Return to Video

ทำไมวิทยาศาสร์แนวนวัตกรรมจริงๆ จึงต้องกระโจนเข้าสู่ความไม่รู้

  • 0:00 - 0:02
    ตอนที่ผมเรียนปริญญาเอกนั้น
  • 0:02 - 0:06
    ผมติดแหงกเลยครับ
  • 0:06 - 0:08
    ทุกหนทางการวิจัยที่ผมได้ลอง
  • 0:08 - 0:09
    นำไปสู่ทางตัน
  • 0:09 - 0:11
    มันเหมือนกับว่าความเชื่อพื้นฐานของผม
  • 0:11 - 0:13
    หยุดทำงาน
  • 0:13 - 0:16
    ผมรู้สึกเหมือนนักบินที่บินผ่านหมอก
  • 0:16 - 0:19
    แล้วหลงทิศทาง
  • 0:19 - 0:20
    ผมเลิกโกนหนวด
  • 0:20 - 0:23
    ผมไม่ยอมลุกออกจากเตียงในตอนเช้า
  • 0:23 - 0:25
    ผมรู้สึกไม่คู่ควร
  • 0:25 - 0:28
    กับการเดินเข้าประตูมหาวิทยาลัย
  • 0:28 - 0:30
    เพราะผมไม่ใช่ไอสไตน์ หรือนิวตัน
  • 0:30 - 0:32
    หรือนักวิทยาศาสตร์ท่านใด
  • 0:32 - 0:34
    ที่ผมได้เรียนรู้ผลงานของพวกท่าน
    เพราะในวิทยาศาสตร์
  • 0:34 - 0:37
    เราเรียนเกี่ยวกับผลลัพธ์เท่านั้น
    ไม่ใช่กระบวนการ
  • 0:37 - 0:42
    และเห็นชัดๆ เลยว่า
    ผมเป็นนักวิทยาศาสตร์ไม่ได้
  • 0:42 - 0:44
    แต่ผมมีแรงสนับสนุนมากพอ
  • 0:44 - 0:45
    และผมก็ผ่านมันไปได้
  • 0:45 - 0:47
    และค้นพบความรู้ใหม่เกี่ยวกับธรรมชาติ
  • 0:47 - 0:50
    มันเป็นความรู้สึกสงบอันน่าทึ่ง
  • 0:50 - 0:51
    ที่เป็นบุคคลเดียวในโลก
  • 0:51 - 0:53
    ที่รู้ถึงกฎใหม่แห่งธรรมชาติ
  • 0:53 - 0:57
    และผมเริ่มโครงงานที่สอง
    ในการเรียนปริญญาเอก
  • 0:57 - 0:58
    และมันก็เกิดขึ้นอีกครั้ง
  • 0:58 - 1:00
    ผมเจออุปสรรค์ แล้วก็ผ่านมันไปได้
  • 1:00 - 1:02
    และผมก็เริ่มคิด
  • 1:02 - 1:03
    บางที มันอาจมีรูปแบบอยู่ก็เป็นได้
  • 1:03 - 1:05
    ผมถามบัณฑิตทั้งหลาย แล้วพวกเขาก็บอกว่า
  • 1:05 - 1:07
    "ใช่เลย เกิดอย่างนั้นกับพวกเขาเป๊ะๆ เลย
  • 1:07 - 1:09
    เว้นแต่ว่าไม่มีใครบอกเรา"
  • 1:09 - 1:11
    พวกเราอาจเรียนวิทยาศาสตร์อย่างกับว่า
  • 1:11 - 1:14
    มันเป็นชุดขั้นตอนเชิงตรรกะ
    ระหว่างคำถามและคำตอบ
  • 1:14 - 1:17
    แต่การทำวิจัยไม่ได้เป็นอะไรแบบนั้น
  • 1:17 - 1:20
    ในเวลาเดียวกัน ผมยังได้เรียน
  • 1:20 - 1:22
    การแสดงละครเวทีแบบด้นสด
  • 1:22 - 1:23
    ฉะนั้น กลางวันเรียนฟิสิกส์
  • 1:23 - 1:25
    และกลางคืน หัวเราะ กระโดด ร้องเพลง
  • 1:25 - 1:26
    เล่นกีต้าร์ของผม
  • 1:26 - 1:28
    ละครเวทีแบบด้นสด
  • 1:28 - 1:31
    ก็เหมือนกับวิทยาศาสตร์
    คือ การเข้าหาสิ่งที่ไม่รู้
  • 1:31 - 1:32
    เพราะคุณต้องเล่นกันบนเวที
  • 1:32 - 1:34
    โดยปราศจากผู้กำกับ ปราศจากบทละคร
  • 1:34 - 1:36
    ไม่รู้เลยว่า คุณจะเล่นเป็นอะไร
  • 1:36 - 1:39
    หรือตัวละครอื่นจะทำอะไร
  • 1:39 - 1:41
    แต่ไม่เหมือนวิทยาศาสตร์
  • 1:41 - 1:44
    ในละครเวทีด้นสด
    พวกเขาบอกคุณแต่วันแรกว่า
  • 1:44 - 1:46
    อะไรจะเกิดขึ้นกับคุณเมื่อคุณอยู่บนเวที
  • 1:46 - 1:49
    คุณจะทำพลาดไม่เป็นท่า
  • 1:49 - 1:50
    คุณจะเจออุปสรรค
  • 1:50 - 1:52
    และเราก็จะฝึกฝนให้มีความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอ
  • 1:52 - 1:53
    ในสถานการณ์ที่เจออุปสรรค
  • 1:53 - 1:55
    ตัวอย่างเช่น เรามีแบบฝึกหัด
  • 1:55 - 1:56
