Return to Video

ต้นกำเนิดที่น่าทึ่งของการปฏิวัติระบบข้อมูลขนาดมหึมา (big data) ในวงการสาธารณสุข

  • 0:01 - 0:03
    มีตลกเก่าแก่ เกี่ยวกับตำรวจคนหนึ่งที่กำลังเดินตรวจ
  • 0:03 - 0:04
    ในตอนกลางดึก
  • 0:04 - 0:07
    เขาเดินมาพบชายคนหนึ่งใต้เสาไฟฟ้าริมถนน
  • 0:07 - 0:09
    กำลังก้มมองดูพื้นไปรอบๆ
  • 0:09 - 0:11
    ตำรวจจึงถามเขาว่า กำลังทำอะไรอยู่
  • 0:11 - 0:13
    ชายคนนั้นก็บอกว่า กำลังมองหากุญแจ
  • 0:13 - 0:16
    ตำรวจจึงสละเวลามาช่วยหาด้วย
  • 0:16 - 0:17
    โดยแบ่งพื้นที่เป็นตารางเล็กๆ
  • 0:17 - 0:20
    แล้วมองหาอยู่สองสามนาที ก็ไม่พบกุญแจ
  • 0:20 - 0:23
    ตำรวจจึงบอกว่า "แน่ใจหรือเปล่า ไอ้น้อง
  • 0:23 - 0:25
    แน่ใจนะ ว่านายทำกุญแจหายตรงนี้"
  • 0:25 - 0:27
    ชายคนนั้นตอบว่า "ไม่ ไม่ จริงๆ แล้วผมทำหาย
  • 0:27 - 0:28
    ตรงปลายถนนอีกด้านหนึ่ง
  • 0:28 - 0:34
    แต่แสงไฟตรงนี้สว่างกว่า"
  • 0:34 - 0:36
    มีแนวคิดหนึ่งที่คนพูดถึงกันในปัจจุบัน
  • 0:36 - 0:38
    เรียกว่า ข้อมูลมากมายมหึมา (big data)
  • 0:38 - 0:40
    ซึ่งก็คือ ข้อมูลข่าวสารทั้งหมด ที่เราสร้างขึ้นมา
  • 0:40 - 0:43
    ผ่านการโต้ตอบของเราทางอินเทอร์เน็ต
  • 0:43 - 0:45
    ทุกๆ อย่าง จาก เฟสบุ๊ก และทวิตเตอร์
  • 0:45 - 0:49
    ไปถึงการดาวน์โหลดเพลง ภาพยนตร์ ดูรายการ ทั้งหมดนั้น
  • 0:49 - 0:51
    ดูรายการสดของ TED
  • 0:51 - 0:54
    และสำหรับคนที่ทำงานกับข้อมูลมากมายมหึมานั้น
  • 0:54 - 0:55
    เขาพูดถึงปัญหาใหญ่ที่สุดของพวกเขา นั่นคือ
  • 0:55 - 0:57
    เรามีข้อมูลเยอะมากเหลือเกิน
  • 0:57 - 1:01
    ปัญหาใหญ่ที่สุดก็คือ
    เราจะจัดระเบียบข้อมูลทั้งหมดนั้นอย่างไร
  • 1:01 - 1:03
    ผมบอกคุณได้เลยว่า ในการทำงานด้านสุขภาพระดับโลกนั้น
  • 1:03 - 1:06
    นั่นไม่ใช่ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของเรา
  • 1:06 - 1:08
    เพราะว่าสำหรับเราแล้ว
  • 1:08 - 1:11
    แม้ว่าแสงไฟในอินเทอร์เน็ตจะสว่างกว่า
  • 1:11 - 1:13
    แต่ข้อมูลที่จะช่วยเราแก้ปัญหา
  • 1:13 - 1:17
    ที่เรากำลังพยายามแก้นั้น ไม่ได้มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต
  • 1:17 - 1:18
    เราจึงไม่รู้ว่า ตัวอย่างเช่น ขณะนี้มีคนสักกี่คน
  • 1:18 - 1:21
    ที่กำลังได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
  • 1:21 - 1:23
    หรือ จากสถานการณ์ขัดแย้งต่างๆ
  • 1:23 - 1:27
    โดยพื้นฐานจริงๆ แล้ว เราไม่รู้เลยว่า
    คลินิกในโลกด้อยพัฒนา
  • 1:27 - 1:29
    คลินิกไหนบ้างที่มียาเวชภัณฑ์
  • 1:29 - 1:31
    และคลินิกไหนไม่มี
  • 1:31 - 1:34
    เราไม่รู้เลยว่า สายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับคลินิก
    เหล่านั้นเป็นอย่างไร
  • 1:34 - 1:37
    เราไม่รู้เลย ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ผมประหลาดใจจริงๆ
  • 1:37 - 1:40
    เราไม่รู้ว่า มีเด็กเกิดกี่คน
  • 1:40 - 1:43
    หรือมีเด็กอยู่กี่คนในประเทศโบลิเวีย
  • 1:43 - 1:46
    หรือในบอสวาน่า หรือในภูฏาน
  • 1:46 - 1:48
    เราไม่รู้ว่า เด็กตายไปกี่คนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
  • 1:48 - 1:49
    ในประเทศเหล่านั้น
  • 1:49 - 1:52
    เราไม่รู้ถึงความต้องการของผู้สูงอายุ
    หรือผู้ป่วยทางจิต
  • 1:52 - 1:56
    สำหรับปัญหาสำคัญถึงขั้นวิกฤติทั้งหมดนี้
  • 1:56 - 1:59
    หรือในวงการที่สำคัญอย่างยิ่งยวดทั้งหลาย
    ที่เราต้องการเข้าไปแก้ปัญหา
  • 1:59 - 2:04
    แท้จริงแล้ว เราไม่รู้อะไรเลย
  • 2:04 - 2:06
    และเหตุผลส่วนหนึ่่งที่เราไม่รู้อะไรเลย
  • 2:06 - 2:09
    ก็เพราะว่า ระบบเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร
  • 2:09 - 2:12
