Return to Video

สิ่งที่เราไม่เข้าใจเกี่ยวกับความไว้วางใจ

  • 0:00 - 0:02
    วันนี้ฉันจะพูดเรื่องความไว้วางใจ
  • 0:02 - 0:04
    โดยจะเริ่มจากทบทวนให้คุณฟัง
  • 0:04 - 0:09
    ว่ามุมที่คนทั่วไปมองความไว้วางใจเป็นอย่างไร
  • 0:09 - 0:11
    เป็นมุมมองที่แพร่หลายมาก
  • 0:11 - 0:13
    จนกลายเป็นวลีติดปาก
    ที่ได้ยินจนเบื่อในสังคมเราไปแล้ว
  • 0:13 - 0:15
    ฉันคิดว่ามันมีอยู่ 3 มุมมอง
  • 0:15 - 0:20
    ข้อแรกคือความเชื่อ
    ว่าความไว้วางใจในสังคมลดลงมาก
  • 0:20 - 0:22
    เชื่อกันในวงกว้างมาก
  • 0:22 - 0:26
    ข้อสองคือ เป้าหมาย
    ว่าเราควรไว้วางใจกันมากขึ้น
  • 0:26 - 0:32
    และข้อสาม สิ่งที่ต้องทำ คือ
    เราต้องสร้างความไว้วางใจขึ้นใหม่
  • 0:32 - 0:36
    ฉันคิดว่า ความเชื่อ เป้าหมาย และสิ่งที่ต้องทำ
  • 0:36 - 0:38
    เหล่านี้ล้วนเป็นการเข้าใจผิด
  • 0:38 - 0:40
    สิ่งที่ฉันพยายามจะบอกพวกคุณวันนี้
  • 0:40 - 0:45
    คือความเชื่อ เป้าหมาย และสิ่งที่ต้องทำ
    ซึ่งแตกต่างออกไป
  • 0:45 - 0:49
    และฉันเชื่อว่าจะทำให้คุณเข้าใจเรื่องนี้ดีขึ้น
  • 0:49 - 0:54
    ข้อแรก ความเชื่อ ทำไมเราถึงคิดว่า
    ความไว้วางใจในสังคมลดลง
  • 0:54 - 0:58
    ฉันคิดดูจากหลักฐานข้อมูลที่ฉันมี
  • 0:58 - 1:00
    ฉันก็ไม่รู้คำตอบเหมือนกัน
  • 1:00 - 1:03
    ฉันค่อนข้างเชื่อว่ามันอาจจะลดลง
  • 1:03 - 1:07
    ในกิจกรรมบางอย่างหรือในบางสถาบัน
  • 1:07 - 1:09
    แต่อาจจะเพิ่มขึ้นในกิจกรรมและสถาบันอื่น
  • 1:09 - 1:11
    ฉันไม่รู้ว่าภาพรวมเป็นอย่างไร
  • 1:11 - 1:15
    แต่แน่ล่ะ ฉันดูจากผลสำรวจความคิดเห็นก็ได้
  • 1:15 - 1:17
    ซึ่งผลสำรวจความคิดเห็นพวกนี้น่าจะเป็น
  • 1:17 - 1:21
    ที่มาของความเชื่อว่า
    ความไว้วางใจลดต่ำลง ใช่ไหมคะ
  • 1:21 - 1:25
    แต่ถ้าคุณดูผลสำรวจความคิดเห็นหลายปีต่อเนื่องกัน
  • 1:25 - 1:27
    ก็ไม่มีหลักฐานสนับสนุนความเชื่อนี้นะ
  • 1:27 - 1:30
    นั่นหมายความว่า คนที่ประชาชนไม่ไว้วางใจ
  • 1:30 - 1:31
    เมื่อ 20 ปีที่แล้ว
  • 1:31 - 1:36
    หลักๆ คือนักข่าว นักการเมือง
    ก็ยังคงไม่ได้รับความไว้วางใจ
  • 1:36 - 1:39
    ส่วนคนที่ประชาชนไว้วางใจสูงเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
  • 1:39 - 1:43
    ก็ยังได้รับความไว้วางใจสูงอยู่
    เช่น ผู้พิพากษา พยาบาล
  • 1:43 - 1:45
    ส่วนพวกเราในอาชีพอื่นๆ ก็อยู่กลางๆ
  • 1:45 - 1:48
