Return to Video

พลังแห่งภูมิคุ้มกันหมู่

  • 0:00 - 0:05
    หนึ่งในผู้ป่วยรายแรกๆ
    ที่ฉันพบในฐานะที่ฉันเป็นหมอคือ ซอล
  • 0:05 - 0:08
    เด็กทารกอายุหนึ่งเดือนผู้น่ารัก
  • 0:08 - 0:12
    ที่เข้าโรงพยาบาลมา
    ด้วยอาการของระบบหายใจอักเสบ
  • 0:12 - 0:16
    จนการะทั่งตอนนั้น ฉันไม่เคยได้เห็น
    ผู้ป่วยคนไหนอาการทรุดหนักรวดเร็วขนาดนี้
  • 0:17 - 0:20
    เพียงสองวัน
    เธอถูกเชื่อมต่อกับเครื่องช่วยหายใจ
  • 0:20 - 0:23
    และวันที่สามเธอก็เสียชีวิต
  • 0:23 - 0:25
    เธอเป็นโรคไอกรน
  • 0:25 - 0:30
    หลังจากได้อภิปรายกันเรื่องนี้ในห้อง
    และหลังจากบรรยากาศที่ค่อนข้างเศร้า
  • 0:30 - 0:33
    ฉันจำได้ว่าหัวหน้าหน่วยบอกว่า
  • 0:33 - 0:36
    "โอเค หายใจลึกๆ ล้างหน้าซะ
  • 0:36 - 0:39
    และก็ถึงตอนที่ยากที่สุด:
  • 0:39 - 0:41
    เราต้องไปพูดกับพ่อแม่"
  • 0:42 - 0:46
    ณ ตอนนั้น คำถามมากมายเข้ามาในหัว
  • 0:46 - 0:50
    ตั้งแต่ "เด็กอายุเดือนเดียว
    ทำไมโชคร้ายได้ขนาดนี้"
  • 0:51 - 0:54
    จนถึง "เราทำอะไรได้บ้างไหม"
  • 0:55 - 0:58
    ก่อนที่จะมีวัคซีน
  • 0:58 - 1:03
    โรคติดต่อหลายโรค
    คร่าชีวิตไปนับล้านต่อปี
  • 1:03 - 1:07
    ในช่วงหวัดระบาดใน ค.ศ. 1918
  • 1:07 - 1:10
    มีคนตายไป 50 ล้านคน
  • 1:10 - 1:13
    นั่นมันมากกว่าประชากรอาร์เจนตินา
    ในปัจจุบันเสียอีก
  • 1:13 - 1:17
    บางที คนแก่ๆ ในที่นี้คงจำได้
    ถึงการระบาดของโปลิโอ
  • 1:17 - 1:20
    ที่เกิดขึ้นในอาร์เจนตินา ใน ค.ศ. 1956
  • 1:20 - 1:24
    ณ ตอนนั้น มันไม่มีวัคซีนป้องกันโปลิโอ
  • 1:24 - 1:26
    ผู้คุณไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร
    ทุกคนลนลานตกใจ
  • 1:26 - 1:28
    พวกเราเอาโซดาไฟทาต้นไม้
  • 1:28 - 1:30
    พวกเราเอาการบูรใส่ถุงเล็กๆ
  • 1:30 - 1:34
    ใส่ไว้ในชุดชั้นในเด็กๆ
    ราวกับว่ามันจะช่วยอะไรได้
  • 1:34 - 1:39
    ระหว่างการระบาดของโปลิโอ
    คนเป็นพันๆ ต้องตาย
  • 1:39 - 1:44
    และคนเป็นพันๆ ได้รับความเสียหาย
    เกี่ยวกับเส้นประสาทอย่างรุนแรง
  • 1:44 - 1:47
    ฉันรู้เรื่องนี้เพราะว่าฉันอ่านเกี่ยวกับมัน
  • 1:47 - 1:51
    ต้องขอบคุณวัคซีน
    คนในรุ่นของฉันจึงโชคดี
  • 1:51 - 1:54
    ที่ผ่านการระบาดที่เลวร้ายเช่นนั้นมาได้
  • 1:54 - 1:59
    วัคซีนเป็นหนึ่งในความสำเร็จสูงสุด
    ในศตวรรษที่ 20 ของการสาธารณสุข
  • 1:59 - 2:01
    วัคซีนเป็นการแทรกแซงที่ลดอัตราการเสียชีวิต
  • 2:01 - 2:05
    ได้มากที่สุด รองจากน้ำที่ดื่มได้
  • 2:05 - 2:07
    มากกว่ายาปฏิชีวนะด้วยซ้ำ
  • 2:07 - 2:13
    วัคซีนกำจัดโรคอันน่ากลัวจากโลกของเรา