    ที่เราใช้ในวงการสุขภาพระดับโลก เพื่อหาข้อมูล
  • 2:12 - 2:15
    เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ก็คือสิ่งที่เราเห็นอยู่ตรงนี้
  • 2:15 - 2:17
    นี่เป็นเทคโนโลยีอายุเก่าแก่ราวห้าพันปี
  • 2:17 - 2:18
    บางท่านคงเคยใช้มันมาก่อนแล้ว
  • 2:18 - 2:21
    ตอนนี้ดูเหมือนมันกำลังจะหายไป แต่เราก็ยังคงใช้มันอยู่
  • 2:21 - 2:23
    ใน 99 เปอร์เซ็นต์ของงานที่เราทำ
  • 2:23 - 2:27
    นั่นคือ แบบฟอร์มกระดาษ และสิ่งที่คุณเห็นอยู่นี้
  • 2:27 - 2:30
    ก็คือ แบบฟอร์มกระดาษในมือพยาบาล
    ของกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย
  • 2:30 - 2:34
    ซึ่งกำลังเดินยํ่าไปทั่วชนบท ในอินโดนีเซีย
  • 2:34 - 2:37
    ผมเชื่อว่าอากาศต้องร้อนอบอ้าวมากๆ
  • 2:37 - 2:40
    เธอจะต้องไปเคาะประตูบ้านเป็นพันๆ หลัง
  • 2:40 - 2:42
    เป็นเวลาหลายๆ สัปดาห์ หรือหลายๆ เดือน
  • 2:42 - 2:44
    ไปเคาะประตูบ้าน และบอกว่า "ขอโทษนะคะ
  • 2:44 - 2:46
    เรามีคำถามอยากถามคุณหน่อย
  • 2:46 - 2:50
    คุณมีลูกหรือเปล่าคะ ลูกของคุณฉีดวัคซีนหรือยัง"
  • 2:50 - 2:52
    เพราะว่าวิธีเดียวที่เราจะรู้ได้จริงๆ
  • 2:52 - 2:55
    ว่าเด็กในชนบทของอินโดนีเซีย ฉีดวัคซีนแล้วกี่คน
  • 2:55 - 2:57
    หรือกี่เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่การค้นหาในอินเทอร์เน็ต
  • 2:57 - 3:00
    แต่เป็นการออกไปเคาะประตูบ้าน
  • 3:00 - 3:03
    ซึ่งบางครั้งก็หลายหมื่นหลายพันประตู
  • 3:03 - 3:06
    บางครั้งใช้เวลาหลายๆ เดือน หรือแม้กระทั่งหลายๆ ปี
  • 3:06 - 3:07
    เพื่อหาข้อมูลเรื่องแบบนี้
  • 3:07 - 3:09
    รู้ไหมครับ สำมะโนประชากรของอินโดนีเซีย
  • 3:09 - 3:11
    อาจใช้เวลาสองปีจึงจะทำเสร็จ
  • 3:11 - 3:14
    ปัญหาของกระบวนการเหล่านี้ แน่นอนครับ
  • 3:14 - 3:16
    มันอยู่ที่แบบฟอร์มกระดาษทั้งหมดนั่น ผมกำลังจะบอกว่า
  • 3:16 - 3:18
    เรามีแบบฟอร์มกระดาษสำหรับทุกๆ สิ่งที่เป็นไปได้
  • 3:18 - 3:21
    เรามีแบบฟอร์มกระดาษ สำหรับการสำรวจการฉีดวัคซีน
  • 3:21 - 3:24
    เรามีแบบฟอร์ม เพื่อติดตามคนที่มาคลินิก
  • 3:24 - 3:27
    เรามีแบบฟอร์ม เพื่อติดตามที่มาของยาและเวชภัณฑ์
  • 3:27 - 3:30
    และโลหิต แบบฟอร์มต่างๆ ทั้งหมดนี้
  • 3:30 - 3:31
    ที่ใช้สำรวจเรื่องต่างๆ กันมากมาย
  • 3:31 - 3:34
    ล้วนมาลงเอยที่จุดสุดท้ายแบบเดียวกัน
  • 3:34 - 3:36
    จุดสุดท้ายที่ว่า ก็คืออะไรบางอย่างที่หน้าตาแบบนี้
  • 3:36 - 3:41
    สิ่งที่เราเห็นตรงนี้ ก็คือ ข้อมูลเต็มรถบรรทุก
  • 3:41 - 3:45
    เป็นข้อมูลจากการสำรวจอัตราความครอบคลุม
    ของการฉีดวัคซีนครั้งหนึ่ง
  • 3:45 - 3:47
    ในอำเภอเดียว ในชนบทของแซมเบีย
  • 3:47 - 3:49
    จากเมื่อสองสามปีที่แล้ว ที่ผมเข้าไปร่วมทำอยู่ด้วย
  • 3:49 - 3:52
    สิ่งเดียวที่ใครก็ตามพยายามค้นหา
  • 3:52 - 3:55
    ก็คือ มีเด็กๆ แซมเบียกี่เปอร์เซนต์
    ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว
  • 3:55 - 3:58
    และนี่คือข้อมูลดังกล่าว ซึ่งถูกรวบรวมไว้บนกระดาษ
    ในช่วงหลายสัปดาห์
  • 3:58 - 4:01
    จากอำเภอเดียว ซึ่งคล้ายๆ กับเขตการปกครอง
  • 4:01 - 4:03
    ในสหรัฐอเมริกา
  • 4:03 - 4:05
    คุณคงจินตนาการได้ว่า สำหรับทั่วทั้งประเทศแซมเบียแล้ว
  • 4:05 - 4:08
    การหาคำตอบเพียงแค่คำถามเดียวนั่น
  • 4:08 - 4:10
    ก็คงออกมาหน้าตาแบบนี้
  • 4:10 - 4:13
    รถบรรทุกคันแล้วคันเล่า
  • 4:13 - 4:16
    ที่มีกองข้อมูลกองแล้วกองเล่าอยู่เต็มคันรถ
  • 4:16 - 4:18
    และที่แย่ยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ
  • 4:18 - 4:20
    นั่นเป็นแค่เพียงการเริ่มต้น
  • 4:20 - 4:22
    เพราะเมื่อคุณรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาแล้ว
