Return to Video

ทำไมพวกเราถึงต้องปฐมพยาบาลอารมณ์

  • 0:03 - 0:07
    ผมเติบโตมากับคู่แฝดเหมือนของผม
  • 0:07 - 0:10
    ซึ่งเป็นพี่ชายที่ผมรักมาก
  • 0:10 - 0:14
    การที่คุณมีคู่แฝด จะทำให้คุณเชี่ยวชาญ
  • 0:14 - 0:17
    ว่า มีการลำเอียงเกิดขึ้นเมื่อไหร่
  • 0:17 - 0:22
    เช่น ถ้าคู่แฝดผมได้คุ้กกี้ที่
    ใหญ่กว่าผมนิดนึง ผมก็จะมีคำถาม
  • 0:22 - 0:27
    ทั้งที่จริงๆ ผมก็ไม่ได้หิวอะไรนัก
  • 0:27 - 0:29
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:29 - 0:34
    เมื่อผมได้เป็นนักจิตวิทยา
    ผมได้เห็นความลำเอียงในรูปแบบต่างออกไป
  • 0:34 - 0:40
    นั่นคือ เราให้ความสำคัญกับร่างกายเรา
    มากกว่าจิตใจของเราเท่าไหร่
  • 0:40 - 0:46
    ผมใช้เวลา 9 ปีในมหาวิทยาลัย
    เพื่อที่จะได้ปริญญาเอกด้านจิตวิทยา
  • 0:46 - 0:51
    ผมบอกคุณไม่ได้หรอกว่ามีกี่คน
    ที่ดูนามบัตรของผมแล้วเอ่ยว่า
  • 0:51 - 0:55
    "อ่อ นักจิตวิทยา....
    ไม่ใช่หมอจริง ๆ นี่"
  • 0:55 - 0:59
    เหมือนกับที่เขียนบนนามบัตรผมหละ
    (นามบัตรเขียน : นักจิตวิทยา ไม่ใช่หมอ)
  • 0:59 - 1:03
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:03 - 1:09
    ผมเห็นความลำเอียงที่เราให้กับร่างกาย
    มากกว่าจิตใจ ทุกที่เลยละ
  • 1:10 - 1:11
    ผมเพิ่งไปแวะบ้านเพื่อนมา
  • 1:11 - 1:14
    และ ลูกห้าขวบของเขา
    กำลังจะไปนอน
  • 1:14 - 1:18
    ลูกเขากำลังยืนบนม้านั่งหน้าอ่างล้างมือ
    แปรงฟันอยู่
  • 1:18 - 1:22
    ตอนที่เขาตก แล้วขาของเขาถลอก
    กับม้านั่งที่เขาตกลงมา
  • 1:22 - 1:24
    เขาร้องไห้ประมาณนาทีนึง
    แต่ก็กลับมายืนใหม่
  • 1:24 - 1:32
    บนม้านั่ง และยื่นมือไปหากล่องพยาบาลเพื่อ
    เอาพลาสเตอร์มาปิดแผล
  • 1:32 - 1:35
    เด็กคนนี้ผูกเชือกรองเท้าเองแทบจะยังไม่ได้
  • 1:35 - 1:40
    แต่เขารู้ว่าต้องปิดแผล
    เพื่อไม่ให้ติดเชื้อ
  • 1:40 - 1:43
    และ รู้ด้วยว่าคุณต้องแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง
    เพื่อรักษาฟันของตัวเอง
  • 1:43 - 1:46
    พวกเราทุกคนรู้ว่าควรดูแลร่างกายเราอย่างไร
  • 1:46 - 1:49
    เช่น จะดูแลรักษาฟันตัวเองอย่างไร ใช่ไหม?
  • 1:49 - 1:53
    เรารู้เรื่องนี้ตั้งแต่เราห้าขวบเลยด้วยซ้ำ
  • 1:53 - 1:58
    แต่ เรารู้หรือปล่าวว่าเราจะดูแล
    สุขภาพจิตของเราอย่างไร?
  • 1:58 - 2:00
    เราไม่รู้เลย
  • 2:00 - 2:04
    แล้วเราสอนอะไรเด็ก ๆ บ้าง
    ให้ดูแลสุขอนามัยทางอารมณ์?
  • 2:05 - 2:06
    ไม่มีเลย
  • 2:07 - 2:11
    ทำไมเราใช้เวลาดูแลฟันของเรา
  • 2:11 - 2:14
    มากกว่าเวลาดูแลจิตใจเราละ?
  • 2:14 - 2:19
    ทำไมสุขภาพของร่างกายถึงสำคัญกว่า
  • 2:19 - 2:21
    สุขภาพจิตของเราอย่างมากล่ะ?