    ที่เราทุกคนยืนเป็นวงกลม
  • 1:56 - 1:59
    และแต่ละคนต้องเต้นแท๊ปให้แย่สุดๆ
  • 1:59 - 2:01
    และคนอื่นๆ ปรบมือ
  • 2:01 - 2:02
    และเชียร์คุณ
  • 2:02 - 2:05
    ให้กำลังใจคุณบนเวที
  • 2:05 - 2:07
    เมื่อผมเป็นศาสตราจารย์
  • 2:07 - 2:08
    และต้องแนะแนวนักเรียนของผม
  • 2:08 - 2:10
    ผ่านโครงงานวิจัยของพวกเขา
  • 2:10 - 2:11
    ผมตระหนักอีกครั้งว่า
  • 2:11 - 2:13
    ผมไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร
  • 2:13 - 2:15
    ผมอาจเรียนฟิสิกส์ ชีววิทยา เคมี
  • 2:15 - 2:17
    มาหลายพันชั่วโมง
  • 2:17 - 2:19
    แต่ไม่มีสักชั่วโมง ไม่มีสักแนวคิดเดียว
    ที่จะสอนผมว่า
  • 2:19 - 2:22
    จะให้คำปรึกษาอย่างไร แนะแนวใครสักคนอย่างไร
  • 2:22 - 2:23
    เพื่อให้เดินไปด้วยกันสู่สิ่งที่ไม่รู้
  • 2:23 - 2:25
    เพื่อสร้างแรงผลักดัน
  • 2:25 - 2:27
    ผมจึงหันไปพึ่งละครเวทีด้นสด
  • 2:27 - 2:29
    และผมบอกนักเรียนตั้งแต่วันแรกว่า
  • 2:29 - 2:32
    อะไรกำลังจะเกิดขึ้นเมื่อคุณเริ่มทำงานวิจัย
  • 2:32 - 2:34
    เรื่องนี้เกี่ยวกับมโนภาพที่เราคาดหวัง (schema)
  • 2:34 - 2:36
    ว่างานวิจัยจะเป็นเช่นไร
  • 2:36 - 2:38
    เพราะว่า เมื่อคนเราทำอะไรก็ตามแต่
  • 2:38 - 2:41
    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผมต้องการจะจับกระดานดำนี้
  • 2:41 - 2:43
    สมองของผมจะคาดมโนภาพขึ้นก่อน
  • 2:43 - 2:44
    ทำนายว่ากล้ามเนื้อของผมจะทำอะไร
  • 2:44 - 2:47
    ก่อนที่ผมจะเริ่มขยับมือเสียอีก
  • 2:47 - 2:48
    และถ้าผมถูกขัดขวาง
  • 2:48 - 2:50
    ถ้ามโนภาพของผมไม่เข้ากับความเป็นจริง
  • 2:50 - 2:53
    จะเกิดความเครียดขึ้น เรียกว่า
    การรับรู้ไม่ลงรอยกัน (cognitive dissonance)
  • 2:53 - 2:55
    จึงเป็นการดีกว่า
    ถ้ามโนภาพของคุณ ตรงกับความเป็นจริง
  • 2:55 - 2:59
    แต่ถ้าคุณเชื่อในวิทยาศาสตร์แบบที่ถูกสอนกันมา
  • 2:59 - 3:01
    และถ้าคุณเชื่อตามตำรา ก็มีแนวโน้ม
  • 3:01 - 3:07
    ว่าคุณน่าจะมีมโนภาพของงานวิจัย ตามนี้ครับ
  • 3:07 - 3:10
    ถ้า เอ เป็นคำถาม
  • 3:10 - 3:14
    และ บี เป็นคำตอบ
  • 3:14 - 3:18
    ดังนั้นแล้ว งานวิจัยก็เป็นทางตรง
  • 3:18 - 3:21
    ปัญหาคือว่า ถ้าการทดลองไม่สำเร็จ
  • 3:21 - 3:25
    หรือนักเรียนเกิดความเครียด
  • 3:25 - 3:27
    เรื่องแบบนี้ จะถูกมองว่าผิดปกติอย่างยิ่ง
  • 3:27 - 3:30
    และทำให้เกิดความเครียดอย่างมาก
  • 3:30 - 3:32
    ด้วยเหตุนี้ ผมจึงสอนให้นักเรียนของผม
  • 3:32 - 3:36
    สร้างมโนภาพที่ยึดความเป็นจริงมากกว่า
  • 3:39 - 3:40
    นี่คือตัวอย่าง
  • 3:40 - 3:44
    เวลาที่อะไรๆ ไม่เป็นไปตามมโนภาพของคุณครับ
  • 3:46 - 3:50
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:50 - 3:53
    (เสียงปรบมือ)
  • 4:02 - 4:05
    ผมจึงสอนมโนภาพแบบใหม่ ให้นักเรียนของผม
  • 4:05 - 4:07
    ถ้า เอ เป็นคำถาม
  • 4:07 - 4:09
    บี เป็นคำตอบ
  • 4:13 - 4:15
    คิดสร้างสรรค์ฝันฟุ้งในเมฆไปเรื่อยๆ
  • 4:15 - 4:17
    และคุณก็เริ่มลงมือ
  • 4:17 - 4:19
    และการทดลองมันไม่ได้ผล และก็ไม่ได้ผล
  • 4:19 - 4:22
    และก็ไม่ได้ผล และก็ไม่ได้ผล
  • 4:22 - 4:24