    อ้อ สำหรับคนธรรมดาทั่วไป
  • 1:48 - 1:50
    ก็ได้รับความไว้วางใจในระดับกลางๆ
  • 1:50 - 1:52
    แต่นี่เป็นหลักฐานที่ดีหรือเปล่า
  • 1:52 - 1:56
    สิ่งที่ผลสำรวจความคิดเห็นบันทึก
    แน่นอน ก็คือความคิดเห็น
  • 1:56 - 1:58
    แล้วมันบันทึกอะไรอีก
  • 1:58 - 2:01
    มันเป็นข้อมูลทัศนคติทั่วๆ ไป
  • 2:01 - 2:05
    ที่คนตอบออกมาเมื่อเราถามคำถามเขา
  • 2:05 - 2:09
    คุณไว้ใจนักการเมืองไหม
    คุณไว้ใจครูหรือเปล่า
  • 2:09 - 2:12
    ทีนี้ ถ้ามีใครมาถามคุณว่า
    "คุณไว้ใจแม่ค้าผักไหม?
  • 2:12 - 2:14
    คุณไว้ใจพ่อค้าปลาไหม?
  • 2:14 - 2:17
    คุณไว้ใจครูอนุบาลไหม?
  • 2:17 - 2:20
    คุณอาจจะเริ่มถามกลับว่า "ไว้ใจให้ทำอะไร?"
  • 2:20 - 2:24
    ซึ่งนั่นแหละคือสิ่งที่คุณควรถาม
  • 2:24 - 2:29
    พอได้คำตอบแล้ว คุณอาจจะพูดต่อว่า
  • 2:29 - 2:32
    "อืม ฉันไว้ใจบางคน แต่ไม่ไว้ใจบางคน"
  • 2:32 - 2:34
    นั่นเป็นคำตอบที่มีเหตุผลมาก
  • 2:34 - 2:37
    พูดสั้นๆ คือ ในชีวิตจริงของเรา
  • 2:37 - 2:41
    เราเลือกไว้วางใจโดยมีการแยกแยะ
  • 2:41 - 2:44
    เราไม่เหมารวมเอาว่า ระดับความไว้วางใจ
  • 2:44 - 2:48
    ที่เรามีต่อเจ้าหน้าที่ หรือคนทำงานประเภทต่างๆ
  • 2:48 - 2:52
    หรือคนประเภทต่างๆ ทุกคน
  • 2:52 - 2:54
    จะเหมือนกันไปหมด
  • 2:54 - 2:57
    ตัวอย่างเช่น ฉันอาจจะบอกว่าฉันไว้วางใจเต็มที่
  • 2:57 - 3:00
    ในตัวครูอนุบาลบางคนที่ฉันรู้จัก
  • 3:00 - 3:03
    ในงานสอนเด็กๆ ให้อ่านหนังสือออก
  • 3:03 - 3:06
    แต่ไม่มีทางไว้ใจให้เธอขับรถรับส่งนักเรียน
  • 3:06 - 3:09
    ฉันอาจจะรู้ว่าเธอขับรถไม่เก่ง
  • 3:09 - 3:13
    ฉันอาจไว้ใจเพื่อนของฉันที่พูดเก่ง
  • 3:13 - 3:15
    ให้ช่วยสร้างบรรยากาศในวงสนทนา
  • 3:15 - 3:24
    แต่อาจจะไม่ไว้ใจให้เก็บความลับ
  • 3:24 - 3:26
    ง่ายๆ แค่นั้น
  • 3:26 - 3:30
    ถ้าเรามีหลักฐานในชีวิตประจำวันเหล่านี้
  • 3:30 - 3:33
    ว่าความไว้วางใจต้องมีการแยกแยะ
  • 3:33 - 3:36
    ทำไมเราถึงละทิ้งข้อมูลสำคัญพวกนี้ไปหมด
  • 3:36 - 3:39
    เมื่อเราคิดถึงความไว้วางใจ
    ในระดับที่เป็นนามธรรม
  • 3:39 - 3:42
    ฉันว่าผลสำรวจความคิดเห็นเป็นดัชนีที่แย่มาก
  • 3:42 - 3:45
    ในการบอกระดับความไว้วางใจที่มีอยู่จริง
  • 3:45 - 3:49
    เพราะมันกำจัดผลของวิจารณญาณที่ดี
  • 3:49 - 3:52
    ในการเลือกมอบความไว้วางใจ
  • 3:52 - 3:54
    ข้อสอง เรื่องเป้าหมายล่ะ เป็นอย่างไร?