  • 2:21 - 2:27
    คุณรู้ไหม? ..เราปล่อยแผลทางจิตใจเรา
    ทิ้งไว้บ่อยกว่าแผลของร่างกายเรา
  • 2:27 - 2:31
    แผล เช่น ความผิดพลาด
    การโดนปฏิเสธ หรือ ความเหงา
  • 2:31 - 2:34
    และ แผลเหล่านี้ยิ่งร้ายแรง
    ถ้าเราทิ้งไว้อย่างนั้น
  • 2:34 - 2:37
    และ อาจมีผลกระทบอย่างมาก
    กับชีวิตเรา
  • 2:37 - 2:41
    ถึงแม้จะมีวิธีที่มีการยืนยันทาง
    วิทยาศาสตร์มากมาย
  • 2:41 - 2:46
    ที่ช่วยรักษาแผลทางจิตใจเหล่านี้ได้
  • 2:46 - 2:47
    แต่เราก็ไม่ใช้มัน
  • 2:47 - 2:50
    เราไม่เคยรักษาจิตใจตัวเอง
    อย่างที่ควร
  • 2:50 - 2:55
    "โอ้ คุณรู้สึกเศร้ามาใช่ไหม?
    เอามันออกไปสิ มันแค่อยู่ในหัวคุณนั่นแหละ"
  • 2:55 - 2:58
    คุณลองจินตนาการสิครับ ถ้ามีคนขาหักเข้ามา
  • 2:58 - 3:01
    "โอ้ แค่เดินให้มันออกไปสิ
    มันแค่อยู่บนขาคุณนั่นแหละ"
  • 3:01 - 3:03
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:03 - 3:09
    ถึงเวลาแล้วที่เราความลำเอียงระหว่าง
    ร่างกาย กับ จิตใจของเรา
  • 3:09 - 3:12
    ถึงเวลาแล้วที่เราควรให้ความสำคัญเท่ากัน
  • 3:12 - 3:15
    เหมือนคู่แฝด
  • 3:15 - 3:19
    นอกจากนั้น
    คู่แฝดของผมก็เป็นนักจิตวิทยาเหมือนกัน
  • 3:19 - 3:22
    เขาก็ไม่ใช่หมอจริง ๆ เหมือนกัน
  • 3:22 - 3:24
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:24 - 3:26
    แต่เราไม่ได้เรียนด้วยกันนะครับ
  • 3:26 - 3:30
    ที่จริงแล้วสิ่งที่ยากที่สุด
    ที่ผมเคยทำมาในชีวิต
  • 3:30 - 3:33
    คือการย้ายข้ามฝั่งแอตแลนติก
    เพื่อมานิวยอร์ค
  • 3:33 - 3:36
    เพื่อจะได้ปริญญาเอกด้านจิตวิทยา
  • 3:36 - 3:39
    เป็นครั้งแรกในชีวิตที่เราถูกแยกออกจากกัน
  • 3:39 - 3:42
    ตอนแยกจากกัน เราทั้งคู่รู้สึกแย่มาก
  • 3:42 - 3:45
    แต่ในขณะที่เขาอยู่กับครอบครัวและเพื่อน
  • 3:45 - 3:49
    ผมอยู่คนเดียวในประเทศใหม่
  • 3:49 - 3:50
    เราคิดถึงกันมากๆ
  • 3:50 - 3:53
    แต่ในตอนนั้นโทรศัพท์ข้ามประเทศ
    แพงเหลือเกิน
  • 3:53 - 3:58
    และเงินที่เรามี ก็ใช้คุยกันได้แค่
    5 นาทีต่อสัปดาห์
  • 3:58 - 4:00
    ช่วงที่วันเกิดของเราใกล้เข้ามา
  • 4:00 - 4:03
    เป็นครั้งแรกที่เราไม่ได้ใช้เวลาร่วมกัน
  • 4:03 - 4:06
    อาทิตย์นั้น เราวางแผนจะใช้เงินเยอะเกินตัว
    เราจะคุยกัน 10 นาที
  • 4:07 - 4:11
    ผมเดินวนไปมารอบห้อง รอเขาโทรมา
  • 4:11 - 4:18
    รอแล้วรออีก แต่โทรศัพท์ก็ไม่ดังสักที