    จนคุณไปถึงดินแดนที่เชื่อมกับอารมณ์ด้านลบ
  • 4:24 - 4:27
    ที่ซึ่งกระทั่ง ความเชื่อพื้นฐานของคุณ
  • 4:27 - 4:28
    ยังดูไม่เป็นเหตุเป็นผล
  • 4:28 - 4:31
    เหมือนมีใครมากระชากพรมใต้เท้าคุณ
  • 4:31 - 4:34
    และผมเรียกที่นั่นว่า เมฆ
  • 4:48 - 4:50
    คุณอาจหลงอยู่ในเมฆนี้
  • 4:50 - 4:53
    สักวัน สัปดาห์ เดือน ปี
  • 4:53 - 4:54
    หรือชั่วชีวิตทำงานของคุณ
  • 4:54 - 4:57
    แต่บางที ถ้าคุณโชคดีพอ
  • 4:57 - 4:58
    และคุณได้แรงสนับสนุนพอ
  • 4:58 - 5:00
    คุณจะเห็นได้ เมื่อดูสิ่งที่อยู่ในมือ
  • 5:00 - 5:04
    หรือ ตั้งสติศึกษารูปร่างของเมฆ
  • 5:04 - 5:06
    ถึงคำตอบแบบใหม่
  • 5:07 - 5:11
    นั่นคือ ซี แล้วตกลงใจลองทางใหม่ดู
  • 5:11 - 5:13
    และการทดลองก็ไม่ได้ผล การทดลองไม่ได้ผล
  • 5:13 - 5:15
    แต่คุณก็ถึงในที่สุด
  • 5:15 - 5:16
    จากนั้น คุณก็บอกเรื่องนี้กับทุกคน
  • 5:16 - 5:20
    โดยตีพิมพ์ผลงานที่บอกว่า เอ ไปยัง ซี
  • 5:20 - 5:21
    ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสื่อสาร
  • 5:21 - 5:24
    ตราบใดที่คุณยังไม่ลืมหนทาง
  • 5:24 - 5:26
    ที่นำคุณไปตรงนั้น
  • 5:26 - 5:28
    ทีนี้ เมฆที่ว่านี้มีอยู่ตามปกติวิสัย
  • 5:28 - 5:30
    ของการวิจัย ตามปกติวิสัยของงานประดิษฐ์
  • 5:30 - 5:33
    เพราะว่า เมฆจะลอยขวาง ตรงพรมแดน
  • 5:38 - 5:40
    มันจะอยู่ตรงพรมแดน
  • 5:40 - 5:43
    ระหว่าง ความรู้
  • 5:46 - 5:49
    และความไม่รู้
  • 5:53 - 5:55
    เพราะถ้าอยากค้นพบบางอย่างที่ใหม่จริงๆ นั้น
  • 5:55 - 5:59
    อย่างน้อย ความเชื่อพื้นฐานสักอย่างของคุณ
    จะต้องเปลี่ยนไป
  • 5:59 - 6:00
    ฉะนั้น การศึกษาวิทยาศาสตร์
  • 6:00 - 6:02
    จึงเป็นเรื่องกล้าหาญชาญชัยทีเดียว
  • 6:02 - 6:04
    ทุกๆ วัน เราพยายามเดินทาง
  • 6:04 - 6:06
    สู่พรมแดนระหว่างความรู้ และความไม่รู้
  • 6:06 - 6:08
    และเผชิญหน้ากับเมฆ
  • 6:08 - 6:09
    ทีนี้ สังเกตว่าผมเขียน บี
  • 6:09 - 6:10
    ไว้ในดินแดนของความรู้
  • 6:10 - 6:12
    เพราะเรารู้จักมันตั้งแต่แรกแล้ว
  • 6:12 - 6:16
    แต่ ซี นั้น น่าสนใจยิ่งกว่า
  • 6:16 - 6:18
    และสำคัญเสียยิ่งกว่า บี
  • 6:18 - 6:20
    บี ก็สำคัญสำหรับการดำเนินงานวิจัย
  • 6:20 - 6:22
    แต่ ซี เป็นอะไรที่ลึกซึ้งกว่า
  • 6:22 - 6:27
    และนั่นคือสิ่งมหัศจรรย์เกี่ยวกับงานวิจัย
  • 6:27 - 6:29
    ทีนี้ แค่รู้จักคำนั้น 'เมฆ'
  • 6:29 - 6:32
    มันทำให้กลุ่มวิจัยของผมเปลี่ยนไปเลย
  • 6:32 - 6:33
    เพราะนักเรียนเข้ามาหาผม แล้วบอกว่า
  • 6:33 - 6:35
    "ยูริ ผมติดอยู่ในเมฆ"
  • 6:35 - 6:38
    และผมก็บอกว่า
    "ยอดเลย รู้สึกเศร้าระทมเลยล่ะสิตอนนี้"
  • 6:38 - 6:40
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:40 - 6:42
    แต่ผมมีความสุขนะครับ
  • 6:42 - 6:44
    เพราะเราอาจใกล้ถึงพรมแดน
  • 6:44 - 6:46
    ระหว่างความรู้และความไม่รู้
  • 6:46 - 6:47
    และเรายังมีโอกาสในการค้นพบ
  • 6:47 - 6:49
    อะไรบางอย่างที่ใหม่จริงๆ
  • 6:49 - 6:51
    เพราะวิธีที่สมองของเราทำงานนั้น
  • 6:51 - 6:54
    พอสมองรู้แล้วว่า เมฆนั้น
  • 6:54 - 6:58