  • 3:54 - 3:57
    เป้าหมายคือการไว้วางใจกันมากขึ้น
  • 3:57 - 4:00
    พูดจริงๆ นะคะ ฉันว่านั่นเป็นเป้าหมายที่งี่เง่า
  • 4:00 - 4:02
    ฉันไม่ตั้งเป้าหมายแบบนี้หรอกค่ะ
  • 4:02 - 4:06
    ฉันจะตั้งเป้าว่าจะไว้ใจ
    คนที่น่าไว้วางใจให้มากขึ้น
  • 4:06 - 4:09
    ไม่ใช่ไว้ใจคนที่ไม่น่าไว้วางใจ
  • 4:09 - 4:15
    ที่จริง ฉันตั้งใจว่าจะพยายามไม่ไว้ใจ
    คนที่ไม่น่าไว้วางใจเลยล่ะ
  • 4:15 - 4:19
    ตัวอย่างเช่น ฉันคิดว่า ในบรรดาคนที่
  • 4:19 - 4:24
    ฝากเงินไว้กับนักการเงินหัวใส
    อย่างนายเบอร์นาร์ด แมดดอฟ (Bernard Madoff)
  • 4:24 - 4:26
    ซึ่งในที่สุดก็เชิดเงินหนีไป
  • 4:26 - 4:29
    ฉันมองว่าคนเหล่านี้
  • 4:29 - 4:30
    ไว้วางใจคนมากเกินไป
  • 4:30 - 4:34
    การไว้วางใจให้มากขึ้น
    ไม่ใช่เป้าหมายที่ฉลาดในชีวิตเรา
  • 4:34 - 4:38
    การไว้วางใจและไม่ไว้วางใจ
    อย่างมีวิจารณญาณต่างหาก
  • 4:38 - 4:41
    คือเป้าหมายที่เหมาะสม
  • 4:41 - 4:44
    พอพูดอย่างนี้ คงมีคนบอกว่า เอาล่ะ ใช่
  • 4:44 - 4:47
    นั่นหมายความว่าสิ่งสำคัญอันดับแรก
  • 4:47 - 4:51
    ไม่ใช่ความไว้วางใจ แต่เป็นความน่าไว้วางใจ
  • 4:51 - 4:53
    และการแยกแยะว่าใครน่าไว้วางใจแค่ไหน
  • 4:53 - 4:55
    ในเรื่องต่างๆ
  • 4:55 - 4:59
    ฉันคิดว่า การประเมินเรื่องนี้ เราต้องดูสามอย่าง
  • 4:59 - 5:04
    เขาเก่งไหม? เขาซื่อสัตย์ไหม? เขาเชื่อถือได้ไหม?