  • 4:22 - 4:23
    แน่นอนครับ ต้องมีใครบางคน
  • 4:23 - 4:26
    คนโชคร้ายบางคน ต้องพิมพ์ข้อมูลนั้นเข้าไปในคอมพิวเตอร์
  • 4:26 - 4:28
    จริงๆ แล้ว ตอนที่ผมเป็นนักศึกษาปริญญาเอก
  • 4:28 - 4:30
    บางครั้งคนโชคร้ายคนนั้นก็คือผมเอง
  • 4:30 - 4:33
    ผมบอกคุณได้เลยว่า บ่อยครั้งผมไม่ได้เอาใจใส่อย่างจริงจัง
  • 4:33 - 4:35
    ตอนที่พิมพ์ข้อมูลนั้น ผมอาจพิมพ์ผิดพลาดไปเยอะมาก
  • 4:35 - 4:38
    ซึ่งไม่มีใครตรวจพบได้เลย
    ดังนั้นคุณภาพของข้อมูลก็ลดลง
  • 4:38 - 4:41
    แต่ท้ายที่สุดก็หวังว่าข้อมูลเหล่านั้น
    จะถูกพิมพ์เข้าไปในคอมพิวเตอร์
  • 4:41 - 4:43
    และใครบางคนก็สามารถเริ่มต้นวิเคราะห์มันได้
  • 4:43 - 4:46
    และเมื่อพวกเขามีผลการวิเคราะห์และรายงานออกมา
  • 4:46 - 4:49
    ก็หวังว่า คุณจะนำผลของการรวบรวมข้อมูลนั้นไปใช้
  • 4:49 - 4:51
    เพื่อปรับปรุงการฉีดวัคซีนให้เด็กๆ ได้ดีขึ้น
  • 4:51 - 4:54
    เพราะว่า ถ้าจะมีอะไรบางอย่างที่เลวร้าย
  • 4:54 - 4:56
    ในวงการสาธารณสุขระดับโลกแล้ว
  • 4:56 - 4:59
    ผมไม่รู้ว่า อะไรจะเลวร้ายไปกว่า
    การยอมให้เด็กๆ บนโลกใบนี้
  • 4:59 - 5:02
    ตายเพราะโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน
  • 5:02 - 5:06
    โรคที่มีวัคซีนป้องกันได้ในราคาดอลลาร์เดียว
  • 5:06 - 5:09
    แต่เด็กเป็นล้านๆ คนกลับต้องตายด้วยโรคพวกนั้นทุกๆ ปี
  • 5:09 - 5:12
    และที่จริง จำนวนเป็นล้านๆ นั้น
    ก็เป็นแค่การประมาณหยาบๆ เพราะว่า
  • 5:12 - 5:15
    เราไม่ได้รู้แน่ชัดจริงๆ หรอกว่า ในแต่ละปี
    มีเด็กตายจากสาเหตุนี้กี่คนกันแน่
  • 5:15 - 5:18
    แต่สิ่งที่ทำให้หงุดหงิดใจมากกว่านั้น ก็คือ
  • 5:18 - 5:21
    ขั้นตอนการพิมพ์ข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์
    ที่ผมเคยทำตอนเมื่อเรียนปริญญาเอกนั้น
  • 5:21 - 5:23
    บางครั้งใช้เวลาถึงหกเดือน
  • 5:23 - 5:25
    บางครั้งก็ถึงสองปี เพื่อพิมพ์ข้อมูลนั้น
  • 5:25 - 5:28
    เข้าไปในคอมพิวเตอร์ และบางที จริงๆ แล้วก็บ่อยนะ
  • 5:28 - 5:30
    ข้อมูลนั้นก็ไม่ถูกพิมพ์เข้าคอมพิวเตอร์เลย
  • 5:30 - 5:33
    ทีนี้ ลองตั้งใจคิดเรื่องนี้หนักๆ สักหนึ่งวินาที
  • 5:33 - 5:35
    คุณมีทีมงานมากมายที่ประกอบด้วยคนหลายร้อยคน
  • 5:35 - 5:37
    พวกเขาออกไปในพื้นที่ เพื่อหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
  • 5:37 - 5:40
    คุณอาจจ่ายเงินไปหลายแสนดอลลาร์
  • 5:40 - 5:44
    เป็นค่าเชื้อเพลิง ค่าถ่ายเอกสาร และเบี้ยเลี้ยง
  • 5:44 - 5:46
    แล้วด้วยเหตุผลบางอย่าง ก็ไม่มีคนผลักดันโครงการนั้นต่อ
  • 5:46 - 5:47
    หรือเพราะเงินทุนหมด
  • 5:47 - 5:50
    และที่ทำมาทั้งหมดก็ไม่เกิดผลอะไรเลย
  • 5:50 - 5:53
    เพราะไม่มีใครพิมพ์ข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์เลย
  • 5:53 - 5:56
    กระบวนการนั้นก็ต้องหยุดไป เป็นอย่างนี้บ่อยมาก
  • 5:56 - 5:59
    นี่ล่ะ สิ่งที่เราใช้เป็นฐานในการตัดสินใจ
    เรื่องสุขภาพระดับโลก
  • 5:59 - 6:04
    เรามีข้อมูลน้อยมาก ข้อมูลเก่า หรือไม่มีข้อมูลเลย
  • 6:04 - 6:06
    เอาละ กลับไปในปี 1995 ผมจึงเริ่มต้นคิดวิธีการ
  • 6:06 - 6:08
    ที่เราจะสามารถปรับปรุงกระบวนการนี้ให้ดีขึ้น
  • 6:08 - 6:11
    ในปี 1995 ซึ่งนั่นก็ผ่านมานานมากแล้ว
  • 6:11 - 6:14
    ผมตกใจเหมือนกัน เมื่อนึกถึงว่ามันนานขนาดนั้น
  • 6:14 - 6:16
    ภาพยนตร์อันดับหนึ่งในปีนั้นคือ
  • 6:16 - 6:17
    "Die Hard with a Vengence"
  • 6:17 - 6:20
    คุณคงเห็นได้ชัดว่า
    บรูซ วิลลิสตอนนั้นยังผมดกกว่านี้เยอะแยะ
  • 6:20 - 6:22
    ตอนนั้นผมทำงานอยู่ที่ศูนย์ควบคุมโรค
  • 6:22 - 6:25
    และผมเองก็ยังมีผมดกกว่านี้เยอะเช่นกัน
  • 6:25 - 6:28
    แต่ สำหรับผม สิ่งที่มีนัยสำคัญที่สุดที่ผมเห็นในปี 1995
  • 6:28 - 6:30
    ก็คือสิ่งนี้
  • 6:30 - 6:33
    มันยากที่เราจะจินตนาการได้ แต่ในปี 1995
  • 6:33 - 6:36
    นี่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ซึ่งหรูสุดๆ ในตอนนั้น
  • 6:36 - 6:39
    ใช่ไหมครับ มันไม่ใช่ไอโฟน มันไม่ใช่โทรศัพท์กาแล็กซี่
  • 6:39 - 6:40
    แต่มันคือ ปาล์ม ไพล็อต (Palm Pilot)
  • 6:40 - 6:44
    และเมื่อผมเห็นปาล์ม ไพล็อตเป็นครั้งแรก
    ผมก็คิดว่า
  • 6:44 - 6:46
    ทำไมเราไม่เอาแบบฟอร์มพวกนั้น
    ใส่ไปในปาล์ม ไพล็อต
  • 6:46 - 6:49
    และก็ออกไปในพื้นที่
    ถือไปแค่ ปาล์ม ไพล็อต ตัวเดียว
  • 6:49 - 6:52
    ซึ่งสามารถเก็บแบบฟอร์มได้หลายหมื่นหลายพันฉบับ
  • 6:52 - 6:54
    ทำไมเราจึงไม่ลองทำแบบนั้นดู
  • 6:54 - 6:57
    เพราะว่า ถ้าเราทำได้ ถ้าเราสามารถ
  • 6:57 - 7:00
    เก็บข้อมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ ในระบบดิจิตอล
  • 7:00 - 7:01
    ตั้งแต่ขั้นตอนแรกได้จริงๆ
  • 7:01 - 7:04
    เราก็สามารถข้ามขั้นตอนทั้งหมด
  • 7:04 - 7:08
    ในการพิมพ์ข้อมูล
  • 7:08 - 7:10
    ที่ต้องให้คนบางคนพิมพ์ข้อมูลพวกนั้น
    เข้าไปในคอมพิวเตอร์
  • 7:10 - 7:12
    เราจะสามารถข้ามไปสู่การวิเคราะห์ได้เลย
  • 7:12 - 7:15
    แล้วก็ตรงเข้าไปสู่การใช้ข้อมูลนั้น
    เพื่อช่วยชีวิตผู้คนได้อย่างแท้จริง
  • 7:15 - 7:17
    ผมจึงเริ่มลงมือทำอย่างนั้น
  • 7:17 - 7:21
    ตอนทำงานที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC)
    ผมเริ่มเดินทางไปยัง
  • 7:21 - 7:25
    โครงการต่างๆ รอบโลก
    และฝึกให้พวกเขาใช้ ปาล์ม ไพล็อต
  • 7:25 - 7:27
    เพื่อรวบรวมข้อมูล แทนที่จะใช้กระดาษ
  • 7:27 - 7:29
    ซึ่งมันก็ใช้การได้ดีเยี่ยม
  • 7:29 - 7:32
    มันทำงานได้ดีตามที่ใครๆ คาดหมายไว้
  • 7:32 - 7:34
    คุณรู้ไหมครับ การรวบรวมข้อมูลแบบดิจิตอล
  • 7:34 - 7:36
    จริงๆ แล้วมีประสิทธิภาพมากกว่า
    การรวบรวมไว้บนกระดาษ
  • 7:36 - 7:39
    ในระหว่างที่ผมทำงานอยู่นั้น
    หุ้นส่วนธุรกิจของผม คุณโรส
  • 7:39 - 7:42
    ซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้ชมที่นี่ด้วย
    พร้อมกับสามีของเธอ คุณแมททิว
  • 7:42 - 7:45
    คุณโรสออกไปทำโครงการคล้ายกันนี้ ให้กับกาชาดอเมริกา
  • 7:45 - 7:47
    ปัญหาก็คือ สองสามปีหลังจากที่ทำแบบนั้น
  • 7:47 - 7:50
    ผมก็ตระหนักขึ้นมาว่า ผมไปอบรมให้เจ้าหน้าที่มาแล้ว
  • 7:50 - 7:52
    หก หรือ เจ็ดโครงการ และผมก็คิดว่า
  • 7:52 - 7:55
    ถ้าผมยังทำแบบนี้ต่อไป ในอัตราความเร็วขนาดนี้
  • 7:55 - 7:56
    ตลอดอายุการทำงานทั้งหมดของผม
  • 7:56 - 7:59
    ผมอาจจะอบรมคนได้ถึง 20 หรือ 30 โครงการ
  • 7:59 - 8:02
    แต่ปัญหาคือ 20 หรือ 30 โครงการ
  • 8:02 - 8:05
    คือ การฝึกคนใน 20 หรือ 30 โครงการให้ใช้เทคโนโลยีนี้
  • 8:05 - 8:07
    เป็นแค่หยดนํํ้าเล็กๆ หนึ่งหยดในถัง
  • 8:07 - 8:11
    ความต้องการในเรื่องนี้ ความจำเป็นที่ต้องมีข้อมูล
    เพื่อปรับปรุงโครงการให้ดีขึ้น
  • 8:11 - 8:14
    แค่เพียงในเรื่องสุขภาพเท่านั้น
    ยังไม่ต้องกล่าวถึงวงการอื่่นใด
  • 8:14 - 8:16
    ในประเทศด้อยพัฒนานั้น มีมากมายเหลือคณา
  • 8:16 - 8:20
    มีหลายต่อหลายล้านโครงการ
  • 8:20 - 8:22
    หลายๆ ล้านคลินิกที่ต้องการติดตามเรื่องยา
  • 8:22 - 8:24
    โครงการฉีดวัคซีนล้านๆ โครงการ
  • 8:24 - 8:26
    ยังมีโรงเรียนที่ต้องติดตามการเข้าเรียนของนักเรียน
  • 8:26 - 8:28
    ยังมีโครงการต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมด
  • 8:28 - 8:30
    ที่รอให้เราเก็บข้อมูลที่เราต้องการ
  • 8:30 - 8:34
    ผมเลยตระหนักว่า ถ้าผมยังคงทำวิธีเดิมที่ทำอยู่นั้น