    เป็นเรื่องปกติ เป็นสิ่งจำเป็น
  • 6:58 - 6:59
    และอันที่จริงสวยงาม
  • 6:59 - 7:03
    เราก็จะได้เข้าร่วมชมรมคนรักมวลเมฆ
  • 7:03 - 7:05
    และบำบัดความรู้สึกที่ว่า
  • 7:05 - 7:07
    ฉันมีอะไรที่ผิดปกติมากๆ
  • 7:07 - 7:10
    และในฐานะผู้เป็นอาจารย์ ผมรู้ว่าต้องทำอย่างไร
  • 7:10 - 7:12
    นั่นคือ เพิ่มกำลังใจให้นักเรียนของผม
  • 7:12 - 7:14
    เพราะการวิจัยทางจิตวิทยาแสดงว่า
  • 7:14 - 7:17
    ถ้าคุณรู้สึกกลัว หรือหมดหวัง
  • 7:17 - 7:18
    จิตใจคุณจะตีกรอบ
  • 7:18 - 7:21
    กลับไปใช้วิธีคิดแบบปลอดภัย และระมัดระวัง
  • 7:21 - 7:23
    ถ้าคุณอยากสำรวจหนทางที่เสี่ยงกว่า
  • 7:23 - 7:24
    ถ้าจะหนีออกจากเมฆ
  • 7:24 - 7:26
    คุณต้องพึ่งอารมณ์แบบอื่นด้วย
  • 7:26 - 7:28
    ความสามัคคี กำลังใจ ความหวัง
  • 7:28 - 7:30
    ซึ่งได้จากความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ
  • 7:30 - 7:31
    มันก็เหมือนกับละครเวทีด้นสด
  • 7:31 - 7:33
    ในวิทยาศาสตร์
    มันดีที่สุดที่จะเดินทางสู่ความไม่รู้
  • 7:33 - 7:35
    ไปด้วยกัน
  • 7:35 - 7:38
    การที่รู้ถึงเรื่องเมฆ
  • 7:38 - 7:41
    คุณยังได้เรียนรู้จากละครเวทีด้นสด
  • 7:41 - 7:44
    ถึงวิธีการสนทนาอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 7:44 - 7:46
    เมื่ออยู่ในเมฆ
  • 7:46 - 7:48
    มันตั้งอยู่บนหลักการสำคัญ
  • 7:48 - 7:49
    ของละครเวทีด้นสด
  • 7:49 - 7:50
    ตรงนี้ ละครเวทีด้นสด
  • 7:50 - 7:52
    ได้ช่วยผมไว้อีกครั้ง
  • 7:52 - 7:54
    เป็นการตอบว่า "ใช่ แล้วก็"
  • 7:54 - 7:57
    กับสิ่งที่นักแสดงคนอื่นเสนอมาให้
  • 8:04 - 8:07
    ความหมายของมันคือ การรับคำเสนอ
  • 8:07 - 8:10
    และต่อยอดจากนั้น โดยบอกว่า "ใช่ แล้วก็"
  • 8:10 - 8:11
    ตัวอย่างเช่น ถ้านักแสดงคนหนึ่งบอกว่า
  • 8:11 - 8:12
    "นี่คือสระนำ้"
  • 8:12 - 8:13
    และอีกคนบอกว่า
  • 8:13 - 8:15
    "ไม่หนิ นี่มันเวที"
  • 8:15 - 8:17
    การด้นสดก็จบ
  • 8:17 - 8:21
    มันตายสนิท และทุกคนก็จะสับสนหงุดหงิด
  • 8:21 - 8:22
    มันเรียกว่า ติดทางตัน
  • 8:22 - 8:23
    ถ้าคุณไม่ใส่ใจเรื่องวิธีสนทนาแล้ว
  • 8:23 - 8:26
    การสนทนาทางวิทยาศาสตร์
    ก็จะติดทางตันได้ง่ายมากครับ
  • 8:26 - 8:29
    การตอบ "ใช่ แล้วก็" เป็นแบบนี้ครับ
  • 8:29 - 8:31
    "นี่คือบ่อน้ำ"
    "ช่าย โดดลงไปกันเหอะ"
  • 8:31 - 8:34
    "ดูสิ มีปลาวาฬด้วย จับหางมันเลย
  • 8:34 - 8:36
    มันดึงเราไปดวงจันทร์แล้ว"
  • 8:36 - 8:39
    การบอกว่า "ใช่ แล้วก็"
    จึงข้ามผ่านการวิพากษ์ในใจเรา
  • 8:39 - 8:41
    เราทุกคนมีข้อวิพากษ์ในใจ
  • 8:41 - 8:42
    ซึ่งคอยจับผิด ว่าเราจะพูดอะไร
  • 8:42 - 8:44
    คนอื่นจะได้ไม่คิดว่า เราน่ารังเกียจ
  • 8:44 - 8:45
    หรือบ้า หรือซ้ำซาก
  • 8:45 - 8:47
    และในวิทยาศาสตร์ ใครๆ ก็กลัว
  • 8:47 - 8:48
    ว่าตัวเองจะดูซ้ำซาก
  • 8:48 - 8:50
    การบอกว่า "ใช่ แล้วก็"
    ก้าวผ่านการวิพากษ์วิจารณ์
  • 8:50 - 8:53
    และปลดปล่อยความสร้างสรรค์แอบแฝง
  • 8:53 - 8:54
    ที่คุณไม่อาจรู้ด้วยซ้ำว่าคุณมี
  • 8:54 - 8:56
    และพวกมันมักให้คำตอบ
  • 8:56 - 8:59