  • 5:04 - 5:06
    ถ้าเราพบว่าเขาเก่ง
  • 5:06 - 5:08
    ในเรื่องที่เรากำลังสนใจ
  • 5:08 - 5:10
    และเขาเชื่อถือได้ และซื่อสัตย์ด้วย
  • 5:10 - 5:12
    เราก็มีเหตุผลที่ดีที่จะไว้วางใจเขา
  • 5:12 - 5:14
    เพราะเขาจะเป็นคนที่น่าไว้วางใจ
  • 5:14 - 5:18
    แต่ในทางกลับกัน ถ้าเขาเชื่อถือไม่ได้ เราอาจไม่ไว้ใจเขา
  • 5:18 - 5:20
    ฉันมีเพื่อนบางคนที่ทั้งเก่งและซื่อสัตย์
  • 5:20 - 5:22
    แต่ฉันไม่ไว้วางใจให้เขาส่งจดหมายให้
  • 5:22 - 5:24
    เพราะเขาขี้ลืม
  • 5:24 - 5:27
    ฉันมีเพื่อนที่มั่นใจในตัวเองสูงมาก
  • 5:27 - 5:29
    ว่าสามารถทำอะไรบางอย่างได้
  • 5:29 - 5:34
    แต่ต่อมาฉันก็เห็นว่าจริงๆ แล้ว
    เขาประเมินความสามารถตัวเองสูงเกินจริง
  • 5:34 - 5:36
    สุดท้าย ฉันดีใจมากที่พูดได้ว่า
    ฉันมีเพื่อนเพียงไม่กี่คน
  • 5:36 - 5:40
    ที่เก่ง เชื่อถือได้ แต่สุดจะไม่ซื่อสัตย์
  • 5:40 - 5:41
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:41 - 5:44
    หรือถ้ามี ฉันคงยังมองไม่เห็น
  • 5:44 - 5:46
    แต่นั่นแหละ คือสิ่งที่เรามองหา
  • 5:46 - 5:49
    ความน่าไว้วางใจ มาก่อนความไว้วางใจ
  • 5:49 - 5:50
    ความไว้วางใจเป็นการตอบสนอง
  • 5:50 - 5:53
    ความน่าไว้วางใจคือสิ่งที่เราต้องประเมิน
  • 5:53 - 5:54
    และแน่นอน มันประเมินยาก
  • 5:54 - 5:58
    สองสามทศวรรษที่ผ่านมา เราพยายามสร้าง
  • 5:58 - 6:01
    ระบบที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับ สถาบันทุกประเภท
  • 6:01 - 6:03
    ทุกวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ทุกประเภท
  • 6:03 - 6:08
    เพื่อให้เราประเมินความน่าไว้วางใจ
    ของคนหรือสถาบันเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น
  • 6:08 - 6:11
    ระบบพวกนี้ส่วนมากกลับให้ผลตรงกันข้าม
  • 6:11 - 6:13
    เพราะมันทำสิ่งที่ควรจะทำไม่ได้
  • 6:13 - 6:17
    ฉันเคยคุยกับเจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์คนหนึ่ง เขาว่า
  • 6:17 - 6:20
    "คุณเห็นไหมล่ะ ปัญหาคือ
  • 6:20 - 6:23
    การกรอกเอกสารมันใช้เวลานานกว่าทำคลอดอีก"
  • 6:23 - 6:27
    ชีวิตของเราในที่ทำงาน ในสถาบันต่างๆ
  • 6:27 - 6:29
    เราเจอปัญหานี้หมด
