงเวลาใดที่เงียบ
  • 9:20 - 9:22
    เพราะว่ามีเสียงของเครื่องฉายโปรเจคเตอร์
  • 9:23 - 9:25
    และถึงแม้จะเป็นโลกดอลบีทุกวันนี้
  • 9:26 - 9:29
    ก็ไม่เคยมีช่วงเวลาไหนที่เงียบอย่างแท้จริง
    ถ้าคุณลองฟังไปรอบ ๆ ตัวคุณ
  • 9:30 - 9:33
    เพราะมันมักจะมีเสียงรบกวนอยู่เสมอ ๆ
  • 9:33 - 9:36
    ทีนี้ เมื่อความเงียบนั้นไม่มีอยู่จริง
  • 9:36 - 9:39
    แล้วผู้สร้างภาพยนตร์กับ
    นักออกแบบเสียงใช้อะไรกันล่ะ
  • 9:39 - 9:44
    จริง ๆ แล้วพวกเขาใช้สิ่งที่มีความหมาย
    คล้าย ๆ กัน นั่นก็คือ เสียงบรรยากาศ
  • 9:44 - 9:48
    เสียงบรรยากาศคือเสียงพื้นหลัง
    ที่มีเอกลักษณ์หนึ่งเดียว
  • 9:48 - 9:51
    ที่มีความจำเพาะต่อสถานที่แต่ละที่
  • 9:51 - 9:53
    ในแต่ละที่จะมีเสียงเฉพาะหนึ่งเสียง
  • 9:53 - 9:55
    และในห้องแต่ละห้อง
    ก็จะมีเสียงเฉพาะอีกหนึ่งเสียง
  • 9:55 - 9:57
    ที่เรียกว่าเสียงสภาพบรรยากาศของห้อง
  • 9:57 - 9:59
    และนี่คือเสียงที่อัดมาจาก
    ตลาดแห่งหนึ่งในโมร็อกโก
  • 9:59 - 10:02
    (เสียงคน เสียงดนตรี)
  • 10:05 - 10:08
    และนี่ก็คือเสียงที่อัดจาก
    ไทม์สแควร์ในนิวยอร์ก
  • 10:09 - 10:13
    (เสียงการจราจร เสียงแตรรถ เสียงคน)
  • 10:15 - 10:19
    เสียงสภาพบรรยากาศของห้องนั้นคือการเพิ่ม
    เสียงรบกวนทั้งหมดในห้องเข้าไป
  • 10:19 - 10:21
    ทั้งเสียงการระบายอากาศ การทำความร้อน
    เสียงตู้เย็น
  • 10:22 - 10:24
    และนี่ก็คือเสียงที่อัดจาก
    อะพาร์ตเมนต์ของผมในบรุกลิน
  • 10:24 - 10:29
    (คุณจะได้ยินเสียงระบายอากาศ เสียงกาต้มน้ำ
    เสียงตู้เย็น และเสียงจราจร)
  • 10:35 - 10:40
    เสียงบรรยากาศนั้นทำงาน
    ในรูปแบบพื้นฐานที่สุด
  • 10:41 - 10:44
    มันสามารถพูดเข้าสู่สมองของเราได้โดยตรง
    โดยอาศัยจิตใต้สำนึก
  • 10:45 - 10:50
    ดังนั้น นกที่ร้องจิ๊บ ๆ อยู่นอกหน้าต่าง
    อาจบ่งบอกถึงภาวะปกติ
  • 10:51 - 10:54
    ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า
    ในฐานะที่เราเป็นสปีชีส์ ๆ หนึ่ง
  • 10:54 - 10:58
    เราคุ้นเคยกับเสียงนั้นในทุก ๆ เช้า
    มาเป็นเวลาหลายล้านปี
  • 10:58 - 11:02
    (เสียงนกร้อง)
  • 11:06 - 11:09
    ในทางตรงกันข้าม เสียงทางอุตสาหกรรม
    นั้นเพิ่งมาถึงเรา
  • 11:10 - 11:11
    เมื่อไม่นานมานี้
  • 11:12 - 11:14
    ถึงแม้ว่าผมจะชอบมันมาก
    โดยส่วนตัวก็ตาม
  • 11:14 - 11:16
    เสียงนั้นได้ถูกใช้โดยหนึ่งในฮีโร่ของผม
    เดวิด ลินช์
  • 11:16 - 11:18
    และนักออกแบบเสียงของเขา อลัน สเปร็ต