  • 4:18 - 4:20
    คงเป็นเรื่องเวลาที่ต่างกัน ผมคิด
  • 4:20 - 4:23
    "โอเค เขาอาจจะอยู่กับเพื่อน
    เขาคงโทรมาทีหลังละ"
  • 4:23 - 4:25
    แต่ก็ไม่มีโทรศัพท์มาเลย
  • 4:25 - 4:27
    เขาไม่ได้โทรมา
  • 4:27 - 4:32
    แล้วผมก็เริ่มคิดว่าหลังจากที่
    เราห่างกันมา 10 เดือน
  • 4:32 - 4:36
    เขาไม่ได้คิดถึงผมแล้วเหมือนที่ผมคิดถึงเขา
  • 4:36 - 4:38
    ผมคิดว่าเขาจะโทรมาตอนเช้า
  • 4:38 - 4:45
    แต่ คืนนั้นเป็นคืนที่เศร้า และ
    ยาวนานที่สุดในชีวิตของผม
  • 4:45 - 4:47
    ผมตื่นขึ้นมาเช้าวันถัดมา
  • 4:47 - 4:51
    ผมมองไปที่โทรศัพท์ แล้วเพิ่งรู้ว่าตัวว่าผม
    เผลอไปเตะให้สายมันหลุด
  • 4:51 - 4:55
    ตอนที่เดินไปเดินมาวันก่อน
  • 4:55 - 4:56
    ผมรีบลุกจากเตียง
  • 4:56 - 5:00
    วางหูโทรศัพท์กลับไปที่เครื่อง
    แล้วเสียงโทรศัพท์ก็ดังทันที
  • 5:00 - 5:04
    เป็นคู่แฝดผมอยู่ในสาย
    เขาโกรธมาก
  • 5:04 - 5:06
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:06 - 5:09
    มันก็เป็นคืนที่เศร้าและยาวนานที่สุด
    ของเขาเช่นกัน
  • 5:09 - 5:12
    ผมพยายามอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น แต่เขาพูดว่า
  • 5:12 - 5:15
    "เราไม่เข้าใจว่า
    ถ้านายเห็นว่าเราไม่โทรหา
  • 5:15 - 5:19
    แล้วทำไมนายไม่โทรมาหาเราละ?"
  • 5:19 - 5:24
    เขาพูดถูกนะ ทำไมผมไม่โทรหาเขา?
  • 5:24 - 5:27
    วันนั้นผมไม่มีคำตอบ
    แต่วันนี้ผมได้คำตอบแล้ว
  • 5:27 - 5:32
    คำตอบสั้นๆคำเดียวคือ : ความเหงา
  • 5:32 - 5:36
    ความเหงาทำให้เกิดบาดแผลลึกทางจิตใจ
  • 5:36 - 5:40
    เปลี่ยนแปลงการรับรู้ของเรา
    ปั่นความคิดของเราปนกันไปหมด
  • 5:40 - 5:46
    ให้เราเชื่อว่าคนรอบตัวใส่ใจเรา
    น้อยกว่าความเป็นจริง
  • 5:46 - 5:48
    ทำให้เรากลัวที่จะเข้าหาพวกเขา
  • 5:48 - 5:52
    เพราะฉะนั้นทำให้คุณเจอแต่
    การปฏิเสธและเรื่องปวดใจ
  • 5:52 - 5:56
    ในขณะที่ใจของคุณก็เจ็บปวดเกินทนอยู่แล้ว?
  • 5:56 - 6:00
    ผมถูกความเหงาครอบงำไปในตอนนั้น
  • 6:00 - 6:04
    แต่ถ้า ผมอยู่รายล้อมไปด้วยผู้คนทั้งวัน
    มันก็คงไม่เกิดขึ้นกับผม
  • 6:04 - 6:09
    แต่ความเหงาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วแต่บุคคล
  • 6:09 - 6:12
    มันขึ้นอยู่กับความรู้สึกของคุณเองว่า
  • 6:12 - 6:15
    คุณถูกตัดขาดทางอารมณ์และ
    สังคมจากคนรอบข้างคุณหรือไม่?