  • 6:29 - 6:31
    คือ ระบบกำกับควบคุม
  • 6:31 - 6:34
    ที่ตั้งใจจะนำมาสร้างความน่าไว้วางใจ
  • 6:34 - 6:36
    และหลักฐานของความน่าไว้วางใจ
  • 6:36 - 6:38
    กำลังให้ผลตรงกันข้าม
  • 6:38 - 6:43
    มันรบกวนคนที่ต้องทำงานซึ่งยากอยู่แล้ว
  • 6:43 - 6:45
    อย่างงานผดุงครรภ์ ทำให้ทำงานยากขึ้น
  • 6:45 - 6:48
    โดยบังคับให้เขากรอกแบบฟอร์มต่างๆ
  • 6:48 - 6:51
    คุณเองก็คงมีตัวอย่างของคุณเหมือนกัน
  • 6:51 - 6:53
    ดังนั้น สำหรับเป้าหมายของเรา
  • 6:53 - 6:56
    ฉันคิดว่า มันคือการเพิ่มความน่าไว้วางใจ
  • 6:56 - 6:58
    ซึ่งก็ยังมีความแตกต่างอีก
  • 6:58 - 7:00
    ระหว่างการพยายามทำตัวให้น่าไว้วางใจ
  • 7:00 - 7:03
    และสื่อสารความน่าไว้วางใจของเราให้ผู้อื่นรับรู้
  • 7:03 - 7:06
    กับการพยายามประเมินว่าคนอื่น
  • 7:06 - 7:09
    หัวหน้าองค์กร หรือนักการเมือง
    น่าไว้วางใจหรือไม่
  • 7:09 - 7:13
    ซึ่งไม่ง่าย มันเป็นการตัดสิน ซึ่งความรู้สึกตอบสนอง
  • 7:13 - 7:18
    หรือทัศนคติธรรมดาๆ ยังแม่นยำไม่พอ
  • 7:18 - 7:22
    ทีนี้ ข้อสาม สิ่งที่เราต้องทำ
  • 7:22 - 7:25
    การเรียกงานนี้ว่า
    การสร้างความไว้วางใจขึ้นมาใหม่
  • 7:25 - 7:27
    ฉันว่ามันกลับหัวกลับหางไปหมด
  • 7:27 - 7:32
    เพราะพูดอย่างนี้แปลว่า
    คุณกับฉันต้องมาสร้างความไว้วางใจขึ้นมาใหม่
  • 7:32 - 7:34
    คือ เราทำอย่างนั้นได้กับตัวเราเอง
  • 7:34 - 7:37
    เราสร้างความน่าไว้วางใจของตัวเรา
    ขึ้นมาใหม่ได้นิดหน่อย
  • 7:37 - 7:40
    คนสองคนสามารถร่วมกัน
    สร้างความไว้วางใจระหว่างกันได้
  • 7:40 - 7:44
    แต่ที่สุดแล้ว ความไว้วางใจมีลักษณะเฉพาะ
  • 7:44 - 7:46
    เพราะมันเป็นสิ่งที่คนอื่นให้คุณ
  • 7:46 - 7:49
    คุณไม่สามารถสร้างสิ่งที่คนอื่นมอบให้คุณ
    ขึ้นมาใหม่ได้
  • 7:49 - 7:52
    คุณต้องให้หลักฐานและเหตุผลแก่เขา
  • 7:52 - 7:55
    ว่าทำไมเขาจึงควรไว้วางใจคุณ
  • 7:55 - 7:59
    คุณจึงต้องทำตัวให้น่าไว้วางใจ
  • 7:59 - 8:01
    และนั่นก็เพราะ คุณไม่สามารถ
  • 8:01 - 8:05
    หลอกคนทุกคนได้ตลอดเวลา
  • 8:05 - 8:09
    แต่คุณก็ต้องให้หลักฐานที่ดี
  • 8:09 - 8:11
    ว่าคุณน่าไว้วางใจ
  • 8:11 - 8:12
    จะทำยังไงเหรอคะ?
  • 8:12 - 8:15
    ที่จริงในทุกๆ ที่ และทุกๆ วัน
  • 8:15 - 8:18
    คนธรรมดาทั่วไป เจ้าหน้า และสถาบันต่างๆ
  • 8:18 - 8:20
    ก็แสดงความน่าไว้วางใจออกมาอย่างได้ผล
  • 8:20 - 8:24
    ฉันขอยกตัวอย่างง่ายๆ เกี่ยวกับการค้าขาย
  • 8:24 - 8:28
    ร้านที่ฉันไปซื้อถุงเท้าบอกว่าฉันเอาของไปคืนได้
  • 8:28 - 8:30
    เขาไม่ถามอะไรเลย
  • 8:30 - 8:32
    เขารับของไปและคืนเงินให้ฉัน
  • 8:32 - 8:34
    หรือเปลี่ยนเป็นคู่ใหม่สีที่ฉันต้องการ
  • 8:34 - 8:37
    ซึ่งเยี่ยมมาก ฉันจึงไว้วางใจเขา
  • 8:37 - 8:40
    เพราะเขาเปิดช่องให้ฉันตรวจสอบและตอบโต้เขาได้
  • 8:40 - 8:42
    ฉันคิดว่านี่เป็นบทเรียนสำคัญ
  • 8:42 - 8:45
    ถ้าคุณยอมเปิดช่องให้อีกฝ่ายหนึ่งตรวจสอบ
    และตอบโต้คุณได้
  • 8:45 - 8:49
    นั่นเป็นหลักฐานที่ดีว่าคุณน่าไว้วางใจ
  • 8:49 - 8:52
    และคุณมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณพูด
  • 8:52 - 8:54
    สรุปคือ ฉันคิดว่าเป้าหมายที่เราต้องการ
  • 8:54 - 8:58
    นั้นแยกแยะได้ไม่ยาก
  • 8:58 - 9:02
    มันคือความสัมพันธ์ที่แต่ละคนมีความน่าไว้วางใจ
  • 9:02 - 9:06
    และสามารถตัดสินได้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งน่าไว้วางใจ
  • 9:06 - 9:07
    เมื่อไหร่ และอย่างไร
  • 9:07 - 9:11
    ประเด็นของเรื่องทั้งหมดนี้คือ
  • 9:11 - 9:14
    เราต้องคิดเรื่องความไว้วางใจให้น้อยลง
  • 9:14 - 9:17
    รวมทั้งทัศนคติเรื่องความไว้วางใจ
  • 9:17 - 9:21
    ที่วัดได้ หรือจะเรียกว่าวัดผิด
    โดยผลสำรวจความคิดเห็น
  • 9:21 - 9:24
    แล้วหันมาใส่ใจให้มากขึ้น
    กับการเป็นคนน่าไว้วางใจ
  • 9:24 - 9:28
    และวิธีที่จะให้หลักฐานที่เพียงพอ
    เป็นประโยชน์
  • 9:28 - 9:30
    และชัดเจนเรียบง่ายแก่คนอื่น
    ว่าคุณน่าเชื่อถือได้อย่างไร
  • 9:30 - 9:31
    ขอบคุณค่ะ
  • 9:31 - 9:34
    (เสียงปรบมือ)
Title:
สิ่งที่เราไม่เข้าใจเกี่ยวกับความไว้วางใจ
Speaker:
โอโนรา โอนีล (Onora O'Neill)
Description:

ความไว้วางใจกำลังตกต่ำลง และเราต้องสร้างมันขึ้นมาใหม่ นั่นเป็นคำแนะนำสำหรับการสร้างโลกที่ดีขึ้น ซึ่งเราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ แต่โอโนรา โอนีล นักปรัชญาชาวอังกฤษมองว่า เราไม่เข้าใจสิ่งที่เราพูด เธอพลิกคำถาม และแสดงให้เราเห็นว่า ความเชื่อที่แพร่หลายสามเรื่องเกี่ยวกับความไว้วางใจนั้นคลาดเคลื่อนอย่างไร (จากงาน TEDxHousesofParliament)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
09:50
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What we don't understand about trust
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What we don't understand about trust
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for What we don't understand about trust
Kanawat Senanan commented on Thai subtitles for What we don't understand about trust
Kanawat Senanan accepted Thai subtitles for What we don't understand about trust
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for What we don't understand about trust
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for What we don't understand about trust
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for What we don't understand about trust
Show all
  • This translation is very easy to follow with very few typos. I think it is ready for approval krab.

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 5 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut