Return to Video

Satoshi Kon - Editing Space & Time by Every Frame A Painting Sub Thai

  • 0:00 - 0:05
    *มีศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับภาพยนตร์
  • 0:08 - 0:11
    สวัสดีครับ ผม Tony Zhou
    และนี่คือ Every Frame a Painting
  • 0:11 - 0:14
    วันนี้ผมจะมาพูดถึง
    ยอดผู้กำกับคนนึงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
  • 0:14 - 0:16
    เขาคือ "ซาโตชิ คง"
  • 0:16 - 0:20
    เชื่อว่าแม้คุณจะไม่เคยรู้จักเขา
    ก็ต้องเคยผ่านตางานภาพของเขามาแล้ว
  • 0:20 - 0:23
    เขาเป็นผู้กำกับที่เป็นแรงบันดลางใจของ
    Darren Aronovsky และ Christopher Nolan
  • 0:23 - 0:27
    และมีกลุ่มแฟนเหนียวแน่น ซึ่งน่าจะรวมถึงทุกๆคน
    ที่ชอบงานอนิเมชั่น
  • 0:27 - 0:30
    ในช่วงปี 1997 -2007
    เขาสร้างหนังไป 4 เรื่องและทีวีซีรีส์ 1 เรื่อง
  • 0:30 - 0:32
    และมัน เจ๋งมากทุกเรื่อง
  • 0:32 - 0:35
    ทุกเรื่อง จะเกี่ยวกับการที่มนุษย์ยุคใหม่ทุกๆคน
    ต้องต่อสู้ในการใช้ชีวิตที่มีหลายบทบาท
  • 0:35 - 0:39
    ชีวิตส่วนตัว - ชีวิตสาธารณะ, บนจอ - นอกจอ,
    ตอนตื่น - ตอนฝัน
  • 0:40 - 0:44
    ถ้าเคยดูจะสังเกตเห็นการเบลอร์เส้นแบ่ง
    ระหว่างความจริงและจินตนาการเข้าด้วยกันอยู่เสมอ
  • 0:49 - 0:52
    แต่วันนี้ ผมจะมาโฟกัสเรื่องสำคัญ
    ความยอดเยี่ยมในการตัดต่อหนังของเขา
  • 0:52 - 0:55
    ในฐานะที่เป็นคนตัดต่อ
    ผมมักจะมองหาวิธีการใหม่ๆเสมอ
  • 0:55 - 0:57
    โดยเฉพาะการเล่าจากมุมที่เล่าไม่ได้ในโลกการแสดงจริง
  • 0:57 - 1:00
    คง คือหนึ่งในคนที่เชี่ยวชาญที่สุดในเรื่องนี้
  • 1:00 - 1:02
    อย่างนึงที่เป็นลายเซนต์คือวิธีเชื่อมต่อซีนของเขา
  • 1:11 - 1:14
    ผมเคยเล่าไว้ว่า Edgar Wright ใช้วิธีนี้เพื่อความตลก
  • 1:14 - 1:16
    --Scott!
    --What?
  • 1:16 - 1:18
    ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นได้บ่อยใน เดอะ ซิมป์สัน
  • 1:20 - 1:21
    และงานของ บัสเตอร์ คีตัน
  • 1:21 - 1:23
    แต่ คง ต่างออกไป
  • 1:23 - 1:24
    แรงบันดาลใจของเขามาจากหนังอย่าง
  • 1:24 - 1:27
    Slaughterhouse-Five
    ของ George Roy Hill
  • 1:27 - 1:30
    --I can always tell, you know,
    when you've been time-tripping
  • 1:30 - 1:34
    มันมักใช้ในหนังไซไฟ เช่น งานของ Philip K Dick
  • 1:34 - 1:36
    และ Terry Gilliam
  • 1:41 - 1:43
    แต่ คง ทำให้ไอเดียแบบนี้ไปไกลกว่าเดิม
  • 1:43 - 1:46
    Slaughterhouse-Five ใช้การเชื่อมซีนหลักๆอยู่ 3 แบบ
  • 1:46 - 1:48
    1. การแมทช์คัท
  • 1:51 - 1:53
    2. การซ้อนภาพแบบที่เหมือนกัน
  • 1:56 - 1:59
    3. การตัดสลับระหว่างสองห้วงเวลาที่เราเรื่องเดียวกัน
  • 2:03 - 2:05
    คง ใช้วิธีการเหล่านี้ทั้งหมด
  • 2:05 - 2:09
    แต่เขายังใช้การรีไวด์หนัง,
    ข้ามเส้นไปสู่ซีนใหม่,
  • 2:09 - 2:13
    ซูมเอาท์จากจอทีวี,
    แทรกเฟรมดำเพื่อจัมป์คัท,
  • 2:13 - 2:17