    ดั่งเช่นไข้ทรพิษ
  • 2:13 - 2:16
    และประสบความสำเร็จอย่างมาก
    ในการลดอัตราการเสียชีวิต
  • 2:16 - 2:18
    ที่เกิดจากโรคดังเช่น โรคหัด
  • 2:18 - 2:22
    ไอกรน, โปลิโอ และอีกมากมาย
  • 2:22 - 2:29
    เชื้อโรคทั้งหลายเหล่านี้ถูกพิจารณาว่า
    เป็นโรคที่ป้องกันได้โดยวัคซีน
  • 2:30 - 2:32
    นั่นหมายความว่าอย่างไรกัน
  • 2:32 - 2:35
    พวกมันมีแนวโน้มที่จะป้องกันได้
  • 2:35 - 2:38
    แต่เพื่อที่จะให้เป็นไปเช่นนั้น
    เราจะต้องทำอะไรบางอย่าง
  • 2:38 - 2:40
    คุณต้องได้รับวัคซีน
  • 2:40 - 2:44
    ฉันจินตนาการว่าส่วนใหญ่
    หรือไม่ก็ทุกคนในที่นี้
  • 2:44 - 2:48
    ได้รับวัคซีน มาสักครั้งหนึ่งในชีวิต
  • 2:48 - 2:53
    แต่ ฉันไม่แน่ใจว่า พวกเราจะรู้ว่า
  • 2:53 - 2:57
    วัคซีนหรือตัวเร่งใดที่เราควรจะได้รับ
    เมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว
  • 2:58 - 3:03
    เคยคิดหรือเปล่าคะ
    ว่าเรากำลังปกป้องใคร
  • 3:03 - 3:05
    เมื่อเรารับวัคซีน
  • 3:05 - 3:07
    ฉันหมายถึง
  • 3:07 - 3:12
    มีผลอะไรอีกนอกจากการป้องกันพวกเขาเอง
  • 3:13 - 3:15
    ให้ฉันได้แสดงอะไรบางอย่างให้คุณเห็น
  • 3:16 - 3:18
    ลองนึกดูว่า
  • 3:18 - 3:20
    เราอยู่ในเมือง
  • 3:20 - 3:23
    ที่ไม่เคยมีผู้ป่วยของโรคๆ นั้นเลย
  • 3:23 - 3:25
    เช่น โรคหัด
  • 3:25 - 3:30
    นั่นหมายถึง ไม่มีใครในเมืองนี้
    ที่เคยสัมผัสกับโรคดังกล่าว
  • 3:30 - 3:35
    ไม่มีใครมีการป้องกันทางธรรมชาติ
    หรือได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเลย
  • 3:36 - 3:40
    ถ้าวันหนึ่ง มีคนป่วยขึ้นมาในเมือง
  • 3:41 - 3:45
    โรคจะไม่ถูกต่อต้านอะไรมากนั้น
  • 3:45 - 3:47
    และจะเริ่มแพร่กระจาย
    จากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง
  • 3:47 - 3:52
    และในเวลาไม่นาน มันจะกระจาย
    ไปทั่วทั้งชุมชน
  • 3:52 - 3:54
    หลังจากระยะเวลาหนึ่ง
  • 3:54 - 3:57
    ประชากรส่วนใหญ่จะป่วย
  • 3:58 - 4:02
    มันเกิดขึ้นเมื่อไม่มีวัคซีน
  • 4:03 - 4:07
    ทีนี้ลองนึกถึงเหตุการณ์
    ที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง
  • 4:07 - 4:10
    เราอยู่ในเมือง
  • 4:10 - 4:13
    ที่ 90 เปอร์เซนต์ของประชากร
  • 4:13 - 4:15
    มีการป้องกันจากโรคหัด
  • 4:15 - 4:19
    ซึ่งหมายความว่า พวกเขาติดโรค,
    รอดชีวิต และพัฒนาภูมิคุ้มกันธรรมชาติ
  • 4:19 - 4:23
    หรือพวกเขาได้รับภูมิคุ้มกัน
    ป้องกันโรคหัด
  • 4:23 - 4:25
    ถ้าวันหนี่ง
  • 4:25 - 4:29
    มีใครสักคนป่วยด้วยโรคหัด
    ปรากฎขึ้นในเมือง
  • 4:29 - 4:33
    โรคจะถูกต่อต้านมากกว่า
  • 4:33 - 4:36
    และไม่เกิดการติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง
    มากมายนัก
  • 4:37 - 4:40
    การแพร่กระจายอาจจะยังคงถูกจำกัด
  • 4:41 - 4:44
    และการระบาดของโรคหัด
    ก็จะไม่เกิดขึ้น
  • 4:45 - 4:48
    ฉันอยากให้คุณให้ความสนใจ
    กับอะไรบางอย่าง
  • 4:49 - 4:51
    ผู้ที่ได้รับวัคซีน
  • 4:51 - 4:54
    ไม่ใช่เพียงป้องกันตัวเอง
  • 4:54 - 4:58
    แต่ยังป้องกันการแพร่กระจายของโรค
  • 4:58 - 5:00
    ภายในสังคมชุมชนด้วย
  • 5:00 - 5:04
    พวกเขาป้องกันผู้คนในสังคมอย่างอ้อมๆ
  • 5:04 - 5:06
    ป้องกันคนที่ไม่ได้รับวัคซีน
  • 5:07 - 5:10
    พวกเขาเสมือนสร้างเกราะป้องกัน
  • 5:10 - 5:13
    ซึ่งป้องกันพวกเขาจาก
    การสัมผัสเชื้อโรค
  • 5:13 - 5:15
    คนพวกนี้จึงได้รับการป้องกัน
  • 5:17 - 5:20
    การป้องกันโดยอ้อม
  • 5:20 - 5:23
    ที่ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนในสังคมได้รับ
  • 5:23 - 5:27
    โดยเพียงแค่ถูกรายล้อมด้วย
    ผู้คนที่ได้รับวัคซีน
  • 5:28 - 5:31
    เรียกว่า ภูมิคุ้มกันหมู่
  • 5:33 - 5:36
    ผู้คนมากมายในสังคม
  • 5:36 - 5:39
    เกิอบจะพึ่งพาภูมิคุ้มกันหมู่ล้วนๆ
  • 5:39 - 5:42
    ในการป้องกันตัวเองจากโรค
  • 5:43 - 5:47
    คนที่ไม่ได้รับวัคซีนที่คุณเห็น
    ในอินโฟกราฟฟิกไม่ได้เป็นแค่สมมติฐาน
  • 5:47 - 5:51
    คนเหล่านี้คือลูกหลานของเรา
  • 5:51 - 5:54
    ผู้ซึ่งอาจจะเด็กเกินกว่า
    จะรับการฉีดวัคซีนแรกได้
  • 5:55 - 5:57
    พวกเขาคือพ่อแม่ของเรา พี่น้องของเรา
  • 5:57 - 5:59
    คนที่เรารู้จัก
  • 5:59 - 6:01
    ที่อาจเป็นโรค
  • 6:01 - 6:04
    หรือรับการรักษา
    ที่ทำให้ภูมิคุ้นกันของพวกเขาต่ำ
  • 6:05 - 6:10
    ยังมีคนที่แพ้วัคซีนบางชนิด
  • 6:11 - 6:14
    พวกเขาอาจอยู่ท่ามกลางพวกเรา
  • 6:14 - 6:16
    พวกเราคนใดคนหนึ่ง
    ที่รับการฉีดวัคซีน
  • 6:16 - 6:19
    แต่วัคซีนไม่ได้สร้างผลที่เป็นที่คาดหวัง
  • 6:19 - 6:24
    เพราะไม่ใช่ทุกวัคซีน
    จะมีประสิทธิภาพ 100 เปอร์เซนต์
  • 6:24 - 6:29
    คนเหล่านี้ส่วนใหญ่พึ่งพา
    ภูมิคุ้มกันแบบหมู่
  • 6:29 - 6:31
    ในการป้องกันพวกเขาจากโรคต่างๆ
  • 6:32 - 6:37
    เพื่อให้ได้ซึ่งผลของภูมิคุ้มกันหมู่
  • 6:37 - 6:42
    มันจำเป็นที่ประชากร
    ที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน
  • 6:42 - 6:46
    เปอร์เซ็นต์ดังกล่าวเรียกว่า ระดับเปลี่ยน
  • 6:46 - 6:49
    ระดับเปลี่ยนนั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรหลากหลาย
  • 6:49 - 6:52
    มันขึ้นอยู่กับลักษณะของเชื้อโรค
  • 6:52 - 6:56
    และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
    ที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นด้วยวัคซีน
  • 6:56 - 6:58
    แต่พวกมันมีบางอย่างเหมือนกัน
  • 6:58 - 7:04
    ถ้าเปอร์เซ็นต์ของประชากร
    ในสังคมที่ได้รับวัคซีน
  • 7:04 - 7:07
    อยู่ต่ำกว่าระดับเปลี่ยน
  • 7:07 - 7:11
    โรคจะเริ่มแพร่กระจายอย่างอิสระ
  • 7:11 - 7:16
    และอาจสร้างการระบาด
    ของโรคภายในสังคม
  • 7:16 - 7:23
    แม้โรคที่เคยควบคุมได้ ณ จุดหนึ่ง
    อาจปรากฏกลับขึ้นมาอีก
  • 7:24 - 7:27
    มันไม่ใช่แค่ทฤษฎี
  • 7:27 - 7:29
    มันได้เกิดขึ้นแล้ว
    และยังคงเกิดขึ้นต่อไป
  • 7:31 - 7:36
    ในปี ค.ศ. 1998 นักวิจัยชาวอังกฤษ
    ได้ตีพิมพ์ผลงาน
  • 7:36 - 7:39
    ในนิตยสารทางการแพทย์
    ที่สำคัญที่สุดฉบับหนึ่ง
  • 7:39 - 7:41
    ที่บอกว่า MMR วัคซีน
  • 7:41 - 7:44
    ซี่งใช้ป้องกันโรคหัด คางทูม และริเบลล่า
  • 7:44 - 7:46
    เกี่ยวข้องกับออทิซึม
  • 7:46 - 7:48
    สิ่งนี้ได้สร้างกระแสในทันที
  • 7:49 - 7:54
    คนเริ่มที่จะหยุดรับวัคซีน
    และหยุดฉีดวัคซีนให้กับเด็กๆ
  • 7:54 - 7:55
    แล้วมันเกิดอะไรขึ้น
  • 7:55 - 7:58
    คนที่ได้รับวัคซีน
  • 7:58 - 8:02
    ในหลายๆ กลุ่มสังคมทั่วโลก
    ลดลงต่ำกว่าระดับเปลี่ยน
  • 8:02 - 8:06
    และเกิดการระบาดของโรคหัดขึ้น
    ในหลายเมืองทั่วโลก
  • 8:06 - 8:08
    ในสหรัฐอเมริกา ในยุโรป
  • 8:08 - 8:10
    คนมากมายล้มป่วย
  • 8:10 - 8:13
    คนเสียชีวิตเพราะโรคหัด
  • 8:14 - 8:15
    เกิดอะไรขึ้น
  • 8:15 - 8:19
    บทความนี้ยังสร้างความสับสนครั้งใหญ่
    ภายในวงการแพทย์
  • 8:19 - 8:24
    นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งเริ่มที่จะประเมิน
    ว่ามันเป็นจริงหรือไม่
  • 8:25 - 8:28
    ไม่เพียงแต่ไม่มีใครพบว่า
  • 8:28 - 8:34
    มีความเกี่ยวข้องอย่างเป็นสำคัญ
    ระหว่าง MMR กับออทิซึมในระดับประชากร
  • 8:34 - 8:39
    แต่มันยังถูกพบว่า บทความนี้
    ยังมีข้อกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้องอีกด้วย
  • 8:39 - 8:42
    ยิ่งไปกว่านั้นมันเป็นเรื่องต้มตุ๋น
  • 8:42 - 8:45
    เป็นเรื่องหลอกลวง
  • 8:45 - 8:52
    อันที่จริง วารสารนั้นได้เรียกบทความนั้นกลับ
    ในปี ค.ศ. 2010
  • 8:52 - 8:57
    หนึ่งในสิ่งที่เป็นที่เป็นข้อกังวล
    และถูกใช้เป็นข้ออ้างในการไม่รับวัคซีน
  • 8:57 - 8:59
    คือผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย
  • 9:00 - 9:05
    วัคซีน เป็นดังเช่นยาอื่นๆ
    ที่อาจมีผลที่เป็นอันตราย
  • 9:06 - 9:08
    ส่วนใหญ่แล้วจะมีผลอย่างอ่อน