  • 8:34 - 8:38
    ผมคงไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรได้จริงจังเลย
  • 8:38 - 8:39
    จนกระทั่งผมเกษียณ
  • 8:39 - 8:42
    ดังนั้นผมจึงเริ่มคิดอย่างหนัก
  • 8:42 - 8:43
    พยายามคิด
  • 8:43 - 8:44
    ว่ากระบวนการที่ผมกำลังทำอยู่เป็นอย่างไร
  • 8:44 - 8:47
    ผมสอนชาวบ้านเขาอย่างไร
    อะไรทำให้เกิดความล่าช้า
  • 8:47 - 8:50
    และอะไรเป็นอุปสรรคของการที่จะทำให้เร็วยิ่งขึ้น
  • 8:50 - 8:51
    และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  • 8:51 - 8:55
    แต่โชคไม่ดีครับ หลังจากคิดถึงเรื่องนี้ระยะหนึ่ง
  • 8:55 - 8:58
    ผมก็ตระหนักว่า ผมรู้แล้วว่าอุปสรรคสำคัญคืออะไร
  • 8:58 - 9:00
    ปรากฏว่า อุปสรรคสำคัญ
  • 9:00 - 9:02
    ซึ่งผมพบว่าเป็นความจริงที่น่าเศร้า
  • 9:02 - 9:04
    เพราะอุปสรรคสำคัญก็คือ ตัวผมเอง
  • 9:04 - 9:06
    ผมหมายความว่าอย่างไรหรือครับ
  • 9:06 - 9:09
    ผมได้พัฒนากระบวนการหนึ่งขึ้น
  • 9:09 - 9:14
    โดยมีผมเป็นศูนย์กลางจักรวาลของเทคโนโลยีนี้
  • 9:14 - 9:17
    ถ้าคุณต้องการใช้เทคโนโลยีนี้ คุณก็ต้องมาติดต่อผม
  • 9:17 - 9:19
    นั่นหมายความว่า คุณต้องรู้ว่าผมมีตัวตนอยู่นะ
  • 9:19 - 9:20
    แล้วคุณก็ต้องหาเงินมาเพื่อจ่ายให้ผม
  • 9:20 - 9:22
    บินไปประเทศของคุณ
  • 9:22 - 9:24
    และจ่ายค่าโรงแรมให้ผม
  • 9:24 - 9:26
    และจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าจ้างรายวันของผม
  • 9:26 - 9:29
    ซึ่งนั่นอาจเป็นเงินราวๆ 10,000 หรือ 20,000
    หรือ 30,000 ดอลลาร์
  • 9:29 - 9:32
    ถ้าหากว่าผมมีเวลา หรือจัดลงตารางเวลาของผมได้
  • 9:32 - 9:34
    และผมไม่ได้อยู่ในช่วงพักร้อน
  • 9:34 - 9:37
    ประเด็นก็คือ อะไรหรือระบบใดก็ตาม
  • 9:37 - 9:40
    ที่ขึ้นอยู่กับคนเพียงคนเดียว
    หรือสอง หรือสาม หรือห้าคน
  • 9:40 - 9:41
    ย่อมไม่อาจขยายออกไปได้ในวงกว้าง
  • 9:41 - 9:43
    แต่นี่คือปัญหาที่เราจำเป็นต้องขยายเทคโนโลยีนี้
  • 9:43 - 9:46
    และเราต้องรีบขยายมันออกไปในวงกว้างเดี๋ยวนี้
  • 9:46 - 9:48
    ผมจึงเริ่มต้นคิดวิธีที่ผมจะสามารถ
  • 9:48 - 9:51
    เอาตัวผมเองออกจากภาพนั้นให้ได้
  • 9:51 - 9:55
    คุณรู้ไหมครับ ตอนนั้นผมคิดว่า
  • 9:55 - 9:57
    ทำอย่างไรผมจึงจะเอาตัวเองออกจากภาพนั้นได้
  • 9:57 - 9:59
    ใช้เวลานานสมควรทีเดียว
  • 9:59 - 10:01
    เพราะผมถูกฝึกมาในแบบที่ว่า
  • 10:01 - 10:04
    เราเผยแพร่เทคโนโลยีในโครงการพัฒนาระหว่างประเทศ
  • 10:04 - 10:06
    โดยอาศัยบริษัทที่ปรึกษาเป็นหลักมาโดยตลอด
  • 10:06 - 10:09
    โดยทุกครั้งก็จะมีคนที่ดูเหมือนๆ กับผม
  • 10:09 - 10:11
    ที่บินจากประเทศพัฒนาแล้วแบบประเทศนี้
  • 10:11 - 10:15
    ไปยังประเทศอื่นๆ ที่ผู้คนมีสีผิวเข้มกว่านี้
  • 10:15 - 10:17
    คุณไปที่นั่น แล้วก็ต้องใช้จ่ายเงินเป็นค่าเครื่องบิน
  • 10:17 - 10:21
    และใช้เวลา จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง
  • 10:21 - 10:23
    ค่าโรงแรม คุณต้องจ่ายเงินไปในเรื่องแบบนั้น
  • 10:23 - 10:24
    เท่าที่ผมทราบนะครับ นั่นเป็นวิธีการแบบเดียว
  • 10:24 - 10:28
    ที่คุณจะเผยแพร่เทคโนโลยีได้
    และผมก็คิดวิธีการอื่นนอกจากนี้ไม่ได้
  • 10:28 - 10:30
    แต่แล้วก็สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้น
  • 10:30 - 10:33
    ผมจะเรียกมันสั้นๆ ว่า ฮ็อตเมล์
  • 10:33 - 10:35
    เอาละ คุณอาจจะไม่คิดว่า ฮ็อตเมล์เป็นสิ่งมหัศจรรย์
  • 10:35 - 10:38
    แต่สำหรับผมแล้ว มันมหัศจรรย์ เพราะผมได้สังเกตุเห็นว่า
  • 10:38 - 10:41
    ตอนที่ผมกำลังปลุกปลํ้ากับปัญหานี้อยู่
  • 10:41 - 10:44
    ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ทำงานอยู่ทางตอนใต้ของ
    ทะเลทรายซาฮาราในอาฟริกา
  • 10:44 - 10:47
    ผมสังเกตุเห็นว่า เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพที่นั่นทุกคน
  • 10:47 - 10:51
    ที่ผมทำงานอยู่ด้วยนั้น ใช้ฮ็อตเมล์ในการติดต่อกัน
  • 10:51 - 10:53
    ผมก็เลยคิด คือมันทำให้ผมฉุกคิดขึ้นได้ว่า
  • 10:53 - 10:56
    ประเดี๋ยวนะ ผมมั่นใจว่าคนของฮ็อตเมล์
  • 10:56 - 10:58
    ไม่เคยบินที่ไปกระทรวงสาธารณสุข
    ของประเทศเคนย่า
  • 10:58 - 11:01
    เพื่อไปฝึกผู้คนให้รู้จักวิธีการใช้ฮ็อตเมล์แน่ๆ
  • 11:01 - 11:04
    แปลว่า คนเหล่านี้เผยแพร่เทคโนโลยีกันเอง
  • 11:04 - 11:06
    พวกเขาเรียนรู้การใช้ซอฟต์แวร์จากที่ไหนสักแห่ง
  • 11:06 - 11:08
    แต่พวกเขาไม่เคยต้องบินไปรอบโลกเลย
  • 11:08 - 11:09
    ผมต้องขบคิดเรื่องนี้อยู่อีกสักพักหนึ่ง
  • 11:09 - 11:11
    ระหว่างที่กำลังคิดอยู่นั้น ผู้คนก็เริ่มต้นใช้
  • 11:11 - 11:15
    เครื่องมือคล้ายๆ อย่างนี้เพิ่มมากขึ้น
    เหมือนอย่างที่พวกเราก็เป็นกัน
  • 11:15 - 11:16
    พวกเขาเริ่มใช้ Linkedln และ Flickr
  • 11:16 - 11:19
    จีเมล์ และแผนที่กูเกิล ของประเภทนี้
  • 11:19 - 11:21
    แน่นอนครับ ทั้งหมดนี้เป็นการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต
  • 11:21 - 11:23
    และไม่จำเป็นต้องมีการฝึกแต่อย่างใด
  • 11:23 - 11:25
    ไม่ต้องใช้นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • 11:25 - 11:27
    ไม่ต้องใช้ที่ปรึกษาใดๆ ก็เพราะว่า
  • 11:27 - 11:29
    โมเดลธุรกิจพวกนี้ทั้งหมด
  • 11:29 - 11:32
    ต้องการสร้างเครื่องมือที่ใช้ง่ายๆ
    จนเราสามารถใช้มันได้ด้วยตัวเอง
  • 11:32 - 11:33
    โดยมีการฝึกเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องมีเลย
  • 11:33 - 11:36
    คุณเพียงแค่ได้ยินมา แล้วก็เข้าไปในเว็บไซต์
  • 11:36 - 11:40
    ผมจึงคิดว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมา
  • 11:40 - 11:42
    เพื่อทำสิ่งที่ผมเคยทำ ในการให้คำปรึกษา
  • 11:42 - 11:44
    แทนที่จะฝึกผู้คนให้รู้วิธี
  • 11:44 - 11:47
    เอาแบบฟอร์มไปใส่ในเครื่องมือเคลื่อนที่
  • 11:47 - 11:49
    เรามาสร้างซอฟต์แวร์ ที่ทำให้พวกเขาทำได้ด้วยตัวเอง
  • 11:49 - 11:51
    โดยไม่มีการฝึกอบรม
    และไม่มีผมเข้าไปเกี่ยวข้องได้หรือไม่
  • 11:51 - 11:53
    และผมก็ลงมือทำตามนั้นเลย
  • 11:53 - 11:56
    เราจึงสร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมา เรียกว่า แม็กไพ (Magpi)
  • 11:56 - 11:58
    ซึ่งมีตัวสร้างแบบฟอร์มทางออนไลน์
  • 11:58 - 11:59
    ไม่ต้องให้ใครมาคุยกับผม
  • 11:59 - 12:02
    คุณเพียงแค่ได้ยินเรื่องนี้ และก็เข้าไปในเว็บไซต์
  • 12:02 - 12:05
    คุณก็สามารถสร้างแบบฟอร์มขึ้นมาได้
    และเมื่อสร้างขึ้นมาแล้ว
  • 12:05 - 12:07
    คุณก็ส่งมันเข้าไปในโทรศัพท์มือถือทั่วๆ ไป
    หลากหลายประเภท
  • 12:07 - 12:10
    เห็นได้ชัดว่า ปัจจุบันนี้ เราได้ข้ามผ่าน ปาล์ม ไพล็อต
  • 12:10 - 12:11
    จนไปถึงโทรศัพท์มือถือแล้ว
  • 12:11 - 12:12
    และมันไม่จำเป็นต้องเป็นสมาร์ทโฟน
  • 12:12 - 12:15
    โทรศัพท์พื้นฐานก็ใช้ได้ เช่น โทรศัพท์ด้านขวามือนั่น
  • 12:15 - 12:16
    โทรศัพท์แบบซิมเบียน (Symbian) ธรรมดาๆ
  • 12:16 - 12:19
    ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายมากในประเทศด้อยพัฒนา
  • 12:19 - 12:23
    และสิ่งที่เจ๋งมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ มันเหมือนฮ็อตเมล์
  • 12:23 - 12:25
    มันเป็นการใช้ผ่านอินเตอร์เน็ต และไม่ต้องมีการฝึก
  • 12:25 - 12:27
    หรือการเขียนโปรแกรม หรือที่ปรึกษา
  • 12:27 - 12:29
    แถมยังมีผลพลอยได้อื่นๆ อีกด้วย