    เกี่ยวกับเมฆด้วย
  • 8:59 - 9:01
    ครับ การรู้เกี่ยวกับเมฆ
  • 9:01 - 9:03
    และการพูดว่า "ใช่ แล้วก็"
  • 9:03 - 9:06
    ทำให้ห้องทดลองของผมมีความคิดสร้างสรรค์มาก
  • 9:06 - 9:08
    นักเรียนเริ่มเล่นกับความคิดของคนอื่นๆ
  • 9:08 - 9:10
    จนค้นพบความรู้ใหม่อันน่าประหลาดใจ
  • 9:10 - 9:13
    ในส่วนเชื่อมต่อระหว่างฟิสิกส์กับชีววิทยา
  • 9:13 - 9:16
    ตัวอย่างเช่น เราง่วนอยู่เป็นปี
  • 9:16 - 9:17
    ในการทำความเข้าใจ
  • 9:17 - 9:20
    เครือข่ายชีวเคมีอันซับซ้อนในเซลล์ของเรา
  • 9:20 - 9:22
    และพวกเราบอกว่า "เราอยู่ในกลุ่มเมฆทึบ"
  • 9:22 - 9:24
    แล้วก็คุยกันสนุกๆ ไปเรื่อย
  • 9:24 - 9:26
    จนนักเรียนของผม
    ไช เชน ออร์ (Shai Shen Orr) พูดขึ้นว่า
  • 9:26 - 9:29
    "มาวาดเครือข่ายที่ว่าบนกระดาษกันเหอะ"
  • 9:29 - 9:31
    และแทนที่จะบอกว่า
  • 9:31 - 9:33
    "แต่เราทำอย่างนั้นมาตั้งหลายครั้งแล้ว
  • 9:33 - 9:34
    และมันก็ไม่เห็นจะได้อะไรเลย"
  • 9:34 - 9:37
    ผมกลับบอกว่า "เอาสิ แล้วก็
  • 9:37 - 9:39
    ใช้กระดาษใหญ่ๆ นะ"
  • 9:39 - 9:40
    จากนั้น รอน ไมโล (Ron Milo) ก็บอกว่า
  • 9:40 - 9:42
    "เอากระดาษใหญ่ๆ
  • 9:42 - 9:44
    แบบที่นักออกแบบใช้ทำพิมพ์เขียวดีกว่า
    ผมรู้ว่าจะเอาไปพิมพ์ได้ที่ไหน"
  • 9:44 - 9:46
    และพวกเราก็พิมพ์เครือข่าย และมองดูมัน
  • 9:46 - 9:49
    ตอนนั้นเอง ที่เราค้นพบความรู้ข้อสำคัญที่สุด
  • 9:49 - 9:51
    ซึ่งก็คือ เครือข่ายอันซับซ้อนนี้มันก็แค่
  • 9:51 - 9:54
    เครือข่ายรูปแบบง่ายๆ จำนวนมากซ้ำๆ กัน
  • 9:54 - 9:58
    เหมือนกับแม่ลายของกระจกสี (motif)
  • 9:58 - 10:00
    พวกเราเรียกมันว่า เครือข่ายแม่ลาย (network motifs)
  • 10:00 - 10:02
    และพวกมันเป็นวงจรพื้นฐาน
  • 10:02 - 10:03
    ที่ช่วยให้เราเข้าใจ
  • 10:03 - 10:06
    ตรรกะของการตัดสินใจของเซลล์
  • 10:06 - 10:09
    ในทุกสิ่งมีชีวิต รวมถึงร่างกายของคุณ
  • 10:09 - 10:11
    ไม่นาน หลังจากนั้น
  • 10:11 - 10:12
    ผมเริ่มได้รับเชิญไปบรรยาย
  • 10:12 - 10:15
    ให้กับนักวิทยาศาสตร์หลายพันทั่วโลก
  • 10:15 - 10:17
    แต่ความรู้เกี่ยวกับเมฆ
  • 10:17 - 10:18
    และการพูดว่า "ใช่ แล้วก็"
  • 10:18 - 10:20
    ยังคงอยู่แต่ในห้องทดลองของผม
  • 10:20 - 10:22
    เพราะว่า ในวิทยาศาสตร์
    เราไม่พูดกันถึงกระบวนการ
  • 10:22 - 10:25
    สิ่งที่เกี่ยวกับความรู้สึก หรืออารมณ์
  • 10:25 - 10:27
    เราพูดถึงผลลัพธ์
  • 10:27 - 10:29
    จึงไม่มีทางจะได้พูดถึงมันในงานสัมมนา
  • 10:29 - 10:31
    นึกภาพไม่ออกเลยครับ
  • 10:31 - 10:33
    และผมเห็นนักวิทยาศาสตร์กลุ่มอื่นๆ
    ติดอยู่ที่ทางตัน
  • 10:33 - 10:34
    หาคำมาบรรยายไม่ได้ด้วยซ้ำ
  • 10:34 - 10:36
    ถึงสิ่งที่พวกเขาเผชิญ
  • 10:36 - 10:37
    และวิธีการที่พวกเขาคิด
  • 10:37 - 10:39
    ก็บีบแคบลงมาที่ทางปลอดภัย
  • 10:39 - 10:40
    วิทยาศาสตร์ของพวกเขาไม่อาจไปถึงศักยภาพสูงสุด
  • 10:40 - 10:42
    จนพวกเขาดูซึมกันมากๆ
  • 10:42 - 10:44
    ผมคิดว่า มันก็ธรรมดาอย่างนี้แหละ
  • 10:44 - 10:46
    ผมจะพยายามทำให้ห้องทดลองของผม
    มีความสร้างสรรค์มากเท่าที่จะทำได้