  • 11:18 - 11:21
    เสียงทางอุตสาหกรรมมักมี
    ความหมายแฝงในแง่ลบ
  • 11:21 - 11:24
    (เสียงเครื่องจักร)
  • 11:28 - 11:33
    ทีนี้ ซาวด์เอฟเฟคก็สามารถกระตุ้น
    ความทรงจำทางอารมณ์ของเราได้
  • 11:35 - 11:37
    ในบางครั้ง มันอาจสำคัญมากจนกระทั่ง
  • 11:37 - 11:40
    มันกลายเป็นตัวละครสักตัวหนึ่งในหนัง
  • 11:41 - 11:45
    เสียงฟ้าผ่านั้นอาจแสดงถึงการแทรกแทรง
    หรือการบันดาลโทสะของเทพเจ้า
  • 11:46 - 11:49
    (เสียงฟ้าผ่า)
  • 11:52 - 11:56
    เสียงระฆังในโบสถ์อาจทำให้เรานึกถึง
    การผ่านไปของเวลา
  • 11:56 - 11:58
    หรือบางทีอาจหมายถึงความตายของเราเอง
  • 12:00 - 12:03
    (เสียงระฆัง)
  • 12:08 - 12:12
    และเสียงแก้วแตกนั้นอาจแสดงถึง
    จุดจบของความสัมพันธ์
  • 12:12 - 12:14
    หรือความเป็นเพื่อนกัน
  • 12:14 - 12:16
    (เสียงแก้วแตก)
  • 12:17 - 12:20
    นักวิทยาศาสตร์ต่างเชื่อว่าเสียง
    ที่ไม่ประสานกันอย่างลงตัวนั้น
  • 12:20 - 12:25
    เช่น เสียงเครื่องเป่าทองเหลือง
    หรือเครื่องเป่าลมไม้ที่ดังมาก ๆ
  • 12:26 - 12:31
    อาจทำให้เรานึกถึงเสียงสัตว์
    ที่เห่าหอนอยู่ในธรรมชาติ
  • 12:31 - 12:34
    แล้วก็ทำให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิด
    หรือหวาดกลัว
  • 12:35 - 12:37
    (เสียงเครื่องเป่า)
  • 12:41 - 12:44
    ตอนนี้เราก็ได้พูดถึงเสียงในฉาก
    เรียบร้อยแล้ว
  • 12:44 - 12:49
    แต่ในบางครั้ง แหล่งกำเนิดของเสียงนั้น
    ก็ไม่สามารถมองเห็นได้
  • 12:49 - 12:51
    ซึ่งเราเรียกเสียงแบบนี้ว่าเสียงนอกฉาก
  • 12:52 - 12:53
    หรือเสียง "อคูสมาติก"
  • 12:54 - 12:55
    เสียงอคูสมาติก
  • 12:56 - 13:01
    จริง ๆ แล้ว คำว่า "อคูสมาติก" นั้นมาจาก
    พีทาโกรัสที่อยู่ในยุคกรีกโบราณ
  • 13:01 - 13:05
    ผู้ที่เคยสอนหนังสืออยู่ด้านหลังผ้าคลุม
    หรือผ้าม่านมาเป็นเวลาหลายปี
  • 13:05 - 13:08
    โดยไม่เปิดเผยหน้าตาและรูปลักษณ์
    ของเขาจริง ๆ ต่อลูกศิษย์ของเขา
  • 13:08 - 13:11
    ผมคิดว่านักคณิตศาสตร์
    และนักปรัชญาคงต่างคิดว่า
  • 13:12 - 13:13
    เมื่อทำแบบนั้นแล้ว
  • 13:14 - 13:18
    ลูกศิษย์ของพวกเขาจะเพ่งความสนใจไปที่เสียง
  • 13:18 - 13:20
    คำพูด และความหมายของมัน
  • 13:20 - 13:23
    มากกว่าสนใจตัวเขาที่กำลังพูดอยู่
  • 13:23 - 13:26
    ซึ่งก็จะคล้าย ๆ กับพ่อมดแห่งออซ
  • 13:26 - 13:30
    หรือพี่เบิ้มในภาพยนตร์เรื่อง 1984
  • 13:30 - 13:34
    ที่แยกเสียงพูดออกจากแหล่งกำเนิดเสียง