  • 6:15 - 6:17
    ซึ่งใช่สำหรับผมตอนนั้น
  • 6:17 - 6:23
    มีงานวิจัยหลายชิ้นเกี่ยวกับความเหงา
    และทุกชิ้นล้วนน่ากลัว
  • 6:23 - 6:28
    ความเหงาไม่ได้ทำให้คุณเป็นทุกข์นะ
    มันจะฆ่าคุณเลยละ
  • 6:28 - 6:29
    ผมไม่ได้พูดเล่นนะ
  • 6:29 - 6:33
    ภาวะเหงาเรื้อรังจะเพิ่ม
    โอกาสของการตายก่อนวัยอันควร
  • 6:33 - 6:37
    ถึง 14 เปอร์เซนต์
  • 6:37 - 6:41
    ความเหงา ทำให้ความดันโลหิตสูง
    คลอเรสเตอรอลสูง
  • 6:41 - 6:45
    ซ้ำยังไปกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • 6:45 - 6:49
    ทำให้คุณอ่อนแอต่อความเจ็บป่วยและโรคภัย
  • 6:49 - 6:52
    นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปว่า
  • 6:52 - 6:56
    การเหงาต่อเนื่องเป็นภัยต่อสุขภาพระยะยาว
  • 6:56 - 7:00
    ไม่ต่างกับการสูบบุหรี่
  • 7:00 - 7:05
    ปัจจุบันข้างซองบุหรี่จะเขียนว่า
    "บุหรี่อาจฆ่าคุณได้"
  • 7:05 - 7:07
    แต่ ความเหงาไม่มีการเตือนทั้งสิ้น
  • 7:07 - 7:12
    และนั่นเป็นสิ่งที่สำคัญว่า
    ทำไมเราถึงให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกาย
  • 7:12 - 7:15
    มากกว่าสุขภาพทางจิตใจของเรา
  • 7:15 - 7:18
    เพราะคุณไม่สามารถจะรักษาแผลทางใจได้
  • 7:18 - 7:22
    ถ้าคุณไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังมีแผลอยู่
    (อย่าลืมสำรวจความเจ็บป่วยทางจิตใจ)
  • 7:22 - 7:25
    ความเหงาไม่ใช่แผลทางจิตใจ
    เพียงประเภทเดียว
  • 7:25 - 7:28
    ที่เปลี่ยนการรับรู้และทำให้เราไขว้เขว
  • 7:28 - 7:32
    ความล้มเหลวก็เช่นกัน
  • 7:32 - 7:34
    ครั้งหนึ่ง ผมไปสถานเลี้ยงเด็กภาคกลางวัน
  • 7:34 - 7:39
    ผมเห็นเด็กตัวเล็กๆสามคน
    กำลังเล่นของเล่นที่เหมือนกัน 3 ชิ้น
  • 7:39 - 7:44
    ถ้าคุณเลื่อนปุ่มสีแดง
    จะมีหมาน่ารักโผล่ออกมา
  • 7:44 - 7:49
    เด็กผู้หญิงคนนึงพยายามจะดึงปุ่มสีม่วง
    และก็ดันมันเข้าไป
  • 7:49 - 7:53
    และ เธอก็นั่งเอนหลัง มองที่กล่อง
    ด้วยริมฝีปากสั่น
  • 7:53 - 7:56
    เด็กชายข้างๆเธอเห็นเหตุการณ์
  • 7:56 - 8:01
    แล้วกลับมาที่กล่องตัวเอง แล้วก็ร้องไห้ใหญ่
    ทั้งๆที่ยังไม่ได้แตะอะไรเลย
  • 8:01 - 8:05
    ขณะเดียวกัน เด็กหญิงอีกคนกำลังพยายามทุกทาง
  • 8:05 - 8:06
    จนกระทั่งเธอเลื่อนปุ่มสีแดง
  • 8:06 - 8:11
    หมาที่น่ารักก็ออกมา
    และ เธอก็ร้องด้วยความยินดี!
  • 8:11 - 8:14
    เพราะฉะนั้นถึงแม้เด็กทั้งสามจะเล่น
    ของเล่นที่เหมือนกัน
  • 8:14 - 8:18
    แต่กลับมีปฏิกิริยาต่างกันต่อความล้มเหลว
  • 8:18 - 8:22
    สองคนแรกมีความสามารถจะเลื่อนปุ่มสีแดง
    อยู่แล้วแหละครับ
  • 8:22 - 8:26
    มีอย่างเดียวเท่านั้นละครับที่หยุดไม่ให้
    เขาประสบความสำเร็จ
  • 8:26 - 8:30
    นั่นก็คือว่าจิตใจของพวกเขาตกหลุมพราง
    ว่าพวกเขาทำไม่ได้
  • 8:30 - 8:34
    ผู้ใหญ่เองก็ตกหลุมนี้เหมือนกันตลอดเวลา
  • 8:34 - 8:40
    ซึ่งแท้จริงแล้ว พวกเรามีความรู้สึกพื้นฐาน
    และความเชื่อที่พร้อมจะผุดขึ้นมา
  • 8:40 - 8:44
    เมื่อเราเผชิญความผิดหวังและย่อท้อ
  • 8:44 - 8:47
    คุณรู้สึกตัวไหมว่าคุณตอบสนองกับ
    ความล้มเหลวอย่างไร?