    ใช้วัตถุในการไวป์เฟรม,
    หรือแบบนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่าเรียกว่าอะไร
  • 2:20 - 2:24
    ยกตัวอย่างให้เห็นชัดขึ้น
    นี่คือ 4 นาทีแรกของ 'Paprika'
  • 2:24 - 2:28
    หนังเปิดด้วย 5 ซีเควนซ์ความฝัน
    ที่ทุกอัน เชื่อมต่อกันด้วยการแมทช์คัท
  • 2:32 - 2:34
    แต่ซีเควนซ์ที่ 6 ไม่ได้เชื่อมด้วยแมทช์คัท
  • 2:34 - 2:36
    เขากลับใช้วิธีการซ้อนกราฟฟิคเพื่อเชื่อมมัน
  • 2:38 - 2:41
    เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นชัดขึ้น
    ใน 15 นาทีแรกของ 'Inception'
  • 2:41 - 2:45
    มีซีนความฝันที่เชื่อมต่อกัน 4 ซีน
    แต่ใช้การแมทช์คัทเชื่อมซีนแค่ครั้งเดียว
  • 2:45 - 2:48
    --What is the most resilient parasite?
  • 2:48 - 2:53
    การตัดต่อหนังแบบนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก
    แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องทั่วๆไปที่คนทำหนังจะทำ
  • 2:53 - 2:57
    ปกติมันจะเป็นเอฟเฟคท์ที่ใช้ครั้งเดียวเท่านั้น
    2 ตัวอย่างที่โดดเด่นคือ ;
  • 3:01 - 3:03
    อ้อ แล้วก็ตัวนี้อีกตัว เพราะมันเจ๋งมาก
  • 3:04 - 3:07
    งานของ คง มักจะเกี่ยวกับความฝัน ความทรงจำ
  • 3:07 - 3:09
    ฝันร้าย, หนัง, และชีวิต
  • 3:09 - 3:11
    เขาใช้ภาพที่ล้อกันในการเชื่อมโลกเหล่านี้
  • 3:12 - 3:14
    บางครั้งเค้าก็ผสมทรานสิชั่นพวกนี้ต่อเนื่องกัน
  • 3:14 - 3:17
    เพื่อให้เราคุ้นเคยกับภาพของซีนต่อไป
    ก่อนที่จะเข้าซีนนั้น
  • 3:22 - 3:24
    ทั้งหมดนี่ทำให้หนังของเขาตื่นตาตื่นใจเสมอ
  • 3:24 - 3:26
    เราอาจจะโดนโยนข้ามซีนแค่ชั่วกระพริบตา
  • 3:37 - 3:40
    ต่อให้ไม่ได้เล่าเรื่องความฝัน
    คง ก็ไม่ได้ตัดต่อแบบธรรมดาๆ
  • 3:40 - 3:43
    เขาชอบที่จะเล่นกับเรื่องที่ขนานกัน
    บ่อยครั้งที่เขาจะเล่าข้ามไปที่บางส่วนของซีนอื่น
  • 3:46 - 3:48
    เช่น เราเห็นตัวละครมองไปที่กุญแจดอกนึง
  • 3:48 - 3:50
    เราก็คาดหวังว่าเขาจะหยิบมันไป
  • 3:50 - 3:54
    แต่เขาก็เล่าไปที่ซีนอื่นซะ
    ก่อนที่จะหยิบมันมาเล่าอีกที
  • 3:58 - 4:00
    หรือ ในซีนที่ชายคนนึงโดดจากหน้าต่างแล้วเฟดออก
  • 4:00 - 4:03
    ทันใด เราก็โดนตัดมาสู่ซีนที่เราไม่เข้าใจ
    เพื่อบอกเราว่า นี่คือความฝัน
  • 4:03 - 4:06
    แล้วค่อยเล่าสรุปซีนก่อนหน้าให้เรา
  • 4:09 - 4:12
    แม้แต่เรื่องฆาตกรรม
    เขาก็ยังคงเล่าด้วยการแทรกภาพแปลกๆ
  • 4:13 - 4:15
    แล้วค่อยจบด้วยความรู้สึกสยอง
  • 4:18 - 4:21
    ส่วนตัวแล้ว ผมชอบวิธีการตายของตัวละครของเขา
  • 4:21 - 4:24
    อย่างอันนี้ คนแก่ตายลงแล้วกังหันลมก็หยุดหมุน
  • 4:25 - 4:27
    แต่กลายเป็นว่าเขายังไม่ตาย
    กังหันก็กลับมาหมุนอีกครั้ง
  • 4:27 - 4:29
    ในตอนท้ายของซีนนี้ ชอทกังหันไม่ได้ถูกใช้ซ้ำ
  • 4:29 - 4:32
    แต่เมื่อเราสังเกตเห็นว่ามันไม่เคลื่อนไหว
    เราก็รู้ได้ทันทีว่า เขาตายไปแล้ว
  • 4:33 - 4:36
    คง ชอบที่จะเริ่มซีนด้วยชอทโคลสอัพ