  • 13:34 - 13:36
    แยกสาเหตุและผลลัพธ์ออกจากกัน
  • 13:36 - 13:40
    คล้าย ๆ กับการสร้างความรู้สึกของการมีอยู่
    ทุกหนทุกแห่งหรือมองเห็นได้จากจุด ๆ เดียว
  • 13:40 - 13:42
    แล้วก็ก่อให้เกิดอำนาจ
  • 13:43 - 13:46
    มีสิ่งหนึ่งที่ทำกันต่อมาอย่างเคร่งครัด
    ในการใช้เสียงอคูสมาติก
  • 13:47 - 13:54
    เมื่อก่อน แม่ชีที่อยู่ในโบสถ์ในกรุงโรม
    และเวนิสต่างร้องเพลงในห้องต่าง ๆ
  • 13:54 - 13:58
    ในจุดที่สูงขึ้นไปใกล้ ๆ กับเพดาน
  • 13:58 - 14:02
    และสร้างภาพลวงตาเหมือนกับว่าเรากำลัง
    ฟังเสียงของเทพเทวดาบนท้องฟ้า
  • 14:02 - 14:06
    ริชาร์ด วาร์กเนอร์ ได้สร้างวงออเคสตร้า
    ที่ถูกซ่อนไว้ลับ ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม
  • 14:06 - 14:10
    ซึ่งอยู่ในหลุมระหว่างเวทีและผู้ชม
  • 14:10 - 14:15
    และหนึ่งในฮีโร่ของผม เอเฟ็กซ์ ทวิน ก็ซ่อน
    อยู่ในมุมมืดของผับได้อย่างดีเยี่ยมเช่นกัน
  • 14:15 - 14:20
    ผมคิดว่าสิ่งที่ศิลปินที่ยิ่งใหญ่เหล่านี้
    รู้ก็คือว่า ในการซ่อนแหล่งกำเนิดเสียงนั้น
  • 14:20 - 14:22
    คุณกำลังทำให้เกิดความรู้สึกลึกลับ
  • 14:22 - 14:24
    สิ่งนี้สามารถพบเห็นได้ในโรงภาพยนตร์
    ซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • 14:24 - 14:27
    อย่างฮิตช์ค็อกและริดลีย์ สก็อต
    ในภาพยนตร์เรื่อง "เอเลี่ยน"
  • 14:27 - 14:29
    การได้ยินเสียงโดยที่ไม่รู้แหล่งที่มา
    ของเสียงนั้น
  • 14:29 - 14:33
    จะทำให้เกิดความรู้สึกตึงเครียดบางอย่าง
  • 14:35 - 14:40
    เช่นเดียวกัน มันก็สามารถลดข้อจำกัด
    ทางด้านภาพบางอย่างที่ผู้กำกับมี
  • 14:40 - 14:44
    และแสดงบางสิ่งที่ไม่ได้อยู่ตรงนั้น
    ระหว่างการถ่ายทำ
  • 14:44 - 14:46
    และถ้าเสียงเหล่านี้ดูเป็นทฤษฎีเกินไปหน่อย
  • 14:46 - 14:48
    ผมก็อยากจะเล่นวิดีโอสั้น ๆ พวกนี้
  • 14:49 - 14:52
    (เสียงบีบของเล่น)
  • 14:52 - 14:55
    (เสียงพิมพ์ดีด)
  • 14:56 - 14:58
    (เสียงกลอง)
  • 14:59 - 15:01
    (เสียงปิงปอง)
  • 15:02 - 15:05
    (เสียงลับคมมีด)
  • 15:06 - 15:09
    (เสียงเก่าแผ่น)
  • 15:09 - 15:11
    (เสียงเลื่อย)
  • 15:11 - 15:12
    (เสียงผู้หญิงกรีดร้อง)
  • 15:13 - 15:16
    สิ่งที่ผมพยายามจะสาธิตให้เห็น
    ด้วยเครื่องมือเหล่านี้
  • 15:18 - 15:20
    ก็คือเสียงนั้นเป็นภาษาภาษาหนึ่ง
  • 15:21 - 15:24
    มันอาจลวงเราโดยการพาเราไปยัง
    สถานที่อื่น ๆ บนโลกใบนี้
  • 15:25 - 15:26
    มันอาจเปลี่ยนอารมณ์เรา
  • 15:27 - 15:28