  • 8:47 - 8:48
    คุณจำเป็นต้องรู้สึกนะครับ
  • 8:48 - 8:52
    เพราะถ้าจิตใจของคุณพยายามกล่อมว่า
    คุณไม่สามารถทำอะไรบางอย่างได้
  • 8:52 - 8:54
    และ คุณเชื่อมัน
  • 8:54 - 8:57
    คุณก็จะเหมือนเด็กสองคน
    คุณจะรู้สึกทำอะไรไม่ได้เลย
  • 8:57 - 9:01
    และ คุณก็จะหยุดพยายาม
    หรือหนักกว่านั้นก็คือไม่พยายามแต่แรก
  • 9:01 - 9:04
    จากนั้นคุณจะยิ่งเชื่อว่า
    คุณประสบความสำเร็จไม่ได้
  • 9:04 - 9:09
    คุณเห็นไหม ว่าทำไมหลายคนถึงทำงานได้
    ต่ำกว่าความสามารถที่แท้จริงของเขา
  • 9:09 - 9:12
    เพราะ เมื่อทุกอย่างผ่านไป
    บางที แค่ความล้มเหลวอันใดอันหนึ่ง
  • 9:12 - 9:16
    ก็สามารถทำให้เขาเชื่อว่าเขาไม่สามารถ
    ประสบความสำเร็จและเชื่ออย่างนั้น
  • 9:16 - 9:22
    เมื่อเราเชื่อไปแล้วว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งยาก
    มันก็ยากที่จะเปลี่ยนความคิดคืน
  • 9:22 - 9:26
    ผมเรียนรู้บทเรียนบนความยากลำบาก
    ช่วงที่ผมเป็นวัยรุ่นกับคู่แฝดของผม
  • 9:26 - 9:29
    เราขับรถกับเพื่อนบนถนนที่มืดตอนกลางคืน
  • 9:29 - 9:31
    ตอนนั้นตำรวจหยุดรถของเรา
  • 9:31 - 9:34
    เพิ่งมีการปล้นในย่านนั้น
    และ เขากำลังตามหาผู้ต้องสงสัย
  • 9:34 - 9:38
    เจ้าหน้าเข้ามาที่รถของเราและ
    เขาก็เอาไฟฉายส่องมาที่คนขับ
  • 9:38 - 9:43
    แล้วก็เลื่อนมาที่พี่ชายของผมด้านหน้า
    แล้วก็มาที่ผม
  • 9:43 - 9:45
    ทันใดนั้นตาเขาก็โต และพูดว่า
  • 9:45 - 9:47
    "ผมเคยเห็นคุณที่ไหนมาก่อนนะ?"
  • 9:47 - 9:49
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:51 - 9:54
    ผมก็ตอบว่า "ก็พี่ชายที่นั่งเบาะหน้าไงครับ"
  • 9:54 - 9:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:56 - 9:59
    แต่ คำพูดนั้นเหมือนว่าไม่สมเหตุสมผลกับเขา
  • 9:59 - 10:01
    เขาเลยคิดว่าผมกำลังเมายาอยู่
  • 10:01 - 10:02
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:02 - 10:05
    เขาลากผมออกมาจากรถ
    แล้วก็ค้นตัวผม
  • 10:05 - 10:07
    พาผมเดินไปยังรถตำรวจ
  • 10:07 - 10:10
    แล้ว ตอนที่เขาตรวจเสร็จแล้ว
    ว่าผมไม่ได้ทำอะไรผิด
  • 10:10 - 10:14
    ผมถึงมีโอกาสบอกเขาว่าผมมี
    คู่แฝดนั่งหน้ามาด้วย
  • 10:14 - 10:18
    แต่ ถ้าแม้ตอนเรากำลังขับออกไป
    คุณก็จะเห็นใบหน้าของเขาว่า
  • 10:18 - 10:23
    เขายังคงเชื่อว่าผมซ่อนสิ่งของบางอย่างไว้
  • 10:23 - 10:27
    ความคิดของเรายากที่จะเปลี่ยน
    เมื่อเราเชื่อไปแล้ว
  • 10:27 - 10:31
    ดังนั้นเป็นธรรมชาติที่คุณอาจรู้สึก
    เสียขวัญ พ่ายแพ้ เมื่อคุณล้มเหลว