  • 10:46 - 10:48
    และถ้าคนอื่นๆ ทำอย่างนี้เช่นกัน
  • 10:48 - 10:50
    ถึงวันหนึ่ง วิทยาศาสตร์
  • 10:50 - 10:52
    ก็จะดีขึ้นกว่าเดิมในที่สุด
  • 10:52 - 10:55
    แต่ความคิดนั้น เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
  • 10:55 - 10:57
    เมื่อผมได้ฟัง เอวลิน ฟ๊อกส์ เคลเลอร์
    (Evelyn Fox Keller) โดยบังเอิญ
  • 10:57 - 10:59
    ตอนเธอพูดถึงประสบการณ์ของเธอ
  • 10:59 - 11:00
    ในฐานะผู้หญิงในวงการวิทยาศาสตร์
  • 11:00 - 11:02
    และเธอถามคำถามว่า
  • 11:02 - 11:04
    "ทำไมเราไม่พูดถึงการทำงานทางวิทยาศาตร์
  • 11:04 - 11:06
    ในแง่มุมเชิงความรู้สึก และอารมณ์กันบ้าง?"
  • 11:06 - 11:10
    ไม่ใช่เรื่องบังเอิญเลย นี่เป็นเรื่องของค่านิยม"
  • 11:10 - 11:12
    คืออย่างนี้ครับ วิทยาศาสตร์ค้นหาความรู้
  • 11:12 - 11:14
    ซึ่งมีรากฐานจากหลักเหตุผล และข้อเท็จจริง
  • 11:14 - 11:16
    นั่นคือความงดงามของวิทยาศาสตร์
  • 11:16 - 11:18
    แต่เรายังมีมายาคติอีกด้วยว่า
  • 11:18 - 11:20
    การทำงานทางวิทยาศาสตร์
  • 11:20 - 11:22
    สิ่งที่เราทำกันทุกวัน เพื่อเสาะหาความรู้
  • 11:22 - 11:24
    ก็ใช้แค่หลักเหตุผล และข้อเท็จจริงเช่นกัน
  • 11:24 - 11:27
    เหมือน มิสเตอร์ สป๊อค (Mr. Spock)
  • 11:27 - 11:28
    พอคุณตีตราอะไรก็ตาม
  • 11:28 - 11:30
    ว่ามีแค่ข้อเท็จจริง และหลักเหตุผล
  • 11:30 - 11:32
    โดยอัตโนมัติ ขั้วตรงข้าม
  • 11:32 - 11:33
    คือความรู้สึก และอารมณ์
  • 11:33 - 11:35
    ย่อมถูกตีตราว่า 'ไม่เป็นวิทยาศาสตร์'
  • 11:35 - 11:37
    หรือต่อต้านวิทยาศาสตร์
    หรือเป็นภัยต่อวิทยาศาสตร์
  • 11:37 - 11:39
    เราก็เลยไม่พูดถึงมันกัน
  • 11:39 - 11:41
    และเมื่อผมได้ยินอย่างนั้น
  • 11:41 - 11:43
    ว่าวิทยาศาสตร์มีวัฒนธรรม
  • 11:43 - 11:45
    ทุกอย่างเข้าล๊อคสำหรับผม
  • 11:45 - 11:46
    เพราะว่า ถ้าวิทยาศาสตร์มีวัฒนธรรมแล้ว
  • 11:46 - 11:48
    วัฒนธรรมก็สามารถเปลี่ยนได้
  • 11:48 - 11:49
    โดยมีผมเป็นตัวกระตุ้น
  • 11:49 - 11:52
    ให้วัฒนธรรมของวิทยาศาสตร์เปลี่ยนไป
    ในที่ๆ ผมทำได้
  • 11:52 - 11:55
    พอถึงการบรรยายถัดไปที่งานสัมมนา
  • 11:55 - 11:57
    ผมจึงพูดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของผม
  • 11:57 - 11:58
    และเมื่อผมพูดถึงความสำคัญ
  • 11:58 - 12:00
    ของแง่มุมด้านอารมณ์ และความรู้สึกของวิทยาศาสตร์
  • 12:00 - 12:01
    และวิธีการที่เราควรพูดถึงมัน
  • 12:01 - 12:03
    และผมก็มองไปยังผู้ชม
  • 12:03 - 12:05
    พวกเขาดูด้านชา
  • 12:05 - 12:08
    พวกเขาไม่ได้ยินว่าผมกำลังพูดอะไร
  • 12:08 - 12:10
    ในบริบทของ การบรรยายผ่านเพาเวอร์พอยท์
  • 12:10 - 12:11
    10 สไลด์ต่อกัน
  • 12:11 - 12:14
    และผมลองอีกครั้ง และอีกครั้ง
    สัมมนาครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 12:14 - 12:16
    แต่ผมก็ยังคงติดชะงัก
  • 12:16 - 12:19
    ผมติดอยู่ในเมฆ
  • 12:19 - 12:23
    แต่ในที่สุด ผมก็หลุดออกมาจากเมฆได้
  • 12:23 - 12:26
    โดยใช้การด้นสดและดนตรี
  • 12:26 - 12:28
    ตั้งแต่นั้น ทุกงานสัมมนาที่ผมไป
  • 12:28 - 12:31
    ผมจะบรรยายทางวิทยาศาสตร์
    และแถมด้วยการบรรยายพิเศษ
  • 12:31 - 12:33
    ชื่อว่า "ความรักและความกลัวในห้องทดลอง"
  • 12:33 - 12:35
    ผมจะเริ่มต้นด้วยเพลง
  • 12:35 - 12:38
    เกี่ยวกับสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กลัวที่สุด
  • 12:38 - 12:41
    ซึ่งคือ การที่เราทำงานอย่างหนัก
  • 12:41 - 12:43
    เราค้นพบสิ่งใหม่บางอย่าง
  • 12:43 - 12:47
    แต่ดันมีคนอื่น ชิงตีพิมพ์มันไปก่อนเราเสีย
  • 12:47 - 12:49
    เราเรียกมันว่า โดนงาบไปรับประทาน
  • 12:49 - 12:52
    และการโดนงาบไปรับประทานนั้น รู้สึกแย่มากๆ
  • 12:52 - 12:55
    ทำให้เราไม่กล้าคุยกัน
  • 12:55 - 12:55
    ซึ่งไม่สนุกเลย
  • 12:55 - 12:58
    เพราะเราเข้าวงการวิทยาศาสตร์มา
    เพื่อแบ่งปันความคิด
  • 12:58 - 12:59
    และเรียนรู้จากกันและกัน
  • 12:59 - 13:03
    และผมก็เลยเล่นเพลงบลู
  • 13:05 - 13:11
    ซึ่งมันก็ - (เสียงปรบมือ) -
  • 13:11 - 13:14
    เรียกว่า "โดนงาบไปอีกแล้ว"
  • 13:14 - 13:16
    และผมก็ขอผู้ชมเป็นนักร้องลูกคู่ให้ผม
  • 13:16 - 13:20
    และผมพวกบอกพวกเขาว่า
    "เนื้อร้องคือ 'งาบ งาบ'"
  • 13:20 - 13:23
    ทำนองประมาณนี้ครับ
    "งาบ งาบ"
  • 13:23 - 13:24
    มันออกมาแบบนี้ครับ
  • 13:24 - 13:26
    ♪ โดนงาบไปอีกแล้ว ♪
  • 13:26 - 13:28
    ♪ งาบ งาบ ♪
  • 13:28 - 13:29
    และเมื่อผมร้อง
  • 13:29 - 13:31
    ♪ โดนงาบไปอีกแล้ว ♪
  • 13:31 - 13:33
    ♪ งาบ งาบ ♪
  • 13:33 - 13:34
    ♪ โดนงาบไปอีกแล้ว ♪
  • 13:34 - 13:36
    ♪ งาบ งาบ ♪
  • 13:36 - 13:38
    ♪ โดนงาบไปอีกแล้ว ♪
  • 13:38 - 13:39
    ♪ งาบ งาบ ♪
  • 13:39 - 13:41
    ♪ โดนงาบไปอีกแล้ว ♪
  • 13:41 - 13:43
    ♪ งาบ งาบ ♪
  • 13:43 - 13:46
    ♪ โอ้แม่จ๋า รู้ไหมว่ามันเจ็บ ♪
  • 13:46 - 13:50
    ♪ สวรรค์ช่วยลูกด้วย โดนงาบอีกแล้ว ♪
  • 13:51 - 13:57
    (เสียงปรบมือ)
  • 13:58 - 13:59
    ขอบคุณครับ
  • 13:59 - 14:00
    ขอบคุณที่ช่วยเป็นนักร้องลูกคู่นะครับ
  • 14:00 - 14:03
    ทุกคนก็เริ่มหัวเราะ และหายใจ
  • 14:03 - 14:05
    รู้สึกตัวกันว่า ยังมีนักวิทยาศาสตร์คนอื่นรอบๆ ตัว
  • 14:05 - 14:06
    ที่เจอเรื่องอย่างเดียวกันมา
  • 14:06 - 14:08
    และเราก็เริ่มพูดถึงเรื่องอารมณ์
  • 14:08 - 14:10
    และความรู้สึก ที่เกิดขึ้นในงานวิจัย
  • 14:10 - 14:12
    มันรู้สึกเหมือนกับเรื่องแน่นอกถูกยกออก
  • 14:12 - 14:15
    แล้วเราก็พูดถึงเรื่องนี้
    ในงานสัมมนาวิทยาศาสตร์ได้เสียที
  • 14:15 - 14:17
    และนักวิทยาศาสตร์ก็ดำเนินการต่อ
    เพื่อก่อตั้งกลุ่มเพื่อนวิจัย
  • 14:17 - 14:18
    ที่พวกเขามาพบปะกันเป็นประจำ
  • 14:18 - 14:20
    และได้มีพื้นที่มาพูดคุยกันเรื่องอารมณ์
  • 14:20 - 14:22
    และความรู้สึกที่เกิดขึ้น ตอนที่พวกเขาได้สอน
  • 14:22 - 14:24
    ตอนที่พวกเขาเดินทางสู่ความไม่รู้
  • 14:24 - 14:25
    และแม้กระทั่งเปิดหลักสูตร
  • 14:25 - 14:27
    เกี่ยวกับกระบวนการในการทำงานทางวิทยาศาสตร์
  • 14:27 - 14:29
    เกี่ยวกับการเดินทางสู่ความไม่รู้ไปด้วยกัน
  • 14:29 - 14:30
    และสิ่งอื่นๆ อีกมากมาย
  • 14:30 - 14:31
    วิสัยทัศน์ของผมก็คือ
  • 14:31 - 14:35
    ก็เหมือนที่นักวิทยาศาสตร์ทุกคนรู้จักคำว่า
    "อะตอม"
  • 14:35 - 14:37
    รู้ว่าสสารประกอบด้วยอะตอม
  • 14:37 - 14:38
    นักวิทยาศาสตร์ทุกคนจะรู้จักคำศัพท์อย่าง
  • 14:38 - 14:41
    "เมฆ"
    การพูดว่า "ใช่ แล้วก็"
  • 14:41 - 14:44
    และวิทยาศาสตร์จะสร้างสรรค์ขึ้นกว่านี้มาก
  • 14:44 - 14:47
    จะมีการค้นพบที่ไม่คาดฝันอีกมากมาย
  • 14:47 - 14:49
    เพื่อประโยชน์สำหรับเราทุกคน
  • 14:49 - 14:52
    และมันจะมีความสนุกขึ้นอีกมากด้วย
  • 14:52 - 14:54
    และที่ผมจะขอจากพวกคุณให้จำไปจากการบรรยายนี้
  • 14:54 - 14:57
    ก็คือ ครั้งหน้าที่คุณได้เผชิญ
  • 14:57 - 14:59
    กับปัญหาที่คุณไม่สามารถแก้ได้
  • 14:59 - 15:01
    ในการงาน หรือในชีวิต
  • 15:01 - 15:03
    คุณใช้คำนี้ เรียกสิ่งที่คุณจะเจอได้:
  • 15:03 - 15:04
    เมฆ
  • 15:04 - 15:06
    และคุณสามารถผ่านเข้าไปในเมฆ
  • 15:06 - 15:07
    ไม่ใช่ตัวคนเดียว แต่ไปด้วยกัน
  • 15:07 - 15:09
    กับใครสักคนที่คอยสนับสนุน
  • 15:09 - 15:11
    และพูดว่า "ใช่ แล้วก็" ต่อความคิดของคุณ
  • 15:11 - 15:14
    และช่วยคุณพูดว่า "ใช่ แล้วก็"
    ต่อความคิดของคุณเอง
  • 15:14 - 15:15
    เพื่อที่จะเพิ่มโอกาส
  • 15:15 - 15:17
    เมื่อผ่านก้อนปุยเมฆแล้ว
  • 15:17 - 15:19
    คุณจะพบกับวินาทีแห่งความสงบ
  • 15:19 - 15:20
    ที่ซึ่งคุณได้เห็นแสงแวบแรก
  • 15:20 - 15:24
    จากการค้นพบเหนือความคาดฝัน
  • 15:24 - 15:26
    ซี ของคุณ
  • 15:26 - 15:29
    ขอบคุณครับ
  • 15:29 - 15:33
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมวิทยาศาสร์แนวนวัตกรรมจริงๆ จึงต้องกระโจนเข้าสู่ความไม่รู้
Speaker:
ยูริ เอลอน (Uri Alon)
Description:

ระหว่างการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์ ยูริ เอลอน คิดว่าเขาเป็นผู้ล้มเหลว เพราะทุกงานวิจัยของเขานำไปสู่ทางตัน แต่ด้วยความช่วยเหลือจากละครเวทีแบบด้นสด เขาก็ได้ตระหนักว่า เรายังหาความสุขใจได้อยู่ แม้ในยามหลงทาง การเรียกร้องต่อนักวิทยาศาสตร์เพื่อให้หยุดคิดถึงการวิจัยว่าเป็นแค่ทางตรง จากคำถามสู่คำตอบ แต่เป็นอะไรที่สร้างสรรค์กว่านั้น มันเป็นข้อความที่เสนาะกังวาน ไม่ว่าคุณจะทำงานอยู่ในสายวิชาใด

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:52
Teerachart Prasert commented on Thai subtitles for Why science demands a leap into the unknown
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why science demands a leap into the unknown
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Why science demands a leap into the unknown
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why science demands a leap into the unknown
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why science demands a leap into the unknown
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why science demands a leap into the unknown
Teerachart Prasert accepted Thai subtitles for Why science demands a leap into the unknown
Teerachart Prasert edited Thai subtitles for Why science demands a leap into the unknown
Show all

Thai subtitles

Revisions