  • 12:29 - 12:31
    ตอนนี้เรารู้แล้วว่า เมื่อเราสร้างระบบนี้ขึ้นมา
  • 12:31 - 12:33
    เป้าหมายของมัน ก็เหมือนกับเรื่อง ปาล์ม ไพล็อต
  • 12:33 - 12:36
    คือ คุณจะต้อง คุณจะสามารถ
  • 12:36 - 12:39
    รวบรวมข้อมูล อัพโหลดข้อมูล
    และได้ชุดข้อมูลของคุณออกมาในทันที
  • 12:39 - 12:41
    แต่สิ่งที่เราพบ แน่นอนครับ
    เพราะว่ามันอยู่ในคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว
  • 12:41 - 12:45
    เราก็สามารถส่งแผนที่ การวิเคราะห์ กราฟ ได้เดี๋ยวนั้นเลย
  • 12:45 - 12:47
    เราสามารถเอากระบวนการที่ใช้เวลาสองปี
  • 12:47 - 12:50
    และย่อมันลงไปไว้ในช่วงเวลาแค่ห้านาที
  • 12:50 - 12:52
    เป็นการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น อย่างไม่น่าเชื่อ
  • 12:52 - 12:57
    ใช้อินเตอร์เน็ต ไม่ต้องมีการฝึก
    ไม่ต้องมีที่ปรึกษา ไม่ต้องมีผม
  • 12:57 - 13:00
    และผมบอกคุณได้ว่า ในสองสามปีแรก
  • 13:00 - 13:01
    ที่ผมพยายามทำสิ่งนี้ โดยวิธีการแบบเก่าๆ
  • 13:01 - 13:03
    คือเดินทางไปแต่ละประเทศ
  • 13:03 - 13:06
    เราเข้าถึงคน ผมไม่แน่ใจนะครับ
  • 13:06 - 13:08
    เราน่าจะฝึกคนไปได้ประมาณ 1,000 คน
  • 13:08 - 13:10
    แล้วอะไรเกิดขึ้นครับ หลังจากเราทำระบบใหม่นี้
  • 13:10 - 13:12
    ภายในสามปีต่อมา มีคน 14,000 คน
  • 13:12 - 13:15
    ที่พบเว็บไซต์ของเรา ลงทะเบียน
    และเริ่มใช้มันเพื่อรวบรวมข้อมูล
  • 13:15 - 13:17
    เช่น ข้อมูลเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ
  • 13:17 - 13:22
    ผู้เลี้ยงหมูชาวคานาดา
    ติดตามข้อมูลโรคที่เกิดกับหมู และฝูงหมู
  • 13:22 - 13:24
    มีคนใช้ระบบนี้ติดตามผู้จำหน่ายยา
  • 13:24 - 13:26
    ตัวอย่างหนึ่งที่เราชอบ ก็คือ IRC
  • 13:26 - 13:28
    หรือคณะกรรมการช่วยชีวิตระหว่างประเทศ
  • 13:28 - 13:31
    มีโครงการให้หมอตำแย ที่อ่านหนังสือออก แต่เขียนไม่ได้
  • 13:31 - 13:33
    ใช้โทรศัพท์มือถือราคา 10 ดอลลาร์
  • 13:33 - 13:35
    ส่งข่าวสารโดยใช้ซอฟต์แวร์ของเรา
  • 13:35 - 13:38
    สัปดาห์ละครั้ง เกี่ยวกับจำนวนเด็กที่เกิด
  • 13:38 - 13:40
    และจำนวนเด็กที่ตาย ซึ่งทำให้ IRC
  • 13:40 - 13:43
    มีบางอย่างที่ไม่มีใครเคยมี ในเรื่องสุขภาพระดับโลก
  • 13:43 - 13:46
    ได้แก่ ระบบที่ทำงานแบบทันที ในการนับจำนวนทารก
  • 13:46 - 13:48
    ได้รู้ว่ามีเด็กเกิดมากี่คน
  • 13:48 - 13:49
    และมีเด็กอยู่กี่คน
  • 13:49 - 13:52
    ในประเทศซีรา ลีออน ซึ่งกำลังใช้ระบบนี้อยู่
  • 13:52 - 13:55
    และเราก็รู้ได้ด้วยว่ามีเด็กตายไปกี่คน
  • 13:55 - 13:57
    องค์กรแพทย์เพื่อสิทธิมนุษยชน
  • 13:57 - 13:59
    คือ เริ่มมีการนำระบบนี้ไปใช้ในวงการอื่น
    นอกจากเรื่องสุขภาพแล้วนะ
  • 13:59 - 14:02
    องค์กรนี้เขากำลังรวมตัวกัน โดยพื้นฐานก็เพื่อฝึกผู้คน
  • 14:02 - 14:06
    ให้ตรวจเหยื่อข่มขืนในประเทศคองโก
    ที่เกิดเหตุข่มขืนเยอะมาก
  • 14:06 - 14:07
    ราวกับโรคระบาดที่น่าเกลียดน่ากลัว
  • 14:07 - 14:10
    พวกเขาใช้ซอฟต์แวร์ของเราเก็บบันทึก
  • 14:10 - 14:13
    หลักฐานที่พบ รวมทั้งภาพถ่ายด้วย
  • 14:13 - 14:17
    เพื่อจะได้นำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
  • 14:17 - 14:20
    แคมเฟด (Camfed) องค์กรการกุศลอีกรายหนึ่ง
    ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศอังกฤษ
  • 14:20 - 14:24
    แคมเฟดจ่ายเงินให้ครอบครัวของเด็กหญิง
    เพื่อให้เด็กๆ ไปโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
  • 14:24 - 14:26
    พวกเขารู้ว่า นี่เป็นการแทรกแซงที่สำคัญที่สุด
  • 14:26 - 14:29
    ที่พวกเขาสามารถทำได้
    พวกเขาเคยติดตามความครอบคลุมของโครงการ
  • 14:29 - 14:31