  • 10:31 - 10:36
    แต่คุณต้องไม่ปล่อยให้ตัวเองยอมรับว่า
    คุณไม่สามารถประสบความสำเร็จได้
  • 10:36 - 10:39
    คุณจะต้องสู้กับความรู้สึกเหล่านั้น
  • 10:39 - 10:42
    แล้วกลับมาควบคุมตัวเอง
    ให้อยู่เหนือเหตุการณ์
  • 10:42 - 10:47
    และ คุณจะต้องหยุดวงจรความรู้สึกลบ
    เหล่านี้ก่อนที่มันจะเริ่มต้น
  • 10:48 - 10:51
    ความคิดและจิตใจของเรา
  • 10:51 - 10:54
    ไม่ใช่เพื่อนที่ไว้ใจได้อย่างที่เราคิด
  • 10:54 - 10:56
    มันเหมือนเพื่อนที่อารมณ์แปรปรวน
  • 10:56 - 11:02
    ซึ่งอาจจะช่วยเหลือเราในนาทีแรก
    แล้วก็เปลี่ยนเป็นเลวร้ายในนาทีให้หลัง
  • 11:02 - 11:04
    ผมเคยทำงานกับผู้หญิงคนนึง
  • 11:04 - 11:08
    ที่แต่งงานกว่า 20 ปี
    แล้วเพิ่งหย่าด้วยสภาวะที่แย่มาก
  • 11:08 - 11:10
    จนที่สุดก็พร้อมที่จะมีเดทครั้งแรก
  • 11:10 - 11:15
    เธอเจอผู้ชายคนนึงผ่านออนไลน์ และ
    เขาก็ดูดี ประสบความสำเร็จ
  • 11:15 - 11:19
    และที่สำคัญ เขาดูชอบเธอมาก
  • 11:19 - 11:22
    เธอเลยตื่นเต้นมาก
    เธอไปซื้อเสื้อผ้าใหม่
  • 11:22 - 11:26
    พวกเขาก็นัดพบกันที่
    บาร์หรูแห่งหนึ่งในนิวยอร์ค
  • 11:26 - 11:29
    สิบนาทีหลังจากพบกัน
    ผู้ชายกลับยืนขึ้นแล้วบอกว่า
  • 11:29 - 11:33
    "ผมไม่สนใจ" แล้วก็เดินหนีไป
  • 11:33 - 11:38
    การปฏิเสธนั้นเจ็บปวดมาก
  • 11:38 - 11:42
    ผู้หญิงคนนั้นเจ็บปวดมาก เธอไปไหนไม่ได้
    เธอทำได้แค่โทรหาเพื่อน
  • 11:42 - 11:47
    นี่คือที่เพื่อนบอก:
    "แล้ว เธอคาดหวังอะไรละ?
  • 11:47 - 11:50
    เธอมีสะโพกที่ใหญ่
    เธอไม่มีอะไรที่น่าสนใจให้พูดถึง
  • 11:50 - 11:53
    แล้วทำไมผู้ชายหล่อ ประสบความสำเร็จ จะมา
  • 11:53 - 11:57
    ออกเดทกับคนขี้แพ้แบบเธอละ?"
  • 11:57 - 12:00
    น่าตกใจครับ
    เพื่อนช่างโหดร้ายขนาดนี้เชียว?
  • 12:00 - 12:03
    แต่คุณจะบอกว่ามันไม่ได้น่าตกใจเท่าไหร่
  • 12:03 - 12:06
    ถ้าผมบอกคุณว่า คนที่พูดนั้นไม่ใช่เพื่อน
  • 12:06 - 12:09
    แต่เป็นสิ่งที่ผู้หญิงคนนั้นพูดกับตัวเอง
  • 12:09 - 12:13
    และ นั่นเป็นบางอย่างที่เราทำ
    โดยเฉพาะหลังจากถูกปฏิเสธ
  • 12:13 - 12:17
    เราจะเริ่มคิดถึง จุดที่เราทำผิด
    ข้อเสียของเรา
  • 12:17 - 12:19
    เราน่าจะเป็นแบบนี้
    เราไม่น่าจะเป็นแบบนี้
  • 12:19 - 12:20
    แล้วก็ต่อว่าตัวเอง
  • 12:20 - 12:24
    มันอาจจะไม่ได้ร้ายแรง แต่พวกเราทำกันทุกคน
  • 12:24 - 12:28
    ที่น่าสนใจคือเราทำแบบนี้ เพราะ
    ความมั่นใจตัวเองของเรากำลังสั่นคลอน
  • 12:28 - 12:31
    แต่ทำไมเราต้องทำให้เสียหายมากกว่าเดิม?