    มันอาจกำหนดจังหวะของสิ่งต่าง ๆ
  • 15:29 - 15:33
    มันอาจทำให้เราหัวเราะ
    หรือทำให้เราหวาดกลัวได้
  • 15:35 - 15:38
    โดยส่วนตัวแล้ว ผมตกหลุมรักกับภาษานั้น
  • 15:38 - 15:39
    เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา
  • 15:39 - 15:44
    และด้วยเหตุผลบางอย่างก็ได้
    ทำให้มันกลายเป็นอาชีพ
  • 15:45 - 15:48
    และผมคิดว่าด้วยงานของพวกผม
    ผ่านคลังเสียงนั้น
  • 15:49 - 15:54
    เรากำลังขยายคลังคำศัพท์ของภาษานั้น
  • 15:56 - 15:59
    และด้วยวิธีนี้เอง พวกผมก็อยากที่จะนำเสนอ
    เครื่องมือที่เหมาะสม
  • 15:59 - 16:01
    ให้กับนักออกแบบเสียง
  • 16:01 - 16:02
    ผู้สร้างภาพยนตร์
  • 16:02 - 16:04
    และนักออกแบบวิดีโอเกมและแอป
  • 16:05 - 16:08
    เพื่อให้พวกเขาได้บอกเล่าเรื่องราว
    ที่ดีขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ
  • 16:08 - 16:11
    หรือแม้กระทั่งสร้างความหลอกลวงที่งดงาม
    มากยิ่งขึ้นไปอีก
  • 16:11 - 16:12
    ยังไงก็ ขอบคุณมากที่มาฟังครับ
  • 16:12 - 16:16
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทุกสิ่งที่คุณได้ยินในภาพยนตร์คือเรื่องโกหก
Speaker:
ทาโซส แฟรนต์โซลาส (Tasos Frantzolas)
Description:

การออกแบบเสียงนั้นอยู่บนพื้นฐานของการตบตาและหลอกลวง เมื่อคุณดูภาพยนตร์สักเรื่องหรือรายการโทรทัศน์สักรายการ เสียงเกือบทั้งหมดที่คุณได้ยินไม่ใช่เสียงจริง ๆ ในการบรรยายที่เต็มไปด้วยเสียงนี้ ทาโซส แฟรนต์โซลาส (Tasos Frantzolas) จะพาคุณไปสำรวจบทบาทของเสียงในการเล่าเรื่องและสาธิตให้คุณดูว่าสมองของคุณนั้นถูกหลอกโดยเสียงที่คุณได้ยินได้ง่ายขนาดไหน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:35
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Everything you hear on film is a lie
Purich Worawarachai accepted Thai subtitles for Everything you hear on film is a lie
Purich Worawarachai edited Thai subtitles for Everything you hear on film is a lie
Purich Worawarachai declined Thai subtitles for Everything you hear on film is a lie
Purich Worawarachai edited Thai subtitles for Everything you hear on film is a lie
Kelwalin Dhanasarnsombut rejected Thai subtitles for Everything you hear on film is a lie
Un Supawititpattana accepted Thai subtitles for Everything you hear on film is a lie
Monsicha Suajorn edited Thai subtitles for Everything you hear on film is a lie
Show all

Thai subtitles

Revisions