    และชั่วครั้งชั่วคราว
  • 9:08 - 9:14
    แต่ประโยชน์ที่ได้ยิ่งใหญ่กว่า
    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเสมอ
  • 9:16 - 9:20
    เมื่อเราป่วย
    เราต้องการที่จะหายไวๆ
  • 9:20 - 9:22
    พวกเราหลายคนในที่นี้
  • 9:22 - 9:26
    กินยาปฏิชีวนะ
    เมื่อเราติดเชื้อ
  • 9:26 - 9:29
    เรากินยาลดความดัน
    เมื่อความดันเลือดสูงเกินไป
  • 9:29 - 9:31
    เรารับการรักษาหัวใจ
  • 9:31 - 9:35
    ทำไมน่ะหรือ ก็เพราะเราป่วย
    และเราต้องการจะหายป่วยเร็วๆ
  • 9:35 - 9:37
    และเราไม่ตั้งคำถามอะไรมาก
  • 9:37 - 9:41
    ทำไมมันยากเย็นนั้น
    ที่จะคิดถึงการป้องกันโรค
  • 9:42 - 9:45
    โดยดูแลตัวเราเองเมื่อเราแข็งแรง
  • 9:45 - 9:48
    เราดูแลตัวเราเองเยอะมาก
    เมื่อเราได้รับผลกระทบจากความเจ็บป่วย
  • 9:48 - 9:51
    หรือในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายแบบจวนตัว
  • 9:52 - 9:55
    ฉันคิดว่าพวกเราส่วนใหญ่ในที่นี้
  • 9:55 - 9:59
    จำการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ได้
  • 9:59 - 10:02
    ซึ่งเกิดการระบาดขึ้นในปี ค.ศ. 2009
    ในอาร์เจนตินาและทั่วโลก
  • 10:02 - 10:06
    เมื่อผู้ป่วยรายแรกปรากฏขึ้น
  • 10:06 - 10:09
    พวกเราในอาร์เจนตินา
    กำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาว
  • 10:10 - 10:12
    เราไม่รู้อะไรเลยสักนิด
  • 10:12 - 10:14
    ทุกอย่างวุ่นวายไปหมด
  • 10:14 - 10:19
    คนใส่หน้ากากเดินตามท้องถนน
    วิ่งไปร้านขายยาเพื่อซื้อเจลแอลกอฮอลล์
  • 10:19 - 10:22
    ผู้คนยอมเข้าแถวที่ร้านขายยา
    เพื่อจะรับวัคซีน
  • 10:22 - 10:25
    โดยไม่รู้เลยว่า
    มันเป็นวัคซีนที่ถูกต้องหรือไม่
  • 10:25 - 10:27
    ที่จะป้องกันพวกเขาจากไวรัสใหม่
  • 10:27 - 10:30
    เราไม่รู้อะไรเลย
  • 10:30 - 10:34
    ในเวลานั้น นอกจากเป็นผู้ร่วมวิจัย
    ที่สถาบันเด็กอ่อน
  • 10:34 - 10:39
    ฉันทำงานเป็นกุมารแพทย์
    ให้กับบริษัทแผนการพยาบาล
  • 10:39 - 10:43
    ฉันจำได้ว่าฉันเริ่มกะของฉันตอน 8 โมงเช้า
  • 10:43 - 10:47
    และตอน 8 โมง ฉันได้รายการชื่อที่นัด
    จะเข้ามา 50 ราย
  • 10:47 - 10:50
    มันวุ่นวายมาก
    ผู้คนไม่รู้กันว่าจะทำอย่างไร
  • 10:50 - 10:55
    ฉันจำกลุ่มคนไข้ที่ฉันตรวจได้
  • 10:56 - 11:00
    คนไข้แก่กว่าที่เราเห็นๆ กันในฤดูหนาว
  • 11:00 - 11:02
    และมีไข้นานกว่า
  • 11:02 - 11:06
    และฉันบอกกับอาจารย์ที่ปรึกษาของฉัน
  • 11:06 - 11:10
    และเขา ก็ได้ยินสิ่งเดียวกันนี้
    จากเพื่อนร่วมงาน
  • 11:10 - 11:12
    เกี่ยวกับหญิงตั้งครรภ์จำนวนมาก
  • 11:12 - 11:14
    และผู้ใหญ่อายุน้อย
  • 11:14 - 11:16
    เข้ามายังโรงพยาบาล
    เพื่อการรักษาอย่างใกล้ชิด
  • 11:16 - 11:19
    และพวกเขาก็มีประวัติทางการแพทย์
    ที่จัดการยาก
  • 11:21 - 11:27
    ณ เวลานั้น
    เราพยายามทำความเข้าใจ ว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 11:27 - 11:30
    อย่างแรกที่เราทำตอนเช้าวันจันทร์ คือออกรถ
  • 11:30 - 11:33
    ไปยังโรงพยาบาลในจังหวัด บัวโนส ไอเรส
  • 11:33 - 11:39
    ที่ทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาลส่งต่อ
    สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสหวัดใหม่
  • 11:39 - 11:42
    เราไปถึงโรงพยาบาล
    มันคราคร่ำไปด้วยคน
  • 11:42 - 11:45
    เจ้าหน้าที่หมอพยาบาลทุกคน
    สวมชุดป้องกันชีวภาพที่เหมือนชุดนาซ่า
  • 11:45 - 11:48
    เรามีหน้ากากในกระเป๋า
  • 11:48 - 11:50
    ฉัน เริ่มที่จะคิดว่าตัวเองไม่สบาย
    เหมือนไม่ได้หายใจสักสองชั่วโมง
  • 11:50 - 11:54
    แต่เรารู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 11:54 - 11:57
    ทันใดนั้นเอง เราเริ่มที่จะเข้าถึงกุมารแพทย์
  • 11:57 - 12:01
    จากโรงพยาบาลหกแห่ง ในเมืองนั้น
    และในจังหวัด บัวโนส ไอเรส
  • 12:01 - 12:05
    เป้าหมายหลักของเราคือค้นหา
  • 12:05 - 12:09
    ว่าไวรัสใหม่นี้มีพฤติกรรมการติดต่อ
    มายังเด็กๆ ของเราได้อย่างไร
  • 12:09 - 12:11
    โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • 12:11 - 12:14
    มันเป็นงานที่ยากลำบาก
  • 12:14 - 12:17
    ที่ใช้เวลาน้อยกว่าสามเดือน
  • 12:17 - 12:23
    เราสามารถเห็นว่าไวรัสใหม่ H1N1 นี้
    มีผลกระทบอะไร
  • 12:23 - 12:29
    ต่อเด็ก 251 คน
    ที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะไวรัสดังกล่าว
  • 12:30 - 12:34
    เราสามารถเห็นได้ว่าเด็กคนไหนที่ป่วยมากๆ
  • 12:34 - 12:37
    เด็กที่อายุต่ำกว่าสี่ขวบ
    และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่อายุต่ำกว่าขวบ
  • 12:37 - 12:40
    ผู้ป่วยที่เป็นโรคทางระบบประสาท
  • 12:40 - 12:43
    และเด็กเล็กที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง
  • 12:43 - 12:48
    การระบุคนเหล่านี้เป็นกลุ่มเสี่ยง
    มีความสำคัญอย่างมาก
  • 12:48 - 12:51
    ที่จะจัดกลุ่มคนเหล่านี้เป็นคนกลุ่มแรก
  • 12:51 - 12:54
    ที่จะต้องได้รับคำแนะนำ
    ให้ได้รับวัคซีนป้องกันโรค
  • 12:54 - 12:56
    ไม่ใช่เพียงแต่ในอาร์เจนติน่า
  • 12:56 - 13:00
    แต่รวมถึงประเทศอื่นๆ
    ซึ่งการระบาดยังไปไม่ถึงอีกด้วย
  • 13:01 - 13:02
    ปีต่อมา
  • 13:02 - 13:08
    เมื่อวัคซีนต้านการระบาดของไวรัส
    H1N1 มีออกมาแล้ว
  • 13:08 - 13:10
    เราต้องการที่จะเห็นว่ามันเกิดอะไรขึ้น
  • 13:10 - 13:13
    หลังจากการณรงค์การฉีดวัคซีน
  • 13:13 - 13:18
    ที่มุ่งเป้าเพื่อป้องกันกลุ่มเสี่ยง
  • 13:18 - 13:25
    โรงพยาบาลเหล่านี้
    ที่ให้วัคซีนกับกลุ่มเสี่ยงที่คิดเป็น 93 เปอร์เซ็นต์
  • 13:25 - 13:29
    ไม่ได้รับผู้ป่วยสักคนเดียว
  • 13:29 - 13:31
    จากการระบาดของไวรัส H1N1
  • 13:31 - 13:35
    (เสียงปรบมือ)
  • 13:36 - 13:40
    ในปี ค.ศ. 2009: 251 ราย
  • 13:41 - 13:44
    ในปี ค.ศ. 2010: ศูนย์
  • 13:44 - 13:49
    การฉีดวัคซีนเป็นการกระทำ
    ที่เป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคล
  • 13:49 - 13:53
    แต่มันมีผลกระทบสะสมที่ยิ่งใหญ่
  • 13:55 - 13:59
    ถ้าฉันได้รับวัคซีน
    ไม่เพียงแต่ฉันป้องกันตัวเอง
  • 13:59 - 14:03
    แต่ฉันยังป้องกันคนอื่นๆ อีกด้วย
  • 14:04 - 14:06
    ซอลเป็นโรคไอกรน
  • 14:08 - 14:10
    ซอลยังเด็กอยู่มาก
  • 14:10 - 14:14
    และเธอไม่ได้รับการฉีดวัคซีนแรก
    เพื่อป้องกันไอกรน
  • 14:15 - 14:19
    ฉันยังคงหวังว่ามันจะเกิดขึ้น
  • 14:19 - 14:25
    ถ้าทุกคนรอบๆ ตัว ซาล
    ได้รับวัคซีน
  • 14:26 - 14:28
    (เสียงปรบมือ)
Title:
พลังแห่งภูมิคุ้มกันหมู่
Speaker:
โรมินา ลิบสเตอร์ (Romina Libster)
Description:

วัคซีนป้องกันโรคได้อย่างไร -- แม้ในคนที่เด็กเกินกว่าจะรับวัคซีน ? นั่นคือแนวคิดของ "ภูมิคุ้มกันหมู่" ซึ่งคือการฉีดวัคซีนให้กับคนหมู่มากในสังคมเพื่อที่จะตัดห่วงโซ่การติดเชื้อ นักวิจัยสายสุขภาพ โรมินา ลิบสเตอร์ แสดงว่าภูมิคุ้มกันหมู่กำจัดการระบาดอันรุนแรงของ H1N1 ในบ้านเกิดของเธอได้อย่างไร (บรรยายเป็นภาษาสเปน พร้อมคำบรรยายหลายภาษา)

more » « less
Video Language:
Spanish
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:41
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for El poder de la inmunidad colectiva
Pongsapak Vanichrundorn edited Thai subtitles for El poder de la inmunidad colectiva
Pongsapak Vanichrundorn edited Thai subtitles for El poder de la inmunidad colectiva
Pongsapak Vanichrundorn edited Thai subtitles for El poder de la inmunidad colectiva
Pongsapak Vanichrundorn accepted Thai subtitles for El poder de la inmunidad colectiva
Pongsapak Vanichrundorn edited Thai subtitles for El poder de la inmunidad colectiva
Pongsapak Vanichrundorn edited Thai subtitles for El poder de la inmunidad colectiva
Pongsapak Vanichrundorn edited Thai subtitles for El poder de la inmunidad colectiva
Show all

Thai subtitles

Revisions