  • 12:31 - 12:34
    เราไม่เคยตั้งใจทำให้บาดแผลทางร่างกายเรา
    แย่ลง
  • 12:34 - 12:37
    คุณไม่น่าจะมีรอยแผลบนแขน
    แล้วตัดสินใจว่า
  • 12:37 - 12:41
    "ผมรู้ละ! ผมจะไปเอามีดมากรีดต่อ
    อยากรู้ว่าจะลึกได้แค่ไหน"
  • 12:41 - 12:44
    แต่เราทำแบบนี้กับบาดแผลทางจิตใจตลอดเวลา
  • 12:44 - 12:48
    ทำไม? เพราะสุขอนามัยด้านจิตใจเราแย่
  • 12:48 - 12:50
    เพราะเราไม่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของเรา
  • 12:50 - 12:55
    เรารู้จากงานวิจัยเป็นสิบๆชิ้นว่า
    เมื่อความภูมิใจในตนเองลดลง
  • 12:55 - 12:58
    คุณจะอ่อนแอต่อความเครียด
    และความกังวลมากขึ้น
  • 12:58 - 13:03
    ความล้มเหลว การโดนปฏิเสธ ยิ่งทำให้เจ็บขึ้น
    และใช้เวลานานกว่าจะฟื้น
  • 13:03 - 13:06
    เพราะฉะนั้น ถ้าคุณถูกปฏิเสธ
    สิ่งแรกที่คุณทำ
  • 13:06 - 13:13
    คือเอาความมั่นใจคุณกลับมา
    ไม่ใช่ซ้ำเติมตัวเองให้จิตใจแหลกละเอียด
  • 13:13 - 13:15
    ถ้าคุณมีความเจ็บปวดทางใจ
  • 13:15 - 13:22
    ให้รางวัลตัวเองด้วยความเห็นใจ
    แบบที่คุณจะได้จากเพื่อนแท้ของคุณ
  • 13:23 - 13:28
    คุณต้องจับให้ได้ว่าอะไรเป็นพฤติกรรมทางจิต
    ที่ไม่ดีของคุณ แล้วเปลี่ยนมัน
  • 13:28 - 13:32
    สิ่งหนึ่งที่แย่ที่สุดและพบบ่อยที่สุดคือ
    การรำพึง
  • 13:32 - 13:35
    การที่คุณรำพึง หมายถึง ครุ่นคิด
  • 13:35 - 13:39
    เมื่อหัวหน้าคุณตะโกนใส่คุณ หรือ อาจารย์
    ทำให้คุณรู้สึกโง่ในห้องเรียน
  • 13:39 - 13:42
    หรือ เมื่อคุณโต้เถียงกับเพื่อน
  • 13:42 - 13:46
    และ คุณไม่สามารถหยุดนึกถึงเรื่องเก่า
    เป็นเวลาหลายวัน
  • 13:46 - 13:48
    หรือบางทีหลายสัปดาห์
  • 13:48 - 13:54
    การรำพึงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เราผิดหวัง
    จะกลายเป็นนิสัยได้ง่าย
  • 13:54 - 13:56
    ซึ่งจะเสียหายมาก
  • 13:56 - 14:00
    เพราะ ถ้าใช้เวลามากไปกับเรื่องเสียอารมณ์
    และความคิดด้านลบ
  • 14:00 - 14:03
    คุณจะพาตัวเองไปเสี่ยงอย่างมาก
  • 14:03 - 14:07
    ต่อภาวะความเครียดสูง
    ติดเหล้า กินอาหารไม่ปกติ
  • 14:07 - 14:10
    หรือ อาจเป็นโรคหัวใจ ก็ได้
  • 14:10 - 14:16
    ปัญหาคือสิ่งเร้าที่ให้เกิดการรำพึงมัก
    เป็นสิ่งที่รุนแรงและสำคัญมาก
  • 14:16 - 14:18
    ทำให้ยากที่จะหยุดพฤติกรรมนี้
  • 14:18 - 14:22
    ผมรู้ความจริงข้อนี้เพราะเมื่อไม่นานนี้
    ประมาณปีเศษๆ
  • 14:22 - 14:24
    ผมมีพฤติกรรมเหล่านี้เช่นเดียวกัน
  • 14:24 - 14:31
    คุณรู้ไหม? พี่คู่แฝดของผมได้รับการวินิจฉัย
    ว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองขั้นที่ 3
  • 14:31 - 14:33
    มะเร็งของเขาร้ายแรงมาก
  • 14:33 - 14:37
    เขามีเนื้อร้ายที่มองเห็นได้เลยตามร่างกาย
  • 14:37 - 14:42
    และเขาเริ่มเข้ารับการฉายรังสีบำบัด
    อย่างเข้มข้น
  • 14:42 - 14:46
    ผมก็อดคิดไม่ได้ว่า
    เขาต้องผ่านอะไรบ้าง
  • 14:46 - 14:50
    อดคิดไม่ได้ว่า
    เขาจะทรมานแค่ไหน
  • 14:50 - 14:54
    กระนั้น เขาก็ไม่เคยบ่นเลยสักครั้ง
  • 14:54 - 14:57
    เขาก็ยังมีทัศนคติที่ดีแบบนี้
  • 14:57 - 15:00
    สุขภาพจิตของเขาน่าทึ่งมาก
  • 15:00 - 15:05
    ผมมีสุขภาพกายที่ดี
    แต่สุขภาพจิตผมยับเยิน
  • 15:05 - 15:07
    แต่ผมรู้ว่าจะทำอะไร
  • 15:07 - 15:11
    การศึกษามากมายบอกเราว่า
    ขอแค่เพียงมีเรื่องดึงความสนใจเราแค่ 2 นาที
  • 15:11 - 15:14
    ก็เพียงพอที่จะหลุดพ้นจากอารมณ์รำพึงได้
  • 15:14 - 15:17
    ทุกครั้งที่ผมกังวล เสียใจ
    หรือ มีความคิดแง่ลบ
  • 15:17 - 15:22
    ผมจะบังคับตัวเองให้มีสมาธิอยู่
    กับสิ่งอื่นๆ จนความรู้สึกแย่ๆผ่านไป
  • 15:22 - 15:27
    และ ภายในหนึ่งสัปดาห์
    มุมมองของผมทั้งหมดก็เปลี่ยนไป
  • 15:27 - 15:30
    กลายเป็นมองในแง่ดีมากขึ้น
    มีหวังมากขึ้น
  • 15:32 - 15:36
    เก้าสัปดาห์หลังจากที่เขาเริ่มรับรังสีคีโม
    พี่ชายของผมก็ไปตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์
  • 15:36 - 15:39
    ผมอยู่ข้างๆเขาจนกระทั่ง
    เขาได้รับผลตรวจ
  • 15:39 - 15:42
    เนื้อร้ายทั้งหมดได้หายไป
  • 15:42 - 15:45
    เขายังต้องผ่านการรับรังสีคีโมอีก 3 ครั้ง
  • 15:45 - 15:48
    แต่พวกเรารู้ว่าเขาจะกลับมาดีเหมือนเดิม
  • 15:48 - 15:52
    นี่เป็นรูปที่ถ่ายเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน
  • 15:54 - 15:57
    ถ้าคุณทำอะไรสักอย่างเมื่อคุณเหงา
  • 15:57 - 16:00
    ถ้าคุณเปลี่ยนการตอบสนองต่อความล้มเหลว
  • 16:00 - 16:03
    ถ้าปกป้องความมั่นใจของตนเอง
  • 16:03 - 16:05
    ถ้าคุณสู้กับความรู้สึกเชิงลบ
  • 16:05 - 16:08
    คุณจะไม่ได้แค่รักษาแผลทางจิตใจ
  • 16:08 - 16:12
    คุณจะสร้างความมั่นคงทางอารมณ์
    คุณจะเติบโต
  • 16:13 - 16:17
    หลายร้อยปีก่อน
    ผู้คนเริ่มดูแลสุขนามัยของตนเอง
  • 16:17 - 16:21
    ทำให้อายุขัยคนเพิ่มขึ้นกว่า 50 เปอร์เซนต์
  • 16:21 - 16:24
    โดยใช้เวลาแค่ไม่กี่สิบปีเอง
  • 16:24 - 16:28
    ผมเชื่อว่าคุณภาพชีวิตของเรา
    จะดีขึ้นได้อย่างมาก
  • 16:28 - 16:32
    ถ้าเราเริ่มดูแลสุขอนามัยทางอารมณ์
  • 16:32 - 16:34
    คุณจินตนาการได้ไหมว่า
    โลกเราจะเป็นอย่างไร
  • 16:34 - 16:37
    ถ้าทุกคนมีสุขภาพจิตดีขึ้น?
  • 16:37 - 16:40
    มีความเหงาน้อยลง
    มีโรคซึมเศร้าน้อยลง?
  • 16:40 - 16:43
    ถ้าผู้คนรู้วิธีเอาชนะความล้มเหลวได้?
  • 16:43 - 16:46
    ถ้าพวกเขารู้สึกดีกับตัวเอง
    เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น?
  • 16:46 - 16:50
    ถ้าพวกเขามีความสุขและเติมเต็มมากขึ้น?
  • 16:50 - 16:54
    ผมจินตนาการได้
    เพราะเป็นโลกที่ผมอยากอาศัยอยู่
  • 16:54 - 16:58
    และก็จะเป็นโลกที่พี่ชายผม
    อยากอยู่ด้วยเช่นกัน
  • 16:58 - 17:02
    และถ้าพวกคุณรับรู้สิ่งเหล่านี้
    และเปลี่ยนนิสัยพื้นฐานบางอย่าง
  • 17:02 - 17:06
    ก็จะเป็นโลกที่เราทุกคนอยากอาศัยอยู่
  • 17:06 - 17:08
    ขอบคุณมากครับ
  • 17:08 - 17:11
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมพวกเราถึงต้องปฐมพยาบาลอารมณ์
Speaker:
กาย วินช์
Description:

เราไปหาหมอเมื่อเวลาเราเป็นหวัด หรือ มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ทำไมเราไม่ไปหาหมอเมื่อเรารู้สึกเจ็บปวดทางจิตใจ เช่น ความรู้สึกผิด ความสูญเสีย หรือ ความเหงา บ้างละ?
พวกเราหลายคนต้องเผชิญกับปัญหาทางสุขภาพทางจิต จริงๆเราไม่ต้องไปหาหมอหรอก - แค่ดูแลอารมณ์ของเรา ความคิดของเราให้เท่ากับที่เราดูแลร่างกายของเราก็พอ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:24

Thai subtitles

Revisions