  • 4:36 - 4:38
    ให้เราเดาเอาเองว่าอยู่ที่ไหน
  • 4:39 - 4:41
    นานๆที เขาก็ใช้ establish shot
  • 4:41 - 4:44
    แล้วค่อยบอกว่ามันแค่เป็นมุมมองของตัวละคร
  • 4:44 - 4:47
    นั่นทำให้เราเข้าสู่โลกของตัวละครอย่างไม่รู้ตัว
  • 4:48 - 4:50
    บ่อยครั้งที่เขาจะเล่าภาพนึงขึ้นมา
  • 4:50 - 4:52
    เพื่อที่จะบอกว่ามันไม่ใช่อย่างที่เราคิด
  • 4:52 - 4:54
    ความรู้สึกเรื่องสถานที่และเวลา
    กลับกลายเป็นสิ่งที่เรา แค่คิดไปเอง
  • 4:57 - 5:01
    มีหลายสิ่งที่เขาทำในแบบที่คนถ่ายหนังจริงจะทำไม่ได้
  • 5:01 - 5:03
    คง เคยเล่าว่า เขาไม่อยากกำกับหนังคนเล่นจริง
  • 5:03 - 5:06
    เพราะการตัดต่อของเขามันเร็วเกินกว่าคนจะเล่น
  • 5:06 - 5:07
    เช่น
  • 5:10 - 5:13
    ชอทนี้ใช้ภาพแค่ 6 เฟรม
  • 5:13 - 5:16
    ในขณะที่การถ่ายจริงชอทนี้ต้องใช้ภาพ 10 เฟรม
  • 5:17 - 5:19
    ลองดูอินเสิร์ทกระดาษโน้ตชอทนี้สิ
  • 5:20 - 5:22
    เล่าได้ใน 10 เฟรม แต่หนังที่ถ่ายต้องใช้
  • 5:24 - 5:25
    49 เฟรม
  • 5:26 - 5:30
    ในการทำอนิเมชั่น คง รู้ว่า
    เขาไม่จำเป็นต้องวาดรายละเอียดมากมายในชอท
  • 5:30 - 5:32
    เพราะคนดูจะเข้าใจชอทเร็วกว่า
  • 5:32 - 5:35
    เราอาจจะเห็นสิ่งที่ Wes Anderson
    ทำในการถ่ายหนังของเขา
  • 5:35 - 5:39
    เขาลดข้อมูลในภาพ insert ออก เพื่อให้เราเข้าใจได้ไวขึ้น
  • 5:41 - 5:46
    เรื่องนี้น่าจำไว้ เราอาจจะตัดต่อซีนให้เร็วขึ้น
    เพื่อสร้างการรับรู้จากจิตใต้สำนึกขึ้นมา
  • 5:46 - 5:48
    บางชอทในซีนนี้มีแค่เฟรมเดียวเท่านั้น
  • 5:49 - 5:50
    สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่เอฟเฟคท์เก๋ๆ
  • 5:50 - 5:54
    คง เชื่อว่า เราสามารถรู้สึกถึงสถานที่ เวลา
    ความจริง และจินตนาการ
  • 5:54 - 5:58
    ได้ทั้งในแบบของตัวเอง และความรู้สึกร่วมในสังคม
  • 5:58 - 6:01
    สไตล์ภาพและเสียงของ คง มีเพื่อพรรณาถึงเรื่องนี้
  • 6:01 - 6:05
    ตลอด 10 ปีในการทำหนัง เขาพยายามที่จะผลักงาน
    อนิเมชั่นไปสู่สิ่งที่การถ่ายทำให้ไม่ได้
  • 6:06 - 6:11
    ไม่ใช่แค่ภาพที่เหนือจริง
    แต่ยังรวมถึงการตัดต่อที่โดดเด่น
  • 6:12 - 6:14
    เขาทำสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยความช่วยเหลือของ
    Studio Madhouse
  • 6:14 - 6:16
    ที่ช่วยเขาสร้างสรรค์สิ่งที่ยิ่งใหญ่ในหนังขึ้นมาด้วยกัน
  • 6:16 - 6:19
    และนี่ คือหนังที่จะทำให้เข้าถึงบทสรุปการทำงาน
    ที่สมบูรณ์ของ คง
  • 6:19 - 6:20
    หนังเรื่องสุดท้ายในชีวิตของเขา
  • 6:20 - 6:22
    หนังสั้น 1 นาที ที่เล่าความรู้สึก
    ของการตื่นขึ้นมาในทุกๆเช้า
  • 6:23 - 6:24
    นี่คือ Ohayou (อรุณสวัสดิ์)
  • 7:21 - 7:23
    หลับให้สบายนะครับ
    Satoshi Kon
Title:
Satoshi Kon - Editing Space & Time by Every Frame A Painting Sub Thai
Description:

Thai Subtitle

more » « less
Video Language:
English
Duration:
07:37

Thai subtitles

Revisions