    การเข้าชั้นเรียน และผลการเรียน ด้วยแบบฟอร์มกระดาษ
  • 14:31 - 14:33
    เวลาที่ใช้ไป ตั้งแต่ครู
  • 14:33 - 14:35
    เขียนบันทึกคะแนนสอบ หรือการเข้าชั้นเรียน
  • 14:35 - 14:37
    จนกระทั่งนำข้อมูลนั้นไปทำรายงานเสร็จ
    ใช้เวลาราวสองถึงสามปี
  • 14:37 - 14:39
    แต่เดี๋ยวนี้ทำได้ทันที และเพราะว่านี่
  • 14:39 - 14:42
    เป็นระบบที่ค่าใช้จ่ายตํ่ามากๆ
    และทำงานบนอินเตอร์เน็ต
  • 14:42 - 14:46
    ค่าใช้จ่ายรวมทั้งห้าประเทศที่แคมเฟ็ดทำงานนี้อยู่
  • 14:46 - 14:48
    ในการดูแลเด็กหญิงเป็นหมื่นๆ คน
  • 14:48 - 14:51
    รวมเป็นเงินแค่ 10,000 ดอลลาร์ต่อปี
  • 14:51 - 14:53
    ซึ่งน้อยกว่าที่ผมเคยได้รับ
  • 14:53 - 14:58
    ตอนที่เดินทางออกไปให้คำปรึกษา
    เป็นเวลาสองสัปดาห์เสียอีก
  • 14:58 - 15:00
    ดังนั้น ที่ผมบอกคุณก่อนหน้านี้ว่า
  • 15:00 - 15:02
    เมื่อเราทำงานด้วยวิธีเก่านั้น ผมตระหนักว่า
  • 15:02 - 15:05
    งานของเราทั้งหมดนั้น แท้จริงเมื่อรวมกันแล้ว
    ก็เป็นเพียงนํ้าหยดหนึ่งในถัง
  • 15:05 - 15:07
    โครงการต่างๆ 10, 20, 30 โครงการนั่น
  • 15:07 - 15:10
    เราได้สร้างความก้าวหน้าไปมาก แต่ผมก็ยอมรับว่า
  • 15:10 - 15:12
    ในขณะนี้ แม้แต่งานที่เราได้ทำไปแล้ว
  • 15:12 - 15:14
    กับผู้คน 14,000 คนที่ใช้ระบบใหม่นี้
  • 15:14 - 15:17
    ก็ยังคงเป็นหยดนํ้าหยดเดียวในถังอยู่นั่นเอง
    แต่บางสิ่งบางอย่างได้เปลี่ยนไปแล้ว
  • 15:17 - 15:18
    และผมคิดว่า มันน่าจะชัดเจน
  • 15:18 - 15:21
    ว่าสิ่งที่ได้เปลี่ยนไปแล้วในปัจจุบันคือ
  • 15:21 - 15:24
    แทนที่เราจะมีโครงการหนึ่ง
    ที่ขยายออกไปได้ในอัตราที่ตํ่ามาก
  • 15:24 - 15:27
    จนเราไม่สามารถเข้าถึงผู้คนทั้งหมดที่ต้องการเรา
  • 15:27 - 15:31
    ตอนนี้เราไม่จำเป็นเป็นต้องเดินทางไปพบพวกเขาแล้ว
  • 15:31 - 15:34
    เราได้สร้างเครื่องมือที่ ทำให้โครงการต่างๆ
  • 15:34 - 15:37
    สามารถทำให้เด็กยังคงไปโรงเรียน
  • 15:37 - 15:40
    หรือติดตามจำนวนเด็กทารกที่เกิดและจำนวนเด็กที่ตาย
  • 15:40 - 15:44
    เพื่อจับอาชญากร และนำพวกเขามาลงโทษได้สำเร็จ
  • 15:44 - 15:46
    เพื่อทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมด เพื่อให้ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น
  • 15:46 - 15:51
    เกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อเข้าใจให้มากขึ้น
    เพื่อเห็นมากยิ่งขึ้น
  • 15:51 - 15:55
    และเพื่อช่วยชีวิต และปรับปรุงชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น
  • 15:55 - 15:57
    ขอบคุณครับ
  • 15:57 - 16:01
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ต้นกำเนิดที่น่าทึ่งของการปฏิวัติระบบข้อมูลขนาดมหึมา (big data) ในวงการสาธารณสุข
Speaker:
โจเอล เซลานิกิโอ
Description:

การรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพระดับโลก เคยเป็นศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์ คนทำงานต้องยํ่าไปทั่วทุกหมู่บ้าน เพื่อเคาะประตูบ้านและถามคำถาม เขียนคำตอบลงไปในแบบฟอร์มกระดาษ แล้วก็พิมพ์ข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ และประเทศทั้งหลายก็นำข้อมูลที่ตกๆ หล่นๆ นี้ ไปใช้ในการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ กุนซือด้านข้อมูล โจเอล เซลานิกิโอพูดถึงการปฏิวัติระบบการรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพในทศวรรษที่ผ่านมา เริ่มต้นจาก ปาล์ม ไพล็อต ฮ็อตเมล์ และปัจจุบันได้ก้าวสู่การใช้อินเตอร์เน็ตแล้ว (ถ่ายทำที่ TEDxAustin)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:18

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 20 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut